Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่อง แม่กาหลง โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (หน้าที่ 1 ก่อนกระท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2005, 11:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาตมามาอยู่เข้าพรรษาที่วัดอัมพวันนี้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ก่อนหน้านั้นคือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ก็ไป ๆ มา ๆ ดูแลรักษาการณ์ พอดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสก็มาอยู่ประจำ สมัยก่อนนั้นมีพระภิกษุสงฆ์องค์เณรพรรษาหนึ่งไม่เกิน ๑๕ รูป หรืออย่างมากทีเดียวไม่เกิน ๑๕ รูป เพราะพื้นที่บ้านวัดอัมพวันนั้นบ้านน้อยไม่มากนักประชาชนยากจน มีอาชีพทางการทำนาทำสวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีผู้ที่มีเงินมีทองมั่งคั่งสมบูรณ์อันใดนัก และวัดอัมพวันนั้นต่อมาก็มีพระสงฆ์เพิ่มขึ้นพรรษาละ ๔๐-๕๐ รูปทุกปีตลอดมา อาตมาคิดว่าต่อไปจะก้าวหน้าได้ต้องหาสัปปายะ บางทีจะมีแขกมาที่วัดก็ต้องไปขอบิณฑบาตอาหารคาวหวานบ้านเหนือบ้านใต้มาเลี้ยงเขา ก็เป็นการลำบากแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น มาคิดดูต้องหาสัปปายะทั้ง ๔ ให้ครบ วัดนี้จึงเจริญก้าวหน้าได้ กิจกรรมของคณะสงฆ์สมัยนั้นไม่เจริญ เพราะวัดนี้ข้าวของก็มีน้อย เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอโยธยา



เริ่มต้นด้วย อาวาสสัปปายะ อาหารสัปปายะ ต้องหา บุคลากรสัปปายะ ช่วยเหลือกิจกรรมของคณะสงฆ์ เช่นกรรมการวัดทายก ทายิกา ช่วยกันทำงาน ประการที่สี่ต้องจัดการศึกษาความรู้ในพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรียกว่า ธรรมะสัปปายะ เรียกว่า ๔ ประการ นี้ ต้องอาศัยเนื่องกัน วัดจึงเจริญได้ มีแขกเหรื่อมาหาสมภารเจ้าวัดหรือมาธุระในวัด ก็ต้องไปขอข้าวแกงบ้านเหนือบ้านใต้มาเลี้ยงทุกครั้งก็เป็นการรบกวนชาวบ้านเขา มาคิดถึงดูว่าเหตุการณ์วันข้างหน้า วัดอัมพวันจะเจริญก้าวหน้าได้ จะต้องตั้งโรงครัว อาหารเป็นเรื่องสำคัญ บางทีแขกมาวัดไม่มีอาหารให้รับประทาน เพราะเป็นวัดที่อยู่ทุรกันดาร ป่าดงพงไพรมากมาย มีท่าน้ำเรือแล่นไปมาในลำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นต้น





วัดอัมพวันอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา การสัญจรไปมาก็ต้องใช้ทางเรือทางเดียว เพราะทางหลังวัดออกไปถนนเอเซียยังไม่มี เป็นป่าและคลองชลประทานก็ยังไม่มีด้วย การส่งน้ำเข้าทุ่งหรือทำเกษตร หรือทำไร่ไถนาก็ยังไม่เจริญ ที่อาตมาอยู่วัดอัมพวันนั้นมีน้ำไหลเข้าทุ่ง ตามหลักโบราณท่านว่า เดือน ๑๑ น้ำนองเดือน ๑๒ น้ำทรง พอถึงเดือนอ้ายเดือนยี่ ก็รี่ไหลลง ทำนาข้าวหนัก ข้าวกลาง แบบโบราณ ประเพณีสืบมา มาตอนหลังก็เจริญขึ้นเป็นลำดับ



การตั้งโรงครัวจะทำอย่างไร อาตมาจากวัดพรหมบุรีมามีปัจจัยส่วนตัวมา ๓,๐๐๐ บาท มีเท่านั้นเอง ก็มาคิดทบทวนได้ว่าจะต้องหาบ้านสักหลังหนึ่ง จะซื้อไม้ใหม่แล้วนำมาปลูกจะต้องใช้ทุนทรัพย์มากปัจจัยก็ไม่มีกับเขา จะไปเรี่ยไรบ้านเหนือบ้านใต้ก็จะรู้สึกแร้นแค้น สำหรับบ้านนั้น หาเงินหาทองมาด้วยความยากลำบากจริง ๆ จะไปเรี่ยไรเขามาสร้างโรงครัวซื้อไม้ใหม่ที่ไหนเลยจะทำได้ คิดอย่างนี้แล้วก็ตั้งใจว่าจะต้องไปหาซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง ที่ราคาย่อมเยาว์พอจะซื้อได้เท่าที่มีเงินอยู่คือ ๓,๐๐๐ บาท คิดอย่างนี้แล้วตั้งแต่จากวัดพรหมบุรีที่อาตมาสอนกรรมฐานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ เริ่มสอนกรรมฐานตามลำดับมา จนถึงยุคปัจจุบันทุกวันนี้



นอกเหนือจากนั้นแล้วอาตมาก็ดำเนินงานแสวงหาถามญาติโยม ถามไปก็ยังไม่มีใครจะขาย ก็มีลูกศิษย์กรรมฐานจากที่จังหวัดสิงห์บุรี บ้านเตาปูน บ้านบางมอญ บ้านวัดศรีสาคร ก็มีโยมสุ่ม เป็นลูกศิษย์เก่า และมีโยมพิน บำเรอจิต เป็นลูกศิษย์เก่า ที่มาเรียนกรรมฐานจากวัดพรหมบุรีเป็นลูกศิษย์เก่ามาช้านาน ตั้งแต่โยมสุ่มยังอยู่ในวัยสาว มีลูกเล็ก ๆ เด็กแดงตลอดมาจนมีอายุมากแล้ว และแม่พิน บำเรอจิต ก็มีสามีชื่อผู้ใหญ่กลีบ เป็นผู้ใหญ่บ้าน อยู่ที่บ้านบางมอญ วัดสว่างอารมณ์ ถามเขาดูว่า“โยมพิน ใครมีบ้านจะขายบ้างในราคาย่อมเยา” โยมพินก็บอกว่า “ขอดูก่อน ถ้ามีที่ไหนดิฉันจะมากราบเรียนให้ทราบ”





ต่อมาแม่พินก็บอกว่ามีบ้านจะขาย นิมนต์ท่านไปดู เจ้าของอยู่กรุงเทพฯ เป็นบ้านของนายอำเภอเก่า ร้างไม่มีใครอยู่ บ้านอยู่ข้างบ้านดิฉันติดกัน เลยให้แม่พินไปสืบสาวราวเรื่องดู ก็ได้ความออกมาว่า เขาบอกขายราคา ๕,๐๐๐ บาท คงจะบอกกันมานานแล้วไม่มีคนซื้อ บ้านหลังนี้หาคนซื้อยาก เพราะเหตุใดไม่ทราบ บ้านเครื่องปรุงฝากระดานทรงไทยกลาย ๆ มีฝากระดานปะกันแบบโบราณสองหลังคู่แฝด มีบันไดขึ้นพร้อม มีรางน้ำอยู่กลาง แม่พินว่าอย่างนั้น เจ้าของเขาอยู่กรุงเทพฯ กัน เขาก็มาบอกว่า ถ้าเป็นคนอื่นเขาจะขาย ๕,๐๐๐ บาท ถ้าท่านต้องการจะเอาไปวัดอัมพวัน ก็ยินดีจะขายให้ในราคา ๓,๐๐๐ บาท แม่พินมาส่งข่าว อาตมารู้สึกดีใจมาก แหมพอเหมาะกับเงินที่เรามีอยู่ที่ได้ตั้งใจไว้ ก็บอกให้แม่พินตกลง ก่อนตกลงนี้แม่พินบอกว่า “นิมนต์พระเดชพระคุณไปดูก่อน ถ้าชอบใจค่อยซื้อ ไม่ชอบใจก็แล้วไป”









อาตมาก็เดินทางไปดูบ้านหลังนี้ โดยอาตมามีเรือยนต์อยู่ลำหนึ่ง ก็ลงเรือยนต์ไป นายท้ายก็ขับเรือไป ถึงบ้านแม่พิน ผู้ใหญ่กลีบ บำเรอจิต สามีของแม่พินก็พาอาตมาไปดู บอก “หลวงพ่อไปดูด้วยกัน” ไปถึงเขาก็เปิดกำแพงที่ปิดกั้นไว้ บ้านนี้ไม่มีใครอยู่ ฝุ่นเต็มหยากไย่เต็ม ผู้ใหญ่กลีบก็บอกให้ขึ้นไปดู อาตมาก็ขึ้นไปดูบ้านหลังนี้ มีกำแพงกั้นเสร็จเรียบร้อย บ้านก็รกรุงรังเพราะขาดคนอยู่รักษา ผู้ใหญ่กลีบก็ไม่ขึ้นไปด้วย อาตมาขึ้นไปแต่ผู้เดียว ขึ้นไปแล้ว ผู้ใหญ่เขาก็กลับไป เขาบอกว่า “ท่านเข้าไปดูแล้ว นิมนต์มาที่บ้าน เดี๋ยวมาคุยกัน”



อาตมาก็ขึ้นไป เรือนหวั่นทันที เรือนหวั่นโคลงไปโคลงมา เหมือนแผ่นดินไหว อาตมาก็มาคิดดู เอ๋ ข้างนอกลมก็ไม่พัดเรือนทำไมหวั่นไปหวั่นมา ขนหัวลุก อาตมาไม่กลัวผี จะว่าผีก็ไม่ใช่ เอ ไม่เห็นมีใคร ขนหัวลุกหมด เรือนก็ยังหวั่นอยู่อาตมาก็ไม่กลัว แต่ก็รีบลงบันไดมาบอกผู้ใหญ่กลีบ บอกว่า เอ๋ เรือนหลังนี้พิกล ทำไมโยนไปโยนมาได้ ผู้ใหญ่กลีบก็แน่เหลือเกิน บอกว่า หลวงพ่อเรือนหลังนี้บางทีมันอยู่เก่า เป็นบ้านไม่มีคนอยู่ ขึ้นไปกระดานอาจโยนไปโยนมาได้ หรือหลวงพ่อจะเป็นลมไปก็ได





อาตมาก็ขึ้นไปใหม่ ขึ้นไปแล้วก็มีความรู้สึกขึ้นมาก็แผ่เมตตา เอ๋ อะไรกันอย่างนี้ เป็นเรื่องน่าสงสัย แต่ก็ยังไม่ติดใจแต่ประการใด ก็คิดว่ากระดานมันหยอบแหยบ ๆ ไม่ได้ตอกตะปู มันอาจจะโยนเวลาเราขึ้นไปก็ได้ หรืออาจเสาเรือนจะขาดก็ได้ คิดได้หลายนัย แต่ก็สงสัยไว้ในใจ ทีนี้ก็ตกลงปลงใจซื้อตกลงจะต้องรื้อ แม่พินก็รับอาสาจะจัดการให้ และจะเตรียมหาอาหารการบริโภคให้เสร็จ เอาคนของท่านมาบ้างและจะขอแรงคนบ้านนั้นรื้อวันเดียวคงเสร็จ ก็ตกลงจะรื้



ก่อนที่จะรื้อไปนั้น อาตมาก็กล่าวคำพูดออกมา “นี่พี่น้องทุกคนที่อยู่บ้านนี้ เจ้าของบ้านก็ดีนะ ที่อยู่ที่นี่น่ะมาอยู่ทำไมเล่า ไปอยู่ด้วยกันนะ ไปอยู่วัดอัมพวันไปเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมพวันกันดีกว่านะ จะมาหลงอยู่ที่นี่ทำไมอยู่ในอบายเป็นเปตวิสัยไม่ดีแน่ ช่วยกันรื้อช่วยปลูกด้วยนะอาตมาจะเอาไปปลูกเป็นโรงครัว เพื่อทำอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์องค์เณร และช่วยเลี้ยงพุทธศาสนิกชนที่มาวัด ให้ได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลของเขาต่อไป” ก็รู้สึกสงบดีบ้านก็นิ่งเรือนที่โยนไปโยนมาหยุดทันที ก็เป็นเรื่องประหลาดที่อาตมาประสบมา





ผู้ใหญ่กลีบก็หัวเราะ เพราะเขารู้เรื่องดีแต่เขาไม่บอกเราว่ามีอะไรที่บ้านหลังนี้ หาคนมาเช่าก็ไม่ค่อยได้ หาคนซื้อก็ไม่ได้คนจะมาซื้อเขาก็ไม่ต้องการว่าเป็นเพราะอะไรก็ไม่ทราบ ก็ยังคลางแคลงยังสงสัย อาตมาก็บอกว่าไปด้วยกัน ช่วยรื้อช่วยปลูกด้วยนะ เสาเป็นเสาไม้จริงเสาไม้แก่น และเรือนรื้อเป็นแบะ ๆ ได้สะดวกดี เป็นเรือนแบบโบราณ ตกลงแล้ว อาตมาก็กลับวัดกลับไปจัดแจงทางวัด เอาช่างมาวัดดู จัดแจงขุดหลุมไว้กว้างยาวเท่าไรให้เรียบร้อย และขอแรงเรือลำใหญ่เรือข้าวสมัยเก่า จุข้าวประมาณ ๒๕ เกวียน เพื่อจะไปรื้อเรือนหลังนี้ต่อไป ว่าแล้วก็ถากที่ขุดหลุมไว้คอยท่าเสร็จเรียบร้อย แม่พินก็ช่วยจัดการให้



วันต่อมาก็ไปแต่เช้ามืด ไปถึงบ้านแม่พินก็ไปฉันเช้าที่นั่น แม่พินก็จัดการอาหารการบริโภคให้เรียบร้อย รื้อแต่เช้าเสร็จตอนบ่าย รื้อเรือนเสร็จเรียบร้อยใส่เรือข้าว เอาเรือโยงกลับมาวัด รุ่งขึ้นเช้าเริ่มปลูกเสร็จในวันเดียว มันก็เป็นเรื่องอัศจรรย์เหมือนกัน เพราะเราขุดหลุมคอยไว้แล้ว เสากว้างยาวเท่าไรอะไรอย่างนี้ รื้อแล้วก็รื้อกันอย่างดี ไม่มีเสียหายอะไร ก็ปลูกเสร็จภายในวันเดียว มีญาติโยมพุทธศาสนิกชนวัดอัมพวัน เดี๋ยวนี้ยังมีชีวิตอยู่ก็ช่วยกันปลูก ก็เล่าได้ว่าเป็นความจริงปลูกเสร็จในวันเดียว เสร็จเรียบร้อยดีก็ไม่มีใครอยู่เลย ปลูกในป่าทางทิศใต้วัดอัมพวัน เขตวัดทางด้านใต้ อยู่ระหว่างกอไผ่ กอไผ่มีหลายสิบกอ สมัยโน้นก็น่ากลัวอยู่ หาคนไปอยู่ไม่ได้ สำนักชีก็ยังไม่เกิด เพราะไม่มีใครอยู่เลย



ก็เริ่มต้นด้วยคุณป้าหมากดิบ ภรรยาของท่านอดีตปลัดอำเภอเป็นผู้มีพระคุณต่ออาตมามาก อาตมาเคยไปอาศัยเรียนหนังสือพักอยู่บ้านคุณป้า เรียนชั้นมัธยมที่จังหวัดสิงห์บุรี คุณป้าก็อุปการะมาหุงข้าวหุงปลาให้รับประทานอาหารไปโรงเรียนได้อย่างดี ในเวลากาลต่อมา อาตมาอุปสมบทแล้ว ก็ไม่เคยเจอคุณป้าเลย ไปพบเป็นชีอยู่ที่อำเภออินทร์บุรี อาตมาก็บอก





“แม่ชีป้าหมากดิบ มาอยู่ทำไมที่นี่เล่า” คุณป้าตอบว่า

“บวชชี บ้านช่องหมดแล้ว เขาโกงหมด หมดเนื้อประดาตัวหมดแล้ว”



นี่อาตมานึกถึงพระคุณที่ได้หุงข้าวให้อาตมาไปโรงเรียนยังไม่ลืมพระคุณอันนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกัน แต่เป็นผู้อุปการคุณ จึงบอกคุณป้าไปอยู่ด้วยกันเถอะ อาตมาจะรับเลี้ยงจนกระทั่งชีวิตหาไม่ คุณป้าก็มาอยู่จึงได้อยู่เรือนที่ปลูกนี้ อาศัยเฝ้าบ้าง ไปเหนือมาใต้ คุณป้ามีลูกหลานมาก ก็ไม่ค่อยจะอยู่วัด



ในเวลากาลต่อมา พระสงฆ์องค์เจ้ามากขึ้น ก็ต้องทำครัวเลี้ยง หุงข้าววันละกระทะถวายพระที่วัดอัมพวันตลอดมา ก็ยังไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถึงเวลาญาติโยมก็มาช่วยกันทำครัว ทำครัวแล้วก็กลับบ้าน ไม่มีใครเฝ้าหมู กะปิ หัวหอม กระเทียม ก็เก็บไว้ในที่กุฏิโรงครัวนี้ที่ได้ซื้อมา มีภรรยาภารโรงชื่อแม่บุญชู สามีชื่อนายสงวน ศรีพวงวงษ์ เป็นภารโรง ร.ร.วัดอัมพวัน ก็ขอแรงเมียภารโรงมาช่วยทำครัว เลี้ยงพระสงฆ์องค์เณรที่วัดตลอดมา ญาติบ้านเหนือบ้านใต้พุทธศาสนิกชนก็มาช่วยกันที่โรงครัวนี้ เย็นก็กลับบ้านหมด ไม่มีใครเฝ้า แต่เดชะบุญกุศลของไม่หายตลอดมา







วันหนึ่งแม่บุญชูเวลากลับบ้าน ก็หอบหอมกระเทียมไปบ้าง หมูเหลือ ปลาเหลือ จากทำถวายพระก็เอาไป หอมกระเทียมก็เอาไป อาตมาก็ไม่รู้เรื่อง ไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ ไม่เคยไปดูโรงครัวเลย



(ต่อที่- กระทู้ 02493)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2005, 11:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุด้วยครับ



สาธุด้วยครับ



- ฟังเสียงเทศน์ของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/index.php





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง