Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีนั่งกรรมฐานที่ถูกต้องต้องยังไงคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บัว
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 28 ต.ค. 2007
ตอบ: 33

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือว่าดิฉันสนใจเรื่องนี้ค่ะ ดิฉันเป็นคนที่กำหนดลมหายใจไม่เป็น จึงใช้วิธีขยับนิ้วเอาแล้วท่องพุทธโธแบบนี้ถือว่าใช่กรรมฐานรึป่าวคะ แล้วทางที่จะไปสู่พระนิพพานเริ่มจากยังไงคะ
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทางแห่งความสำเร็จ ขยัน อดทน ไม่ประมาท มีน้ำใจ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 12:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคาะนิ้วใช่เป่าคับ

ได้นะคับ

เคยฟังหลวงพ่อปราโมทย์พูดในเทปเรื่องนี้
จำไม่ได้ว่าเทปไหนนะคับ มันเยอะ

เคาะนิ้ว ก็ให้รู้สึกตัว ไปเรื่อยๆ
แล้วสติมันจะตื่นขึ้นเองเมื่อถึงเวลา
ซึ่งมีคนทำได้มาแล้ว
เรื่องการเอาเคาะนิ้วเป้นกัมมัฏฐานมีคนสอนเป็นเรื่องเป็นราวเลยนะคับ


ไม่ว่าเราจะเอาอะไรมาเป้นกัมมัฏฐาน ก็ได้ทั้งนั้นล่ะคับ
เพราะหลักของมันคือการระลึกรู้ทันทุกความรู้สึก
ระลึกรู้ไปตามความเป็นจริงที่เกิด


ถ้ารู้สึกที่กายก็รับความรู้สึกที่กาย
เช่นยืน เดิน นอน กิน เย็น ร้อน เจ็บ สบาย หิว ปวด เมื่อย ฯลฯ
คอยสังเกตุความรู้สึกที่เกิดกับกายทั้งหลายเหล่านั้น
อะไรมันเกิดขึ้นก้รู้ว่าเกิด อะไรมันดับลงไปก้รู้ว่ามันดับ
ไม่สำคัญว่ารู้สึกอะไร ไม่ต้องไปนิยาม หรือจำแนกแยกแยะว่ามันมีชื่อเรียกว่าอะไร
ขอแค่รู้สึกว่ามันมีความรู้สึกเกิดขึ้น


ถ้าใจรุ้สึก (รู้สึกโดยใจ เรียกว่าอารมณ์) ก็ระลึกรู้ว่าใจมันรู้สึก
สังเกตุความรู้สึกทั้งหลายเหล่านั้น
อะไรมันเกิดขึ้นก้รู้ว่าเกิด อะไรมันดับลงไปก้รู้ว่ามันดับ
ไม่สำคัญว่ารู้สึกอะไร ไม่ต้องไปนิยาม หรือจำแนกแยกแยะว่ามันมีชื่อเรียกว่าอะไร
ขอแค่รู้สึกว่ามันมีความรู้สึกเกิดขึ้น

แรกๆนั้น ถ้าอะไรมันชัดก็ดูอันนั้น
ไม่ต้องกังวลเรื่องลำดับ

ดูได้น้อย.... ก็ช่างมัน (ความรู้สึกจำนวนมาก แต่เราสังเกตุได้น้อย)

นานเข้าดูได้มาก มันจะสังเกตุได้มากเอง

(กระซิบ - นั่งอึอยู่ก็ทำได้นะคุณบัว
ตราบที่ยังไม่ตาย ทำได้ตลอดเวลาเลยคับ กัมมัฏฐานนี่นะ)

ฟังจากผมอาจจะมีบกพร่อง
ลองฟังเทปจากหลวงพ่อปราโมชดุดีกว่านะคับ
www.wimutti.net
ฟังเรื่อยๆ สบายๆ ไม่เข้าใจก้ข้ามไป
แล้วฟังไปเยอะๆ (เทปมีเยอะมาก) ก็จะเข้าใจเอง
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 2:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การภาวนานั้น ควรพยายามทำให้สืบเนื่อง ทุกอิริยาบถ



ทั้งการฝึกอานาปานสติ เวลาเราจะเจริญสมาธิภาวนาตามรูปแบบ
การฝึกอานาปานสติ มีอานิสงส์มาก...ดังมีพุทธพจน์ที่ว่า อานาปานสติ ที่เจริญให้มากแล้ว จะช่วยให้สติปัฏฐานสี่สมบูรณ์.... สมาธิภาวนาตามพุทธวิธี ที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.... สมาธิภาวนา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ


และ หลังจากนั้น ก็ให้พยายามรู้สึกตัวตลอดเวลา อย่าภาวนาเพียงเฉพาะเวลานั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม
คำว่า"รู้สึกตัว"นี้ คือ ให้มีสติ รู้ในกาย เช่น กายเคลื่อนเช่นใด อยู่ในอิริยาบถใด เรียก กายานุปัสนา... รู้สึก สุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ ที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนา.... จิตสังขาร เป็นเช่นใด เช่น กำลังฟุ้งซ่าน กำลังสงสัย กำลังหดหู่ เรียก จิตตานุปัสสนา.... จิตยึดมั่นถือมั่น หรือ ปล่อยวาง เรียก ธัมมานุปัสสนา.

ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง...รู้ได้เท่าที่รู้...รู้สภาะธรรมที่ปรากฏอยู่ ตามที่มันเป็น...รู้ซื่อๆ...อย่าตั้งใจมากเกินไป ถ้าตั้งใจมากเกินไป จะเกร็ง และ สูญเสียความเป็นธรรมชาติ ท่านเรียกว่า วิริยะมากเกินไป ให้ ผ่อนคลายลงบ้างด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(สมาธิ) คือ ผ่อนคลายใจลงบ้าง ....ตามหลัก พละ๕



การฝึกอานาปานสติ ช่วยให้การเจริญสติได้ผลดีขึ้น(ถ้าฝึกถูก) ด้วยจิตที่นุ่มนวล ควรแก่การงาน อันเป็นผลจากอานาปานสติย่อมเป็นประโยชน์ต่อการภาวนา
และ การเจริญสติ ก็ช่วยให้ทำสมาธิง่ายขึ้น
ความจริงข้อนี้ แม้นแต่ นิกายมหายาน เช่น ท่าน ติช ท่านก็นำไปใช้ประโยชน์...ลอง หา คลิปวิดีโอ รายกายช่อง9 ที่เขาไปอัดการบรรยายของท่าน ติช มาดู
ครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน เช่น หลวงปู่ ชา...ท่านพุทธทาส... และ ๆลๆ ต่างก็ล้วนสอนอานาปานสติกันทั้งสิ้น

ที่เน้น คือ ต้องทำทั้งสองส่วน
ทั้ง การฝึกอานาปานสติ และ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน




เท่าที่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนมา เป็นดังนี้
ลองพิจารณาดู เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 2:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การจะเข้าสู่นิพพาน ต้องรู้จัก การทำสมาธิ เพื่อให้ใจสงบ เมื่อเริ่มสงบแล้ว
ก็ ให้เอาสติ คอยจับว่า ในจิตใจ ความคิด ความรู้สึก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรไป ในขณะจิต แล้วคอยสังเกตุสิ่งเหล่านั้นให้บ่อยๆ เมื่อเห็นว่า ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ นั้นมีการเกิดขึ้นและ การดับ ก็ให้จับว่า เกิดขึ้นนั้นเพราะอะไร ดับไปเพราะอะไร เราก็จะพยายามทำจิตให้ดับสิ่งเหล่านั้นได้ทั้งหมดได้

เช่นว่า เราคิดนึกอะไรอยู่ เมื่อเอาสติมาจับก็จะเห็นว่า เราคิดได้ เราก็หยุดคิดได้ เช่นเดียวกัน อารมณ์ความปรุง เมื่อมันเกิดได้ เราก็ให้มันดับได้

สรรพสิ่งสรรพความรู้สึกต่างๆ เพราะจิตไม่รู้ก็คอยปรุงต่อเรื่อยไป เมื่อดับทั้งหมดได้ ดวงจิตนั้นจะครองนิพพานอยู่ ศึกษาความรุ้สึกนึกคิด อารมณ์ของเราให้ดี นี่แหละจะเป็นทางไปสู่นิพพาน

ทีนี้กำลังของจิตที่ใช้นั่งสมาธิก็จะเอาไปช่วยในการ ดึงจิตไม่ให้ไหลไปตามอวิชชา ดังนั้นการฝึกสมาธิ ก็สำคัญอย่างมาก

เอาให้ได้สมาธิ คือ จิตใจนิ่งเมื่อไร ก็ให้หมั่นเข้ามาถามผู้รู้ให้บ่อย ก็จะไปนิพพานได้เองครับ
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ

"เราสามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวโดยไม่ต้องเจริญสมาธิเลยได้ไหม?

ลองฟัง ท่านอ.ชยสาโร ท่านตอบน่ะครับ.... สาธุ


(ผมนำมาจาก"หลับตาทำไม")


".......การทำสมาธิจึงช่วยได้ตั้งแต่เรื่องธรรมดา ๆ หรือง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันตลอดจนถึงเรื่องสูงสุด คือการบรรลุมรรคผล นิพพาน การพ้นทุกข์ในระดับสูงเกิดจากปัญญาระดับวิปัสสนา ปัญญาระดับวิปัสสนานั้นเกิดจากจิตใจที่สงบ ไม่มีนิวรณ์ณ์ จิตใจที่พ้นนิวรณ์ คือจิตใจที่ได้รับการฝึกอบรมทางสมาธิภาวนา

ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ควรสนใจการทำสมาธิภาวนา.....บางคนถามว่าเอาแต่เจริญสติในชีวิตประจำวันได้ไหม....ถ้าทำสติมีความรู้อยู่ทุกอิริยาบถไม่ทำสมาธิได้ไม?

(คำตอบคือ)ไม่ได้ .....คือต้องทำ(สมาธิ)...... ถ้าไม่ทำ สติเราจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของกิเลส และ จิตใจจะไม่เข้มแข็งพอที่จะปฏิเสธการสำออยของมัน จิตใจที่มีสมาธิย่อมมีกำลังมาก ......"

"......หลักการสำคัญที่ขอย้ำไว้ที่นี่ ก็คือ สมาธิเป็นเครื่องข่มกิเลสไว้ ไม่ใช่เป็นตัวทำลายกิเลส ...แต่ก็จำเป็น .....เพราะการข่มกิเลสไว้ทำให้ปัญญามีโอกาสทำงานคล่องแคล่ว... เหมือนหมอผ่าตัด ต้องวางยาสลบก่อนผ่า ไม่วางยาสลบจะผ่าตัดยากเพราะคนไข้เจ็บแล้วต้องดิ้น .....สมาธิเหมือนยาสลบ .....สิ่งที่สลบไปก็คือ ความรู้สึกยินดียินร้าย ความหลงใหลตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจิต ด้วยความพอใจและไม่พอใจ ....เมื่อจิตไม่เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็จะเห็นชัดขึ้นซึ่ง อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความบกพร่อง ความไม่สบบูรณ์ และ อนัตตา ความไม่มีเจ้าของหรือแก่นสารในสิ่งเกิดดับ...."




...................................


ในทางกลับกัน

"เราจะเจริญสมาธิอย่างเดียว โดยไม่ต้องเจริญสติในชีวิตประจำวันให้สืบเนื่อง ได้ไหม?"


คำตอบ คือ

เพราะ วันหนึ่งๆ เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการดำรงชีวิต เช่น เดิน ทำงาน ขับรถ ๆลๆ... แล้ว เราจะไม่เจริญสติในชีวิตประจำวันให้สืบเนื่อง ไปเสียโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการเจริญสติไปทำไม ให้เป็นเสมือนการทิ้งเวลาไปเปล่าๆ

ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานหลายต่อหลายองค์ ท่านจะเน้นตรงนี้เสียด้วยซ้ำ สำหรับสอนฆราวาส.... เพราะ ฆราวาสส่วนใหญ่ จะหาเวลามานั่งสมาธิ เดินจงกรม ตามรูปแบบได้น้อย




โดยสรุป ก็ ควรพยายามทำทั้งสองอย่าง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแย้งตรงนี้หน่อยนึงนะคับ
"เราสามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวโดยไม่ต้องเจริญสมาธิเลยได้ไหม?

จากที่ศึกษาประวัติหลวงพ่อปราโมช ปาโมชโช
ท่านทำได้ครับ
ท่านไม่ได้วุ่นวายมากมายกับการนั่งสมาธิเลย
และท่านสามารถบรรลุได้
หนำซ้ำสติท่านยังแข็งแกร่งกว่าคนนั่งสมาธิอีก
และส่วนตัวผมเองก็เชื่อว่าแนวทางการดุจิตนี้ทำให้เรามีสติแข็งแรงมากกว่าการนั่งสมาธิ


ผู้ที่รับรองท่านมีพระอริยะถึง 2 คน
คือหลวงพ่อพุทธ ฐานิโย และหลวงปู่ดุลย์ อตุโล
ลองอ่านดูนะคับ
http://www.wimutti.net/niranam/
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 18 ก.ย. 2008, 5:30 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอาอะไรวัดกันครับ ว่าท่านผู้นั้นผู้นี้บรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ ระวังจะเป็นพระอริยะแต่งตั้งกันเองเป็นสายๆนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
เอาอะไรวัดกันครับ ว่าท่านผู้นั้นผู้นี้บรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ ระวังจะเป็นพระอริยะแต่งตั้งกันเองนะครับ




ก็ต้องถามกลับว่า เอาอะไรวัดว่าไม่ได้บรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้
ทำไมถึงเชื่อว่าหลวงปู่ดุลย์เป็นพระอรหันต์
ทำไมจึงเชื่อว่าหลวงปู่มั่นคือพระอรหันต์

ความจริงเรื่องนี้เป็นความเชื่อถือเลื่อมใส
ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ เพราะการพิสูจน์มันเป็นไปไม่ได้นะคับ
ผมถึงใช้แค่คำว่าบรรลุ
ผมรู้แค่ว่าท่านไม่ใช่ปุถุชนแล้วล่ะคับ

-----------------------------------------

ต้องลองอ่านดูคับ ลิงก์ที่ให้ไป
หลวงพ่อใช้ชื่อว่าอุบาสกนิรนาม
แต่ผมไปสืบๆค้นๆจนพบว่าก่อนบวช หลวงพ่อคือ "สันตินันท์"
และเป็นคนเขียนเรื่องนี้ขึ้น
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ คามินธรรม



ผมเคารพครูบาอาจารย์ ผู้ปฏิบัติดี-ปฏิบัติชอบ ทุกองค์ครับ
ผมไม่เคย แบ่งแยกท่านทั้งหลาย ด้วย วิธีการเดินมรรค... ท่าน จะเดินมรรคแบบใดก็ตาม ถ้าท่านเป็น สุปฏิปันโน ผมกราบทั้งนั้นครับ

เพราะ ต่างคนต่างจริตนิสัย..วิธีการเดินมรรค ย่อมแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา

บ้าง เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
บ้าง เจริญสมถะ ควบคู่กับ วิปัสสนา
บ้าง เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอ อนุญาตจบเรื่องครูบาอาจารย์ แต่ล่ะองค์ แต่ล่ะท่าน ก่อนน่ะครับ

เป็น เรื่องละเอียดอ่อน ต้อง ระมัดระวังอย่างที่สุดครับ ในการสนทนาในประเด็นเช่นนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คราวนี้ มาถึง ประเด็นในเนื้อหาธรรม

ที่ว่า จะเลือก

1.เจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียว โดยไม่ฝึกสมาธิเลย

หรือ

2.เจริญสติในชีวิตประจำวัน และ ฝึกสมาธิเท่าที่โอกาสจะอำนวย


ผมว่า ตรงนี้ แต่ล่ะคนต้องพิจารณากันเอาเองครับ
จริตนิสัยไม่เหมือนกันแน่นอน


ถ้าภาวนาถูก ไม่ว่าจะเดินมรรคแบบไหน ก็ได้ผลถูกทั้งสิ้น

แต่ ถ้าภาวนาผิด ไม่ว่าจะเดินมรรคแบบไหน ก็ให้ผลผิดด้วยกันทั้งสิ้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"เดินมรรค" ขอคำอธิบายจากท่านที่พูดถึงด้วยเถอะครับ "เดินมรรค" คือเดินอย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
"เดินมรรค" ขอคำอธิบายจากท่านที่พูดถึงด้วยเถอะครับ "เดินมรรค" คือเดินอย่างไร



ผม ไม่ใช่ ผู้รู้ น่ะครับ

แค่ พอรู้มาบ้าง



พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ ตรัสถึง " สมถะ และ วิปัสสนนา คู่เคียงกันไป"ในการเจริญอัฏฐังคิกมรรค(ผมเรียก ง่ายๆว่าเดินมรรค)

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้น เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อยู่อย่างนี้
ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์




และ จาก

http://d71233.u23.bangkokserver.net/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4273&Z=4299&pagebreak=0

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-*โกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน




และ จาก

ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒


จาก http://www.84000.org/true/220.html



ผมใช้ คำสั้นๆว่า "เดินมรรค" แทนการเจริญสติปัฏฐาน หรือ การเจริญ สมถะ-วิปัสสนา ครับ




ขอตัวก่อนครับ มีงานรออยู่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 9:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับอาจารย์ผมอ่านได้ความรู้จากอาจารย์ทุกท่านที่ถกกันด้วยปัญญาดีจริงๆ ผู้อ่านเช่นผมจึงได้ประโยชน์จากตรงนี้ครับ โมทนากับทุกท่านครับ สาธุ สาธุ

อ้างอิงจาก:
คือว่าดิฉันสนใจเรื่องนี้ค่ะ ดิฉันเป็นคนที่กำหนดลมหายใจไม่เป็น จึงใช้วิธีขยับนิ้วเอาแล้วท่องพุทธโธแบบนี้ถือว่าใช่กรรมฐานรึป่าวคะ แล้วทางที่จะไปสู่พระนิพพานเริ่มจากยังไงคะ


ผมขอตอบเจ้าของกระทู้ละกันนะครับด้วยปัญญาอันน้อยนิด

ตอบว่า น่าจะใช่กรรมฐานครับ คือมีหลายวิธีครับ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ถึง 40 วิธี ทำวิธีไหนก็ได้เพื่อให้จิตใจสงบจากนิวรณ์ เมื่อจิตสงบจิตเป็นกุศลแล้วเหมือนน้ำใสที่นิ่งย่อมรู้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง จิตที่รวมนิ่งย่อมตั้งมั่น ย่อมมีพลัง เหมาะควรแก่งาน งานคือ การพิจารณธรรมอันอาจทำให้เกิดญาณปัญญาสิ้นภพสิ้นชาติ ทางไปนิพพานก็ทางนี้ได้ครับ ยิ้ม
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 10:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ ฌาน ครับ



การรู้สติด้วยการเคาะนิ้ว ....


ลองอ่าน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ
ในการก้าวไปและถอยกลับ
ในการแลไปข้างหน้าและเหลียวซ้ายเหลียวขวา
ในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดออก
ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบ สัมปชัญญบรรพ



ผมพิจารณาเห็นว่า อาจจะอนุโลมเป็นหมวด สัมปชัญญบรรพ ในการเจริญสติปัฏฐาน

คือ เวลาเคาะ ต้องมีทั้งเคาะ และ คาย
การเคาะ คือ การคู้นิ้วเข้ากระทบพื้น
การคาย คือ การคายนิ้วออก

เป็นการสร้างจังหวะ ทำให้เป็นสมาธิได้
เป็นขั้นตอนการฝึก

แต่ การเจริญสติปัฏฐานสัมปชัญญะบรรพจริงๆ ....ต้องตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 10:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติปัฏฐานสี่




โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9899




ออกจากสมาธิไปแล้ว สติก็กำหนดตามรู้การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด ซึ่งเป็นเรื่องของกาย ก็เรียกว่า สติไปตั้งอยู่ที่กาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน . ถ้าสติเพียงแค่ว่าควบคุมบังคับให้ระลึกไปในกาย คือระลึกถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อันนี้เรียกว่าเป็นภาคปฏิบัติ เป็นสติปัญญาธรรมดา แต่ถ้าหากว่าจิตมีสติกำหนดรู้เรื่องของกายอยู่ตลอดเวลาโดยอัติโนมัติ จะตั้งใจก็กำหนดรู้ ไม่ตั้งใจก็กำหนดรู้ กำหนดรู้อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิตทุกลมหายใจ สติไม่พรากจากกาย ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด สติก็รู้พร้อมอยู่ที่กายตลอดเวลา อันนี้เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอาสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวก็เป็นมหาสติปัฏฐาน

ในเมื่อสติมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย ระลึกรู้ รู้อยู่ที่กายตลอดเวลา เรื่อง เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ ไม่ได้ตั้งใจจะพิจารณา จิตของเราก็รู้เอง เพราะจิตมีกาย กายเป็นที่เกิดแห่งเวทนา เมื่อจิตมาจดจ่อเอาใจใส่ต่อกาย อะไรเกิดขึ้นที่กาย จิตของเรารู้หมดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตมาตั้งมั่นอยู่ที่กาย เอากายเป็นอารมณ์สติตั้งมั่นอยู่ที่กาย แม้แต่ความคิดที่เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยกายนั่นแหละเป็นเครื่องมือ เมื่อมีกายอยู่จิตย่อมมีความคิด ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น แม้เราไม่ได้ตั้งใจจะกำหนดรู้ จิตของเราก็จะรู้เพราะการคิดเป็นเรื่องของจิต

ในเมื่อสติของเราไปตั้งมั่นอยู่กับความคิดที่คิดอยู่ในปัจจุบัน คิดอะไรขึ้นมาก็รู้ คิดอะไรขึ้นมาก็รู้แต่ความคิดนั้น คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ยึดมั่นอะไรไว้สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน สติกำหนดตั้งมั่นอยู่ที่ความคิดนั้น เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เมื่อหากว่าสุขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้น จิตปรุงแต่ง ธรรมชาติของคนเรามีความรู้สึกชอบ ความสบาย ถ้าหากจิตของท่านใฝ่หาความสบายโดยไม่อยากทำอะไร ไม่ปฏิบัติ บางทีอาจไปคิดว่าเลิกปฏิบัติซะดีกว่า อยู่เฉยๆ สบายดี แสดงว่าจิตของท่านใคร่ต่อความสบาย ติดความสบาย เมื่อจิตติดความสุข ความสบาย จิตก็มีความใคร่ในกาม กามก็คือความสบายใคร่ในความสุข คือไม่อยากทำอะไร เรียกว่ากามฉันทะ ความใคร่พอใจในความสบาย เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตปรุงแต่งว่าจะปฏิบัติต่อไปดีหรือจะหยุดเพียงแค่นี้

ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะของพยาบาท คือเป็นความคิดที่จะตัดรอนคุณความดี เกิดความคิดกังวลสงสัยว่า จะเอาดีหรือไม่เอาดี ความหงุดหงิดงุ่นง่านรำคาญบังเกิดขึ้นเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ เมื่อมีความฟุ้งซ่านรำคาญบังเกิดขึ้น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้นมาแทรก จิตก็ปรุงแต่งขึ้นมาว่าจะเอาดีหรือไม่เอาดี หรือจะหยุดกันเพียงแค่นี้ เป็นวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ลังเลใจ ไม่แน่ใจ เมื่อตัดสินใจเด็ดขาดลงไปไม่เอาล่ะ เลิกดีกว่า พยาปาทะวิ่งเข้ามาตัดรอน

เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะ ความใคร่ในความสุขสบาย พยาปาทะ ความคิดริดรอนหรือตัดรอน อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอน วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่เอาจริง ถ้าจิตมากำหนดดูอยู่ที่ตรงนี้ อันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เป็นนิวารณะธรรม เป็นธรรมที่คอยกางกั้นคุณงามความดีไม่ให้บังเกิดขึ้นจึงเรียกว่า นิวรณ์ หรือ นิวารณะ แปลว่าจิตปิดกั้น กั้นสมาธิไม่ให้เกิด กั้นปัญญาไม่ให้เกิด กั้นกุศลไม่ให้เกิด เพราะอันนี้เป็นธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อจิตมากำหนดรู้ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ถ้าสติมากำหนดตั้งมั่นพิจารณาอยู่ที่ธรรม ก็เรียกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมะเป็นฐานที่ตั้งของสติ จิตรู้ว่ากายมีอยู่ และมีสติตั้งมั่นอยู่ที่กาย อย่างน้อยก็ตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้าออกก็เป็นส่วนหนึ่งของกาย เพราะปอดเป็นผู้มีหน้าที่ ทำหน้าที่ หายใจเข้า หายใจออก เมื่อสติไปตั้งอยู่ที่ลมหายใจ ก็ได้ชื่อว่าสติไปตั้งอยู่ที่กาย จัดเป็นอานาปาณุสติด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย ในมหาสติปัฏฐานบรรพัท ท่านจำแนกแจกวิธีการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมไว้อย่างกว้างขวางพิศดาร แต่อันนั้นเป็นภาคปฏิบัติ



ท่าน จขกท
ลองพิจารณาดูน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 10:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก อรรถกถา



ถามว่า หากเป็นเช่นนั้น เหตุไร คำว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย จึงเป็นคำพหูพจน์.

ตอบว่า เพราะต้องมีสติมาก. เป็นความจริง สติเหล่านั้นมีมาก เพราะต่างแห่งอารมณ์.



ถามว่า แต่เหตุไร คำว่ามรรค จึงเป็นเอกวจนะ.

ตอบว่า เพราะมีทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค. เป็นความจริง สติเหล่านั้นแม้มี ๔ ก็นับว่าทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค.



สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ถามว่า ในคำว่ามรรค ที่ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าอะไร
ตอบว่า เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพานด้วย เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานจะพึงค้นหาด้วย.

สติทั้ง ๔ นั้นทำกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลาย มีกายเป็นต้น จึงถึงพระนิพพานในภายหลัง แต่ผู้ต้องการพระนิพพานทั้งหลาย จำต้องดำเนินไปตั้งแต่ต้นมา เพราะฉะนั้น สติทั้ง ๔ จึงเรียกว่า หนทางเดียว.


ๆลๆ


อนึ่ง

สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน.

สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า.

สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน.

สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.


ๆลๆ


ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานมีอันเดียวเท่านั้น โดยเป็นความระลึกและโดยเป็นที่ประชุมลงเป็นอันเดียวกัน มี ๔ ด้วยอำนาจอารมณ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 10:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่อง มรรค เป็นอย่างไร เดินมรรคทำอย่างไร นี่เป็นเรื่องลึกซึ้งมาก ก็ไม่ลึกซึ้งได้อย่างไร เพราะเป็นธรรมแห่งพระอริยะเจ้า

แต่ผมจะพูดให้ฟัง แล้ว วันหนึ่งใครทำได้ ก็ถือว่า เข้าสู่ มรรคญาณ

กำหนดจิตนี้ ให้เดินออกจาก อวิชชาทั้งปวง อวิชชาคือ ความหลับ ความหลง อยู่กับรื่องราวดๆ ชีวิตนี้ทั้งชีวิตมันก็คนหลับนั่นแหละ ไม่ต่างกัน
แม้ระลึก้รู้หน่อยนึงก็ เป็นอวิชชา

ใครตีความนี้ออก และทำได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่า มีรรคญาณ
การเดินมรรค ก็ทำด้วยอาการดังที่กล่าวมานั้นแหละ
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 11:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ด้วยอาการใดๆก็ทำจิต สงบถือว่าเป็นสมาธิได้
ผมว่างี้นะให้นั่งขัดสมาด แล้วท่องพุทโธๆอย่างเดียวๆ
ไม่ต้องสนลมหายใจและตัวและอะไรๆดู
ว่าสงบเป็นสมาธิไม เพราะ สมาธิเริ่มจาก บริกรรมเป็น
หลักแรก เหมือนเด็กต้องคลานก่อนเดินแล้ว วิ่งๆ
ถูกมะครับ....ลองดูๆๆๆๆ จากครูสอนสมาธิ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2008, 11:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ซึ้ง สู้ สู้ สาธุ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง