Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาวะแห่งนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้จะได้สดับข้อความแสดงภาวะของนิพพานกันมาถึงเพียงนี้ และแม้ว่าจะได้คิดตีความหรือนำมาถกเถียงหาเหตุผลกัน เพื่อหาความเข้าใจว่า นิพพานเป็นอย่างไร แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้ปฏิบัติจนเข้าถึงและรู้เห็นแจ้งประจักษ์ด้วยตนเอง ก็พึงเตือนสติกันไว้ว่า ภาพความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพานของผู้ศึกษาทุกคน ก็คงมีลักษณะอาการอันเทียบได้กับภาพช้างในความคิดความเข้าใจของพวกคนตาบอดคลำช้าง
ดังความย่อในบาลีต่อไปนี้

สมัยหนึ่ง ในนครสาวัตถี สมณะ พราหมณ์ ปริพาชก จำนวนมากมาย ต่างลัทธิ ต่างทฤษฎี ต่างก็ยึดถือลัทธิ ทฤษฎีของตนว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น แล้วเกิดทะเลาะวิวาท ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่ใช่อย่างนี้
ธรรมไม่ใช่อย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลายนำความมากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสว่า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เรื่องเคยมีมาแล้ว ราชาพระองค์หนึ่งในนครสาวัตถี ได้ตรัสสั่งราชบุรุษให้ไปนำเอาคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งหมดเท่าที่มีในเมืองสาวัตถีมาประชุมกัน
ครั้นแล้ว โปรดให้นำช้างตัวหนึ่งมาให้คนตาบอดเหล่านั้นทำความรู้จัก

ราชบุรุษแสดงศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่าช้างอย่างนี้นะ
แสดงหูช้างแก่อีกพวกหนึ่ง บอกว่าช้างอย่างนี้นะ
แสดงงาช้างแก่อีกพวกหนึ่ง
แสดงงวงช้าง
ตัวช้าง
เท้าช้าง
หลังช้าง
หางช้าง
ปลายหางช้าง แก่คนตาบอดทีละพวกๆ ไปจนหมด บอกว่าช้างอย่างนี้นะ ช้างอย่างนี้นะ
เสร็จแล้วกราบทูลพระราชาว่า คนตาบอดทั้งหมดได้ทำความรู้จักช้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ครั้งนั้น พระราชาจึงเสด็จมายังที่ประชุมคนตาบอดแล้ว ตรัสถามว่า
“พวกท่าน ได้เห็นช้างแล้วใช่ไหม?”

“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นช้างแล้ว พระเจ้าข้า”

พระราชา จึงตรัสถามต่อไปว่า “ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ได้เห็นช้างแล้วนั้น ช้างเป็นเช่นไร ?”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คราวนั้น คนตาบอดที่ได้คลำศีรษะช้าง ก็ว่าช้างเหมือนหม้อ

คนที่ได้คลำหูช้าง ก็ว่าช้างเหมือนกระด้ง

คนที่ได้คลำงาช้าง ก็ว่าช้างเหมือนผาล

คนที่ได้คลำงวงช้าง ก็ว่าช้างเหมือนงอนไถ

คนที่ได้คลำตัวช้าง ก็ว่าช้างเหมือนยุ้งข้าว

คนที่ได้คลำเท้าช้าง ก็ว่าช้างเหมือนเสา

คนที่ได้คลำหลังช้าง ก็ว่าช้างเหมือนครกตำข้าว

คนที่ได้คลำหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนสาก

คนที่ได้คลำปลายหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนไม้กวาด

เสร็จแล้วคนตาบอดเหล่านั้นก็ได้ทุ่มเถียงกันว่า ช้างเป็นอย่างนี้

ช้างไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

ช้างไม่ใช่อย่างนั้น ช้างเป็นอย่างนี้ จนถึงขั้นชกต่อยกันชุลมุน

เป็นเหตุให้พระราชานั้นทรงสนุกสนานพระทัยแล.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค.2009, 7:00 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 11:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท้ายสุด พระพุทธเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานเป็นคาถาความว่า

“นี่ละหนอ สมณะและพราหมณ์บางพวก ย่อมมัวติดข้องกันอยู่ใน

สิ่งที่เป็นทิฐิทฤษฎีเหล่านี้ คนทั้งหลาย ผู้เห็นเพียงส่วนหนึ่งๆ

พากันถือต่างถือแย้ง จึงทะเลาะวิวาทกัน”


(ขุ.อุ.25/138/184)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 6:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศึกษาอารมณ์ของผู้บรรลุนิพพาน จากพุทธธรรมหน้า 241 ต่อเลย
สังเกตภาวะทางปัญญา - ภาวะทางจิต – ภาวะทางความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต ของผู้บรรลุนิพพาน (ปัญญา สมาธิ ศีล)


ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน



เนื่องด้วยคำสอนในพระพุทธศาสนาเน้นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และการลงมือ

ทำให้รู้เห็นประจักษ์บังเกิดผลเป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือเน้นสิ่งที่ใช้

ประโยชน์ได้ และการนำสิ่งนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์-

(ดูหลักการตรัสพระวาจาของพระพุทธเจ้าใน องฺ.จตุกฺก.21/183/233

ฯลฯ) ไม่สนับสนุนการคิดวาดภาพ และการถกเถียงหาเหตุผลในสิ่งที่

พึงเห็นได้ด้วยการลงมือทำนั้น ให้เกินเพียงพอแก่ความเข้าใจที่จะ

เป็นฐานสำหรับการลงมือปฏิบัติ

ดังนั้น ในการพิจารณาเรื่องนิพพาน การศึกษาเกี่ยวกับภาวะของ

บุคคลผู้บรรลุนิพพาน รวมทั้งประโยชน์ที่เป็นผลของการบรรลุนิพพาน

ซึ่งเห็นได้ที่ชีวิตหรือบุคลิกภาพของผู้บรรลุ จึงน่าจะมีคุณค่าในทางปฏิบัติ

และสอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนามากกว่าการอภิปราย

เรื่องภาวะของนิพพานโดยตรง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน อาจศึกษาได้จากคำเรียกชื่อและคำแสดงคุณลักษณะของผู้

บรรลุนิพพานนั่นเอง ซึ่งมีทั้งความหมายแง่บวกและแง่ลบ เช่น

-อรหันต์ –ผู้ควร หรือผู้ไกลจากกิเลส

-ขีณาสพ-ผู้สิ้นอาสวะแล้ว

-อเสขะ – ผู้ไม่ต้องศึกษา ผู้จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ประกอบด้วยอเสขธรรม

-ปริกขีณภวสังโยชน์- ผู้หมดสังโยชน์ที่เป็นเครื่องผูกมัดไว้ในภพ

-วุสิตวันต์ หรือ วุสิตพรหมจรรย์- ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

-โอหิตภาระ-ผู้ปลงภาระแล้ว

-อนุปปัตตสทัตถ์-ผู้เข้าถึงประโยชน์ตนแล้ว

-สัมมาทัญญาวิมุตต์-ผู้หลุดพ้นเพราะรู้ถูกถ้วน

-อุตมบุรุษ-คนสูงสุด คนเยี่ยมยอด

-มหาบุรุษ - คนยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรม

-สัมปันนกุศล-ผู้มีกุศลสมบูรณ์

-บรมกุศล- ผู้มีกุศลธรรมอย่างยิ่ง

-ทักขิไณย์-แท้-ผู้ควรแก่ทักษิณา

-สมณะ-แท้-ผู้สงบ ผู้ระงับกิเลส

-อริยะ หรือ อารยชน-แท้ - ผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ

-พราหมณ์ –แท้ - ผู้ลอยอกุศลธรรมแล้ว เป็นต้น



คำเหล่านี้ บางคำพบบ่อยจนชินตา แต่บางคำมีที่มาน้อยแห่ง –

ดู ม.มุ.12/402/432;478/510 ฯลฯ

โดยเฉพาะคำท้ายๆ เป็นคำเลียนชื่อเก่า ๆ ในศาสนาพราหมณ์ แต่เปลี่ยนความ

หมายใหม่ให้เป็นไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา เช่น “พราหมณ์”

เดิมหมายถึงผู้ลอยบาปด้วยการลงอาบในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่คงคา

แต่ในพุทธศาสนา หมายถึงผู้ลอยบาปโดยละเสียด้วยการปฏิบัติตามมรรค

หรือโดยอุปมาว่าลงอาบตัวในธรรม ดังนี้เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 เม.ย.2010, 7:51 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

การศึกษาตามแนวนี้ ต้องพิจารณาภาวะของผู้บรรลุนิพพาน โดยสัมพันธ์กับหลักธรรมที่กล่าวถึงในคำนั้นๆ เช่น อาสวะ 3 สิกขา 3
อเสขธรรม 10 สังโยชน์ 10 พรหมจรรย์ คือ มรรคมีองค์ 8
เป็นต้น ฯลฯ
ในที่นี้จะสรุปกล่าวตามแนวแห่งหลัก 3 ประการ คือ
ภาวะทางปัญญา ภาวะทางจิต และภาวะความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต (แนวนี้ใกล้เคียงกับสิกขา 3 ที่ย้อนลำดับ คือ ปัญญา สมาธิ และศีล)
ดังต่อไปนี้


1. ภาวะทางปัญญา


ลักษณะสำคัญที่เป็นพื้นฐานทางปัญญาของผู้บรรลุนิพพาน คือ การ

มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น หรือเห็นตามความเป็นจริง เริ่มต้น

ตั้งแต่การรับรู้อารมณ์ทางอายตนะ ด้วยจิตใจที่มีท่าทีเป็นกลางและมีสติ

ไม่หวั่นไหวถูกชักจูงไปตามความชอบใจ ไม่ชอบใจ สามารถตามดูรู้

เห็นอารมณ์นั้นๆ ไปตามสภาวะของมันตั้งแต่ต้นจนตลอดสาย ไม่ถูก

ความติดพัน ความขัดข้องขุ่นมัว หรือความกระทบกระแทกที่เนื่อง

จากอารมณ์นั้นฉุดรั้งหรือสะดุดเอาไว้ให้เขวออกไปเสียก่อน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ต่างจากปุถุชนที่เมื่อรับรู้อารมณ์ใด มักไปสะดุดอยู่ตรงจุดหรือแง่ที่กระทบ

ความชอบใจไม่ชอบใจ แล้วเกาะเกี่ยวพัวฟันอยู่ตรงนั้น สร้างความตริ

ตึกคิดปรุงแต่งผันพิสดารขึ้นตรงนั้น แล้วไถลหรือเขวออกไปจากทางแห่ง

ความเป็นจริง เกิดความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คือรู้เห็นไปตาม

อำนาจกิเลสที่ปรุงแต่ง ไม่รู้เห็นตามความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ เรื่อง

นั้นๆ เช่น เรื่องราวมีสาระอย่างเดียวกัน

คนหนึ่งมาพูดโดยเสริมคำเยินยอผู้ฟังประกอบเข้าด้วย ผู้ฟังนั้นเห็นคล้อย

ไปตาม

แต่อีกคนหนึ่งมาพูดโดยไม่เสริมแต่งเลย ผู้ฟังเดียวกันนั้นกลับไม่เห็น

ชอบด้วย หรือข้อความอย่างเดียวกัน คนที่ผู้ฟังรักใคร่ชอบใจนำมา

พูด ผู้ฟังชมว่าถูกต้องเห็นดีเห็นงามไปตาม แต่คนที่ผู้ฟังเกลียดชัง

นำมาพูด ผู้ฟังเห็นเป็นสิ่งผิดพลาดเสียหายไม่อาจยอมรับได้

ดังนี้เป็นต้น

(แง่นี้ ดู สํ.สฬ.18/213/157; 280/151 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลึกซึ้งลงไปอีก คือ ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร รู้สามัญลักษณะที่เป็น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทันสมมุติบัญญัติ ไม่ถูกหลอกให้หลง

ไปตามรูปลักษณ์ภายนอกของสิ่งทั้งหลาย และยอมรับความจริงทุก

ด้าน มิใช่ติดอยู่เพียงแง่ใดแง่หนึ่ง ความรู้เห็นตามที่มันเป็น หรือ

รู้เห็นตามความเป็นจริงขั้นนี้ จะช่วยแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า

พระพุทธศาสนาเป็นลัทธิมองแง่ร้ายได้โดยสิ้นเชิง เช่น ผู้เข้าถึง

พุทธธรรมรู้ว่า ขันธ์ 5 มิใช่เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเพียงอย่างใด

อย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว- (สํ.ข. 17/131/85)

รู้ว่า “ความอยากย้อมใจที่เกิดจากความนึกคิดของคน (ต่างหาก)

เป็นกาม

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกหาชื่อว่ากามไม่...อารมณ์อัน

วิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของมันอย่างนั้นเอง

ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึงกำจัด (แต่เพียง) ตัวความชอบใจ ใน

อารมณ์เหล่านั้น” (องฺ.ฉกฺก.22/334/460)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 12:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ต้องเข้าใจทั้งส่วนดีหรือส่วนที่น่าชื่นชม (อัสสาทะ)

ส่วนเสียหรือส่วนที่เป็นโทษ (อาทีนพ)

และทางปลอดพ้น- (นิสสรณะ) ของกาม ของโลก

ของขันธ์ 5

มองเห็นส่วนดีว่าเป็นส่วนดี

มองเห็นส่วนเสียว่าเป็นส่วนเสีย

มองเห็นทางปลอดพ้นว่าเป็นทางปลอดพ้น

แต่ที่ละกาม หายติดใจในโลก เลิกยึดขันธ์ 5 เสีย ก็เพราะ

มองเห็นทางปลอดพ้นเป็นอิสระ (นิสสรณะ) ซึ่งจะทำให้อยู่ดีมีสุขได้

โดยไม่ต้องขึ้นต่อส่วนดีและส่วนเสียเหล่านั้น

อีกทั้งเป็นการอยู่ดีมีสุขที่ประเสริฐกว่าประณีตกว่าอีกด้วย -

(ม.มู.12/196-208/168-178 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 1:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ




ความรู้เท่าทันสมมุติบัญญัตินั้น รวมไปถึงการรู้เข้าใจวิถีทางแห่งภาษาที่

เรียกว่าโวหารโลก รู้จักใช้ภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดใน

สมมุติของภาษา ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่กล่าวเข้าข้างกับใคร ไม่กล่าว

ทุ่มเถียงกับใคร อันใดเขาพูดกันในโลก ก็กล่าวไปตามนั้น

ไม่ยึดถือ” (ม.ม.13/273/268)


“ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...จะพึงกล่าวว่า ฉันพูดดังนี้ก็ดี เขาพูด

กับฉันดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึง

กล่าวไปตามโวหารเท่านั้น” (สํ.ส.15/65/21)

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 8:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเกิดปัญญารู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น เห็นอาการที่มันเกิด
จากเหตุปัจจัยอาศัยกันและกันจึงมีขึ้น ก็เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง เรียกว่าเกิดมีโลกทัศน์และชีวทัศน์ที่ถูกต้อง ความยึดถือ ทิฐิทฤษฎีทั้งหลายในทางอภิปรัชญา รวมทั้งความสงสัยในปัญหาต่างๆ ที่เรียกว่าอัพยากตปัญหา -(ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์) เช่น ว่า โลกเที่ยง หรือไม่เที่ยง เป็นต้น ก็พลอยหายหมดไปด้วยพร้อมกันอย่างเป็นไปเอง ดังบาลีว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาจางหายดับไปไม่เหลือ ความเห็นขัดแย้งกันไปต่างๆ การถือดื้อดึง ความเห็นที่พล่านสบสน อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามว่า สังขารเป็นไฉน สังขารเหล่านี้ของใคร สังขารก็อย่างหนึ่ง เจ้าของสังขารก็อย่างหนึ่ง ตัวชีวะกับสรีระเป็นอันเดียวกัน ตัวชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อีกอย่างหนึ่ง ความเห็นเล่านั้นทั้งหมด ย่อมถูกละหมดไป..”

(สํ.นิ.16/142/77)

และเมื่อภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ”อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้อริยสาวกผู้ได้เล่าเรียนแล้ว ไม่เกิดความสงสัยในเรื่องที่พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์?”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เพราะทิฐิดับไป อริยสาวกผู้ได้เล่าเรียน
แล้ว จึงไม่เกิดความสงสัยในเรื่องที่เราไม่ทรงพยากรณ์...ปุถุชนผู้มิได้
เล่าเรียน ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งทิฐิ ไม่รู้ชัดเหตุเกิดแห่งทิฐิ ไม่รู้ชัดการดับ
ทิฐิ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ดำเนินไปสู่ความดับแห่งทิฐิ ทิฐินั้นจึงพอก
พูนแก่เขา เขาย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส”

(องฺ.สตฺตก. 23/51/69)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 8:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะทางปัญญาอีกอย่างหนึ่งของผู้เข้าถึงสัจธรรมแล้ว คือ ไม่ (ต้อง) เชื่อ ไม่ (ต้อง)มีศรัทธา หรือ ไม่ต้องอาศัยศรัทธา เรียกตามคำบาลีสั้นๆว่า “อัสสัทธะ” ลักษณะนี้ต่างกันอย่างตรงข้ามกับความไม่
เชื่อ หรือความไม่มีศรัทธาตามความหมายสามัญขั้นต้น ซึ่งหมายถึงไม่รู้
ไม่เห็น จึงไม่เชื่อ หรือไม่เลื่อมใสในตัวผู้พูดหรือดึงดื้อถือรั้น เป็นต้น จึงไม่ยอมเชื่อ

แต่ในที่นี้ ไม่ต้องเชื่อ เพราะรู้เห็นสิ่งนั้นๆแจ้งประจักษ์กับตนเองแล้ว
รู้เองเห็นเองแล้วไม่ต้องรู้เห็นผ่านคนอื่น ไม่ต้องอาศัยความรู้ของคนอื่น-
(ศรัทธา คือ การยอมขึ้นต่อความรู้ของผู้อื่น ในเมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง)

ในเมื่อรู้เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างนั้น จะต้องไปเชื่อใครอีก หรือจะต้องไปเอาใครมาบอกให้อีก เรียกว่าเป็นขั้นที่ยิ่งกว่าเชื่อหรือเลยเชื่อไปแล้ว

ดังที่ท่านอธิบายว่า

“เกี่ยวกับธรรมที่รู้แน่อยู่ด้วยตนเอง ประจักษ์กับตนเอง (เธอ) ไม่เชื่อต่อใครๆอื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม คือ ไม่เชื่อต่อใครๆ เกี่ยวกับธรรมที่รู้แน่อยู่เอง ประจักษ์กับตัวว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงมิใช่เป็นตัวตน เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ”

(ขุ.ม.29/407/281

หรือที่พระสารีบุตรทูลพระพุทธเจ้าว่า “ในเรื่องนี้ข้าพระองค์มิใช่ถือไปตามด้วยศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาค...เรื่องนี้ข้าพระองค์ทราบแล้ว เห็นแล้ว รู้ชัดแล้ว ทำให้ประจักษ์แล้ว สัมผัสแล้วด้วยปัญญา จึงไม่มีความสงสัย ไม่มีความคลางแคลงใจ”

(สํ.ม.19/985/292)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ส.ค. 2008, 3:34 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
จักรวัฏ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ส.ค. 2008
ตอบ: 88
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 9:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. ภาวะทางจิต


ภาวะทางจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความเป็นอิสระ หรือเรียกตามคำ
พระว่าความหลุดพ้น ภาวะนี้เป็นผลสืบเนื่องจากปัญญา คือ เมื่อเห็น
ตามเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำ
ของกิเลส ท่านมักกล่าวบรรยายการเข้าถึงภาวะนี้ว่า

“จิตที่ปัญญาบ่มงอมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย”

(ที.ม.10/76/96; 88/108; 111/143)

หรือ “เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
กามาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากภวาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้
จากอวิชชาสวะ”

(วินย.1/3/9 ฯลฯ )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ

ก็คือ การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เย้ายวนหรือยั่วยุ อย่างที่เรียกว่า อารมณ์เป็นที่

ตั้งของราคะ หรือโลภะ โทสะและโมหะ-

(องฺ.จตุกฺก.21/117/161 ฯลฯ) เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว

ยิ่งกว่านั้น ยังมีผลสืบเนื่องจากความปราศจากราคะ โทสะ โมหะต่อไปอีก คือ ทำให้

ไม่มีความหวาดเสียว สะดุ้ง สะท้าน หวั่นไหว-

(องฺ.จตุกฺก.21/117/161 ฯลฯ)

นอกจากไม่มีเหตุที่จะให้ทำความชั่วเสียหายที่ร้ายแรงแล้ว ยังมีหลักประกันความสุจริต

ใจในการทำงานด้วย-

(ม.ม.13/657/603)

สามารถเป็นนายของอารมณ์ ถึงขั้นที่ท่านเรียกว่า เป็นผู้อบรมอินทรีย์แล้ว คือ

เมื่อรับรู้อารมณ์ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า น่า

ชอบใจ ไม่น่าชอบใจ หรือเป็นกลางๆก็ตาม ก็สามารถบังคับสัญญาของตน

ได้ ให้เห็นของปฏิกูล ไม่เป็นปฏิกูล เห็นของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล เป็นต้น

ตลอดจนจะสลัดทิ้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล วางใจเฉยเป็นกลางอยู่อย่างมีสติ

สัมปชัญญะ ก็ทำได้ตามต้องการ-

(ม.อุ.14/863/546)

เป็นผู้มีสติควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว-

(ขุ.สุ.25/331/398; 366/429 ฯลฯ)

หรือผู้ชนะตนเองซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะสงคราม-

(ขุ.ธ.25/18/28)

มีจิตหนักแน่มั่นคงไม่หวั่นไหวโยกคลอนไม่ตามอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ เหมือนภูเขา

หินใหญ่ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม -

(องฺ.ฉกฺก.22/326/423)

หรือ เหมือนผืนแผ่นดินเป็นต้นที่รองรับทุกสิ่ง ไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใครไม่ว่าจะทิ้ง

ของดีของเสียของสะอาดไม่สะอาดลงไป-

(ขุ.ธ.25/17/27 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ม.ค. 2010, 7:11 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 11:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะทางจิตอย่างอื่นๆ ยังมีอีกมาก เช่น

-ไม่มีเรื่องติดใจกังวล ไม่มีอะไรค้างใจ = อกิญจนะ

-ไม่คิดพล่าน ไม่มีความกระวนกระวายใจ ไม่งุ่นง่าน หงุดหงิด ไม่
หงอยเหงาเบื่อหน่าย ไม่หวาดสะดุ้ง ปราศจากภัย จิตใจสงบ= สันตะ

-เป็นสุข ไม่มีความโศก =อโศก

-ไม่มีธุลีที่ทำให้ขุ่นมัวหรือฝ้าหมอง = วิรชะ

-ปลอดโปร่งเกษม =เขมะ

-ผ่องใส เยือกเย็น= สีติภูตะ นิพพุตะ

-เอิบอิ่ม พอใจ =สันตุฏฐะ

-หายหิว= นิจฉาตะ

(เช่น สํ.ส.15/268/76 ฯลฯ)

จะเดินจะยืนจะนั่งจะนอนก็เบาใจวางใจสนิท- (ม.มู.12/328/335)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 8:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะที่ควรกล่าวย้ำไว้ เพราะท่านกล่าวถึงบ่อยๆ คือ ความเป็นสุข

มีทั้งคำแสดงภาวะของนิพพานว่าเป็นสุข

คำกล่าวถึงผู้บรรลุนิพพานว่าเป็นสุข

และ คำกล่าวของผู้บรรลุนิพพานเองว่าตนมีความสุข เช่นว่า

-นิพพานเป็นบรมสุข-( ม.ม.13/287/281 ฯลฯ)

-นิพพานเป็นสุขยิ่งหนอ -( ขุ.อุ.25/59/93 ฯลฯ)

-สุขยิ่งกว่านิพพานสุขไม่มี- (ขุ.เถรี.26/474/502)

-นี่คือสุขที่ยอดเยี่ยม -(องฺ.ฉกฺก.22/316/396)

-พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุขจริงหนอ- (สํ.ข.17/153/101)

-ผู้ปรินิพพานแล้วนอนเป็นสุขทุกเมื่อแล-(องฺ.ติก.20/475/175)

-ผู้ไร้กังวลเป็นผู้มีความสุขหนอ-(ขุ.อุ.25/5792)

-พวกเราผู้ไม่มีอะไรให้กังวลเป็นสุขจริงหนอ- (ขุ.ธ.25/25/42)

-สุขจริงหนอๆ (วินย.7/344/161 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 3:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้นิพพานจะเป็นสุข และผู้บรรลุนิพพานก็เป็นผู้มีความสุข

แต่ผู้บรรลุนิพพานไม่ติดในความสุข ไม่ว่าชนิดใดๆ รวมทั้งไม่ติดใจเพลินนิพพานด้วย-

(ม.มู.12/5-7/7-9)

เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆจากภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น

พระอรหันต์ยังคงเสวยเวทนาที่เนื่องจากอารมณ์เหล่านั้น ทั้งที่เป็นสุขเป็นทุกข์

และไม่สุขไม่ทุกข์ เช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่มีข้อพิเศษตรงที่ท่านเสวยเวทนา

อย่างไม่มีกิเลสร้อยรัด ไม่ติดเพลินหรือข้องขัดอยู่กับเวทนานั้น เวทนานั้นไม่เป็น

เหตุให้เกิดตัณหา เป็นการเสวยเวทนาชั้นเดียว

เรียกสั้นๆว่า เสวยแต่เวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต

ไม่ทำให้เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายภายใน เรียกว่า เวทนานั้น

เป็นของเย็นแล้ว การเสวย เวทนาของท่านเป็นการเสวยชนิด

ที่ไม่มีอนุสัยตกค้าง

ต่างจากปุถุชนที่เมื่อเสวยสุขก็จะมีราคานุสัยตกค้าง

เสวยทุกข์ก็มีปฏิฆานุสัยตกค้าง

เสวยอารมณ์เฉยๆ ก็มีอวิชชานุสัยตกค้าง เพิ่มความเคยชินและความแก่กล้าให้แก่

กิเลสเหล่านั้นมากยิ่งๆขึ้น-

(สํ.นิ.16/192/99 ฯลฯ)

แต่สำหรับพระอรหันต์ สุขทุกข์จากภายนอกไม่สามารถเข้าไปกระทบถึงภาวะที่ดับเย็น

เป็นสุขในภายใน ความสุขของท่านจึงเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารมณ์หรือสิ่งต่างๆใน

ภายนอก คือ ไม่ต้องอาศัยอามิส ท่านเรียกว่าเป็นนิรามิสสุขอย่างยิ่ง หรือ ยิ่งกว่า

นิรามิสสุข-

(นิรามิสสุขชั้นสามัญ คือสุขในฌาน)-

(สํ.สฬ.18/451-2/293)

ในเมื่อสุขของท่านไม่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก ความผันแปรเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย

อันเป็นไปตามคติธรรมดาแห่งสภาพสังขารจึงไม่เป็นเหตุให้ท่านเกิดความทุกข์

ถึงอารมณ์ 6 จะแปรปรวนเคลื่อนคลาดหายลับ ท่านก็ยังคงอยู่เป็นสุข-

(สํ.สฬ.18/216/159)

ถึงขันธ์ 5 จะผันแปรกลับกลายไปเป็นอื่น ท่านก็ไม่เศร้าโศกเป็นทุกข์-

(สํ.ข. 17/8/9)

ความรู้เท่าทันในความไม่เที่ยงแท้และสภาพที่ผันแปรนั้นเอง ย่อมทำให้เกิดความสงบ

เย็น ไม่พล่านส่ายไม่กระวนกระวาย อยู่เป็นสุขได้ตลอดเวลา ภาวะเช่นนี้ท่านว่า

เป็นความหมายอย่างหนึ่งของการพึงตนได้หรือการมีธรรมเป็นที่พึ่ง-

(สํ.ข. 17/87-88/53-54)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 7:08 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฯลฯ

ภาวะดังกล่าวมองอีกด้านหนึ่ง เป็นลักษณะแห่งพัฒนาการของชีวิตจิตใจ ซึ่งทำ

ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพตลอดจนท่าที่ต่อสิ่งต่างๆ หรือต่อโลกและ

ชีวิตโดยส่วนรวม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาการของชีวิตจิตใจ ทุก

คนพอจะมองเห็นได้ ในเมื่อเทียบเคียงกับการเติบโตจากเด็กขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ของ

เล่นต่างๆ ที่เคยรักใคร่หวงแหน ถือเอาเป็นเรื่องจริงจังสลักสำคัญนักหนามีความ

หมายต่อชีวิตถึงเป็นถึงตายในสมัยเป็นเด็ก

ครั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็จืดจาง กลายเป็นของไม่เร้าความรู้สึก เมื่อเห็นเด็กๆ ชื่น

ชมกันนัก ตั้งตาคอยจ้องจะชิงมาเป็นเจ้าของก่อน ผู้ใหญ่อาจมองเป็นขำไป

แม้วิธีหาความสนุกสนานต่างๆ ตามแบบของเด็กๆ ก็กลายเป็นสิ่งไร้ความหมาย

ข้อนี้ฉันใด

ผู้ที่บรรลุนิพพาน เข้าถึงพัฒนาการที่สูงเลยขึ้นไปจากปุถุชน ย่อมมีท่าที่ต่อโลกและ

ชีวิต ต่อสิ่งที่ชื่นชมยินดีและวิถีทางดำเนินชีวิตของปุถุชน เปลี่ยนแปลงไปฉันนั้น-

(ดู องฺ.ทสก.24/99/216)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 7:09 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง