Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาวะแห่งนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 10:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนๆหนึ่ง เขียนเล่าถึงวิธีไปนิพพาน อีกได้เห็น-ได้อยู่ในนิพพานกับผู้

นั้นผู้นี้ กรณี้นี้เป็นความเชื่อส่วนตัว เป็นวิธีปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม ซึ่งคิด

อย่างไรเห็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น

จะไม่กล่าวถึงก็ได้ หากไม่นำศัพท์ธรรมะสำคัญคือนิพพานมาอ้างอิง

คำว่า นิพพาน ที่เค้าเห็นและเข้าใจนั้น ก็ไม่ตรงกับนิพพานตามคำสอน

ทางศาสนาพุทธซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์ เกรงชาวพุทธผู้ใหม่ต่อศาสนา

จะเข้าใจผิดได้

ฉะนั้นกระทู้นี้ จึงนำภาวะนิพพานที่กล่าวไว้ในตำราศาสนา

ซึ่งท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์รวบรวมไว้ในหนังสือพุทธธรรมหน้า

229 ลงไว้ให้พิจารณากันเอาเอง



อันว่า มิจฉาปฏิปทาหรือการปฏิบัติผิดนั้นจะเป็นดังกระทู้นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17221
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ส.ค. 2008, 4:13 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 11:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เค้าเขียนเล่าไว้ยาวมากมาย มีอ้างชื่อบุคคลด้วย แต่ตัดออกไป

นำเนื้อๆลงให้พอมองเห็นเค้านิพพานตามความเข้าใจของคนกลุ่มนั้นคงพอ

สองตอนติดต่อกัน แต่ซอยออกเป็นสองช่วง

ช่วงแรกว่างี้




วันรุ่งขึ้น พอเริ่มลงมือฝึก หลวงพี่...ท่านก็บอกว่า เมื่อวานนี้ที่ไปกันไม่ได้ เพราะหลายคนใส่กระดาษคาถานะโมพุทธายะ ผิดด้านเอาด้านที่มีอักษรกลับหัวลง วันนี้ให้เปลี่ยนเสียใหม่

ข้าพเจ้าเลยรีบเช็คเผื่อเราจะเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ก็พบว่าเมื่อวานนี้ใส่ถูกแล้ว ก็ยังไปไม่ได้ ชักจะใจเสียอีกแล้ว เริ่มภาวนาไปเรื่อย ๆ
ได้ก็ช่าง เราก็นั่งของเราไปเรื่อย ๆ นั่งหลับตาไป ก็ได้ยินเสียงคนโน้นล้มคนนี้ร้อง มีผู้หญิงคนหนึ่งมานั่งร้องไห้โหยหวนอยู่ใกล้ ๆ ข้าพเจ้าเสียด้วย แต่ก็ภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่สนใจว่าใครจะล้มใครจะลุก

พอสักพักจิตสงบ ข้าพเจ้านึกถึงหลวงพ่อ...ขอให้ท่านมารับไปนิพพานด้วยเถิด ภาวนาต่อสักครู่ก็มีแสงสว่างวาบมาตรงหน้า ตัวของข้าพเจ้าเริ่มสั่นโคลงไปโคลงมา

ข้าพเจ้ารีบเอาจิตพุ่งตามแสงสว่างนั้นไป ใจก็นึกถึงหลวงพ่อแล้วก็มีภาพหลวงพ่อ...อยู่ตรงหน้า ท่านองค์ใหญ่มากมาปรากฏองค์แบบห่มจีวร ถือไม้เท้า ท่านยิ้มด้วย ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าปลื้มปีติมาก
แล้วก้มลงกราบท่าน

พยายามรวบรวมกำลังใจทั้งหมดพุ่งไปหาท่าน ตัวที่กำลังสั่นผับ ๆ ก็ยิ่งสั่นแรงขึ้น รู้สึกว่ามันตื้อ ๆ แต่บางทีก็เบาหวิวเหมือนจะลอยขึ้นจากพื้น

ข้าพเจ้าจับภาพหลวงพ่อยิ้มให้อยู่อย่างนั้นสักพัก แล้วคุณ...ครูฝึกก็เข้ามาถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ก็ตอบว่าเห็นภาพองค์หลวงพ่ออยู่ตรงหน้า ใจก็นึกว่า ตายเป็นตายไม่ห่วงร่างกาย จะเต้นจะล้มอย่างไรก็เชิญตามสบาย ตอนนี้หลวงพ่อท่านมารับแล้ว ลูกขอไปอยู่พระนิพพานกับหลวงพ่อด้วยเถิด

บอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 11:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

พอนึกเสร็จปุ๊บ ภาพหลวงพ่อตรงหน้าก็เปลี่ยนใหม่ภายในอึดใจเดียว คราวนี้ท่านทรงชุดพระนิพพานสว่างจ้าจนน้ำตาไหล สว่างเหมือนดวงอาทิตย์หลาย ๆ ดวงมารวมกันตรงหน้า จิตตอนนั้นเป็นสุขมาก ทั้ง ๆ ที่สว่างมากขนาดนั้น แต่กลับไม่ร้อน และมีความอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูก เห็นหลวงพ่อท่านทรงชุดพระนิพพานใสสว่างเป็นประกายเพชร สวยสดงดงามเหลือเกินจนอยากที่จะหยุดนั่งอยู่ตรงนั้นตลอด

ครูฝึกถามว่าคราวนี้อยากไปไหน

ข้าพเจ้าตอบว่า อยากไปพระจุฬามณีเจดียสถานไปกราบองค์สมเด็จ
พอนึกเสร็จปุ๊บก็ไปยืนอยู่ตรงหน้าพระจุฬามณีเรียบร้อยแล้ว
แต่การมาคราวนี้สว่างไสว และสวยงามกว่าทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเคยเห็น สว่างเป็นแก้วผสมเพชรแวววาวไปหมด

ก้มลงมองดูตัวเอง ก็พบว่าแต่งตัวสวยไม่เบา ผิวเนื้อของข้าพเจ้าเป็นเหมือนผิวเนื้อคนและผสมแก้วด้วย แต่ไม่สว่างเป็นแก้วเหมือนของเทวดา นางฟ้า บนศีรษะใส่ชฎายอดแหลม เสื้อปักเพชรทั้งหมด ระยิบระยับ โจงกระเบนก็เป็นเพชร ที่นิ้วมีแหวนเพชรเม็ดโต ๆ ใส่หมดทั้งสิบนิ้วสวยงาม เลยเผลอนึกไปว่า ถ้าในเมืองมนุษย์เรามีแหวนมากอย่างนี้ก็จะดี

นึกได้นิดเดียวกำลังจิตชักจะตก รีบตัดสินใจใหม่ พอเข้าไปข้างในพระจุฬามณีจะมีแท่นอยู่แท่นหนึ่ง ตอนนี้กำลังใจไม่ค่อยดี เลยไม่เห็นรายละเอียด แต่รู้ว่าสว่างมากที่สุด จิตตอนนั้นบอกว่าเป็นที่ประทับขององค์สมเด็จ

ข้าพเจ้าก็ก้มลงกราบ พร้อมกันนั้นก็กราบพระอรหันต์ พรหม และเทวดา นางฟ้าที่ประทับ ณ ที่นั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนองค์สมเด็จท่านเอาพระหัตถ์มาลูบที่ศีรษะ

มันก็แปลกที่เรายังใส่ชฎา แต่พอท่านเอาพระหัตถ์มาลูบ ทำไมเรารู้สึกได้
ครูฝึกถามว่า ท่านประทานโอวาทว่าอย่างไรได้ยินไหม
ข้าพเจ้ารับสัมผัสได้....
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อีกซักตัวอย่างหนึ่งสั้นๆ เค้าไปพบเห็นใครคนหนึ่งที่แดนนิพพานและเห็น

พุทธะองค์ปัจจุบันด้วย



เจอบางท่านที่นิพพาน

เจออยู่ที่นิพพานเป็นแก้วสวยมาก กำลังสนทนาอยู่กับพุทธองค์ปัจจุบัน

องค์โตกว่าผม ผมเล็กกว่าเขา แสงสว่างของเขาก็มากกว่าผม

อยู่ในหมวดอภิญญานี่แหละ เขาหันมามองผมด้วย

..........

ศัพท์ที่เค้าพูดถึงบ่อยๆ "มโนมยิทธิ"

สำหรับผู้รู้ภาษาบาลี และเข้าใจสิ่งที่เค้ากำลังเป็นกำลังทำ ไม่ใช่เรื่อง

แปลก เพราะภาพนั้นสำเร็จด้วยการคิดนึกเอา ตามศัพท์นั้นแหละ

ที่มาของศัพท์

มโนมยิทธิ = มโน+มย+อิทธิ - มโนมยิทธิ = แปลว่า ฤทธิ์ซึ่งสำเร็จ

ด้วยใจ หรืออิทธิที่สำเร็จด้วยการนึกน้อม

หมายความว่า เขาคิดน้อมใจอย่างไรก็เห็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 4:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปนี้เข้าเรื่องภาวะนิพพานจากพุทธธรรม


ภาวะแห่งนิพพาน


เมื่อสังสารวัฏฏ์หายไป ก็กลายเป็นวิวัฏฏ์ขึ้นเองทันที เป็นของเสร็จ

พร้อมกันในตัว ไม่ต้องเดินทางออกจากสังสารวัฏฏ์ที่แห่งหนึ่ง

ไปสู่วิวัฏฏ์อีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการพูดในเชิงภาพพจน์หรืออุปมา

เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฏแทนที่พร้อม

กัน

จะพูดให้มั่นเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละ

คือนิพพาน



......................

คำว่า สังสารวัฏฏ์ และวิวัฏฏ์ นำมาใช้ ณ ที่นี้ ตามนิยมแห่งวิวัฒนาการของภาษา

ไม่ใช่คำจำเพาะที่ใช้มาแต่เดิม

สังสารวัฏฏ์ ในบาลีนิยมใช้เพียง สังสาร หรือ วัฏฏะ คำใดคำหนึ่ง

ต่อมาในบาลีรุ่นรองจึงใช้ควบกัน

ส่วนวิวัฏฏ์ ในบาลีทั่วไปนิยมใช้ในความหมายนี้ เว้นแต่ในปฏิสัมภิทามัคค์

ต่อมาในคัมภีร์รุ่นอรรถกาและฎีกาจึงนิยมใช้กันดื่นขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค.2009, 10:09 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามปกติของปุถุชน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมคอยครอบงำ

เคลือบแฝงจิตใจ กำบังปัญญา และเป็นตัวชักใยนำเอากิเลสต่างๆให้

ไหลเข้ามาสู่จิตใจ ทำใจให้ไหว ให้วุ่น ให้ขุ่น ให้มัว ให้ฝ้าหมอง

ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดบ้าง ให้บิดเบือนไปเสียบ้าง

ตลอดจนถ่วงดึงเหนี่ยวรั้งไว้ให้วนเวียนติดตังข้องขัดและคับแคบอยู่กับ

เครื่องผูกมัดหน่วงเหนี่ยวชนิดต่างๆ

เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทาน นั้นดับหายไปแล้ว ก็เกิดปัญญา เป็น

วิชชาสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือ โลกและชีวิต

ถูกต้องชัดเจนตามที่มันเป็นของมัน ไม่ใช่ตามที่อยากให้เป็นมัน

เป็น หรือ ตามอิทธิพลของสิ่งเคลือบแฝงกำบัง


การมองเห็น การรับรู้ต่อโลกและชีวิตก็จะเปลี่ยนไป ความรู้สึก

และท่าทีต่อสิ่งต่างๆก็เปลี่ยนไป ยังผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปด้วย

สิ่งที่ปรากฏอยู่แต่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นหรือแม้แต่นึกถึง เพราะถูกปิดกั้น

คลุมบังเงาไว้ หรือเพราะมัวสาระวนเพลินอยู่กับสิ่งอื่น ก็ได้รู้ได้เห็น

ขึ้น เกิดเป็นความรู้เห็นใหม่ๆ จิตใจเปิดเผยกว้างขวางไม่มี

ประมาณ โปร่งโล่ง เป็นอิสระ เป็นภาวะที่แจ่มใส สะอาด

สว่าง สงบ ละเอียดอ่อน ประณีต ลึกซึ้ง ซึ่งผู้ยังมีอวิชชา

ตัณหา อุปาทาน ครอบงำใจอยู่อย่างที่เรียกกันว่า ปุถุชนนึกไม่เห็น

คิดไม่เข้าใจ แต่เข้าถึงเมื่อใด ก็รู้เห็นประจักษ์แจ้งเองเมื่อนั้น

ดังคุณบท คือ คำแสดงคุณลักษณะของนิพพานว่า


“นิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล เรียกให้มาดูได้

ควรน้อมเอาเข้ามาไว้ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

(องฺ.ติก.20/495/202)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้

นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็

เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้ว

มากำหนด และวาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนด

เทียบนั้นได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคย

เห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้

ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยาเป็นต้น

ของผู้พูดแล้ว อาจจะนึกว่าผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขาหรืออาจจะนึกไปว่า

ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่งหรืออาจจะนึกว่าผู้พูดเสียสติ จึง

กล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่

สถานการณ์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 5:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้นจะมีความเข้าใจขึ้นหน่อย

หนึ่งว่า ช้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เห็นได้ด้วยตา

ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้างเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจขึ้นอีก

หน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จำกัดชนิด

และขนาดตั้งแต่มดถึงไดโนเสา ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุง

ถึงนกอินทรีย์

ถ้าผู้พูดกล่าวต่อไปว่า “ช้างเป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อย

หนึ่ง ครั้นบอกว่าเป็นสัตว์ตัวโต เขาก็เห็นภาพจำกัดชัดเข้าอีก

จากนั้นผู้พุดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก

มีงาสองข้าง มีจมูกยาวเป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจำเพาะที่

ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้ของจริงก็ได้ หรือห่าง

ไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้นออก

มาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาดเพิ่มอีกชนิด

หนึ่ง สำหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ

มักใช้สัญญาต่างๆ สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ภาพในใจเขาจะ

เป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความแม่นยำของสัญญาเกี่ยวกับลักษณะอาการ

ต่างๆที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญาที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็น

องค์ประกอบสร้างสัญญาใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง

จะเห็นว่า คำว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” ก็ดี “ตัวโต” เป็นต้น

ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมีอยู่แล้วทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 5:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


แต่ในกรณีที่สิ่งที่นำมาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมี

สัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้

เลย

ผู้ฟังจะไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น เมื่อมีการสอบ

ถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนำเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้

ใหม่ ก็จะได้อย่างเดียวคือการปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขืนพยายามจะชี้แจง

ด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอจะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อ

การที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่งที่นำมาเล่านั้น

ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีกข้างหนึ่งคือปฏิเสธคำ

บอกของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นำ

เล่านั้นไม่มีจริง

แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธกล่าวว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตน

ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จัก และตนเอง

ไม่อาจนึกเห็นหรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 5:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ



นิพพาน เป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออก

ไปจากการรับรู้ที่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำ เป็นภาวะที่เข้าถึง

ทันที พร้อมกับการละกิเลสที่เคลือบคลุมใจ หรือภาวะลักษณะต่างๆ

ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออกก็มองเห็นท้องฟ้า


นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใดที่ปุถุชนเคยรู้เคยเห็น ปุถุชน

จึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มีก็ไม่ถูก

มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสำนึกได้ว่า สิ่งที่ตนนึก

ไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไม่มี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 6:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อ

ของนิทานว่า ปลากับเต่าเป็นเพื่อนสนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำรู้จักแต่

เรื่องราวความเป็นไปในน้ำ

เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก รู้จักทั้งบกและทั้งน้ำ

วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ำพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง

ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยวบนผืนดินแห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลม

พัดฉิว

ปลาฟังไปได้สักหน่อยไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน อะไรกัน

พื้นดินแห้ง อะไรกันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดฉิว

แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้นปลาก็ไม่รู้จัก ความสุขโดยปราศจากน้ำจะเป็น

ไปได้อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ ปลาทนไม่ได้จึงขัดขึ้น และซัก

ถามหาความเข้าใจ

เต่าเล่าแล้วอธิบายด้วยศัพท์บก ปลาซักถามด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็ได้แต่

ปฏิเสธ

ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็อธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จะเอา

อะไรมาเทียบ

ในที่สุดปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น

เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัว

แล้วสดชื่นก็ไม่มี

ตามเรื่องนี้ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่ามีอยู่จริง แต่พ้นวิสัย

แห่งความรู้ของปลา เพราะปลายังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 7:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อเทียบอีกหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน

ธรรมดาว่าความรู้ ทางอายตนะคนละอย่าง ย่อมมีลักษณะอาการที่ต่าง

กันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูปกับเสียงไม่มีอะไรเทียบกัน

ได้

เสียงกับกลิ่นไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้ เป็นต้น

สมมุติว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยวกับรูป

ย่อมไม่มีใครสามารถไปอธิบายสีเขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู

หรือลักษณะอาการต่างๆของรูปให้เข้าใจได้เลย

ด้วยความรู้จากสัญญาที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่ารูปนั้น

ดัง เบา ทุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว หวาน อย่างไร

หรือ ถ้าใครไม่มีประสาทจมูกมาแต่กำเนิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้า

ใจ เหม็น หอม กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร

เพราะคงจะต้องปฏิเสธคำว่า เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน หนัก เบา

อ้วน เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้ง

หมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสำหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ

ของโลกที่เรียกว่าอารมณ์ เพียง 5 อย่าง ถ้ามีแง่ของความรู้ที่

นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ห้าอย่างที่รู้

ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆเท่านั้น การไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น

หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจของมนุษย์เพียงอย่างเดียว

จึงยังมิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรง

มีพุทธดำริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก

หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกหยั่งไม่ถึง (ไม่ใช่วิสัยของ

ตรรกะ) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงทราบ”

และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควร

ประกาศ ธรรมนี้มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำจะรู้เข้าใจง่าย

สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืด (อวิชชา) ห่อหุ้ม

จักไม่เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เห็นยาก

ละเอียดยิ่งนัก”

(วินย.4/7/8 ; ม.มู.12/321/323)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ส.ค. 2008, 9:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 9:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ธรรมในที่นี้ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท และ

นิพพาน (จะว่าอริยสัจจ์ 4 ก็ได้ใจความเท่ากัน) แต่ถึงแม้จะยากอย่างนี้

ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยายามสั่งสอนชี้แจงอธิบายอย่างมาก

มาย ดังนั้น คำว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ

จึงควรมุ่งให้เป็นคำเตือนเสียมากว่า คือ เตือนว่าไม่ควรเอาแต่คิดสร้าง

ภาพและถกเถียงชักเหตุผลมาแสดงกันอยู่ จะเป็นเหตุให้สร้างสัญญา

ผิดๆ ขึ้นเสียเปล่า ทางที่ดีหรือทางที่ถูก ควรจะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึง

เพื่อรู้เห็นประจักษ์ชัดกับตนเอง เพราะถึงแม้ว่านิพพานนั้นเมื่อยังไม่รู้

ไม่เห็น ก็นึกไม่เห็นคิดไม่เข้าใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้เข้าถึงได้

เพียงแต่ว่ายากเท่านั้น

เมื่อตกลงกันได้เช่นนี้แล้ว ก็อาจเปลี่ยนข้อความจากที่นิยมพูดกัน

ว่า นึกไม่เห็นคิดไม่เข้าใจ (หรือที่บางท่านถึงกับพูดว่า พูดไม่ได้

บรรยายไม่ได้) มาใช้ตามพุทธพจน์นี้ว่า เห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้

ยาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2008, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งเห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึก

ไม่เห็น เมื่อไม่เข้าใจ ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่จะใช้บอกตรงๆ และ

สัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังได้กล่าวมาฉะนี้

จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อย

คำอย่างไร

ตามที่ประมวลดูพอจะสรุปวิธีพูดถึงหรืออธิบายนิพพานได้ 4 นัย คือ


1. แบบปฏิเสธ

คือ ให้ความหมายแสดงถึงการละการกำจัดการเพิกถอนภาวะไม่ดี

ไม่งาม ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆที่มีอยู่ในวิสัยของฝ่าย

วัฏฏะ เช่น ว่า

“นิพพาน คือ ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ” -

(สํ.สฬ. 18/497/310; 513/321)

“นิพพาน คือ ความดับแห่งภพ”- (สํ.นิ. 16/271/142)

“นิพพาน คือ ความสิ้นตัณหา”- (สํ.ข.17/367/233)

“จุดจบของทุกข์”- (สํ.สฬ. 18/85/53 ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น

หรือใช้คำเรียกอันแสดงภาวะที่ตรงข้ามกับภาวะฝ่ายวัฏฏะโดยตรง เช่น

“เป็นอสังขตะ” - (ไม่ถูกปรุงแต่ง)

“อชระ” - (ไม่แก่)

“อมตะ” - (ไม่ตาย) เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 8:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. แบบไวพจน์


หรือ เรียกตามคุณภาพ คือ นำเอาคำพูดบางคำที่ใช้พูดเข้าใจกันอยู่

แล้ว อันมีความหมายเกี่ยวกับภาวะที่สมบูรณ์หรือดีงามสูงสุด มาใช้

เป็นคำเรียกนิพพาน เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะของนิพพานนั้น

ในบางแง่บางด้าน เช่น

-สันตะ (สงบ)

-ปณีตะ (ประณีต)

-สุทธิ (ความบริสุทธิ์)

-เขมะ (ความเกษม) เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


3. แบบอุปมา



ถ้อยคำอุปมามักใช้บรรยายภาวะและลักษณะของผู้บรรลุนิพพาน มากกว่า

จะใช้บรรยายภาวะของนิพพานโดยตรง เช่น

เปรียบพระอรหันต์เหมือนโคนำฝูงที่ว่ายตัดกระแสน้ำข้ามถึงฝั่งแล้ว-

(ม.มู.12/391/420)

เหมือนคนข้ามมหาสมุทร หรือห้วงน้ำใหญ่ที่มีอันตรายมากถึงฟากขึ้นยืน

บนฝั่งแล้ว - (สํ.สฬ.18/285/196; 314/218)

จะว่าไปเกิดที่ไหน หรือจะว่าไม่เกิดเป็นต้นก็ไม่ถูกทั้งสิ้น เหมือนไฟ

ดับไปเมื่อสิ้นเชื้อ- (ม.มู.13/250/246 ฯลฯ)

อย่างไรก็ตาม คำเปรียบเทียบภาวะของนิพพานโดยตรงก็มีอยู่บ้าง เช่น

ว่า นิพพานเป็นเหมือนภูมิภาคอันราบเรียบน่ารื่นรมย์-

(สํ.ข.17/197/132)

เหมือนฝั่งโน้นที่เกษมไม่มีภัย- (สํ.สฬ.18/316/219)

และเหมือนข่าวสารที่เป็นจริง- (สํ.สฬ.18/342/242) เป็นต้น

ที่ใช้เป็นคำเรียกเชิงเปรียบเทียบอยู่ในตัวก็หลายคำ เช่น

-อาโรคยะ (ความไม่มีโรค สุขภาพสมบูรณ์)

-ทีปะ (เกาะ ที่พ้นภัย)

- เลณะ ( ถ้ำ ที่กำบังภัย) เป็นต้น


ในสมัยคัมภีร์รุ่นต่อๆมา ที่เป็นสาวกภาษิตถึงกับเรียกเปรียบเทียบ

นิพพานเป็นเมืองไปก็มี ดังคำว่า

-อุดมบุรี- (ขุ.อป.33/157/282-ปุรมุตฺตมํ )

และ นิพพานนคร-(มิลินท.349)

ซึ่งได้กลายมาเป็นคำเทศนาโวหารและวรรณคดีโวหารในภาษาไทยว่า

อมตมหานครนฤพาน บ้าง

เมืองแก้วกล่าวแล้วคือพระนิพพาน บ้าง

แต่คำเหลานี้ ไม่จัดเข้าในบรรดาถ้อยคำที่ยอมรับว่าใช้แสดงภาวะของ

นิพพานได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 8:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ปัจจุบันมักจะพูดคุยสนทนากันแบบอุปมาโดยมาก เพราะเข้าใจง่าย

มองเห็นภาพ

กลุ่มบุคคลข้างต้นก็น่าจะคิดแบบอุปมานี้ จึงเกิดสัญญาผิดคิดเห็นไปเช่น

นั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2008, 9:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. แบบบรรยายภาวะโดยตรง


แบบนี้มีน้อยแห่ง แต่เป็นที่สนในของนักศึกษา นักค้นคว้ามาก

โดยเฉพาะผู้ถือพุทธธรรมอย่างเป็นปรัชญา และมีการตีความกันไป

ต่างๆ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันได้มาก จะคัดมาให้ดูต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง