Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะฉบับเรียนลัด...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2006, 2:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมะฉบับเรียนลัด
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


คำปรารถ

โลกในยุคข้อมูลข่าวสารที่นิยมเสพวัตถุ โดยเน้นการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนาทางด้านจิตใจ มากขึ้นเป็นลำดับที่กำลังดำเนินสืบทอดอยู่ในขณะปัจจุบันนั้น มนุษย์ผู้มีจิตใจสูงไม่ควรปฏิเสธธรรมะว่า เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต และมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัย ๔ อันได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค จึงควรยอมรับถือเป็นปัจจัยที่ ๕ โดยดุษฎี

ทั้งนี้เพราะหลักสำคัญของการปฏิบัติธรรม ก็คือ การพัฒนาตนเองที่มุ่งไปสู่การพัฒนาทางด้านจิตใจเป็นแก่นสำคัญ เพื่อจะได้รู้เท่าทันความเป็นธรรมดาในความเปลี่ยนแปลงเป็นไปของโลกวัตถุและชีวิตจิตใจ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในวิถีประจำวัน

การพัฒนาจิตใจมนุษย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องให้มี ต้องเน้นและต้องย้ำกันในยุคสมัยนี้ให้มากทีเดียว เพื่อให้การพัฒนาจิตใจเจริญเท่าทันเทียบคู่ไปกับการพัฒนาวัตถุ เพื่อไม่ให้กระแสลัทธินิยมบริโภควัตถุดูดกลืนจิตสำนึกที่ถูกต้องดีงาม มีคุณธรรมอันมั่นคง หายไปพร้อมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามบางส่วนอย่างที่รับรู้กันอยู่ในเวลานี้

กองทุนอริยมรรคหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือธรรมะฉบับเรียนลัด ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เล่มนี้ จะเป็นกัลยาณมิตรทางตำราสำหรับผู้ใฝ่ในธรรมทั้งหลาย ได้ศึกษาโดยลัดสั้นเป็นบันไดก้าวแรกเพื่อมุ่งสู่ภาคปฏิบัติในการพัฒนาจิตใจ อันเป็นการพัฒนาตนเองในขั้นต่อๆ ไป เพื่อสำเร็จประโยชน์แห่งความสงบสุขของชีวิต

กองทุนอริยมรรคจึงใคร่ขอกราบขอบพระคุณ พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ในความมีเมตตานุเคราะห์อนุญาตให้ดำเนินการจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ได้ตามวัตถุประสงค์


ศีล สมาธิ ปัญญา
กองทุนอริยมรรค



ขอเชิญอ่านเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือได้ที่นี้
http://www.dhammajak.net/book/dhamma1/index.php
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --

แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 09 ส.ค. 2006, 12:03 pm, ทั้งหมด 8 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ชาคริต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2006, 2:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิ่มเอมใจมากที่มีพระสงฆ์อย่างท่าน เวลาสวดมนต์ถึงตอน สุปะฎิปปันโน... ผมก็จะน้อนนำจิตมายังที่ท่านนี่เพราะท่านเป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างจริงแท้ เมื่อก่อนไม่ค่อยได้ศรัทธาพระสงฆ์เท่าไหร่ พอสวดถึงตอนสุปะฎิปปันโน... จิตเข้าไม่ถึงไม่มีตัวอย่างให้เห็นที่สัมผัสและรู้ได้ด้วยใจ และตอนพอมาฟัง ซีดี ตามพระใหม่มาเรียนธรรม (ผมว่านั้นคือพื้นฐานที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องศีกษาพื้นฐานก่อน แล้วไปฝึกสมาธิจะดีมาก เพราะเรามีเครื่องในการต่อกับอวิชชาแล้ว) แล้วเข้าใจพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ทำให้อวิชชาบางส่วนหายไป มีแรงศรัทธามากขึ้น และอยากให้คนไทยมาใส่ใจกับจิตและวิณญาณของตัวเองให้มากขี้น เรามีของดีแต่ไม่รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผมว่ามันน่าเศร้าใจเป็นอย่างมากครับ ขอกราบขอพระคุณพระเดชพระคุณมาในครั้งนี้ด้วยครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง