Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะ คือ อะไร ในศาสนาพุทธ ตอนที่ 3 (จบบทเรียนบทที่ 1) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 1:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะคือ อะไร ในศาสนาพุทธ ตอนที่ 3
ในตอนนี้ จะเป็นบทจบ ของบทเรียน บทที่ 1 ในเรื่อง"ธรรมะ คือ อะไรในศาสนาพุทธ"
หรือ "หลักธรรมะ ตามหลักศาสนาพุทธ" ก็ได้เช่นกัน
ในตอนที่ 2 ข้าพเจ้า ได้อรรถาธิบายไปแล้วว่า
ความทุกข์ นั้นหมาย ถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งก็คือสิ่งที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่า "กิเลส"นั่นเอง
ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง นั้น สามารถแยกแยะรายละเอียด คือสามารถอธิบาย ลักษณะอาการแห่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้นับ เป็น แปดหมื่นสี่พันชนิด แบ่งเป็น ชั้นหยาบสุด, ชั้นหยาบ และชั้นละเอียด คือแบ่งเป็น 3 ชั้น
ทำไมในทางศาสนา จึงเรียกว่า ความโลภ,ความโกรธ,ความหลง ว่า"กิเลส" หรือ"ทุกข์ " ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะธรรมดาแห่งสรรพสิ่งที่มีชีวิต ล้วนย่อมต้องมีธรรมชาติ อันทำให้เกิดความรู้สึก, ระลึก, ดำริ หรือจะเรียกว่า "ความรู้สึก, นึก,คิด" ซึ่ง ธรรมชาติแห่งความรู้สึก, นึก, คิดเหล่านั้น เรียกว่า "ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง" นั่นเอง
กิเลส ชั้นหยาบสุด หรือ ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง ชั้นหยาบสุด ส่วนใหญ่มักเกิดมีอยู่ในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เดินเอาลำตัวขวางกับพื้นดิน หรือเรียกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สัตว์เดรัจฉาน"
กิเลส ชั้นหยาบสุดนั้น มักมีความคิด มีการระลึกนึกถึง เพียงความต้องการของตัวเอง เป็นส่วนใหญ่ และมีความคิด มีการระลึกนึกถึง เพียงแค่ครอบครัวของมัน เป็นบางช่วงขณะ พฤติกรรม หรือการกระทำของสิ่งที่มีกิเลสชั้นหยาบสุดนั้น มีเพียงเพื่อดิ้นรนให้ตัวเองอยู่รอด โดยมิได้คำนึงถึง สิ่งอื่นๆ ดังท่านทั้งหลาย คงได้เห็น สภาพสภาวะจิตใจของสัตว์ป่า บางชนิด หรือหลายๆชนิด หรือทั้งหมดก็ว่าได้ ที่กล่าวไปนี้เป็นเพียงอธิบายถึงลักษณะสภาพสภาวะจิตใจของสิ่งที่มี กิเลส ชั้นหยาบสุด หรือ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ในชั้นที่ 1
กิเลส ชั้นหยาบ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ชั้นที่ 2 หรือชั้นกลาง ท่านทั้งหลายล้วนได้พบเห็นอยู่เป็นประจำวัน นับตั้งแต่ตัวของเราเป็นต้นไป กิเลสชั้นที่ 2 นี้จะมีสภาพสภาวะจิตใจบางส่วน ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ รวมไปถึงศาสนามาบ้างแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือธรรมชาติของ มนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง
กิเลสแห่งบุคคลทั้งหลายนั้น ล้วนเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ถูกบังคับ ควบคุม และหรือ ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคล มีพฤติกรรม หรือการกระทำ เป็นไปตามกระแสสังคม หรือจะเรียกว่าเป็นไปตาม ความนิยมของสังคม ชุมชน หรือ เมือง หรือ ประเทศ นั้น อันเกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติต่างๆ เป็นเครื่องประกอบ
ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง แห่งบุคคลหรือมนุษย์ ล้วนย่อมดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองมีงานทำ มีทรัพย์สินเงินทอง มีปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ที่อยู่อาศัย, และยารักษาโรค ซึ่งเป็นไปตามครองเรือน คือเป็นไปตามสภาพสภาวะแห่งร่างกาย อันเหนือและดีกว่า สัตว์เดรัจฉาน
ความทุกข์ ที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักธรรมะ ทางศาสนา
เพราะหากไม่รู้จักควบคุมความคิด หรือการระลึกนึกถึง หรือคิด ด้วยความไม่คำนึงถึงหลักความจริงตามธรรมชาติแห่งสังคมนั้นๆ ความทุกข์ คือ ความไม่สบายใจ ก็จะเกิดขึ้น ความโลภ,ค วามโกรธ, ความหลง ก็จะเกิดตามมา กลับกลายหรือแปรเปลี่ยน เป็นพฤติกรรมหรือการกระทำ อันไม่ผิดจาก "สัตว์เดรัจฉาน" คือมีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ ไม่ได้คำนึง ถึงความทุกข์ ของตนเองและผู้อื่น แต่จะกระทำ หรือมีพฤติกรรม เพียงเพื่อสนองความต้องการของตนเอง โดยขาดการควบคุมจิตใจและความคิด
เมื่อได้กล่าวถึงสภาพสภาวะจิตใจ ของความมีกิเลส หรือความโลภ ความโกรธ ความหลง ในชั้นที่ 2 ไปพอสังเขป เพื่อเป็นพื้นฐานให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจว่า ธรรมชาติ หรือธรรมดาของบุคคลโดยทั่วไปนั้น ย่อมต้องมีความโลภ ความโกรธ ความหลง,หรือกิเลส หรือ,จะเรียกว่า "ทุกข์" ก็เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งๆเดียวกัน ต่างกันตรงที่ภาษาที่ใช้เรียก และติดต่อสื่อสาร ก็ย่อมมาถึง กิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างละเอียด
กิเลส หรือ ทูกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างละเอียด หรือ กิเลสชั้นที่ 3 นี้ เป็นกิเลส หรือ ทุกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่เกิดจากความรู้ ความเข้าใจ โดยการระลึก และ ดำริ ตามหลักธรรมะ แห่งพุทธศาสนา แล้วว่า กิเลส หรือทุกข์นั้น ทำสภาพจิตใจ และร่างกาย เสื่อมโทรม และเป็นไปวัฎจักรแห่ง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้เพียงได้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเกิดความคิดชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือระลึกนึกถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ก็ล้วนเป็นกิเลส หรือทุกข์ หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ชั้นละเอียด ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
แต่ธรรมชาติของมนุษย์ฯ ล้วนต้อง ระลึก และดำริ ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นกิเลสหรือ ทุกข์ อย่างละเอียดนี้ จะไม่หมดจากตัวเรา หากไม่รู้จักวิธีการขจัด ให้ออกจากร่างกายเรา
หลายๆ ท่าน อาจมีข้อคัดค้าน เพราะไม่เข้าใจว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความทุกข์ได้อย่างไร ในเมื่อมนุษย์ทุกคนที่ใช้ชีวิตประจำกันอยู่นั้น ล้วนบ้างสรวลเสเฮฮา ล้วนมีกิน มีใช้ มีเที่ยว มีเครื่องอุปโภค บริโภค มีฐานะ มีตำแหน่งหน้าที่
หากท่านทั้งหลายคิดแบบนั้น ก็จะคิดพิจารณาต่อไปอีกว่า ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ได้สรวลเสเฮฮา ไม่มีกิน ไม่มีใช้ ไม่มีเที่ยว ไม่มีเครื่องอุปโภค บริโภค ไม่มีฐานะ ไม่มีตำแหน่งหน้าที่ ความคิดของท่าน หรือความรู้สึกของท่านจะเป็นอย่างไร
ความคิดหรือความรู้สึกของท่านที่บังเกิดขึ้นในขณะนั้น นั่นแหละคือ ทุกข์ หรือ ความหลง และอื่นๆก็จะตามมาเป็นเงาตามตัว
แต่หากท่านทั้งหลาย ได้มีความรู้ มีความเข้าใจ ในหลักธรรมะแห่งศาสนาพุทธ อันเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน แบบเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ว่า
ทุกข์ นั้นเกิด จาก "ความคิด"(ดำริ) ทุกข์นั้นเกิดจาก "การนึกถึง"(ระลึก)
เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น คือ "คิด อยากมี อยากได้ อยากทำ ตามที่ตัวเองต้องการ หรือตามกระแสสังคม ฯลฯ หรือ "ระลึก นึกถึง แต่ ความอยากได้ อยากมี อยากทำ อันได้ประสบพบเห็นมาในอดีต(คำว่า อดีต หมายถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เพียง1 วินาที ก็เป็นอดีตเช่นกัน อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี) จนเกิดเป็นพฤติกรรมหรือ การกระทำ อันเบี่ยงเบนจากค่านิยมของสังคม หรือ คิด หรือระลึกนึกถึง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่จบ หาคำตอบไม่ได้ ฯลฯ
เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ "ความคิด" (ดำริ) เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ "การนึกถึง" (ระลึก)
หนทางแห่งความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ ความรู้ความเข้าใจใน "ความคิด"(ดำริ) แห่งตนเองและผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจ ในการคิด ต่อเนื่อง จากการ"นึกถึง" (ระลึก) คือ ระลึกนึกถึง ประสบการณ์ ความรู้ หลักวิชาการ และอื่นๆ ฯลฯ หรือนึกถึง เพื่อให้เกิดความคิด อันเป็นไปตามหลักธรรมชาติของสรรพสิ่งทำหลาย เป็นไปตามหลักการทำงาน หลักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน

(จบบทเรียนที่ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 8:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านทั้งหลายจงจำไว้ และทำความเข้าใจตามหลักธรรมะ ในศาสนาพุทธไว้อย่างหนึ่งว่า

" จงคิด เพื่อให้เกิดความคิด " และ

" จงคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด "
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 9:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สุนันท์
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 05 เม.ย. 2008
ตอบ: 126
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 10:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา เจ้าค่ะ ที่ให้ความรู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 8:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาในบุญด้วย อีกครั้งนะจ๊ะ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 9:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำงาน ทุกชนิด บุคคล ล้วนต้องมีการ ระลึก คือ นึกถึง หลักวิชาการ วิธีการ และประสบการ์ที่ได้เล่าเรียน หรือพบเห็น หรือเคยได้ลงมือกระทำมา เป็นธรรมชาติของมนุษย์ การระลึกนึกถึง ในการทำงานนั้น ย่อมส่งผลให้เกิดความคิด ในการสร้างนโยบาย แผนงาน หรือแผนในการทำงาน ขึ้น ตามหลักการ วิชาการ วิธีการ และประสบการณ์ที่ได้เล่าเรีน หรือพบเห็น หรือเคยได้ลงมือกระทำมา
พฤฺติกรรม ที่ได้กล่าวไป จะประกอบไปด้วยความหลง และความโลภ อย่างละเอียด เพราะพฤติกรรมเหล่านั้น เป็นพฤติกรรมที่ประกอบด้วย ความมีสมาธิ คือ ความมีความรู้สึกตัว และระลึกได้อยู่เสมอ อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และสัตว์ อีกหลายๆชนิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 9:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
ท่านทั้งหลายจงจำไว้ และทำความเข้าใจตามหลักธรรมะ ในศาสนาพุทธไว้อย่างหนึ่งว่า

" จงคิด เพื่อให้เกิดความคิด " และ

" จงคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด "


รบกวนขยายความด้วยครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 3:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมธี พิมพ์ว่า:
Buddha พิมพ์ว่า:
ท่านทั้งหลายจงจำไว้ และทำความเข้าใจตามหลักธรรมะ ในศาสนาพุทธไว้อย่างหนึ่งว่า

" จงคิด เพื่อให้เกิดความคิด " และ

" จงคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด "


รบกวนขยายความด้วยครับ

สาธุ


ตอบ...
ท่านผู้ใช้ชื่อว่า "เมธี" เอ๋ย เหตุไฉน ไม่ใช้ ความคิดเพื่อให้เกิดความคิดเล่าท่าน ไม่จำเป็นต้องขยายความแล้ว
ถ้าท่านใช้ความคิด เพื่อให้เกิดความคิด ท่านก็ย่อมเกิดความเข้าใจ ในหลักบรรทัดฐาน อันเกี่ยวกับธรรมะในพุทธศาสนา
และท่านก็จงใช้ความคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด ดูซิว่า
ควรใช้ความคิดอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความคิด ละท่าน ผู้ใช้ชื่อว่า "เมธี" เอ๋ย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
เมธี พิมพ์ว่า:
Buddha พิมพ์ว่า:
ท่านทั้ิงหลายจงจำไว้ และทำความเข้าใจตามหลักธรรมะ ในศาสนาพุทธไว้อย่างหนึ่งว่า

" จงคิด เพื่อให้เกิดความคิด " และ

" จงคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด "


รบกวนขยายความด้วยครับ

สาธุ


ตอบ...
ท่านผู้ใช้ชื่อว่า "เมธี" เอ๋ย เหตุไฉน ไม่ใช้ ความคิดเพื่อให้เกิดความคิดเล่าท่าน ไม่จำเป็นต้องขยายความแล้ว
ถ้าท่านใช้ความคิด เพื่อให้เกิดความคิด ท่านก็ย่อมเกิดความเข้าใจ ในหลักบรรทัดฐาน อันเกี่ยวกับธรรมะในพุทธศาสนา
และท่านก็จงใช้ความคิด เพื่อไม่ให้เกิดความคิด ดูซิว่า
ควรใช้ความคิดอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความคิด ละท่าน ผู้ใช้ชื่อว่า "เมธี" เอ๋ย


ขอโทษครับ ผมโง่น่ะครับ

สรุปคือ คิดเพื่อให้เกิดความคิด อันนี้คือคิดเรื่องทั่วไปใช่ไหมครับ คิดให้เกิดปัญญา คิดให้เข้าใจธรรมะ เข้าใจเรื่องต่างๆ

แล้วคิดเพื่อไม่ให้เกิดความคิด ก็คือ คิดว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ละความคิดทั้งปวง จะได้ไม่ยึดติด อย่างนี้หรือเปล่าครับ

โปรดชี้แนะ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 4:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมอ่านของอาจารย์มา 3 บทแล้วครับ

สรุปว่า ..... (ไม่ถูกอย่างไรอาจารย์ช่วยชี้แนะครับ) สาธุ

1.ทุกข์เกิดจากความคิด....

2.ความคิดทำให้เกิดกิเลส...

3.กิเลสมี 3 อย่างคือ .... อย่างหนา.....ของสัตว์เดรัจฉาน
....อย่างกลาง....ของปุถุชนทั่วไป
....อย่างบาง......ของผู้ที่ศึกษาธรรม

อ้างอิงจาก:
หนทางแห่งความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ ความรู้ความเข้าใจใน "ความคิด"(ดำริ) แห่งตนเองและผู้อื่น


อือม.....เดี๊ยวขอผมใคร่ครวญก่อนนะครับแล้วจะมาใหม่ครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ พิมพ์ว่า:
ผมอ่านของอาจารย์มา 3 บทแล้วครับ

สรุปว่า ..... (ไม่ถูกอย่างไรอาจารย์ช่วยชี้แนะครับ) สาธุ

1.ทุกข์เกิดจากความคิด....

2.ความคิดทำให้เกิดกิเลส...

3.กิเลสมี 3 อย่างคือ .... อย่างหนา.....ของสัตว์เดรัจฉาน
....อย่างกลาง....ของปุถุชนทั่วไป
....อย่างบาง......ของผู้ที่ศึกษาธรรม

อ้างอิงจาก:
หนทางแห่งความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ ความรู้ความเข้าใจใน "ความคิด"(ดำริ) แห่งตนเองและผู้อื่น


อือม.....เดี๊ยวขอผมใคร่ครวญก่อนนะครับแล้วจะมาใหม่ครับ ยิ้มเห็นฟัน


ตอบ..
ถ้าจะเอาตามที่คุณเขียนมา ก็ยังไม่ถูกทั้งหมด เพราะ
1.ทุกข์ เกิดจาก ความคิด(ต้องแยกแยะรายละเอียดไปอีก) และการระลึกนึกถึง ,ความคิด และการระลึกนึกถึง คือ กิเลส
2 ความคิด และ การระลึกนึกถึง ทำให้เกิด กิเลส , กิเลสคือความทุกข์
3. สิ่งที่จะทำให้เกิดการพ้นทุกข์ได้ ก็คือ ความคิด และการระลึกนึกถึง ถึงแม้ว่า ความคิดและการระลึกนึกถึง จะเป็นกิเลส แต่ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องคิด และต้องระลึกนึกถึง
4 หนทางแห่งการพ้นจากทุกข์ ก็คือ ความคิด และการระลึกนึกถึง อันเป็นรายละเอียด เช่นทำงานหนึ่ง จะต้องระลึกถึงอะไร ต้องมีความคิดอย่างไร จึงเป็นหนทางให้งานนั้นสำเร็จ ถ้างานนั้นสำเร็จเราก็ย่อมพ้นจากทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนที่คุณเขียนมาว่า "หนทางแห่งความดับทุกข์ ได้นั้น ก็คือ ความรู้ความเข้าใจ ในความคิด(ดำริ) มันขาดคำว่า "ระลึก" ต้องมีสองหลักธรรมะ ควบคู่กันเสมอคือ "ระลึก ,ดำริ" ทั้งของตัวเองและผู้อื่น

อนึ่ง อย่าเพิ่งคิดมากจนเกินตัว คิดพอประมาณให้เกิดความเข้าใจก่อน เพราะยังมีอีกมาก ที่จะต้องทำความเข้าใจ และต้องรู้เป็นบรรทัดฐาน
คอยติดตาม "บทเรียนที่2" เร็วๆนี้ ขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 4:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

Buddha พิมพ์ว่า:
คอยติดตาม "บทเรียนที่2" เร็วๆนี้ ขอรับ


อย่านานนะครับท่าน....แฟนคลับเค้าคิดถึง ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 9:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อย่านานนะครับท่าน....แฟนคลับเค้าคิดถึง


สาธุ....ผมจะรอครับท่านอาจารย์ สาธุ [/quote]
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ พิมพ์ว่า:
อ้างอิงจาก:
อย่านานนะครับท่าน....แฟนคลับเค้าคิดถึง


สาธุ....ผมจะรอครับท่านอาจารย์ สาธุ
[/quote]

ตอบ...

ไม่นานขอรับ ขึ้นอยู่กับ อารมณ์ ความรู้สึก และประสาทสัมผัสพิเศษ ว่าควรสอนหรือไม่ควรสอน ขอรับ

ปัจจุบัน ขอให้ยึดหลักการที่ได้ตั้งเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ก่อน ค่อยๆพิจารณาไป
จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่เดิม ก็ไม่ผิดอะไร เผลอๆ อาจบรรลุมรรคผล ก็เป็นได้นะขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง