Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แผนที่วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แผนที่วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
เลขที่ 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 02-332-4145, โทรสาร 02-730-6335

สถาบันพลังจิตตานุภาพ โทร. 02-311-1387, 02-311-3903
ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ โทร. 02-741-7822


Image

Image
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2013, 10:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
เลขที่ 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 02-332-4145, โทรสาร 02-730-6335


สถาบันพลังจิตตานุภาพ โทร. 02-311-1387, 02-311-3903
ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ โทร. 02-741-7822


พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาส

วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม) เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2506 เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร วัดธรรมมงคลเป็นที่ตั้งของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) และศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ อันมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่หลักการบำเพ็ญสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนา

ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

เป็นอาคารเพื่อการบำเพ็ญสมาธิที่มีความเพียบพร้อมทุกประการ ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยา ใกล้พระมหาเจดีย์ฯ เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ 600 ตารางวา เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรม มีที่พักที่สัปปายะ ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม 80 ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ประมาณ 180 คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่มๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้งห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง มีที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องนั่งสมาธิเป็นคณะ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมะ ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ห้องสนทนาธรรม ห้องสุขา ห้องครัว และมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำวิธีการบำเพ็ญสมาธิ พร้อมทั้งโปรแกรมประจำวัน

จุดประสงค์ของศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

1. ต้องการเผยแพร่สมาธิอย่างกว้างขวางแก่ทุกๆ คนให้มีความสงบและสุขใจ
2. เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประสงค์ทำสมาธิ เพราะว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากต้องการจะทำสมาธิ แต่ไม่ทราบจะไปที่ไหน จะหาครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ลำบากด้วยสถานที่ ทั้งไม่รู้จักใครบ้าง ไม่มีอิสระบ้าง เป็นต้น เมื่อมาที่ศูนย์สมาธิก็จะมีความสบายใจ
3. เพื่อพักผ่อนทางใจ เพิ่มพูนพลังจิต พร้อมเพิ่มสมรรถนะทางใจให้มีความแกร่งสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
4. ให้บังเกิดความสุขพิเศษ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าไม่มีความสุขใดเท่าทำใจเราให้สงบสุขได้ เมื่อให้โอกาสแก่ทุกคนได้ศึกษาใจตนเองเพราะความสุขความทุกข์อยู่ที่ใจเรา

Image

นครธรรมและสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute)

ระหว่างที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทราบข้อเท็จจริงต่างๆ มากมาย ในด้านสมาธิ ทั้งสมาธิตื้น สมาธิลึก ตลอดถึงวิปัสสนา ซึ่งเมื่อเข้าใจทุกประการแล้ว หลวงพ่อวิริยังค์จึงมีความรักและหวงแหนในหลักการต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง ไม่อยากที่จะให้หลักการเหล่านั้นต้องสลายไป เพราะท่านมีวิธีทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูงสุด

หลวงพ่อวิริยังค์ถามหลวงปู่มั่นว่า “ต่อไปกระผมจะเขียนเป็นหลักการให้ชาวโลกเขาทำกันจะได้ไหม” หลวงปู่มั่นท่านตอบว่า “ต้องเอาแบบขั้นพื้นฐานสำหรับเป็นประโยชน์แก่มหาชน สำหรับขั้นสูงให้มีน้อย โอกาสที่เธอจะทำนั้นมีอยู่ แต่ต้องทำขั้นพื้นฐานเพื่อคนส่วนมากในโลกจะได้สงบ และเธอต้องไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะคนกรุงเทพฯ ที่มีวาสนาบารมี มีอยู่ไม่น้อย”

ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เป็นแรงสนับสนุนในใจของหลวงพ่อวิริยังค์อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2534 หลวงพ่อวิริยังค์ได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันเป็นบริเวณป่าไม้และภูเขาบนดอยอินทนนท์ ทำให้ท่านได้ทบทวนหลักการต่างๆ ที่เคยได้ไต่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นจนเต็มรูปแบบสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาสมาธิได้ รวมเวลาที่ใช้ในการทบทวนและรวบรวมการเขียนตำรานั้น ใช้เวลาถึง 5 ปีจึงสำเร็จ เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ ท่านจึงจัดทำเป็นรูปเล่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง รวม 3 เล่ม ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติสมาธิเป็นยิ่งนัก

ในขณะเขียนตำราสมาธิ หลวงพ่อวิริยังค์ก็มาคำนึงว่าชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่างๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมณ์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ทั้งที่อยู่อาศัย ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่ายและสะดวก ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมลล์ ก็ย่นระยะการติดต่ดสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเงินเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไม ? เราจะลงทุนสร้าง “นครธรรม” ให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ ?

หลวงพ่อวิริยังค์จึงได้คิดสร้างนครธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529 และได้ดำเนินการสร้างเมื่อ พ.ศ.2536 ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนส่วนมากเข้าใจแต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ บวชพระ ถวายสังฆทาน เป็นต้น จึงจะได้บุญกุศล แต่จะมาสร้างนครธรรมสอนคนด้วยไฮเทคนี้ ไม่รู้ว่าจะได้บุญตรงไหน แต่ด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นของผู้สร้าง จึงพยายามพูดให้สาธุชนทั้งหลายเข้าใจในการทำบุญกุศล

จนสามารถมีผู้บริจาคสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2539 จึงเป็นนครธรรมยุคไฮเทค แหล่งย่นระยะการศึกษาธรรมะล้ำยุคสุดอลังการ ในเนื้อที่ 4,800 ตารางเมตร ใต้ฐานพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมทันสมัย มีห้องเรียนภาคทฤษฎี มีห้องเรียนภาคปฏิบัติทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม มีห้องชมธรรมะด้วยสไลด์มัลติวิชั่น มีห้องสนทนาธรรม มีห้องสมุดธรรมะ มีห้องธุรการ มีห้องอาหารและเครื่องดื่ม มีห้องสำนักงานประทีปเด็กไทยเพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วเมืองไทย มีห้องถ้ำวิปัสสนาไว้ให้ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

ผู้ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้รับความสะดวกสบายในห้องแอร์คอนดิชั่นอย่างดี เป็นการลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยเพื่อสุขภาพใจโดยเฉพาะ จึงเหมาะแก่คนยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ทั้งจะได้รับความรู้และความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง นี้คือ นครธรรม สถานที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ในใจกลางกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุนี้จึงได้ประกาศเปิดสอน หลักสูตรครูสมาธิ ขึ้น ณ นครธรรม วัดธรรมมงคล และเปิดรับสมัครนักศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2540 มีบุคคลที่มีความรู้ตามกำหนดมาตรฐานมาสมัครเรียนถึง 200 กว่าคน เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2540 เป็นรุ่นแรกเรียกว่า รุ่นปฐโม (รุ่นพยัคฆ์) ดำเนินการสอนโดยหลวงพ่อวิริยังค์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม จึงจะจบครบตามหลักสูตร

ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 เทอมๆ ละ 40 วัน มีการปิดภาคเรียนเทอมละ 7-15 วัน เปิดเรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00 น.-20.20 น. วันละ 2 ชั่วโมง เริ่มชั่วโมงแรกเรียนภาคทฤษฎี 40 นาที, ถาม-ตอบเพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 20 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง หยุดพัก 20 นาที ต่อจากนั้นเรียนภาคปฏิบัติเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง เมื่อเรียนจบทั้ง 3 เทอมแล้ว มีการสอบข้อเขียนทั้งภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการสอบสัมภาษณ์ และในขั้นสุดท้ายจะต้องไปสอบปฏิบัติภาคสนามบนดอยอินทนนท์ สถานที่สูงที่สุดในเมืองไทย จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะมีสิทธิ์จบหลักสูตรครูสมาธิ 200 ชั่วโมง และสุดท้ายจึงจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้

พิจารณาจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของนักศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ผลที่ออกมาจึงทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ และได้ทั้งประสบการณ์ด้านการปฏิบัติเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง นับเป็นปรากฏการณ์ในการศึกษาสมาธิในยุคปัจจุบัน ทำให้ผลงานนี้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางทั่ววงการต่างๆ จะเห็นได้จากการมีผู้มาสมัครเรียนหลักสูตรครูสมาธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

Image

นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) นั้น เป็นสถานการศึกษาสมาธิที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนนักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียนรู้มาจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น และพระอาจารย์กงมา รวมทั้ง จากประสบการณ์ในชีวิตการปฏิบัติสมาธิของท่านเองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจการทำสมาธิทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องด้วย

เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) คือ มีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้แล้ว สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) ยังได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ “การอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ” ให้กับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างสันติภาพและสันติสุขให้ชาวโลกโดยการปฏิบัติสมาธิ วัตถุประสงค์ของการเปิดหลักสูตรนี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ที่มีความสนใจการทำสมาธิ ได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมพลังจิตและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถ่องแท้ โดยปราศจากอุปสรรคทางด้านภาษา เพื่อนำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ทั้งในด้านการทำงานและชีวิตในครอบครัว เพราะการทำสมาธิถือเป็นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่จะทำให้จิตใจของคนเราสงบ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้โลกก็จะสงบสุขและเกิดสันติภาพ การทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมิได้จำกัดเฉพาะศาสนาหนึ่งศาสนาใด โปรแกรมการอบรมนี้จึงเปิดกว้างสำหรับคนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา หรือแม้แต่คนไม่มีศาสนาก็มาเรียนได้เช่นกัน

หลวงพ่อวิริยังค์ได้เปรียบเทียบระหว่างสมาธิกับการเรียน ไว้ว่า “คนเราได้ทำสมาธิมีพลังจิตแล้ว ก็เหมือนไปเรียนหนังสือ เมื่อไปเรียนทุกวันก็จะมีความรู้ เรียนจนจบมัธยมแล้วเป็นอย่างไร ความรู้เราก็ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนเลย ทุกอย่างจึงเป็นไปอัตโนมัติ พอมาเปิดหนังสือ จับปากกาก็รู้ ก็เข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ไปเรียนไม่มีความรู้ เปิดหนังสือเท่าไรก็ไม่รู้ จับปากกาก็เขียนไม่ได้ การมาเรียนจึงเป็นการสะสมความรู้ เช่นเดียวกับคนที่มาเรียนสมาธิก็เป็นการสะสมพลังจิต ทำทุกวันๆ ก็เป็นการสะสมโดยไม่รู้ตัว”

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเริ่มฝึกสมาธิให้ดีต้องทำอย่างน้อย 5 นาทีต่อวัน หรือ 6 ชั่วโมงต่อเดือน จะทำให้พลังจิตดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องทำให้ติดต่อกันทุกวันจึงจะได้ผล การฝึกทำสมาธิครั้งละ 5 นาทีวันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น รวมแล้วก็จะตกวันละ 15 นาที รวมทั้งเดือน 415 นาที เมื่อทำสมาธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรจะจดบันทึกลงในสมุดทุกครั้ง เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ และนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำสมาธิเพื่อสันติภาพของโลก เพราะโลกจะสงบสุขได้ด้วยใจของคนเราที่มีเมตตาธรรม

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในพระราชทินนามที่ “พระธรรมมงคลญาณ”

เว็บไซต์วัดธรรมมงคล
http://www.dhammamongkol.com
http://www.samathi.com
http://www.geocities.com/watdham
http://www.willpowerinstitute.com

Image
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3451

หลักสูตรการอบรมสมาธิ ณ วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10702

โครงการอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ สถาบันพลังจิตตานุภาพ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=227

ประวัติและปฏิปทาพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20338

รวมคำสอน “หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร” วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43841

ศิษย์รุ่นสุดท้ายของ “หลวงปู่มั่น” ที่ยังดำรงขันธ์อยู่เวลานี้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48343

ภาพเก่าๆ ของครูบาฯ สายหลวงปู่มั่น ที่หาดูได้ยากมากๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=42605

ประมวลภาพวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14046

“พระเจสัน ยัง” ศึกษาวิชาสมาธิชั้นสูง รุ่นที่ ๑ ณ วัดธรรมมงคล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=42505

ขอเชิญร่วมงานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน ณ วัดธรรมมงคล ปี ๕๖
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44059

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง