Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาวะแห่งนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 9:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้ง 4 แบบนี้ ถ้าเป็นคำเรียก หรือคำแสดงคุณลักษณะ

บางทีท่านก็ใช้เสริมกัน มาด้วยกัน ในข้อความเดียวกัน

หรือมาเป็นกลุ่ม

ในที่นี้จะเอามาแสดงรวมๆ กันไว้เท่าที่เห็นสมควร พอให้ผู้ศึกษาเห็น

แนว และขอให้แยกแบบเอาเอง - (แสดงตามลำดับอักษรบาลี)

สํ.สฬ.18/674-751/441-454 ฯลฯ


-อกัณหอสุกกะ- ไม่ดำไม่ขาว (ไม่จำกัดชั้น วรรณะ ไม่เป็นบุญเป็นบาป)

-อกตะ- ไม่มีใครสร้าง

-อกิญจนะ-ไม่มีอะไรค้างใจ ไร้กังวล

-อกุโตภัย-ไม่มีภัยแต่ที่ไหน

-อัจจุตะ- ไม่เคลื่อน ไม่ต้องจากไป

-อัจฉริยะ- อัศจรรย์

-อชระ - อชัชชระ- ไม่แก่ ไม่คร่ำคร่า

-อชาตะ- ไม่เกิด

-อนตะ-ไม่โอนเอนไป ไม่มีตัณหา

-อนันต์ -ไมมีที่สุด

-อนาทาน-ไม่มีการถือมั่น

-อนาลัย-ไม่มีอาลัย ไม่มีความติด

-อนาสวะ-ไม่มีอาสวะ

-อนิทัสสนะ-ไม่เห็นด้วยตา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 6:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-อนีติกะ –ไม่มีสิ่งเป็นอันตราย

-อนุตตระ-ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ยอดเยี่ยม

-อภยะ-ไม่มีภัย

-อมตะ-ไม่ตาย

-อโมสธรรม-ไม่เสื่อมสูญ

-อัพภูตะ-ไม่เคยมีไม่เคยเป็น น่าอัศจรรย์

-อัพยาธิ-ไม่มีโรคเบียดเบียน

-อัพยาปัชฌะ-ไม่มีความเบียดเบียน

-อภูตะ-ไม่กลายไป

-อสังกิลิฏฐะ-ไม่เศร้าหมอง

-อสังกุปปะ-ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน

-อสังขตะ-ไม่ถูกปรุงแต่ง

-อโสกะ- ไม่มีความโศก

-อาโรคยะ-ไม่มีโรค สุขภาพสมบูรณ์

-อิสสริยะ-อิสรภาพ ความเป็นใหญ่ในตัว

-เขมะ-เกษม ปลอดภัย

-ตัณหักขยะ-ภาวะสิ้นตัณหา

-ตาณะ-เครื่องต้านทาน ที่คุ้มภัย

-ทีปะ- เกาะ ที่พึ่ง

-ทุกขักขยะ- ภาวะสิ้นทุกข์

-ทุททสะ- เห็นได้ยาก

-ธุวะ- ยั่งยืน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-นิปปปัญจะ – ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า ไม่มีปปัญจะ

-นิพพาน-ความดับกิเลสและกองทุกข์

-นิพพุติ-ความดับเข็ญเย็นใจ

-นิโรธ- ความดับทุกข์

-บรมสัจจ์- ความจริงอย่างยิ่ง สัจจะสูงสุด

-ปณีตะ-ประณีต

-ปรมัตถ์- ประโยชน์สูงสุด

-ปรมสุข –บรมสุข สุขอย่างยิ่ง

-ปรายนะ-ที่ไปข้างหน้า ที่หมาย

-ปัสสัทธิ-ความสงบระงับ สงบเยือกเย็น

-ปาระ-ฝั่ง ที่หมายอันปลอดภัย

-มุตติ- ความพ้น หลุดรอด

-โมกขะ – ความพ้นไปได้

-โยคักเขมะ-ธรรมอันเกษมจากโยคะ

-วิมุตติ-ความหลุดพ้น เป็นอิสระ

-วิโมกข์-ความหลุดพ้น

-วิรชะ-ไม่มีธุลี

-วิราคะ-ความจากคลายหายติด

-วิสุทธิ-ความบริสุทธิ์ หมดจด

-สัจจะ-ความจริง

-สันตะ- สงบ ระงับ

-สันติ-ความสงบ

-สรณะ-ที่พึ่ง ที่ระลึก

-สิวะ-แสนเกษมสำราญ

-สุทธิ-ความบริสุทธิ์ สะอาด

สุทุททสะ- เห็นได้ยากยิ่งนัก

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในคัมภีร์ ชั้นอรรถาอธิบายและและคัมภีร์ที่เป็นสาวกภาษิต

(เช่น นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน) ตลอด

มาจนถึงคัมภีร์รุ่นหลังๆ เช่น อภิธานัปปทีปิกา ยังกล่าวถึงหรือจัดคำเข้า

มาแสดงความหมายของนิพพานอีกเป็นมาก เช่น


-อักขระ-ไม่รู้จกสิ้น ไม่พินาศ

-อจละ-ไม่หวั่นไหว

อนารัมมณะ-ไม่ต้องอาศัยสิ่งยึดหมาย

อนุปปาทะ-ความไม่เกิด

-อปวัคคะ-ปราศจากสังขาร พ้นสิ้นเชิง

-อมรณะ-ไม่ตาย

-อรูปะ-ไม่มีรูป ไม่มีทรวดทรงสัณฐาน

-อสัมพาธะ-ไม่คับแคบ ไม่ข้องขัด

-เกวละ –ไม่กลั้วระคน สมบูรณ์ในตัว,ไกวัลย์ (สันสกฤต)

-นิจจะ-เที่ยง แน่นอน

-ปฏิปัสสัทธิ-ความสงบรำงับ เยือกเย็น

-ปทะ –ที่พึงถึง จุดหมาย

-ประ-ภาวะตรงข้าม ภาวะยอดยิ่ง

-ปริโยสาน-จุดสุดท้าย จุดหมาย

-วูปสมะ-ความเข้าไปสงบ

-วิวัฏฏ์ –ภาวะพ้นวัฏฏะ ปราศจากวัฏฏะ

ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 8:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-เกวละ สันสกฤต เป็นไกวัลย์ เป็นคำแสดงจุดหมายสูงสุด

ที่ใช้ในศาสนาเชน (ไชนะของนิครนถ์)

ส่วนทางฝ่ายพุทธศาสนา ในชั้นบาลียังไม่พบใช้คำนี้หมายถึงนิพพาน

โดยตรง เป็นแต่เรียกผู้บรรลุนิพพานว่า เกวลี บ้าง เกพลี บ้าง

หลายแห่ง เช่น สํ.ส.15/656/245 ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 8:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บรรดาคำทั้งหมดเหล่านี้ บางคำก็ถือได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะใช้

เป็นคำแทนหรือคำแสดงอรรถของนิพพานอยู่เสมอ เช่น อสังขตะ

นิโรธ วิมุตติ วิราคะ สันตะ หรือสันติ เป็นต้น

แต่อีกหลายคำมีที่ใช้น้อยเหลือเกิน บางคำมีที่ใช้แห่งเดียว บางคำใช้

บ้างสองสามแห่ง จึงไม่ควรถือเป็นสำคัญนัก นำมาลงไว้เพียงเพื่อ

ประกอบความรู้เพราะอาจช่วยเป็นแนวความเข้าเพิ่มขึ้นบ้าง แม้คำแปลที่

ให้ไว้ก็พอให้จับความหมายได้บ้างเท่านั้น ไม่อาจให้อรรถรสลึกซึ้ง

สมบูรณ์ เพราะขาดข้อความแวดล้อมที่จะช่วยเสริมความเข้าใจ

และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ หลายศัพท์เป็นคำพูดที่คุ้นหูคุ้นปาก

ของคนเฉพาะยุคสมัยและถิ่นฐานหรือชุมชนนั้นๆ เกี่ยวด้วยสิ่งทีเขานิยม

หรือลัทธิศาสนาที่เขาเชื่อถือ ซึ่งเมื่อกล่าวขึ้นมาชนพวกนั้นย่อมซาบซึ้ง

เป็นอย่างดี


บางทีพระพุทธเจ้าทรงนำเอาคำนั้นๆมาใช้เรียกนิพพาน เพียงเพื่อเป็นสื่อ

เชื่อมโยงความคิดกับคนเหล่านั้น แล้วนำเอาความหมายใหม่ตามแนว

พุทธธรรมใส่เข้าไปแทน

คำเช่นนี้คนที่นอกยุคสมันนอกถิ่นฐานชุมชนนั้น ย่อมไม่อาจซึมทราบ

ในความหมายเดิมได้โดยสมบูรณ์


คำแปลตามรูปศัพท์อย่างที่ให้ไว้ดังกล่าว คงจะช่วยความเข้าใจได้

เพียงเล็กน้อย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


(อักษรที่เน้นสีแดงมีคำเฉลยตอนท้าย ศัพท์เหล่านี้แหละทำให้นักศึกษา

เข้าใจผิดตีความธรรมะผิดไม่น้อย)



-ต่อ


-ส่วนข้อความแบบบรรยายภาวะโดยตรง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่ง จะยกมา

ประกอบการพิจารณา

1. เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับ

นิพพานแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ได้ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ตอนหนึ่งพระองค์ได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า


“มีอยู่นะภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มี

อาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย ไม่มีอากาสานัญจายตนะ

ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ

ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีปรโลก ไม่มีดวง

จันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่าเป็น

การมา การไป การหยุดอยู่ การจุติ การอุบัติ อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้ง

อาศัย (แต่ก็) ไม่เป็นไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง นั้นแหละคือ

จุดจบของทุกข์”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 10:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพานแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย และได้ทรงเปล่งพระอุทานเป็นคาถาว่า

“ธรรมดาว่า อนตะ (ภาวะที่ไม่โน้มไปหาภพคือไม่มีตัณหา ได้แก่

นิพพาน) เป็นของเห็นได้ยาก สัจจะมิใช่สิ่งที่เห็นได้ง่ายเลย

ชำแรกตัณหาได้แล้ว เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ (ซึ่งสัจจะ) ย่อมไม่มีอะไร

ค้างใจเลย (ไม่มีอะไรที่จะติดใจกังวล)”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค.2009, 8:58 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 11:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเช่นเดียวกัน

และได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า

“มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่เกิด (อชาตะ)

ไม่เป็น (อภูตะ)

ไม่ถูกสร้าง (อกตะ)

ไม่ถูกปรุงแต่ง (อสังขตะ) หากว่า ไม่เกิด ไม่เป็นไม่ถูกสร้าง ไม่ถูกปรุงแต่ง

จักมิได้มีแล้วไซร้ การรอดพ้นจากภาวะเกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกสร้าง ถูกปรุงแต่ง

ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ได้เลย

แต่เพราะเหตุที่ มีไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกสร้าง ไม่ถูกปรุงแต่ง

ฉะนั้น การรอดพ้นภาวะเกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกสร้าง ถูกปรุงแต่ง จึงปรากฏได้”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค.2009, 9:07 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 11:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. อีกคราวหนึ่ง ทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพานแก่ภิกษุทั้งหลาย

เช่นเดียวกัน และได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า


“ยังอิงอยู่ จึงมีการสั่นไหว ไม่อิงแล้ว ก็ไม่มีการสั่นไหว เมื่อการ

สั่นไหวไม่มี ก็นิ่งสนิท เมื่อนิ่งสนิท ก็ไม่มีการโอนเอน เมื่อไม่มีการ

โอนเอน ก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการ

จุติและอุบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุบัติ ก็ไม่มีที่ภพนี้ ก็ไม่มีที่ภพ

โน้น ไม่มีในระหว่างภพทั้งสอง นั้นแหละคือจุดจบของทุกข์”

(ทั้งหมดจากที่มาแห่งเดียวกัน ขุ.อุ. 25/158-161/206-208)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5. อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขความเห็นของพระพรหม- (โบราณเรียกว่าทรมานพระพรหม)
ตามความย่อว่า คราวหนึ่ง พระพรหมนามว่า พกะ เกิดมีความเห็นอันชั่วร้ายขึ้นว่า
“พรหมสถานะนี้เที่ยง ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป สมบูรณ์ในตัว
ไม่มีทางล่วงลับไปเลย พรหมสถานะนี้แหละ ไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และที่รอดพ้นเหนือขึ้นไปนอกจากพรหมสถานะนี้ หามีไม่”

พระพุทธเจ้า ทราบความคิดของพรหมนั้น จึงเสด็จไปตรัสบอกแก่
พระพรหมว่า “พระพรหมตกอยู่ในอวิชชาเสียแล้ว พระพรหมตกอยู่ในอวิชชาเสียแล้ว จึงกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่คงอยู่ตลอดไปว่าคงอยู่ตลอดไป ฯลฯ และที่รอดพ้นอื่นที่เหนือกว่ามีอยู่ ก็กลับกล่าวว่า ไม่มีที่รอดพ้นอื่นที่เหนือกว่า”

ครั้งนั้น มารได้เข้างำพรหมบริวารตนหนึ่งกล่าวกะพระพุทธเจ้าว่า
“นี่แน่ะภิกษุ นี่แน่ะภิกษุ ท่านอย่าก้าวร้าวพระพรหมนี้ ท่านอย่าก้าวร้าวพระพรหมนี้ เพราะว่า ท่านพระพรหมนี้แหละคือ
ท้าวมหาพรหม องค์พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) ที่ไม่มีใครฝ่าฝืนได้ เป็นผู้มองเห็นหมดสิ้น ยังสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิศวร เป็นพระผู้สร้าง เป็นพระผู้บันดาล เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดสรรโลก
เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นพระบิดาของเหล่าสัตว์ทั้งที่เกิดแล้ว และที่จะเกิดต่อไป ฯลฯ”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 5:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามมารเสีย มีความตอนท้ายว่า “พระพรหมและ
บริษัทบริวารของพระพรหมทั้งหมดอยู่ในกำมือของท่าน อยู่ในอำนาจของท่าน ฯลฯ แต่เราหาได้อยู่ในกำมือของท่าน หาได้อยู่ในอำนาจของท่านไม่”

เมื่อพระพรหมกล่าวยืนยันว่า “ข้าพเจ้ากล่าวสิ่งที่เที่ยงแท้ทีเดียวว่าเที่ยง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืนแท้ดีเดียวว่ายั่งยืน กล่าวสิ่งที่คงอยู่ตลอดไปแท้ทีเดียวว่าเป็นสิ่งที่คงอยู่ตลอดไป ฯลฯ”

พระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้พระพรหมทราบว่า พระพรหมยังไม่รู้
ยังมองไม่เห็นอะไรๆ ที่เหนือกว่าพรหมนั้นอีกหลายอย่าง แต่พระองค์
ทรงรู้ทรงเห็นรวมทั้ง :-

“ภาวะที่พึงรู้ได้ (=วิญญาณ) มองด้วยตาไม่เห็น
(= อนิทัสสนะ) เป็นอนันต์ สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด (=สัพพโตปภะ) ซึ่งภาวะปฐวีแห่งปฐวีเกาะกุมไม่ได้ ภาวะอาโปแห่งอาโป...
ภาวะเตโชแห่งเตโช... ภาวะวาโยแห่งวาโยเกาะกุมไม่ได้
ภาวะสัตว์แห่งสัตว์ทั้งหลาย... ภาวะเทพแห่งเทพทั้งหลาย...
ภาวะประชาบดีแห่งประชาบดีทั้งหลาย...ภาวะพรหมแห่งพรหมทั้งหลาย...
ภาวะอาภัสสระแห่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย....ภาวะสุภกิณหะแห่ง
สุภกิณหพรหมทั้งหลาย....
ภาวะเวหัปผละแห่งเวหัปผลพรหมทั้งหลายเกาะกุมไม่ได้ ภาวะพระผู้เป็น
เจ้าแห่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเกาะกุมไม่ได้ สรรพภาวะแห่งสรรพสิ่งเกาะกุมไม่ได้”

ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสดังนี้แล้ว พระพรหมจึงกล่าวว่า “เอาละทีนี้
เราจะหายตัวไปจากท่านละ”
แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระพรหมก็หายไปไม่ได้

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะทรงหายตัวบ้าง แล้วหายพระองค์ไป
ตรัสให้พรหมและบริษัทบริวารได้ยินแต่พระสุรเสียงว่า “เรา เห็นภัย
ในภพ และมองเห็นภพของประดาผู้แสวงหาวิภพ เราจึงไม่พร่ำถึงภพ
ไรๆ และไม่ยึดติดนันทิ (คือ ภวตัณหา)”


(ม.มู. 12/552-554/590-596)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 6:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

6. อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปทุกหนแห่งจนถึง
พรหมโลกเพื่อหาผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับที่ธาตุ 4 ดับหมดไม่มีเหลือ ไม่ได้คำตอบ ในที่สุดต้องกลับมาทูลถามพระพุทธเจ้า

ความย่อว่า ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า “ที่ไหนหนอ มหาภูต 4 เหล่านี้ กล่าวคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
ย่อมดับไปไม่เหลือเลย ?”

เธอจึงเข้าสมาธิแล้วไปหาหมู่เทพยดา เริ่มแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นต้นไป ถามปัญหาข้อนั้น เทวดาต่างก็ไม่รู้ และขอให้เธอไปถามเทพชั้นสูงต่อกันขึ้นไปตามลำดับ จนถึงพรหมโลก
พรหมทั้งหลายบอกเธอว่า พวกพรหมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่มีท้าวมหาพรหม องค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งคงจะทราบ

พระภิกษุนั้นจึงถามว่า เวลานี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหนเล่า
พรหมทั้งหลายก็ตอบว่า พวกพรหมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มหาพรหมอยู่ที่ไหน หรือทิศทางใด แต่จะมีนิมิตให้เห็น
เกิดมีแสงสว่าง ปรากฏโอภาสขึ้น พระพรหมจักสำแดงพระองค์เอง

การเกิดมีแสงสว่าง และปรากฏโอภาสนั้นแหละเป็นบุพนิมิตของการ
ที่พระพรหมจะสำแดงพระองค์ และต่อมามหาพรหมก็ได้สำแดง
พระองค์ แก่ภิกษุนั้น

ครั้นแล้ว ภิกษุนั้น จึงเข้าไปถามปัญหานั้นกะมหาพรหม มหาพรหมแทนที่จะตอบคำถาม กลับตรัสว่า “เราคือพระพรหม ท้าวมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ได้ ผู้มองเห็นหมดสิ้น ยังสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิศวร เป็นพระผู้สร้าง เป็นพระผู้บันดาล เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดสรรโลก เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นพระบิดาของเหล่าสัตว์ทั้งที่เกิดแล้ว และที่จะเกิดต่อไป”

พระภิกษุนั้นจึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้า มิได้ถามท่านว่าท่านเป็นพระพรหม ท้าวมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า ฯลฯ แต่ถามท่านว่า มหาภูต 4 ดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน “
พระพรหมก็ตรัสอย่างเดิมอีกว่า พระองค์เป็นมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า

ฯลฯ

พระภิกษุนั้น ก็ถามอีกถึงครั้งที่ 3 พระพรหมจึงจับแขนภิกษุนั้นพาหลบออกไปข้างนอก แล้วบอกเธอว่า “นี่แน่ะท่านภิกษุ พวกพรหมเทพเหล่านี้ ย่อมรู้จักข้าพเจ้าว่า อะไรๆ ที่พระพรหมไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่แจ้งประจักษ์ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ตอบปัญหาต่อหน้าพวกพรหมเทพเหล่านั้น

นี่แน่ะภิกษุ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มหาภูต 4 ดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงเป็นการทำผิดพลาดของท่านเอง ที่ละพระผู้มีพระภาคมาเที่ยวแสวงหาคำตอบปัญหานี้ในภายนอก นิมนต์ท่านกลับไปเถิด จงเข้าไปทูลถามปัญหานี้กะพระผู้มีพระภาคและ
พึงถือตามที่พระองค์ตรัสบอกให้”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 6:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ในที่สุด ภิกษุนั้นจึงทูลถามปัญหานั้นกะพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัส

ตอบว่า “ไม่ควรถามว่า มหาภูต 4 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน?”

แต่ควรถามว่า “ อาโป ปฐวี เตโช และวาโย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

ณ ที่ไหน

ยาว สั้น เล็ก ใหญ่ งาม ไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่ไหน

นามและรูป ย่อมดับหมดไม่เหลือ ณ ที่ไหน ?”

และมีคำตอบว่า ดังนี้ “ภาวะที่พึงรู้ได้ (วิญญาณ) มองด้วยตา

ไม่เห็น (อนิทัสสนะ) เป็นอนันต์ เข้าถึงได้ทุกด้าน (=สัพพโต

ปภะ) ที่นี้ อาโป ปฐวี เตโช และวาโย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

ที่นี้ ยาว สั้น ละเอียด หยาบ งาม ไม่งาม ก็ตั้งอยู่ไม่ได้

ที่นี้ นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือ

เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูปจึงดับ ที่นี้”

(ที.สี. 9/343-350/277-283)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในที่นี้ นอกเหนือจากข้อความที่บรรยายภาวะนิพพานแล้ว ได้นำเอา

เรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์ แวดล้อมมาเล่าไว้ย่อๆด้วย เพราะเรื่องแวด

ล้อมอาจเป็นเครื่องประกอบการพิจารณาที่จะช่วยทำความเข้าใจได้ด้วย

อย่างน้อยก็จะเห็นได้ว่า ข้อความเหล่านี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง

แก่พระภิกษุซึ่งเป็นผู้มีพื้นความรู้ทางธรรมอยู่แล้ว หรือตรัสกับพระพรหม

ที่เป็นเจ้าทิฏฐิ เจ้าทฤษฎี

ผู้ศึกษาบางท่านอาจตีความต่อไปอีกว่า สองเรื่องท้ายเป็นการแสดงคำ

สอนทางพุทธศาสนาพร้อมไปกับกำราบความเชื่อถือในศาสนา

พราหมณ์ โดยวิธีบุคลาธิษฐาน ความละเอียดจะไม่วิจารณ์ในที่นี้

แต่พึงทราบว่าข้อความบรรยายภาวะของนิพพานเหล่านี้ ได้ทำให้เกิด

ความตีความไปต่างๆและมีการถกเถียงหาเหตุผลมาแสดงแยกความเห็น

กันไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ที่เป็นเช่นนี้ เพราะตีความและคิดเหตุผลวาดภาพกันไปในสิ่งที่นึก

ไม่เห็น แต่ต้องปฏิบัติให้รู้เอง ดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วประประการ

หนึ่ง

และอีกอย่างหนึ่ง คือ การแปลความหมายคำบาลีบางคำเป็นเหตุ

ให้ตีความหมายแตกต่างกันไปคนละทาง เช่น คำว่า อายตนะ ใน

เรื่องที่ที่ 1

บางท่านถือตามคำแปลที่ว่า “แดน” แล้วตีความหมายเป็นถิ่นฐาน

หรือสถานที่

บางท่านว่า หมายถึงมิติอีกอย่างหนึ่ง

คำว่า วิญญาณ คำแรกในเรื่องที่ 5 และ 6

บางท่านถือตามความหมายอย่างเดียวกับในคำว่า จักขุวิญญาณ โสต

วิญญาณ เป็นต้น

ก็ตีความว่า นิพพาน เป็นวิญญาณอย่างหนึ่ง แล้วแปลว่า นิพพาน

เป็นวิญญาณที่เห็นด้วยตาไม่ได้ ฯลฯ

แต่ในอรรถกถา- (ที.อ.1/448, ม.อ.2/556) ท่านอธิบายว่า

วิญญาณในที่นี้ใช้เป็นคำเรียก นิพพาน แปลว่า ภาวะที่พึงรู้ได้

อย่างที่แปลไว้ข้างต้น

จะเห็นได้ว่าในเรื่องที่ 6 มีคำว่า วิญญาณ 2 ครั้ง วิญญาณ คำ

แรกหมายถึง นิพพาน โดยมีคำแปลต่างออกไปอย่างหนึ่ง และ

วิญญาณคำหลัง ในข้อความว่า วิญญาณ ดับ หมายถึง วิญญาณ ที่

เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปอย่างที่อธิบายในปฏิจจสมุปบาท
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในเรื่อง นิพพานนี้ ไม่ควรตัดสินหรือลงข้อสรุปง่ายๆ เพียงเพราะได้พบ

ถ้อยคำหรือความหมายบางอย่างที่ตรงเข้ากับนิพพานชนิดที่ตนอยาก

ให้เป็น หรือภาพนิพพานที่ตนคิดวาดเอาไว้ล่วงหน้า เพราะจะทำให้

เกิดความยึดถือปักใจเหนียวแน่น ในสิ่งที่ยังไม่รู้เห็นประจักษ์เอง

และอาจหลงแล่นผิดไปไกล ทางที่ดีควรหันมาเน้นการปฏิบัติและ

คุณประโยชน์ที่พึงถือเอาได้จากการปฏิบัติ อันตนจะลงมือทำได้จริง

และเห็นผลประจักษ์เป็นคู่สมกันกับการปฏิบัติตลอดเวลาที่ก้าว

หน้าทุกขั้นตอนไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ส.ค. 2008, 7:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ดูความหมายศัพท์ที่ผ่านมาอีกครั้ง)



-อนิทัสสนะ แปลว่า มองด้วยตาไม่เห็น, ไม่มีอะไรเป็นเครื่อง

เปรียบเทียบ (เทียบกับอะไรไม่ได้)

-สัพพโตปภะ แปลว่า สว่างแจ้งทั่วทั้งหมดฐ, เข้าถึงได้ทุกด้าน

หรือมีท่าขึ้นทุกด้าน คือ เข้าถึงได้ด้วยกรรมฐานทุกอย่าง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 7:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อกล่าวถึงภาวะของนิพพาน มีคำแสดงภาวะนิพพานที่สำคัญที่สุด

คำหนึ่งคือคำว่า “อสังขตะ” แปลว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง คือไม่เกิดจากเหตุ

ปัจจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น

ผู้ที่ช่างสังเกตจึงเกิดความสงสัยขึ้นว่า นิพพาน น่าจะเกิดจากเหตุ

เพราะนิพพานเป็นผลของมรรค หรือการปฏิบัติตามมรรค

ข้อสงสัยนี้มีคำตอบแก้สั้นๆ ด้วยข้ออุปมาว่า ถ้าเปรียบการปฏิบัติเพื่อ

เข้าถึงนิพพาน เหมือนการเดินทางไปเมืองเชียงใหม่จะเห็นว่า เมือง

เชียงใหม่ที่เป็นจุดหมายของการเดินทางนั้น ไม่ได้เป็นผลของทางหรือ

การเดินทางเลย ไม่ว่าถนนหรือการเดินทางจะมีขึ้นหรือไม่ก็ตาม เมือง

เชียงใหม่ก็คงมีอยู่ ถนนและการเดินทางเป็นเหตุของการถึงเมือง

เชียงใหม่ แต่ไม่ได้เป็นเหตุของเมืองเชียงใหม่

เช่นเดียวกับมรรคและการปฏิบัติตามมรรคเป็นเหตุแห่งการบรรลุนิพพาน

แต่ไม่ใช่เป็นเหตุของนิพพาน

(เรื่องนี้คัมภีร์มิลินทปัญหาก็พูดไว้ –มิลินฺท.341)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 7:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธพจน์ต่อไปนี้ เป็นเครื่องแสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า
การบรรลุนิพพาน และธรรมชั้นสูงอื่นๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่และเป็นได้จริง
ในเมื่อทำดวงตา คือ ปัญญาให้เกิดขึ้น

ดังพุทธพจน์ที่ตรัสโต้มติของพราหมณ์คนหนึ่ง ผู้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้
ที่มนุษย์จะรู้จะเห็นญาณทัศนะวิเศษยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์

มีความดังนี้ “นี่แน่ะมาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด

เขาไม่เห็นรูปดำ รูปขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู

รูปที่เรียบเสมอและไม่เรียบ ไม่เห็นหมู่ดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ (ถ้า)

เขากล่าวว่า รูปดำ รูปขาว ไม่มี คนเห็นรูปดำ รูปขาว ก็ไม่มี

รูปเขียวไม่มี คนเห็นรูปเขียว ก็ไม่มี ฯลฯ

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มี คนเห็น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็ไม่มี

ข้า ฯ ไม่รู้ ข้า ฯ ไม่เห็น สิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นๆ ย่อมไม่มี

เมื่อเขากล่าวดังนี้ จะชื่อว่ากล่าวถูกต้อง หรือ มาณพ ?”

มาณพ ทูลตอบว่า “ไม่ถูกต้อง”

พระองค์จึงตรัสต่อไปว่า “ข้อนี้ก็เช่นกัน พราหมณ์โปกขรสาติ

โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน เป็นคนมืดบอด ไม่มีจักษุ

การที่เขาจะรู้เห็นหรือบรรลุญาณทัศนะวิเศษอันสามารถอันประเสริฐ

เหนือกว่ามนุษยธรรม จึงเป็นไปไม่ได้”

(ม.ม.13/719/656)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง