Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไทยนาวา...พระศีลขันธโสภณ (พระเทพสังวรญาณ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 3:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไทยนาวา
โดย พระศีลขันธโสภณ (พระเทพสังวรญาณ)

เจ้าอาวาสวัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2518



นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตาเต ลหุเมสฺสติ
ราคญฺจ โทสญฺจ ตโต นิพฺพานเมหิสี ติ ฯ

ณ โอกาสนี้ จะได้แสดงธรรมเทศนาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของพุทธบริษัท เพราะประชาชนชาวไทยมีหลักพระพุทธศาสนาเป็นธงชัย การประพฤติในเรื่องธรรมะอันเป็นคำสอนของสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า ย่อมเป็นสมบัติของคนไทย

แต่ในบาลีนิเขปบท ที่ยกขึ้นไว้ ณ ที่นี้ แปลความว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตาเต ลหุเมสฺสติ เป็นต้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในที่นี้ก็หมายถึงพุทธบริษัทด้วย ภิกษุทั้งหลายจงวิดเรือลำนี้ กล่าวคืออัตภาพของตน เรือลำนี้ท่านวิดแล้วจะไปถึงฝั่ง ฝั่งนั้นคือความปลอดภัยของบรรดาแต่ละคนแต่ละท่าน ทุกรูปทุกนาม แต่คำอุปมาในที่นี้หมายถึงเรือ บ้านเมืองหรือประเทศชาติหรือพลโลก รวมความแล้วทั้งโลกนี้ ที่มนุษย์อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินก็เป็นเรือใหญ่ลำหนึ่งเหมือนกัน เมื่อย่อลงเป็นประเทศ แต่ละกลุ่มแต่ละที่ในระหว่างประเทศ ก็อุปมาเหมือนเรือแต่ละลำ แต่ละประเทศๆ เหมือนกัน

ประเทศไทยก็ชื่อว่ามีเรืออยู่ลำหนึ่งเหมือนกัน คือ "ไทยนาวา" เพราะฉะนั้นประชาชนชาวไทยจะต้องช่วยกันประคับประคองไทยนาวาลำนี้ ให้แล่นไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความเจริญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนเคารพในรัฐธรรมนูญ นี่เป็นเรือภายนอก ซึ่งประกอบป้องกันปกครองเรือภายใน คืออัตภาพของตนให้อาศัยอยู่ได้ในแผ่นดินนี้ ถ้าเราทั้งหลายที่เป็นประชาชนชาวไทยทุกคนทั้งหญิงและชาย พยายามประคับประคองเรือลำนี้ กล่าวคือ ไทยนาวา มีนายท้าย นายหัวและพลพาย เราพยายามคัดท้ายให้ตรง ไม่ให้เรือนี้ไปเกยแก่ง เกยสันดอน เกยหลักเกยตอ ให้ตรงไปตามร่องน้ำ ที่จะพึงแล่นไปได้สะดวกสบาย

พลหัวมีหน้าที่คุมเรือในด้านทางหัวเรือ ก็พยายามคัดวาดหลีกเลี่ยงช่วยนายท้ายให้เรือลำนี้ไปสู่จุดหมาย คือ ความเจริญของชาติ พลพายที่อาศัยอยู่เป็นพลพรรค พายเรือลำนี้เพียบพร้อมไปด้วยกำลังวังชา มัความสมัครสามัคคีซึ่งกันและกัน ตามบาลีว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา" ถ้าคนอยู่ในเรือพร้อมทั้งนายท้าย นายหัวและพลพาย พลพรรค ซึ่งมีหน้าที่จะต้องพาย ใช้กำลังของตนโดยพลังรวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในเรือลำนี้มีหลักธรรมคือ ความสามัคคี ไม่แก่งแย่งแข่งดีเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันแล้ว มั่นใจเหลือเกินว่า เรือลำนี้กล่าวคือ ไทยนาวา จะต้องแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางสมความปรารถนาของประชาชนชาวไทยโดยแน่นอน ถึงซึ่งความเจริญรุ่งเรืองในทุกสถานทุกกาลสมัย

เรือแต่ละลำในโลก ที่กล่าวนี้เป็นเรือลำภายนอก เป็นเรือที่ประชาชนพลโลกจะอาศัยอยู่แต่ละลำๆในประเทศนั้นๆ ถ้าได้นายท้าย นายหัว พลพรรค ผู้มีกำลังที่จะพึงพายดีกันแล้ว มีตัวอย่างอยู่ทั่วโลก ย่อมถึงซึ่งความเจริญ ดังที่เราจะเห็นกัน นี่เป็นเรือภายนอก นี้แล ดังอุปมานี้ เป็นอุปกรณ์แก่เรือภายใน

เรือภายในต้องอาศัยเรือหภายนอก คนที่อยู่ในเรือแต่ละลำๆ ต้องรู้จักประมาณของตนในสัปปุริสธรรมทั้ง 7 ประการ คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักบุคคล และรู้จักประชุมชน ธรรมะกล่าวคือ สัปปุริสธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้มานานตั้งสองพันห้าร้อยสิบแปดปี คำสอนดังกล่าวคือ

ธรรมะปัพพะ นี้มีประโยชน์แก่พุทธบริษัทเป็นเอนกประการ แก่บรรดาพุทธบริษัทและพุทธมามกชนที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหล้า และในที่ทั่วไป ไม่ได้สนใจเข้ามาในสัปปุริสธรรมนี้อย่างแท้จริง เพราะไม่ตั้งใจที่จะสืบสวนทบทวนหาเหตุผล ว่าเหตุอย่างนี้ทำแล้ว ผลจะเป็นผลดี หรือผลชั่ว ด้วยประการใดๆ ถ้าเราจะสืบให้รู้แน่ว่า เหตุที่ทำนี้ผลจะมากระทบกระเทือนแก่บรรดาหมู่คณะ แก่บรรดาประเทศชาติ พระศาสนา ตลอดจนถึงองค์พระมหากษัตริย์ ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแล้ว เราก็ไม่ควรทำ ถ้าเหตุนี้นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขในหมู่คณะ ในประชาชนชาวไทยด้วยกันที่นับถือพระศาสนาพุทธ เราพึงทำเถิด นั่นเป็นอากรบ่อเกิดจะถึงความเจริญและร่มเย็นเป็นสุข


มีต่อ >>> 1
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 3:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นเรื่องของรู้จักประมาณ และรู้จักกาล ก็รู้จักกาลว่า เวลานี้บ้านเมืองของเรา พระพุทธศาสนาและสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ ประกอบไปด้วยเหตุผลดังข้างต้นนั้นว่าเป็นอย่างไร

กาลนี้ เป็นกาลควรจะประพฤติอย่างไร กาลนี้เป็นกาลที่เราจะปฏิบัติแก้ไขดัดแปลงกันอย่างไร ถ้าเรารู้จักกาลเทศะ เรียกว่ารู้จักกาลแล้ว ความผ่อนสั้นผ่อนยาว ความประนีประนอมซึ่งจะเอาตัวรอดแต่ละบุคคลๆ ที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ รวมความว่าประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยนี้ รู้จักกาลเทศะพอเหมาะพอดีไม่เหลื่อมล้ำต่ำสูง ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ไม่อิจฉาพยาบาทซึ่งกันและกัน ประเทศไทยนี้จะเจริญรุ่งเรืองตามสมควรยิ่งๆ ขึ้น นี่ก็รู้จักกาล เมื่อรู้จักกาลฟภายนอกนี้แล้ว ก็รู้จักกาลภายในนั้น รู้จักอย่างไร คือ

รู้จักธรรมะข้อหนึ่ง คือความไม่ประมาทว่าร่างกายของมนุษยชาติ หญิงชายที่เกิดมาในโลกนี้ ย่อมมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตกอยู่ในไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้น มีคำพังเพยว่า

"อันไตรลักษณ์นั้นเป็นหลักสำหรับจิต หมั่นคิดหมั่นนึกหมั่นศึกษา เราจะต้องตายแท้แน่ละวา จะมัวมานอกครูอยู่ทำไม"

นี่ก็เป็นคำเตือนสติของผู้ประพฤติปฏิบัติ ที่เรียกว่าอุบาสิกอุบาสิกา และพุทธศาสนิกชน หรือธรรมดาบุคคลผู้ใคร่ในธรรมะ รวมความแล้ว เป็นประโยชน์ทั้งทางคดีโลก และทางคดีธรรม นี่ก็เป็นธรรมะในส่วนพุทธธรรมที่เรียกว่า รู้จักกาล รู้จักประชุมชนในอันดับข้อที่ 7

ประชุมชน บ้านเมืองของเราในขณะนี้ กำลังแก้ไขดัดแปลงเรื่องอะไรกันอยู่ เรากำลังทำความเจริญหรือเรากำลังทำความเสื่อมกันอยู่ในสมาคมนั้นๆ นี่เป็นการรู้จักกาลภายนอก ถ้ารู้จักกาลภายใน รู้จักประชุมชนภายใน เราพึงรู้ว่า ธาตุทั้ง 4 ของเรานี้ ที่ประชุมในร่างกายของเรานี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม อากาศธาตุในช่องว่าง เราพึงพิจารณาว่าธาตุทั้ง 4 ของเรานี้สมบูรณ์ดีหรือยัง มีโรคภัยไข้เจ็บ โรคสรรพโรคาทั้งหลายมาเบียดเบียนด้วยประการใดๆ เราก็ไม่ประมาท พยายามเยียวยารักษาเสีย ร่างกายจะเจริญขึ้น นี่โน้มเข้าไปในอัตภาพกล่าวคือ

เรือลำน้อยๆ เราพึงพยายามด้วยความไม่ประมาท จึงวิดเรือลำน้อยๆ นี้ คืออัตภาพของหญิงชายทุกคน วิดกิเลสความชั่วออกไป ถ่ายเทความชั่วร้ายออกไป เหมือนยังกับเรือลำหนึ่ง พลพรรค พลพาย นายหัวนายท้าย พยายามดูแนว ดูชันยาแนว ดูลูกประสักไม่ให้น้ำซึมเข้ามาในทุกทิศทุกทางในรอบๆ ของเรือนั้น พยายามวิดน้ำที่จะหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเรือ กล่าวคือ กิเลสนั้นให้หมดไป นั่นเรือลำนั้นก็ลอยขึ้น สมความปณิธานของตน จะแล่นไปสู่จุดหมายปลายทาง

เรือดังกล่าวคือ "ไทยนาวา" ก็เหมือนกัน พุทธบริษัททั้งหลาย และประชาชนช่วยกันประคับประคองเรือคือ ไทยนาวา ซึ่งอาจจะมีพลพรรคที่แย่งแข่งดีกันอยู่ ไม่สามารถจะกลมเกลียวสามัคคีกัน นำเรือนี้ไปสู่ถึงจุดหมายปลายทางนั้นๆ ขอจงตั้งจิตตั้งใจอยู่ในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือธรรมะสามัคคีให้เต็มที่

เรือดังกล่าวคือ "ไทยนาวา" นี้ จะแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางสมความมุ่งมาดปรารถนาและถึงซึ่งความไม่ประมาท หันมาพิจารณาเรือ กล่าวคืออัตภาพของตน ทั้งหญิงชาย พยายามประพฤติปฏิบัติทำกายให้เป็นสุจริต ทำวาจาให้เป็นสุจริต ทำใจให้เป็นสุจริต จะได้ไม่ผิดกาลทำนองคลองธรรม


มีต่อ >>> 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อนึกถึงธรรมะ ในการประพฤติสุจริตทั้ง 3 นี้แล้ว ทั้งตนที่อยู่ในปัจจุบันนี้และในสัมปรายภพภายภาคหน้า มีสิ่งที่จะอำนวยประโยชน์ในที่ทุกสถานในกาลทุกสมัย ตามคำปรัมปราคำพังเพยว่า "อย่าดึงฟ้าต่ำ" ก็ได้อธิบายแล้ว และต่อข้อ 2 ว่า

อย่าทำหินแตก ที่นี้หมายถึงว่า ร่างกายของเราคืออัตภาพนี้ ต้องพยายามรักษาเยียวยาให้ดีอย่าให้โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียนในทางกาย ในทางจิต โรคจิตก็มี โรคกายก็มาก และก็คำว่า หินแตก ในที่นี้ ประชาชนพลโลกมีความปกครองอยู่เย็นเป็นสุขด้วยความสามัคคี ถ้าเราไปแยกแยะแก่งแย่งแข่งดีกัน นี่ท่านอุปมาให้ฟังยั่งกับว่า ภูเขาอันแท่งทึบไม่สามารถที่จะแตกออกได้เพราะธรรมะ กล่าวคือ สามัคคี ถ้าคนที่มีความอิจฉาริษยา แก่งแย่งแข่งดีกัน ตกอยู่ในความประมาทกล่าวคือธรรมะ แล้วประชาชนที่เป็นหมู่เป็นกลุ่ม ก็จะแตกแยกซึ่งกันและกัน เพราะขาดแกน กล่าวคือธรรมะ

อีกประการหนึ่ง "อย่าแยกแผ่นดิน" แผ่นดินทำไม่จึงจะแยกออกไปได้ นี่เป็นอุปมาอุปไมย เพราะประชาชนพลโลกต่างก็อยู่คนละกลุ่ม คนละหมู่ แต่ละประเทศอยู่แล้ว แต่คนประเทศนี้ แต่ละประเทศนั้นๆ ที่กล่าวว่าแยกแผ่นดิน ไม่ใช่แยกแผ่นดินไป คือแยกสามัคคีออกซึ่งกันและกัน ไม่ตั้งอยู่ในความสามัคคี ดูแต่พระเทวทัตในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสคำสอนถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม มีพุทธบริษัทและสาวกของพระองค์ ประพฤติปฏิบัติตาม จนถึงความรู้เป็นพิเศษ สามารถจะบรรลุซึ่งอริยมรรค อริยผล เป็นพระอรหันต์ก็โดยมาก แต่เทวทัตออกนอกลู่นอกทาง นำลัทธิต่างๆซึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่ลัทธิ คือ พระพุทธศาสนา เป็นคนแยกหมู่แยกคณะออกไป ที่สุดของชีวิตเทวทัตธรณีสูบลงไปถึงคอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตาเสด็จไปเยือนเทวทัต เทวทัตมีความสำนึกขึ้นได้ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ดูกรเทวทัต ชีวิตของเธอยังมีประโยชน์แก่เธออยู่ ยังไม่ใช่ชีวิตที่เป็นโมฆะ ยังไม่เป็นอาภัพสัตว์ เธอจงพยายามเถิด" นับแต่กาลเวลานั้นมาไม่นานนัก เทวทัตก็สิ้นลมปราณ

เหตุผลของธรรมะ และอธรรม ที่ประกอบกรรมดังอุปมาอุปไมยนี้ ชี้ให้เห็นโดยแตกต่างกัน ดังธรรมวจนประพันธ์ไว้ว่า อย่าดูถูกบาปว่านิดหน่อย จะไม่มีผลสนอง และก็อย่าหมิ่นแคลนบุญกุศลว่า นิดเดียวจะไม่เป็นผลสนอง จงดูแต่ขันรองน้ำฝนที่หยดลงมาทีละหยาดๆ ยังเต็มได้ พระรรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมไม่ล่วงเข้าถึงความเก่าคร่ำคร่าล้าสมัย ย่อมเป็นไปตามกาลทันสมัยอยู่เนืองนิตย์ ไม่วิปริตแปรผัน ไม่เหมือนมะม่วงมะปรางและผลไม้ต่างๆ นานาชนิด ย่อมผลิผล ผลิตข้ามกาลเวลาสมัย เช่น ปลูกปีนี้ย่อมให้ผลในปีหน้าและอนาคตต่อๆ ไป

เหตุผลฉะนี้แล ขอปวงพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จงตั้งตนไว้โดยความประคองตนไว้โดยความไม่ประมาท จะได้มีโอกาสรับรสพระธรรมในไปประพฤติ ฝึกหัดกาย วาจา ใจ โดยอาศัยหลัก "ปหาตพฺพธมฺม" ละสิ่งที่ควรละ และ "ภาเวตพฺพธมฺม" พึงเจริญสิ่งที่ควรเจริญ ดำเนินใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งนับว่าเป็น มรรค อันเอกอุ ลุถึงความเกษมสำราญ โดยธรรมภาษิตบรรหารที่แสดงมา ด้วยประการฉะนี้ฯ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


----- จบ -----
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง