Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เราฝึกกรรมฐานเพื่อจุดประสงสค์อะไรกันบ้างครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เจ๊เป็นตุ๊ด
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 พ.ย. 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยสอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 5:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมฝึกกรรมฐาน เพื่อเอาใช้อ่านหนังสือ เพียงอย่างเดียว นักจิตวิทยาก็เคยทำการวิจัยไว้ว่า สมาธิช่วยเพิ่มพลังความคิด และยังช่วยให้ทักษะการอ่านดีมากขึ้น ไม่ทราบว่า กรรมฐาน เอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีกไหม

เขาฝึกเพื่ออะไรกันบ้าง ครับ

สาธุ ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบ
 

_________________
ปัญญาอยู่ไหน ที่ไหนมีขายบ้าง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 8:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นคำถามที่อยากรู้ด้วยคนหนึ่งเหมือนกัน ตอนนี้ฮิตกันเหลือเกิน บ้างก็ใช้คำว่า ปฏิบัติกรรมฐานบ้าง ปฏิบัติธรรมแบบนั้นบ้าง แบบนี้บ้าง ต่างกันไป แต่เท่าที่เห็นๆ ไปคนละทิศละทาง

แล้วแนวทางของพุทธะจริงๆ มันคือ อะไรกันแน่ ยังมีเหลืออยู่ในเมืองไทยมั้ย เพราะเห็นแต่อ้างกันว่า สายหลวงปู่นั้น หลวงตานี้ ไม่เห็นมีใครพูดกันเลยว่า สายพระพุทธเจ้า งงมากๆ แล้วตกลงกรรมฐานนี่สายใคร สายพระพุทธเจ้าเป็นยังไง

อยากฟังความเห็นลูกสาย/หัวหน้าสายจังเลย สาธุ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 3:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูการปฏิบัติผิดๆ เพี้ยนๆ ได้ที่นี่

http://www.siripong.net/webboard/show.php?Category=0&No=526

ไม่ควรเอาอย่าง
 
เจ๊เป็นตุ๊ด
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 พ.ย. 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยสอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 8:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐาน สายพระพุทธเจ้า มีกี่สาย ไม่ทราบเหมือนกันครับ รู้แต่สายที่ปฏิบัติเพื่อให้เกิด ปัญญาทางพุทธ ( หรือปัญญาอนัตตา ) เท่าที่รู้ตอนนี้ ก็ได้แก่คำเทศของ ท่านพุทธทาสภิกขุ และ ท่านเว่ยหลาง ส่วนท่านอื่นจะมีอีกหรือเปล่านั้นไม่รู้ อาจเป็นด้วยว่าความรู้ยังไม่กว้างขวางพอ จึงยังไม่เคยศึกษา ธรรม จากอาจารย์ท่านอื่น เพิ่มเติม

สาธุ ข้อความทั้งหมดไม่มีประสงสค์จะกล่าวคำ ลบหลู่ อาจารย์ท่านอื่น นะครับ ถ้าไม่ถูกใจกระไรกับข้อคิดเห็นก็ ขอความ อภัย เป็น ทาน แก่กระผมผู้ยังไม่แตกฉาน เรื่องธรรม ด้วยนะครับ
 

_________________
ปัญญาอยู่ไหน ที่ไหนมีขายบ้าง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.พ.2007, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีเจตนาว่า เจ๊เป็นตุ๊ดหน่า
แค่ต้องการสื่อว่า เป็นคำถามที่ดี
เพราะเห็นว่า ตอนนี้เมืองไทยเรามักอ้างกันนักว่า สืบทอดตกทอดมา...จากนั่น จาก...นี่ ไม่ค่อยมีใครอ้างว่ามาจากพระพุทธเจ้าบ้างเลย จึงนึกสงสารพระพุทธเจ้าก็เท่านี้เอง
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.พ.2007, 1:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตตภาวนา ๒ กรรมฐาน ๒

ในที่นี้เป็นสถานที่อบรมจิตตภาวนา หรืออบรมกรรมฐาน ทั้งสองคำนี้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน จิตตภาวนาแปลว่าการอบรมจิตให้ได้สมาธิ และได้ปัญญาในธรรม ส่วนกรรมฐานนั้นก็แปลว่าตั้งการงาน คือตั้งการปฏิบัติให้ได้สมาธิ ให้ได้ปัญญาเช่นเดียวกัน จึงแบ่งกรรมฐานเป็น ๒ ได้แก่สมถะกรรมฐาน ตั้งการงาน คือปฏิบัติทำจิตให้สงบด้วยวิธีปฏิบัติทางสมาธิ

คำว่าสมถะแปลว่าสงบ คำว่าสมาธิแปลว่าตั้งมั่นในทางที่ชอบ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สมาธิคือตั้งจิตในทางที่ชอบ ก็คือตั้งจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน เพื่อสงบระงับนิวรณ์ จิตจึงสงบจากนิวรณ์ วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานคือทำให้ได้ปัญญาเห็นแจ้งรู้จริง ก็เป็นตัวปัญญาคือความรู้เข้าถึงธรรมนั้นเอง กรรมฐานจึงมี ๒ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

จิตตภาวนาก็มี ๒ เช่นเดียวกัน ก็คืออบรมจิตให้สงบตั้งมั่น ก็เป็นสมถะเป็นสมาธินั้นเอง อบรมจิตให้ได้ปัญญาเห็นแจ้งรู้จริงในธรรม ก็เป็นตัวปัญญานั้นเอง ปฏิบัติทำจิตตภาวนา หรือปฏิบัติทำกรรมฐานจึงเป็นอย่างเดียวกัน และบางทีก็มักจะชอบเรียกกันว่าทำวิปัสสนา บางทีก็ชอบเรียกกันว่าทำสมาธิ ก็ต้องปฏิบัติกันทั้งสองอย่างนั้นแหละ คือทั้งทำสมาธิและทำวิปัสสนา

คันถธุระ วิปัสสนาธุระ

แต่ว่าบางทีมักจะเรียกกันว่าทำวิปัสสนานั้น ก็โดยที่ได้มีแสดงธุระ

คือข้อที่จะพึงปฏิบัติไว้ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ คันถธุระ ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ อันได้แก่การเล่าเรียนศึกษาพระพุทธศาสนา ดังที่มีการเล่าเรียนตามหลักสูตรของนักธรรมบาลี หรือแม้ว่าการมาฟังธรรมบรรยายนี้ ก็ชื่อว่าเป็นคันถธุระคือการเล่าเรียนพระคัมภีร์เช่นเดียวกัน เพราะว่าการแสดงธรรมบรรยายก็แสดงไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เดิมผู้ฟังจำกันมา และต่อมาก็จารึกลงเป็นตัวอักษรในใบลานเป็นต้น ตลอดจนถึงมาพิมพ์เป็นเล่มหนังสือดังที่ได้ใช้อ่านเล่าเรียนกันอยู่ แต่แม้เช่นนั้นก็จะต้องมีอาจารย์เป็นผู้บรรยายแสดงอธิบายประกอบอีกด้วย การเล่าเรียนจึงใช้ตาใช้หู เดิมก็ใช้หูเป็นส่วนใหญ่ ในบัดนี้ก็ใช้ทั้งหูทั้งตา หูฟังตาอ่าน ก็เป็นคันถธุระ ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์

สมาธิเป็นบาทของปัญญา

วิปัสสนาธุระนั้นก็คือการปฏิบัติทำจิตตภาวนา หรือทำกรรมฐานนั้นเอง ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายสมถะทั้งฝ่ายวิปัสสนา ทั้งฝ่ายสมาธิทั้งฝ่ายปัญญา แต่ว่ายกเอาวิปัสสนาเป็นประธาน เพราะว่า วิปัสสนาปัญญาเท่านั้นจึงจะกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด เป็นเหตุละกิเลสได้เป็นอย่างดี ลำพังสมาธิหรือสมถะนั้น ถ้าไม่มีปัญญาก็ยังละกิเลสไม่ได้เด็ดขาด แต่แม้เช่นนั้นจะได้ปัญญาก็จะต้องมีสมาธิเป็นบาท คือเป็นเท้าให้บรรลุถึงความสำเร็จ เหมือนอย่างที่คนจะไปไหนก็ต้องมีเท้าสำหรับที่จะเดินไปให้ถึง สมาธิก็เป็นบาทอันจะนำให้เกิดปัญญา และเมื่อเกิดปัญญาจึงจะเห็นธรรม ปัญญาที่เห็นธรรมนี้เองเป็นตัวปัญญาที่เป็นส่วนผล หรือเป็นตัวญาณคือความหยั่งรู้ อันเกิดมาจากการปฏิบัติทางวิปัสสนา โดยที่จะต้องมีสมาธิเป็นบาท

ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อจึงยกเอาแต่วิปัสสนาเพียงอย่างเดียว เรียกว่า วิปัสสนาธุระ ซึ่งก็จะต้องประกอบด้วย สมถะธุระ รวมอยู่ด้วย


อ่านต่อตามลิ้งค์ด้านล่าง


กรรมฐาน

›››››
สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-021.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
wendy
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 06 ม.ค. 2007
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2007, 10:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน เราฝึกแบบพองหนอยุบหนอ ตามวัดอัมพวันจ๊ะ แต่จะสายไหนสุดท้ายก็อยู่ใต้คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ทุกสายแหล่ะค่ะ แล้วแต่การฝึกแบบไหนจะถูกกับนิสัยของใครจ๊ะ แต่เราฝึกมา ตั้งแต่ปี37 แบบเกเร คือไม่ทุกวัน แต่ก็ทำให้เราใจเย็นมากขึ้น มีสติมากขึ้น จากที่เคยแก้ปัญหาบางเรื่องไม่ออก กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ทำให้มุมมองในชีวิตกว้างขึ้นมากขึ้น และที่สำคัญทำให้เราการดำเนินชีวิตดีขึ้น และขอบอกไม่คิดที่จะทิ้งการทำกรรมฐานอย่างแน่นอน ถึงจะเกเรเป็นบางวัน แต่ใจก็ยังรักกรรมฐาน ถ้าไม่ได้สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน แต่เวลาทำงานก็จะกำหนดพองหนอ ยุบหนอ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เวลาเดินในที่ทำงาน หรือนั่งทำงานอยู่จ๊ะ ยิ้มเห็นฟัน เจ๋ง ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สมพร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 มี.ค.2007, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกกรรมฐานควรตั้งใจทำเพื่อให้ได้พระนิพพานครับ บางท่านอาจจะคิดว่าสูงเกินไป แต่ก็ควรตั้งใจไว้แบบนั้น ถ้าเรายังทำไม่ถึง ชาตินี้ ต่อไปเราก็ทำต่อไป สักวันคงถึงเองครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง