Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 11:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” อาจแยกได้เป็น ๒ ตอน คือ “พระบรม” ตอนหนึ่ง และ “สารีริกธาตุ” ตอนหนึ่ง คำว่า “พระ” นั้นแปลได้ว่า ประเสริฐ “บรม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า อย่างยิ่ง ที่สุด “พระบรม” จึงอาจแปลได้ว่า “ผู้ประเสริฐอย่างยิ่ง”
ส่วนคำว่า “สารีริกธาตุ” นั้นแปลได้ว่า “พระธาตุส่วนย่อยซึ่งแยกออกจากพระสรีระกาย”
เมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ก็อาจแปลได้ว่า “พระธาตุส่วนย่อยซึ่งแยกออกจากพระสรีระกายของพระบรมศาสดาผู้ประเสริฐสุด”
แต่หากพูดอย่างภาษาชาวบ้านธรรมดาก็อาจเรียกได้ว่า “กระดูกของพระพุทธเจ้า” นั่นเอง
ที่เรียกว่า “พระธาตุส่วนย่อยซึ่งแยกออกจากพระสรีระกายของพระบรมศาสดาผู้ประเสริฐสุด”
ก็เนื่องด้วยพระบรมสารีริกธาตุนั้น มีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน และส่วนที่มีปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์โดยทั่วไปนั้น ล้วนเป็นประเภทที่แยกกระจัดกระจายจากกันทั้งสิ้น ดังจะปรากฏรายละเอียดในตอนต่อไป
การที่เราไม่เรียก “พระบรมสารีริกธาตุ” ของพระพุทธองค์ว่า “พระบรมอัฐิ” อย่างกระดูกของพระมหากษัตริย์ก็เพราะว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” นั้นมีคุณลักษณะและอานุภาพผิดแปลกแตกต่างกับกระดูกของมนุษย์สามัญธรรมดาเป็นอันมาก โดยมีลักษณะเป็น “ธาตุ” ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อมองดูผิวเผินแล้ว คล้ายหิน คล้ายแก้ว คล้ายเพชร ฯลฯ
โดยเหตุนี้ จึงมีผู้นิยมเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า “พระธาตุ”
แต่อย่างไรก็ดี คำว่า “พระธาตุ” นี้ ไม่อาจชี้ให้ชัดลงไปได้ว่าเป็นกระดูกของใครกันแน่ เพราะกระดูกของพระอรหันต์ ผู้เป็นอริยสงฆ์สาวก ก็จะมีลักษณะเป็น “พระธาตุ” อีกด้วยเช่นกัน และมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ผิดแผกแตกต่างไปจากกระดูกมนุษย์สามัญอีกเช่นกัน เพียงแต่ว่าแตกต่างไปจาก “พระธาตุ” ของพระพุทธองค์บ้างเท่านั้น
นอกจากนี้ คำว่า “พระธาตุ” เรายังอาจใช้หมายถึงพระสถูป หรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้อีกด้วย เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุกล่องข้าวน้อย พระธาตุไชยา ฯลฯ
แม้คำว่า “พระบรมธาตุ” ก็เช่นกัน แม้จะเจาะจงใช้เรียกเฉพาะกระดูกของพระพุทธเจ้าก็ตาม แต่ก็นิยมใช้เรียกพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกเช่นกัน เช่น พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุจังหวัดชัยนาท ฯลฯ
ดังนั้นรูปศัพท์ต่าง ๆ ที่หมายถึงกระดูกพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ เช่น พระธาตุ พระบรมธาตุ พระสรีระธาตุ พระอัฐิธาตุ ฯลฯ ล้วนแต่ไม่อาจชี้ให้ชัดลงไปได้ว่าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้าได้ทั้งสิ้น
โดยเหตุนี้จึงได้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ใช้เรียกเฉพาะกระดูกของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น คือคำว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” หมายถึงพระธาตุที่นับเนื่องหรือเป็นส่วนทางร่างกาย หรือ พระวรกายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิใช่พระธาตุของพระอรหันต์สาวก และมิได้หมายถึง พระธาตุเจดีย์ หรือ พระสถูปเจดีย์อีกต่อไป
เพราะฉะนั้น จะเป็นการถูกต้องที่สุด เหมาะสมที่สุดที่เราต้องเรียกพระบรมอัฐิของพระพุทธเจ้าของเราว่า “พระบรมสารีริกธาตุ” ให้เป็นการแน่นอนตายตัวลงไปโดยเด็ดขาด




ลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

ดังได้กล่าวมาแล้ว ว่าพระบรมธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุนั้น แท้ที่จริงก็คือ พระบรมอัฐิ หรือกระดูกขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ประทานกำเนิดพระบวรพระพุทธศาสนานั่นเอง
แต่ที่ไม่เรียก “พระบรมอัฐิ” ก็เป็นเพราะพระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะและอานุภาพแตกต่างจากกระดูกของมนุษย์ธรรมดาสามัญเป็นอันมาก ทั้งนี้ก็เพราะสมเด็จพระบรมศาสดาทรงเป็นพระอัจฉริยบุคคล อริยบุคคล และโลกุตรบุคคล กล่าวคือทรงเป็นบุคคลที่น่าอัศจรรย์ เป็นบุคคลที่ประเสริฐเลิศยิ่ง และ เป็นบุคคลที่อยู่เหนือโลก เป็นผู้ล่วงพ้นวิสัยของสามัญชนแล้วโดยสิ้นเชิง ได้ทรงสร้างสมบารมีไว้อย่างอเนกอนันต์ ตลอดกาลเวลาอันยาวนานยิ่ง
พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ และ บริบูรณ์ด้วยพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณอย่างยิ่งที่ไม่อาจจักมีบุคคลอื่นใดมาเปรียบได้ ทรงมีพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ไพศาลแผ่ซ่านตลอดไปทั่วทั้งจักรวาล ทรงเป็นผู้สำเร็จพระอรหัตตผล และบรรลุถึงซึ่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมวิเศษยอดยิ่ง ไม่มีสิ่งใดจะยิ่งไปกว่ายากที่ผู้ใดจะพึงบรรลุได้ ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ตาม
เพราะฉะนั้น กระดูกของพระพุทธองค์ หรือพระบรมสารีริกธาตุ จึงมีคุณลักษณะเป็นพิเศษเป็นของวิเศษผิดแผกแตกต่างไปจากกระดูกของปุถุชนธรรมดาโดยสิ้นเชิง
พระบรมสารีริกธาตุนี้ มิใช่มีลักษณะเหมือนดังกระดูกมนุษย์สามัญธรรมดาโดยทั่วไปหากแต่มีลักษณะเป็น “ธาตุ” ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อมองดูผิวเผินแล้วก็จะคล้ายไข่มุกขนาดเล็ก คล้ายหิน คล้ายแก้ว คล้ายเพชร ฯลฯ และมีสีสันวรรณะต่าง ๆ กัน เช่น ขาวสุกใส ขาวดุจงาช้าง เขียว เหลืองอ่อน แดงเรื่อ ๆ สีทอง ฯลฯ
พระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะคล้ายเพชรนั้นเท่าที่เคยพบมีอยู่ ๒ ชนิดด้วยกัน คือชนิดใสและชนิดขุ่น หากเป็นเพชรชนิดใสก็จะเป็นองค์ขนาดเล็ก ส่องแสงเป็นประกายแวววับจับตาเลยทีเดียว หากเป็นชนิดเพชรขุ่นก็จะมีองค์ขนาดเขื่องขึ้นมา แต่ทว่าไม่ส่องแสงเป็นประกายเท่ากับชนิดเพชรใส
เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุของพระอรหันตสาวกนั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. มีรูปพรรณสัณฐานต่าง ๆ กัน เช่น กลม เสี้ยว ยาว รี เป็นเหลี่ยม บางอย่างก็มีลักษณะคล้ายกระดูกคนธรรมดา ต่างแต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก วรรณะโดยทั่วไป จะออกเป็นมันเลื่อม มีสีต่าง ๆ เป็นต้นว่า ออกขาวเป็นงาช้าง ขาวสุกใส แดงเรื่อ ๆ เหลืองปนแดง เหลืองอ่อน ฯลฯ
๒. เมื่อมองดูโดยผิวเผินแล้ว คล้ายก้อนหิน ก้อนกรวด หรือไข่มุกขนาดเล็ก แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วก็จะมิใช่ก้อนหิน กรวด หรือไข่มุก เพราะมีน้ำหนักเบากว่ามาก และมีความดึงดูดคล้ายแม่เหล็กแต่ไม่แรงเท่าแม่เหล็ก กล่าวคือ ดูดวัตถุอื่น ๆ อย่างแม่เหล็กไม่ได้แต่มักจะรวมตัวเข้าหากัน
ด้วยเหตุนี้พระบรมสารีริกธาตุขนาดเล็กที่ลอยน้ำได้นั้น หากลอยคราวละหลาย ๆ องค์ก็มักจะรวมจับกลุ่มติดกันเป็นแพ และคงจะเป็นเพราะเหตุนี้เอง บรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่มีพระบรมสารีริกธาตุหากหมั่นปฏิบัติบูชาและถวายสักการะ ตามกรรมวิธีอันเหมาะสมแล้วก็จะบันดาลให้พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุองค์อื่น ๆ เสด็จปาฏิหาริย์มารวมอยู่ด้วยกันได้
๓. ความแตกต่างระหว่างพระบรมสารีริกธาตุกับก้อนหินก้อนกรวด ซึ่งมีรูปพรรณสัณฐาน สีสัน และขนาดไล่เลี่ยกัน อันจะพึงเห็นได้ชัดอีกประการหนึ่ง ก็คือการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เข้าช่วยวินิจฉัย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่มีสมรรถภาพสูงใช้สำหรับส่องเหล็ก ซึ่งสามารถว่องดูเนื้อโลหะทะลุทะลวงเข้าไปข้างในได้ เมื่อนำกล้องจุลทรรศน์ดังกล่าวมาส่องดูพระบรมสารีริกธาตุแล้วก็จะเห็นเป็นสีรุ้งทองส่องแสงวาววับจับตาน่าดูมาก
การลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุนั้นจะเป็นการลอยอย่างที่เรียกว่า ประดิษฐานอยู่เหนือน้ำจริง ๆ กล่าวคือจะเป็นแอ่งรองรับไว้เท่านั้น จะได้หุ้มห่อจับไว้เหมือนอย่างวัตถุลอยน้ำอย่างอื่น ๆ ก็หามิได้
หากเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้วจะมีลักษณะของน้ำ หรือประกายของน้ำ จะปรากฏให้เห็นเป็นแฉกเลยทีเดียว พระบรมสารีริกธาตุบางองค์เมื่อลอยไปลอยมาก็อาจจมลงในน้ำได้แต่ถ้าเราค่อย ๆ ช้อนขึ้นมาประจงวางลงบนพื้นน้ำใหม่ ก็อาจกลับลอยให้ปรากฏแก่สายตาได้อีก
นับว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ยิ่งประการหนึ่งในคุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งแตกต่างไปจากอัฐิธาตุของมนุษย์สามัญธรรมดาโดยทั่วไป







เหตุใดที่พระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดา

เหตุใดที่พระบรมสารีริกธาตุมีลักษณะแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาสามัญ ดังนี้
อาจารย์บุญมี เมยางกูร ผู้บรรยายพระอภิธรรมของอภิธรรมมูลนิธิ วัดพระเชตุพล ฯ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในปาฐกถา เรื่อง “อภินิหารบรมธาตุ” เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๒๑ มีความสำคัญตอนหนึ่งดังนี้
“ในพระพุทธศาสนาแสดงเรื่องรูปเอาไว้ว่า รูปต่าง ๆ ที่เราเห็น ๆ อยู่ต่อหน้านั้นมาจากหน่วยเล็ก ๆ ที่ละเอียดประณีตมากมารวมกันเราจึงมองเห็นและสัมผัสถูกต้องได้ ดังนั้นร่างกายของสัตว์ทั้งหลายจึงมาจากหน่วยเล็ก ๆ แต่มารวมกันจนเป็นแท่ง เป็นก้อนใหญ่
ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมปิฎกมาด้วยดีก็จะทราบว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายมาจากหน่วยเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นได้ หน่วยเล็ก ๆ เหล่านั้นเรียกว่า “อณู” และเมื่อเอา ๓๖ คูณเข้าไปก็จะเป็น ๑ ปรมาณู ( ๑ เมล็ดข้าวเปลือกแยกออกเป็น ๘๒ ล้านเศษส่วน ) ปรมาณูทั้งหลายนั้นย่อมเคลื่อนตัวเองอยู่เรื่อย ๆ หยุดไม่ได้ ทุกวินาทีด้วยอำนาจของอุตุ คือความร้อนทำให้รูปเปลี่ยนแปลงเป็นรูปใหม่อยู่เรื่อยไป อำนาจที่ทำให้รูปปรมาณูเปลี่ยนแปลงนั้น ในอภิธรรมเรียกว่า อุณทเตโช คือความร้อน หรือ สีตเตโช คือความเย็น ซึ่งก็ได้แก่ร้อนน้อยนั่นเอง
นอกจากอำนาจของเตโชแล้ว ในพระอภิธรรมปิฎกยังได้แสดงถึงเรื่องอำนาจของจิต เพราะจิตใจย่อมจะเข้าไปมีบทบาทแสดงออกได้ เพราะจิตมีอำนาจทำให้รูปผันแปรไปได้ เช่น การยืน การเดิน การหายใจ การย่อยอาหาร ตลอดจนไปถึงเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งในวิชาการทางโลกค้นคว้าเข้ามาไม่ถึงความพิสดารตลอดจนเหตุผลข้อเท็จจริงนี้มีอยู่ในพระอภิธรรมปิฎกมากมาย
นอกจากอำนาจของจิตแล้วยังมีอำนาจของกรรมที่เป็นตัวการเข้าไปมีอำนาจทำให้รูปเป็นไปได้ต่าง ๆ
ปรมาณุที่ประชุมกันเป็นร่างกายนั้นถูกอำนาจของกรรมทั้งที่เป็นบาปและเป็นบุญเข้ามาผันแปรเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปอยู่เสมอ ตลอดเวลา หรือทุก ๆ วินาที โดยมิได้มีหยุดเลย ทำให้ค่อย ๆ เปลี่ยนจากรูปเดิมมาเป็นรูปใหม่เรื่อย ๆ ไป ตั้งแต่เกิดไปจนถึงแก่ความตายในทางธรรมเรียกชื่อรูปนี้ว่า “กรรมชรูป” กรรมชรูปเข้าไปมีบทบาทกับร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นไปจนกว่าจะตาย เมื่อตายแล้วก็ได้ไปตั้งต้นใหม่ เช่น ทำให้ไม่มีรูปประสาทตา หรือ ทำประสาทตาให้ขาดตกบกพร่อง หรือ ทำให้ประสาทกายเสียหาย เช่น เป็นอัมพาต จนเดินเหินไม่ได้ เป็นต้น (เรื่องรูปอันเกิดจากอาหารจะของดเสีย ไม่กล่าว)
อำนาจของกรรมทำให้รูปกายของสัตว์ทั้งหลายเป็นไปได้ต่าง ๆ สารพัดอย่าง ทั่วทั้งร่างกายไม่ว่าจะเป็นภายนอก หรือ ภายใน หรือ แม้แต่ลายมือ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในขณะแรกไปจนถึงแก่ความตาย กรรมชรูปทำงานติดต่อกันไปไม่ขาดสาย ให้เป็นรูปสวยหรือไม่สวย สมบูรณ์หรือทุพพลภาพ ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายจึงเหมือนกันไม่ได้ และบางทีก็แตกต่างกันไปยิ่งกับฟ้ากับดินเสียอีก แม้ว่าจะเกิดจากพ่อแม่เดียวกัน
รูปร่างของสัตว์นรกรั้น น่าเกลียด น่ากลัว น่าอัศจรรย์ เล่าให้ใครฟังแล้วไม่ค่อยจะเชื่อ เพราะไม่น่าจะเป็นไปได้ แม้เปรตอสุรกายก็มิใช่ย่อย รูปร่างอธิบายไม่ได้ว่าจะคล้ายกับสัตว์อะไรในเมืองมนุษย์ เช่น ร่างกายเป็นคนแต่ตัวไม่มี หรือ ตัวเป็นก้อนเนื้อก้อนหนึ่ง หรือมีแต่โครงกระดูก เป็นต้น
สำหรับสัตว์เดรัจฉานในโลกมนุษย์ก็มีแปลก ๆ ต่าง ๆ จนมนุษย์ค้นคว้าเข้าไปไม่ไหว รูปหรืออวัยวะทั้งหลายเหล่านี้ก็หนีอำนาจของการผลิตสร้างขึ้นมาไม่ได้
รูปร่างของเทวดาก็โดยทำนองเดียวกัน เทวดาชั้นสูง ๆ นั้นช่างสวยสดงดงาม มีสีสันวรรณะงดงาม และมีแสงแวววาวน่าอัศจรรย์ใจ นั่นก็เพราะอำนาจของกรรมที่ได้ทำเอาไว้ในอดีตเป็นตัวการผลิตสร้างขึ้น
ผู้ที่ทำบาปมาก กรรมชรูปก็ทำรูปให้ไม่ดี ผู้ที่ทำบุญมาก อำนาจของกรรมชรูปก็ทำรูปให้ดี และบางท่านดีจริง ๆ เป็นพิเศษ จนเกิดความอัศจรรย์ใจแก่คนทั้งหลาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมานานแสนนาน ซึ่งเป็นอำนาจของกรรมชนิดพิเศษ เพราะมีแต่ความปรารถนาดีต่อมนุษย์และเทวดาให้ได้มีปัญญาในปัญหาชีวิต และเสนอแนะปัญญาให้เดินไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
พระองค์มิได้เบื่อหน่ายหรือท้อถอยในการที่จะช่วยสงเคราะห์แก่สัตว์โลก แม้จะเกิดมาจนนับชาติทีเกิดมาไม่ไหว และแม้พระองค์จะทนทุกข์ทรมานอย่างไรความปรารถนาอย่างหนักแน่นและรุนแรงอย่างไม่รู้เบื่อหน่ายที่จะช่วยสัตว์ทั้งหลายอย่างที่จะหาใครมาเปรียบเทียบให้ใกล้เคียงไม่ได้ อำนาจของมหากุศลกรรมจึงผลิตสร้างรูป คือพระสรีระของพระองค์ท่านให้ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน จนคนสมัยใหม่บางคนที่มิได้ศึกษาพระพุทธศาสนาเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะสุดวิสัยที่จะเป็นไปได้เช่นกัน
นอกจากอำนาจของกรรมในอดีตแล้วอำนาจของจิตของพระองค์ท่านก็ได้บากบั่นปฏิบัติจนได้อภิญญาจิตอำนาจพิเศษมาชาติแล้วชาติอีกจนนับชาติไม่ได้ และยังมีอำนาจจิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้โดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีผู้ใดคาดคะเนหรือหยั่งถึงได้อีกต่างหากด้วย จึงยากที่ผู้ใดจะพรรณนาให้ใกล้กับความจริงได้แล้วพระบรมธาตุของพระองค์ท่าน จึงไม่เหมือนกับผู้ใดในโลกนี้หรือโลกไหน”
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม แห่งวัดบ้านข่า ตำบลท่าบ่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพระกรรมฐานสำคัญรูปหนึ่งในสายพระอาจารย์ มั่น ภูริทัต เชื่อกันว่าท่านได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุถึงขั้นสูงสุดเช่นกัน ท่านได้มรณภาพไปเมื่อปี ๒๕๑๗ ได้ทราบมาว่าอัฐิของท่านบัดนี้ก็กลายเป็นพระธาตุไปแล้วเช่นกัน ท่านได้เคยกล่าวไว้กับบรรดาสานุศิษย์คราวหนึ่ง ว่าอำนาจตบะที่พระอริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียร เพื่อขัดเกลากิเลสนั้นมิได้แผดเผาเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผากระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน !
พระกัสสปมุนี เถราจารย์ แห่งสำนักสงฆ์ปิปผลิวนาราม บ้านค่าย จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระที่สำคัญรูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน ได้เคยกล่าวกับผู้เขียนเมื่อตอนบ่ายวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๑ ว่าการที่กระดูกของพระอริยบุคคลได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุไปนั้น ได้เป็นไปเองโดยอัตโนมัต ไม่ใช่เกิดจากท่านได้อธิษฐานบันดาลให้เป็นไป
ทั้งนี้เกิดแต่การที่ท่านมีมานะพากเพียร ขัดเกลาดวงจิตของท่านเองอย่างจริงจัง เพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลานั้น ได้ยังผลให้กระดูกของท่านพลอยได้รับการขัดเกลาให้กลายสภาพเป็นพระธาตุผิดแผกแตกต่างไปจากกระดูกของปุถุชนธรรมดาไปด้วยในขณะเดียวกัน !
รวมความว่า การที่พระบรมสารีริกธาตุก็ดี พระธาตุของพระอรหันตสาวกก็ดี มีลักษณะผิดแปลกไปจากกระดูกมนุษย์คนธรรมดาสามัญโดยสิ้นเชิงนั้น ก็เนื่องมาแต่อำนาจจิตของท่านที่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรมาอย่างอุกฤษฏ์จนกระแสจิตแก่กล้าสามารถประหารกิเลสให้ดับลงได้สนิท กอปรทั้งท่านได้สั่งสมบุญญาบารมีสร้างสรรค์แต่คุณงามความดีมีแต่ความเสียสละอย่างเอนกอนันต์ตลอดชั่วระยะกาลเวลาอันยาวนานยิ่งสืบต่อกันมาหลายแสนชาติ
ด้วยคุณอันล้ำเลิศ ที่บุคคลทั่วไปไม่อาจจะเจริญรอยพระยุคลบาทได้โดยง่ายนี้เอง ที่ทำให้พระบรมสารีริกธาตุ หรือกระดูกของพระพุทธองค์ ตลอดจนกระดูกของพระอรหันต์ มีคุณลักษณะไม่เหมือนกับกระดูกของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาโดยทั่วไปทั้งสิ้น
พระบรมสารีริกธาตุจึงนับเป็นมงคลวัตถุอันสูงสุด เป็นปูชนียวัตถุอันวิเศษสุดที่มนุษย์และเทวดาจักพึงหาได้ในโลกนี้
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระพุทธรูปนั้น แม้จะมีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์เพียงใดก็ตามก็เป้นแต่เพียงสิ่งสมมุติหล่อสำเร็จขึ้นมาจากโลหะต่าง ๆ ที่นำมาสร้างขึ้นเป็นองค์พระปฏิมาเท่านั้นหาใช่พระสรีระขององค์สมด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ยอมรับกันในหมู่บรรดาชาวพุทธว่า พระบรมสารีริกธาตุนั้นเป็นรัตนมงคลอันวิเศษสุดที่มนุษย์จักพึงแสวงหามาสักการบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนและสังคมได้
.......................................






ตัวอย่างพระธาตุของพระอริยบุคคลในยุคปัจจุบัน

เมื่อคิดโดยเหตุผลธรรมดาอย่างชาวโลกโดยทั่วไปที่จิตใจยังหนาไปด้วยกิเลสแล้วก็ทำให้ไม่น่าเชื่อเลยว่ากระดูกของพระพุทธเจ้า หรือ กระดูกของพระอรหันต์ จะกลายสภาพเป็น
“พระธาตุ” ไปได้ด้วยเหตุผลตามที่ได้กล่าวมา
ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีบุคคลบางคนในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นคนสำคัญเสียด้วยไม่ยอมเชื่อว่า พระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ ของพระอรหันตสาวก จะมีลักษณะตามที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากจะต้องมีสภาพเป็นอย่างกระดูกของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาเท่านั้น
บุคคลเหล่านี้ไม่ยอมศึกษาและแสวงหาข้อเท็จจริงใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากปักใจเชื่อมั่นตามทิฏฐิมานะของตนเป็นที่ตั้งเท่านั้น
หากเราจะพิจารณาจากพยานหลักฐานอันปรากฏการณ์จากพระอริยบุคคลในยุคปัจจุบันกันดูบ้างก็จะประจักษ์แจ้งในความเป็นจริงตามที่ได้กล่าวมาแล้วโดยไม่ยาก เพราะพระอริยบุคคลในยุคปัจจุบันหลายต่อหลายรูปด้วยกันที่ท่านได้มีวิริยะอุตสาหะตั้งหน้าบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดตลอดชีวิต จนดวงจิตของท่านหลุดพ้นจาก “โลกีย์วิสัย” ก้าวขึ้นไปสู่ “แดนโลกุตตระ” ได้เมื่อท่านได้มรณภาพทิ้งสังขารไปแล้ว การก็ปรากฏว่าอัฐิของท่านได้แปรสภาพจากกระดูกธรรมดากลายเป็น “พระธาตุ” ไปตาม ๆ กัน
ตัวอย่างพระอริยบุคคลที่ท่านมีคุณสมบัติตามที่ได้กล่าวมานี้ก็ได้แก่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล วัดดอนธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี
พระอาจารย์มั่น ภูริทัต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น จังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อเฟื่อง อินทวัณโณ วัดคงคาเลียบ หาดใหญ๋ จังหวัดสงขลา พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) วัดอาวุธวิกสิตาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
เฉพาะอย่างยิ่ง รายที่เป็นที่ทราบกันชัดกันแพร่หลายในหมู่บรรดาพุทธศาสนิกชนคนไทยในสมัยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานพอดูแล้ว ก็คือ พระธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัต ซึ่งทุกคนที่ข้องใจสงสัยจักใคร่ขอชมขอนมัสการให้เป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นบุญแก่สายตาของตนเองได้ที่ พิพิธภัณฑ์บริขาร พระอาจารย์มั่น ภูริทัต วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ลักษณะของพระธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัต นั้นดูน่าประหลาดมาก กล่าวคือ กระดูกของท่านแท้ ๆ มีสภาพเป็นดุจดังแก้วผลึก รูปพรรณสัณฐานโดยทั่วไปยังเป็นอย่างกระดูกธรรมดาเช่นเดิม แต่มีสีสันกลับโปร่งใสเป็นแก้วไปหมด ส่วนอังคารนั้นได้รวมตัวกันเข้าเป็นก้อนคล้ายก้อนหิน ก้อนกรวดขนาดเล็ก สีพิกุลแห้ง นี่ว่าตามความสังเกตุที่ได้ชมและนมัสการจากพิพิธภัณฑ์บริขารของท่านที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
พลับ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 24
ที่อยู่ (จังหวัด): ยโสธร

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 9:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สุนันท์
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 05 เม.ย. 2008
ตอบ: 126
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 10:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ ขอบคุณที่ให้ความรู้ เจ้าคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณที่ให้ความรู้ อนุโมทนาบุญด้วยเจ้าค่ะ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 12:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับขอบคุณมากเลยครับ ไม่เป็นไรครับ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง