Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 คำถามเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
รติ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2008
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิค่ะ
เลยอยากถามผู้รู้
ฉันเคยไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดแห่งหนึ่งเป็นเวลาเจ็ดวัน

ก่อนหน้านั้นก็เคยไปกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง
ปีละครั้งในช่วงปิดเทอม ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้คิดจะปฏิบัติอย่างจริงจัง
ตามประสาวัยรุ่นน่ะค่ะ แค่คิดว่าไปกับที่บ้าน
แต่ก็ตั้งใจปฏิบัติทุกครั้ง..พอกลับมาที่บ้านก็ไม่ได้ปฏิบัติต่อ
แต่ในช่วงก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีเวลาว่างเล็กน้อย
อยู่ๆฉันก็นึกอยากไปวัดนี้ อยากไปปฏิบัติธรรม อยากไปมากๆ
ก็ไปคนเดียว เป็นเด็กผู้หญิงอายุสิบแปดที่เก็บเสื้อผ้าออกจากบ้านไปอยู่วัดเจ็ดวัน (ตอนนี้อายุ 22 แล้ว ขำ )
ตอนนั้นรู้สึกว่าอยากไปมาก ขนาดที่ว่าไม่มีคุณพ่อคุณแม่ไปส่งก็นั่งรถทัวร์ไปเอง
ตอนแรกขอท่านแล้วท่านไม่ยอมให้ไป ก็หนีไปเอง แล้วโทรมาบอกท่านเมื่อถึงวัดแล้ว ท่านก็ไม่ว่าอะไร

ตอนนั้นฉันตั้งใจปฏิบัติมาก
คิดว่าอุตส่าห์ทนลำบากเดินทางมาเองแล้ว ต้องปฏิบัติให้คุ้มกับที่เดินทางมา
และคุ้มกับที่เสียเวลาอ่านหนังสืออันมีค่า
สองวันแรกฉันรู้สึกว่า ลมหายใจของเราช่างหยาบเสียนี่กระไร
เวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรมก็รู้สึกตัวอยู่ตลอด ดูลมหายใจ
และพิจารณาสภาวะธรรมที่เกิดดับขึ้น
ตอนนั้นพยายามมาก ตายเป็นตาย ไม่ยอมขยับร่างกายเลย
จะเจ็บจะปวด หรือเหน็บชาอย่างไรก็อดทน ดูมันไปเรื่อยๆ
ว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (แต่มันก็ไม่หายเจ็บหายปวดสักที ไม่ดับสักทีว่างั้น)
จนเมื่อเข้าสู่คืนวันที่สี่ ในการปฏิบัติธรรมหลังทำวัตรเย็น
ในช่วงสุดท้าย ที่เดินจงกรมและนั่งสมาธิ
ฉันตั้งใจว่าจะเดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม.
ในตอนนั้นนั่งแล้วปวดมาก..กำหนดไปเรื่อยๆ ตายเป็นตาย
ทั้งที่ปวดมากกว่าปกติ พอปวดหนักเข้า มันก็หายปวดไปเอง
เมื่อหายปวดรู้สึกว่า จิตมันดิ่งลงสู่เบื้องล่าง เร็วมาก
ดิ่งแบบไม่ใช่วูบลงนะคะ เพราะกำหนดรู้ตลอดเวลา
ในตอนนั้นรู้สึกเหมือนกับสนิมหนักๆ ที่เกาะอยู่ตามร่างกาย
(ไม่รู้ว่จะอธิบายยังไง ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นรูปกายอย่างที่เห็น อธิบายไม่ถูก)
ก้อนสนิมหนักๆ พวกนั้นค่อยๆ หลุดออกมาทีละเปราะ ทีละเปราะ
รู้สึกว่าใจสว่างวาบ มีความสุข เป็นภาวะที่สงบสว่างค่ะ
เข้าสู่ภาวะนี้สักพัก ก็หมดเวลาทำสมาธิ
หลังจากนั้นพอกลับไปนอน ก็พยายามกำหนดรู้ตลอด
(การไปคนเดียวครั้งนี้ ตั้งใจมากๆค่ะ ไม่พูดไม่คุยกับใครเลย ถ้าไม่จำเป็น)
ในช่วงเจ็ดวันนั้นสงบมาก รู้สึกปลอดโปร่ง
เมื่อกลับมาที่บ้านก็อยากรู้สึกอยากกราบคุณพ่อคุณแม่มาก
ซื้อพวงมาลัยไปสองพวง ไปกราบเท้าท่าน
คุณพ่อคุณแม่ก็แปลกใจ ปกติลูกสาวคนนี้ดื้อมาก ไม่เคยทำอะไรแบบนี้
แต่ความรู้สึกตอนนั้น (และยังถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน) คือรู้สึกรักคุณพ่อคุณแม่มาก
แล้วก็รักทุกอย่างรอบตัวมากขึ้น รู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวเราล้วนแต่มีคุณค่า
ก็เปลี่ยนความคิดไปเลย

หลังจากนั้นก็ยังปฏิบัติมาเรื่อยๆ ค่ะ
สวดมนตร์และนั่งสมาธิบ้าง
แต่พอเรียนมหาวิทยาลัยก็ได้เลิกไป
เพราะเรียนหนักมาก มากจริงๆ แต่ก็ปฏิบัติบ้างไม่ได้ถึงกับละเลย

คือหลังจากช่วงนั้นมา
เวลานั่งสมาธิแล้วจิตสงบถึงขั้นหนึ่ง
ฉันสังเกตว่า ยังมีความรู้สึกว่ามีสนิมหลุดออกไปจากตัว
แต่ว่าเป็นสนิมเล็กๆ เบากว่าครั้งแรกมาก
ทำไมถึงเป็นแบบนั้นคะ

อีกอย่าง ทำไมเวลาฉันทำอะไรที่ใช้สมาธิ
อย่างเช่นสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ อ่านหนังสือหรือว่าขอพรพระ
ฉันมักจะรู้สึกว่าจิตมารวมกันอยู่ที่กลางหน้าผาก บริเวณระหว่างคิ้ว
รวมกันเป็นวงกลมๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วแต่สถานการณ์
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นคะ

ทำไมบางครั้งเราถึงใช้จิตเราบังคับให้คนบางคน หรือเหตุการณ์บางอย่าง
ให้เกิดตามที่เราต้องการได้ หรือรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าบางอย่างได้
แต่ทำไมใช้ไม่ได้กับคน คนหนึ่ง ทั้งๆ ที่กับคนอื่นเราก็ทำได้
เป็นเพราะเขามีอำนาจอะไรบางอย่างเหนือเรารึเปล่า
อย่างเช่นเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรารึปล่าว ฉันมีความรู้สึกว่าเขาเป็นน่ะค่ะ
ไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่านะคะ

พอดีเพิ่งสอบเสร็จน่ะค่ะ เลยมีกลับมาสนใจการปฏิบัติธรรมต่อ
ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่ช่วยตอบนะคะ ยิ้ม
 

_________________
ชีวิตนี้สั้นนัก..
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 1:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

พอดีเพิ่งสอบเสร็จน่ะค่ะ เลยมีกลับมาสนใจการปฏิบัติธรรมต่อ


คงปีสุดท้ายแล้วกระมัง ยิ้ม

สาธุในสัมมาปฏิปทาคุณรติครับ สาธุ

ก่อนสนทนาในรายละเอียดกัน ขอแนะนำให้ศึกษาหลักธรรมปฏิบัติ
เสริมความรู้เข้าใจที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497&postdays=0&postorder=asc&start=0


การเจริญสติสัมปชัญญะหรือสติปัญญา หลักกว้างขวางโดยใช้งานที่กำลังทำ ณ ขณะนั้นๆ ฝึกร่วมด้วยได้เลย

ศึกษาอิทธิบาทธรรมกับการทำงานลิงค์นี้ด้วยครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ฉันตั้งใจว่าจะเดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม.
ในตอนนั้นนั่งแล้วปวดมาก..กำหนดไปเรื่อยๆ ตายเป็นตาย
ทั้งที่ปวดมากกว่าปกติ พอปวดหนักเข้า มันก็หายปวดไปเอง
เมื่อหายปวดรู้สึกว่า จิตมันดิ่งลงสู่เบื้องล่าง เร็วมาก
ดิ่งแบบไม่ใช่วูบลงนะคะ เพราะกำหนดรู้ตลอดเวลา
ในตอนนั้นรู้สึกเหมือนกับสนิมหนักๆ ที่เกาะอยู่ตามร่างกาย
(ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไง ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นรูปกายอย่างที่เห็น อธิบายไม่ถูก)
ก้อนสนิมหนักๆ พวกนั้นค่อยๆ หลุดออกมาทีละเปราะ ทีละเปราะ
รู้สึกว่าใจสว่างวาบ มีความสุข เป็นภาวะที่สงบสว่างค่ะ
เข้าสู่ภาวะนี้สักพัก ก็หมดเวลาทำสมาธิ



เป็นอาการของทุกข์และอาการที่ทุกข์โทมนัส เป็นต้นดับลง
แต่เรายังไม่เห็นต้นเหตุหรือต้นตอการดับของมัน

พูดตามหลักปฏิจจสมุปบาทธรรม (สิ่งอาศัยกันๆเกิด) ก็ว่าสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้เกิด เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับลง หมายความว่า สุขทุกข์ทั้งมวล เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็ดับลงตามสภาพของมัน เรียกตามแบบว่าเป็นไตรลักษณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 1:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

เมื่อกลับมาที่บ้านก็อยากรู้สึกอยากกราบคุณพ่อคุณแม่มาก
ซื้อพวงมาลัยไปสองพวง ไปกราบเท้าท่าน
คุณพ่อคุณแม่ก็แปลกใจ ปกติลูกสาวคนนี้ดื้อมาก ไม่เคยทำอะไรแบบนี้
แต่ความรู้สึกตอนนั้น (และยังถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน) คือรู้สึกรักคุณพ่อคุณแม่มาก
แล้วก็รักทุกอย่างรอบตัวมากขึ้น รู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวเราล้วนแต่มีคุณค่า
ก็เปลี่ยนความคิดไปเลย


เป็นเพราะอกุศลธรรมถูกขจัดไปด้วยองค์ธรรมมีสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
ก็จากการกำหนดรู้สภาวะตามเป็นจริงในขณะนั้นๆแหละครับ กุศลธรรมก็ได้โอกาสเกิดขึ้น

อ้างอิงจาก:

ฯลฯ
รักทุกอย่างรอบตัวมากขึ้น รู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวเราล้วนแต่มีคุณค่า
ก็เปลี่ยนความคิดไปเลย


เป็นไปตามหลักธรรมดังนี้

หลักการที่ว่า จิตที่บรรลุมรรคผลต้องเป็นอัปปนาสมาธินี้ เมื่อมองอย่างกว้างๆ ทำให้เกิด
ความคิดว่า ความรู้เข้าใจหรือความหยั่งรู้เห็นที่แจ่มแจ้งชัดเจน และแล่นลึกถึงขั้น เปลี่ยนแปลงพื้นจิตของคนได้ กำจัดกิเลส เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้นั้น จะต้องเป็นประสบการณ์ภายในชนิดเต็มทั่วหมดทั้งจิตทั้งใจ หรือโพลงทั้งชีวิตทีเดียว


ศึกษาได้ตอนท้ายๆลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529&start=20

แม้ตอนนี้เรายังไม่ลุถึง...จุดนั้นอย่างสมบูรณ์

แต่ก็เดินบนเส้นทางสัมมาทิฏฐิแล้ว จงเพียรพยายามกำหนดรู้สภาวธรรม

ต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 2:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

คือหลังจากช่วงนั้นมา
เวลานั่งสมาธิแล้วจิตสงบถึงขั้นหนึ่ง
ฉันสังเกตว่า ยังมีความรู้สึกว่ามีสนิมหลุดออกไปจากตัว
แต่ว่าเป็นสนิมเล็กๆ เบากว่าครั้งแรกมาก
ทำไมถึงเป็นแบบนั้นคะ



พูดเพื่อให้เห็นภาพก็ว่า บาปอกุศลร่วงหล่นออกจากจิต จะละเอียดยิบขึ้นๆ เมื่อสติปัญญาเพิ่มขึ้นๆ กายใจก็จะโล่งโปร่งเบาขึ้นๆ

( ขณะลังปฏิบัติอยู่พึงกำหนดรู้อาการนั้นไม่พึงปล่อยให้ล่วงไปโดยไม่กำหนดตามเป็นจริง หมายความว่า รู้สึกอย่างไรก็กำหนดอย่างนั้น ตามที่เรารู้สึกนั่น เพื่อ...ตัดวงจรสังขารขันธ์ไม่ให้ปรุงแต่งไปต่างๆ จนวิจิกิจฉานิวรณ์ได้ช่อง)

หรืออุปมาก็เหมือน พื้นเรือนที่สกปรก (มากๆ) ครั้งแรกที่เราขัดถูๆ แล้วเอาน้ำสาด จะเห็นคราบสกปรกเด่นชัด แต่ยิ่งขัดยิ่งถูมากครั้งขึ้น สิ่งสกปรกก็จะบางเบาเจือจางลงๆ สุดท้ายเหลือแต่พื้นเดิมแท้
ฉันใดฉันนั้น

การปฏิบัติเรากำหนดสภาวะละเอียดขึ้นๆ กุศลธรรมก็พอกพูนขึ้น ๆ อกุศลธรรมก็ลดน้อยลงๆ ตามเหตุปัจจัยของมัน ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อีกอย่าง ทำไมเวลาฉันทำอะไรที่ใช้สมาธิ
อย่างเช่นสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ อ่านหนังสือหรือว่าขอพรพระ
ฉันมักจะรู้สึกว่า จิตมารวมกันอยู่ที่กลางหน้าผาก บริเวณระหว่างคิ้ว
รวมกันเป็นวงกลมๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วแต่สถานการณ์
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นคะ



สภาวะของสมาธิ ท่านเปรียบเหมือนน้ำที่ผสมแป้งทำให้แป้งจับกันเป็นก้อนไม่ฟุ้งกระจาย ฉันใด
สมาธิ เมื่อเกิดก็ทำให้องค์ธรรมที่เกิดร่วมกับมันรวมตัวกัน (สหชาตปัจจัย) ไม่ฟุ้งซ่านฉันนั้น

แต่เมื่อสมาธิมากล้ำองค์ธรรมอื่น โดยเฉพาะวิริยะอาจบีบรัดกล้ามเนื้อตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง ฯลฯ ดังนั้น อาการดังกล่าวบ่งว่าสมาธิมากไป

วิธีปรับ ก็คือเดินจงกรมระยะต่ำๆ เช่น ระยะที่ 1 เดินให้มากว่านั่ง แล้วอาการดังกล่าวจะคืนสภาพเป็นปกติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 2:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ทำไมบางครั้งเราถึงใช้จิตเราบังคับให้คนบางคน หรือเหตุการณ์บางอย่าง
ให้เกิดตามที่เราต้องการได้ หรือรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าบางอย่างได้

แต่ทำไมใช้ไม่ได้กับคนคนหนึ่ง ทั้งๆ ที่กับคนอื่นเราก็ทำได้
เป็นเพราะเขามีอำนาจอะไรบางอย่างเหนือเรารึเปล่า

อย่างเช่นเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรารึเปล่า ฉันมีความรู้สึกว่าเขาเป็นน่ะค่ะ ไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่านะคะ



ประเด็นนี้ตอบกว้างๆ โดยเทียบกรณีพระพุทธเจ้า ก็เช่น
พระพุทธองค์ใช้เมตตาจิตทำให้ช้างนาฬาคิรีซึ่งดุร้ายมากๆเป็นช้างเชื่องหยุดดุร้ายน้อมตนลงได้ แต่กับพระเทวทัตพระพุทธองค์ทำไม่ได้


ทำไมบางครั้งเราถึงใช้จิตเราบังคับให้คนบางคน หรือเหตุการณ์บางอย่าง ให้เกิดตามที่เราต้องการได้ หรือรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าบางอย่างได้


เป็นไปได้ จิตตานุภาพยากแท้หยั่งถึง เพราะเคยประสบเช่นกัน แต่พึงใช้สิ่งพิเศษนั้นในกรณีจำเป็นอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงประมาท


พึงระลึกว่า ก้าวสุดท้ายของการปฏิบัติ เพื่อดับอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ถึงสิ่งนั้นๆ จะเกิดก็เกิดตามเหตุปัจจัยของมัน

อย่างเช่นเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรารึเปล่า ฉันมีความรู้สึกว่าเขาเป็นน่ะค่ะ ไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่านะคะ


เราได้เคยจองเวรกับใคร เหมือนๆกากับนกเค้า เหมือนพังพอนกับงูเห่า หรือ เหมือนหมีกับไม้สะคร้อหรือไม่อย่างไร
ผู้ที่ได้สัพพัญญุตญาณเท่านั้นจะพึงพยากรณ์เรื่องนี้ได้

แต่ในทางปฏิบัติ ณ ขณะนั้นๆ เราพึงกำหนดความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเปรียบเหมือนหลักตอขวางทางสัมมาปฏิบัตินั้นทุกครั้งว่า “คิดหนอๆๆ” หรือ “สงสัยหนอๆๆ” เมื่อสงสัย ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 2:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นใด ยังไม่ได้ตอบ ถามประเด็นนั้นซ้ำอีกตรั้ง ไม่ต้องเกรงใจนะ

ครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
รติ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2008
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 9:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คงปีสุดท้ายแล้วกระมัง ยิ้ม

ยังหรอกค่ะ...พอดีคณะที่เรียนต้องเรียนตั้งหกปี ตกใจ
นี่ก็เพิ่งเปิดเทอม..
(แก่แล้วไม่มีปิดเทอม..แย่จังค่ะ)

ขอบคุณคุณกรัชกายนะคะที่เข้ามาตอบ
ได้คำตอบที่ช่วยให้หายสงสัยเยอะเลยค่ะ ยิ้ม
 

_________________
ชีวิตนี้สั้นนัก..
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
รติ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2008
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 9:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
ประเด็นใด ยังไม่ได้ตอบ ถามประเด็นนั้นซ้ำอีกตรั้ง ไม่ต้องเกรงใจนะ

ครับ ยิ้มเห็นฟัน


ขอบคุณมากๆเลยค่ะ เดี๋ยวสงสัยอะไรจะมาถามใหม่นะคะ
ขำ
 

_________________
ชีวิตนี้สั้นนัก..
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2008, 7:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศึกษาจงกรมลิงค์นี้ครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=4&topic=เดินจงกรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง