Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สาระจากเรือนธรรม แก่นแท้ของพระพุทธเจ้า อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เรือนธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2005, 2:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาระจากเรือนธรรม ชุดที่ 73

จากหนังสือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)



พุทธศาสนายอมรับมาตรฐานตัดสินต่อเมื่อไร้ทุกข์หรือไม่มีทุกข์เหลือเลย จุดหมายของพุทธศาสนาคือไม่มีทุกข์เลย



นิโรธที่แท้ไม่ได้แปลแค่ดับทุกข์ ขอให้สังเกตว่า “นิโรธ” นั้นแปลว่า การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะดับทุกข์แสดงว่าเรามีทุกข์ จึงต้องดับมัน



พอเราปฏิบัติไปถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ก็ถึงภาวะไร้ทุกข์ ไม่มีทุกข์เหลือ ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีกต่อไปเลย



ส่วนในระหว่างปฏิบัติ ระหว่างที่สัมพัทธ์ ทุกข์จะน้อยลงและจะมีสุขมากขึ้น ฉะนั้น สุขจึงจัดอยู่ในฝ่ายนิโรธ ในฝ่ายจุดหมาย กิจหรือหน้าที่ต่อนิโรธ คือ สัจฉิกิริยา แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือทำให้ประจักษ์แก่ตัวหรือบรรลุถึง สุขจึงเป็นภาวะที่เรามีเพิ่มขึ้นๆ



หมายความว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่เรารู้ทัน แล้วก็หาทางแก้ เราจะก้าวไปสู่จุดหมาย คือสุขเพิ่มขึ้นเรื่อย ทุกข์น้อยลงเรื่อย จนกระทั่งหมดทุกข์ เป็นสุขที่แท้ คือ “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นบรมสุข



ระหว่างปฏิบัติเราก็ห่างทุกข์และมีสุขขึ้นเรื่อย



ฉะนั้น ในชีวิตจริง คือภาคปฏิบัติ ชาวพุทธจึงมีสุขมากขึ้น และทุกข์น้อยลงไปเรื่อยๆ นี่คือการที่เราดูพุทธศาสนาในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นชีวิตจริง ฝรั่งจึงเห็นชาวพุทธมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส







แต่ถ้าไปอ่านหนังสือเชิงทฤษฎี ที่คนเขียนจับหลักไม่ชัด พอเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ก็มองพุทธศาสนาเป็นทุกข์ไป



ที่จริงนั้น ทั้งหลักการและภาคปฏิบัติของพุทธศาสนา สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน



พุทธศาสนิกชนต้องจับหลักเรื่องกิจ หรือหน้าที่ต่ออริยสัจน์นี้ให้ได้ว่า...



๑. ทุกข์ เรามีหน้าที่ ปริญญา รู้ทัน ศึกษาให้เข้าใจว่า มันอยู่ที่ไหน มันเป็นอย่างไรจับตัวมันให้ชัด เพื่อให้พร้อมที่จะแก้ไข



๒. สมุทัย ตัวสาเหตุของทุกข์นั้น เราจึงมีหน้าที่ ปหานะ กำจัดแก้ไข



๓. นิโรธ เรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา บรรลุจุดหมายที่บำราศทุกข์ เป็นสุขมากขึ้นๆ



๔. มรรค ข้อนี้เท่านั้นที่เรามีหน้าที่ ภาวนา ปฏิบัติ ลงมือทำ



สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้สำหรับปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขสำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนั้น

พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้อยู่เป็นสุข



หรือให้สั้นกว่านั้นอีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์แต่ให้เป็นสุข คือ

ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น



เพราะฉะนั้น จะต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาแห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์ ฝรั่งจับจุดไม่ถูกก็เข้าใจผิดพลาด



ขอผ่านไป ทั้งหมดนี้ตั้งเป็นข้องสังเกต เป็นอารัมภบท

 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง