Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อิสระเรียนรู้ บ้านโฮมสคูล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
weewan
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 ส.ค. 2008
ตอบ: 25
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



lad01100951p3.jpg


lad01100951p2.jpg


การศึกษาที่จัดโดยครอบครัว หรือการสอนหนังสือให้เด็กที่บ้าน ในประเทศไทยมีมานานกว่า 20 ปี โดยในปี 2547 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาโดยพระราชบัญญัติการศึกษา มาตรา 12 ว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของครอบครัว หรือ "โฮมสคูล" โดยได้รับเงินอุดหนุนทางการศึกษาเหมือนเด็กในโรงเรียนทั่วไป รวมถึงสิทธิต่างๆ ซึ่งครอบครัวจะต้องยื่นเสนอแผนและขออนุมัติจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีสมาคมบ้านเรียนไทย เป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานการเรียนรู้และให้ข้อมูล

การจัดการศึกษาแบบโฮมสคูลจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละครอบครัว ขึ้นอยู่กับความสนใจและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นหลัก เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงต้องจัดการเรียนให้สอดคล้องในแต่ละคน

พ่อแม่จะเป็นผู้สร้างฐานความรู้ที่เหมาะสมให้กับลูกของตนเองที่บ้าน หรือตามสถานที่ต่างๆ โดยทุกวันเสาร์สมาคมบ้านเรียนไทยจะมีกิจกรรมให้เด็กบ้านเรียนไทยมีโอกาสพบปะกัน พ่อแม่เองก็จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

ภายในสมาคมบ้านเรียนไทยจัดมุมกิจกรรมต่างๆ หมุนเวียนกันไป สำหรับช่วงวันที่ 15 ก.ค.-15 ม.ค. 2552 ทุกวันเสาร์จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายครอบ ครัวเรียนรู้ร่วมกันจากห้องเรียนธรรมชาติ ค่ายเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการผ่านการทดลองและสังเกตการณ์ รวมถึงกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเวทีแลกเปลี่ยนปัญหา ให้กำลังใจพร้อมเสริมความรู้จากวิทยากร

นายยุทธชัย เฉลิมชัย นายกสมาคมบ้านเรียนไทย เล่าถึงที่มาของบ้านเรียนไทยว่า เกิดจากการที่พ่อแม่ต้องการทางเลือกใหม่ของการศึกษา ซึ่งพ่อแม่จะเป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการต่างๆ รวมถึงการประเมินผลที่จะต้องร่วมกับศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ

"พ่อแม่ที่ให้ลูกเรียนแบบโฮมสคูลส่วนมากลูกจะมีปัญหากับทางโรงเรียน ตั้งแต่เด็กจีเนียส เด็กสมาธิสั้น รวมถึงปัญหาทางการเรียน ซึ่งคิดว่าโรงเรียนไม่ตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ แม้ว่าเด็กบางคนเคยย้ายมาแล้วหลายโรงเรียน จึงมาที่นี่ ข้อจำกัดของการเรียนแบบโฮมสคูลทางครอบครัวจะต้องมีเวลาให้ลูก โดยเฉพาะเด็กเล็ก โดยพ่อแม่ร่วมเรียนรู้ไปกับเด็กด้วย"

นายยุทธชัยกล่าวว่า เด็กในโรงเรียนกับเด็กโฮมสคูลแตกต่างกันตรงที่เด็กในโรงเรียนจะเรียนตามหลักสูตรที่สอนผ่านครู และสอบด้วยการวัดความจำ โดยห้ามเอาหนังสือเข้าห้องสอบ แต่เด็กบ้านเรียนนั้นไม่เน้นการท่องจำ จะให้เด็กเปิดหนังสือกี่เล่มก็ได้ และจะสอนให้เด็กเรียนแบบเข้าถึงความรู้ เมื่อมีโจทย์เด็กจะต้องคิดหาคำตอบเอง

นางอรวรรณ สังวรเวชภัณฑ์ แม่หน่อยของ น้องดล วัย 10 ขวบ และ น้องแดนวัย 6 ขวบ ที่ตัดสินใจให้ลูกชายทั้งสองเรียนโฮมสคูล เล่าว่า การเรียนแบบโฮมสคูลไม่ได้เหมาะกับทุกครอบครัว เหมาะกับพ่อแม่ที่จัดเวลาให้เด็กได้ เพราะถ้าจัดเวลาไม่ได้ผลกระทบจะเกิดกับเด็ก ในด้านวิชาการก็ไม่ได้ทอดทิ้ง เพียงแต่ต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมไปกับการสร้างวินัยให้เด็กด้วย

"เราไม่ได้หวังว่าลูกจะต้องมีอาชีพอะไร เพียงแค่อยากให้มีสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม การที่พ่อแม่ได้ใกล้ชิดลูกจะทำให้เข้าใจลูกมากขึ้น ที่ผ่านมามีคนเป็นห่วงในเรื่องสังคมของลูก แต่ทางครอบครัวก็ไม่ได้ละเลย จะเน้นให้ได้สัมผัสธรรมชาติจากการออกค่ายต่างๆ เพื่อปลูกฝังไม่ให้ตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ"

ด้าน นางเขมณัฏฐ์ อุดมพัฒนพงศ์ แม่จิ๋มของน้องเคน วัย 8 ขวบ ที่เพิ่งพาน้องเคนออกจากโรงเรียนเมื่อเดือนที่แล้ว กล่าวถึงสาเหตุที่นำลูกมาเรียนโฮมสคูลว่า เกิดจากปัญหาระบบของโรงเรียนที่ไม่ตรงกับที่คาดหวังเอาไว้ เมื่อลูกอยู่ชั้นประถมจะติดวัตถุนิยม เล่นการ์ด แม้จะควบคุมแต่ก็คุมไม่อยู่ จึงตัดสินใจให้ออกจากโรงเรียนในระบบ

"การพาลูกเข้าโฮมสคูลจะต้องทุ่มเททุกอย่างจนสุดตัว ใช้เวลากับลูกให้มากที่สุด ผ่านมาแค่เดือนเดียวรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของน้องเคนได้ ตอนอยู่ที่โรงเรียนจะเป็นเด็กขี้อาย แต่ตอนนี้กล้าพูดมากยิ่งขึ้น เพราะรู้สึกว่าตนเองมีข้อมูลเยอะจากการเรียนรู้ของตนเองในสิ่งที่ชอบ และได้มาเจอเพื่อนที่ชอบเรื่องแมลงเหมือนกันที่สมาคมบ้านเรียนไทย"

ในการเสวนา "ก้าวแรกสู่บ้านเรียน" ซึ่งจัดขึ้นที่สมาคมบ้านเรียนไทยเมื่อไม่นานนี้ ได้เชิญคุณพ่อคุณแม่และลูกๆ โฮมสคูลมาร่วมเสวนา

เริ่มที่แม่นิ่ม กนกพร สบายใจ คุณแม่ น้องป้อมปืน วัย 15 ปี อยู่ในช่วงชั้นที่ 3 คือม. 1-3 เล่าว่า เน้นการศึกษาให้ลูก 3 อย่างคือ กิจวัตรประจำวัน การเชื่อมโยงสังคม และพัฒนาความถนัดของลูก ทุกวันนี้น้องป้อมปืนมีความสุขกับการไปวัด ทำบุญใส่บาตร ทำงานบ้าน เรียนมวยไทย ฟันดาบ และเรียนเทนนิส คนรอบข้างต่างไว้ใจและมอบหมายงานสำคัญๆ ให้น้องป้อมปืนรับผิดชอบ

พ่อติ๊ก นายวัณชัย พีชะพัฒน์ ตัวแทนจากกลุ่มบ้านเรียนมัธยม เล่าว่า กลุ่มบ้านเรียนมัธยมเกิดจากการรวมตัวของ 13 ครอบครัวที่มองเหมือนกันว่าบางสิ่งโรงเรียนยังไม่มีให้ จึงรวมตัวกันจัดตั้งการศึกษาบ้านเรียนมัธยมโดยเลือกใช้การศึกษาแนว วอลดอร์ฟ คือการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้เด็กค้นหาตัวเองให้เจอ เรียนรู้ผ่านการกระทำ เด็กๆ จะสังเกตและตั้งคำถามขึ้นเอง เราไม่ได้เน้นลูกว่าต้องเข้ามหาวิทยาลัยได้ ให้ลูกเลือกทางเดินเองและคอยสนับสนุนเขา เน้นให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับสิ่งที่ทำ

ขณะที่ลูกๆ บ้านเรียน ร่วมเสวนาในหัวข้อ "กาลครั้งหนึ่งของเด็กบ้านเรียน"

ฟาง สานต่อ เฉลิมชัย นักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศจีน เล่าว่า เรียนแบบบ้านเรียนมาจนถึงชั้น ม.6 ก็ตัดสินใจเข้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนแรกที่เรียนที่บ้าน คุณพ่อ (ยุทธชัย เฉลิมชัย) ก็เริ่มจากตั้งไวต์บอร์ด เปิดหนังสือปรัชญาตะวันตก เรียนตั้งแต่เช้าเหมือนเอาห้องเรียนมาไว้ที่บ้าน ก็รู้สึกกันว่าไม่เวิร์ก เรียนแบบไม่มีกรอบจะดีกว่า พอดีช่วงนั้นได้เดินทางเยอะ เลยได้เรียนรู้จากชีวิตจริง มีอิสระ ได้เห็นอะไรจริงมากกว่าในห้องเรียน เราจึงรู้ช่องทางการหาความรู้ด้วยตนเองโดยไม่มีใครมาจัดกรอบให้ จากการเรียนรู้ด้วยตัวเองทำให้เด็กบ้านเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีแนวคิดเป็นผู้ใหญ่

ด้านไม้หอม โรสิตา บุญมาก เฟรชชี่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า เริ่มเรียนหลังจบป.5 ตอนนั้นไม่ชอบไปโรงเรียนมากๆ แล้วคุณแม่ก็ได้เจอกับกลุ่มบ้านเรียน เราก็เลยออกมาเรียนกันที่บ้าน และเรียนรวมกลุ่มกับบ้านเรียนคนอื่น ได้หาความรู้กันเอง การมีเวลาเยอะทำให้ค้นหาและพบตัวเองเร็ว ดูแลรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้

"ไม้หอมเองอยู่กับการวาดรูปได้นานๆ และชอบอ่านสามก๊ก พ่อก็จะพาไปหอสมุดแห่งชาติ นั่งอ่านทั้งวัน การปล่อยเด็ก เด็กจะสามารถหาความสนุกและความสุขได้เอง และจะรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เราไม่มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม เพราะสังคมบ้านเรียนจะรู้จักกันหลายรุ่นหลายวัย"

ด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กอาจแตกต่างกันไป การตัดสินใจเลือกแนวทางใดให้กับลูกจึงต้องศึกษาอย่างรอบด้าน รวมถึงความพร้อมของลูกและพ่อแม่

สำหรับสมาคมบ้านเรียนไทย ตั้งอยู่ที่ 205/46 หมู่บ้านผาสุก ซ.ผาสุกสันติ 2 ถ.พัฒนาการ 65 เขตประเวศ กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลโทร. 0-2721-7842 หรือ www.thaihomeschool.org
 

_________________
ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โลกบรรลัย
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง