Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาสาฬหบูชา พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของโลก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2005, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





อาสาฬหบูชา พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของโลก

คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา

สาโรจน์ กาลศิริศิลป์



อาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทำให้เกิดมีสาวกองค์แรกในโลก พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นแล้ว พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะได้ครบสมบูรณ์แล้ว ก่อนปีพุทธศักราช 45 ปี วันอาสาฬหบูชาปีนี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2548 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา



ธัมมจักกัปปวัตนสูตร คือ พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของโลก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้สรุปได้ว่า บรรพชิตไม่ควรประพฤติที่สุด 2 อย่าง คือ



1. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข ถือว่าจะดับทุกข์ได้ด้วยการบริโภคกามให้เต็มเปี่ยม เป็นการหลงใหลเข้าใจผิด ยิ่งปฏิบัติก็จะเพิ่มกำลังให้กับกิเลส มีแต่โทษหาประโยชน์มิได้เลย



2. อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนให้ลำบาก ถือว่าเป็นความประพฤติที่เคร่งครัดจนเกินไป ยิ่งทำไปก็ยิ่งทำให้หลงใหลงมงายมากขึ้น และไม่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระอริยเจ้าได้



สิ่งทั้งสองประการนี้ เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งเพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร พระพุทธเจ้าทรงแสดง มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางไม่ย่อหย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป เป็นหนทางอันพอดีที่จะให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการ คือ



1. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค



2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาท และดำริไม่เบียดเบียน



3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เว้นจากพูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ



4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกาม



5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม



6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น ละบาปที่เกิดขึ้นแล้วสร้างกุศลให้เกิดขึ้น และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม



7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ มีสติกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา มีสติพิจารณาอยู่ตลอดเวลา



8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ การเพ่งอารมณ์จนจิตใจแน่วแน่ และเจริญฌานทั้ง 4 ให้เกิดขึ้น



เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงแสดงทางสายกลาง 8 ประการแล้ว ทรงแสดง อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหลักความจริงอันประเสริฐ พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระปัญจวัคคีย์ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้รู้ธรรมตามสภาพที่เป็นจริงว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นมีความดับเป็นธรรมดา จึงทูลขอบวช พระพุทธองค์ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด นับว่าเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนานี้ที่บวชตามพระพุทธองค์ จึงถือว่าพระพุทธศาสนามีพระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบสมบูรณ์ในวันอาสาฬหบูชา



พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มุ่งเน้นให้เรามุ่งมั่นประกอบคุณงามความดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ด้วยการปฏิบัติตามทางสายกลาง มีความเห็นที่ถูกต้องในเบื้องต้น และมีจิตใจที่ตั้งมั่นสงบเยือกเย็น แม้การปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ก็จะไม่เคร่งเครียดหรือย่อหย่อนจนเกินไป จะทำให้มีความสุขกับการทำงาน ถือว่างานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน และพระธรรมคำสั่งสอนยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชา เพราะเป็นหนทางที่จะสามารถแก้ไขพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติให้ดีขึ้น บริสุทธิ์ บริบูรณ์ขึ้นตามลำดับ ทั้งยังพิสูจน์ได้ทุกยุคทุกสมัยว่า ปฏิบัติดีในเวลาใด ก็จะได้รับผลดีในเวลานั้น ซึ่งได้แก่ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง



ในฐานะที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากชาวพุทธนานาชาติให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลกจึงขอเชิญชวนทุกท่านตั้งสัจจะอธิษฐานว่า เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษาเราจะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดไป และพระธรรมจะคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมให้ชีวิตมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าประสบความสุขสวัสดี ตลอดกาล



.................................

นสพ.ข่าวสด วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 หน้า 39



 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อ่านะ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2005, 5:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



85498549.jpg


 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง