Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอความเห็นครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลีลา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 25 ก.ย. 2005
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2005, 9:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเจอความทุกข์หนึ่งครั้ง หากไม่รู้จักปล่อยวางละทิ้งแต่กลับเก็บมาคิดเป็นความคิดซ้ำซากทำร้ายตัวเองเรื่อยมา จริงๆแล้วคนอื่นก่อทุกข์ให้เราเพียงครั้งเดียวในเรื่องนั้นๆ หากเราไม่ปล่อยวางไม่สละความทุกข์นั้นออกไปจากใจตนเอง เราจะกลับมาทุกข์เพราะเรื่องนั้นอึกอย่างไม่รู้จบ ซึ่งครั้งหลังเป็นความทุกข์ที่เกิดเพราะตัวเราเอง เพราะใจและจิตและความคิดของเราเอง(แล้ววิธีปล่อยวางต้องทำอย่างไงครับมันทำยากยิ่งถ้าเป็นความทุกข์ที่มากกว่าความทุกข์ปกติบางทีคิดว่าตัวเองวางได้แล้วแต่บางอารมณ์ก็กลับคิดถึงมันอีก) (แล้ววิธีปล่อยวางต้องทำอย่างไวครับมันทำยากยิ่งถ้าเป็นความทุกข์ที่มากกว่าความทุกข์ปกติบางทีคิดว่าตัวเองวางได้แล้วแต่บางอารมณ์ก็กลับคิดถึงมันอีก)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปิงปอง ม.ราม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมคิดว่าความทุกข์ของคุณเกิดขึ้นเพราะว่าคุณบังคับจิตใจของตนเองไม่ได้ เรื่องที่เกิดไปแล้วก็ควรจะลืมมันไป ลองนั่งสมาธิดูสิครับเพราะเป็นการบังคับจิตใจโดยตรง ผมก็เคยเป็นเหมือนกันมีความทุกข์มากไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะไปเสียที แต่สุดท้ายมันก็ไปจากชีวิตผมไป ปัจจุบันมีความสุขดี เพราะนั่งสมาธิเป็นประจำ แผ่เมตตาบ้าง(อันนี้ขอแนะนำเพราะจะทำให้คุณอภัยแก่คนที่ทำร้ายคุณได้ง่ายขึ้น)และขอให้คุณตักบาตรเป็นประจำ แต่ละอย่างนั้นล้วนแต่นำความสุขมาให้จิตใจทั้งนั้น ที่แนะนำอย่างนี้เพราะตัวเองปฏิบัติแล้วได้ผล ลองทำดูนะครับ
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 9:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนอื่นแทงเราด้วยมีดครั้งเดียว

แต่เราเองกลับเอามีดนั้นแทงตัวเองอีกนับครั้งไม่ถ้วน

====

วิธีฝึกใจไม่ให้โกรธ



ปรกตินั้น เมื่อโกรธก็มักจะไปเพ่งโทษคนอื่น ว่าเป็นเหตุให้ความโกรธเกิดขึ้น คือมักจะไปคิดว่าผู้อื่นนั้นพูดเช่นนั้น ทำเช่นนั้นที่กระทบกระเทือนถึงผู้โกรธ การเพ่งโทษผู้อื่นเช่นนี้ ไม่ใช่การทำให้จิตใจตัวเองสบาย ตรงกันข้าม กลับเป็นการเพิ่มความไม่สบายให้ยิ่งขึ้น ยิ่งเพ่งเห็นโทษคนอื่นมากขึ้นเพียงใด ใจตัวเองก็ยิ่งจะไม่สบายยิ่งขึ้นเท่านั้น



แต่ถ้าหยุดเพ่งโทษผู้อื่นเสีย เขาจะพูดจะทำอะไรก็ตาม ที่เป็นการกระทบกระเทือนถึงตนเองจริงหรือไม่ก็ตาม อย่าไปเพ่งดู ให้ย้อนเขามาเพ่งดูใจตนเอง ว่ากำลังมีสุขทุกข์อย่างไร มีอารมณ์อย่างไร ใจจะสบายขึ้นได้ด้วยการเพ่งนั้น



กล่าวสั้น ๆ การเพ่งโทษผู้อื่นทำให้ตัวเองไม่เป็นสุข แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้ แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธก็จะลดลง หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อย ความโกรธก็จะหมดไป



จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดก็ตาม โลภ หรือโกรธ หรือหลงก็ตาม หากเพ่งดูใจให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุขมาแทนที่ ทำให้มีใจสบาย



วิเคราะห์สาเหตุของความโกรธ



บัดนี้มาลองแยกความโกรธที่เกิดจากรูปไม่ถูกตา เห็นหน้าตาท่าทางคนนั้นคนนี้แล้วขัดตา ดูไม่ได้กวนโทโส บางคนบ่นตำหนิการแต่งกายของเด็กสาวสมัยใหม่ว่าไม่น่าดู เห็นแล้วเกิดโทสะ เป็นลูกเป็นหลานก็อยากตีอยากว่า บางคนดูภาพตามหนังสือพิมพ์แล้วส่ายหน้า ตำหนิว่าดูไม่ได้น่ารังเกียจ ยังมีรูปไม่ถูกตาอีกหลายประการ



เช่นเดียวกับเสียงที่ไม่ถูกหูเพราะเหตุผลเดียวกัน คือทุกคนที่เป็นปุถุชน ย่อมจะมีรูปไม่ถูกตาของตนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น และไม่ตรงกันก็มีเป็นอันมาก ดังตัวอย่าง บางคนโดยเฉพาะเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ เห็นผมทรงสมัยใหม่ของพวกเขาน่าดูที่สุด บางคนดูภาพตามหนังสือต่าง ๆ แล้วถึงกับต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อดูแล้วดูอีก เพราะชอบมาก ขณะที่ดังกล่าวแล้ว บางคนตำหนิภาพเหล่านั้นรุนแรงว่าน่ารังเกียจไม่น่าให้ผ่านสายตา



พิจารณาตามตัวอย่างที่ยกมานี้ ก็จะเห็นเหมือนเมื่อพิจารณาตัอย่างเสียงที่ไม่ถูกหูที่กล่าวไว้แล้ว คือจะเห็นว่าสาเหตุเดียวกันแต่ก่อให้เกิดผลไม่เหมือนกัน คนหนึ่งชอบคนหนึ่งไม่ชอบ



สาเหตุที่แท้จริงอยู่ที่การปรุงของใจ มิใช่อยู่ที่อะไรอื่น จะโลภก็เพราะใจปรุงให้โลภ จะโกรธก็เพราะใจปรุงให้โกรธ จะหลงก็เพราะใจปรุงให้หลง หรือจะสุขก็เพราะใจปรุงให้สุข จะทุกข์ก็เพราะใจปรุงให้ทุกข์ ดังนั้นสิ่งที่ควรระมัดระวังที่สุด คือ การปรุงของใจตนเองนี้แหละมิใช่การกระทำของคนอื่น คนอื่นจะทำอะไรอย่างไร ถ้าเราระวังการปรุงของใจของเราเองให้ถูกต้องแล้ว ความทุกข์ของเราจะไม่เกิด เพราะการกระทำของเขาเลย…



เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ คือตรงผู้โกรธเท่านั้นที่เป็นทุกข์ พิจารณาจนเห็นจริงว่า ผู้โกรธเท่านั้นที่เป็นทุกข์จริง ๆ ซึ่งจะต้องเห็น แม้จะเห็นเพียงครู่ยามแล้วลืมก็จะต้องเห็น เพราะตนเองเป็นทุกข์อยู่เพราะความโกรธจริง ๆ



เมื่อเห็นแล้วว่าผู้โกรธเท่นนั้นที่เป็นทุกข์ ให้พิจารณาย้อนไปอีกว่าความโกรธเกิดเพราะความปรุงเช่นใด ก็จะเห็นว่าตนได้คิดปรุงไปเช่นใด เมื่อจะแก้ไม่ให้เกิดความโกรธ ก็จะ ต้องไม่คิดปรุงเช่นนั้น จะต้องเปลี่ยนวิธีปรุงคิดเสียใหม่



..สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก..
 
signup
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 10:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



คงเพราะรู้ไม่ทันความทุกข์กระมังค่ะ

คราวหน้าเกิดความรู้สึกที่ว่า "ทุกข์"

ก็รู้ให้ทันนะค่ะ ว่าหน้าตามันเป็นไง ทำให้เกิดความรู้สึกแบบไหน

ถ้ารู้ไม่ทัน มัน จะเก็บเป็นอารมณ์ค้าง ต้อง คิดถึงซ้ำซากอยู่อย่างนั้นอีกหล่ะค่ะ



ทีหน้า เกิดความรู้สึกอะไร ก็รู้จักมันไว้นะค่ะ ว่าดีหรือไม่ดี

ถ้าไม่ดี เราจะได้ดับมันได้ทัน ไม่ต้องเก็บกลับมาคั่งค้าง

ให้ต้องคิดซ้ำๆ



อืออ หวัดดีค่ะ
 
เจียง
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 04 ต.ค. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 2:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อสรี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านดูเหมือนรู้ตัวตลอดเวลาที่คิดถึงทุกข์เก่าๆ...ลองวิธีนี้ดูนะ...เมื่อรู้ว่าคิดอีกแล้ว ให้ดีดหูตัวเองแรง ๆ ทั้งสองข้าง แล้วเดินไปดูว่าหูแดงหรือเปล่า...



หรือที่เรียกกันว่า เปลี่ยนอริยะบทน่ะ...ทำบ่อย ๆ ก็จะค่อยหายไปเอง ต้องใจเย็น ๆ...



"ทุกข์" นั้นคล้ายโรคมะเร็ง คือเป็นโรคที่เราสร้างมันขึ้นมาเอง แล้วก็ฉลาดเหมือนเรา คิดอะไร มันก็รู้เหมือนเรา เพราะมันคือเรา...ฉะนั้นเมื่อเราคิดและมันรู้ว่าจะทำลายมัน มันก็ย้ายไปอยู่ที่ส่วนอื่นก่อนที่จะทำลายด้วยซ้ำ ... และเมื่อไล่ทำลายมันจนจนมุม มันก็ย้ายเข้าสู่จุดสำคัญของร่างกาย เพื่อทำลายตัวเอง... ชีวิตเราก็จบลง...



วิธีรักษาทุกข์กับมะเร็งก็คล้ายกัน... ต้องอยู่กับมันอย่างเพื่อน...ศึกษามัน...อดทน แก้ไข รักษามัน...และใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาของทุกข์นั้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป...ตามหน้าบุญ...เพื่อดูหน้ากรรม...ทำให้ดีที่สุด...ทุกข์นั้นก็จะค่อยคลายไป...

อย่าลืมว่า เราใช้เวลานานแค่ไหนในการสะสมทุกข์นี้ขึ้นมา ฉะนั้น เมื่อเวลาจะรักษาก็ต้องให้เวลาแก่การรักษาบ้าง...ใจเย็นๆ แล้วค่อยเป็นค่อยไป...ขอให้โชคดี

 
usnlee
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2005, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปล่อยวางนั้นไม่ยากหลอก อยู่ที่ใจท่านถึงแม้กายท่านจะร้อนรุ้มทำใจให้สงบไม่นึกถึงสิ่งใดๆ ไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ (สมาธินั้นเอง) การที่เราจะทำใจให้สงบ ปล่อยวางทุกอย่างเหมือนยากแต่ถ้าเราพยายามจะสำเร็จได้ไม่อยาก
 
itim
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 ก.ย. 2005
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2005, 1:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากให้ลองอ่าน วิปัสสนานุบาล ครับ เล่มเล็กๆ แต่ช่วยได้เยอะ

(ในบางเวลา)
http://www.dungtrin.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลุงเผือก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2005, 11:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมชาติ คนเราห้ามไม่ให้คิดไม่ได้



แต่คิดอย่างไรจึงจะมีความสุขและไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนนั่นแหละทำไปเลย



ลองวิธีนี้ดูนะ



กำหนดนิมิตและพิจารณาดังนี้



"หัวมันตั้งอยู่บนเครื่องชั่ง"



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง