Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความสุข อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 6:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(จากพุทธธรรมหน้า 529)


ความสุข


ลักษณะสำคัญของนิพพานที่สืบเนื่องมาจากความหมายว่า “ดับ” ซึ่งนับว่าเด่น

น่าสนใจมีอยู่ 3 ประการ คือ ดับอวิชชา หมายถึงการเกิดญาณทัศนะอันสูงสุด

หยั่งรู้สัจธรรม


ดับกิเลส หมายถึงกำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่างๆ ภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อ

ปัญหาความ

เดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิตและสังคม


และดับทุกข์ หมายถึง หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด

เฉพาะลักษณะที่สาม คือ ความสุข หรือความดับทุกข์สิ้นทุกข์นี้ แม้จะได้ย้ำไว้บ้างแล้วในตอนว่าด้วย

ภาวะจิตของผู้บรรลุนิพพาน
- (กล่าวที่ลิงค์นี้)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17297&postdays=0&postorder=asc&start=40

แต่ยังมีข้อที่ควรศึกษาเป็นพิเศษอีกบางอย่าง จึงนำมากล่าวเพิ่มเติมไว้ต่างหาก ณ ที่นี้

ความสุข มีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา อาจกล่าว

ได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกต่างหากจากความสุข เริ่มแต่ขั้นต้น ในการทำ

ความดีหรือกรรมดีทั่วๆไปที่เรียกว่า บุญ ก็มีพุทธพจน์ตรัสว่า “บุญเป็นชื่อของความสุข”

(ขุ.อิติ. 25/200/240 ฯลฯ)

ในการบำเพ็ญเพียรทางจิต หรือ เจริญภาวนา ความสุขก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้

เกิดสมาธิ ดังพุทธพจน์ว่า “ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ)”

(ที.ปา.11/455/329 ฯลฯ)


และเมื่อจิตเป็นสมาธิบรรลุฌานแล้ว ความสุขก็เป็นองค์ประกอบของฌาน

ดังที่เรียกว่า องค์ฌานต่อไปอีกจนถึงฌานที่ 3 -

(ที.ปา.11/232/233 ฯลฯ)


ฌานสมาบัติที่สูงกว่านั้นขึ้นไป แม้จะไม่มีสุขเป็นองค์ฌานแต่ก็กลับเป็นสุขที่

ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็น

ความสุข และเป็นบรมสุข คือ สุขสูงสุดด้วย –

(ม.มฺ. 13/287/281 ฯลฯ )

นอกจากนั้น จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาที่เป็นบรมสุข หรือโพธินั้น ก็พึง

บรรลุได้ด้วยความสุข หรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข ไม่ใช่บรรลุด้วย

ความทุกข์ หรือ ด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์ *

(ม.มู.12/425-6/457-8 ฯลฯ)

บอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:21 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 6:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

* พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับการปฏิบัติของพระองค์เองทุกข์

ในกรณีนี้หมายถึงทุกข์เนื่องจากทุกรกิริยา....ไม่พึงสับสนกับทุกฺขา

ปฏิปทา และ สุขาปฏิปทา
ซึ่งคำว่าทุกข์ในที่นี้

หมายถึงยากลำบากเท่านั้น- (องฺ. จตุกฺก.21/161-3/200-4)

พวกนิครนถ์มีความเห็นว่า “ความสุขจะพึงลุถึงด้วยความสุขไม่ได้

ความสุขจะพึงลุถึงได้ด้วยความทุกข์” ดังนั้น พวกนิครนถ์จึง

บำเพ็ญตบะ กระทำอัตตกิลมถานุโยค คือ ทรมานตน-

(ม.มู.12/220/187)

พระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ก็เคยทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น จึงได้

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเสียเวลาไปยาวนาน

(ม.ม.13/489/443)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 6:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บางคนปฏิบัติธรรมสะดวกสบาย ทุกขเวทนาไม่เกิดเลย
แต่บางคนทุกขเวทนารบกวนบ่อยหนักนาน

ฯลฯ

เพื่อความเข้าใจถูกต้องจะนำปฏิปทา (ปฏิบัติ) ทั้ง 4 ข้อลงแทรกไว้
เพราะมีผู้แนะนำคลาดเคลื่อนมาแล้ว คือเมื่อโยคีประสบกับทุกขเวทนาก็
ว่าปฏิบัติผิดบ้าง ว่าเป็นทุกรกิริยา เป็นต้นบ้าง แล้วให้เลิกให้หนีเวทนาไป
เสีย


ปฏิปทามี 4 ดังนี้

1. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ (มีอภิญญา)

ช้า

2. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้ (มีอภิญญา)

เร็ว

3. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา - ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ (มีอภิญญา)

ช้า

4. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา - ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้ (มีอภิญญา)

เร็ว


ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะความพร้อม หรือ ความแก่กล้า
ของอินทรีย์ต่างๆ

บางคนอาจฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย

บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ก็ฝึกไปได้สบายๆ ก็สำเร็จ

บางคนอาจฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ

บางคนจะฝึกหัดอย่างไรก็ไม่อาจประสบความสำเร็จเลย


นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จและความ
ช้าเร็ว เป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี
การมีผู้แนะนำหรือครูดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย
และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
เป็นต้น

ฉะนั้น ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น 4
ประเภทดังกล่าว

องค์ประกอบต่างๆ หลายๆอย่างที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้า
หรือเร็วนั้น สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 6:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้ทรงบรรลุถึงความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม

และความสุขอย่างอื่นที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้นแล้ว จึงทรงยืนยันได้ว่าจะไม่ทรงเวียน

กลับมาหากามอีก แต่ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงประสบความสุขที่ประณีตเช่นนั้นแล้ว

ก็จะไม่ทรงสามารถยืนยันได้ว่า พระองค์จะไม่ทรงเวียนกลับมาหากามอีก

พร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสทำนองเตือนผู้ปฏิบัติธรรมให้ระลึกไว้ว่า ถึงหาก

อริยสาวกจะมองเห็นอย่างชัดเจนตามความเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาว่า

กามทั้งหลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก

โทษในกามนี้มากยิ่งนัก

แต่ถ้าอริยสาวกนั้นยังไม่ประสบ ยังไม่รู้จักปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัย

กาม หรือความสุขที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าเธอจะไม่วก

เวียนกลับมาหากามอีก- (ม.มู. 12/211/180)

และตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายไว้โดยจำเพาะในทำนองเดียวกันว่า ถ้าผู้บวช

แล้ว ยังมิได้ประสบปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม หรือความสุขที่ลึกซึ้ง

ยิ่งกว่านั้น กิเลสทั้งหลายเช่น อภิชฌา พยาบาท ความฟุ้งซ่าน

เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ก็จะเข้าครอบงำจิตได้- (ม.มู. 13/196/205)

หมายความว่า ก็จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ทนประพฤติพรหมจรรย์อยู่

ไม่ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 10:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความที่ยกมาอ้างเหล่านี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือ

ความสุขเป็นเรื่องสำคัญ แล้วยังให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า การที่อริยสาวก

ละกามนั้น มิใช่เพราะกามไม่มีความสุข หรือเพราะพระพุทธศาสนาสอนให้

ละเว้นความสุข

พระพุทธศาสนายอมรับความสุขตามที่เป็นจริง สอนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุความ

สุข และยอมรับว่ากามมีความสุข แต่อริยสาวกละกามเพราะเห็นว่ากาม

มีความสุขก็จริง แต่ยังปะปนด้วยทุกข์มาก และข้อสำคัญก็คือ ยังมีความ

สุขอย่างอื่นที่สุขกว่า ลึกซึ้งประณีตกว่าสุขที่เกิดจากกาม หรือความสุขที่

เกิดจากการเสพรสอร่อยของโลกอย่างสามัญชน อริยสาวกละกามก็เพราะได้

ประสบความสุขที่ประณีตกว่านั้น

ความข้อนี้แสดงว่า ความสุขมีแตกต่างกันเป็นขั้นเป็นระดับ สิ่งที่ควรศึกษา

ในตอนนี้ก็คือว่า พระพุทธศาสนา จัดแบ่งความสุขออกเป็นขั้น หรือ ระดับ

อย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ท่านจำแนกความสุขออกไปทั้งโดย

ประเภท และโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น สุขของคฤหัสถ์กับสุข

ของบรรพชิต กามสุขกับเนกขัมมสุข โลกียสุขกับโลกุตรสุข สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น

แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่ายไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่วิธีแบ่งเป็น 10 ขั้น หรือความ

สุข 10 ขั้น ซึ่งมีที่มาหลายแห่ง แบ่งดังนี้

(ม.ม. 13/100/96 ฯลฯ)

1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยกามคุณ 5

2. ปฐมฌานสุข - สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วย วิตก

วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

3. ทุติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยทุติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

4. ตติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา

5. จตุตถฌานสุข - สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขา

และเอกัคคตา

6. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูปสัญญาได้

โดยสิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงลับไปหมด ไม่มนสิการนานัตตสัญญา นึกถึงแต่อวกาศอันอนันต์

เป็นอารมณ์

7. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงวิญญาณอันอนันต์

เป็นอารมณ์

8. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงภาวะที่ไม่มีอะไรเลย

เป็นอารมณ์

9. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันถึงภาวะที่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญา

และเวทนาทั้งหมด


ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข 10 ข้อนี้ ก็รวมเข้าได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม

2. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข -สุขเนื่องด้วยฌาน หรือ สุขเนื่องด้วยสมาบัติ 8 แยกเป็น 2 ระดับ

ย่อย

2.1 สุขในรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4

2.2 สุขในอรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4

3. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ


ต่อที่บอร์ดใหม่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18652
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค.2010, 5:20 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สุขทั้ง 10 ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น หากแต่เป็นความสุขที่

ดีกว่าประณีตลึกซึ้งยิ่งกว่ากันขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆ

มีส่วนเสียหรือแง่ที่เป็นทุกข์แทรกอยู่ด้วยมาก เมื่อเป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่ง

ประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น

ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุขและด้านที่มี

ทุกข์เข้ามาปน คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็น

โทษ- (เรียกเป็นศัพท์ว่าทั้ง อัสสาทะ และ อาทีนวะ) นอกจากนั้นยังให้

รู้จักทางออก ทางรอดพ้นหรือภาวะเป็นอิสระที่ดีกว่าซึ่งไม่ขึ้นต่อส่วนดี

ส่วนเสียนั้นด้วย - (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ) เมื่อเห็นโทษของสุข

ที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า เมื่อรู้จัก

และได้ประสบความสุขที่ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุข

ที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่งบรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ อย่างน้อย

ก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกินไป เมื่อใดจิตหลุดพ้นเด็ดขาด

แล้วตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุขที่หยาบอีกต่อไป

คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดียว

ข้อนี้ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 7:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างผู้มีสุขที่พ้นระดับที่หนึ่งไป ลองพิจารณาเทียบเคียงดู แล้วลองเดาสิว่า เพราะเหตุใด



ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางใน
อานาปานสติสูตร

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ

แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่า
ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา
ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ-

(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ รร. สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจ จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน
แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า

ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔ (รู้สึกแวบขึ้นเอง) แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
ในทิศเบื้องหน้า ฯลฯ พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลก ที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ... ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก- (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน -(ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือ ลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌาน หรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง -(คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2008, 10:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก(กามภูมิ) จากรูปโลก(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก(อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌานตามชั้นตามประเภทของฌาน ซึ่งมี ๕ ชั้น แล้วก็จะเป็นจิตนับอย่างพิสดารได้ ๔๐ ดวง (๘x๕=๔๐)
ทำไมพระอรหันต์จึงเหลือจิต8ดวง ไม่ใช่ถูก ทำลายไป หมดขณะ มรรคผลเกิด สมุทเฉจปหาน นะ ท่านแอดมินครับ งง ช่วย ขยายหน่อยๆ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง