Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ช่วยยกตัวอย่างหน่อยครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ไม่เก็ต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 4:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รบกวนท่านผู้รู้

กรุณาช่วยยกตัวอย่างที่สามารถแยกแยะ ระหว่างความแตกต่างของความหมาย ของคำทั้งสองนี้ คือ "สมมุติ"และ"บัญญัติ" ขอบคุณครับ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 27 ต.ค.2005, 2:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณไม่เก็ต



“รูป-นาม”



พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)



๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๓







นมตถุ รตนตตยสส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุกความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย





ต่อไปนี้ก็จะได้ปรารภธรรมะตามหลักคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ขอให้ญาติโยมได้ตั้งใจฟังด้วยดี ฟังประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ฟังพร้อมกับการเจริญสติไปด้วยก็สามารถจะทำได้ ฟังไปเจริญสติไปสลับควบคู่กับการทำความเข้าใจกับการระลึกรู้สภาว- ปรมัตถธรรม วันนี้จะได้มาพูดเกี่ยวกับเรื่องรูปนามเพื่อความเข้าใจในการที่จะได้ปฏิบัติวิปัสสนาได้ถูกต้องได้ตรงทาง เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นจะต้องเจริญระลึกรู้ตรงต่อรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฏ สติจะต้องระลึกตรงลักษณะของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฏ





หลักของวิปัสสนาเป็นอย่างนั้น รูปนามจึงเหมือนเป็นทางเดิน ไม่ว่าสติหรือสัมปชัญญะ หรือสติและสัมปชัญญะเป็นตัวที่เดินทางเป็นตัวกระทำ ทำที่ไหน เดินทางไปที่ไหน ก็เดินไปตามรูปนามคือต้องระลึกต้องรู้อยู่ที่รูปธรรมนามธรรม แล้วก็ต้องเป็นรูปนามที่กำลังปรากฏเรียกว่าปัจจุบัน ทำไมจะต้องเป็นรูปนามที่กำลังปรากฏ เพราะรูปนามที่ดับไปแล้วไม่มีหลักฐาน ไม่มีสภาวะที่จะเป็นหลักฐานแสดงหรือป้อนให้เกิดความรู้แจ้ง เพราะมันเป็นสิ่งที่ดับไปแล้ว ดับไปแล้วก็คือไม่มีแล้ว ของไม่มีจะพิสูจน์ให้รูปแจ้งไม่ได้ หรือรูปนามที่ยังไม่เกิด ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีหลักฐานที่จะป้อนให้เกิดปัญญาได้เพราะเป็นสิ่งที่ยังไม่มี ต้องเป็นรูปนามที่กำลังปรากฏจึงจะมีหลักฐาน จึงจะมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นชัดที่ให้เกิดความรู้แจ้ง





การเจริญวิปัสสนาเป็นเรื่องการพิสูจน์ความจริง การเข้าไปรู้แจ้งสภาพความเป็นจริงสภาพความเป็นจริงก็คือรูปธรรมนามธรรมนี่แหละ หมายถึงว่าชีวิตนี้ที่แท้จริงแล้วก็คือรูปนาม นอกจากรูปนามแล้วไม่มีอย่างอื่น สิ่งที่ประกอบมาเป็นชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นเพียงรูปธรรมนามธรรมเท่านั้นเองที่เป็นความจริงที่เป็นของจริง นอกจากรูปนามแล้วไม่มีอย่างอื่นที่เป็นความจริงอยู่ ความเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นหญิงเป็นชาย เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเรานั้นเป็นสมมุติเป็นของปลอม ไม่มีความเป็นจริงโดยเนื้อแท้ ความจริงโดยเนื้อแท้แล้วก็คือรูปนาม เพราะฉะนั้นการจะรู้แจ้งแทงตลอดที่เรียกว่าวิปัสสนาก็ต้องพิสูจน์ที่ปัจจุบัน หรือจะต้องระลึกรู้ที่รูปนามอันเป็นธรรมชาติที่เป็นความจริงที่กำลังปรากฏเท่านั้น





การเจริญวิปัสสนาจึงจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องรูปธรรมนามธรรม จะต้องรู้ว่ารูปคืออย่างไร ลักษณะของรูปลักษณะของนามเป็นอย่างไร ถ้าไม่รู้จักแล้วจะไปหาเจอได้อย่างไร ถ้าไม่รู้จักรูปจักนามก็ระลึกไม่ถูก ระลึกรูปนามไม่ถูก เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องฟังให้เกิดปัญญาในระดับสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟังต้องมีก่อน ต้องเข้าใจก่อน แล้วก็จึงมีจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด สำหรับการลงมือปฏิบัติใหม่ ๆ มันก็ต้องมีจินตามยปัญญาเข้าไปวินิจฉัยว่าอย่างนี้ใช่ไหม อย่างนั้นเป็นอย่างนั้น อย่างนี้เป็นอย่างนี้ จากการที่ได้ยินได้ฟังแล้วนี่จนเกิดจากรู้จักขึ้น ตอนแรกก็รู้จำมาแล้วก็มารู้จัก เมื่อรู้จักแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดนึกอะไร ก็ระลึกรู้อยู่กับรูปนามที่กำลังปรากฏอยู่เสมอ ๆ จึงเกิดความรู้แจ้งขึ้นเรียกว่าวิปัสสนาเกิดขึ้นมา





ฉะนั้น เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจเรื่องรูปธรรมนามธรรมให้ถ่องแท้ว่า รูปนามเป็นอย่างไร
คำว่ารูปก็เป็นสมมุติแล้ว คำว่านามก็เป็นสมมุติ เป็นชื่อเป็นภาษา แต่ว่าเป็นสมมุติที่มีสภาวะ เป็นวิชชมานบัญญัติ เป็นบัญญัติที่มีสภาวะรับรองอยู่ รูปจะมีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป สิ่งใดที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไปไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ สิ่งนั้นคือรูป คือรูปธรรม สิ่งใดที่รู้อารมณ์ได้ สิ่งนั้นก็เป็นนามธรรม สิ่งใดที่เข้าไปรับรู้อารมณ์ได้จัดเป็นนามธรรม ยกเว้นนิพพานที่เป็นนาม รู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นได้แต่อารมณ์เท่านั้น เป็นผู้รู้อารมณ์ไม่ได้ นอกนั้นสิ่งใดที่เกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ได้นั้นเป็นนาม ก็คือจิตกับเจตสิกเป็นนาม



การจะเข้าไปรู้เข้าไปพิจารณารูปนามก็ต้องเป็นรูปนามในตนเอง รูปนามที่ประกอบมาเป็นชีวิตของตนเอง และก็รูปนามที่มาปรากฏ โดยเฉพาะรูปที่มาปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รูปนามประกอบอยู่แล้วในชีวิตนี้ นอกจากมันจะประกอบกันอยู่แล้วมันก็ยังมีผ่านเข้ามาอีก จากภายนอกมันผ่านเข้ามา





คำว่ารูปคำว่านาม ภาษาชาวโลกก็ได้เอาไปใช้พูดกันอยู่เหมือนกัน ทำโครงการอะไรก็มักจะว่าเป็นนามธรรม ทำโครงการให้มันเป็นรูปธรรมขึ้น ที่เขามีโครงการนโยบายอะไรต่าง ๆ เขาก็บอกว่าทำให้มันเป็นรูปธรรม ถ้าเพียงแค่คิดวางแผนกันอยู่ อย่างนั้นเขาก็ว่าเป็นนามธรรม ฉะนั้น คำพูดที่ชาวโลกนำไปใช้มันไม่ตรงกับภาษาสภาวะที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติคำว่านามธรรมรูปธรรมนั้น ชาวโลกก็เอาไปใช้ไม่ตรงกัน อย่างที่เขามีเป็นโครงการเอาไว้ สร้างโครงการสร้างนโยบายวางแผนไว้ เขาบอกเป็นนามธรรม แต่โดยสภาวะจริง ๆ แล้วนั่นก็ยังไม่ใช่เป็นนามธรรม นั่นก็ยังเป็นสมมุติเป็นบัญญัติไม่ใช่นามธรรม หรือเมื่อเขามีเป็นวัตถุขึ้นมาโครงการมีวัตถุอะไรขึ้นมา อันนี้จริงเป็นรูปธรรม แต่การไปรับรู้มันก็ไปรู้แบบสมมุติ ไปรู้เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นความหมาย ก็เรียกว่าเป็นบัญญัติ






หรือว่าคำว่านามในภาษาไทยเรา ใครที่เรียนภาษาไทยจะพบว่า คำว่านามหมายถึงอะไร นามก็ดี สรรพนามก็ดี นามนี่หมายถึงชื่อใช่ไหม ชื่อคนสัตว์สิ่งของ ถ้าเป็นสรรพนามก็เรียกว่าใช้แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของ เช่น ชื่อโต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข อะไรอย่างนี้ เขาบอกว่านี่คือนาม ถ้าสรรพนามก็ใช้แทน เช่นคำว่า เขา เรา อะไรอย่างนี้ แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของ เป็นสรรพนาม ก็อย่าไปเอามาใช้ในความหมายเดียวกัน ไม่ตรงกัน นามในลักษณะภาษาไทยอย่างนั้นตรงกันข้ามกับนามในภาษาธรรมะ คือนามในภาษาไทยนั่นเป็นบัญญัติ ชื่อคนสัตว์สิ่งของนี่ถ้าโดยธรรมะแล้วถือว่าเป็นบัญญัติ คำว่าโต๊ะ คำว่าสุนัข คำว่าแมว คำว่าต้นไม้ เป็นชื่อเรียก ในภาษาธรรมะถือว่านั่นยังไม่ใช่นาม เป็นบัญญัติ





คำว่าเขาคำว่าเรา ที่เป็นสรรพนามมันก็เป็นบัญญัติ ต้องทำความเข้าใจว่าที่เราเคยได้ฟังตามภาษาโลก คำว่านามนั้นเอามาใช้ไม่ได้ มันเป็นสมมุติทั้งหมด ชื่อ คน สัตว์ สิ่งของหรือคำที่ใช้แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของนั้นเป็นสมมุติทั้งหมด โครงการอะไรต่าง ๆ ที่ว่าเป็นนามธรรมก็เป็นสมมุติ ตามประสาโลกเขาจะคิดว่าถ้าสิ่งใดที่มองไม่เห็นเป็นนาม ถ้าอะไรที่มองเห็นขึ้นมาเป็นรูปธรรม นี่คือเขาเอาไปใช้กันไม่ค่อยตรง ไม่ตรงกับความเป็นจริง เราก็ต้องเกิดความไขว้เขว พอมาฟังธรรมะเรื่องรูปเรื่องนาม เราก็อาจจะไปคิดติดอยู่ในที่เคยชินตามประสาโลก ฉะนั้นการจะทำความเข้าใจขั้นแรกก็ต้องตัดxxxที่เคยเข้าใจตามภาษาโลกออกไปก่อน มาทำความเข้าใจเสียใหม่





อ่านต่อ....


http://www.mahaeyong.org/Dharma/LoopNam.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ต.ค.2005, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)





บัญญัติ หมายถึง การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ



สมมติ หมายถึง การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน;

การที่สงฆ์ ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือ แต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุ เป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น

ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง