Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ใกล้ถึงช่วง "กฐิน" แล้ว สิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องรู้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mart
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 11 ต.ค. 2005
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2005, 11:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใกล้ถึงช่วง "กฐิน" แล้ว ขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาศึกษาเรื่องกฐิน เพื่อทำกฐินให้ถูกต้องตามพระวินัย ยังให้เกิดผลอันไพบูลย์ อีกทั้งเพื่อไม่ให้เกิดโทษของการทำกฐินผิดพระธรรมวินัย

ใกล้ถึงช่วง "กฐิน" ปี 48 แล้ว อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาศึกษา กฐิน ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กันก่อน เพราะถ้าทำถูกต้องแล้วจะทำให้ได้อานิสงส์ กฐิน ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งผู้ถวายและพระผู้รับกฐิน แต่ถ้าทำผิดแล้วแทนที่จะได้อานิสงส์กฐิน กลับไม่ได้หรือได้น้อยลงไป หรือแย่ที่สุดอาจจะทำให้เกิดโทษอย่างมากก็เป็นไปได้

กฐิน เป็น ผ้าพิเศษ ในทางพระวินัยใช้ชื่อเรียกเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในช่วงเวลา 1 เดือน หลังออกพรรษา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพุทธานุญาต ให้ภิกษุพร้อมใจกันมอบผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน 3 ผืน ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีคุณสมบัติที่สมควรแก่การรับผ้ากฐิน และภิกษุผู้รับผ้ากฐินเป็นผู้ดำเนินการกรานกฐินในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ หลังจากนั้นจะต้องประกาศให้คณะสงฆ์รับทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อคณะสงฆ์อนุโมทนาแล้ว พระภิกษุองค์ครองจึงจะมีสิทธิในผ้ากฐินผืนนั้น และพระภิกษุในวัดทุกรูปมีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน 5 ประการ

ประเด็นที่ควรระลึกถึง

กฐิน คือผ้าพิเศษที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพุทธานุญาตเฉพาะ กฐินไม่ใช่เงิน หรือสิ่งของต่าง ๆ

มีช่วงเวลาที่กำหนดแน่นอนหลังออกพรรษา มีระยะเวลาเพียง 1 เดือน (1 ค่ำเดือน 11 – 15 ค่ำเดือน 12) ถ้าทำกฐินนอกช่วงเวลาก็จะไม่ใช่กฐิน

กฐินเป็นพระพุทธานุญาตด้วยพระองค์เอง ไม่มีผู้ใดมาทูลขอ

พุทธประสงค์เรื่องกฐิน คือให้พระภิกษุได้พักผ่อน พอพื้นดินแห้งสมควรแก่การเดินทาง, เพื่อสงเคราะห์ ให้พระภิกษุได้เปลี่ยนผ้าครอง, เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ได้ช่วยกันตัดเย็บจีวรเป็นผ้ากฐิน, เพื่อให้พระภิกษุได้รับอานิสงส์ 5 ประการ

ผ้ากฐินตามพระวินัยควรเป็น "ผ้าขาว" ทำจากเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ป่าน ขนสัตว์ หรือผ้าผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าทิ้งตามตลาด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้ (ปัจจุบันใช้จีวรสำเร็จรูปแต่ต้องตัดเย็บให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย)

ผ้าไตร 3 ผืน ไม่ว่าจะเป็นผืนใดผืนหนึ่งจะต้องเป็นผ้าขัณฑ์ (ขัณฑ์ = ตอน ท่อน ส่วน ชิ้น เช่น จีวรมีขัณฑ์ 5 คือมีผ้า 5 ชิ้น มาเย็บติดกันเป็นผ้าผืนเดียวกัน)

ถ้าวัดไหนที่ไม่มีผู้ใดมาถวายผ้ากฐิน แก่ภิกษุในวัดเพื่อมอบให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในวัดที่มีคุณสมบัติตามกำหนด ภิกษุในวัดทั้งหxxx็จะไม่ได้อานิสงส์กฐิน 5 ประการ

ภิกษุผู้ครองผ้ากฐิน ควรเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วย "ญัตติจตุตถกรรม" โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย, ต้องเป็นผู้รู้ธรรม 8 ประการ, ต้องเป็นพระภิกษุไม่ต้องโทษ ไม่ต้องอาบัติ

วัดใดหากภิกษุในวัดเดียวกันทะเลาะกัน ยังไม่คืนดีต่อกัน ยังโกรธกัน ไม่พูดดีต่อกัน เป็นสังฆราชี วัดนั้นไม่มีสิทธิ์รับกฐิน เพราะจะเป็นกฐินเดาะ ไม่ได้อานิสงส์กฐิน

วัดใดมีพระภิกษุไม่ครบ 5 รูป จะไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน คือต้องมีพระภิกษุในวัดเดียวกันครบ 5 รูป (เป็นอย่างน้อย) จำพรรษาครบ 3 เดือนโดยไม่ขาดพรรษา จึงจะกรานกฐินได้

ถ้าวัดใดต้องการเงินอย่างเดียว, ต้องการทั้งกฐินและเงิน กฐินเดาะไม่เป็นกฐิน

การบอกบุญ โดยแจ้งวัตถุประสงค์ เชิญร่วมบุญกฐินเพื่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น สร้างเจดีย์, โบสถ์, วิหาร, หอระฆัง ฯลฯกฐินเดาะ การแจ้งข่าวกฐินควรทำใบแจ้งทอดกฐิน พร้อมกำหนดการโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องสร้างวิหารทานใด ๆ ถ้าวัดนั้นมีเจ้าภาพสร้างวิหารทานด้วย ควรทำใบแจ้งแยกต่างหาก แยกออกจากใบกฐิน

กฐินเป็นกอง ๆ แจ้งว่ากองละเท่านั้นเท่านี้ เป็นกฐินเดาะ แต่ถ้าเจตนาเพื่อซื้อเครื่องกฐิน สามารถทำได้

การประกาศขอกฐิน โดยพระภิกษุในวัดรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาโดยตรง หรือโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่นวิทยุ, โทรทัศน์, หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ให้มาทอดกฐินที่วัดตน กฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐินเพราะผิดพระวินัย

การทอดกฐิน

โทษของการทอดกฐิน โดยละเมิดพระธรรมวินัย ทำให้เจ้าภาพกฐินไม่ได้รับอานิสงส์อันประเสริฐในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สำหรับ มวลหมู่มนุษย์ การทำกฐินผิดพระธรรมวินัย เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด เป็นอกุศลจิต นำไปเก็บที่ดวงจิต อุเปกขาสหคตัง สันตีรณจิตตัง อสังขาริกัง กามาวจร อกุสลวิปากจิตตัง ซึ่งเป็นวิบากจิตที่เก็บผลจากการทำอกุศล (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒) เมื่อจุติแล้วไปปฏิสนธิในอบายภูมิ สำหรับคฤหัสถ์ จุติแล้วปฏิสนธิจิต นำไปมหานรก ขุม ๗ (มหาตาปนนรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนานครึ่งอันตรกัป สำหรับพระภิกษุ การทอดกฐินผิดพระธรรมวินัย อย่างเบา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรืออย่างหนัก ต้องอาบัติปาราชิก จุติแล้วปฏิสนธิจิตนำไป มหานรกขุม ๘ (อเวจีมหานรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนานหนึ่งอันตรกัป



ถ้าอยากอ่านข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับกฐิน สามารถเข้ามาอ่านได้ที่ www.sirimitr.com
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง