Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จุดที่มักเขว หรือ เข้าใจพลาดเกี่ยวกับนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากพุทธธรรมหน้า 376

(ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่นนี้ ท่านเปรียบเทียบความรู้สึกระหว่างผู้เข้าถึงธรรม
กับผู้นึกคิดถึงธรรม ว่าต่างกัน)



กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ คือ อวิชชา - ตัณหา (อวิชชา ความไม่รู้ เมื่อไม่รู้จึงติด = ตัณหา)

กระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ คือ วิชชา - วิมุตติ (วิชชา ความรู้ เมื่อรู้ก็หลุด= วิมุตติ)

ในฝ่าย อวิชชา - ตัณหา องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไปหรือนำไปสู่ชาติภพ
ก็ คือ อุปาทาน ที่แปลว่า ความถือมั่น ความยึดมั่น หรือความยึดติดถือมั่น

ส่วนในฝ่าย วิชชา -วิมุตติ องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อซึ่งพาออกไป หรือ เป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏ ได้แก่ นิพพิทา แปลกันว่า ความหน่าย คือ หมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด


อุปาทาน เกิดจากอวิชชาที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง เปิดทางให้ตัณหาอยากได้ ใคร่จะเอามาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือหมายว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ที่เรียกว่า อุปาทาน

นิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจสิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะ ว่ามีข้อเสียข้อบกพร่องไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าและไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

จะเห็นว่าอุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะว่า
ยถาภูตญาณทัสสนะ

.................

ความอยากที่เป็นตัณหา กับ ความอยากที่เป็นฉันทะ มีความหมายต่างกัน ศึกษาลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 พ.ค.2009, 7:43 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


นิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจสิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะ ว่ามีข้อเสียข้อ

บกพร่องไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าและไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้

แล้วเกิดความหน่าย หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง

ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะให้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่น ความถือมั่น หรือความยึดติดถือมั่น

นิพพิทา แปลว่า ความหน่าย คือหมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด

วิชชา-ความรู้สภาวะ ตรงข้ามกับอวิชชา-ไม่รู้สภาวะ

วิมุตติ-ความหลุดพ้น ตรงข้ามกับอุปาทาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


การที่นิพพิทาจะเกิดขึ้น หรือการที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น

เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือเมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้วนิพพิทา (ญาณ) ก็เกิดเอง

อุปาทานก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย

หรือภาวะที่เป็นไปเองตามเหตุปัจจัยของมัน


ดูสาระนิพพิทาญาณ ที่ลิงค์ ญาณ 16

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บางทีเราพูดกันว่า จงอย่ายึดมั่นถือมั่น หรือว่า อย่ายึดมั่นกันไปเลย หรือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น

เสียเท่านั้น ก็หมดเรื่อง

การสอนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ดี และควรสอนกัน แต่พร้อมนั้นก็จะต้องระลึกถึงหลักการ

ที่กล่าวแล้วข้างต้นด้วย คือ จะต้องพยายามให้ความที่จะไม่ยึดมั่นนั้น เกิดขึ้นโดยถูกต้อง

ตามทางแห่งกระบวนธรรม

มิฉะนั้น ก็อาจกลายเป็นการปฏิบัติผิดพลาดและมีโทษได้ โทษที่จะเกิดขึ้นนี้คือ

ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น การปฏิบัติ ด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น

ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ เช่นเดียวกับการกระทำด้วยความยึดมั่นโดยทั่วไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(พิจารณาอุปมาเปรียบเทียบของเรื่องนี้)

สมมุติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงามเรียบร้อยเป็นอย่างดี วางไว้ในตู้กระจก

ที่ปิดใส่กุญแจไว้

ชายผู้หนึ่ง เชื่ออย่างสนิทใจว่า ในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่ แต่ยังเอาไม่ได้

เขาพะวักพะวงวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงานมาก

ต่อมามีคนที่เขานับถือมาบอกว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา และการที่เขาอยากได้
อยากเอาพะวงวุ่นวายอยู่นั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก

ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็นด้วยว่าการพะวงวุ่นวายอยู่นั้นไม่ดี
มีโทษมาก

แต่ลึกลงไปก็ยังเชื่อว่า คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่ เมื่อยังเชื่ออยู่ เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย

ยังตัดใจไม่ลง

แต่เขาพยายามข่มใจเชื่อตามคนที่เขานับถือ และแสดงในคนอื่นๆ เห็นว่า

เขาเชื่อตามเห็นตามคำของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว เขาจึงแสดงอาการว่าเขาไม่อยากได้

เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืนตะโกน นั่งตะโกนอย่างไร ๆ ว่า ฉันไม่เอาๆ ใจของเขาก็คงผูกพัน

เกาะเกี่ยวอยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง และบางทีเพื่อแสดงตัวให้คนอื่นเห็นว่าเขาไม่ต้องการ

ของนั้น เขาไม่อยากได้ เขาจะไม่เอาของนั้น เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ

ที่เกินสมควร อันนับได้ว่ามากไป กลายเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

นี่เป็นตอนที่หนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 เม.ย.2008, 9:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อมา ชายผู้นั้นมีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อและปรากฏว่าเป็นเพียงเศษผ้าเศษขยะจริง

ตามคำของคนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา

เมื่อรู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว เขาจะหมดความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว

ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา

ถึงจะเอาเชือกผูกตัวติดกับของนั้น หรือหยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่าฉันอยากได้

ฉันจะเอา ใจก็จะไม่ยอมเอา

ต่อจากนี้ไป ใจของเขาจะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก ใจของเขา

จะเปิดโล่งออกไป พร้อมที่จะมองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป

นี้เป็นตอนที่สอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2008, 8:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(ดู) ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยาก

และความยึดอยู่ด้วยตัณหา อุปาทาน

เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้มั่นหมายยึดเอานั้น มีสภาวะแท้จริง

ที่ไม่น่าอยากไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือก็มีโทษมากมาย

เขาเห็นด้วยโดยเหตุผลว่า ความอยากได้และความถือมั่นไว้มีโทษมาก

และก็อยากจะเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายที่อยากได้ล้วนมีสภาวะซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา

แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น

ลึกลงไปในใจก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ อยากจะปฏิบัติตาม

หรือ อยากแสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น

เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆ ให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ไม่ยึดติด .

ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น

ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเอง

ตามธรรมดาธรรมชาติ เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น ที่เขาเอามายึดถือไว้

เขาเข้าใจความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติหรือทำการต่างๆ

ไปตามนั้น ความไม่ยึดมั่นของเขาจึงเป็นเพียงความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

และการกระทำของเขา ก็เป็นการกระทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ คือ อาจกลายเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง

หลอกตนเองหรือเกินเลยของจริง ไม่สมเหตุผล อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 เม.ย.2008, 9:27 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2008, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความเทียบเคียงในตอนที่สอง เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดา

แห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือเกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์

ตามหลักการที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่

คือเมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2008, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนเมื่อยังไม่เกิดญาณทัสสนะ จะพยายามปฏิบัติตามหลัก

ความไม่ยึดมั่น ถือมั่นบ้างไม่ได้หรือ

ตอบว่าได้ และควรอยู่ เพราะเพียงมองเห็นโทษของความยึดมั่นก็นับว่าเป็นประโยชน์แล้ว

แต่ข้อสำคัญจะต้องมีสติรู้ระลึกไว้ว่า นี้เราอยู่เพียงในขั้นของความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

เท่านั้น เมื่อจะทำอะไรอาจบอกตัวเองว่า เราจะทำการนี้ด้วยความไม่ยึดมั่น

พร้อมนั้นก็ระลึกไว้ด้วยว่าเราจะทำไปตามเหตุตามผล ไม่หลงไปตามความยึดมั่น

ในความไม่ยึดมั่นนั้น พยายามทำการด้วยปัญญาด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด

เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคุณ ผลที่จะได้ในระดับนี้ก็คือเป็นการฝึกตน

เป็นการปูพื้นฐานสำหรับความไม่ยึดมั่นที่แท้จริงต่อไป และผลเสียจากการกระทำ

เลยเถิดเกินไปหรือมากไป หรือหลอกตัวเองก็จะไม่เกิดขึ้น

แต่ถ้าเข้าใจผิดเห็นไปว่า นี่แหละคือความไม่ยึดมั่น ก็จะผิดพลาดเกิดผลเสียได้ทันที
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2008, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนี้ มิใช่มีเฉพาะในด้านดีเท่านั้น มีตัวอย่างผู้จะเอาไปใช้

ในทางชั่วร้ายด้วย

เช่นผู้ที่พูดว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ชีวิตคนเป็นเพียงขันธ์ 5

มาประกอบกันเข้า ไม่มีอะไรจะพึงยึดถือ ไม่มีนาย ก. ไม่มีนาง ข.

เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะฆ่าจะฟันใครก็ไม่มีบาป ดังนี้ เป็นต้น

นี้ คือ ตัวอย่างของการที่ผู้มีกิเลสยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง สำหรับการกระทำด้วย

ความยึดมั่นถือมั่นของตน

ถ้าไม่ยึดมั่นในคนที่จะถูกฆ่า ถ้าไม่มีเจตนายึดมั่นที่เจาะจงมุ่งร้ายต่อเป้าของการกระทำ

จะมีการยกศัสตราวุธขึ้นตัดผ่าหรือพุ่งใส่ได้อย่างไร

การกระทำอย่างนี้ เป็นเพียงการกระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 เม.ย.2008, 6:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อนึ่ง ขอย้อนไปกล่าวถึงความเทียบเคียงข้างต้น ความจริงระหว่างความเทียบเคียง

สองตอนข้างต้นนั้น ยังมีตอนแทรกกลางได้อีกตอนหนึ่ง กล่าวคือ ชายผู้อยากได้ห่อของ

ที่เขาเชื่อว่ามีของมีค่านั้น

เมื่อคนที่เขานับถือบอกเขาว่าในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร มีแต่เศษผ้าเศษขยะ และได้ชี้แจง

เหตุผลเล่าถึงความเป็นมาของห่อของนั้น ว่าเขาได้เห็นของตั้งแต่ก่อนเอาเข้าห่อ

ตลอดถึงว่าห่อของนั้นมาอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ด้วยเหตุผลหรือความประสงค์อะไร

เมื่อชายนั้นมองเห็นเหตุผลแจ่มแจ้งชัดตามคำชี้แจงของคนผู้นั้นแล้ว อาจเชื่อสนิทด้วยความ

มั่นใจในเหตุผลว่าในห่อนั้น ไม่มีของมีค่าอย่างแน่นอน

ความเชื่อด้วยความมั่นใจในเหตุผลอย่างนี้ ย่อมมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม

ของชายผู้นั้นได้มาก แม้ว่าเขาจะยังไม่หมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างความ

เทียบเคียงตอนที่สอง แต่ก็เหลือเพียงเยื่อใยที่นับว่าน้อย ต่างจากความเทียบเคียง

ในตอนที่หนึ่งอย่างมาก

ความเทียบเคียงในตอนแทรกนี้ เปรียบได้กับระดับจิตหรือระดับความรู้และความคิด

ของพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ คือ พระโสดาบัน ถึงอนาคามีซึ่งอยู่กลางระหว่างปุถุชนกับพระ

อรหันต์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2008, 4:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่พอจะเห็นได้ง่ายในเรื่องนี้ เช่น ความประหม่า และความกลัว

คนที่ประหม่าบางคน ทั้งที่โดยเหตุผลก็ไม่เห็นมีอะไรน่าจะประหม่า ก็อดประหม่าไม่ได้

บางทีถึงกับโกรธว่าตนเองว่าจะประหม่าทำไม แต่ก็บังคับตนไม่ให้ประหม่าไม่ได้


หรือคนขลาด แม้อยู่ในที่ปลอดภัย ตนเองก็มองเห็นตามเหตุผลว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว

และก็คิดว่า ถึงมีอะไรก็จะไม่กลัว แต่พอได้ยินเสียงเสือร้องหรือเสียงสัญญาณภัย ก็สะดุ้ง

หรือสั่นสะท้าน หรือตัวเย็นวาบ บังคับตัวเองไม่ได้

ภาวะเช่นนี้ มิใช่จะถอนได้เพียงด้วยความคิดเหตุผล แต่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ความเข้าถึง

ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 5:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มันเหมือนกับการเจริญสติไหมครับ สู้ สู้
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง