Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2005, 12:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ให้เป็นใจผู้รู้ อันถึงพร้อมด้วยการรู้และการเห็น

***********************************************************************************************

เจริญพร



การเจริญสติเพื่อพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้นี้ เป็นกระบวนการพัฒนาสติในภารภาวนาลำดับต่อไปที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้มุ่งหวังเจริญเข้าสู่ทางอริยมรรค เพราะเมื่อสำนึกรู้ได้รับการพัฒนาให้เป็นใจผู้รู้แล้ว ในเบื้องต้นจะเกิดศักยภาพที่เหนือจากสำนึกรู้อันเป็นเรื่องของการรู้ด้วยตัวรู้สึกล้วนๆ ไปสู่การทั้งรู้และเห็นด้วยใจผู้รู้ไปพร้อมๆกัน กล่าวคือ การฝึกพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ ก็คือการฝึกพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ที่มีศักยภาพทั้งรู้และเห็นไปพร้อมๆกัน อันทำให้ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะไปตามลำดับตามกำลังความแจ่มแจ้งของการเป็นผู้รู้นั้น





ฉะนั้น สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมจนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ในระดับหนึ่งแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ต่อไปนั้น พึงหมั่นอบรมทบทวนการบ้านที่อาตมาได้เคยให้ไว้ในแต่ละบทอีกครั้งตั้งแต่ต้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ที่มีพละกำลัง พร้อมที่จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้อันถึงพร้อมด้วยการรู้และการเห็นไปพร้อมๆกันในลำดับการพัฒนาสติในการภาวนาขั้นต่อไป ทั้งนี้ เพื่อความต่อเนื่อง หากผู้ปฏิบัติที่มีความสนใจในการพัฒนาสำนึกรู้นี้ให้เป็นใจผู้รู้ดังกล่าว สามารถมาเข้ารับการฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม นี้ในรอบเช้า 10.00-12.00 น. และเพื่อความสะดวกในเรื่องสถานที่ที่รับได้เพียง 30 ท่านต่อครั้งเท่านั้น อยากรบกวนช่วยแสดงความจำนงสมัครเข้ารับการฝึกอบรมครั้งต่อไปนี้ โดย email ให้อาตมาทราบเพื่อจะได้สำรองที่นั่งให้ อนึ่ง ท่านที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว แต่ขาดความต่อเนื่อง ทำให้สำนึกรู้ที่เกิดไม่มีกำลังหรือแข็งแรงพอ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในรอบบ่ายเวลา 13.00-15.00 เพื่อทบทวนการปฏิบัติสร้างความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้เกิดขึ้นจนเป็นสำนึกรู้ที่มีกำลังอีกครั้ง เพื่อที่จะพร้อมในการเข้าฝึกอบรมพัฒนาสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ในอาทิตย์ต่อๆไป



ขอให้ทุกท่านหมั่นขยันภาวนาให้มากๆในช่วงเข้าพรรษานี้

วิโมกข์



*********************************************************************************************

กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ประจำเดือนสิงหาคม 2548



จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้าทุกวันอาทิตย์ โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้





รอบที่ 1 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00–12.00 น. (สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง “การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง “การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”

อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441(คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่ HOME ENGLISH CENTER และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้ รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า) หรือ เข้าไปดูแผนที่ Home English Center พร้อมเส้นทางรถเมล์ได้ในไฟล์ที่แนบมานี้

หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย

(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง

********************************************************************************************

 

_________________
ยังนึก..ม่าย..ออก!!!!!
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 8:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบเรียนถาม ท่านอาจารย์วิโมกข์



การเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง

การเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง



มีอาการอย่างไรครับ





เจริญพร



กายภายนอก ก็คือ ร่างกายภายนอกของเราคือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง รวมทั้งกายทั้งหลายภายนอกของบุคคลอื่นด้วย

กายภายใน ก์คือ ลมหายใจ และอวัยวะน้อยใหญ่ภายในร่างกาย อาทิ ตับ ไต ไส้ พุง ปอด กระเพาะ หัวใจ ซี่โครงกระดูก เป็นต้น



การพิจารณากายภายนอก

1. กายทั้งหลายภายนอกของบุคคลอื่น อันนี้ ไม่ค่อยลำบาก เพราะสามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ การพิจารณาสามารถพิจารณาด้วยการนึกคิดพิจารณาและให้ใจรู้ตาม หรือ ถ้าชำนาญก็น้อมเข้าสู่ใจหรือความรู้สึกทางใจ จนเกิดการเห็นตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ด้วยใจเจ้าของจริงๆ

2. ร่างกายภายนอกของเรา อันได้แก่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อันนี้ หากพิจารณาในขณะลืมตาในชีิวิตประจำวัน ก็ให้พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่ถ้าหากเป็นการพิจารณาในขณะเจริญภาวนา ให้ใช้ความรู้สึกเข้าไปสัมผัสผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วพิจารณามองทีละส่วนๆด้วยความรู้สึก แล้วให้มีสติรู้ในอาการของการพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ในความรู้สึกนั้น จนเกิดการจางคลาย คลายออก จากความยึุดมั่นถือมั่นในความรู้สึกที่เป็นไปในขณะน้อมผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สู่อสุภกรรมฐาน อนึ่ง หากผู้ที่พิจารณาด้วยความรู้ัสึกเข้าไปสัมผัสไม่เป็น เบื้ัองต้นก็ให้พิจารณาด้วยความนึกความคิด แล้วให้ใจรู้ตามจนเกิดการปลงสลด สังเวช แทงเข้าไปในใจเกิดการจางคลาย คลายออก จากความยึดมั่นถือมั่นไปโดยลำดับเช่นกัน

การพิจารณากายภายใน

เบื้องต้นเริ่มจากการพิจาณาลมหายใจในขณะเจริญอานาปานสติ โดยพิจารณาอาการความแปรเปลี่ยนไปของลม จากลมหายใจเข้าไปสู่ลมหายใจออก ลมหายใจออกไปสู่ลมหายใจเข้า จากลมหายใจหยาบไปสู่ลมหายใจละเอียด จากลมหายใจละเอียดกลับมาหยาบอีกในบางขณะ จนกระทั่งลมหายใจสงบระงับ หายไปก็รู้ว่าลมหายไป หรือบางครั้งลมหายใจกลับมาอีกก็รู้ว่าลมมีอีก พิจารณาไปจนกระทั่งลมหายใจละเอียดประณีต และสงบระงับไปในที่สุด เมื่อพิจารณาลมหายใจจนลมหายใจสงบระงับไปในที่สุดหรือพิจารณาลมหายใจแต่เพียงแค่จิตสงบ พอจิตสงบมีกำลังและควรแก่การพิจาณาในธรรมอื่นๆต่อไป ก็น้อมเข้าสู่การพิจารณากายในกายอันเป็นไปในอาการ 32 โดยพิจารณาทีละส่วน เริ่มตั้งแต่ศีรษะ ให้พิจารณาด้วยความรู้สึกเข้าไปสัมผัสเห็นใบหน้าที่ถูกเจาะเป็นช่องตา 2 รู ช่องหู 2 รู ช่องจมูก 2 รู และช่องปาก 1 รู แล้วเห็นความเxxx่ยวย่นหรือความเสื่อมของผิวหนังที่หุ้มศีรษะ แล้วลอกเปลือกผิวหนัง พิจารณาเห็นมันสมอง ไขสมองที่เน่าเปื่อย ไหลเยิ้ม จนเหลือแต่กะโหลกศีรษะ ทั้งหมดผุพัง แตกสลายไป ส่วนที่เป็นธาติดิน ก็คืนสู่ธาตุดินในธรรมชาติ ส่วนที่เป็นธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็คืนสู่ธาตุน้ำ ลม ไฟในธรรมชาติ แล้วพิจารณขยายไปๆๆ ไปสู่คอ ไหล่ ลำตัว แขน ขา จนจรดปลายเท้า ในลักษณะและอาการเช่นเดียวกับข้างต้น พร้อมๆกับน้อมเข้าสู่ใจเกิดเป็นความสลด สังเวช ความจางคลาย ความคลายออก และความปล่อยวางในกายนี้ไปโดยลำดับ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดวงตานั้นเห็นได้แต่ภายนอก แต่ผู้รู้นี้เห็นได้ทั้งนอกและเห็นได้ทั้งใน เห็นนอก ก็คือ เห็นรูปที่มากระทบ ได้ยินเสียงที่มากระทบ เห็นในก็คือเห็นกายและใจตัวเองอย่างทั่วถึง กล่าวคือ เมื่อตาเห็นรูป ผู้รู้ก็เห็นรูปนั้นด้วย ขณะเดียวกันต้องฝึกไม่ให้ผู้รู้เห็นนอกอย่างเดียว เพราะทำให้ผู้รู้ไหลไปกับรูปที่เห็น จึงควรจะฝึกให้ผู้รู้เห็นในคือเห็นใจหรืออาการทางใจที่เป็นไปในภายในอย่างทั่วถึงด้วย เพื่อว่าผู้รู้จะได้เป็นกลางๆ ไม่ไหลไปกับรูปภายนอก และ ไม่ไหลเข้าไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาการทางใจอันปรุงแต่งด้วยอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน สิ่งภายนอกนั้นล้วนแต่เป็นมายาของจิต ดังจะเห็นได้จากนักปฏิบัติหลายท่าน เห็นนิมิตต่างๆบ้าง ในขณะภาวนา แล้วเผลอหรือลืมตัวปล่อยให้สติหรือผู้รู้ไหลไปกับนิมิตที่เห็นนั้น โดยลืมดูจิตดูใจของตัวเอง ผู้รู้ก็หลงเที่ยวไปในนิมิตที่เห็นนั้นจนหลงตัวเองว่าได้ตาทิพย์ หรือเป็นผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าหรือเป็นผู้วิเศษไป หรือเป็นผู้ไปถึงฝั่งคือพระนิพพานแล้ว ทำนองนี้ ซึ่งหารู้ไม่ว่ากำลังโดนจิตของตนเองหลอกตนเอง เพราะภาพหรือสิ่งที่เห็นในขณะภาวนานั้น ล้วนแต่เป็น Duplicate หรือ Copy ที่สะท้อนมาจากจิตใต้สำนึกอันปรุงแต่งไปด้วยกิเลสสารพัด ฉะนั้น เมื่อนักปฏิบัติเห็นนิมิตต่างๆ ก็พึงเห็นใจหรืออาการทางใจของตนไปพร้อมกันด้วย เพราะคำว่าDuplicate หรือ Copy นั้น ก็คือ มายาของจิตนั่นเอง อันนี้จึงเป็นตัวอย่างให้เราอุทาหรณ์ไว้อยู่เสมอว่า อะไรที่เราเห็นนั้น อาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง หรือ เป็นมายาของจิตนั่นเอง ฉะนั้น ผู้รู้อาจจะสูญเสียความเป็นผู้รู้เพราะมายาของจิตไปโดยไม่รู้ตัว เราจึงควรตรวจสอบความรู้ความเห็นของตนเองโดยการเห็นทั้งนอกพร้อมๆไปกับการเห็นทั้งในด้วยอยู่เสมอ เพราะการเห็นนอกโดยขาดการเห็นใน ผู้รู้จะเสียสมดุล และในที่สุดก็สูญเสียการเป็นผู้รู้ กลายเป็นโมหะหรืออวิชชาบังตาผู้รู้ แต่ผู้รู้จะเป็นผู้รู้ยิ่งๆขึ้นไปด้วยการเป็นผู้รู้ที่อยู่ตรงกลางๆระหว่างรูปและนาม คือ เห็นนอกและเห็นในด้วยไปพร้อมๆกัน อันนี้เป็นอุทาหรณ์ให้นักปฏิบัติภาวนาหลายๆท่าน พึงวางนิมิตที่เห็น ด้วยการมองด้านในให้เห็นใจหรืออาการทางใจ(จิตตสังขาร)ที่ไปสร้างตัวตนเป็นนิมิตอันเป็นเพียงมายาของจิตเท่านั้น เมื่อมองด้านในดังกล่าวนิมิตนั้นก็จะหายไป และ อาจจะไปเจอนิมิตที่เป็นมายาที่แยบยลกว่าแทน ก็พึงให้สำนึกรู้หรือใจผู้รู้มองด้านในเนืองๆ จนเค้าหยุดเล่นกับเราเพราะเรารู้เท่าทัน แต่หากเรามัวหลงเพลินยินดีปราโมทย์กับนิมิตต่างๆที่เห็นนั้น เราก็จะรู้ไม่เท่าทันในมายาของจิต จนผู้รู้สูญเสียความเป็นผู้รู้โดยที่เราไม่ทันเฉลียวใจ ฉะนั้น นักปฏิบัติหลายๆท่าน พึงไม่ควรประมาท เพราะความไม่ประมาทเท่านั้น ที่จะทำให้ท่านถอยกลับมาก้าวหนึ่งแล้วตรวจสอบความเป็นผู้รู้ของตนอยู่เนืองๆ ด้วยความไม่ประมาทนั่นเอง

*************************************************************************



กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 10 วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2548 จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง “การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง “การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”



อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่

http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772



และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)



หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย



(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 12:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๐ ฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของ ๆ เรา

*********************************************************

หัวใจสำคัญของหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ก็คือ การละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ของเรา การละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ของเรา นั้นฟังดูเข้าใจไม่ยาก แต่เวลาถึงภาคปฏิบัติทีไร มักจะล้มเหลวหรือทำไม่เป็นผลสำเร็จ วันนี้อาตมาจึงอยากจะให้การบ้านหรืออุบายธรรมในการละตัวเรา ของเรา เพราะการที่เราตั้งหน้าตั้งตาฝึกเจริญภาวนานั้น เป้าหมายหลักก็คือ การละตัณหาอุปาทานนั่นเอง อุบายธรรมที่อาตมาอยากจะให้เป็นการบ้านสำหรับนักภาวนาทั้งหลาย ก็คือ การฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของเรา อันหมายถึงการละตัวเรา ของเราให้เป็นผลสำเร็จ ตามอุบายธรรมนี้ ต้องเริ่มต้นที่การฝึกละความรู้สึกว่าเป็นของๆเรา ไปสู่การฝึกละความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา หรืออีกนัยหนึ่ง ในเบื้องต้น เรายึดตัวเราก่อน เพื่อไปละของๆเรา นั่นเอง การยึดตัวเราก็คือ รู้ในความรู้สึกที่เป็นตัวเราด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อิ่มเอิบ ปีติปราโมทย์ กับความรู้สึกที่เป็นตัวเราด้วยความรู้สึกที่รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่เป็นปัจจุบันขณะกับจิต วิญญาณ และกายของเราอย่างทั่วพร้อม ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำว่ามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือ สัมปชัญญะอันเป็นในภายใน ภายนอก และทั้งภายในภายนอก อันหมายถึงรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างทั่วถึงทั้งกายและใจนั่นเอง จนเกิดใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานที่รู้เห็นโลกคือกายอันยาววาหนาคืบนี้รวมทั้งโลกภายนอกตามความเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ) แต่ข้อสังเกตในหนทางการหลุดพ้นตามธรรมชาตินั้น จะเกิดความสงบรำงับ และ ความปราโมทย์ (ความบันเทิงใจในธรรม)ก่อน จึงจะเกิดเป็นใจผู้รู้ที่รู้เห็นโลกตามความเป็นจริงดังกล่าว อันหมายถึง หนทางการบรรลุธรรมแบบธรรมชาติโดยอาศัยความสงบรำงับ จนเกิดความปราโมทย์ (ความบันเทิงใจในธรรม) อันมีตัวเราเป็นที่ตั้ง หรือมีความปราโมทย์ ความสุขในธรรมอันเกิดจากตัวเราก่อนนั่นเอง กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติธรรมที่ให้ได้ผลเกิดความก้าวหน้านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีความสุขในการปฏิบัติธรรม เมื่อมีความสุขในการปฏิบัติธรรม ก็จะเกิดฉันทะในการปฏิบัติธรรมเอง จนเกิดวิริยะ จิตตะ วิมังสา อันถึงพร้อมด้วยอิทธิบาทภาวนานั่นเอง การที่ผู้ปฏิบัติธรรมแล้วจะมีความสุขในการปฏิบัติธรรมได้นั้น ผู้ปฏิบัติต้องเห็นประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมจริงๆ อาทิ เห็นว่า การปฏิบัติธรรมคือ การมีสติอยู่กับปัจจุบัน และการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ก็คือการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งหลายอยู่เนืองๆ เพราะสิ่งต่างๆในวันพรุ่งนี้ วันมะรืนนี้ ก็จะเคลื่อนมาสู่ปัจจุบันเป็นสิ่งใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้ ในปัจจุบัน ทีละขณะๆ อยู่เนืองๆ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในปัจจุบันนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เห็นแจ้งเข้าไปถึงใจเจ้าของอันเป็นภาวนามยปัญญา ต่างกับจินตามยปัญญาที่ไปติดอยู่กับการคิดการนึก แต่ไม่สามารถเห็นแจ่มแจังเข้าไปถึงจิตถึงใจจนทำลายความยึดมั่นถือมั่นหรือทำลายกิเลสให้เบาบางไปจากใจเจ้าของได้



มาถึงประเด็นการฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของ ๆ เรา นั้น ก็คือ การใช้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นปัจจุบันจนเกิดความสงบรำงับและปราโมทย์ในใจเนือง ๆ เพื่อไปละความรู้สึกในสิ่งภายนอกทั้งหลายว่าเป็นของ ๆ เรานั่นเอง ทั้งนี้ความรู้สึกหลงยึดมั่นในสิ่งภายนอกว่าเป็นของๆเรานั้น จัดว่าเป็นความรู้สึกจรที่แปลกปลอมและเป็นโทษเป็นภัยจนทำให้เกิดการความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเราและเป็นตัวเราอย่างเหนียวแน่นมากขึ้น แต่เพราะเหตุที่ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสติอันมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นฐานกำลังแก่สติอยู่เนืองๆ สติอันผู้ปฏิบัติเจริญดีแล้วนั้นจะคอยตรวจสอบสกัดกั้นความรู้สึกที่แปลกปลอมและเห็นโทษภัยของความรู้สึกที่หลงยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้น สี่งนี้เป็นของ ๆ เรา โดยตระหนักเห็นความจริงว่าลำพังตัวเราเองก็ไม่สามารถที่จะบังคับให้เป็นไปดั่งใจนึกปรารถนา นับประสาอะไรกับสิ่งภายนอกที่เราไปหลงยึดมั่นว่าเป็นของๆเราจะไปสามารถควบคุมจัดแจงหรือ จัดการให้เป็นไปดังใจปรารถนาได้อย่างไร? ฉะนั้น ผู้หมั่นเจริญสติ และสัมปชัญญะด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ ก็จะเห็นความจริงอันนี้ได้โดยไม่ยากและพร้อมที่จะสลัดคืนสิ่งแปลกปลอมอันเป็นความรู้สึกที่ยึดว่าเป็นของๆเราได้โดยง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเพียรปฏิบัติเนืองๆ จนสามารถรู้และละ อยู่ที่ละได้ช้าหรือเร็วมากน้อยอย่างไรเท่านั้นเอง

อาตมาอยากจะชี้ให้เห็นว่า การฝึกละตัวเรา ของเรา นั้น ถ้าเราไปพยายามละตัวเราก่อน มันจะยากลำบากเพราะเหตุเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่ร้อยรัดความรู้สึกว่าของๆเรามากเท่าไร หากเทียบเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่มัดความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานั้นยิ่งมากกว่ามากนัก อุบายธรรมนี้ จึงมีเป้าหมายในการฝึกละความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา และของๆเราให้ได้ในที่สุด โดยเริ่มจากการฝึกละความรู้สึกว่าเป็นของๆเราก่อน คือ ค่อยๆละวางปลดเปลื้องเครื่องพันธนาการในสิ่งทั้งหลายภายนอกที่เราไปหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเรา เช่น เกียรติยศของเรา ชื่อเสียงของเรา ลูกของเรา ภรรยาของเรา สามีของเรา ทรัพย์สมบัติของเรา อะไรทำนองนี้ เมื่อเครื่องร้อยรัดอันเป็นพันธนาการที่ร้อยรัดตัวเราด้วยของๆเรา ได้ถูกปลดเปลื้องออกไปโดยลำดับ เราจะรู้สึกโล่งเบา โปร่งเบาสบาย เพราะความที่เราสามารถลดละความรู้สึกยึดมั่นถื่อมั่นว่าเป็นของๆเรา อันเป็นเครื่องพันธนาการร้อยรัดจิตใจของเราได้โดยลำดับนั่นเอง ความสำเร็จในการที่จะละวางปลดเปลื้องเครื่องพันธนาการอันเป็นความรู้สึกว่าเป็นของๆเรานี้ จะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต้องอาศัยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นเครื่องอาศัยให้ใจเจ้าของมีความสุขสงบรำงับและ ปราโมทย์คือความบันเทิงในธรรมอันเกิดจากความยินดีปรีดากับการมีความสุขอยู่กับปัจจับันขณะด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเนืองๆ จนไม่อยากจะเหลียวแลไปยึดเอาสิ่งทั้งหลายภายนอกว่าเป็นของๆเรา เพราะระอากับความทุกข์รำเค็ญที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอันเนื่องมาจากความหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเราเป็นเหตุนั่นเอง เพราะเมื่อความรู้สึกว่าเป็นของๆเราเริ่มรุนแรงขึ้น ก็จะส่งผลสะท้อนให้ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรารุนแรงขึ้นเช่นกัน หรือในทางตรงกันข้าม หากสามารถลดละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายภายนอกว่าเป็นของๆเราได้ ก็จะส่งผลสะท้อนให้ความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราอ่อนกำลังลงหรือคลายความหลงทั้งในตัวเรา และของๆเราได้ไปพร้อม ๆ กันโดยปริยาย



ลำดับต่อไปเมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกรู้ความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพื่อไปละความรู้สึกที่เป็นของๆเราได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจในระดับหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าความรู้สึกที่หลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรานั้นก็จะบรรเทาเบาบางลงไปโดยปริยายเช่นกัน เพราะเหตุไม่มีความรู้สึกที่เป็นของๆเรามาคอยกระตุ้นให้ตัวเราหลงผิดในตัวเราอยู่เนืองๆ อุบายธรรมต่อไปเพื่อให้สามารถละความหลงผิดยึดมั่นถือมั่นทั้งตัวเรา และของๆ เราได้ไปโดยลำดับก็คือ การเจริญปัญญา ควบคู่ไปกับการเจริญสติ เพื่อให้สามารถละความยินดียินร้ายเพราะเหตุเห็นโทษความยินดียินร้ายทั้งในความรู้สึกยึดมั่นหลงว่าเป็นของ ๆ เราและความรู้สึกยึดมั่นหลงว่าเป็นตัวเราที่เข้าไปเสวยอารมณ์ หรือ พึงพอใจในความยินดียินร้ายนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เมื่อละความรู้สึกยึดมั่นว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นของๆเราได้ในระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปก็ค่อย ๆ ฝึกหัดละความรู้สึกที่หลงยึดมั่นว่าเป็นตัวเราผู้เข้าไปเสวยอารมณ์ในความรู้สึกที่ยึดมั่นว่าเป็นของๆเรานั้น อีกชั้นหนึ่ง โดยการรู้สักแต่ว่ารู้ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจนเกิดรู้ที่เป็นกลางๆ ที่อยู่เหนืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นตัวเราได้ในที่สุด



*********************************************************



กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 11 วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2548



จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”



อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441(คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772

และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)



หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย



(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง



*********************************************************



อนึ่ง การฝึกอบรมครั้งที่ 12 จะขอเลื่อนกำหนดการมาฝึกในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2548 แทน เนื่องจากในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2548 นั้นหลวงพ่อติดกิจนิมนต์ไปฝึกอบรมแก่นักศึกษาสถาบันราชภัฏ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2005, 7:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2548



****************************************************************************



อุบายธรรมเพื่อดำเนินสู่อริยมรรคโดยการฝึกเจริญภาวนาปรับเข้าสู่ชิวิตจริงในชีวิตประจำวัน



*********************************************************



การฝึกเจริญสมาธิ เจริญสติ นั้น ก็เปรียบเสมือนกับการฝึกจิตในเบื้องต้นเพื่อให้เป็นจิตที่มีกำลัง มีประสิทธิภาพ และควรแก่การงานอันนำไปสู่การเจริญปัญญาหรือวิปัสสนาต่อไป เมื่อเราลองมาวิเคราะห์ดูว่า ไฉนเลย ผู้ปฏิบัติหลายๆท่านที่สามารถแยกรูป แยกนาม ก็ดี เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็ดี แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมในเบื้องต้นคือโสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติผล ได้ เป็นเพราะเหตุใด? หรือบางท่านผ่านญาณ ๑๖ มา 2 รอบ 3 รอบ วิปัสสนาจารย์ก็อธิบายว่าได้บรรลุเพียงแค่จุฬโสดาบัน นั่นหมายความว่า ก็ยังไม่สามารถบรรลุโสดาปัตติผลหรือปิดอบายได้นั่นเอง อันนี้ ก็เป็นที่กังขาของหลายๆท่านว่า ไฉนเลยได้ผ่านโคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ จนถึงปัจจเวกขณญาณ อันเป็นที่สุดของญาณ ๑๖ ก็ยังมีกำลังไม่พอที่จะบรรลุโสดาปัตติผลได้ ซึ่งแตกต่างจากในสมัยพุทธกาล ซึ่งเพียงพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนธรรมในอนัตตลักขณสูตรแก่เหล่าพระภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง ไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า” “เวทนาเที่ยง ไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า” สัญญา สังขาร วิญญาณ……….(ก็ถามในลักษณะเดียวกัน) พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ”เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เมื่อสิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็ไม่มีตัวตน” เมื่อพระองค์ตรัสจบเพียงเท่านี้ ….เหล่าพระภิกษุทั้งหลายก็ได้ดวงตาเห็นธรรม อย่างน้อยที่สุดก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน





หลายๆคน ก็จะทักท้วงขึ้นมาทันทีว่า นั่นเป็นเพราะต่อเบื้องพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันหมายถึงว่า มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แล้วสำหรับในยุคสมัยปัจจุบันที่จะเกิดธรรมจักษุได้ง่ายเช่นนี้……ทำให้นักปฏิบัติหลายๆท่านจึงเริ่มหาหนทางในการหลุดพ้นแตกต่างไปจากคำสอนในอนัตตลักขณสูตร โดยแทนที่จะกำหนดรู้สภาวะให้เห็นความไม่เที่ยงในความไม่เที่ยงจริงๆ เห็นทุกข์ในความเป็นทุกข์จริงๆ และเห็นความไม่มีตัวตนในความไม่มีตัวตนจริงๆ ก็เริ่มไปใช้วิธีไปพยายามทำให้เกิดความไม่มีตัวตนหรือทำให้ว่างด้วยกำลังสมถะบ้าง การพยายามเจริญสติเพื่อยกจิตให้อยู่เหนือขันธ์ 5 บ้าง ตั้งใจเจริญสติโดยไปตั้งผู้รู้อยู่ตรงฐานผู้รู้บ้าง หรือแม้แต่การแยกรูป แยกนามในนามรูปปริจเฉทญาณด้วยการเจริญวิปัสสนาบ้าง ซึ่งยังล้วนเป็นการตั้งใจ จงใจ พยายามทำให้เกิด ด้วยกำลังสมาธิก็ดี กำลังสติก็ดี โดยปราศจากการรู้ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนตามแนวการสอนในอนัตตลักขณสูตรของพระพุทธองค์ หรือ เรียกง่ายๆว่า ไปตั้งใจ จงใจหรือพยายามทำให้เกิดโดยขาดการเห็นไตรลักษณ์ในความเป็นไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวันจริงๆ ด้วยใจเจ้าของจริงๆ แม้แต่ผู้เจริญวิปัสสนาที่เกิดนามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป) ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้เหตุปัจจัยของนามและรูป) สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้พิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์) และอื่นๆ……… อันนี้ ก็เป็นเรื่องของการทำญาณให้เกิดในรูปแบบของการนั่งหลับตาเจริญวิปัสสนา ซึ่งก็เป็นเรื่องของการตั้งใจ จงใจ หรือพยายามทำให้เกิดด้วยการเจริญสติรู้สภาวะธรรมในขณะนั่งหลับตาเจริญวิปัสสนานั้น หาได้เป็นวิปัสสนาญาณซึ่งเห็นแจ้งด้วยใจเจ้าของเพราะเหตุเห็นทุกข์จริงๆในขีวิตประจำวันจริงๆก็หาได้ไม่ หรือแทบจะไม่เคยดูของจริงคือกองทุกข์ในชีวิตประจำวันเลย เอาแต่ดูของที่ทำขึ้นด้วยการตั้งใจ จงใจ หรือพยายามทำให้เกิดด้วยการนั่งหลับตาเจริญวิปัสสนา แต่แทบจะไม่ได้สนใจหรือไม่เคยใส่ใจกับการลืมตาทำวิปัสสนาเพื่อดูกองทุกข์ในชีวิตประจำวันจริงๆเลย



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2005, 7:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ต่อ)



แต่สมัยนี้ นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้เดินตามแนวคำสอนในอนัตตลักขณสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไปตั้งใจ จงใจ หรือพยายามทำให้เกิดด้วยการเจริญสมถะก็ดี เจริญสติก็ดี หรือแม้แต่เจริญวิปัสสนาลำดับญาณตามรูปแบบที่ยึดถือกันปฏิบัติกันอยู่ก็ดี ซึ่งหากเรามาวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์ เบื้องต้นต้องกล่าวก่อนว่า การฝึกปฏิบัติตามรูปแบบในการเจริญสติ เจริญภาวนา เจริญวิปัสสนาหรือญาณ ๑๖ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เสมือนหนี่งการเรียนไปตามขั้นตอน โดยเริ่มต้นจากการฝึกในรูปแบบของการนั่งหลับตา เพื่อให้รู้จักสภาวะนั้นๆ แต่การจะเข้าถึงสภาวะนั้นๆ มันเป็นคนละเรื่องกับการรู้จักสภาวะนั้นๆ เพราะการเข้าถึงสภาวะนั้นๆ จนแยกรูปแยกนามได้อันเป็นวิปสสนาญาณแท้จริงนั้น ต้องเกิดเองเป็นเอง อันเนื่องมาจากการเจริญวิปัสสนาในชีวิตจริงในชิวิตประจำวันด้วยการเข้าไปเห็นทุกข์อริยสัจในชีวิตจริงในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแก่ใจเจ้าของ จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และละวางจากความยึดมั่นถือมั่นในความมีตัวตน อันเป็นเหตุต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ให้สามารถเห็นรูปเห็นนามซี่งเป็นวิปัสสนาญาณแท้จริงที่เกิดเองเป็นเอง เพราะเหตุเห็นกองทุกข์หรือทุกข์อริยสัจ แจ้งแก่ใจเจ้าของในชีวิตจริง นั่นเอง อานิสงส์ของวิปัสสนาญาณที่เกิดเองเพราะจากเริ่มจากการรู้ทุกข์ ก็จะแตกต่างจากการเกิดวิปัสสนาญาณในรูปแบบที่ทำให้เกิดด้วยการฝึกเจริญวิปัสสนาตามรูปแบบของการนั่งฝึก อันเป็นการนำผู้ปฏิบัติให้ไปรู้จักสัมผัสสภาวะเท่านั้น อาทิ อาตมาสอนในเรื่องของการฝึกทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือฝึกเจริญสติให้มีสติเป็นกลางๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งอยู่บนฐานผู้รู้ หรือไม่ต้องตั้ง กล่าวคือ ให้รู้อยู่ที่ “รู้” ก็ตาม อันนี้ ก็ยังจัดว่าเป็นเรื่องของการฝึกหัด หรือเป็นเบื้องต้นของการฝึกให้รู้จักสภาวะนั้นๆ แต่การจะเข้าถึงสภาวะนั้นๆ จนสักแต่ว่ารู้ และ “สักแต่ว่ารู้”นี้เค้าไปรวมลงที่ฐานผู้รู้เองหรือเป็นไปเอง โดยไม่ต้องไปตั้งอย่างที่เคยตั้งใจตั้งเมื่อตอนเริ่มฝึกหัด การที่ผู้รู้ไปรวมเองตรงฐานผู้รู้เพราะเหตุเห็นทุกข์และเกิดการปล่อยวางในอารมณ์และกิเลสทั้งหลาย จึงเป็นการเข้าถึงสภาวะด้วยการทวนกระแสอันเป็นการเดินเข้าสู่อริยมรรค ส่วนการไปตั้งผู้รู้นั้นในช่วงเริ่มฝึกหัด อันนั้น โดยมากมักจะพลาดตกไปเสวยสุขอยู่ในวิญญาณอันไม่มีประมาณ หรือความว่างไม่มีประมาณอันเป็นสุญญตวิหารธรรมที่เป็นผลจากการไปตั้งผู้รู้ เสมือนหนึ่งเป็นการชิมลางเข้าไปรู้จักสภาวะของสุญญตวิหารธรรมนั้น และมักจะเข้าใจผิดเสียเนิ่นนานว่าตนบรรลุธรรมใกล้ถึงที่สุดหรือไม่ก็ถึงที่สุดแล้ว ซึ่งต่างจากการที่ผู้รู้รู้สักแต่ว่า “รู้” ทุกข์ จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และผู้รู้ก็เกิดการละวางอารมณ์ โดยผู้รู้ไปรวมเป็นหนึ่งตรงฐานของผู้รู้อันเป็นไปเอง เสมือนหนึ่งผู้รู้ได้มีประสบการณ์จริงเพราะเหตุเห็นกองทุกข์ในชีวิตจริง และเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จนเกิดการสลัดคืน และทวนกระแสความหน่วงเหนี่ยว เยื่อใย อาลัยอาวรณ์ของกระแสโลก อันอยู่ภายใต้ความครอบงำของวัฏฏของวิญญาณทั้ง ๖ และเดินเข้าสู่อริยมรรค อริยผลได้โดยลำดับ จนถึงซึ่งความหลุดพ้น อันเป็นการเข้าถึงสุญญตวิหารธรรมที่แท้จริง ซึ่งแตกต่างจากการไปรู้จักสภาวะของสุญญตวิหารธรรมในเบื้องต้นของการฝึกหัดโดยการไปตั้งใจเพื่อตั้งผู้รู้ตรงฐานผู้รู้นั้น การเจริญสติเพื่อพัฒนาผู้รู้ไปสู่ภาคปฏิบัติโดยปรับเข้าสู่ชีวิตจริงเพื่อให้ผู้รู้ได้รู้และแจ้งในกองทุกข์จนเกิดความเบื่อหน่าย จางคลาย และสลัดคืนจากกองทุกข์ทั้งหลายในชีวิตประจำวันจริงๆ จึงเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติพึงพัฒนาต่อจากการฝึกหัดดังที่ได้ศึกษาและเรียนมา ผลที่ได้ของการฝึกเพื่อให้เป็นไปเพื่อรู้จักสภาวะกับผลที่ได้ของการเข้าถึงสภาวะที่เป็นไปเองเพราะเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยง และเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์ ในชีวิตประจำวันจริงๆ ผลที่ได้จากการทำในเรื่องเดียวกัน แต่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างกัน กล่าวคือ การฝึกให้เป็นไปกับการมีประสบการณ์จริงในชีวิตจริง จึงมีผลได้ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมาย โดยเปรียบเสมือนเส้นผมบังภูเขา เพราะเส้นผมนี้ไปบังตาผู้ปฏิบัติที่กำลังฝึกฝนแต่ขาดประสบการณ์จากการเห็นทุกข์อริยสัจในชีวิตจริงๆ อาจจะหลงตนได้ว่าตนเข้าถึงมรรคผลหรือจบพรหมจรรย์แล้ว



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2005, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ต่อ)



ต่อไปก็มาถึงประเด็นสำคัญว่า เมื่อเราได้ฝึกฝนการเจริญสมาธิก็ดี การเจริญสติก็ดี การเจริญวิปัสสนา จนรู้สักแต่ว่ารู้….เป็นแล้ว เข้าใจดีแล้ว …จนสามารถกำหนดรู้รูปนาม หรือแยกรูปแยกนาม และเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ต่อไปก็ต้องรู้จักปรับการฝึกอันยังเนื่องด้วยการตั้งใจ การจงใจ การพยายามทำให้เกิด ปรับเข้าสู่ประสบการณ์จริงด้วยการเห็นกองทุกข์ทั้งหลายในชีวิตประจำวันจริงๆ อันเป็นทุกข์อริยสัจ ซี่งพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเป็นหลักไว้ในกระบวนการเข้าถึงซึ่งวิมุตติและความหลุดพ้นตามหลักอริยสัจ ๔ ว่า ทุกข์เป็นที่ต้องกำหนดรู้ เป็นประการแรก เพราะเหตุเมื่อกำหนดรู้ทุกข์ได้ ก็จะเห็นเหตุแห่งทุกข์ เห็นความดับทุกข์ และเห็นหนทางไปสู่ความดับทุกข์ เป็นไปตามลำดับ การที่นักปฏิบัติทั้งหลายฝึกเจริญสมาธิ เจริญสติ เจริญวิปัสสนา จนสามารถกำหนดรู้รูปนามคือแยกรูปแยกนาม เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปหรือผ่านญาณ ๑๖ ไปตามลำดับขั้นตอน อันนี้ เป็นเรื่องของการฝึกในรูปแบบของการเจริญสมาธิ เจริญสติ เจริญวิปัสสนา เพื่อให้รู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้นในขณะนั่งภาวนานั้น จนรู้จักสภาวะนั้นตามความเป็นจริง แต่สภาวะที่เห็นรูปนาม เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป นั้นไม่ได้เป็นไปเองอันเป็นผลจากการเข้าไปกำหนดรู้กองทุกข์หรือทุกข์อริยสัจ จึงกลายเป็นว่าเห็นรูปนาม เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แบบไปทำให้เกิดด้วยกำลังของการเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญวิปัสสนาอันเป็นไปตามรูปแบบ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเพระาเห็นกองทุกข์จนเกิดเห็นโทษของกองทุกข์ทั้งหลายตามความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยนี้ เรียนปริยัตินำการปฏิบัติจนติดอกติดใจในปริยัติ เลยมีภูมิความรู้ชั้นสูงสามารถกำหนดรู้รูปนามอย่างละเอียด กำหนดรู้จิตเกิดดับๆๆได้อย่างละเอียด แต่ภูมิความรู้กับภูมจิตภูมิธรรมนั้นต่างกัน เพราะภูมิจิตภูมิธรรมนั้นเป็นประสบการณ็ตรงที่เริ่มจากการไปเห็นหรือกำหนดรู้กองทุกข์หรือทุกข์อริยสัจตามนัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอนัตตลักขณสูตร ฉะนั้น ในการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาฯ ซึ่งอาตมาได้แบ่งหลักสูตรไว้เป็น 2 ขั้นตอน คือ การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึก และการฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้ ต่อไปถ้าเห็นผู้เรียนมีความตั้งใจจริงที่อยากจะเข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง อาตมาคงต้องปรับเพิ่มเติมหลักสูตรอีกขั้นตอนหนึ่ง คือ การปรับการฝึกหัดเจริญภาวนาเข้าสู่การภาวนาในชีวิตประจำวัน เนื้อหาในการฝึกอบรมจะเป็นการ integrate สัมมาทิฏฐิ เข้าสู่การเจริญสติ เจริญสมาธิ โดยให้อุบายในการกำหนดรู้กองทุกข์หรือทุกข์อริยสัจด้วยหลักอาตาปี สัมปชาโน สติมา อันเป็นอุบายเรืองปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงขมวดปมการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ลงไว้ที่การมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พร้อมกับการให้อุยายในการรู้เท่าทันในวงจรปฏิจจสสมุปบาททั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม อันเป็นปัญญานำให้ถึงซึ่งความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนา ดังที่ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใด้เห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”



อนึ่ง การอธิบายธรรมเป็นตัวหนังสือนี้ ก็ยังหนีไม่พ้นของการเรียนปริยัติ ความแจ่มแจ้งย่อมไม่เหมือนกับการมาฝึกปฏิบัติจริงๆ เพราะมีอุบายบางประการ ที่อาตมาไม่สามารถถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือได้ และผู้ปฏิบิติแม้จะเรียนจากตัวหนังสือเท่าไรก็จะยังไม่สัมผัสเข้าใจได้อย่างแท้จริง เพราะการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจะต้องฝึกพัฒนาไปตามขั้นตอน คือ เบื้องต้นฝึกพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ และพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้นั้นให้เป็นใจผู้รู้ ฉะนั้น ผู้ที่สนใจใฝ่ศึกษาเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้งในธรรมปฏิบัตินี้……หากมีความตั้งใจจริง โดยมาเข้าฝึกอบรมในโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในภารภานาฯ อย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆนี้ เพื่อให้โอกาสแก่ตัวท่านเองในการดำเนินเข้าสู่เส้นทางอริยมรรคนี้…….อันอาตมาก็เพียงแค่พอจะนำพาท่านเข้าสู่เส้นทางอริยมรรค โดยการบรรลุอริยมรรคอริยผลนั้นขึ้นอยู่ที่ความเพียรของแต่ละท่านเอง ……..อาตมาซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ ก็เพราะเหตุมีความตั้งใจจริงเป็นพื้นเดิมอยู่แล้วที่จะถ่ายความรู้ประสบการณ์ของอาตมาโดยไม่ปิดบังอำพราง เพราะเหตุไม่ต้องการให้นักปฏิบัติที่มีความตั้งใจจริงทั้งหลายต้องเนิ่นช้าในการปฏิบัติธรรมอย่างที่อาตมาต้องประสบมาก่อน เรียกว่าร่นระยะเวลาการเดินทางของท่านอย่างน้อยสิบปี และอดนึกสงสารไม่ได้ที่เห็นผู้สนใจปฏิบัติภาวนากันมาก ซึ่งอุตส่าห์สละเวลาและความสุฃส่วนตัวไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 7วัน 10วัน บ้าง แต่ผลที่ได้คือถ้าไม่นั่งหลับ ก็ตกภวังค์ หรือไม่ก็กลับบ้านไปด้วยความที่หน้าตายังไม่ผ่องใสสดชื่น หรืออาจจะบูดเบี้ยวไปกว่าเดิม เพราะความที่ปฏิบัติด้วยความตั้งใจจรดจ่อมากไปจนเกิดอาการเกร็ง บังคับ เหมือนหุ่นยนต์ ส่งผลให้ไม่สามารถปรับตัวกลับเข้าไปสู่สังคมเพื่อนฝูงญาติมิตรได้เป็นปกติ โดยปรับการปฏิบัติให้กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติกับชีวิตจริงในชีวิตประจำวันและสังคมได้จริงๆ



*********************************************************



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๒ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการมีสติรู้ความรู้สึก



*********************************************************************************

ความรู้สึกเกิดจากอะไร ? ความรู้สึกเกิดจากการกระทบของสิ่ง ๒ สิ่ง ได้แก่อายตนะภายนอก กระทบ กับอายตนะภายใน อาทิ ตากระทบกับรูป หูกระทบเสียง ……….กายกระทบสัมผัสทางกาย เราเคยสังเกตไหมว่า จากความรู้สึกกระทบสัมผัส ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะนำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปเองตามธรรมชาติ อาทิ การเดินจงกรม บางท่านเดินจงกรมโดยกำหนดที่เท้ายก ย่าง เหยียบ บางท่านกำหนดที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าที่กำลังยก ย่าง เหยียบ การกำหนดทั้ง ๒ กรณีข้างต้น ยังยึดติดกับรูป คือ ดูรูปที่เคลื่อนไหว การกำหนดลักษณะนี้ จะกลายเป็นสมถะไป เพราะเป็นการกำหนดเฉพาะที่ อันได้แก่ ที่เท้าหรือที่อาการเคลื่อนไหวของเท้า แม้การกำหนดอาการเคลื่อนไหวดูเหมือนว่าน่าจะเป็นวิปัสสนา แต่ก็ไม่เป็นวิปัสสนา เพราะยังต้องประคองเท้าให้ค่อยๆเคลื่อนไหว อันเป็นเรื่องของการบังคับด้วยสมถะ แต่ถ้าหากนักปฏิบัติกำหนดรู้โดยการมีสติระลึกรู้ความรู้สึกของเท้าทึ่กำลังเคลื่อนไหว อันนี้จะเป็นธรรมชาติ เพราะไม่ต้องประคองเท้าให้ค่อยๆเคลื่อนไหวแบบจิกอาการเคลื่อนไหวของเท้าทีละขยักๆๆ การไม่ประคอง ก็ไม่ได้หมายความว่าเดินจ้ำเอาจ้ำเอาเร็วเกินไป แต่เป็นการเดินช้าอย่างสบายๆ ด้วยความรู้สึกเบาสบายเป็นธรรมชาติ จนรู้สึกความรู้สึกของอาการเคลื่อนไหวของเท้าที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันแบบนุ่มนวล เบาสบาย เสมือนหนึ่งคลื่นท้องทะเล ที่ผ่านเข้ามา และผ่านพ้นไป ระลอกแล้วระลอกเล่า โดยไม่ต้องไปหยุดทีละขยักๆๆ ทำให้ไม่รู้สึกของอาการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หรือแทนที่จะรู้ความรู้สึกของอาการการเคลื่อนไหวของเท้าอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไปประคองยก ประคองย่าง ประคองเหยียบที่ตั้งใจเกินไป จนรู้สึกเมื่อยเท้า และเสียการทรงตัว ทั้งนี้ การดูความรู้สึกของอาการเคลื่อนไหวของเท้านั้นจะพบว่า จะผ่อนคลาย สบายๆ เป็นธรรมชาติ และจะค่อยๆเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง กล่าวคือ จากการดูความรู้สึก ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเกิดอาการความรู้สึกโปร่งเบาและเชื่อมโยงกันเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง ตรงกันข้าม หากผู้ปฏิบัติกำหนดดูเฉพาะที่โดยยึดติดกับรูป กล่าวคือ กำหนดรู้เฉพาะเท้าที่เคลื่อนไหว หรือกำหนดรู้อาการความเคลื่อนไหวของเท้า โดยไม่สังเกตหรือระลึกรู้ความรู้สึกของเท้าที่กำลังเคลื่อนไหวนั้น จะเกิดเป็นการรู้เฉพาะที่ที่ยึดติดกับรูปหรือรูปแบบ อันเป็นอุปสรรคบังความรู้สึกของเท้าที่กำลังเคลื่อนไหว ผลก็คือเดินเท่าไรๆ ก็ไม่เคยโปร่งเบา และไม่เคยเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง อาตมาขอย้ำอีกครั้งว่า หากผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ความรู้สึก ณ ที่ใดที่หนึ่งของกายที่เคลื่อนไหว จะผสานเชื่อมโยงทำให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง หรือนัยกลับกัน หากผู้ปฏิบัติมีสติเป็นกลางๆ ระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ ก็จะสามารถรู้สึกถึงความแตกต่างของสัมผัสหนักเบาของกายแต่ละส่วนที่เคลื่อนไหว หรือพูดให้เข้าใจง่าย ก็คือสามารถรู้ความรู้สึกเฉพาะที่ของการเคลื่อนไหวนั้นได้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นกัน จึงสรุปได้ว่า จากความรู้สึกเฉพาะที่นำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และความรู้สึกตัวทั่วพรัอมก็ทำให้เห็นความรู้สึกเฉพาะที่ได้เช่นเดียวกัน และที่สำคัญก็คือ การกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ความรู้สึก อันเป็นผลของสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน (แม้การเคลื่อนไหวของเท้าขณะยก ขณะย่าง ก็เป็นการกระทบระหว่างเท้ากับอากาศ) จะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน( ผัสสะ ) ด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ถ้าผู้ปฏิบัติไปดูรูปที่กระทบตรงๆ จะไม่ค่อยเห็นความรู้สึกเบาๆที่เกิดจากการกระทบได้ชัด แต่หากผู้ปฏิบัติกำหนดรู้โดยการระลึกรู้ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบเนืองๆ ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้เห็นสิ่ง ๒ สิ่งที่กระทบกันอันเป็นไปเองโดยไม่ต้องไปตั้งท่าหรือตั้งใจดูแต่อย่างใด และการที่เห็นสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้เห็นเองว่านั่นเป็นการกระทบระหว่างอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน และในที่สุดก็จะนำไปสู่การรู้เห็นรูปนาม แยกรูปแยกนาม เห็นว่ารูปกระทบกับรูป ( อาทิ กายกระทบสัมผัสทางกาย ) หรือรูปกระทบกับนาม ( อาทิ รูปที่เห็นบาดตาบาดใจ ) หรือนามกระทบกับนาม ( อาทิ คิดนึกจนกลุ้มใจ ) การเห็นรูปนาม หรือแยกรูปแยกนามในลักษณะนี้ เป็นการเห็นที่เกิดจากการกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ในสัมปชัญญะหรือความรู้สึกอันเป็นผลจากสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน แล้วทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท จนไปเห็นผัสสสะ เห็นอายตนะภายนอกภายในกระทบกัน และเห็นรูปนาม เกิดการแยกรูปแยกนามที่เป็นไปเอง ไม่ใช่ไปทำให้แยกรูปแยกนามด้วยการไปตั้งใจกำหนดดูรูปนามด้วยสมถะ ฉะนั้น การกำหนดรู้ด้วยการมีสติระลึกรู้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของเท้าในขณะเดินจงกรม จึงเป็นวิปัสสนา ด้วยเหตุว่าจะทำให้เกิดการทวนกระแสไปจนเห็นรูปนาม แยกรูปแยกนามที่เป็นไปเองดังกล่าว ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีสัปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายใน ภายนอก และภายในภายนอก และมีสติระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนั้น เนืองๆ เสมอๆ จึงจะเป็นไปเพื่อวิปัสสนาด้วยนัยดังที่อาตมาได้อธิบายมาข้างต้น





อนึ่ง ทุกข์เป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้ ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายไว้ในอริยสัจ ๔ การกำหนดรู้ทุกข์ บางครั้งเราก็กำหนดรู้ทุกข์ตรงๆ แต่บางครั้ง ทุกข์ไม่เกิดหรือไม่เห็นทุกข์ เราก็สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้โดยการไปกำหนดรู้ความสุขแทน เพราะเหตุเมื่อความสุขหายไป นั่นก็หมายถึงว่าทุกข์กำลังมาเยือน กล่าวคือ เราสามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้ในความสุขเช่นกัน หรือบางครั้งไม่สุขไม่ทุกข์ (อทุกขมสุขเวทนา) เราก็สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้ในความไม่สุขไม่ทุกข์เช่นกัน เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่ได้นาน เปรียบได้กับอารมณ์ของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปอยู่ทุกเมื่อตลอดเวลา บางครั้ง อารมณ์ของมนุษย์ก็แกว่งไปทางซ้ายบ้าง แกว่งผ่านตรงกลางบ้าง และแกว่งไปทางขวาบ้าง และก็กลับมาตรงกลางบ้าง แล้วตีกลับไปทางซ้ายอีกบ้าง ……..อันแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ตามหลักไตรลักษณ์นั่นเอง คำว่า “ตรงกลาง” นี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่า “ตรงกลาง”นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมก็ทำให้เกิดตรงกลาง ความสงบอันเกิดจากสมาธิก็ทำให้เกิดตรงกลาง ความว่างหรือสุญญตาก็ทำให้เกิดตรงกลาง และสัมมาทิฏฐิ อันเป็นตัวปัญญา คือ เห็นความทุกข์ในความไม่เที่ยง และเห็นความไม่เที่ยงในความเป็นทุกข์ ในที่สุดก็จะเห็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนก็จะไม่มีคำว่าซ้ายสุด หรือ ขวาสุด ภาวะกลางๆ หรือ “ตรงกลาง”ก็จะเกิดขึ้นเองด้วยปัญญาคือสัมมาทิฏฐินี้ อันเป็นไปเอง เพราะเมื่อเห็นแจ้งแก่ใจเจ้าของในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนแล้ว ก็จะทำให้มีสติรู้เท่าทันและเกิดการปล่อยวาง ภาวะกลางๆ หรือ “ตรงกลาง” ก็จะเกิดขึ้นเอง และเป็นไปเอง ซึ่งต่างจากภาวะกลางๆ หรือ ”ตรงกลาง”อันเกิดจากการตั้งใจ จงใจทำ หรือทำให้เกิดด้วยสมถะ หรือ แม้แต่ภาวะกลางๆ หรือ ”ตรงกลาง”อันเกิดจากความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ซึ่งก็มีได้ ๒ ประการเช่นเดียวกัน คือ ประการแรกเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเกิดจากการตั้งใจ จงใจทำ หรือทำให้เกิดด้วยการทำจิตให้ว่าง หรือด้วยสมถะ และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเกิดจากการมีสติรู้เท่าทันและเกิดการปล่อยวาง ซึ่งเป็นผลจากการมีปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน อันเป็นการทวนกระแสด้วยปัญญาจนเกิดภาวะกลางๆ ซึ่งเป็นไปเอง เรียกได้ว่าเป็นการเข้าถึงภาวะกลางๆ อย่างแท้จริง อันเป็นไปเพื่อวิมุตติความหลุดพ้นโดยลำดับ



*********************************************************************************



การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๒ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการมีสติรู้ความรู้สึก




จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”

อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772

และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)

หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย

(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง





อนึ่ง ขอเชิญรับหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ได้ในวันและเวลาที่มาอบรมดังกล่าว หรือ ดูรายละเอียดได้ที่



http://larndham.net/index.php?showtopic=16219&st=20
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 7:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 13 วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2548
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง