Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
baramee10
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 10:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่



เนื้อหา

การอบรมเจริญภาวนา

ทั้งการอบรมเจริญความสงบ ซึ่งเป็นสมถะภาวนา และ

การอบรมเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนา

ต้องอาศัยปัญญาจึงจะเจริญได้เพราะเหตุว่า

ถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่างกุศลจิตและอกุศลจิต

ก็ย่อมจะเจริญสมถะ คือ ความสงบ หรือ วิปัสสนาไม่ได้



ฉะนั้นการอบรมเจริญความสงบของจิต จึงต้องมีสติสัมปชัญญะที่สามารถรู้

สภาพที่ต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตในขณะนี้เสียก่อน

แล้วจึงจะอบรมเจริญกุศลที่เป็นความสงบหรือที่เป็นวิปัสสนาได้



ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคก็มีผู้ที่อบรมเจริญความสงบของจิตถึงขั้นอรูปฌานขั้นสูงสุด คือ

ขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แต่ไม่ใช่หนทางดับกิเลสไม่ใช่หนทางดับทุกข์

การอบรมเจริญสมถะภาวนาจึงเป็นการเจริญกุศลจิตซึ่งสงบจากอกุศล จนจิตสงบมั่นคงเป็นสมาธิขั้นต่างๆ



เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว

จึงทรงแสดงพระธรรมเพื่ออนุเคราะห์บุคคลอื่นให้อบรมเจริญปัญญาจนสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้

การอบรมเจริญวิปัสสนา เป็นการอบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลส

ฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา ทั้งในสมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน

ตลอดมาจนถึงสมัยนี้และทุกสมัย จึงไม่จำเป็นต้องอบรมเจริญสมถะภาวนาถึงขั้นของฌานจิต



แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เจริญกุศลขั้นสมถะ

เพราะเหตุว่ากุศลทุกขั้นควรเจริญ

กุศลขั้นทานก็ควรเจริญ กุศลขั้นศีลก็ควรเจริญ

กุศลขั้นความสงบก็ควรเจริญ คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาต่อบุคคลอื่น

ระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาค คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์

ระลึกถึงคำสอนที่ทำให้จิตใจพ้นจากคามโลภ ความโกรธ ความหลง

ในขณะนั้นก็เป็นกุศลขั้นความสงบ เป็นการอบรมเจริญสมถะในชีวิตประจำวัน



เมื่อศึกษาโดยละเอียดจะเห็นได้ว่า การอบรมเจริญวิปัสสนานั้น เป็นการอบรมเจริญปัญญา

ที่สามารถรู้ชัดประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ คือ

ขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ในขณะนี้นั่นเอง



ฉะนั้น ที่ถามว่า การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นจะต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่

ก็ขอเรียนให้ทราบตามหลักมหาสติปัฎฐานสูตรว่าไม่จำเป็น

เพราะเหตุว่า เห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา

สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ได้ยินขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา

สติจะต้องระลึกจนกว่าจะรู้ชัดว่า ขณะที่กำลังคิดนึกไม่ใช่ตัวตน เป็นจิตที่กำลังคิดเรื่องราวต่างๆ

จิตแต่ละขณะแต่ละประเภทเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สติจะต้องระลึกรู้จนกว่าปัญญาจะประจักษ์แจ้ง ;

 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2004, 11:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้ไม่จำเป็นจะต้องฝึกสมาธิก็จริงครับ แต่เมื่อมีการเจริญสติเกิดขึ้น จิตก็มีสมาธิน้อยๆระดับขนิกสมาธิเกิดขึ้นด้วย กำลังสมาธิระดับขนิกสมาธินี่แหละทำให้สติเจริญขึ้น คือจิตไม่ฟุ้งซ่าน หรือพูดว่าขณะกำลังเจริญสตินั้นจิตไม่ปรุงแต่ง เช่นเราล้างถ้วยชามอยู่ เราก็รู้ว่าเรากำลังล้างถ้วยชาม กำลังเคลื่อนมือไปทางซ้ายหรือทางขวา หรือวนไปในขณะนั้น เราไม่คิดถึงเรื่องการไปดูหนัง หรือไปเที่ยว หรือคิดถึงเรื่องอื่นๆในขณะที่เรากำลังล้างชาม การที่เรารู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรในขณะเวลานั้นนั่นเอง เป็นการเจริญสติ และเราอาศัยกำลังของขณิกสมาธิให้สติและสัมปชัญญะเจริญกับความจริงในปัจจุบัรขณะนั้น
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 10:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุๆๆ ครับ



ขอเสริมความคิดเห็นของคุณโอ่นิดนึ่งนะครับ



เราต้องรู้ในสิ่งที่จิตรับรู้ในขณะนั้นๆ ไป แม้ขณะนั้นความคิดเกิดขึ้นก็รู้ความคิดที่เกิดขึ้น แต่เราไม่ปรุงแต่งต่อ หรือถ้าเป็นเรื่องที่ต้องคิดก็ต้องมีสติและสัมปชัญญะ คือมีความระลึกรู้ว่ากำลังคิด กำลังทำอะไร อยู่ในปัจจุบันขณะ และที่สำคัญคือความไม่ลืมตัวทั่วพร้อม



นักปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วจะตามความคิด หรือไม่ก็ไปคิดเพื่อจะให้ความคิดนั้นหยุด ซึ่งเป็นปัญหามากสำหรับนักปฏิบัติ



การตามความคิดนั้น ยังคงตกเป็นทาสของความคิดปรุงแต่งอยู่ และการคิดเพื่อต้องการหยุดความคิดที่กำลังนั้นก็ยังเป็นทาสของคิดปรุงแต่งเหมือน ประเภทติดดี ติดชั่ว ทำนองนั้น



เมื่อจำเป็นต้องคิดก็ปล่อยให้คิดไปตามเรื่องราว แต่ควรมีสติสัมปชัญญะไปด้วย



การปฏิบัติวิปัสสนาก็การเจริญสมาธิไปในตัวด้วย แต่เป็นสมาธิดังที่คุณโอ่กล่าวมาแล้วข้างต้น ฉะนั้นก็ไม่ต้องไปกังวลว่าปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจะไม่มีสมาธิ



เรื่องสมาธินี้เราควรต้องทำความเข้าใจเสีย อย่าไปยึดติดกับเรื่องสมาธิที่ต้องนั่งขัดสมาธิหลับตา กำหนดหรือบริกรรมต่างๆ นั้นเป็นการฝึกสมาธิเต็มรูปแบบ และเน้นเรื่องสมาธิเป็นหลัก แต่การปฏิบัติวิปัสสนานั้นได้ตัดรูปแบบทำนองนั้นออกไป หรือบางคนก็ยังปฏิบัติสมาธิทั่วไปแต่วิธีปฏิบัติภายในนั้นแตกต่างไปจากสมาธิ จนบางคนแยกไม่ออกว่าบุคคลนั้นกำลังปฏิบัติวิปัสสนาหรือสมถอยู่







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกสมาธิสำคัญก็ตรงว่าจะต้องมีสติอยู่นั่นเองในจุดๆเดียว ดังนั้นคนฝึกสมาธิก็คือการฝึกสตินั่นเอง



ถามว่าจำเป็นไหมต้องฝึกสมาธิ (เพื่อให้สติสมบูรณ์) ก็ต้องตอบว่าจำเป็นต้องมีทั้งสมถะ และวิปัสนาฯ คู่กัน มีอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เหมือนคนมีมีดคมแต่ไม่มีแรงตัด ไหนเลยต้นไม้จะขาด แต่คนมีกำลังมากแต่ว่ามีดไม่คม ฟันก็ไม่ขาดอีกเหมือนกัน ฉันใดก็ฉันนั้น ต้องมีทั้งแรงและมีดที่คมด้วย จึงเรียกว่ามรรคสมังคีไงครับ



แต่การเจริญสติสัมปชัญญะ ก็จะเป็นสมาธิก่อนนั้นเอง แล้วเมื่อพิจราณาด้วยปัญญาจึงเป็นวิปัสนา ยังไงก็หนีสมาธิไม่พ้นหรอก ครับ
 
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 12:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมว่าบางที คนที่เจริญสติปัฏฐานสี่ มีสมาธิแล้วยังไม่รู้จักหน้าสมาธิคือไม่รู้ว่านี่เรียกว่าสมาธิ หรือเรียกว่าอันนี้เป็นฌานก็มี แต่ก็บอกคนอื่นว่าไม่เคยได้ฌาน อันนี้คนที่ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนก็เลยงง ครับ
 
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 1:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



93109310.jpg


อนุโมทนาสำหรับคำตอบของคุณตนุวัติ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 3:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญสติตามหลักสติปัฏฐานสี่ ทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วสติไม่ได้หายไป แต่สติจะสมบูรณ์กว่าเดิม กว่าตอนที่ไม่มีสมาธิอีก เรื่องนี้ไม่มีใครพูดเลย แต่มักพูดให้เข้าใจว่าเมื่อมีสมาธิแล้วไม่มีสติ คือถ้าเข้าอัปณาสมาธิ สมาธิจะเอาแต่นิ่ง

ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว เพราะต้องปล่อยวางอารมณ์ จึงจะได้สมาธิ ถ้าปล่อยวางอารมณ์ต่างๆไม่ได้ สมาธิก็จะะไม่เกิด ไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวการที่กำหนดระลึกในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นลมหายใจ เมื่อลมหายใจละเอียดแล้วมิได้ตามลมหายใจเข้าออก เมื่อลมหายใจละเอียดนั้น จริงๆแล้วจิตเราต่างหากที่ละเอียด และเราจะรู้ว่าลมหายใจหายไป แต่ไม่สนใจไม่กังวลว่าลมหายใจหายไปนั้นเลย สติยังคงกำหนดรู้ว่าเราหายใจอยู่ ระลึกอยู่ในฐานที่จิตนั้นตั้งไว้ การที่สติระลึกนั้น ไม่ได้เป็นการติด ไม่ได้เป็นการยึดมั่นถือมั่น แต่เป็นการระกเพียงเพื่อได้เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น ดังนั้นจึงมีอารมณ์ที่ปล่อยวางอยู่ตลอด เมื่อการปล่อยวางนั้นมีดุลยภาพ การปล่อยอารมณ์นั้นจะนุ่มนวล อ่อนโยน จิตก็จะอ่อนสลวยควรแก่การงานในขณะเวลานั้น จิตวางอารมณ์ต่างๆลงและรวมตัว เมื่อรวมตัวแล้วถ้ากำหนดสติรู้ให้เข้มแข็ง ให้สติเข้มแข็ง เพราะว่าในสมาธินั้นมีสติที่เป็นตัวรู้อยู่ มิใช่ไม่มีสติ แต่สติที่เป็นตัวรู้ในสมาธินั้นไม่สามารถที่จะรู้ความเป็นจริงที่เป็นสิ่งหยาบๆ ความเป็นจริงที่เป็นสิ่งหยาบๆนั้นยังมิใช่ความจริงตามธรรมะ แต่ในอารมณ์สมาธิที่มีสตินั้น ถ้าจิตเป็นสุขอันเกิดจากสมาธิ สตินั้นย่อมรู้ในสุขนั้น ความฉลาดและปัญญาแห่งสตินั้นจะทำให้จิตกำหนดรู้ว่ากำลังเสวยเวทนาจากสุข ในความสุขนั้นมิได้หยุดนิ่ง เพราะสุขนั่นประณีต มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สตินั่นเองที่เห็นเวทนาอันละเอียดนั้นว่ามันเกิดแล้วดับอย่างไร เห็นไปตามความเป็นจริงนั้น เพราะมีสมาธิ สติจึงสมบูรณ์กว่าไม่มีสมาธิ และการพิจารณาธรรมอันละเอียดประณีตในสมาธิก็เป็นสิ่งที่เห็นความจริงเหมือนเจริญสติหยาบๆ แต่เห็นได้ดีกว่า ประณีตกว่า เพราะไม่มีสิ่งรบกวน ไม่มีสิ่งเป็นอุปสรรค แต่การพิจารณาเช่นนี้จะพิจารณาในตอนที่ได้สมาธิระยะแรกๆไม่ได้ เมื่อมีประสบการณ์มีความชำนาญในการเข้าออกสมาธิแล้ว การพิจารณาธรรมในสมาธิสามารถกำหนดระดับสมาธิให้เหมาะสมต้องการได้ การมีสมาธิดีกว่าไม่มี ดีกว่าเจริญอย่างหายบๆ

แต่การกำหนดว่าจะทำสมาธิให้ได้อย่างนั้น อย่างนี้ในหมู่ผู้ปฏิบัตินั้นกำหนดไม่ได้ เพราะว่าวาสนาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นคนจึงเป็นไปตามวาสนาของตนในการภาวนา แต่สิ่งที่ตนได้ คนอื่นได้อีกอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ว่าใครจะต้องผิด และเราจะต้องถูก เมื่อมีประสบการณ์สมาธิแล้ว จะรู้เองว่าเจริญสติปัฏฐานสี่นั้น ต้องได้สัมมาสมาธิ ยกเว้นที่ไม่เจริญสติปัฏฐาน คือไม่อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรมเท่านั้น
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 3:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นสมาธิชัดแล้วรู้ทันที รู้ชัด อุปจารก็รู้ อัปณาก็รู้ชัด ไม่สงสัยเลย ที่ไม่รู้นั้นรยังไม่เป็น แต่อาจใกล้จะเป็นพ อเป็นต้องรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และชัดเจนแจ่มแจ้งปราศจากข้อสงสัย
 
sa-ard
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 03 มิ.ย. 2004
ตอบ: 32

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาครับ คุณโอ่ ดนุวัติและสายลม

ในสมาธินั้นมีสติ ไม่งั้นไม่มีทางรู้ลมหายใจหรือองค์ภาวนา ผู้ที่ผ่านจะรู้ดี

ถ้าคิดตามที่อ่านหรือฟังการบรรยาย ยังไม่พอ การสอนธรรมแต่ละยุคอาจทำให้การประเมินค่าสมาธิต่ำไป วิปัสสนา สมาธิความสำคัญเท่ากัน





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2004, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ท่านสายลม, คุณโอ่, คุณดนุวัติ



คุณโอ่ แสดงความคิดเห็นได้ดีมากๆ เลยค่ะ อนุโมทนาด้วยค่ะ

เวลาพิมพ์ คุณโอ่ เว้นวรรค และแยกบรรทัดบ้างก็ดีนะคะ จะทำให้น่าอ่าน

มากยิ่งขึ้นค่ะ เพราะถ้ายาวติดกันเกินไป บางทีทำให้อ่านยากค่ะ



เกือบอ่านข้ามของคุณโอ่ไปเสียแล้ว ถ้าไม่ได้อ่านเสียดายแย่ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 3:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่อ้างประสบการณ์อย่างเดียว แต่ไปค้นในสติปัฏฐานสี่ มาอ่านอย่างละเอียด พบว่าในสติปัฏฐานสี่ก็บอกว่าในฌานมีสติด้วยจริงๆ ผมเลยเอามาลงในห้วข้อใหม่ข้างบนลองอ่านดูครับ นี้เป็นพระพุทธพจน์เลย แต่ไม่รู้ทำไมคนจึงค่อนข้างดูแคลนสมาธิ คิดว่าการได้ฌานต้องเหมือนฤษียุคก่อนอยู่เรื่อย ทั้งที่พระพุทธเจ้าได้สอนสัมมาสมาธิแล้ว และเป็นองค์มรรคด้วย
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 4:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยกับความเห็นในกระทู้และผู้ตอบ..

แสดงธรรมได้ลึกซึ้งมาก..และเป็นธรรมที่สำคัญมาก

เป็นธรรมที่พระพุทธองค์..ชี้ทางไว้ให้พวกเราเดิน..



คงเพียงขอเสริมความเห็นอีกเล็กน้อย..ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก

กระทู้ที่ตั้งมา..แสดงองค์ธรรม ได้แก่ สมาธิ และ สติ



ขอกล่าวว่า....

ทั้งสองนี้...เป็นเจตสิกที่เกิดในจิต

ทั้งสองนี้...เป็นสังขารขันธ์เหมือนกัน..

ทั้งสองนี้...เป็นโสภณเจตสิก..คือสวยงามทั้งคู่

ทั้งสองนี้...กุศลเจตสิก..คือให้ผลดีทั้งคู่

ทั้งสองนี้...ที่ในกุศลจิต..จะเกิดพร้อมกันเสมอ..ดับพร้อมกันเสมอ

ทั้งสองนี้...เป็นธรรมให้ถึงพระนิพพานเหมือนกัน (โพชฌงค์ 7)



ถึงแม้ธรรมทั้งสองอย่างจะมีหลายอย่างเหมือนกัน..

แต่โดยสภาวะธรรมนั้นต่างกัน..

ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสามารถแยกแยะได้...และแสดงแก่สาวกให้เข้าใจ



กล่าวสั้นๆว่า..

สมาธิหมายถึง...การที่จิตมีอารมณ์เดียว

สติหมายถึง......การระลึกได้..



ซึ่งท่านผู้ตอบได้แสดงไว้ครบถ้วนแล้ว...ดีแล้ว



ผมอยากแสดงต่อไปว่า...

เราจะใช้ผลของสมาธิและผลของสติกันต่อไปอย่างไร..



ซึ่งเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์แสดงไว้ที่..

ตอนท้ายของมหาสติปัฏฐานสูตรเสมอ..

ซึ่งมักไม่ค่อยนำมาแสดงกันต่อ...มักหยุดกันแค่นี้



ทรงแสดงต่อไปว่า...



เธอย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นภายในบ้าง

เธอย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นภายนอกบ้าง

เธอย่อพิจารณาเห็นความเสื่อมภายในกายบ้าง

เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปภายนอกบ้าง...ฯลฯ

เธอย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปทั้งภายในและภายนอกบ้าง....



ฯลฯ



หมายความว่า..การเจริญสติและการเจริญสมาธิ..มีที่ใช้งาน



เอาไปพิจารณาให้เห็นธรรมต่างๆ..ตามความเป็นจริง

เพื่อให้เห็นความจริงของธรรมชาติของร่างกาย...จิตใจ...และสิ่งที่อยู่ในจิตใจ



ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร...

ว่าตั้งอยู่ได้อย่างไร...

ว่าดับได้อย่างไร...



เมื่อเห็นแล้ว...ก็สาวไปหาเหตุอีกว่า



อะไรเป็นเหตุให้เกิด..

อะไรเป็นเหตุให้ตั้งอยู่

อะไรเป็นเหตุให้ดับไป



เมื่อทราบเหตุแล้ว...

ก็สาวไปอีกว่าจะดับเหตุอย่างไร



เมื่อทราบวิธีดับเหตุแล้ว...ก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้



ดังนั้นการฝึกสมาธิและสติ...จึงมีความสำคัญมาก...

เป็นการฝึกที่มีประโยชน์มาก...สมควรเจริญธรรมหมวดนี้



ก็ขอแสดงสนับสนุนมาแค่นี้ครับ























 
sa-ard
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 03 มิ.ย. 2004
ตอบ: 32

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตติยฌาน

เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่



จตุตถฌาน

เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่



***ที่ยกมาก็เพื่อบอกว่าในสมาธิก็มีสติอยู่ แล้วแต่ว่าเราจะนำไปใช้งานต่อไปอย่างไร


http://dharma.school.net.th/cgi-bin/tsearch.pl
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การวิปัสสนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอารมณ์วิปัสสนาจะต้องมีการเจริญสติก่อน เราอาจเรียกว่าการเจริญภาวนาแทนการเรียกว่าวิปัสสนา



ขั้นตอนน่าเป็นดังนี้

1 เจริญสติ

2 จะได้สมาธิ (ขณิก, อุปจาร, หรืออัปนา) อย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดจากผลการเจริญสติ

3 ข้อนี้จะไปได้สองทาง คือ 3.1 ได้อารมณ์วิปัสสนา 3.2 ได้ฌาน

4 กรณีได้ฌานก็สามารถเอาอารมณ์ฌานมาใช้ทำให้มีสมาธิพิจารณาธรรมที่ประเกิดแก่ใจ และเป็นขั้นตอนของการเกิดวิปัสสนา ในกรณีไม่ได้ฌานก็เจริญสติด้วยสมาธิเพียงเล็กน้อยไป ก็ได้อารมณ์วิปัสสนาได้ตามกำลังที่ให้ธรรมปรากฏแก่ใจ เมื่อปรากฏก็สักแต่รู้ ไม่ยินดียินร้าย สักแต่รู้ไปเท่านั้น ความรู้การเจริญสตินี้ก็ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ



แต่จะเห็นว่าสสมาธินั้นแม้ไม่ได้ตั้งใจเจริญให้เป็น แต่การเจริญสติก็ทำให้มีกำลังสมาธิไม่มากก็น้อย



สมาธิเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น



ขระเดียวกันความตั้งใจจะให้ได้ฌาน หรือได้อัปนาสมาธิ ด้วยการเจริญสติ เป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ เพราะแต่ละคนจะเป็นสมาธิมากน้อย เป็นไปตามอุปนิสัย วิธีการภาวนา ที่จะทำให้สมาธิเกิดในรูปนั้นๆตามวาสนา ไปฝืนให้เกิดตามต้องการที่อยากจะได้ คงเป็นไปไม่ได้



แต่ถ้าเกิดสมาธิแล้วไปหลงในสมาธิ ทั้งที่มีจุดมุ่งมั่นจะพิจารณาธรรม อันนี้ต้องแก้ไข



แต่คนที่ไม่ต้องการเข้าโลกุตรมรรค ไม่เป็นไร เขาจะเจริญสติพอสมควร แต่ไม่ต้องการบรรลุอริยบุคคล บุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในองค์ต่อๆไป รวมทั้งผู้ที่จะเป็นพุทธบิดา พุทธมารดา



บุคคลในกลุ่มที่ว่านี้ก็มีมาก และเราจะไปให้บุคคลกลุ่มนี้ พิจารณาธรรมเจริญสติเพื่อบรรลุโสดาบันเสียก่อน เพื่อปลอดภัยในภพ ย่อมยาก เพราะเขาไม่มีความต้องการโสดาปัตติผลในปัจจุบันเลย ขารู้ว่ามีค่า แต่เอาไปให้เขาก็ไม่เอา เพราะอริยบุคคลที่เขาต้องการอยู่คนละกาลเวลา



ดังนั้นเราไม่ต้องไปจริตวิตกที่จะให้คนบรรลุโสดาบันเลย เพราะคนแต่ละคนมีเส้นทางธรรมของตนเอง เป็นการอธิษฐานมาแต่อดีตมาก่อน บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายขวา บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายซ้าย ของพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไป



อย่าคิดว่าทุกคนต้องการบรรลุโสดาบันหมด คนได้ฌานส่วนใหญ่เขาจะรู้ว่าตัวเขาได้ตั้งความปรารถนาอย่างไรในอดีต เขาย่อมเห็นทุกขื เข้าใจอริยสัจจ์ได้ดี กลัวความไม่ปลอดภัยในวัฏฏสังสาร มีหิริโอตตัปปะ อย่างดี แต่ก็จะไม่เจริญอริยมรรคเพื่อบรรลุธรรมในศาสนาปัจจุบัน



คนได้ฌานอาจไม่หลงในฌานหรอก เพราะเขาย่อมมีปัญญาจึงได้ฌาน แต่เขาอาจมีเป้าหมายที่แตกต่างจากบางคนคิด นี่ก็เป็นวิสัยของแต่ละคน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การวิปัสสนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอารมณ์วิปัสสนาจะต้องมีการเจริญสติก่อน เราอาจเรียกว่าการเจริญภาวนาแทนการเรียกว่าวิปัสสนา



ขั้นตอนน่าเป็นดังนี้

1 เจริญสติ

2 จะได้สมาธิ (ขณิก, อุปจาร, หรืออัปนา) อย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดจากผลการเจริญสติ

3 ข้อนี้จะไปได้สองทาง คือ 3.1 ได้อารมณ์วิปัสสนา 3.2 ได้ฌาน

4 กรณีได้ฌานก็สามารถเอาอารมณ์ฌานมาใช้ทำให้มีสมาธิพิจารณาธรรมที่ประเกิดแก่ใจ และเป็นขั้นตอนของการเกิดวิปัสสนา ในกรณีไม่ได้ฌานก็เจริญสติด้วยสมาธิเพียงเล็กน้อยไป ก็ได้อารมณ์วิปัสสนาได้ตามกำลังที่ให้ธรรมปรากฏแก่ใจ เมื่อปรากฏก็สักแต่รู้ ไม่ยินดียินร้าย สักแต่รู้ไปเท่านั้น ความรู้การเจริญสตินี้ก็ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ



แต่จะเห็นว่าสสมาธินั้นแม้ไม่ได้ตั้งใจเจริญให้เป็น แต่การเจริญสติก็ทำให้มีกำลังสมาธิไม่มากก็น้อย



สมาธิเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น



ขระเดียวกันความตั้งใจจะให้ได้ฌาน หรือได้อัปนาสมาธิ ด้วยการเจริญสติ เป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ เพราะแต่ละคนจะเป็นสมาธิมากน้อย เป็นไปตามอุปนิสัย วิธีการภาวนา ที่จะทำให้สมาธิเกิดในรูปนั้นๆตามวาสนา ไปฝืนให้เกิดตามต้องการที่อยากจะได้ คงเป็นไปไม่ได้



แต่ถ้าเกิดสมาธิแล้วไปหลงในสมาธิ ทั้งที่มีจุดมุ่งมั่นจะพิจารณาธรรม อันนี้ต้องแก้ไข



แต่คนที่ไม่ต้องการเข้าโลกุตรมรรค ไม่เป็นไร เขาจะเจริญสติพอสมควร แต่ไม่ต้องการบรรลุอริยบุคคล บุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในองค์ต่อๆไป รวมทั้งผู้ที่จะเป็นพุทธบิดา พุทธมารดา



บุคคลในกลุ่มที่ว่านี้ก็มีมาก และเราจะไปให้บุคคลกลุ่มนี้ พิจารณาธรรมเจริญสติเพื่อบรรลุโสดาบันเสียก่อน เพื่อปลอดภัยในภพ ย่อมยาก เพราะเขาไม่มีความต้องการโสดาปัตติผลในปัจจุบันเลย ขารู้ว่ามีค่า แต่เอาไปให้เขาก็ไม่เอา เพราะอริยบุคคลที่เขาต้องการอยู่คนละกาลเวลา



ดังนั้นเราไม่ต้องไปจริตวิตกที่จะให้คนบรรลุโสดาบันเลย เพราะคนแต่ละคนมีเส้นทางธรรมของตนเอง เป็นการอธิษฐานมาแต่อดีตมาก่อน บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายขวา บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายซ้าย ของพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไป



อย่าคิดว่าทุกคนต้องการบรรลุโสดาบันหมด คนได้ฌานส่วนใหญ่เขาจะรู้ว่าตัวเขาได้ตั้งความปรารถนาอย่างไรในอดีต เขาย่อมเห็นทุกขื เข้าใจอริยสัจจ์ได้ดี กลัวความไม่ปลอดภัยในวัฏฏสังสาร มีหิริโอตตัปปะ อย่างดี แต่ก็จะไม่เจริญอริยมรรคเพื่อบรรลุธรรมในศาสนาปัจจุบัน



คนได้ฌานอาจไม่หลงในฌานหรอก เพราะเขาย่อมมีปัญญาจึงได้ฌาน แต่เขาอาจมีเป้าหมายที่แตกต่างจากบางคนคิด นี่ก็เป็นวิสัยของแต่ละคน
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การวิปัสสนาจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอารมณ์วิปัสสนาจะต้องมีการเจริญสติก่อน เราอาจเรียกว่าการเจริญภาวนาแทนการเรียกว่าวิปัสสนา



ขั้นตอนน่าเป็นดังนี้

1 เจริญสติ

2 จะได้สมาธิ (ขณิก, อุปจาร, หรืออัปนา) อย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดจากผลการเจริญสติ

3 ข้อนี้จะไปได้สองทาง คือ 3.1 ได้อารมณ์วิปัสสนา 3.2 ได้ฌาน

4 กรณีได้ฌานก็สามารถเอาอารมณ์ฌานมาใช้ทำให้มีสมาธิพิจารณาธรรมที่ประเกิดแก่ใจ และเป็นขั้นตอนของการเกิดวิปัสสนา ในกรณีไม่ได้ฌานก็เจริญสติด้วยสมาธิเพียงเล็กน้อยไป ก็ได้อารมณ์วิปัสสนาได้ตามกำลังที่ให้ธรรมปรากฏแก่ใจ เมื่อปรากฏก็สักแต่รู้ ไม่ยินดียินร้าย สักแต่รู้ไปเท่านั้น ความรู้การเจริญสตินี้ก็ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ



แต่จะเห็นว่าสสมาธินั้นแม้ไม่ได้ตั้งใจเจริญให้เป็น แต่การเจริญสติก็ทำให้มีกำลังสมาธิไม่มากก็น้อย



สมาธิเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น



ขระเดียวกันความตั้งใจจะให้ได้ฌาน หรือได้อัปนาสมาธิ ด้วยการเจริญสติ เป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ เพราะแต่ละคนจะเป็นสมาธิมากน้อย เป็นไปตามอุปนิสัย วิธีการภาวนา ที่จะทำให้สมาธิเกิดในรูปนั้นๆตามวาสนา ไปฝืนให้เกิดตามต้องการที่อยากจะได้ คงเป็นไปไม่ได้



แต่ถ้าเกิดสมาธิแล้วไปหลงในสมาธิ ทั้งที่มีจุดมุ่งมั่นจะพิจารณาธรรม อันนี้ต้องแก้ไข



แต่คนที่ไม่ต้องการเข้าโลกุตรมรรค ไม่เป็นไร เขาจะเจริญสติพอสมควร แต่ไม่ต้องการบรรลุอริยบุคคล บุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ปรารถนาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในองค์ต่อๆไป รวมทั้งผู้ที่จะเป็นพุทธบิดา พุทธมารดา



บุคคลในกลุ่มที่ว่านี้ก็มีมาก และเราจะไปให้บุคคลกลุ่มนี้ พิจารณาธรรมเจริญสติเพื่อบรรลุโสดาบันเสียก่อน เพื่อปลอดภัยในภพ ย่อมยาก เพราะเขาไม่มีความต้องการโสดาปัตติผลในปัจจุบันเลย ขารู้ว่ามีค่า แต่เอาไปให้เขาก็ไม่เอา เพราะอริยบุคคลที่เขาต้องการอยู่คนละกาลเวลา



ดังนั้นเราไม่ต้องไปจริตวิตกที่จะให้คนบรรลุโสดาบันเลย เพราะคนแต่ละคนมีเส้นทางธรรมของตนเอง เป็นการอธิษฐานมาแต่อดีตมาก่อน บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายขวา บางคนไปเป็นสาวกฝ่ายซ้าย ของพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไป



อย่าคิดว่าทุกคนต้องการบรรลุโสดาบันหมด คนได้ฌานส่วนใหญ่เขาจะรู้ว่าตัวเขาได้ตั้งความปรารถนาอย่างไรในอดีต เขาย่อมเห็นทุกขื เข้าใจอริยสัจจ์ได้ดี กลัวความไม่ปลอดภัยในวัฏฏสังสาร มีหิริโอตตัปปะ อย่างดี แต่ก็จะไม่เจริญอริยมรรคเพื่อบรรลุธรรมในศาสนาปัจจุบัน



คนได้ฌานอาจไม่หลงในฌานหรอก เพราะเขาย่อมมีปัญญาจึงได้ฌาน แต่เขาอาจมีเป้าหมายที่แตกต่างจากบางคนคิด นี่ก็เป็นวิสัยของแต่ละคน
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง