Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไม่พัก ไม่เพียร ...จึงพ้นทุกข์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีพระสูตร

ที่ตรัสกล่าวถึง การไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆสงสาร




โอฆตรณสูตรที่ ๑

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์
ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้
อย่างไรเล่า ฯ
พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว
ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

[๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล
เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 4:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โพธิปักขิยธรรมจากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


อินทรีย์ ๕ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน

หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน

ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เข้าใจเข้าถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญาให้สม่ำเสมอสมดุลกัน

ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่าง ๆ รบกวน ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะและสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไป และเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ

ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่นเป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น




วิริยะ ที่ต้องถ่วงดุลย์กับ สมาธิ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีประโยชน์

วิริยะ คือ เพียร..ทั้งทางกาย(มุ่งเดินจงกรม นั่งสมาธิ) และ ใจ(มุ่งมั่นจะรู้ธรรมให้ได้ ).... วิริยะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ ถ้ามากเกินไป ก็จะกลายเป็นทรมานร่างกาย หรือ เวลาเจริญภาวนาจะตั้งใจมากจนเกินไป เสียสภาพความเป็นธรรมชาติ-ความนุ่มนวลของจิตอย่างที่ควร.

จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

"เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน

เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"


ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมาธิ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์.

กล่าว ง่ายๆ ก็คือ ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง

ในทางกลับกัน ถ้าสมาธิ(หรือ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์)มากไป ก็จะกลายเป็นติดสุขจากสมาธิ เป็นพระฤาษีไป... เพราะ สมาธิที่มากไป ความเกรียจคร้าน(โกสัชชะ)ก็จะเข้าครอบงำ... คือ เอะอะอะไร ก็จะทำจิตให้สงบฝ่ายเดียว โดยไม่ใช้อานิสงส์แห่งสมาธิมาพิจารณาสภาวธรรม



ส่วน สติ....นั้น ไม่มีคำว่ามากเกิน ยิ่งมากยิ่งดี

เพราะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้มีสติสมบูรณ์พร้อม

จาก หนังสือพุทธธรรม

"ส่วนสติ เป็นข้อยกเว้น ....ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยธรรมข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น..."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เกี่ยวกับเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมจนมากเกินไป(วิริยะมากเกินไป)

เป็น บทวิสัชชนาธรรม

โดย หลวงปู่ ชา สุภัทโท


ปุจฉา ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

วิสัชชนา เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น

ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัย และ ความกระวนกระวายใจ

ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น

ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย

จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ratchadapa
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 05 ม.ค. 2008
ตอบ: 84
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุค่ะ

เป็นพระสูตรที่รู้สึกว่าไพเราะมาก พระพุทธองค์ทรงสอนถึงความสุดโต่งสองด้านที่ไม่นำไปสู่ความพ้นจากสังสารวัฏฏ์

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว

ได้ยินได้ฟังครั้งใด ก็มีปิติเสมอ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
พวกเธอจงยินดีในความไม่ประมาท
จงระมัดระวังจิตของตน
จงถอนตนออกจากหล่มกิเลส
เหมือนพญาช้างติดหล่ม
พยายามช่วยตัวเอง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 10:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ


สาธุ สาธุ สาธุ สาธุครับอาจารย์ สาธุ สาธุ สาธุ

พัก คือ หย่อน หรือขี้เกียจเกินไป
เพียร คือ ขยันมากไป หรือมีความอยากมากๆที่จะบรรลุ

หมายความว่าเดินสายกลางไม่หย่อนไม่ตึงจึงจะดีใช่ไหมครับ....

ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 10:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

All is one ; one is all

” ถ้าเห็นหนึ่งจะเห็นทั้งหมด แต่ถ้าพยายามจะเห็นทั้งหมด จะไม่เห็นอะไรเลย "

สู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 7:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาณ พิมพ์ว่า:


สาธุ สาธุ สาธุ สาธุครับอาจารย์ สาธุ สาธุ สาธุ

พัก คือ หย่อน หรือขี้เกียจเกินไป
เพียร คือ ขยันมากไป หรือมีความอยากมากๆที่จะบรรลุ

หมายความว่าเดินสายกลางไม่หย่อนไม่ตึงจึงจะดีใช่ไหมครับ....

ยิ้มเห็นฟัน




อย่า เรียกผมว่า อาจารย์เลยครับ
ยังห่างไกลจากฐานะนั้นมาก

เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ที่มาร่วมเสวนาธรรมกัน ก็พอ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 7:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านเจ้าคุณๆ ท่านอธิบาย เรื่องการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ไว้
มี เพิ่มเติมดังนี้


จากหนังสือพุทธธรรม หน้า 877

"คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน โดยย้ำว่า ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์อื่นเหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน"


และจากหมายเหตุด้านล่าง

"เรื่องการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันนี้ จับความจาก วิสุทธิ.1/164-5
;เข้าใจว่า ความคิดในการวางหลักนี้ ท่านคงตั้งเค้าจากพุทธพจน์ ว่าให้ตระหนักชัดถึงความเสมอกันแห่งอินทรีย์ที่ วินย.5/2/7
;อง. ฉกก. 22/326/320"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ย. 2008, 11:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่เพียร ... คือขาดสติ
ไม่พัก ..... คือปรุงสติ

อะไรที่อยู่ตรงกลาง คือสติ


(หรือเปล่า?)
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2008, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ครับ คุณตรงประเด็น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2008, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

=คือ มัชฌิมาปฏิปทา ไมครับ คุ้นๆ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ธรรมะสวัสดีจ้า สู้ สู้ ยิ้ม

ขอให้เจริญในธรรมทุก ๆ ท่าน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 3:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ทักทาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง