Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในสวนธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คนเฒ่าบ้านยางสีสุราช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 5:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสวนธรรม






คำถามที่เคยได้ยินบ่อย ๆก็คือ พระองค์นั้นองค์นี้อยู่สายไหน แล้วก็จะมีคนคอยแจงว่า พระองค์นั้นอยู่สายศีล เช่น พระที่สำนักสันติอโศก สายสมาธิ ก็หมายไปถึงหลวงพ่อที่ชอบนั่งวิปัสสนาและสายปัญญาก็คือกลุ่มที่ชอบอ่านเขียนหนังสือ วิเคราะห์วิจารณ์ธรรม เช่น ท่านพุทธทาส ดังนี้เป็นต้น





ความจริงธรรมะไม่ได้มีสาย และการปฏิบัติก็ไม่สามารถแยกกันได้เป้นส่วน ๆ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องไปด้วยกันเสมอจึงจะทำได้ คนที่มีศีล คือ ปฏิบัติตัวดี มีสติอยู่เสมอก็ย่อมเกิดสมาธิ ส่งผลให้มีปัญญาคิดการไปได้ ไม่ทำอะไรผิดพลาด เปรียบเหมือนเวลาเราจะกินข้าวสวย เราก็ต้องมีข้าวสารกับน้ำ มีหม้อหุงข้าว และมีไฟฟ้าหรือเตา รวมครบ 3 อย่าง เราก็สามารถจัดการให้เกิดข้าวสวยมากินได้ ถ้าขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไป ก็ไม่ได้ผล ก็ง่าย ๆ แค่นี้ ไม่มีอะไรซับซ้อน





เคยเปิดหนังสือในร้านหนังสือดูมีหนังสือของอาจารย์ต่างๆ หลวงพ่อต่าง ๆ ก็สอนถึงเรื่องเหล่านี้ แล้วก็มานึกได้ว่า เออ ! เรานี่จะหาอะไรที่แตกต่าง

ก็ทั้งหมดนี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์เดียว ศิษย์ของพระพุทธเจ้าก็ต้องพูดเหมือนกันอยู่แล้ว อาจจะแตกต่างในรายละเอียดวิธีการที่จะแนะนำต่างกันไป ดังนั้น ต่อมาจึงไม่ได้แสวงหา เพราะที่มีอยู่เยอะแยะ ทั้งหนังสือและเทป ก็



 
เฒ่าสีสุราช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำให้ได้ก่อนเถอะ พอหยุดแล้วก็รู้สึกสบาย รู้สึกมีเวลาว่างสมองว่างขึ้นเยอะเลย ความรู้สึกจะซอกซอนแสวงหาที่มันยุ่งอยู่ยุกยิกจุกจิกก็หายไป ต่อมาได้หนังสือหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มาเล่มหนึ่ง อ่านแล้วก็ดีมาก ได้รู้ว่าคิดถูก ท่านสอนว่า





“ อย่าเอาจิตออกนอก “





“ ถ้าคิดแล้วไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่จะรู้ได้ก็ด้วยความคิดนั่นแหละ “





“ ไม่ต้องไปเรียนอะไรมากหรอก ดูจิตอย่างเดียว “





เมื่อได้ฟังเทปของหลวงพ่อพุทธทาส ตอนแรกก็ฟังเรื่อย ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป ต่อมาก็นำมารวมสรุปเอาไว้ใช้เองเป็นส่วนตัว ดังนี้



1. อริยสัจ 4 - มรรคมีองค์ 8



2. โอวาทปาติโมกข์ ทำดี เว้นชั่ว ทำใจให้ผ่องแผ้ว



3. ปฏิจจสมุปบาท สิ่งต่างๆ อาศัยกันและกันเกิด



4. ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน



5. ละความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง



6. หลุดพ้น



พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความทุกข์และการดับทุกข์ เรื่องต่าง ๆเหล่านี้ก็คือ สิ่งที่ท่านทรงให้เข้าใจถึงความทุกข์และการดับทุกข์นั่นเอง ส่วนที่เราพบเรื่องราวอื่น ๆในหนังสืออีก ก็เป็นรายละเอียดที่อธิบายแยกย่อยออกไปจากสิ่งเหล่านี้





ดังนั้น เราจะพบว่า เมื่อเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว เมื่อเราไปอ่านเรื่องอื่น ๆต่อไป ก็จะล้วนวนไปเวียนมาอยู่กับเรื่องเหล่านี้เสมอ เปรียบเหมือนภูเขาลูกหนึ่ง เมื่อรู้ว่าภูเขาลูกนี้อยู่ที่ไหน มีฐานจากจังหวัดใดถึงจังหวัดใด มีความสูงเท่าใดแล้ว สิ่งต่าง ๆ ก็วนเวียนอยู่กับความเป็นภูเขาลูกนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้ น้ำตก สัตว์ใหญ่สัตว์น้อย ทางน้ำ ทางมด ทางช้าง ก็เป็นรายละเอียดของภูเขาลูกนี้ทั้งนั้น





ส่วนการใช้งานเมื่อเราปฏิบัติธรรม แต่ละคนก็ทำไปตามขีดขั้นของตนเอง ซึ่งไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น คำว่าหลุดพ้น พระอรหันต์ท่านก็หลุดพ้นไปถึงการดับขันธ์ ไม่เกิดใหม่ อย่างเรา ๆ มีปัญญาแค่หางลูกอึ่ง หลุดพ้นของเรา ก็เอาเฉพาะหลุดไปจากเรื่องที่กำลังตำตาตำใจ เท่านั้น เป็นเบื้องต้นก็เห็นจะพอ เรียกว่าระดับร้อนได้นิดหน่อย แต่ก็ได้เยอะโขอยู่ ถ้าจะเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำเลย





ทีนี้เรามาเมาท์กันเป็นตัว ๆ เอาอย่างย่อ ๆและง่าย ให้เหมาะกับการที่เป็นหนังสืออ่านประกอบการเตรียมอนุบาล ไม่ใช่หนังสือสอนธรรมะโดยตรง









 
เฒ่าบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 5:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อริยสัจ 4






1.ทุกข์ ได้แก่ ความเกิดแก่เจ็บตาย การพบสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ต้องการสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น และขันธ์ 5 ( คือ ตัวเรานี่แหละ ) คือ ทุกข์





2.สมุทัย เหตุแห่งทุกข์มี 3 อย่าง



- กามตัณหา อยากในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส



-ภวตัณหา อยากมี อยากเป็น อยากเป็นโน่นเป็นนี่



-วิภวตัณหา อยากไม่มี อยากไม่เป็น เป็นการปฏิเสธสิ่งที่เราไม่ชอบ อยากให้ออกไปจากตัว เช่น คนโทสะ แล้วอยากทำร้ายผู้อื่น หรือคนเป็นครู อยากเป็นอย่างอื่น





3.นิโรธ การดับทุกข์ สลัดทิ้งปล่อยคืน ทำลายความอยากถ้าต้องการไม่ให้ทุกข์ ก็ระงับความอยาก





4.มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ 8





อริยสัจ 4 เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ฟังดูเหมือนง่าย ๆ คือมีทุกข์ หาเหตุของมัน หาทางดับมัน แล้วก็ดับมัน แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น พอเริ่มแก่ ได้เห็นปัญหาของคนอื่นที่เขาเดือดร้อน เพิ่งได้เข้าใจว่า ความเห็นแก่ตัวของคนเรานี่เอง ทำให้หาเหตุของทุกข์ไม่เจอ หรือเจอผิด ก็เลยทำให้แก้ทุกข์ไม่ได้



 
เฒ่าบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รติยาเป็นทุกข์ใจ เพราะเกียรติคนรักไปชอบผู้หญิงอื่น รติยาสรุปว่าเหตุแห่งทุกข์ มี 2 อย่าง คือ เกียรติไม่รัก และผู้หญิงอื่น วิธีดับทุกข์ของเธอก็คือ บังคับให้เกียรติกลับมารัก และให้ผู้หญิงอื่นไปเสีย แต่ไม่สำเร็จทั้งสองอย่าง รติยาจึงยังทุกข์อยู่





รติยามองปัญหาและแก้ปัญหา เพื่อสนองความสุขของตนคนเดียว ให้ทุกคนมาแก้ปัญหา เพื่อความสุขของเธอ เธอจึงไม่ได้





เกียรติเลิกรักรติยา เพราะนิสัยที่เข้ากันไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องทะเลาะกันบ่อยครั้ง เขาจึงคิดว่าน่าจะอยู่กับคนที่นิสัยเข้ากันได้ จะดีกว่า เพราะการให้รติยาเปลี่ยนนิสัย เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้





รติยาก็รู้เรื่องนี้เหมือนกัน แต่เธออยากให้เกียรติเปลี่ยนนิสัยมาเข้ากับเธอ และไม่ยอมรับว่ามันเป็นไปไม่ได้





ดังนั้น เธอจึงทุกข์ต่อไป





หากเธอมองเหตุของทุกข์ออก ว่าเกิดจากการเข้ากันไม่ได้และเขาก็จากไปแล้ว เธอต้องตัดใจไปหาคนที่นิสัยเข้ากับเธอได้ ก็จะพ้นทุกข์





แต่เรื่องของความรักของปุถุชนก็เป็นเช่นนี้แหละ มันยากไปเสียทั้งหมด เราจึงทุกข์กันทุกวัน





เรื่องของความทุกข์มีมากมาย หนังสือของอาจารย์หลายท่านเขียนเรื่องความทุกข์เรื่องเดียว ได้เป็นเล่มหลายร้อยหน้า ก็หาอ่านเอาได้ตามอัธยาศัย





ในเรื่องของข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ 8 ประการ ดังนี้





1.ความเห็นถูก คือ เห็นอริยสัจ 4 นั่นเอง เราเอามาคิดเรื่องทุกข์ว่า ทุกข์เกิดเพราะการกระทำของตนเอง ตนเองเป็นตัวทุกข์ เป็นต้นเหตุของทุกข์ และเป็นผู้ดับทุกข์ได้ ถ้าเรามองอย่างเป็นธรรมไม่เห็นแก่ตัวเข้าข้างตัวเองเกินไป และมีเจตนาจะดับทุกข์ให้แก่ตัวเอง ทุกข์ในธรรมะท่านหมายถึงทุกข์ใจ





2.คิดถูก มี 3 อย่างคือ



- คิดที่จะปลีกตัวออกจากอารมณ์ยั่วยวนต่าง ๆ



- คิดไม่พยาบาทปองร้าย



- คิดไม่เบียดเบียน ข้อนี้ทำได้โดยคิดว่า ทุกคนเป็นญาติกัน

( ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง ) , ทำตนให้เป็นคนเห็นอกเขาอกเรา , ชีวิตเป็นของน้อย ทุกคนเกิดมาแล้วต้องแตกดับ , มีเมตตาต่อกัน , ใช้หลักกรรม ทำอะไรแก่ใคร ก็จะได้รับผลกรรม , ถ้าเบียดเบียนเขา ก็คือ เบียดเบียนตัวเราเอง เพระเมื่อเบียดเบียนเขา สิ่งที่เราทำเขา ก็จะไปรอให้ผลร้ายแก่เราในวันหน้า เท่ากับเบียดเบียนตัวเราเองในวันข้างหน้านั่นเอง







 
ผู้เฒ่าบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3.พูดจาชอบ คือ เว้นจาก 4 อย่างคือ





-พูดปด



-พูดส่อเสียด



-พูดคำหยาบ



-พูดเพ้อเจ้อ





คำพูดบางอย่างทำร้ายคนได้ เราก็ควรระวัง คือ



-พูดเกินสมควร



-พูดคำรุนแรง



-พูดผิดเวลา บางคนคิดว่า เรื่องจริงพูดเมื่อไรก็ได้ แต่บางทีเมื่อพูดผิดเวลา ก็อาจทำให้กลายเป็นความเดือดร้อนตามมาได้เหมือนกัน ก่อนพูดจึงควรพิจารณาว่าสมควรหรือเปล่าด้วย



ท่านสอนให้พูดวาจาสุภาษิต คือ



-พูดให้ถูกเวลา กาลเทศะ



-พูดความจริง



-พูดจาอ่อนหวาน



-พูดคำมีประโยชน์



-พูดด้วยใจเมตตา



4.กระทำชอบ มี 3 อย่าง คือ



- ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ให้มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย



-ไม่เบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น ให้เสียสละแบ่งปันตามสมควร



-ไม่ประพฤติผิดในกาม ให้พอใจในคู่ครองของตน







 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5. การเลี้ยงชีวิตชอบ การงานที่ทำแล้ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อาชีพที่ต้องห้ามมี 5 อย่าง



- ค้าขายเครื่องประหาร



- ขายมนุษย์



- ค้าขายสัตว์มีชีวิตสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร



- ค้าขายน้ำเมา



- ค้าขายยาพิษ





6.ความพยายามชอบ ให้มีความพยายามประคองจิตใจตั้งไว้เพื่อ



- ระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น



- ละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว



- ทำความดีให้เกิดขึ้น



- รักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญขึ้น



พยายามถอนความพอใจ ไม่พอใจในโลกออกเสีย คือ ท่านไม่ให้ยินดียินร้าย ถ้ามีทุกข์ ไม่ให้เศร้าเสียใจมาก คิดว่า ยังมีทุกข์มากกว่านี้ ที่เรายังไม่ได้พบ เมื่อมีสุข อย่ายินดีมาก คิดว่ายังมีสุขอีกมาก ที่เรายังไม่ได้พบ



การไม่ดีใจมากหรือเสียใจมากเป็นสิ่งที่ดีกับจิตใจ





7.การระลึกชอบ แปลว่า มีสติดีอยู่เสมอ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ เช่น กำลังยืนอยู่ กำลังนั่งอยู่ กำลังเดินอยู่ กำลังนอนอยู่ กำลังเสียใจ กำลังดีใจ กำลังโกรธ รู้ใจตัวเองว่า





 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กำลังมีความหวั่นไหวขึ้นลงยังไงบ้าง





ท่านสอนไปถึงให้ดูลักษณะด้วย เช่น ความโกรธ ว่าขณะโกรธเราร้อนยังไง เครียดยังไง แล้วพิจารณาว่า เออ… เวลาคนอื่นเขาโกรธ เขาก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกัน มันแย่นะ เราจะได้รู้จักเข้าใจคนอื่นเขาบ้าง ถ้าเราหัดดูอารมณ์อื่น ๆ ด้วยก็เหมือนกัน จะได้มีสติรู้ตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ได้ตระหนักว่า คนอื่นเขาก็จะเป็นเหมือนเรา รู้สึกอย่างที่เรารู้สึกนี่แหละ เมื่อเราเห็นใจเขา เราก็จะดีกับเขาได้





การฝึกพิจารณาลักษณะ เช่น อารมณ์โกรธ คงไม่ได้ทำขณะกำลังโกรธ สมมุติโกรธตอนสาย ตกค่ำลองมานั่งพิจารณาว่าวันนี้ที่เราโกรธ เราเป็นยังไง รู้สึกยังไง ควรโกรธจริงหรือ ฯลฯ แล้วเราก็จะได้คำตอบออกมาให้เห็นว่า อารมณ์นี้มันรู้สึกยังไง เพราะระหว่างที่โกรธ มันมองอะไรไม่เห็นไปหมด เอาแค่มีสติขึ้นมาให้ทันว่ากำลังโกรธนะ แค่นี้ก็หนักแล้ว





มีเรื่องเล่าถึงเรื่องสติอยู่เรื่องหนึ่งว่า พระสงฆ์รูปหนึ่งกำลังไปหาอาจารย์ พอเข้าพบแล้วอาจารย์ถามว่า เมื่อกี้เข้าประตูมาถอดรองเท้าไว้ข้างไหนของประตู ท่านตอบว่า ข้างขวาของประตู แสดงว่าท่านมีสติในขณะถอดรองเท้า





อาจารย์ถามต่อว่า แล้ววางร่มไว้ด้านไหนของรองเท้า ท่านตอบไม่ได้ คือใจมันมัวจะรีบไปหาอาจารย์ ได้เผลอสติไปตอนวางร่ม





ละเอียดขนาดนี้ ก็สำหรับท่านที่ตั้งใจปฏิบัติจริง ๆแหละ สำหรับพวกเราบางทีถามไปไหนมา ยังตอบไม่ค่อยถูกเลย แต่ก็ควรรีบ ๆหัดมีสติเข้าไว้อย่าช้า





8.ตั้งใจมั่นชอบ สำหรับปุถุชน ท่านหมายถึง เวลาจะทำอะไร ตั้งใจมั่น ไม่วอกแวกไป มีความตั้งใจแน่วแน่จนถึงจุดหมาย





ในทางธรรมะ ท่านหมายถึงนั่งสมาธิจนได้ฌาน





ภาษาของธรรมะ เหมือนมะระ อ่านใหม่ ๆ ก็ขมหน่อย กิน ๆไปก็อร่อยไปเอง เดี๋ยวก็ชิน ถ้าง่วงแล้ว จะนอนสักหลับก็ย่อมได้







 
ท่านบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศัพท์ โลภ โกรธ หลง


ต่อไปจะต้องเล่าถึงเรื่องโอวาทปาติโมกข์ แต่ก่อนจะเล่าต้องแทรกเรื่องของศัพท์ 3 ตัวนี้ไว้เป็นตัวนำเรื่อง





เวลาเราอ่านหนังสือธรรมะ คำที่เจอบ่อยก็คือ โลภ โกรธ หลง เพราะมันคือกิเลส ตัวที่ทำให้เราวุ่นวายกันทั้งชีวิตนั่นแหละ





แต่ความหมายของมัน ต่างจากในภาษาไทยที่เราพูดกันอยู่บ้าง จึงอยากให้เข้าใจกันไว้เลา ๆ เวลาไปอ่านเจอ จะได้รู้ว่าท่าน หมายถึง โลภ โกรธ หลง ในบาลี





เคยได้ยินคนพูดกันมากเลยว่า เรื่องโลภนั้นไม่โลภหรอก มีแต่โกรธ ยังโกรธอยู่มาก คนเราจะรู้สึกอย่างนี้กัน เพราะเราคิดว่าโลภคืออยากได้ของคนอื่น หรืออยากได้ข้าวของอะไรไม่หยุด เรียกว่า โลภมาก





แต่คำว่า โลภหรือโลภะ นั้น ท่านหมายถึงความพอใจ อะไรในโลกนี้ที่ทำให้พอใจ จัดเข้าหมวดโลภทั้งนั้น ตอนเย็นเลิกงานกลับบ้านแล้วว่าง นั่งดูโทรทัศน์สบายใจ ดูโทรทัศน์ก็จัดเป็นโลภไปแล้ว เพราะทำให้เราเกิดความพอใจ เมื่อพอใจก็ติดอยู่ในโลก อยากจะเกิดมาสบายอย่างนี้อีก ได้ดูอะไรสนุก ๆ อย่างนี้อีก เป็นต้น





ไปทอดกฐิน เอากลองฉิ่งฉับไว้ท้ายรถ ร้องเพลงกันไป ตั้งแต่กรุงเทพฯถึงอุดรธานี ก็ได้ทำบาปเรื่องโลภไปตลอดทาง





พูดอย่างนี้แล้ว ชีวิตเหมือนจะอยู่ไม่ได้ อะไรวะ ! ดูโทรทัศน์ก็ไม่ได้ ร้องเพลงก็ไม่ได้ ตายดีกว่า ความจริงตายก็ไม่ดีกว่า เพราะต้องไปเกิดใหม่อีก โอ๊ย ! กลุ้ม





 
yangsisuraj
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันนี้ก็ไม่ต้องไปกลุ้มหรอก ก็ท่านสอนไว้ทุกระดับขั้น ตั้งแต่ต่ำสุดคือ ไม่โลภไปอยากได้ของคนอื่น แล้วชิงมา ค่อย ๆ สูงไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นสูงสุดคือ ไม่ยินดีพอใจในอะไร ใครทำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น ไม่อย่างนั้น เราคงต้องตามเอายูบีซีไปถวายพระธุดงค์ที่ถ้ำบนยอดเขา





ส่วนคำว่า โกรธหรือโทสะนั้น ในภาษาไทยว่าโกรธคือโมโหนั่นแหละ แต่ถ้าโทสะ ก็หมายถึง ใดๆในโลกที่ไม่พอใจ ท่านจัดไว้เป็นโทสะ





เรื่องที่เราไม่ได้โมโห แต่เราไม่ชอบ รวมทั้งเรื่องเศร้าเสียใจ ร้องไห้ ในภาษาไทย ถ้าบอกว่าร้องไห้เป็นโกรธก็คงฟังดูตลก แต่ในบาลีท่านหมายถึงทุกอย่างในฝ่ายที่ไม่ยินดี จัดเข้าพวกเดียวกันในบาลีท่านหมายถึงทุกอย่างในฝ่ายที่ไม่ยินดี จัดเข้าพวกเดียวกันหมด เพราะฉะนั้น เสียใจร้องไห้ก็คือลูกน้องของกลุ่มไม่ยินดีด้วย





ส่วนหลง ก็คือไม่รู้



โมหะคือ หลงนี้ คือไม่รู้ มีความไม่รู้หลายแบบมาก ท่านพุทธทาสอธิบาย ยกตัวอย่างเป็นบางตัวไว้ดังนี้



มานะ แปลว่า สำคัญผิด คิดว่าเราเลวกว่าเขา เราดีกว่าเขา เราเสมอเขา แล้วทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆขึ้น เช่นเกิดปมด้อย ปมเขื่อง



ทิฐิ ในที่นี้ หมายถึง ฝ่ายที่เป็นอกุศล คือ มีความเข้าใจผิดต่าง ๆ เข้าใจผิดในเรื่องไม่เที่ยงว่าเที่ยง เรื่องทุกข์ว่าเป็นสุข เข้าใจสิ่งไม่ใช่ตัวตนว่าตัวตน อย่างนี้ หรือเข้าใจผิดถือว่าตายแล้วเกิดแน่ หรือเข้าใจผิดว่าตายแล้วหมดกัน ไม่มีอะไรเหลือ คำว่าทิฐินี้ก็แปลว่าหลง เป็นโมหะเหมือนกัน





สงสัย คือ ยังไม่รู้ สงสัยเรื่อยไป



ความซึมเซาเหงอหงอย ไม่มีความกล้าหาญร่าเริง อย่าเข้าใจว่า ความง่วงเหงา ซึมเซา เกียจคร้านนี้ ว่าไม่ใช่กิเลส ที่แท้เป็นกิเลสชนิดหนึ่งเต็มที่ของมันทีเดียว เป็นกิเลสประเภทโมหะ



ความฟุ้งซ่าน สงบไม่ได้ ฟุ้งขึ้นตามอารมณ์เรื่อย



ความไม่ละอายต่อบาป ไม่กลัวความชั่ว





ตอนนี้คงเข้าใจความหมายของ โลภ โกรธ หลง กันแล้วในทำนองบาลี ต่อไปก็จะได้เข้าหลักธรรมที่ 2 คือ โอวาทปาติโมกข์









 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทปาติโมกข์ มี 3 อย่าง






1.การไม่ทำชั่วทั้งปวง คือ





1.ละโลภ มี 3 ระดับ



-อย่างหยาบ คือ อยากได้ของผู้อื่นโดยไม่ถูกต้องชอบธรรม ต้องโกงหรือแย่งชิง เป็นต้น



-อย่างกลาง คือ ความไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณในการแสดงหาการได้ อยากได้เกินจำเป็น



-อย่างละเอียด คือ ติดใจหมกมุ่นพัวพันในทรัพย์สินของตน หวงแหน พิทักษ์รักษา ( จนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ )



2.ละความโกรธ



3.ละความหลง หลงคือไม่รู้ตามความเป็นจริง ความเขลา ความมืดของใจ เห็นชั่วเป็นดี เห็นสิ่งสาระว่าไม่เป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระกลับเห็นว่าเป็นสาระ







2.การทำความดีให้พร้อม



วิธีสร้างความดี มี 2 อย่าง



-พยายามให้กุศลจิตเกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยคิดถึงคุณความดี หรือพิจารณาถึงคุณค่าของความดี



-เมื่อจิตคิดจะทำดี ให้ทำทันที เพราะถ้ารีรอลังเล อาจจะไม่ได้ทำ เพราะจิตมีธรรมชาติไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอ









 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือนสายน้ำ พอชักช้าไม่ทำ วันต่อไปอาจจะรู้สึก โอ๊ย ขี้เกียจแล้วเลยไม่ได้ทำ





ในหนังสือโอวาท 4 ของท่านเหลี่ยวฝาน ได้แสดงถึงวิธีการทำความดีไว้ 10 ข้อ ดังนี้



1. ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี



2. รักและเคารพทุกคนอย่างเสมอหน้า



3. สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม



4. ชี้ทางให้ทำความดี



5. ช่วยผู้ที่อยู่ในที่คับขัน



6. ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ



7. หมั่นบริจาค



8. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม



9. เคารพผู้ใหญ่



10. รักชีวิตผู้อื่นเสมอด้วยชีวิตตน



วิธีรักษาความดีคือ ไม่ประมาท มีสติระวังเสมอ เมื่อมีสติแล้วก็จะ

ไม่ทำชั่ว





แนวคิดเกี่ยวกับการทำความดี ท่านสอนว่า ให้คิดว่าเราทำเพื่อผู้อื่น เราไม่ได้กิน ผู้อื่นได้กิน ก็ถือว่าตรงตามจุดหมายของเราแล้ว ถ้ามันจะเกิดผลกับตัวเราบ้าง ก็เป็นผลพลอยได้เพราะถ้าไม่มีผู้อื่น เราอยู่คนเดียว เราไม่รู้จะทำความดีกับใคร ถ้าเราทำดีแก่ตัวเอง ก็ต้องทำกับคนอื่น เช่น การให้ทาน ก็ต้อง







 
เด็กบ้านยางราชสีสุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ให้คนอื่น การรักษาศีล ก็คือเว้นจากการเบียดเบียนคนอื่นนั่นเอง



เมื่อทำตามแนวคิดนี้ เราจะได้สบายใจ ในการทำดีกับผู้อื่น อันจะเป็นผลดีกับตัวเองไปด้วยในตัวเองไปด้วยในตัว







3.การทำจิตให้ผ่องแผ้ว





ควรทำจิตให้สงบ พอจิตสงบจะสดชื่น ทำให้เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ได้ ไม่ใช่การอยู่เฉย ( INACTIVE) ที่ว่าทำให้เฉื่อย ความฟุ้งซ่านต่างหากที่ทำให้เฉื่อย เพราะฟุ้งซ่านแล้วไม่อยากทำอะไร



หลัก 9 ประการของการทำจิตให้สงบคือ



1. ไม่จู้จี้ขี้บ่น



2. ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่



3. ทำงานอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง จิตใจไม่ว้าวุ่น



4. ทำตัวให้มีเหตุผล



5. มองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแง่ดีพอสมควร



6. ไม่เป็นทุกข์ล่วงหน้า



7. ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ



8. เชื่อกรรม



9. ไม่ยึดมั่นถือมัน







ความสงบมี 2 อย่าง





1.สงบแท้ ให้ความสุขแท้ ความสงบเกิดจากการได้ทำดี การได้ทำสมาธิ และการเอาชนะกิเลสได้





2.สงบเทียม คือได้สนองความต้องการ เช่น อยากได้นาฬิกา พอซื้อมาแล้วก็สงบ แต่เดี๋ยวก็ฟุ้งเรื่องอื่นต่อไป







 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. ปฏิจจสมุปบาท








คำนี้อ่านยากและเข้าใจยาก ท่านที่สนใจจะมีหนังสือชื่อ ปฎิจจสุมปบาท ของท่านพุทธทาสอยู่เล่มหนึ่งโดยเฉพาะ หาอ่านได้หนาไม่เท่าไรหรอก แค่ 199 หน้าเอง



ในที่นี้ จะลอกมาเล่าเพียงให้เข้าใจง่าย ดังนี้





ปฏิจจสมุปบาท คือ



1. คือ การแสดงให้รู้เรื่องความทุกข์ที่เกิดขึ้นในรูปสายฟ้าแลบในจิตใจของคนเป็นประจำวัน



2. เป็นสิ่งที่มีอยู่ในคนเราแทบจะตลอดเวลา



3. เป็นเรื่องที่ถ้าผู้ใดเข้าใจแล้ว ก็อาจจะปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ของตนได้



4. ทำไมต้องรู้เรื่องนี้? เพื่อให้รู้ถูกต้องและดับทุกข์เสียได้



5. จะดับทุกข์โดยวิธีใด ? โดยวิธีที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ปฏิจจสมุปบาท คือ อย่าให้กระแสปฏิจจสมุปบาทมันเกิดขึ้นมาได้ โดยมีสติรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา



6. ปฏิจจสมุปบาท มีจำนวนธรรม 11 แสดงให้เห็นว่าเพราะอาศัยสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น อีกสิ่งหนึ่งจึงเกิดขึ้น



1. เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร



2. เพราะ สังขาร “ วิญญาณ



3. เพราะ วิญญาณ “ นามรูป



4. เพราะ นามรูป “ อายตนะหก



5. เพราะ อายตนะหก “ ผัสสะ





 
ผู้เฒ่าบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

6.เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา



7. เพราะ เวทนา “ ตัณหา



8. เพราะ ตัณหา “ อุปาทาน



9. เพราะ อุปาทาน “ ภพ



10.เพราะ ภพ “ ชาติ



11. เพราะชาติ “ ชรา , มรณะ, โสกะ , ปริเทวะ



( โอ้โฮ ศัพท์ตรึม คุณผู้อ่านแวะไปกินยาหอมยาลมก่อนได้

เดี๋ยวมาอ่านต่อ )



อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง ความเขลา



สังขาร คือ การปรุงแต่งกาย วาจา ใจ เช่น ความรู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อย



วิญญาณ คือ การรับรู้



นามรูป คือ ตัวเรา นามคือจิต รูปคือร่างกาย



อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ



ผัสสะ คือ การกระทบ เช่น ลิ้นกระทบอาหาร



เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ



ตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น



อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในตัวตน







 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภพ คือ กระบวนการแห่งการเกิด



ชาติ คือ ความเกิด



ชรา มรณะ คือ ความดับไปสิ้นไปของเรื่องนั้นในคราวหนึ่ง ๆ







ปฏิจจสมุปบาท มีลักษณะเป็นลูกโซ่ที่คล้องกันเป็นวงกลม จึงไม่มีต้นหรือปลายและไม่ต้องเรียงลำดับว่าอวิชชาต้องเป็นข้อที่หนึ่งเสมอ อย่างที่เขียนมาให้ดูนี้ เป็นการแสดงว่าใน 11 ข้อประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีความเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ



1. สายเกิด อาศัยสิ่งหนึ่งเกิด ความอยากได้จึงเกิดขึ้น เช่น เมื่อความชอบเกิด ความอยากได้จึงเกิด



2. สายดับ อาศัยสิ่งหนึ่งดับ อีกสิ่งหนึ่งจึงดับไป

เช่น เมื่อความชอบหมดไป ความอยากได้จึงหมดไป

ปฏิจจสมุปบาทนี้ คือ สิ่งต่าง ๆ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เป็นความสัมพันธ์ของทุกอย่าง ทั้งในธรรมชาติ เรื่องรอบตัวเรา และเรื่องในตัวเรา





ความสัมพันธ์ในธรรมชาติ เช่น เพราะตัดต้นไม้ --> ภูเขาจึงหัวโล้น --> ทำให้ฝนตกมา ไม่มีต้นไม้กรองน้ำฝน--> ทำให้น้ำพัดลงมากับซุง-->ทำให้หมู่บ้านพัง-->ทำให้มีการเรี่ยไร-->ทำให้มีการจัดงานรับบริจาคทางทีวี--> ทำให้ ฯลฯ





ความสัมพันธ์เรื่องรอบตัวเรา เช่น มิเกเดินมาถูกรถชนเบา ๆ ถามว่าเหตุเกี่ยวพันคืออะไร คนขับรถอาจจะเมา ( สาวไปสายคนขับรถว่า อะไรทำให้เมามา ) หรือมีคนเอาน้ำมันไปหกบนถนน หรือมิเกเดินตัดหน้ารถเอง ทำไมมิเกจึงมาตรงนั้น แม่ให้ใช้ไปซื้อ





 
เด็กเฒ่า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก๋วยเตี๋ยว แต่มิเก( แปลว่า เด็กดี ) จะรีบกลับไปดูบอล เลยไม่ได้ดูรถ คือ สาวหาสาเหตุที่สัมพันธ์กันไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งหนึ่งเกิดอีกสิ่งหนึ่งจึงเกิดขึ้น หมายความว่า ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นเองลอย ๆ อยู่ ๆ มิเกจะไม่มายืนให้รถชนโดยไม่มีสาเหตุเชื่อมโยง





แต่ที่เราควรสนใจมากที่สุด คือปฏิจจสมุปบาทที่มาทำให้เราเป็นทุกข์ใจ ซึ่งส่วนนี้เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ได้รับรู้ทางใจ อย่างหนึ่งอย่างใดใน 6 อย่างนี้ เมื่อเรารับรู้แล้ว ก็ทำให้เกิดการตอบรับเป็นความพอใจ ไม่พอใจ ( เรียกว่า เวทนา ) จากนั้นมันก็เร่งเร้าให้เราเกิดตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือถ้าไม่ชอบก็อยากทำลาย อยากผลักออกไป





3 ตัวนี้ เป็นตัวที่เราจับความรู้สึกได้ชัดเจน หลังจากนั้นก็จะเกิดกระบวนการไปตามลูกโซ่ต่อไปของปฏิจจสมุปบาท เพื่อดิ้นรนหาทางเป็นหรือทำอะไรเพื่อสนองตัณหาของเรา เป็นขบวนการแห่งการเกิดทุกข์ของใจ



ดังนั้น เราต้องดูแลใจไม่ให้หล่นลงไปในหลุมของความทุกข์



หลวงพ่อพุทธทาสสอนให้ตัดตั้งแต่ผัสสะ คือ การกระทบทันทีที่ตาเห็นรูปแล้ว พระพุทธเจ้าสอนว่า “ เห็นก็ให้สักแต่ว่าเห็น “ อย่าปล่อยใจให้ไปรับเวทนา ถ้าสติวิ่งไม่ทันมันจะเกิดตัณหา ต้องรีบวิ่งไปตัดตัณหา สกัดมันไว้ ถ้ายังไม่ทันอีก เราก็แพ้แล้วงานนี้ ก็เป็นทุกข์ไปก่อน เป็นสาวน้อยตกน้ำ ตามงานวัด



แต่ถ้าเราตัดได้ทัน ใน 3 จังหวะนี้ เราก็จะหลุดรอดปลอดภัย ไม่ทุกข์ใจ เพื่อไปเจอแบบฝึกหัดใหม่ ๆ ต่อไป







ปฏิจจสมุปบาทนี้………แหม ชื่อยาว เราคุยกันตรงนี้ ขอตั้งชื่อเล่นเฉพาะกิจตรงนี้ว่า นายหาวก็แล้วกัน ขออภัยพระบาลี มิได้ลบหลู่แต่ประการใด เป็นเพราะพวกลูกช้างยังอยู่อนุบาล พูดชื่อยาว ๆแล้วจะหาวตาม เอ้า…..ต่อนะ





นายหาวนี้ท่านว่าเกิดได้กับตัวเราวันละไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เพราะเขาจะเข้าประจำหน้าที่ในทุก ๆ เรื่องไป ยกเป็นตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งดีกว่า มันจะเห็นง่ายหน่อย





นะจังงัง เป็นชายหนุ่มรูปหล่อ วันนี้จะไปห้างสรรพสินค้า ก่อนจะเดินเที่ยวก็แวะกินข้าว





พอกินข้าว นายหาวหมายเลข 1 ก็เข้าประจำการ ทำให้นะจังงัง เกิดความรู้สึกอร่อย กินใหญ่จนเกือบปวดท้อง เป็นทุกข์





กินเสร็จก็เดินเที่ยว พลันนายหาวหมายเลข 2 ก็เข้าประจำการ เมื่อสายตาได้ประสบพบ ( ผัสสะ ) นาฬิการ ร้องว่า โอ้ สวยจัง ( สังขารปรุงแต่งว่าสวย ) ช๊อบ ชอบ ( เวทนา ) อยากได้จังเลย ( ตัณหา ) ทำไงดี เงินไม่พอ ( ทุกข์ใจ )





กลับไปบ้านนอนฝันถึงนาฬิการอยู่ 3 วัน นายหาว 2 เต้น มโนห์ราอยู่ในใจตลอด 3 วัน เป็นทุกข์อย่างยิ่ง





ระหว่าง 3 วันนั้น ไม่ว่านายหาว 4 จนถึงนายหาว 100 จะมาประจำการเรื่องอะไร ๆอื่นๆจนวุ่นไป แต่นายหาว 2 ก็ยังเกาะติดหัวใจอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมปล่อย





มีทางอยู่ 2 ทางที่นะจังงังจะเลือกทำ คือ





 
ผู้เฒ้า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางแรก เอามาให้ได้ ยอมแพ้นายหาว 2 อย่างหมดรูป ก็ไปยืมเงินท่านขุนพักตร์โลหิต ได้เงินมาด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 20 เอาไปซื้อนาฬิกามาสมใจ ต่อมาทุกเดือน ๆ ก็ต้องทำงานหน้ามืด โกงค่าขนมลูก เก็บค่ารถเมลล์เมีย ปล่อยให้เมียเดินไปทำงาน เพื่อรวบรวมเงินไปใช้หนี้





และนอกจากนี้ยังมีความทุกข์ใจ มีลูกตัวเล็ก ๆ ของนายหาว 2 คอยเอาไม้จิ้มฟันแหลม ๆ แทงหัวใจ คือ ความที่นาฬิกาแพง ไปไหนก็ต้องระวังไม่ให้โดนขีดข่วน เดี๋ยวจะเป็นรอย นี่ตัวหนึ่ง อีกตัวหนึ่งก็ให้ระวังเวลาถอดเก็บต้องใส่กุญแจให้ดี เดี๋ยวหาย ถ้าคืนไหนฝันร้าย ต้องลุกมาไขกุญแจดูว่า นาฬิกายังอยู่หรือเปล่า ดังนี้เป็นต้น ทุกข์เป็นนานจนกว่านาฬิกาจะเสีย ถ้าเกิดนาฬิกาเสีย นะจังงังจะเสียตาม ต้องจองวัด





ทางที่สอง พระพุทธเจ้าสอนว่า “ เห็นก็ให้สักแต่ว่าเห็น “ คือ ตัดต้นทาง อย่าให้เกิดปรุงแต่งว่าสวย เกิดเวทนาว่าช๊อบ ชอบ เกิดตัณหาว่าอยากได้จัง





นะจังงังเชื่อพระพุทธเจ้า เห็นให้สักแต่ว่าเห็น เขาจึงคิดว่าเออ ! ดีแล้ว อย่างน้อยก็ได้เห็นนาฬิกาสวย ๆ ครั้งหนึ่ง ลูกใครนะออกแบบเก่งจัง ดูจนช่ำแล้วก็คืนพนักงานขายไป แล้วเดินต่อไปฝรั่งว่า OUT OF SIGHT

OUT OF MIND คือ พอไม่เห็น ก็ออกไปจากใจ อันนี้เอามาใช้ได้ผล

อยู่เหมือนกัน นะจังงังเดินไปดูของอย่างอื่นต่อ ไม่คิดถึงนาฬิกาอีก ใจไปอยู่ที่สิ่งอื่น ๆ ในที่สุดก็ลืมไปหมดทุกข์เรื่องนาฬิกา ไม่ต้องเป็นหนี้ ไม่ต้องคอยเก็บรักษาอย่างเป็นทุกข์





พอนะจังงัง เลือกทางสายที่ 2 นายหาว 2 ประจำนาฬิกาก็ได้ตายไป โดยนะจังงังไม่ได้ตายตาม





หัวหน้ามาเฟียตัวใหญ่ที่สุดก็คือ ตัณหา ดับมันเสียได้ก็พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นต้องฝึกกำลังภายใน ใช้วิทยายุทธชั้นเยี่ยมจากเส้าหลินมาปราบมัน เขาสอนว่า “ กระบี่อยู่ที่ใจ “





ก็ขอจบเรื่องปฏิจจสมุปบาทเพียงเท่านี้













 
ผู้เฒ้าบ้านยาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไตรลักษณ์








ไตรลักษณ์ แปลตามตัวคือ ลักษณะ 3 อย่าง คือ





1. อนิจจัง ไม่เที่ยง





2. ทุกขัง เป็นทุกข์





3. อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน





ความไม่เที่ยง ทำให้เราเป็นทุกข์ใจ ความทุกข์ใจนี้ เรารู้อยู่แล้ว

เมื่อพบกับมัน แต่ตัวที่เราไม่ได้ตะหนักก็คือไม่เที่ยง ความจริงเราก็รู้จักแต่ด้วยความคุ้นเคยนั่นเอง ที่ทำให้มองข้ามไป เช่น เราเรียกชื่อเล่นของเพื่อนอยู่ทุก ๆ วัน พอมีคนถามมาถามเพื่อนเราด้วยชื่อจริง บางทีเราลืมไปเลยว่า อ๋อ ก็เพื่อนเราเอง





ท่านสอนว่า ทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง





เราลองมามองดูกันจริง ๆสักทีเพื่อให้เห็นตัวมันชัด ๆ จะลองจัดกระบวนเพื่อให้กระชับขึ้น ดังนี้





1. มองไกล ดูแบบดูหนังสารคดี ถอยออกไปดูประวัติศาสตร์หรือจะนึกถึงหนังคลีโอพัตราก็ได้ ชาวอียิปต์ ชาวโรมันเจริญเป็นร้อยปี แต่ตอนนี้ก็เสื่อม เหลือแต่ซากเอาไว้ให้นักโบราณคดีมีงานทำ ทวีปก็เคลื่อนย้ายจากติดกัน หลุดไปเป็นเกาะ เช่น ทวีปออสเตรเลีย ไม่มีอะไรคงที่ คือ ไม่เที่ยงนั่นเอง





2. มองใกล้ พรุ่งนี้นัดลูกค้าไปอยุธยา พอเช้ามาโทรฯมาเลื่อน





 
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะติดประชุมด่วน ไปไม่ได้





3. มองตัวเอง ก็แก่ลงไปทุกวัน





4. มองของรัก ถ้วยสวย ๆเหมือนจะไม่แตก เก็บไว้ในตู้อย่างดี พอวันนี้เอาออกมาตั้งไว้ชม เพื่อนทำแตกต่อหน้าเลย



หรือถ้วยสวย เก็บไว้อย่างดี จนเป็นมรดก ( คือตัวเราเองเป็นฝ่ายไม่เที่ยงไปซะก่อน ก็คือตายนั่นแหละ ) ตกไปถึงสมัยเหลนอาจจะทำแตกหรือขายให้ฝรั่งไป





5. มองอารมณ์ อารมณ์ของเรา แม้จะเกิดชั่วคราว หรือติดต่อกันยาวนาน แต่วันหนึ่งก็ต้องหมดไป สิ้นไป



ความเศร้า แม้จะเศร้าติดต่อยาวนาน แต่วันหนึ่งก็ต้องหายเศร้า



หัวเราะ แม้จะหัวเราะติดต่อยาวนาน แต่ก็ต้องหยุด



รัก แม้จะรักติดต่อยาวนาน วันหนึ่งก็คลาย



เกลียด แม้จะเกลียดติดต่อยาวนาน วันหนึ่งก็เบื่อที่จะสนใจ



จน แม้จะจนติดต่อยาวนาน แต่ก็รู้สึกสบายได้ ตามอัตภาพ



รวย แม้จะรวย ติดต่อยาวนาน วันหนึ่งก็อาจจะล้มละลายได้





6.มองดูสั้น ดูง่าย ๆ สั้น ๆ เลยก็คือลมหายใจของเราเอง ใน 1 กระบวนการหายใจ ก็จะมีการหายใจเข้า กลั้นไว้นิดหนึ่ง ( จนแทบไม่รู้สึก ) หายใจออกจบกระบวนการไป 1 ครั้ง เทียบได้ดังนี้



หายใจเข้า (เกิดขึ้น) กลั้นไว้ (ตั้งอยู่) หายใจออก( ดับไป)







อันนี้เห็นง่าย คงไม่ต้องอธิบายอะไรอีก ความไม่เที่ยงก็คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะให้เที่ยง ก็ลองหายใจออกแล้วไม่ต้องหายใจเข้าอีก ถ้าทำได้ก็เที่ยงแน่ แต่ไม่ต้องกลับมาเล่าให้ฟังนะกลัว





เมื่อเราตระหนักได้แล้วว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เราจึงควรปล่อยวางจิตใจในอันที่จะทุกข์ เพราะอะไรๆมันเปลี่ยนไป ไม่คงอยู่อย่างที่ใจต้องการให้มันคงอยู่ อันนี้ทำได้โดย ‘ ยอมรับความจริง ‘ ว่ามันไม่เที่ยงและไม่ยึดมั่นถือมั่นที่จะ



ดื้อดึงให้มันคงอยู่



มีอารมณ์เมื่อมันเปลี่ยนแปลง เช่น โกรธ



เศร้าสร้อยเมื่อมันจากไป



ยึดติดไว้ในใจ ไม่มีวันลืม 40 ปีก็ไม่ลืม ทำให้ต้องเสียใจอยู่ตลอด 40 ปี ทำให้ชีวิตเสียเวลาไปมาก พระพุทธเจ้าถามว่าวันเวลาล่วงไป ๆ ทำอะไรอยู่











 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2004, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[colow=brown]จากหนังสือ ธรรมะรอบกองไฟ โดย ขวัญ เพียงหทัย






 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง