Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คุณของสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 12:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถ แปลว่า ความสงบ คือวิธีทำใจให้สงบ เป็นการปฏิบัติฝึกฝนอบรมจิตจนเกิดความสงบ จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้น ฌาน ระดับต่าง ๆ จุดมุ่งหมายของสมถก็คือสมาธิซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูง ที่จะทำให้เกิด ฌาน ญาณ ปัญญา หลักของสมถก็คือกำหนดใจไว้กับสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวทำจิตใจให้แน่วแน่จนน้อมดิ่งลงไปในสิ่งนั้นสิ่งเดียว ความแน่วแน่ หรือความตั้งมั่นของจิตนี้เรียกว่า สมาธิ เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้วก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ เช่น รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ นั่นเอง ภาวะจิตในฌานนี้เป็นภาวะที่สุขสงบ ผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชชา ทั้งผ่านอภิธรรม ทั้งฝ่ายพระสูตร เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถจนได้ฌานสมาบัติ หรือ อภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงสุดพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถก็คือสมาธินั้นเอง

สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจมั่นแห่งจิต คือสภาวะแน่วแน่ที่จิตสงบหนึ่ง จับอยู่อารมณ์เดียวที่ถูกต้อง สมาธิจิต เป็นสภาวะจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ คือทำจิตให้สงบจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิจนบรรลุถึงเอกัคคตา สมาธิแบ่งเป็น ๓ ระดับคือ


๑. ขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะ ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี และจะใช้เป็นจุดตั้งต้นในการเจริญวิปัสสนาได้

๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ได้ ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่ง ฌาน หรือสมาธิในบุพภาคแห่งอัปปนาสมาธิ


๓. อัปปนาสมาธิ คือสมาธิแนบแน่นสนิท เป็นสมาธิระดับสูงสุด ภาวะนี้มีในฌานขั้นต่าง ๆ และปฏิบัติต่อ ๆ ไปจะทำให้เกิดญาณขึ้นมาได้ ซึ่งเกิดจากผลสำเร็จในการเจริญสมาธิ ภาวะจิตที่มีสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว เรียกว่า ฌาน ฌานยิ่งขั้นสูงขึ้นไปเท่าใด องค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นคุณสมบัติของจิตก็ยิ่งลดน้อยลง ฌานโดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับใหญ่ ๆ และแบ่งย้อยออกไปอีกระดับละ ๔ จึงรวมเป็น ๘ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘ หรือสมาบัติ ๘ ฌานมีกล่าวไว้ในมัชฌิมนิกายว่า


รูปฌาน ๔ ได้แก่ปฐมฌานมีองค์ประกอบ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ ๓ คือ ปิติ สุข และเอกัคคตา ตติยฌาน มีองค์ประกอบ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ ๒ คืออุเบกขา เอกัคคตา อรูปฌาน ๔ ได้แก่ อากาสานัญจายตนะ กำหนดอากาศเป็นอนันต์ วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณเป็นอนันต์ อาจิญจัญญายตนะ กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใด ๆ เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดรู้สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


มนุษย์ปุถุชนเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิจะสำเร็จอย่างสูงสุดเพียงสมถ และสมถนี้ย่อมนำไปสู่ภาวจิตที่เป็นสมาธิได้สูงสุดคือเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้น ส่วนพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ผู้บรรลุผลสำเร็จครบทั้งสมถและวิปัสสนา สามารถเข้าถึงภาวะสมาธิที่ประณีตสูงสุดอีกขั้นหนึ่ง คือนิโรธสมาบัติ อันเป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาหยุดการปฏิบัติหน้าที่ และมีปัญญาแจ่มชัดในจิตที่บริสุทธิ์ ถึงที่สุด เมื่อผู้ปฏิบัติได้สมาธิขั้นสูงสุดแล้ว ก็เกิดญาณ คือความหยั่งรู้ชอบ เป็นสัมมาสมาธินั่นเอง จิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีกำลัง มีภาวะอันเหมาะสมที่จะเกิดปัญญา เกิดญาณ ในเรื่องของสมาธินี้พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในอังคุตตรนิกายปัญจกนิบาตว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่เถิด เมื่อเธอเจริญสมาธิอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่ ญาณ ๕ ประการย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปฏิบัตินั้น ญาณที่หนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนดังนี้ว่า สมาธินี้ให้เกิดสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย ญาณที่สอง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนดังนี้ว่า สมาธินี้เป็นธรรมอันประเสริฐปราศจากอามิสทั้งหลายทั้งปวง ญาณที่สาม เกิดขึ้นเฉพาะตนดังนี้ว่า สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ญาณที่สี่ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนดังนี้ว่าสมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยการเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก หรือห้ามกิเลสด้วยจิต อันเป็นสังขารเครื่องปรุงแต่ง ญาณที่ห้า ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนดังนี้ว่า เรามีสติเข้าถึงสมาธิ มีสติออกจากสมาธินี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญา รักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่ ญาณ ๕ ประการเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น เฉพาะตนอย่างนี้แล


ในเรื่องของสมาธิจึงพอสรุปใจความว่า การฝึกฝนอบรมสมาธิ การเจริญสมาธิการเจริญภาวนา เป็นการฝึกฝนอบรม การเจริญสมาธิจึงมีลักษณะ ๔ อย่างดังนี้คือ

๑. สมาธิภาวนาที่เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐิธรรมสุขวิหาร หมายถึงการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
๒. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ ญาณทัสสนะ
๓. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
๔. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสอาสวะทั้งหลายทั้งปวง

ม.มู.๑๒/๑๐๒/๗๒.
องฺ.ปญจก.๒๒/๒๗/๒๖-๒๗.


http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=7877
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปกรณัม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 11:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แลบลิ้น ขอบคุณครับ
 

_________________
คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่!
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนา เจ้าค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 11:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง