Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในสวนธรรม ภาค ๒ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนัตตา








อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน คำนี้ตรงข้ามกับคำว่าอัตตา คือ ตัวตนขอแนะนำให้รู้จักกับอัตตาไว้ตรงนี้เล็ก ๆ





อัตตา คือ เรายึดว่า นี่เป็นตัวเรา ดังนั้น เราจึงเสิร์ฟทุกอย่างให้กับตัวเรา ด้วยความรักใคร่หลงใหล เราจะมีมานะคือถือดีทำดีอยากอวด พยายามทำดีเพียงเพื่อจะไปเกิดในสวรรค์ประการเดียว ไม่ใช่เพื่อหลุดพ้นจากสังสารวัฏ มี 3 ก. คือ กิน กาม เกียรติ ดูแลไว้ให้ตัวเองอย่างดี ดังนี้เป็นต้น





อนัตตา คือให้รู้ว่า ตัวเราไม่ใช่ตัวตน ( และทุกอย่างในโลกก็ไม่ใช่ตัวตนด้วย )





ตอนนี้จะขอลอกพระสูตรมาลงไว้ให้อ่านกันบ้าง จะได้ใกล้ชิดกลิ่นอายของภาษาหนังสือธรรมะเข้าไปอีกนิด พอไปหาอ่านจะได้พอคุ้นเคย อ่านบ่อย ๆ แล้วเพลินดี ในพระสูตรมีนิทานเยอะด้วย แต่ที่เอามานี้ไม่ใช่นิทาน เป็นพระสูตรชื่อว่า จูฬสัจจกสูตร อยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 12 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์หน้า 392 – 404/422-436 ท่านอาจารย์วศิน

อินทสระ คัดออกมาให้ นักศึกษาธรรมวันอาทิตย์ได้อ่านกัน มีใจความดังนี้





ชื่อเรื่อง “ ตัวตนหรือมิใช่ตัวตน “







 

_________________
สายลมเริ่มเปลี่ยนทิศแล้ว
ลมหนาวกำลังมาเยือนแล้ว

จันทร์ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 11:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ xxxฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี คราวนั้น นิครนถ์คนหนึ่ง ชื่อ สัจจกะ อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ( ชาวเมืองเวสาลี ) เป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่า เป็นผู้มีความรู้ดี ยกตนเองว่าเป็นปราชญ์ และประกาศในเมืองเวสาลีนั่นว่า เขาไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆที่จะโต้วาทะกับเขาได้ แม้ผู้ที่ปฏิญาณตนว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตนแล้วก็ต้องหวั่นไหว ประหม่า เหงื่อตก อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้เสาก็ต้องสั่นคลอน หวั่นไหว ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตน





เช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิเถระ ( รูปหนึ่งในพวกปัญญจวัคคีย์ ) เข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี สัจจกนิครนถ์ออกมาเดินเล่น พบพระอัสสชิ จึงเข้าไปหาและถามท่านว่า





“ พระคุณเจ้าอัสสชิ ท่านเป็นสาวกของพระสมณโคดมข้าพเจ้าอยากทราบว่า พระสมณโคดมสอนสาวกอย่างไร แนะนำสาวกอย่างไร “





“ อัคคิเวสสนะ “ พระอัสสชิตอบ “ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นศาสดาของพวกเราสอนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ( รวมเป็นขันธ์ 5 ) ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน( อนัตตา ) “





“ ท่านอัสสชิ ท่านอาจฟังมาผิดกระมัง ถ้าพระสมณโคดมตรัสสอนเช่นนี้จริง ข้าพเจ้าจะช่วยสอนพระสมณโคดมให้มีความเห็นเสียใหม่ ให้มีความคิดที่ถูกต้องดีกว่านี้ “





สัจจกนิครนถ์เข้าไปยังลิจฉวีสภา ซึ่งพวกเจ้าลิจฉวีกำลังประชุมกันอยู่ เล่าเรื่องที่สนทนากับพระอัสสชิให้เจ้าลิจฉวีฟัง และ





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ว่าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม จะหมุนพระสมณโคดมเสีย ให้เหมือนหมุนหม้อเปล่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกันเถิด



เจ้าลิจฉวีได้ตามสัจจกนิครนถ์เข้าไปในป่ามหาวัน ถามพวกภิกษุว่า พระศาสดาประทับอยู่ที่ใด พวกภิกษุตอบว่าประทับพักกลางวันอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง สัจจกนิครนถ์เข้าไปหา แล้วทูลถามว่า ทรงสั่งสอนสาวกอย่างไร พระศาสดาตรัสตอบอย่างเดียวกับที่พระอัสสชิตอบแล้ว สัจจกะจึงว่า





“พระโคดม ต้นไม้และพืชพันธุ์ทั้งหลายจะเจริญงอกงามต้องอาศัยพื้นดิน การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทำก็ต้องอาศัยพื้นดินฉันใด บุคคลอาศัยรูปเป็นตัวตน มีเวทนา มีสัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นตัวตน จึงมีบุญ มีบาปได้ ถ้ารูปเป็นต้นไม่เป็นตัวตนแล้ว บุญบาปจะมีได้อย่างไร “





“อัคคิเวสสนะ ท่านยืนยันหรือว่า รูปเป็นตัวตนของเรา “ พระศาสดาตรัสถาม





“ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น, พระโคดม ประชาชนทั้งหลายก็ยืนยันเช่นนี้เหมือนกัน





“คนอื่นช่างเขาเถิด อัคคิเวสสนะ ขอเพียงแต่ท่านยืนยันคำของท่านอย่างนั้นหรือ”





“ ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น”





“ อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้นเราขอถามท่านสักข้อหนึ่ง คือ กษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าอชาตศัตรู ย่อมสามารถฆ่าคนที่ควรฆ่า เนรเทสคนที่ควรเนรเทศได้มิใช่หรือ “









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ เป็นอย่างนั้น พระโคดม “





“ ก็ท่านบอกว่า รูป เป็นต้น เป็นตัวตนของเรา ท่านมีอำนาจเหนือรูป เป็นต้นนั้นหรือ ท่านปรารถนาได้หรือว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย





เมื่อพระศาสดาตรัสถามดังนี้ถึง 2 ครั้ง สัจจกนิครนถ์ก็คงนิ่งอึ้งอยู่ จึงตรัสเตือนว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลานิ่ง แต่เป็นเวลาที่จะต้องพูด ในที่สุด สัจจกนิครนถ์ก็ทูลรับว่า ไม่อาจบังคับรูปเป็นต้นได้





พระศาสดาจึงตรัสว่า “ เปรียบเหมือนคนถือขวานเข้าไปในป่าด้วยต้องการแก่นไม้ พบต้นกล้วย จึงตัดที่โคนแล้วตัดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร วาจาของท่านก็หาแก่นสารอะไรไม่ได้ พอซักไซ้ไล่เลียงเข้าก็ว่างเปล่า แพ้ไปเอง ที่ท่านเคยพูดในเมืองเวสาลีไว้อย่างไร จงพิสูจน์คำพูดของท่านเถิดเหงื่อของท่านหยดลงจากหน้าผากแล้ว แต่ของเราไม่มีเลย “





สัจจกนิครนถ์นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ และในที่สุดก็กล่าวขอโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อจากนั้นได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า ด้วยเหตุเพียงเท่าใด สาวกของพระสมณโคดมชื่อว่า ได้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกต้องตามโอวาทของพระสมณโคดม ข้ามความสงสัยเสียได้ ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนแห่งศาสนาตน ?





พระศาสดาตรัสตอบว่า “ สาวกของเราย่อมพิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณว่ามิใช่ตัวตนของเรา เพียงเท่านี้ก็ชื่อว่า ได้ทำตามคำสั่งสอนของเรา…….. “





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ “ สัจจกนิครนถ์ทูลถาม





“สาวกของเราพิจารณาเห็น เบญจขันธ์ตามเป็นจริง คือ ไม่ใช่ตัวตนของเรา หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละชื่อว่าเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม 3 ประการ คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม( ทัสสนานุตตริยะ ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ( ปฏิปทานุตตริยะ ) ความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม ( วิมุตตานุตตริยะ ) “





สัจจกนิครนถ์ทูลรับสารภาพและสรรเสริญว่า





“ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีนิสัยคอยกำจัดคุณของผู้อื่น คะนองวาจาคิดว่าจะรุกรานพระสมณโคดมด้วยถ้อยคำของตน พระสมณโคดมผู้เจริญ บุคคลเจอช้างซับมันก็ดี เจอกองไฟที่ลุกโพลงก็ดี เจออสรพิษก็ดี ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่มาเจอพระสมณโคดมเข้าแล้ว ไม่มีทางรอดตัวไปได้เลย ( คือต้องยอมแพ้) “





สัจจกนิครนถ์อาราธนาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พระศาสดาทรงรับนิมนต์โดยดุษณี วันรุ่งขึ้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปเสวยที่อารามของสัจจกนิครนถ์ เมื่อเสวยเสร็จแล้ว สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ขอผลบุญในทานนี้จงเป็นความสุขแก่ผู้ให้เถิด พระศาสดาตรัสว่า ผลบุญในทานที่ให้แก่ผู้มีราคะ โทสะ โมหะ เช่นท่าน จงมีแก่ทายก ส่วนผลบุญในทานที่ให้แก่ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะเช่นเรา ขอจงมีแก่ท่าน









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อปัญญานันทะ เคยเทศน์ว่า อะไรๆมันเป็นของประกอบกันมาเช่น รถยนต์ เราชี้ไปสิว่ารถอยู่ที่ไหน มันไม่มีรถ มีแต่ตัวถัง หลังคา ประตู ล้อ กระจก ฯลฯ ต่างๆมารวมกัน





เมื่อไล่ไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่า ที่ปลายทางคือความว่าง มองแบบนี้ ตามภาพอาจจะเห็น ของจริงอาจจะไม่เห็น เพราะมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ได้ แต่เราพอจะเข้าใจได้





เมื่อเรามองดูสวน สวนก็จะหายไป กลายเป็นส่วนประกอบของต้นไม้ กระถาง สระน้ำ ตุ๊กตาหิน หญ้า





เมื่อมองต้นไม้ ต้นไม้ก็จะหายไป กลายเป็นส่วนประกอบของลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ราก ผล ดอก



เมื่อมองต้น ก็กลายเป็น เปลือก กระพี้ สะเก็ด แก่น



จับมาไล่ไปเรื่อย ๆ ทุกอย่างก็จะไปสุดที่การจับตัวของพลังงานคือ ความว่าง เราเหมือนกับจะมองทะลุอะไรไปได้หมด โลกจะใสเหมือนแก้ว





เมื่อทุกอย่างเป็นของว่าง ไม่ใช่ตัวตน จึงไม่มีอะไรน่าผูกผัน เมื่อมองอย่างโลก ๆ เราก็ดูแลรักษาอย่างโลก ๆ ไปตามเหตุตามปัจจัยที่สมควรตามหน้าที่ของเรา เมื่อมองอย่างธรรม ก็ให้ใจปล่อยวางลงจากความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ทั้งมวล เรียกว่ามี 2 โลก ซ้อนกันอยู่ คือ ดลกที่เป็นไปอยู่ทุกวัน ซึ่งสร้างทุกข์ให้เรา กับโลกแบบธรรม ซึ่งปลดทุกข์ให้เรา





ในทางทฤษฎี ท่านก็จะสอนว่า เราคือองค์ประกอบของธาตุ 6 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ



1.ดินคือ ส่วนแข็ง เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ



2.น้ำคือ เลือด น้ำลาย น้ำตา ฯลฯ



3.ลมคือ ลมหายใจ ลมในท้อง ฯลฯ



4.ไฟคือ ความร้อนในร่างกาย









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5.อากาศธาตุ คือความว่างในตัวเรา เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องหลอดลม ช่องในลำไส้ หรือแม้แต่ในอณูละเอียดก็มีความว่างของแต่ละอณู ถ้าความว่างในตัวเราไม่มี เช่น จมูกตันก็หายใจไม่ได้ หลอดอาหารตัน ก็กินข้าวไม่ได้ ฉะนั้นช่องว่างหรือความว่างนี้ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของเรา





ความจริงชีวิตภายนอก เราก็ยังอาศัยอยู่กับความว่าง เช่นในบ้าน เราอาศัยอยู่ในที่ว่างของห้อง ในรถเราก็อยู่ในที่ว่างของรถ คือ ถ้ารถตันหมด เราก็เข้าไปในรถไม่ได้ เป็นต้น





6.วิญญาณธาตุ คือจิตของเรา

ในที่สุด ทุกอย่างจะคืนสู่ธรรมชาติ เมื่อเราตาย ดังนั้นเราก็คือ การรวมตัวของธาตุ 6 นั่นเอง ไม่มีเราจริง





ความทุกข์ใจเกิดจากความยึดมั่นว่า นั่นเป็นของ ‘ของเรา’ ซึ่งความจริงคือ ไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา มันเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น เพราะถ้าเป็น’ของเรา’เราต้องสั่งได้





สิ่งของภายใน ร่างกายของเรา เราสั่งไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้ สั่งไม่ให้ทุกข์ เศร้า ร้องไห้ สุขก็ไม่ได้ แม้แต่จะสั่งให้ลืมความทุกข์ใจเรื่องเมื่อวาน ก็ยังสั่งไม่ได้





แต่ธรรมชาติสั่งได้ทุกอย่าง เพราะเราเป็นของธรรมชาติไม่มีอะไรเป็น “ตัวเรา” เป็น “ของเรา” ในทางธรรมะ





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2004, 12:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5.ละความยึดมั่นถือมั่นและปล่อยวาง






เมื่อเราเข้าใจไตรลักษณ์คือ อนิจจังความไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตาความไม่ใช่ตัวตน แล้วก็เข้าใจความไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราไปด้วย





ความเข้าใจอันนี้ เมื่อเรานำมาพิจารณาบ่อย ๆ พิจารณากับทุกสิ่งที่ได้พบ พิจารณากับทุกปัญหาทุกข์ใจของเรา พิจารณาด้วยความเป็นธรรม ยอมรับความจริงของสัจธรรม ยอมรับความจริงของสัจธรรมของโลก เพราะเถียงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร ในเมื่อความจริงมันเป็นเช่นนั้น ไม่มีวันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีวันเปลี่ยนไปตามที่ใจเราต้องการ





ถ้าเรายอมรับสัจธรรมนี้ได้จิตใจของเราจะอ่อนลง ความยึดมั่นถือมั่นจะผ่อนคลายลง อย่างที่ท่านเรียกว่า ปล่อยวาง มันลง เราก็จะหลุดออกจากความทุกข์ได้ เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ สะสมความเย็น ความปล่อยวางนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นเอง จนวันหนึ่งจะชัดเจนจนสังเกตได้ว่าเรื่องที่เราเคยทุกข์หนัก พอพบเรื่องที่ควรจะทุกข์ เราจะทุกข์น้อยลง





ในการสอนระดับสูง ท่านไม่ให้ยึดมั่นแม้แต่ในเรื่องการทำดี พูดอย่างนี้ ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องทำดี แต่แปลว่า ทำดีเสร็จแล้ว ไม่ยึดติดกับความดีที่ทำไปแล้วนั้นจนเป็นทุกข์อีก พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นแม้ในนิพพาน คือ ให้ปล่อยวางในทุก ๆเรื่อง เพื่อให้สงบ





พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ร่างกายนี้เปราะเหมือนไข่ พร้อมที่จะแตก แม้ร่างกายจะกระวนกระวาย ขออย่าให้ใจกระวนกระวายแม้จะแก่ชรา หรือเจ็บไข้











 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

6. ความหลุดพ้น คือแก่นพระพุทธศาสนา






ในมหาสาโรปมสูตร มัชณิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก เล่ม 12 กล่าวถึง “ แก่นพระพุทธศาสนา “ ดังนี้





แก่นของพระพุทธศาสนาที่ทรงหมายถึงในที่นี้ คือ วิมุติความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ส่วนศีล สมาธิ และปัญญานั้น เป็นเพียงสะเก็ดและกระพี้ของพระพุทธศาสนา มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้





สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌxxxฏ เมืองราชคฤห์ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า บางคนมีศรัทธา ออกบวช เมื่อบวชแล้วก็ได้ลาภสักการะเป็นอันมาก พอใจหลงใหลในลาภสักการะนั้น ยกตนข่มผู้อื่นเพราะลาภสักการะนั้น เต็มความปรารถนา ( เห็นไปว่าการได้ลาภสักการะและความนับถือนั้น เป็นผลสูงสุดของการบวช จึงไม่ขวนขวายเพื่อให้มีคุณธรรมยิ่งขึ้นไป ) เขาอยู่อย่างประมาท เมื่อประมาทก็อยู่เป็นทุกข์ เปรียบเหมือนคนต้องการแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้ในป่า แต่เนื่องจากไม่รู้จักแก่นไม้ ได้กิ่งและใบสำคัญหมายว่าเป็นแก่น เขาย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ในกิจที่จะต้องทำด้วยแก่นไม้





บางคนไม่เต็มความปรารถนาอยู่เพียงลาภสักการะ และชื่อเสียง จึงทำศีลให้สมบูรณ์ แล้วพอใจเต็มความปรารถนาอยู่ เพียงแค่ศีลนั้น ( ศีลเปรียบเหมือนสะเก็ดไม้ )





บางคนไม่เต็มปรารถนาเพียงแค่ศีล จึงไม่ประมาท ทำ







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมาธิให้บริบูรณ์แล้วพอใจอยู่เพียงสมาธินั้น เปรียบเหมือนแสวงหาแก่นไม้ ได้เปลือกไม้แล้วพอใจ เข้าใจว่าเป็นแก่น





บางคนไม่เต็มความปรารถนาเพียงสมาธิ จึงไม่ประมาททำปัญญาให้เกิดขึ้นแล้วพอใจในปัญญานั้น เต็มความปรารถนาเหมือนคนแสวงหาแก่นไม้ ได้กระพี้แล้วพอใจ เข้าใจว่าเป็นแก่น





บางคนไม่เต็มความปรารถนาเพียงแค่ลาภสักการะ ชื่อเสียง ศีล สมาธิ และปัญญา เขาทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เรียกว่า ได้ถึงแก่นของพระพุทธศาสนา





รวมความว่า ถ้าเปรียบพรหมจรรย์หรือพุทธศาสนาเหมือนต้นไม้ทั้งต้น



1.ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนใบและกิ่ง



2.ศีล เปรียบเหมือนสะเก็ด



3.สมาธิ เปรียบเหมือนเปลือก



4.ปัญญา เปรียบเหมือนกระพี้



5.วิมุติ เปรียบเหมือนแก่น



พระพุทธองค์องค์ทรงสรุปว่า ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้ จึงประมวลลงได้ว่า เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ มิใช่เพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อศีล สมาธิ ปัญญา ( ญาณทัสสนะ ) แต่เราประพติพรหมจรรย์นี้ เพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตอันไม่กำเริบ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ เป็นแก่นสารที่แท้จริง



ภิกษุทั้งหลายฟังแล้ว ชื่นชมยินดีต่อภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คติธรรมสำหรับพระสูตรนี้ ท่านอาจารย์วศิน อินทสระได้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้





ปัญญาในพระสูตรนี้ ทรงใช้คำว่า ญาณทัสสนะแทน ซึ่งหมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ใช่รู้ตามที่ปรากฏ เพราะสิ่งที่ปรากฎอาจหลอกเราได้ เช่น สีเขียว เมื่ออยู่ภายใต้ไฟสีเหลือง จะเห็นเป็นสีน้ำตาล อุณหภูมิซึ่งไม่ร้อนไม่เย็น แต่ถ้าเราออกมาจากห้องเย็นจะรู้สึกว่าร้อน หรือปรากฎแก่เราว่าร้อน นี้เกี่ยวกับเรื่องทางกายใน เรื่องทางจิตก็เหมือนกัน ถ้าจิตเราถูกกิเลสครอบงำ ก็จะเห็นไปอย่างหนึ่ง พอจิตเป็นอิสระไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็จะเห็นไปอย่างหนึ่ง พุทธศาสนาต้องให้เห็นอะไรต่าง ๆ ด้วยปัญญาชอบ( สัมมาปัญญา ) ไม่ใช่เห็นตามอำนาจของกิเลส





เกี่ยวกับความหลุดพ้น ( วิมุติ ) มีอยู่ 3 แบบ คือ หลุดพ้นที่ยังกำเริบ หมายถึง หลุดพ้นชั่วคราว ( ตทังควิมุติ ) และหลุดพ้นเพราะข่มกิเลสไว้ด้วยกำลังฌาน ( วิขัมภนวิมุติ ) อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นที่ไม่กำเริบอีกคือ หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด ( สมุจเฉทวิมุติ ) กิเลสใดที่ละได้แล้วก็เป็นอันละได้ขาด ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เช่น ความหลุดพ้นของพระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชีวิตที่สมบูรณ์คืออะไร






เคยมีคนตั้งคำถามกับชีวิตว่า ชีวิตที่สมบูรณ์คืออะไร คือ การมีบ้านของตัวเอง มีรถ มีครอบครัว มีงานทำ เมื่อทุกอย่างครบพร้อมมูลล นั่นคือการมีชีวิตที่สมบูรณ์ใช่ไหม

คำตอบ คือ ไม่ใช่

ท่านสอนว่า ชีวิตที่สมบูรณ์คือ ชีวิตที่ไม่มีอะไร

แต่อย่ารีบแปลว่า ตัวคนเดียวเดี่ยวโดด นอนอยู่ป้ายรถเมล์อย่างนั้นแล้วก็จะบรรลุ มันน่าจะเป็นบรรลัยมากกว่า จริง ๆ แล้วท่านแปลว่าอย่างนี้

ชีวิตที่ไม่มีอะไร ให้มีแบบไม่มี คือ มีทุกอย่างได้ แต่ไม่ได้ไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา ให้ใจสงบ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับเรื่องวุ่นวายได้โดยสงบ เหมือนหยดน้ำที่กลิ้งไปมาอยู่บนใบบัว เคยเห็นไหม ถ้าไม่เคยเห็น ก็ไปหาใบบัวมาแล้วหยดน้ำลงไปกลิ้งดู













 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อธรรมในบทสวดมนต์






ในหนังสือสวดมนต์ที่ใช้สวดกันอยู่เป็นประจำในวันอาทิตย์ที่วัดชลประทานฯนั้น หลวงพ่อพุทธทาสได้แปลเป็นภาษาไทย กำกับไปกับภาษาบาลี เพื่อให้ผู้สวดมนต์ได้เข้าใจเนื้อหาด้วย





ในช่วงเช้า จะเป็นการสวดมนต์ทำวัตรเช้า มีบทสรรเสริญ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัย และบทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า





ขณะที่พระฉันอาหารเพลที่ลานหินโค้ง ญาติโยมก็จะมีการสวดมนต์อีกครั้ง แล้วแต่ว่าวันนั้นผู้นำสวด จะเลือกสวดบทใด





ตัวอย่างข้อธรรมคำสอนในบทสวดมนต์ นำมาให้อ่านกันเล็กน้อย เพื่อให้คนไม่เคยสวดมนต์ได้รู้ว่า ที่เขาบอกว่าสวดมนต์นั้น เขาพูดถึงอะไรกันบ้าง ในที่นี้ คัดเฉพาะที่เป็นภาษาไทยมา





ในธรรมะของพระพุทธเจ้าได้สอนว่า





ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขันธ์ 5 อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการจำแนกอย่างนี้ว่า





รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน





สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน





ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข





เมื่อบุคคลใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมอันหมดจด จงยินดีต่อพระนิพพานอันสงัด ซึ่งสัตว์ยินดีได้ยาก





บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มา ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้ ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้





พิจารณาสังขาร สังขารคือร่างกายจิตใจ และรูปธรรมนามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไปมันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป สิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขารแลมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา





ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน ความตายเป็นของยั่งยืน อันเราจะพึงตายเป็นแท้ ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ ชีวิตเราเป็นของไม่เที่ยง ควรที่จะสังเวชร่างกายนี้ มิได้ตั้งอยู่นาน ครั้นปราศจากวิญญาณ อันเขาทิ้งเสียแล้ว จักนอนทับ ซึ่งแผ่นดิน ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้





นอกจากนี้ ยังมีบทธรรมอื่น ๆ อีกมาก สวดแล้วก็ได้ความรู้ดีเหมือนกัน และทำให้สงบดีเวลาสวดมนต์







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมบท






ด้วยเจตนาในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ต้องการจะดึงท่าน ผู้อ่านให้ใกล้ชิดกับธรรมของพระพุทธเจ้า เสมือนนั่งอยู่ในศาลาฟังธรรมริมน้ำ จึงนอกจากจะเล่าให้ฟังถึงหลักธรรมต่าง ๆ มาแล้วยังอยากจะทำพระพุทธพจน์มาลงไว้ด้วย โดยคัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ “พุทธวจนะในธรรมบท “ แปลโดย คุณ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ฉันขออนุญาตและขอบคุณ คุณ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย





พุทธวจนะนี้สั้น ๆ แต่ให้ความประทับใจลึกซึ้ง เมื่อนำไปคิดไปใช้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองมาก และรู้สึกเหมือนพระพุทธเจ้ามาสอนเราอยู่ใกล้ ๆ มาสอนเราโดยเฉพาะ ก่อให้เกิดความอยากทำตาม เพราะความรู้สึกใกล้ชิดที่ได้รับนั้นเอง





* ห้วงน้ำลึกใสสะอาดสงบฉันใด

บัณฑิตฟังธรรมแล้ว

ย่อมมีจิตใจสงบฉันนั้น





*ชาวนาไขน้ำเข้ามา

ช่างศรดัดลูกศร

ช่างไม้ดัดไม้

บัณฑิตฝึกตนเอง





*ขุนเขาไม่สะเทือนเพราะแรงลมฉันใด

บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหว

เพราะนินทาหรือสรรเสริญฉันนั้น

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

*เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ

ผู้ที่ฝึกตนได้ ระมัดระวังอยู่เป็นนิตย์

ถึงเทวดา คนธรรพ์ พรหมก็เอาชนะไม่ได้





*ผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นความเกิด

และความเสื่อมสลายของสังขาร

ถึงจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

ก็สู้ชีวิตวันเดียวของผู้ที่พิจารณาเห็นไม่ได้





*ไม่ควรแส่หาความผิดของผู้อื่น

หรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำ

ควรตรวจดูเฉพาะสิ่งที่ตนทำหรือยังไม่เท่านั้น





*คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์

ก็เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา

บุตรและทรัพย์ จะเป็นของเขาได้อย่างไร





*กรรมใดทำแล้ว ทำให้เดือดร้อนภายหลัง

กรรมนั้นไม่ดี ผู้ทำกรรมเช่นนี้ต้องร้องไห้

น้ำตานองหน้า รับสนองผลกรรมนั้น

กรรมใดทำแล้ว ไม่ทำให้เดือดร้อนภายหลัง

กรรมนั้นดี คนทำย่อมเสวยผลกรรมนั้น

อย่างเบิกบานสำราญใจ









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 4:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

*กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด

เหมือนนมที่รีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที

แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง

เหมือนไฟไหม้แกลบฉะนั้น





*พึงรีบเร่งกระทำความดี

และป้องกันจิตจากความชั่วจากความชั่ว

เพราะเมื่อกระทำความดีช้าไป

ใจจะกลับยินดีในความชั่ว





*ถ้าหากคนเราจะทำความดี

ก็ควรทำบ่อย ๆ

ควรพอใจในการทำความดีนั้น

เพราะการสะสมความดีนำสุขมาให้





*เมื่อบาปยังไม่ส่งผล

คนชั่วก็เห็นว่าเป็นของดี

ต่อเมื่อมันเผล็ดผลเมื่อใด

เมื่อนั้นแหละเขาจึงรู้พิษสงของบาป





*พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย ละเว้นทางที่มีภัย

คนรักชีวิตละเว้นยาพิษ ฉันใด

บุคคลพึงละบาป ฉันนั้น





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 4:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

*อย่าดูถูกบุญว่าเล็กน้อยจักไม่สนองผล

น้ำตกจากเวหาทีละหยด ๆ ยังเต็มตุ่มได้

นักปราชญ์ สะสมบุญทีละเล็กละน้อย

ย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน





*ถ้าเธอทำตนให้เงียบเสียงได้เหมือนฆ้องปากแตก

ก็นับว่าเธอเข้าถึงนิพพานแล้ว

เธอก็จะไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับใครอีก





*เราต้องพึ่งตัวเราเอง

คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว

ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก





*ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว ละได้ด้วยการทำดี

ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง

เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น





*ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิตตลอดชีวิต

คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่

เหมือนจวักไม่รู้รสแกงฉันนั้น







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

*ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ

ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ

ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์

ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ





*สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยงแท้

สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้

เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์

นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์





*เราจักอดทนต่อคำเสียดสีของคนอื่น

เหมือนพระยาคชสารในสนามรบ

ทนลูกศรที่ปล่อยออกไปจากคันธนู

เพราะว่าคนโดยมาก มีxxxชั่ว





*มีเพื่อนตาย ก็มีความสุข

ยินดีเท่าที่หามาได้ ก็มีความสุข

ทำบุญไว้ถึงคราวจะตาย ก็มีความสุข

ละทุกข์ได้ทั้งหมด ก็มีความสุข





*จงปล่อยวางทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน

และไปให้ถึงที่สุดแห่งภพ

เมื่อใจหลุดพ้นจากทุกอย่างแล้ว

พวกเธอจักไม่มาเกิดไม่แก่อีกต่อไป









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำสมาธิ






การทำสมาธิ ทำเพื่อให้จิตสงบ หลีกเร้นจากความฟุ้งซ่าน และเป็นการเตรียมพลัง เหมือนเราชาร์ตแบตตอรี่ในเวลากลางคืนแล้วพอตอนเช้าก็เอาไปใส่โทรศัพท์มือถือ ทำให้ใช้งานได้ไปตลอดวัน





การทำสมาธิ ไม่ได้นั่งเพื่อจะเห็นอะไร ไม่ได้นั่งเพื่อถอดจิตไปไหน แต่นั่งเพื่อให้ใจสงบ ให้สติกินข้าว สติจะได้มีแรง





หลวงพ่อชาบอกว่า “ นั่งสมาธิครึ่งชั่วโมง จะเย็นไปได้ 3 วัน “ เพราะฉะนั้น ถ้าเรานั่งทุกวันติดต่อกัน ก็จะเย็นไปเป็นปี ถ้าใครนั่งไม่ได้ ก็นั่ง 10 นาที จะเย็นไปได้ 1 วัน





ตอนนั่งสมาธิ เราจะรู้สึกว่ามีเรื่องหลายเรื่องมากกว่าตอนไม่ได้นั่ง เรื่องอะไรไม่รู้เข้ามาตีกันเต็มในหัว แต่แม้กระนั้นก็ให้ลองสังเกตดูว่า ในท่ามกลางความยุ่งเหยิงในสมองเป็นเวลา 10 นาทีนั้น ถ้าทำทุกวัน ยังจะปรากฏความเย็นได้ 1 วัน นอกเวลานั่งสมาธิได้ คือ มันยังให้ผลอยู่ได้เหมือนกัน ก็แปลกดี แต่จริง





ทำสมาธิโดยการนั่งสมาธิ





การนั่งสมาธิ มี 2 จุดประสงค์





1.นั่งสมาธิเพื่อให้จิตสงบ ได้พักจิตใจ นั่งโดยการดูลมหายใจ ตั้งจิตอยู่ที่รูจมูก สังเกตลมที่กระทบตอนเข้าและออก บางคนบริกรรมด้วย เมื่อจิตสงบ บางทีคำบริกรรมจะหายไป ก็ให้หายไป บางทีสงบจนลมหายใจละเอียดแผ่วเบา เหมือนไม่ได้หายใจ



.



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง