Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หอระฆัง-หอกลอง โมงยามในวัฒนธรรมไทย (นฤมล สารากรบริรักษ์) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 9:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หอระฆัง วัดเกาะแก้วสุทธาราม จ.เพชรบุรี


หอระฆัง-หอกลอง โมงยามในวัฒนธรรมไทย

ในสมัยโบราณ การบอกเวลาในโมงยามต่างๆ จะใช้การตีกลองและระฆังเป็นสำคัญ ดังจะพบว่า มีการสร้างอาคารสำหรับแขวนกลองและระฆังเหล่านี้ในการเป็นศูนย์กลางของการบอกเวลาที่เรียกว่า หอระฆังและหอกลอง

หอระฆังและหอกลอง เป็นอาคารประเภทหนึ่งที่ปรากฏการสร้างมาแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมากพบในวัดทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส ใช้แขวนระฆังและกลองสำหรับตีบอกเวลา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทราบเวลาสำหรับการประกอบวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยพร้อมเพรียงกันอันได้แก่ การทำวัตรเช้า-เย็น การฉันเพล เป็นต้น

รูปแบบและโครงสร้างของหอระฆังและหอกลองนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก อาจแตกต่างกันเฉพาะชื่อเรียกเท่านั้น โดยทั่วไปมักสร้างขึ้นโดยใช้แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยเน้นให้มีรูปทรงสูง สามารถจำแนกประเภทได้ ๒ ประเภทคือ

Image
หอกลองวัดโคกบัวราย จ.สุรินทร์


๑. ชนิดเครื่องไม้ หมายถึงประเภทที่สร้างตัวอาคารด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ เป็นไม้ทั้งสิ้น มีไม้พาดเป็นขื่อสำหรับแขวนระฆังหรือกลอง มีความโปร่งโล่ง เพราะไม่ได้ก่อฝาผนังทึบตัน เช่น หอระฆัง วัดเกาะแก้วสุทธาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า รูปแบบของหอระฆังนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ยังคงความเป็นเรือนเครื่องไม้แบบโบราณ

นอกจากนี้ยังพบหอกลองชนิดเครื่องไม้ที่มีคุณค่ายิ่ง คือ หอกลอง วัดโคกบัวราย อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นหอกลองสูงสามชั้น มีความเรียบง่ายแบบพื้นบ้าน โครงสร้างก็เป็นแบบโปร่งโล่งและมีเอกลักษณ์ของศิลปกรรมท้องถิ่น ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่า

Image
หอระฆัง วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ


๒. ชนิดเครื่องก่อ หมายถึงประเภทที่สร้างด้วยโครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูนเช่นเดียวกับตึก ชั้นล่างโถงโล่ง มีบันไดเชื่อมต่อชั้นบน หอระฆังและหอกลองชนิดเครื่องก่อนี้มีทั้งที่ก่ออิฐเป็นผนังทึบตันและแบบโปร่งเช่นเดียวกับเครื่องไม้ อาทิ หอระฆังที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบจัตุรมุข คือมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ยกพื้นสูงมีบันไดทางขึ้นเตี้ยๆ ผนังโล่ง โครงสร้างไม่สูงมากนัก

สำหรับหอกลองที่มีความน่าสนใจ ได้แก่ หอกลองประจำพระนคร ซึ่งเป็นหอสูงสามชั้น สร้างด้วยไม้ผสมการก่ออิฐ หลังคาเป็นทรงยอดสูง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองประจำเมืองขึ้นที่บริเวณใกล้คุกเก่า ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนฯ ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมการรักษาดินแดน ภายในประดิษฐานกลองขนาดใหญ่ ๓ ใบ คือ กลองย่ำพระสุริย์ศรี สำหรับตีบอกเวลา กลองอัคคีพินาศ สำหรับตีเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และ กลองพิฆาตไพรี สำหรับตีเมื่อเกิดศึกสงคราม ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้มีความแข็งแรงตามรูปแบบเดิม

ในปัจจุบัน วัดยังคงใช้การตีระฆังและกลองเพื่อบอกเวลาปฏิบัติกิจของสงฆ์เช่นเดิม นอกจากเป็นเสียงที่ดังกังวาลและเยือกเย็นแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของการสร้างหอระฆังและหอกลองของไทยไว้ด้วย

Image
หอกลองประจำเมือง กรุงเทพฯ


เอกสารอ่านประกอบ

• กรมศิลปากร. วัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๐.
• สงวน รอดบุญ, พุทธศิลปรัตนโกสินทร์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, ๒๕๒๖.
• สมคิด จิระทัศนกุล. วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.


หนังสือธรรมลีลา โดย นฤมล สารากรบริรักษ์
คัดลอกมาจาก...หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง