Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถามลุงใหญ่เกี่ยวกับการสวดนัมเมียวโฮเรงเงเคียวของญี่ปุ่น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ศรัทธาธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2005, 3:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื่องจากช่วงนี้ ได้เห็นได้อ่านเกี่ยวกับการสวดมนต์ของพระที่มาจากญี่ปุ่น ในทำนองสวดมนต์แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น บางครั้งก็สามารถขอในสิ่งต่างๆที่เราอยากได้ (แต่ต้องเป็นสิ่งที่ดี) อยากจะขอความเห็นของลุงใหญ่ในเรื่องนี้ และอยากรู้ถึงความแต่ต่างในการนับถือพระญี่ปุ่นกับพระพุทธเจ้าด้วยครับ
 
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2005, 3:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่งจะได้รู้จากคุณนี้แหละ ข้าพเจ้าไม่มีความคิดเห็นดอกขอรับ มันเป็นเรื่องของ

ความคิด ความเชื่อ ของคนยุคสมัยก่อนๆก็เท่านั้นแหละคุณ มันก็เหมือนกับ วัฒนธรรมประเพณี ของ ชุมชนต่างๆ ที่บางทีก็เหมือนกันคล้ายกัน บางที่ก็แตกต่างไปจากกัน บางที่ก็ไม่เห็นเขามาไปจำเขามา แล้วก็เอามาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของชุมชน ก็เท่านั้นขอรับ
 
* = *
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2005, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอปรบมือให้กับคำตอบ (แล้วยิ้มน้อยๆ)
 
ศรัทธาธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2005, 1:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบที่ถึงแม้จะยังไม่กระจ่าง แต่ก็จะคิดเสียว่า เป็นความเชื่ออีกหนึ่งความเชื่อที่ผู้คนนับถือสืบต่อกันมา และจะไม่พยายามมองผู้คนเหล่านั้นในแง่ร้าย

สังคมของกลุ่มคนที่สวดนัมเมียวฯ เท่าที่ได้รู้ได้เห็น ก็ยังไม่มีอะไรที่ไม่ดี หนำซ้ำยังกลมเกลียวกันดี ทำกิจกรรมเพื่อส่วมรวม เพียงแต่มีความรู้สึกเล็กๆเกี่ยวกับความเชื่อที่ว่าสวดแล้วจะสามารถขอสิ่งต่างๆได้ แต่เอาเถอะ บอกแล้วว่าจะไม่พยายามมองในแง่ร้าย

 
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2005, 11:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มองในแง่ร้ายนั่นแหละดีแล้วขอรับ ถ้าจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา เรื่องของเขา ถ้าเขาไม่หลอกลวงชาวบ้าน ก็เรื่องของเขา ไม่ใช่อย่างพวก โยเรนะคุณอย่างนั้นหลอกลวงประชาชน อย่างการสวด ถ้าใครหลงเสียงสวด ก็ถือว่า เสียงเขาดีนะ คงเหมือนนักร้องนะคุณนะ
 
นนท์ เสกไมโล(อกหัก)
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2005, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมบ้าปังย่านะครับไมเชื่อไปเล่นกับผมได้ ชินจังน้อง เสกไฮโล เสกไฮโซ เสกไซโล เสกโลไซ
 
นนท์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2005, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

( ความดี ความชั่ว) (ทางถูก ทางผิด) (เข้าใจถูก เข้าใจผิด)

ความดี คือการรักษาศีล (5,8,10 หรือ 227 ข้อ) เป็นปกติ

ความชั่ว คือการทุศีล(ผิดศีล) เป็นปกติ

ทั้งความดี และความชั่วชาวพุทธย่อมทราบอยู่แล้ว

ชาวพุทธ รู้ความดีความชั่วอยู่แล้ว แต่ทำไม่จึงยังผิดศีล ก็เพราะเดินทางผิด ทั้งที่รู้ดีว่าเป็นความชั่ว

เป็นเพราะยอมไหลตามกิเลสตัณหา ความอยาก หรือความกลัว(กลัวลำบาก กลัวจน กลัวทุกข์ กลัวเสียเกียรติ์ กลัวเสียชื่อ กลัวเสียหน้า สารพัดที่อ้างเหตุในกับกิเลสของตนเอง) ผิดในครั้งแรกแล้ว ถ้ายังหลงตามความยาก หรือความกลัว เมื่อมีโอกาส ก็จะผิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ติดเป็นนิสัย นี้ละทางผิด

ดังนั้น ทางผิด ในความหมายที่กล่าวมาคือ เพราะยอมไหลตามกิเลสตัณหา ความอยาก หรือความกลัว(กลัวลำบาก กลัวจน กลัวทุกข์ กลัวเสียเกียรติ์ กลัวเสียชื่อ กลัวเสียหน้า สารพัดที่อ้างเหตุในกับกิเลสของตนเอง) ผิดในครั้งแรกแล้ว ถ้ายังหลงตามความยาก หรือความกลัว เมื่อมีโอกาส ก็จะผิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน ติดเป็นนิสัย จึงเป็นคนชั่ว(ในสิ่งนั้นๆ) หรือคนชั่ว

ผู้ที่ประสงค์ความดี เมื่อทางผิดปรากฏอยู่เบื้องหน้าความอยากและความกลัวกำลังยั่วยุ ให้ไปสู่ความชั่ว ผู้นั้นเมื่อปัญญาดีหรือเรียนรู้มาอย่างดีด้วยจิตที่ตรง ย่อมเห็นทางถูกเอามาปฏิบัติทันที คือ ระงับ ข่ม อย่างมีขันติ สงบอย่างมีสติ อดทนไม่ให้กิเลสตัณหา ลุกลามจนกระทำลงไปด้วยกาย และวาจา หรือพฤติกรรม เมื่อกิเลสตัณหานั้นอ่อนกำลังลง ก็ผ่อนคลายด้วยปัญญา เมื่อปัญญาเกิดก็สามารถหลบหลีกทางผิดด้วยปัญญานั้นละ เพื่อไปสู่ ทางถูก แล้วพัฒนาไปสู่ความดี ที่เป็นปกติ (มีศีล เป็นปกติ)

ดังนั้น ทางถูก ในความหมายก็คือ การระงับ การข่ม อย่างมีขันติ สงบอย่างมีสติ อดทน และสุดท้ายปล่อยวางกิเลสตัณหา ด้วยปัญญา แล้วเจริญใน ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา

ที่กล่าวมาข้างบนนั้นเป็นเรื่องทั่วๆไป เป็นเรื่องพื้นๆ ชาวพุทธเข้าใจกันอยู่แล้วเป็นส่วนมาก แต่ยังทำผิดอยู่มากเหมือนกัน

ต่อไปจะกล่าวเรื่องที่ละเอียดขึ้นคือ การเข้าใจถูกและเข้าใจผิด กับ ทางถูก

ทางถูกที่กล่าวมา คือ ระงับ ข่ม อย่างมีขันติ สงบอย่างมีสติ อดทนปล่อยวางกิเลส ละกิเลสในที่สุด ซึ่งได้แก่ 1 การรักษาศีล 2. การฝึกสมาธิ 3. การฝึกปัญญา(วิปัสสนา)

ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(1) เดินทางถูก เข้าใจถูก มองทางอื่นอย่างเข้าใจถูกในพุทธศาสนา

ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(2) เดินทางถูก เข้าใจถูก มองทางอื่นอย่างเข้าใจผิดในพุทธศาสนา

ชาวพุทธส่วนหนึ่ง(3) เดินทางถูก แต่เข้าใจผิด

ชาวพุทธพวกพิเศษ(0) เดินทางผิด แต่กล่าวถูกตามตำรา

กล่าวถึงเรื่องศีล

ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ รักษาศีล เข้าใจถูกคือ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มองอย่างเข้าใจถูกคือ หาได้ยกตนข่มผู้อื่นด้วยศีล แต่เคารพผู้ที่มีศีล

ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ รักษาศีล เข้าใจถูกคือ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มองอย่างเข้าใจผิดคือ ยกตนข่มผู้อื่นด้วยศีล และบางครั้งตีเสมอและข่มผู้มีศีลมากกว่า ที่ศีลด่างพลอยเล็กๆ น้อยๆ

ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ พยายามรักษาศีล เข้าใจผิดคือ เพื่อเอาหน้า เพื่ออำนาจ เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีศีลแล้วยกตนข่มผู้อื่น หลงว่าตนเองดีแล้วด้วยศีล ด่าด้วยคำหยาบกับใครก็ได้

ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิด ไม่รักษาศีล แต่กล่าวเรืองศีลได้จ้อ ด่าผู้อื่นที่มีศีลแต่ศีลด่างพลอยว่าไม่มีศีล

กล่าวถึงเรื่องสมาธิ

ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ ฝึกสมาธิถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อบังเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตา(อุเบกขา,สงบ) มองอย่างเข้าใจถูกคือ การฝึกสมาธิมีหลายวิธี ไม่เอาวิธีตนข่มวิธีของผู้อื่น เคารพในผู้ที่มีสมาธิ

ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ ฝึกสมาธิถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อบังเกิด วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตา(อุเบกขา,สงบ) มองอย่างเข้าใจผิดคือ การฝึกสมาธิของตนเองแน่ที่สุด เอาวิธีตนข่มวิธีของผู้อื่น ไม่เคารพในผู้ที่มีสมาธิในแนวอื่น ทั้งที่เป็นแนวในพุทธศาสนา

ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ พยายามทำสมาธิ เข้าใจผิดคือ คิดว่าเป็นนิพพาน คิดว่าเที่ยง คิดว่าสุขอย่างเดียว คิดว่าตนเป็นศูนย์รวมของสิ่งทั้งมวล เพื่อฤทธิ์ เพื่ออำนาจ เพื่อข้าเก่ง เพื่อลาภยศ สรรเสริญ เอาหน้า เพื่อให้รู้ว่าตนเองมีสมาธิแล้วยกตนข่มผู้อื่น หลงว่าตนเองดีแล้วด้วยสมาธิ ด่าด้วยคำหยาบกับใครก็ได้ หลงยึดตัวตนบุคคล อย่างไม่ลืมหูลืมตา จึงเข้าใกล้ความวิปลาส ทำอะไรผิดเพียนได้ง่าย

ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิดคือ ไม่ฝึกสัมมาสมาธิ แต่มีมิจฉาสมาธิ แต่กล่าวเรืองสมาธิได้จ้อ ด่าผู้อื่นว่าไม่มีสมาธิ เป็นผู้ตำต้อย ข้าวิเศษกว่าผู้ใด ท่านเหล่านี้เข้าใกล้ความบ้า(น้ำลาย)



กล่าวถึงเรื่องปัญญา(วิปัสสนา)

ชาวพุทธส่วนที่ 1 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อละกิเลส เพื่อปล่อยวางด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ เพื่อละความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตนอันเป็นที่ตั้งของตัณหา เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง หรือเพื่อนิพพาน อันไม่เป็นที่ตั้งของอัตตา มองอย่างเข้าใจถูกคือ เห็นเป็นเช่นนั้นเอง สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งมวล ย่อมดับไปเป็นธรรมดา หาเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่น เคารพในผู้มีศีล ในผู้มีสัมมาสมาธิ ในผู้มีธรรม

ชาวพุทธส่วนที่ 2 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูก เข้าใจถูกคือ เพื่อละกิเลส เพื่อปล่อยวางด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ เพื่อละความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตนอันเป็นที่ตั้งของตัณหา เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง หรือเพื่อนิพพาน อันไม่เป็นที่ตั้งของอัตตา มองอย่างเข้าใจผิดคือ แนวทางปฏิบัติของตนเองถูกสุด ตี่ความเข้าข้างตนเอง กิเลสที่มีอยู่ของตนเองทำเป็นมองไม่เห็น ยกตน(กลุ่มตน)ข่ม โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเป็นที่ตั้ง ดูถูกศีล ดูถูกสมาธิ จนกล่าวตำหนิผู้ฝึกสมาธิ ไปก็มี

ชาวพุทธส่วนที่ 3 เดินทางถูกคือ ฝึกวิปัสสนาถูกบางส่วน เข้าใจผิดคือ เห็นว่าตนเข้าเป็นนิพพาน มีตนตั้งอยู่อย่างเด่นชัด(แสดงความหลงให้เห็นชัดเจน)ก็ยังเข้าใจว่าเป็นนิพพาน ยกพวกยกทางสร้างกลุ่มขึ้นมาแยกออกมาเพื่อสนองตัณหาความยากเด่นยากดัง ยากยิ่งใหญ่ โดยไม่รู้ตัวบ้างรู้ตัวบ้างกล่าววาจาวางอคติ กับชาวพุทธด้วยกัน เพราะคิดว่าคติหรือสิ่งที่ตนเห็นตนรู้ ยอดเยี่ยม สูงกว่า โดยเปรียบเทียบกับพระไตรปิฏกแบบตีความเข้าข้างตนเอง หรือไม่เปรียบเทียบกับพระไตรปิฏกเลย แบ่งกลุ่ม ชูคอ ยกตนให้ยิ่งใหญ่ วาจาฟุ้งด้วยธรรมอันเป็นพวกเป็นกลุ่ม ประสงค์เพื่อลาภ ยศ และสรรเสริญ ทำทุกทางเพื่อให้เห็นว่าตนเป็นผู้ประเสริฐสุด แต่ความจริงไม่หลุดพ้นจากตัวตนไปได้เลย

ชาวพุทธพวกพิเศษ 0 เดินทางผิด ไม่ปฏิบัติวิปัสสนา หรือ ปฏิบัติวิปัสสนาไม่ถูกเลย แต่กล่าวเรื่องวิปัสสนาได้จ้อ ด่าว่าผู้อื่นที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาด้วยความรู้ทางตำราที่มีอยู่ เพื่อสนองภูมิปัญญาทางความคิดและจินตการของตนเอง แสดงความเป็นนักปราชญ์ อันว่างเปล่า

หมายเหตุ ยังมีชาวพุทธที่ยังไม่เดินทาง และยังไม่มีคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีอยู่เหมือนกัน

 
นนท์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2005, 5:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน







คาซาบลังกา (2)



วรพล พรหมิกบุตร



ระเบิดพลีชีพที่คาซาบลังกา หรือที่อื่นๆ ก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นจากรากฐานความไม่ยอมจำนน ต่ออำนาจบังคับ มากกว่าจะเกิดขึ้นจากรากฐาน ความเลวร้ายของกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ถูกเรียกว่ากระบวนการก่อการร้าย



ถ้าหากมีใครตั้งคำถามกันว่า เหตุการณ์ระเบิดพลีชีพที่คาซาบลังกาประเทศโมร็อกโกเกิดขึ้นได้อย่างไร



การวิเคราะห์อย่างผิวเผิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทัศนะที่พยายามเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเครือข่ายอเมริกัน) มักจะนำไปสู่คำตอบสำเร็จรูปว่า เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นจากความก้าวร้าวรุนแรงของกลุ่มขบวนการที่สื่อมวลชนมักจะเรียกกันว่า "ผู้ก่อการร้าย" (Terrorist)



การวิเคราะห์ผิวเผินเช่นนั้น มุ่งหมายที่จะโน้มนำมโนทัศน์ของสาธารณชนโลกให้สร้างเส้นนามธรรมจำแนกระหว่าง "ความดี" กับ "ความเลว" (ตามตรรกะของเทพนิยายดั้งเดิมเรื่อง "พระเจ้า" กับ "ซาตาน" ที่มักจะถูกนำมาถ่ายทอดบอกเล่าเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องในวรรณกรรมและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด) โดยมีความพยายามที่จะให้สาธารณชนโลกบรรลุถึงหรือสร้างข้อสรุปทางความคิดของตนขึ้นต่อไปว่า "การก่อการร้าย คือ "ความเลว" และฝ่ายที่ประกาศตนต่อสู้กับ "การก่อการร้าย" เป็นฝ่ายดี



ผมคิดว่า กระบวนการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างเส้นนามธรรมจำแนกอย่างผิวเผินเช่นนั้น ประสบผลสำเร็จสำหรับสาธารณชนโลกจำนวนมาก ที่ไม่มีเวลามากพอที่จะตั้งข้อสงสัยแบบกาลามสูตร แต่พร้อมที่จะด่วนสรุปเชื่อข่าวสารระหว่างประเทศ



แต่การเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างเส้นนามธรรมจำแนกความดีความเลวอย่างผิวเผินเช่นนั้น ก็ประสบความล้มเหลวที่จะโน้มน้าวความคิดของสาธารณชนโลกอีกเป็นจำนวนมาก



ตัวอย่างของความล้มเหลวครั้งสำคัญปรากฏขึ้นในช่วงก่อน และระหว่างกองทัพสหรัฐและอังกฤษร่วมมือทำสงครามกับอิรักเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อปรากฏว่าสาธารณชนทั่วโลก พากันก้าวออกมาแสดงตนคัดค้านพันธมิตรสหรัฐ/อังกฤษ ทั้งๆ ที่ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศ ใช้ความเพียรพยายามอย่างหนักในการเผยแพร่ข่าวสารระหว่างประเทศ ว่าตนเองกำลังดำเนินการกำจัด "ความเลวร้าย" ให้แก่ประชาคมโลก



นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ "911" ที่ (อดีต) อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักเผยแพร่ข่าวสารระหว่างประเทศที่ทรงอิทธิพลในประชาคมโลกปัจจุบันอย่างสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น กระตือรือร้นในการประกาศข้อความ "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" (War Against Terror) อย่างต่อเนื่องผ่านจอโทรทัศน์ทั่วโลก



คนจำนวนมากเชื่อตามมโนทัศน์ที่ซีเอ็นเอ็นก่อรูปให้ แต่คนจำนวนมากปฏิเสธอย่างชัดเจนด้วยการแสดงออกโดยสันติวิธีในที่ชุมนุมต่างๆ หลายครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา



เฉพาะในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 มีรายงานข้อมูลคร่าวๆ ว่า ปรากฏการณ์ชุมนุมคัดค้านนโยบายสงครามของสหรัฐ/อังกฤษ เกิดขึ้นตามเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในทุกทวีปของโลกรวมกันมากกว่า 600 เมืองโดยมีจำนวนผู้ร่วมชุมนุมประท้วงสงครามของสหรัฐ.....รวมกันมากกว่า 10 ล้านคน



ถ้าหากมโนทัศน์เรื่องการจำแนกความดีความเลวอย่างผิวเผินแบบที่ผู้นำพันธมิตรสหรัฐ/อังกฤษ และเครือข่าย สื่อมวลชนในกำกับของอำนาจกลุ่มทุนอเมริกา/อังกฤษ พยายามตอกย้ำดังกล่าว เป็นมโนทัศน์ที่ถูกต้องสอดคล้องกับระบบค่านิยมที่โลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการ



ถ้าเช่นนั้นพลเมืองโลกมากกว่า 10 ล้านคน หลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ทุกทวีปทั่วโลกที่พากันออกมาชุมนุมคัดค้าน "ความดีงาม" (ตามนิยามของผู้นำสหรัฐ/อังกฤษในปัจจุบัน) เหล่านั้นจะต้องถูกกำจัดในฐานะที่เป็นพวกพ้องของ "ซาตาน" ในนิยามชุดเดียวกันของกรอบนโยบายสหรัฐ/อังกฤษด้วยหรือไม่?



เมื่อวิเคราะห์กันอย่างจริงเราจะพบว่า ตรรกะในการจำแนกความดีความเลวแบบที่ระบอบผู้นำสหรัฐ/อังกฤษยึดถือปฏิบัติอยู่นั้น มีปัญหาความสมเหตุสมผลอยู่ภายในตนเอง ซึ่งคนจำนวนมากไม่อาจจะยอมรับได้ เว้นแต่จะถูกคุกคามบังคับด้วยความรุนแรงให้ยอมจำนนหรือยอมรับอย่างไม่เต็มใจ



เหตุการณ์ระเบิดพลีชีพที่คาซาบลังกาหรือที่อื่นๆ หลายแห่งก่อนหน้านี้และที่อื่นๆ อีกหลายแห่งที่จะเกิดตามมา (หลังเหตุการณ์ "วันเสียงปืนแตก" ซึ่งผู้เขียนตั้งข้อสังเกตไว้ภายหลังเหตุการณ์ "911" ก่อนหน้านี้แล้ว) เกิดขึ้นจากรากฐานความไม่ยอมจำนนต่ออำนาจบังคับมากกว่าจะเกิดขึ้นจากรากฐานความเลวร้ายของกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ถูกเรียกว่ากระบวนการก่อการร้าย



ผมใช้คำว่า "กลุ่มองค์กรต่างๆ" ในย่อหน้าข้างต้น เพื่อก่อให้เกิดความกระจ่างต่อไปว่า ภายในประชาคมโลกศตวรรษที่ 21 ไม่ได้มีแต่กลุ่มที่สื่อมวลชนตะวันตกพยายามจะโน้มน้าวสาธารณชนให้เพ่งเล็งเฉพาะจุดคือ "อัลกออิดะห์" เท่านั้น แต่ปรากฏการณ์ "ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจบังคับ" ดังกล่าวนั้นได้กระตุ้นให้เกิดกลุ่มและองค์กรต่างๆ ขึ้นหลากหลายรูปแบบในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา



ถ้าหากจะมีใครตั้งคำถามย้ำอีกว่า เหตุการณ์ระเบิดพลีชีพ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในที่อื่นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร?



ผมคิดว่าการพิจารณาคำตอบจากสมมติฐานอื่นๆ บ้าง นอกเหนือไปจากคำตอบสำเร็จรูป (แต่ผิวเผิน) เรื่องความเลวของผู้ก่อการร้าย? อาจจะช่วยขยับเราเข้าใกล้กระบวนการแก้ไขปัญหาที่เป็นจริงมากขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดอาจช่วยให้เราทำความเข้าใจสภาพปัญหาได้ถึงรากฐานชัดเจนขึ้น



ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด เสนอสมมติฐานอื่นให้เราพิจารณาในการประชุมกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดครั้งที่ 13 (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546) ว่า "เป็นเพราะการกลับมาของนิสัยเดิมๆ ของคนยุโรปที่ต้องการเป็นใหญ่ในโลก"



นี่ก็เป็นสมมติฐานทางเลือกอีกข้อหนึ่ง ควรทดสอบได้เช่นกัน







ที่มา : คอลัมน์ โลกาปริทรรศน์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันที่ 28 พ.ค. 46

 
หวานเย็น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2005, 12:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บทความที่คุณนนท์ส่งมานี้ คุณได้ตั้งข้อสังเกตและได้แยกแยะชาวพุทธไว้มีหลากหลายเป็นกลุ่มๆ อย่างมีเหตุผล (ตรงนี้กระมังคะที่นอกจากวัดวาอารามเป็นหมื่น



แสนวัดแล้ว คนไทยเราจึงมีสำนักบริการทางด้านจิตวิญญาณ อย่างหลากหลายพรึ่บ ตามdemand<->supply)หวานก็นึกถึง มวลหมู่ดอกไม้พรรณไม้



หลากหลายในสวน อย่างเช่น มี ดอกบานชื่น ดอกกล้วยไม้ ดอกผีเสื้อ ดอกพุทธรักษา ดอกปีบ ดอกพิกุล ดอกชวนชม ดอกธรรมรักษา ดอกพลับพลึง ดอกดาวเรือง



ดอกมะลิ ดอกแพงพวย ดอกยี่โถ ดอกกุหลาบ ดอกบัว ซึ่งก็มีหลากหลายระดับ ลดหลั่นกัน และ ดอกอุตพิษ เป็นต้น ***



ชาวสวนปลูกดอกไม้พรรณไม้ จำเป็นต้องรู้จัก nature ของดอกไม้พรรณไม้อย่างน้อย ก็ควรมีความรู้ความเข้าใจ ในพรรณไม้ที่ตัวเองปลูก นี่ฉันใด มนุษย์



เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องไปเข้าสังคม ก็ควรจะศึกษาสังเกต แยกแยะ กลุ่มคนที่เราจะไปสังคมด้วยเอาไว้บ้าง เพื่อเราจะได้ปรับตัวให้เข้ากับคนแต่ละประเภทได้ มีผู้



เตือนต่อๆกันมาไว้ว่า "รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" มิใช่ไรหร็อก หวังแค่จะเอาตัวให้รอดจากการกระทบกระทั่งมีเรื่องมีราว กะเค้า ก็เท่า



นั้น๐๐๐๐๐๐๐ กับวลีที่ว่า"อย่ามัวแต่ไปดูคนอื่น จงดูตัวเองเถิด"คำพูดเช่นนี้ เคยอ่านเจอแบบผ่านตาในอินเตอร์เน็ท นี่บ่อยๆ เหมือนเป็นคำเตือนสติก็ใช่ เหมือน



เป็นคำยอกย้อน โชว์โวหาร เล่นลิ้นเลี่ยงบาลีก็ใช่ แต่เรารับได้นะ และก็เคยเจออีกอันนึงนะ พูดว่า"รู้เขารู้เรารบสิบครั้งชนะสิบเอ็ดครั้ง" เอ้อ!อันนี้คุ้นๆคล้ายๆ



ในนิยายจีนกำลังภายในเค้าพูดเป็นปรัชญาเป็นแบบนักปราชๆ น่ะ สำนวนนี้ ไปพ้องกะส่วนหนึ่งในคำสอนแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหมวดธรรมะเรื่องสัปปุริสสะ



ธรรมเจ็ด พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนวิธีเข้าสังคมแก่ สัตว์สังคมหรือเวไนยสัตว์ ในพระองค์ท่านไว้ พอจะตีความจับใจความได้คร่าวๆว่า เมื่ออยู่ในสังคมหรือจะไปเข้า



สังคม อ่ะนะ พวกท่านทั้งหลายควรจะต้องรู้เจ็ดข้อนี้ พวกท่านจึงจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขปลอดภัย ท่านจักกลายเป็นคนดีศรีสังคม(มีหมวดธรรมอื่นๆอีกมาก



มายประมาณ83,999ขันธ์ ที่พระองค์ทรงสอนไว้ ดังหลายๆท่านได้อ่านกันมาแล้ว) สับปุริสสะธรรมเจ็ดข้อ ที่เวไนยสัตว์ ควรจะต้องรู้ไว้คือ รู้จักเหตุ-ผล -



ตน -ประมาณ -กาล -บุคคล -ชุมชน๐๐๐๐๐๐ การที่เรา รู้จักตน(ตัวเรา) รู้จักบุคคล(อื่น) สองอันนี้ ที่นิยายจีนกำลังภายในเค้าชอบกล่าวกันเป็นปราชๆ



ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" แต่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงพระกรุณาสร้างบัณฑิต น่ะ พระองค์ท่านจึงทรงสอนให้รู้รอบทุกอย่างเราจึงจำเป็น



ต้องรู้อีกห้าอย่าง มาถึงตอนนี้อาจจะมีหลายท่านนึกในใจว่า เหอออ!รู้จักแต่ตน ดูแต่ตัวเองๆๆ อย่างเดียวเนี่ย มันยังไม่พอแฮะ! ผลที่ได้จากการทำความรู้จัก



เหตุ-ผล -ตน -ประมาณ -กาล -บุคคล -ชุมชน นั้น ยิ่งใหญ่เหลือจักประมาณ กล่าวคือ ท่านจะไม่ต้องรบพุ่งกะใครให้เมื่อยกล้าม ท่านจะเป็นผู้อยู่ในสังคมได้



อย่างสงบสุข ประมาณว่า พ่อค้าอาวุธสงคราม และอาชีพรักษาความสงบอื่นๆ อย่างจ.น .ท.รักษาความปลอดภัย อาจไม่มีงานทำ ต้องไปหาเข้าวัดเข้าวาถือศีลกิน



เพลกันหมด ...คุณนนท์คะ แล้วพวกที่ยังไม่รู้ว่า ตัวเองอยู่กลุ่มไหน ยังหากลุ่มเข้าไม่ได้อ่ะค่ะ ทำไงดีคะ พอจะมีทางช่วยมั่งมั๊ยคะ!
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง