Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การทำบุญที่ไม่ต้องเสียสตางค์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 14 ต.ค.2005, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำบุญที่ไม่ต้องเสียสตางค์



เมื่อพูดถึงการทำบุญ หลายท่านจะนึกถึง

ถังสังฆทาน ซองผ้าป่า กฐิน งานปิดทองฝังลูกนิมิต ฯลฯ

ซึ่งก็หมายถึง การที่จะต้องมีปัจจัยเพื่อจับจ่ายซื้อหามาทั้งนั้น

จึงจะได้สิ่งเหล่านั้นมาเพื่อทำบุญ

เป็นเหตุให้ผู้ที่คิดจะทำบุญแต่ขาดทุนทรัพย์เงินทอง

ที่จะลงทุนเพื่อได้ทำบุญนั้น ไม่ใฝ่ใจในการทำบุญ



จากเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้คนคิดไปไกลว่า

การทำบุญต้องมีเงินทำบุญเท่านั้นจึงจะได้บุญ

ถ้าไม่มีเงินก็คือไม่ได้ทำบุญ



ว่ากันจริงๆ แล้ว คำสอนในทางพระพุทธศาสนาถือว่า

บุญ เป็นชื่อของความสุข ทั้งทางกายและจิตใจ

เป็นการสั่งสมในเรื่องความดี

สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญมีด้วยกันถึง 10 อย่าง

เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการนั่นเอง



ใน 10 ประการนั้น มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องมีเงินลงทุน

ส่วนอีก 9 ข้อที่เหลือ ไม่ต้องเสียเงินเลยสักสตางค์เดียว

ก็เป็นบุญได้ และมีผลมากกว่าอีกด้วย



ขอนำเสนอวิธีการทำบุญเพื่อให้ท่านได้เลือกบำเพ็ญดังนี้



1. ทานมัย

บุญสำเร็จจากการให้ทาน



ในข้อนี้ถ้าเป็นวัตถุทานจำเป็นต้องมีวัตถุ

อันเป็นที่ตั้งแห่งการให้ทานเพื่อสร้างบุญและต้องลงทุน

เช่น ต้องการถวายภัตตาหารพระ

ก็ต้องจัดหาจัดเตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อถวาย เป็นต้น



แต่ถ้าเป็นทาน คือการสละอารมณ์โกรธ

และสิ่งเป็นอกุศลออกไป

แผ่เมตตาให้ความปรารถนาดีแก่ผู้อื่น

ก็ถือว่าเป็นการให้ทานอีกประการหนึ่งด้วย

และก็ได้บุญโดยไม่ต้องเสียเงินแต่ประการใดด้วย



2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล



ไม่ว่าจะเป็นศีลห้า สำหรับอุบาสก อุบาสิกาทั่วไป

หรือศีล 8 สำหรับแม่ชี ศีล 10 สำหรับสามเณร

และ ศีล 227 สำหรับพระภิกษุ



ศีลถ้าใครรักษาผู้นั้นก็ได้บุญ

ดังนั้น ควรหาโอกาสรักษาศีลบ้าง

อาจจะเป็นทุกๆ วันพระ หรือวันเสาร์อาทิตย์

หมั่นปฏิบัติให้เกิดความเคยชินก็จะเป็นบุญ



3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา



การหมั่นกำหนดจิตเจริญภาวนาให้จิตได้มีเวลาผักผ่อน

และสงบบ้าง นี่ก็ถือว่าเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่



4. อปจายนมัย

บุญที่สำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่



ผลก็คือย่อมเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ และพละ

รู้จักที่ต่ำที่สูง รู้จักกาลเทศะในการเข้าหา

และปฏิบัติตนต่อผู้ใหญ่ ท่านก็จะเมตตาเราเอง

นั่นก็เป็นผลบุญแล้ว



5. เวยยาวัจจมัย บุญอันเกิดจากการขวนขวายช่วยเหลือ

เจือจุน ออกเหงื่อต่างเงิน



เช่น การมีส่วนร่วมอาสาสมัครช่วยงานการกุศลต่างๆ

ด้วยความสุจริต จริงใจ ความประทับใจของผู้ได้รับ

การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อจากผู้บำเพ็ญบุญข้อนี้นั่นแหละ

ถือเป็นผลบุญเกิดแล้ว



6. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญแห่งความดี

ที่ตนเองได้บำเพ็ญแล้วแก่ผู้อื่น

แม้ให้แก่คู่อริศัตรู ยิ่งมีอานิสงส์มหาศาล ศัตรูกลายเป็นมิตร

เพราะบำเพ็ญบุญข้อนี้ก็มีเยอะ



7.ปัตตานุโมทนามัย

บุญที่เกิดจากการมีจิตใจยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น

ด้วยความจริงใจ

โดยปราศจากความอิจฉาริษยา ไม่ซ้ำเติมผู้พลาดพลั้ง

เพื่อนที่คบกันได้นานเพราะเพื่อนได้บำเพ็ญบุญข้อนี้เอง



8. ธัมมัสวนมัย

บุญเกิดจากการฟังธรรมอันเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อริยะสาวกได้รู้แจ้งเห็นจริง พุทธบริษัทเข้าใจธรรมะ

ก็เพราะได้เปิดใจรับฟังธรรมะนั่นเอง



9. ธัมมเทสนามัย

บุญเกิดจากการได้แสดงธรรม ให้ข้อคิดเตือนสติ

สะกิดใจ ให้คนเว้นจากการทำชั่ว

...ประโยคคำพูดปลอบใจ ให้สติ ไม่กี่คำ

ก็ช่วยให้ชีวิตใหม่แก่คนมานักต่อนักแล้ว



10. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง

เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น



ที่เข้าใจว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป..

.ให้ศึกษาความหมายใหม่

และควรปรับความเห็นของตนให้ตรงเสียที



หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะสบายใจได้ว่า

แม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็มีสิทธิที่จะบำเพ็ญบุญได้

อย่างเต็มที่ ตามโอกาสและความเหมาะสม

สุดแล้วแต่จะเลือกปฏิบัติดังที่กล่าวมา

ก็ขึ้นอยู่แต่เพียงว่าท่านเองจะสร้างโอกาสให้กับตนเอง

ได้บำเพ็ญในสิ่งที่เป็นบุญในรูปแบบใด



พระพุทธศาสนามีแนวคำสอนที่เปิดอิสระให้กับทุกคน

และเมื่อผู้ปฏิบัติตาม ผลย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยไม่ต้องสงสัย

แต่ที่ผลยังไม่เกิด เพราะว่าเรายังไม่ได้เริ่มลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเท่านั้นเอง



ให้ระลึกอยู่ในใจไว้ตลอดว่า



ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

ซึ่งหมายถึง ธรรมะของพระพุทธเจ้า

ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามเท่านั้นจักได้รู้ได้เห็น และได้ประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง



ต่อไปนี้คงไม่ท้อใจในการทำบุญเพราะว่าไม่มีสตางค์อีกแล้ว







ที่มา: นสพ.คมชัดลึก



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
หนูฝิ่น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ต.ค.2005, 10:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาสาธุคะ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง