Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศีล สมาธิ ปัญญา...อะไรต้องมาก่อน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 3:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในอริยมรรคที่มีองค์ประกอบแปด...
ประกอบด้วย
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สรุปลง สู่ หลักไตรสิกขา ได้สาม
คือ อธิศีลสิกขา(สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
อธิจิตตสิกขา(สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
อธิปัญญาสิกขา(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)


ถ้าพิจารณาจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ว่า

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน

ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้


มหาจัตตารีสกสูตรนี้ แสดง ถึง สัมมาสมาธิ ว่ามีองค์ประกอบแห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม

และ ในองค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ดที่แวดล้อมสัมมาสมาธินั้น มี สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

ดังนั้น สัมมาทิฏฐิ ซึ่งจัดอยู่ในอธิปัญญาสิกขาในอริยมรรคจึงเป็นจุดเริ่มต้นของอริยมรรคทั้งหมด

หลวงปู่ บุดดา ถาวโร ท่านเคยกล่าวไว้ ในทำนองที่ว่า
ถึงแม้นจะไม่รู้อะไรมาก ขอให้มีสัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสติ ก็ถึงพระนิพพานแน่นอน



ศีล สมาธิ ปัญญา..... ปัญญาในส่วนแห่งอริยมรรค คือ สัมมาทิฏฐิจึงต้องมาก่อน

คือ
เมื่อเห็นชอบ จึงคิดชอบ
เมื่อคิดชอบ จึงพูดชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ (ศีล)
แล้วจึงจะไปยังขั้นตอน เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ(ภาวนา)
ทั้งหมดนี้ คือ องค์ประกอบแห่งอริยมรรค

และ สุดท้าย เมื่อบังเกิดอริยมรรคสมังคี ก็จะนำไปสู่ ตรัสรู้ชอบ และ หลุดพ้นชอบ ในที่สุด


(ปล.... ปัญญามีทั้งในส่วนอริยมรรค และ ในส่วนอริยผล
ปัญญาในส่วนอริยผล คือ สัมมาญาณะ หรือ การตรัสรู้ชอบ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามหลักธรรมชาติ และตามหลักแห่งพุทธศาสนาที่แท้จริงแล้ว หากจะลำดับขั้นก่อนหลัง ระหว่าง ศีล สมาธิ ปัญญา

สมาธิ ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก เพราะธรรมชาติของมนุษย์และอื่นๆที่มีชีวิตนั้น ล้วนมี สมาธิอยู่ในตัว เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับอาจารย์ตรงประเด็น ปัญญาต้องมาก่อน

แต่ตะขิดตะขวงใจครับเพราะได้ยินทีไรก็พูดเริ่มจาก....
ศีล สมาธิ ปัญญามาทีหลังทุกที...

รบกวนอาจารย์และพี่ๆทุกท่านช่วยอธิบายด้วยครับ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แต่ตะขิดตะขวงใจครับเพราะได้ยินทีไรก็พูดเริ่มจาก....
ศีล สมาธิ ปัญญามาทีหลังทุกที...




ในความจริงแล้ว ทั้งอริยมรรคมรรคที่มีองค์แปด และ ไตรสิกขา กำลังกล่าวสิ่งเดียวกันครับ

เพียงแต่ ต่างตรงมุมมอง
ความหมายในมุมมองนั้นๆ จึงอาจต่างกันเล็กน้อย



ในความหมายแห่งมรรค

เรียงลำดับตาม การเดิน การเจริญ การกระทำให้บังเกิด ตามลำดับขั้นตอน

ในกรณีนี้ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ เป็นปฐม ของทั้งหมด
ที่ พระท่านเรียกว่า สำคัญที่ความเห็นชอบ...

เมื่อเห็นชอบแล้ว อย่างอื่นก็จะชอบตามมา
ถ้าเห็นผิดแต่ต้นแล้ว อย่างอื่นก็จะผิดตามมาทั้งหมด





ใน ความหมาย ของไตรสิกขา

เรียงลำดับตามการศึกษา การพิจารณา

ศีล ในที่นี้ หมายเอา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

สมาธิ ในที่นี้ หมายเอา สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ปัญญา ในที่นี้ หมายเอา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาญาณะ

อนึ่ง ในไตรสิกขานั้น ถ้าแยกเอา องค์อริยมรรคข้อ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ออกไปไว้เป็นต้นทางของทั้งหมดแล้ว
ลองเรียงลำดับดูน่ะครับ จะเป็นดังนี้
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ(ศีล)
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ(สมาธิ)
สัมมาญาณะ(ปัญญา)





จะเห็นว่าตรงกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้อ....อย่างนี้นี่เอง ขอบพระคุณครับอาจารย์

สาธุ สาธุ สาธุ

อ้างอิงจาก:
สัมมาญาณะ
ศัพท์ใหม่ มาได้อย่างไรครับคืออะไร อืมม์ อืมม์

รบกวนอาจารย์อีกแล้วครับ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 10:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็น สัมมาญาณะ(ตรัสรู้ชอบ)



จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สัมมัตตะ ความเป็นถูก,
ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ
๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ
๑๐. สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ;
เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐,
ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐



และ ลอง พิจารณา ที่ ท่าน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ สาธุ

สรุปประเด็น ของ มหาจัตตารีสกสูตร


มหาจัตตาฬีสกสูตร

(แปลตามศัพท์ได้ว่า สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด 40 หมวดใหญ่)

จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน
อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

พระผู้มีพระภาพประทับ ณ เชตวนาราม.
ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย มีใจความสำคัญ 3 ตอน คือ :-

1) ทรงแสดงสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
ที่มีที่อาศัย มีคุณธรรมอื่นๆ(องค์มรรคที่เหลือ)อีก 7 ข้อเป็นเครื่องประกอบ (บริขาร)
คือ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ

2) ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ว่าเป็นหัวหน้า
และว่า (ให้) รู้จักทั้งผ่ายเห็นชอบและฝ่ายเห็นผิด
ทรงอธิบายความเห็นผิดว่า ได้แก่เห็นว่า ผลทานที่ให้ไม่มี ผลกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เป็นต้น
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิว่ามี 2 อย่าง คือ ที่มีอาสวะ กับที่ไม่มีอาสวะ
(ชั้นต่ำสำหรับปุถุชน ชั้นสูงสำหรับพระอริยะ)
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิในฐานะเป็นหัวหน้า ในการแจกรายละเอียดให้มรรคข้ออื่นๆ

3) ทางแสดงว่า ธรรมปริยายที่เรียกว่า มหาจัตตาฬีสกะ - หมวด 40 หมวดใหญ่ . นี้
คือเป็นฝ่ายกุศล 20 ฝ่ายอกุศล 20

(ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์
เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายกุศล 20

ตั้งหลักมิจฉัตตะ ความผิด มีความเห็นผิด เป็นต้นมีความหลุดพ้นผิดเป็นทีสุด เป็น 10
อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมฝ่ายผิด 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายอกุศล 20)





ขอตัวไปพักก่อนครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 2:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตรงประเด็น พิมพ์ว่า:
ศีล สมาธิ ปัญญา...อะไรต้องมาก่อน


ตรงประเด็น พิมพ์ว่า:

ศีล สมาธิ ปัญญา..... ปัญญาในส่วนแห่งอริยมรรค คือ สัมมาทิฏฐิจึงต้องมาก่อน

คือ
เมื่อเห็นชอบ จึงคิดชอบ
เมื่อคิดชอบ จึงพูดชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ (ศีล)
แล้วจึงจะไปยังขั้นตอน เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ(ภาวนา)


ผมว่า เราจะระบุว่า"อะไรต้องมาก่อน"ไม่ได้หรอกครับ
เพราะมันเป็นวงจร

ศีล สมาธิ ปัญญา มันมีลักษณะเป็นวัฏฏะจักรแบบเดียวกับปฏิจจสมุปบาท
คือเป็นเป็นการสืบเนื่องกันของสิ่งต่างๆ - มีสิ่งหนึ่งแล้วจึงเกิดสิ่งหนึ่ง-แล้วจึงเกิดสิ่งหนึ่ง-เกิดสิ่งหนึ่ง-เกิดสิ่งหนึ่ง
แล้วในที่สุดก็เกิดปัจจัยของจุดเริ่มต้น

คล้ายๆวงจรของไก่กับไข่
เพราะมีไก่-ไก่ผสมพันธุ์-ไก่จึงมีไข่-ไข่จึงเป้นเหตุให้มีไก่ (กลับไปจุดเริ่มต้น)



คนเราเกิดมา ไม่ได้มีสัมมาทิฐิแต่กำเนิด

เช่นกรณีน้ำร้อนลวก

เด็กที่เพิ่งเกิดไม่นานคนหนึ่ง ไม่เคยถูกน้ำร้อนลวกมาก่อนในชีวิต เลยไม่กลัวน้ำร้อน (ไม่มีสัมมาทิฐิ)


้พ่อแม่ก็คอยหาวิธีเพื่อป้องกันเรา
ถ้าเด็กมาก พูดไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ก้ต้องใช้แต่มาตรการทางกาย จับอุ้มออกไป
ถ้าพอพูดรู้เรื่องแล้วก็ใช้มาตรการทางใจคือ ขู่บ้าง อธิบายบ้าง ตีบ้าง
ซึ่งทั้งหมดนี้คือศีล

ศีลดังนั้นแหละ ทำให้เราเกิดความสำรวม สงบ ระงับ (เกิดสมาธิ)
จากความเกเรอันเป็นธรรมชาติซุกชนของเราที่มีมาแต่กำเนิด

ถ้าเด็กโตพอจะคิดได้แล้ว จึงเกิดทิฐิขึ้น
มันจะเกิดความรู้ขึ้นในภายหลังว่า การที่ถูกขู่ ถูกลงโทษนี้ ก็เป็นการช่วยปกป้องเราจากอันตราย (เกิดจินตมัยยปัญญา)

แต่ยัง...เป็นทิฐิ...ที่ไม่ค่อยจะเรียกว่าสัมมาทิฐิได้เต็มปากเต็มคำ
เพราะยังประมาท ยังเผลอ ยังไม่เห็นโทษจากน้ำร้อนอย่างแท้จริง


ต่อมาโดนน้ำร้อนลวกโดยตรง (ประสบการณ์ตรง-ปัตจัตตัง) เกิดปฏิเวธขึ้น
และเกิดการละวางการโดนน้ำร้อนลวก เข็ดแล้วไม่เอาอีก
เรียกได้ว่า "เกิดสัมมาทิฐิต่อน้ำร้อน"
เกิดความเห็นที่ถูกต้องต่อน้ำร้อนว่าเป็นโทษ เป็นทุกข์



ทุกข์กายก็ดี ทุกข์ใจก้ดี ทุกข์รูปแบบใดก็ตาม
มันจะเกิดการละวางแหนงหน่ายต่อทุกข์นั้นๆได้ ก็ใช้หลักการเดียวกันกับน้ำร้อนลวกนี่แหละ

คือเกิด"ประสบการณ์ตรง"...ซ้ำๆ ย้ำๆ ... ต่อเรื่องหนึ่งๆ... นานๆเข้า
จนจิต"เกิดความเห็นตระหนักรู้ขึ้น"..ว่ามันเป็นทุกข์จริงๆ (ภาวนามัยปัญญา)

ไม่ใช่แค่"คิด"ว่ามันเป้นทุกข์ (จินตมัยปัญญา)
แต่เป็น "รู้แจ้งแทงตลอด" ว่ามันเป้นทุกข์จริงๆ (ภาวนามัยปัญญา)


ทิฐิที่เกิดจากภาวนามัยปัญญานี้แหละ เป็นสัมมาทิฐิ
เป็นประธานที่ทำให้วงจรมันเดำเนินไปในทางที่ถูก



โดยสรุป
ผมว่า เราจะระบุว่าอะไร"..ต้องมาก่อน"ไม่ได้หรอกครับ
เพราะธรรมชาติของมัน เลือกไม่ได้ว่าอะไรต้องมาก่อน

แต่ถ้าถามว่าอะไร "เกิดก่อน" ก้ต้องตอบว่า ศีลเกิดก่อน
่โดยธรรมชาติแล้ว.... เราถูกทำให้เกิดศีลก่อน
แล้วจึงเกิดสมาธิ .... จึงนำไปสู่ปัญญา

ปัญญานั้นๆ... นำไปสู่ศีลที่ละเอียดขึ้น
ศีลที่ละเอียดขึ้น ....นำไปสู่ ปัญญาที่ละเอียดขึ้น

และเมื่อมันหมุนรอบไปเรื่อยๆ จนมากเข้าๆ และในที่สุด
ปัญญาที่ละเอียดขึ้น.. ก็จะนำไปสู่ ...
- ศีลอันเป็นที่สุดแห่งศีล
- สมาธิที่เป็นที่สุดแห่งสมาธิ
- และปัญญาที่เป้นที่สุดแห่งปัญญา

แล้ววงล้อ ที่มีทั้งสามอย่างนี้เป้นองค์ประกอบ
ก็จะทำงานเป็นอัตโนมัติ เป็นวัฏฏะจักร .. ไปเรื่อยๆจนกว่าจะสิ้นชีวิต
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คามินธรรม พิมพ์ว่า:
คนเราเกิดมา ไม่ได้มีสัมมาทิฐิแต่กำเนิด


Buddha พิมพ์ว่า:
ตามหลักธรรมชาติ และตามหลักแห่งพุทธศาสนาที่แท้จริงแล้ว หากจะลำดับขั้นก่อนหลัง ระหว่าง ศีล สมาธิ ปัญญา

สมาธิ ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก เพราะธรรมชาติของมนุษย์และอื่นๆที่มีชีวิตนั้น ล้วนมี สมาธิอยู่ในตัว เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว


....น่าพิจารณาครับ.... อืมม์ อืมม์
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 9:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยินดีที่ได้สนทนา กับทุกท่านน่ะครับ สาธุ



เรื่อง ทัศนะมุมมองที่แตกต่างกัน ก็มีประโยชน์น่ะครับ
ช่วยให้มีการเรียนรู้จากผู้อื่น

มันอาจจะ
ถูกทุกท่าน
ผิดทุกท่าน
บางท่านถูก-บางท่านผิด
หรือ ไม่มีใครถูก-ไม่มีใครผิด ก็ได้

โดยแท้จริงแล้ว
ความ ถูก-ผิด ....ไม่สำคัญเท่ากับประโยชน์ที่แท้จริงจากการสนทนาธรรมตามกาลอันควร

ในพระไตรปิฎก มีการกล่าวถึง พระสงฆ์กลุ่มหนึ่ง เสวนาธรรมในหัวข้อหนึ่ง...วิเคาระห์ต่างกันน่ะครับ มองต่างกัน... เสวนาไป เสวนามา.... สุดท้าย ทุกรูปบรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั้น หมดเลย ก็มี

หรือ ดูตัวอย่าง สูตรแห่งมงคล๓๘ประการ นั่นปะไร....
เพราะ มีการ"ต่างมุมมอง"ในหมู่เทวดา เลยมีพระสูตรนั้น ให้เราได้ศึกษากันไงครับ


เกี่ยวกับเรื่องนี้
ผมขอเสนอ บทเทศนา ของ ครูบาอาจารย์ผู้ล่วงลับ


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท สาธุ สาธุ สาธุ


ปัญญามาก่อนศีล,สมาธิ

การรักษาศีล ปัญญาต้องมาก่อน

แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อน ศีลจะสมบูรณ์อย่างไรนั้นจะต้องมีปัญญา ต้องค้นคิดกายของเรา วาจาของเรา พิจารณาหาเหตุผล นี่ตัวปัญญาทั้งนั้น ก่อนที่จะตั้งศีลขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญา

เมื่อพูดตามปริยัติก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

อาตมาพิจารณาแล้วการปฏิบัตินี้ ต้องปัญญามาก่อน มารู้เรื่องกาย วาจา ว่าโทษของมันเกิดขึ้นมาอย่างไร

ปัญญานี้ต้องหาเหตุผลควบคุม กาย วาจาจึงจะบริสุทธิ์ได้
ถ้ารู้จักอาการของกาย วาจาที่สุจริต-ทุจริต แล้วก็เห็นที่ปฏิบัติ.....

ถ้าเห็นที่ปฏิบัติแล้วก็ละสิ่งที่ชั่วประพฤติสิ่งที่ดี ละสิ่งที่ผิดประพฤติสิ่งที่ถูก เป็นศีล.....

ถ้ามันละสิ่งที่ผิดให้ถูกเป็นศีล เมื่อละสิ่งที่ผิดให้ถูกแล้วใจก็แน่วแน่
อาการที่ใจแน่วแน่มันคงมิได้ลังเลสงสัยในกาย วาจา ของเรานี้ก็เป็นสมาธิความตั้งใจมั่นแล้ว

เมื่อตั้งใจมั่นแล้ว รูปเกิดขึ้นมา เสียงเกิดขึ้นมา พิจารณามันแล้วนี่เป็นกำลังตอนที่สอง เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เกิดขึ้นมาบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจ มิได้เผลอจึงรู้อาการของสิ่งเหล่านี้ มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เมื่อรู้ไปเรื่อยๆก็เกิดปัญญา เมื่อรู้ตามเป็นจริงตามสภาวะของมัน สัญญาจะหลุด เลยกลายเป็นตัวปัญญา

จึงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา คงรวมเป็นอันเดียวกัน

ถ้าปัญญากล้าขึ้นก็อบรมสมาธิให้มั่นขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไปศีลก็มั่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อศีลสมบูรณ์ขึ้นสมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน สมกับพระศาสดาตรัสว่ามรรคเป็นหนทาง เมื่อสามอย่างนี้กล้าขึ้นมาเป็นมรรค ศีลก็ยิ่ง สมาธิก็ยิ่ง ปัญญาก็ยิ่ง มรรคนี้จะฆ่ากิเลส โลภเกิดขึ้น โกรธเกิดขึ้น หลงเกิดขึ้น มีมรรคเท่านั้นจะเป็นผู้ฆ่าได้



http://larndham.net/index.php?showtopic=31324&st=0






ปล

อ้างอิงจาก:
ถ้ารู้จักอาการของกาย วาจาที่สุจริต-ทุจริต แล้วก็เห็นที่ปฏิบัติ.....


ลองเปรียบเทียบ ประโยคนี้ กับคำจำกัดความ ของ อนาสวสัมมาทิฏฐิ จากพระสูตรน่ะครับ


[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ




สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นองค์มรรคโดยตรง นั้นนับเอา อนาสวสัมมาทิฏฐิ....(แต่ อนาสวสัมมาทิฏฐิ ก็ อยุ่บนพื้นฐานของ สาสวสัมมาทิฏฐิ น่ะครับ ตรงนี้ก็สำคัญ)

อนาสวสัมมาทิฏฐิ ก็ คือ ตัวปัญญา(ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค) ....ที่เป็นจุดเริ่มต้นขององค์แห่งอริยมรรคทั้งหมด นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 11:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านตรงประเด็น และทุกท่านครับ

ผมขออยู่นอกตำราและไม่อ่านคำตอบของท่านทั้งหลายเพื่อแสดงความคิดเห็นของตนล้วนๆ

แต่ก็มาจากตำรานั่นแหละครับ

ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ

คนเราเกิดมาพร้อมสติครับ

และต่อมาพัฒนาเป็นสมาธิ

เมื่อมีสมาธิจึงเกิดปัญญา เป็นปัญญาขั้นต้นๆ สูงกว่าสัญชาติญาน

แรกๆเด็กๆสมาธิจะสั้น ปัญญาก็จึงยังพื้นฐานไม่มากนัก

จนเมื่อเกิดการเจริญเติบโตขึ้น สมาธิเริ่มยาว ส่งผลให้ปัญญาเพิ่มมากขึ้นด้วย

นั่นคือมูลการณ์ของปัญญาคือสมาธิ

ขั้นต่อมาคือปัญญาสู่การบรรลุสัจฉิกิริยา

นั่นคือปัญญามองเห็นอริยะสัจจจึงใช้ปัญญาหาทางหลุดพ้นจากอาสวะ

ซึ่งปัญญาก็ค้นพบว่าหนทางและเครื่องมื่อที่ยังผลให้หลุดพ้นจากอาสวะได้คือศีล

จึงรักษาศีล

จะเห็นว่าเมื่อปัญญาเข้าสู่สภาวะสูงขั้นโสดาบัน ก็เกิดศีลโดยอัตโนมัติ


ในควมเห็นผมจึงมีว่า

ในวงจร ควรเป็น

สมาธิ=>ปัญญา=>ศีล=>สมาธิ=>ปัญญา=>ศีล=>สมาธิ=>ปัญญา=>วิมุติ

ขอบคุณที่ได้มีโอกาสสนทนาครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 12:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้งพุทธกาลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น
พระองค์ทรงใช้เส้นทางของมรรค ๘ คือ

สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ = ปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ = สมาธิ

แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้แก่ ปัจจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ก็คือ มรรค ๘ มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางสายกลาง หากสรุปลงแล้วจะได้เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ นี่คือของจริงเมื่อครั้งพุทธกาล

เราจะไม่เคยพบ เคยเจอว่า เมื่อประชาชนชาวเมืองมาเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น
พระองค์ทรงให้ทุกคนรับศีล เจริญภาวนา (สมาธิ) ก่อนแล้วจึงค่อยแสดงธรรม
พระองค์แสดงธรรมไปเลยที่เดียว คนที่บรรลุธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นแสนเป็นโกฏิ

ถามว่า
เรียงอย่างนี้ = ปัญญา ศีล สมาธิ
กับเรียงอย่างนี้ = ศีล สมาธิ ปัญญา

อย่างไหนถูก..... ก็จะไม่ตอบให้ชัดเจนหรือชี้ชัดลงไป
แต่ให้ใช้ปัญญาของแต่ละท่านพิจารณาเอาเอง

ทีนี้จะมาพิจารณาว่าหากขึ้นต้นด้วย
ศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นอย่างไร

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ชัดเจนมาก มักจะพูดกันติดปากว่า
ไปวัดเพื่อ รักษาศีล เจริญภาวนา การทำบุญ การเข้าวัดนั้น
มักขึ้นต้นด้วยการขอศีล นั่งสมาธิ แล้วฟังธรรม

ถ้าถามเรื่องศีลว่าเป็นอย่างไร ? รักษาอย่างไร ?
อย่างไรเรียกว่าศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลทะลุ
สมาธิคืออย่างไร ลักษณะไหนที่เรียก ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
ก็จะไม่รู้ ตอบไม่ได้

การรักษาศีลก็จะรักษาแบบ รักษาทรัพย์ สิ่งของ เข้าตู้เข้าเชฟล็อกกุญแจ การเกิด สีลัพพัตปรามาส (ลูบคลำศีล) ก็เกิดง่าย การทำสมาธิ ก็ทำไปตามที่พระอาจารย์แนะนำสั่งสอนเท่านั้น แนวทางการเข้าถึงปัญญาก็รู้สึกว่ายาก จึงมักไม่ค่อยอยากใช้ปัญญา ไม่อยากนึก ไม่อยากคิด เพราะกลัวความฟุ้งซ่าน ไม่พิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว แนวทางนี้ไม่สนับสนุนให้ใช้ปัญญา ไม่ก่อให้เกิดปัญญาในแก้ไขปัญหาของตัวเอง

เหมือนเรียนหนังสือ เข้าเรียน ป๒ => ป๓ => ป๑

หากเราเอา ปัญญา ศีล สมาธิ ขึ้นก่อนละ
ถามว่า ศีล สมาธิ เป็นปริยัติหรือไม่ ? ตอบว่าใช่
เพราะต้องศึกษา การรักษาศีล ต้องศึกษาเรื่องศีลให้เข้าใจเสียก่อน จึงจะรักษาให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ แล้วเอาอะไรมาศึกษาศีล ศึกษาสมาธิ ก็ปัญญานั่นเอง

ถามว่าเราเอาปัญญา มาจากไหน คนเราเกิดมาจากกุศลกรรมที่ฉลาด ไม่ว่าคนชาติใดภาษาใด เมื่อเกิดมาแล้ว ก็มีสติ มีปัญญา มีสมาธิติดตัวมาด้วยเสมอ เพียงแต่ต้องมาพัฒนา มาฝึกฝนให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ทั้งทางโลกและทางธรรม

สุตมัยปัญญาและจินตามัยปัญญา เอามาศึกษาศีล ศึกษาสมาธิ
เมื่อเข้าใจเรื่องศีล การรักษาศีลก็ง่าย การเกิด สีลพัตปรามาส หรือการลูบคลำศีลก็ยาก การทำสมาธิก็รู้จักขั้นตอน รู้จักวิธีแก้ไข

แนวทางนี้ เป็นแนวทางให้ใช้ปัญญา พัฒนาปัญญา พัฒนาความคิด ทำให้การดำเนินชีวิต เป็นไปด้วยความรอบรู้ รอบคอบ มีปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิตของตัวเองและของผู้อื่นเสมอ

เหมือนเรียนหนังสือ เข้าเรียน ป๑ => ป๒ => ป๓

สัมมาทิฏฐินี้ (ปัญญาความเห็นชอบ) เหมือนหัวขบวนรถจักร ลากตู้ขบวนอีกเจ็ดตู้ให้ตามมา พระอาจารย์บางท่านเรียก “มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฐิ นอกนั้นอีกเจ็ดเป็นบริวารของสัมมาทิฏฐิทั้งสิ้น”

ปัญญาจึงยิ่งใหญ่นัก คนเหนือกรรมได้ก็ด้วยปัญญา

เจริญธรรม

สาธุ เจ๋ง ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 4:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มิตรตัวน้อย พิมพ์ว่า:
ครั้งพุทธกาลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น
พระองค์ทรงใช้เส้นทางของมรรค ๘ คือ

สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ = ปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ = สมาธิ

แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ให้แก่ ปัจจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ก็คือ มรรค ๘ มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางสายกลาง หากสรุปลงแล้วจะได้เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ นี่คือของจริงเมื่อครั้งพุทธกาล


อืมม์ ท่านมิตรตัวน้อยกล่าวถึงปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ทำให้กระผมระลึกได้ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะแสดงธรรม ได้กล่าวกับปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่า "เราได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว" ซึ่งปัจจวัคคีย์ในขณะนั้นก็หาได้เชื่อในทันทีไม่ พระพุทธองค์จึงกล่าวต่ออีกว่า "ท่านเคยได้ยินเรากล่าวเช่นนี้หรือไม่" ทำให้ปัจจวัคคีย์เกิดฉุกคิดขึ้นมาว่าพระพุทธองค์มิได้เคยกล่าวเช่นนั้นจริง จึงตั้งใจฟังพระพุทธองค์เทศนาด้วยความตั้งใจ แลพระโกณทัญญะก็เป็นท่านแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม(ประมาณนี้น่ะครับ เท่าที่จำได้)

พิจารณาตรงนี้กระผมเห็นว่าสมาธินั้นก็มีส่วนสำคัญมากครับในการส่งเสริมปัญญา ยิ้ม
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 8:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับท่านมิตรตัวน้อย....ตอบได้งดงามแท้
กระจ่างเข้าใจ...

อ้างอิงจาก:
สัมมาทิฏฐินี้ (ปัญญาความเห็นชอบ) เหมือนหัวขบวนรถจักร ลากตู้ขบวนอีกเจ็ดตู้ให้ตามมา พระอาจารย์บางท่านเรียก “มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฐิ นอกนั้นอีกเจ็ดเป็นบริวารของสัมมาทิฏฐิทั้งสิ้น”


สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้

สมดั่งที่พุทธดำรัสว่า..

ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์มรรคเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ

สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำอย่างไร ? (ด้วยสัมมาทิฏฐิ) จึงรู้จักมิจฉาทิฏฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้จักสัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้จักมิจฉาสังกัปปะ ว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ รู้จักมิจฉาวาจา...สัมมาวาจา...มิจฉากัมมันตะ...สัมมากัมมันตะ ฯลฯ

ข้อ ที่ภิกษุจักทำลายอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ทำให้แจ้งซึ่งนิพพานได้ ด้วยทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ ด้วยมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบ นี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ นั่นเป็นเพราะเหตุใด ? ก็เพราะตั้งทิฏฐิไว้ชอบแล้ว

เรา ไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนไพบูลย์ เหมือนอย่าง สัมมาทิฏฐิ นี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ



สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 11:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมสวัสดีค่ะคุณตรงประเด็น และทุกท่าน สาธุ

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ท่านได้วิสัชชนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในบทความนี้ค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ปั ญ ญ า ชั้ น สู ง : พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83353#83353
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 3:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

ผมชักจะงงซะแล้วล่ะคับคุณพี่กุหลาบ

เหมือนว่าผมจะมีความเข้าใจถูกต้องตามหลวงปู่เทสก์แสดงธรรมไว้ (ที่ยกมา)


แต่ชักไม่แน่ใจคับคุณพี่
ความเห็นของผม มีความเหมือนหรือต่างยังไงกับหลวงปู่เทสก์หรือเปล่าคับ
หรืออ่านหลวงปู่ไม่เข้าใจ... ก็ไม่แน่ใจ
ไม่แน่ใจตัวเอง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 8:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณ natdanai

อ้างอิงจาก:
พิจารณาตรงนี้กระผมเห็นว่าสมาธินั้นก็มีส่วนสำคัญมากครับในการส่งเสริมปัญญา


คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว ศีลและสมาธิเป็นฐานอันเลิศของปัญญา เพราะศาสนาพุทธ คือ ศาสนาแห่งปัญญาสูงสุด ปัญญาเป็นยอด

แต่ปัญญาที่กล่าวนั้นก็คือ “ภาวนามัยปัญญา” ไม่ใช่ “สุตมัยปัญญาหรือจินตามัยปัญญา”
ถามว่า “ภาวนามัยปัญญา” นี้ เกิดอย่างไร เกิดบ่อยไหม อยากให้เกิดแล้วเกิดทันทีไหม ตอบว่า ไม่ใช่ ต้องเป็นขั้นเป็นตอน จากการอบรมบ่มอินทรีย์ เป็นเวลายาวนาน หลายภพหลายชาติ

ปัญญานี้เกิดจาก “สมาธิจิตตั้งมั่น” ตั้งใจฟัง ตั้งใจคิด คิดบ่อย ๆ ตรึกตรองบ่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ ใคร่ครวญบ่อย ๆ จนเกิดความเข้าใจหายสงสัย เห็นสรรพสิ่งเป็น ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา

บางครั้งต้องมีการชี้แนะ ปัญญานี้จึงจะเกิด (พุทธสาวก) หากไม่มีผู้ชี้แนะก็จะไม่เกิด เห็นได้ในครั้งพุทธกาล เมื่อมีผู้ตั้งใจฟัง ตั้งใจพิจารณาตามคำเทศนาของพระองค์ก็เกิดปัญญา บรรลุธรรมกันอย่างมากมาย

ปัญญานี้แหละที่ เราท่านทั้งหลายที่ต้องการ ที่รักษาศีล เจริญภาวนา(สมาธิ) อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ก็เพราะต้องการปัญญาประเภทนี้เอง

“ภาวนามัยปัญญา” นี่แหละที่ทำให้ "ปุถุชนคนธรรมดากลายเป็นพระอริยะบุคคล" ข้ามพ้นโลกสงสารได้

เจริญธรรม


สาธุ เจ๋ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อคืนนี้เห็นเด็กเล็กๆนั่งเล่นของเล่นอยู่ครับ นั่งดูอยู่นาน ดูไปก็พิจารณาไป เริ่มแรกเด็กคนนี้ก็นั่งมองของเล่นชิ้นนั้น(เป็นรถพลาสติก ) ต่อมาสักพักก็เริ่มคลานไปหาของเล่นชิ้นที่นั่งมองอยู่ (มันมีอยู่ชิ้นเดียวครับ ) และหลังจากนั้นก็หยิบขึ้นมา นั่งดูอยู่สักพักก็เริ่มใช้มือพลิกของเล่นชิ้นนั้นไปมา เอามืองัดตรงนั้นที ตรงนี้ที แล้วก็เอาเข้าปาก ใช้เหงือก (ฟันยังไม่ขึ้นน่ะครับ )ขบของเล่นชิ้นนั้น สักพักก็เลิกขบ ทีนี้ก็เริ่มใช้มือจับของเล่นชิ้นนั้นและเอาฟาดลงกับพื้น ด้วยแรงของตัวเองที่มีอยู่ หลังจากฟาดอยู่สักพักก็หยุด และก็หยิบมาพลิกไปมาอีกครั้ง และก็เริ่มเอามาไถไปกับพื้น ทีนี้ก็เกิดมีเสียงดังขึ้นมาจากของเล่นชิ้นนั้น เด็กคนนั้นก็ตกใจเล็กน้อย และก็ไถอีก ทีนี้ก็เริ่มหัวเราะชอบใจ และหลังจากนั้นก็ไถใหญ่เลยครับและหัวเราะชอบใจใหญ่เลย

และผมเองนั่งพิจารณาเด็กคนนั้นอยู่ก็คิดน้อมเข้ามาหาตัวเอง และเกิดคิดถึงกระทู้นี้ขึ้นมา คิดถึงข้อความของท่าน Buddha ที่ว่า

อ้างอิงจาก:
ธรรมชาติของมนุษย์และอื่นๆที่มีชีวิตนั้น ล้วนมี สมาธิอยู่ในตัว เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว


เห็นจะจริงดังนั้นนะครับ....และยังสอดคล้องกับข้อความของท่านคามินธรรมที่ว่า

อ้างอิงจาก:
คนเราเกิดมา ไม่ได้มีสัมมาทิฐิแต่กำเนิด
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หวัดดีค่ะคุณน้องคามิน สาธุ

อย่างงไปเลยนะคะ
ดูเหมือนคุณน้องจะเข้าใจได้ใกล้เคียง...เกือบใช่แล้ว สงสัย

อย่างไรเสีย....
พี่ขอแนะนำให้อ่านที่ "คุณมิตรตัวน้อย"
ได้อธิบายมาตั้งแต่ต้น
เทียบเคียงกับสิ่งที่ตัวคุณน้องเองได้เขียนไว้
แล้วคุณน้องจะกระจ่างในสิ่งท่านหลวงปู่เทสก์
ท่านได้วิสัชนาเอาไว้...ในที่สุดค่ะ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน

เจริญในธรรมนะคะ ยิ้มแก้มปริ

โมทนาสาธุกับสิ่งที่คุณมิตรตัวน้อยอธิบายไว้ด้วยนะคะ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณค๊าบบบบ

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 2:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มิตรตัวน้อย พิมพ์ว่า:


คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว ศีลและสมาธิเป็นฐานอันเลิศของปัญญา เพราะศาสนาพุทธ คือ ศาสนาแห่งปัญญาสูงสุด ปัญญาเป็นยอด

แต่ปัญญาที่กล่าวนั้นก็คือ “ภาวนามัยปัญญา” ไม่ใช่ “สุตมัยปัญญาหรือจินตามัยปัญญา”
ถามว่า “ภาวนามัยปัญญา” นี้ เกิดอย่างไร เกิดบ่อยไหม อยากให้เกิดแล้วเกิดทันทีไหม ตอบว่า ไม่ใช่ ต้องเป็นขั้นเป็นตอน จากการอบรมบ่มอินทรีย์ เป็นเวลายาวนาน หลายภพหลายชาติ

ปัญญานี้เกิดจาก “สมาธิจิตตั้งมั่น” ตั้งใจฟัง ตั้งใจคิด คิดบ่อย ๆ ตรึกตรองบ่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ ใคร่ครวญบ่อย ๆ จนเกิดความเข้าใจหายสงสัย เห็นสรรพสิ่งเป็น ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา

บางครั้งต้องมีการชี้แนะ ปัญญานี้จึงจะเกิด (พุทธสาวก) หากไม่มีผู้ชี้แนะก็จะไม่เกิด เห็นได้ในครั้งพุทธกาล เมื่อมีผู้ตั้งใจฟัง ตั้งใจพิจารณาตามคำเทศนาของพระองค์ก็เกิดปัญญา บรรลุธรรมกันอย่างมากมาย

ปัญญานี้แหละที่ เราท่านทั้งหลายที่ต้องการ ที่รักษาศีล เจริญภาวนา(สมาธิ) อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ก็เพราะต้องการปัญญาประเภทนี้เอง

“ภาวนามัยปัญญา” นี่แหละที่ทำให้ "ปุถุชนคนธรรมดากลายเป็นพระอริยะบุคคล" ข้ามพ้นโลกสงสารได้

เจริญธรรม


สาธุ เจ๋ง


สาธุครับท่าน สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง