Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะคืออะไรในพุทศาสนา บทที่ 2(พุทธศาสนาพัฒนามนุษย์) ตอนที่3 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะคือ อะไร ในพุทธศาสนา บทที่ 2 (พุทธศาสนาพัฒนามนุษย์) ตอนที่ 3

การพัฒนามนุษย์ มันเกี่ยวอะไรกับ ความหลง(โมหะ) ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ(โทสะ) มันเกี่ยวอะไรกับ กิเลส ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ทุกข์” หรือถ้าจะกล่าวถึงในทางกลับกัน กิเลส หรือ ทุกข์ หรือ ความหลง(โมหะ) ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ(โทสะ) มันจะช่วยทำให้เกิดการพัฒนามนุษย์ได้อย่างไรกันละ
ความหลง(โมหะ) ,ความโลภ(โลภะ),ความโกรธ(โทสะ) ล้วนเกิดจาก การระลึก (นึกถึง) การดำริ(ความคิด) อันมีปัจจัยจากการได้สัมผัส จากอายตนะภายใน คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันได้รับจากแหล่ง อายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสง,สี,โผฏฐัพพะ(อารมณ์หรือ ความรู้สึกที่เกิดจากได้สัมผัสทางกาย) เมื่อบุคคลได้สัมผัส ก็จะเกิด การระลึกนึกถึง เกิดความคิด แล้วแปรเปลี่ยนเป็นสภาพสภาวะจิตใจ เกิดเป็น
ความหลง(โมหะ) ใน รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสง,สี,โผฏฐัพพะ เกิดเป็นอาการหรือสภาพสภาวะจิตใจ ตามภาษาแห่งมนุษย์ได้หลายรูปแบบ เช่น ชอบ ,รัก ,เกลียด,หลง,หึงหวง,ห่วงหา ,สนุก,เป็นสุข ฯลฯ
ความโลภ(โลภะ) ใน รูป ,รส,กลิ่น,เสียง,แสง,สี,โผฏฐัพพะ เกิดเป็นอาการหรือสภาพสภาวะจิตใจ ตามภาษาแห่งมนุษย์ได้หลายรูปแบบ เช่น อยากได้,ต้องการ,อยากเห็น,อยากรู้,อยากทำ,อยากมี,อยากเก็บ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
ความโกรธ(โทสะ) ใน รูป , รส ,กลิ่น เสียง,แสง,สี,โผฏฐัพพะ เกิดเป็นอาการ หรือสภาพสภาวะจิตใจ ตามภาษาแห่งมนุษย์ได้หลายรูปแบบ เช่น ไม่ชอบใจ,อยากทำร้าย ,ชิงชัง,อยากด่า,อยากต่อว่า,อิจฉา,ริษยา อาฆาต,แค้น ฯลฯ

แต่มนุษย์ทุกคน ล้วนมีกิเลส หรือมีความโลภ(โลภะ ) ,ความโกรธ (โทสะ), ความหลง(โมหะ) เป็นธรรมชาติ ดังนั้น มนุษย์ จะไม่รู้สึกว่า กิเลส ฯ เป็นความทุกข์ จะรู้จะเข้าใจก็เพียงว่า หากต้องการสิ่งใดแล้วได้ตามทีหวัง ก็มีสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า ความสุข ดีใจ สบายใจ หรืถ้าต้องการสิ่งใดแล้วไม่ได้ตามที่หวังไว้ต้องการไว้ หรือไม่ได้ตามที่อยากได้ ก็จะเสียใจ ไม่สบายใจ คิดฟุ้งซ่าน หรือบางคนบางบุคคลที่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีมาก่อน ก็จะแปรเปลี่ยน หรือเกิดเป็นพฤติกรรม หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามค่านิยมของสังคม หรือไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์กติกา หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อมนุษย์มีกิเลสตามธรรมชาติ แต่มีสิ่งควบคุมกิเลสในตัวเอาไว้ ด้วยจารีตวัฒนธรรมประเพณี หรือ จากศาสนา ความคิด และการระลึกนึกถึง อันก่อให้เกิดการพัฒนา ในด้านต่างๆก็เกิดขึ้น เพราะมนุษย์ เป็นสัตว์โลกที่มีรูปร่างและอวัยวะอันเอื้ออำนวยต่อการกระทำในด้านต่างๆ
หากมนุษย์ไม่มีกิเลส คือไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ หรือวิชาการ ในด้านต่างๆ จะไม่เกิดขึ้น แต่กิเลสที่ทำให้เกิดการพัฒนา หรือการรังสรรค์ สิ่งต่างๆนั้น เป็นกิเลสที่ได้รับการขัดเกลา หรือได้รับการอบรม จากจารีต วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา
คำว่า ศาสนา ในที่นี้ ย่อมหมายถึง หลักธรรมะแห่งศาสนาพุทธ หมายความว่า มนุษย์จะมีการพัฒนาในทุกด้านหรือไม่ ก็ล้วน เป็นไปตามหลักธรรมชาติ คือล้วนย่อมมี การคิด(ดำริ) และการนึกถึง(ระลึก) ซึ่ง การนึกถึง และการคิด ก็ได้อธิบายไปพอสังเขปในตอนก่อนๆนี้แล้ว

หลายๆท่านอาจมีข้อโต้แย้งว่า นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ หรือการรังสรรค์สิ่งต่างๆ หรือหลักวิชาการต่างๆ เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือจากชุมชมที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ อันนี้ต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่า
หลักธรรมะในศาสนาพุทธ ในข้อ "ระลึก ดำริ" นั้นเป็นพื้นฐาน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะอยู่ ณ.แห่งหน ตำบลใด ในโลก (หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนต้องมีการ นึกถึง และการคิด หลักธรรมในศาสนาใดใดก็ตาม ล้วนเกิดจากการ ระลึก และ ดำริ ทั้งสิ้น

กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ ทุกข์ ในทางศาสนาพุทธนั้น แท้จริงก็คืออากาศที่ไม่ดีภายในร่างกาย อันเป็นเหตุให้เกิดผลต่อสภาพหัวใจและสมอง กล่าวคือ ถ้าบุคคลมีความกิเลสมาก อวัยวะต่างๆ ก็รับออกซิเจนได้น้อยลง ถ้ามีกิเลสน้อย หรือ มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง น้อย ร่างกายก็รับออกซิเจนได้มากขึ้น ดังท่านคงจะเคยเห็นเคยพบ กับบุคคลที่มีสุขภาพดีแข็งแรง เพราะเขาไม่คิดหรือนึกถึงเรื่องฟุ้งซ่าน
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปข้างต้น เป็นเพียงการอธิบาย การพัฒนา อันเกิดจากความที่มนุษย์มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือกิเลส ซึ่งได้ถูกควบคุม หรือขัดเกลาโดย จารีต วัฒนธรรม ประเพณี และ ธรรมะแห่งพุทธศาสนา อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว

จากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปถึงการพัฒนามนุษย์ หรือมนุษย์มีการพัฒนาในทุกด้าน ก็เพราะเกิดจากกิเลส หรือ การมีความโลภ ความโกรธ ความหลง อันถูกควบคุม ขัดเกลา โดย จารีต วัฒนธรรม ประเพณี และ ธรรมะแห่งศาสนาพุทธ

ท่านทั้งหลายย่อมต้องมีข้อสังสัยและกังขาว่า ถ้าหากมนุษย์ไม่มีกิเลส จะสามารถพัฒนา หรือรังสรรค์ หรือประดิษฐ์ สิ่งต่างๆ รวมไปถึงหลักวิชาการต่างๆได้หรือไม่
คำตอบก็คือ กิเลสแบ่งเป็นหลายขั้น หลายระดับ เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีกิเลส แต่กิเลสของมนุษย์นั้น จะเป็นกิเลสชนิดบางเบา จนไม่รู้สึกว่าเป็นกิเลส (หมายถึงผู้ที่รู้เรื่องกิเลสแล้ว) เพียงแต่ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม หรือการได้พบเห็นค่านิยมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี เครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมไปถึงลักษณะลมฟ้าอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ล้วน เป็นปัจจัยทำให้กิเลสของมนุษย์ ปรากฏเด่นชัดขึ้น หรือหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์นั้น มีความโลภ ความโกรธ ความหลงน้อยมาก ส่วนใหญ่ หรือ มนุษย์ทั้งหมด มีความต้องการเพียง ปัจจัยสี่ ทีพอดี และพอเพียงเท่านั้น

ดังนั้น มนุษย์ที่ไม่มีกิเลส จึงไม่มี จะมีก็แต่ มนุษย์ที่สามารถขจัดกิเลส หรือขัดเกลา ความคิด และการนึกถึง คือ ได้รับการขัดเกลา ทางสังคม โดยพุทธศาสนา หรืออื่นใด เพื่อให้รู้จัก การ "ระลึก และ ดำริ" อันก่อให้เกิด ความสบายใจ หรือ ความสุขในบุคคล
เพราะ การได้รับการขัดเกลา หรืออบรม ให้รู้และเข้าใจ ในข้อธรรมะ "ระลึก และดำริ" ย่อมทำให้เกิดความคิด ในการรังสรรค์ ในการประดิษฐ์ ในหลักวิชาการ และหลักปฏิบัติในด้านต่างๆ เพี่อความสบายใจ และความสบายใจ อ้นเป็นการหลุดพ้นจากความทุกข์ หรือ เป็นการหลุดพ้นจากกิเลส คือหลุดพ้นจาก ความโลภ (โลภะ) ,ความโกรธ (โทสะ), ความหลง (โมหะ) เป็นชั้นแรกแห่งความเป็นมนุษย์
จบตอนที่3(บทที่2)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ถ้าบุคคลมีความกิเลสมาก อวัยวะต่างๆ ก็รับออกซิเจนได้น้อยลง ถ้ามีกิเลสน้อย หรือ มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง น้อย ร่างกายก็รับออกซิเจนได้มากขึ้น ดังท่านคงจะเคยเห็นเคยพบ กับบุคคลที่มีสุขภาพดีแข็งแรง เพราะเขาไม่คิดหรือนึกถึงเรื่องฟุ้งซ่าน


เท่าที่ระลึกได้ก็เห็นจะจริงดังท่านว่าครับ....กระผมว่าน่าจะมีผู้ที่วิจัยในเรื่องนี้อย่างจริงจังนะครับเพื่อจะได้มีข้อมูลที่เป็นรูปธรรม.... ยิ้ม

ขอบคุณท่านBuddhaมากครับกับความรู้ที่ท่านนำมาแบ่งปันให้ผู้ที่สนใจอย่างกระผมได้พิจารณา สาธุ

จะคอยติดตามต่อไปเรื่อยๆครับ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2008, 7:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

natdanai พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
ถ้าบุคคลมีความกิเลสมาก อวัยวะต่างๆ ก็รับออกซิเจนได้น้อยลง ถ้ามีกิเลสน้อย หรือ มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง น้อย ร่างกายก็รับออกซิเจนได้มากขึ้น ดังท่านคงจะเคยเห็นเคยพบ กับบุคคลที่มีสุขภาพดีแข็งแรง เพราะเขาไม่คิดหรือนึกถึงเรื่องฟุ้งซ่าน


เท่าที่ระลึกได้ก็เห็นจะจริงดังท่านว่าครับ....กระผมว่าน่าจะมีผู้ที่วิจัยในเรื่องนี้อย่างจริงจังนะครับเพื่อจะได้มีข้อมูลที่เป็นรูปธรรม.... ยิ้ม

ขอบคุณท่านBuddhaมากครับกับความรู้ที่ท่านนำมาแบ่งปันให้ผู้ที่สนใจอย่างกระผมได้พิจารณา สาธุ

จะคอยติดตามต่อไปเรื่อยๆครับ สาธุ สาธุ สาธุ


ตอบ...
คุณขอรับ บทเรียนที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานทางพุทธศาสนา ล้วนเป็นสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และวิจัย อีกทั้งยังได้ฝึกปฏิบัติ จนได้ผลดีแล้ว มีข้อยุติดีแล้ว จึงได้เขียนขึ้น เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ ต่อบุคคลากรทางศาสนา และผู้สนใจในศาสนาทั้งหลาย
เพื่อความเจริญก้าวหน้าในศาสนา เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน ก็โปรดได้พิจารณาให้ดี เพราะในแต่ละบทเรียน สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 10 ต.ค.2008, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา บทที่ 2 (พุทธศาสนา พัฒนามนุษย์) ยังเหลืออีก 2 ตอน
คือ ตอนที่ 4 และตอนที่ 5
คอยติดตามขอรับ อีกสัก อาทิตย์จะนำมาเผยแพร่ ขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นกำลังใจค่ะ ท่าน Buddha
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง