Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัญญาณอันตราย...ของการปวดคอ... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ดูซิ..แม่เตือนอะไรนิดอะไรหน่อย เถียงคอเป็นเอ็นเลย เจ้าลูกคนนี้”
แม่จ๋าบ่นลูกสาวที่ชอบกลับบ้านดึกๆ ดื่นๆ

‘คอเป็นเอ็น’ ของลูกสาวแม่จ๋าคนนี้
ไม่ใช่เป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายหรอกนะคะ
แต่เป็นลักษณะของการโต้เถียงอย่างไม่ยอมลดละ
ซึ่งก็อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกันค่ะ หากไม่ฟังคำเตือนของพ่อแม่

ส่วนสัญญาณอันตรายที่ส่งมาจากคอนั้น ก็คือ อาการปวดคอ
ที่คนส่วนใหญ่มักเป็นกันบ่อยๆ จนดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา
แต่จริงๆ แล้วไม่ธรรมดานะคะ น่ากลัวเชียวค่ะ

ข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยบอกไว้ว่า
คอเป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างศีรษะกับลำตัว
ประกอบไปด้วยกระดูกต้นคอ 7 ชิ้น
เส้นประสาทคอ กล้ามเนื้อ เส้นเลือด
และเป็นทางผ่านของหลอดลมและหลอดอาหาร
การที่คอเคลื่อนไหวได้ก็อาศัยกล้ามเนื้อคอ
และการเคลื่อนไหวของกระดูกคอทั้ง 7 ชิ้นนี้
กระดูกคอจะทำหน้าที่ห้อมล้อมไขสันหลัง
และมีช่องระหว่างกระดูกคอให้เส้น ประสาทผ่านออกมาเลี้ยงกล้ามเนื้อ

• สาเหตุของการปวดคอที่พบได้บ่อย

1. อิริยาบถหรือท่าทางที่ผิดปกติ เช่น การก้มคอทำงานทั้งวัน
(เช่น งานเขียนหนังสือ) การทำงานที่ต้องแหงนคอทำนานๆ
การนอนหมอนสูงเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานมากเกินไป
เกิดอาการอ่อนล้าและเจ็บปวดได้

2. ภาวะคอเคล็ด เป็นภาวะที่คอมีการเคลื่อนไหวผิดทิศทางอย่างรวดเร็ว
และรุนแรง (เช่น จากอุบัติเหตุรถชนกัน)
เป็นผลให้กล้ามเนื้อหรือเอ็นบริเวณคอมีการยืดอย่างมาก
หรืออาจมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
หดเกร็ง เกิดอาการปวดได้

3. ภาวะกระดูกคอเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ กระดูกคอถูกใช้งานมานาน
ตั้งแต่เกิดจะมีการเสื่อมของข้อกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดคอเรื้อรัง
ในบางรายอาจมีกระดูกงอกไปกดปลายประสาท
ทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนได้

4. ภาวะกระดูกคออักเสบ โรคข้ออักเสบบางชนิด
เช่น โรครูมาตอยด์ และโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด
อาจทำให้ข้อต่อของกระดูกคออักเสบได้

5. ภาวะเครียด พบว่าในปัจจุบันความเครียดจากการทำงาน
ทำให้ไม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ
อาจทำให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อคอเป็นเวลานาน เกิดการปวดคอได้

6. อาการปวดคอที่เป็นอาการปวดร้าวมาจากอวัยวะอื่นๆ โรคบางชนิด
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจมีอาการปวดร้าวมาที่บริเวณลำคอได้

• สัญญาณอันตรายของการปวดคอ

เมื่อมีอาการปวดคอร่วมกับอาการอื่นต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์

1. มีอาการปวดคอเป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์

2. อาการปวดคอภายหลังได้รับอุบัติเหตุ

3. มีอาการอ่อนแรงของแขนและขา หรือมีอาการชา
หรือปวดร้าวไปที่แขนร่วมด้วย

4. มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบอื่นๆ ของร่างกายร่วมด้วย

5. มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรืออาการเจ็บอกร่วมด้วย

6. ไม่สามารถเคลื่อนไหวคอในทิศทางต่างๆ ได้เป็นปกติ

• การรักษาภาวะปวดคอ

1. ระวังและหลีกเลี่ยงอิริยาบถหรือท่าทางต่างๆ
ที่ต้องมีการก้มและเงยคอบ่อยๆ เมื่อมีอาการเมื่อยคอ
ควรหยุดพักและบริหารกล้ามเนื้อคอประมาณ 2-3 นาที

2. ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำร้อนประคบบริเวณคอ
จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณคอได้

3. อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลหรือแอสไพริน
เพื่อช่วยระงับอาการปวด ถ้าหากว่ารับประทานยาแล้ว 5-7 วัน
อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

4. ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง การทำกายภาพบำบัด การใช้ปลอกคอ
การใช้เครื่องอบไฟฟ้า และเครื่องช่วยนวด จะช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวดได้

5. การบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการรักษาอาการปวดคอ
เพราะจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อคอ
การบริหารกล้ามเนื้อคอควรทำทุกวัน

6. หาทางออกกำลังกายหรือทำงานอดิเรก เพื่อผ่อนคลายความเครียด
เห็นมั้ยคะว่า แค่เรื่องปวดคอ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ปล่อยให้ผ่านไป
แต่เป็นเรื่องคอขาดบาดตายเลยละค่ะ

การบริหารกล้ามเนื้อคอ

1. การออกกำลังคอให้เคลื่อนไหวได้ดี
แต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา

• ก้มและเงยหน้า ค่อยๆ ก้มหน้าให้คางจรดกับอก
แล้วเงยช้าๆ ให้มากที่สุด

• ตะแคงซ้ายขวา หน้าตรงค่อยๆ ตะแคงซ้ายจนหูจรดไหล่ซ้าย
แล้วตะแคงขวาในลักษณะเดียวกัน

• หันหน้าซ้ายขวา หมุนศีรษะหันหน้าไปทางซ้ายช้าๆ
โดยให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ แล้วหมุนกลับมาด้านขวา

2. การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังคอชุดนี้ควรทำหลังจากทำชุด 1 แล้ว
โดยใช้มือต้านการเคลื่อนไหวของศีรษะในทิศตรงกันข้าม
เกร็งไว้ 5-10 วินาที แล้วพักแต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา

• ก้มคอ ใช้มือกดที่หน้าผากต้านกับความพยายามที่จะก้มศีรษะลง

• เงยหน้า เอาฝ่ามือประสานเหนือท้ายทอย กดมาด้านหน้า
ขณะที่พยายามเงยศีรษะไปข้างหลัง

• ตะแคงคอ ใช้มือซ้ายวางที่ศีรษะเหนือหูซ้าย
ต้านกับความพยายามตะแคงหน้าให้หูซ้ายไปจรดไหล่
แล้วกลับมาใช้มือขวาทำแบบเดียวกัน

• หันหน้า ใช้มือซ้ายออกแรงยันที่หน้าหูซ้าย
ขณะที่พยามหันหน้าไปทางซ้าย แล้วสลับใช้มือขวาทำแบบเดียวกัน

ข้อมูลจาก bangkokhealth.com)

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดยรวิชา)

คัดลอกจาก...ผู้จัดการออนไลน์


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นโรคประจำตัวของ บัวหิมะ เหมือนกัน
โมทนาสาธุ ท่านลูกโป่ง นะจ๊ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง