Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศัตรูของนักปฏิบัติชาวเมือง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 7:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศัตรูของนักปฏิบัติชาวเมือง

ความเห็นที่ 10 โดยคุณ ปราโมทย์
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2543 14:03:28

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้ว ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า
ศัตรูร้ายของนักปฏิบัติชาวเมือง หรือพวกปัญญาชนที่สำคัญที่สุด
ได้แก่ความสงสัยอย่างหนึ่ง กับความเบื่ออีกอย่างหนึ่ง
ความสงสัยนั้นมีตั้งแต่สงสัยว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง
ตลอดไปถึงความสงสัยว่า
ปฏิบัติเพียงตามรู้ปรากฏการณ์ทางกายและจิตเท่านี้น่ะหรือ
จะทำให้ถึงมรรคผลนิพพานได้จริง

ส่วนความเบื่อนั้น เกิดจากการที่เคยอ่านมาก ฟังมาก คิดมาก
เมื่อต้องมาเฝ้ารู้ความเกิดดับของอารมณ์ซ้ำๆซากๆ อยู่ในกาย เวทนา จิต
ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เพราะรู้สึกจำเจ ไม่เห็นมีอะไรแปลกใหม่
หรือเบื่อที่จะเฝ้ารู้ เพราะไม่สนุกเร้าใจเหมือนกามคุณทั้ง 5
ถูกกามคุณทั้ง 5 ชักจูงให้เบื่อการปฏิบัติ

ถ้าผู้ปฏิบัติเพียงแต่รู้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของความสงสัย
ก็ไม่ต้องมีเรื่องให้คิดค้นคว้าใดๆ อีก คงตั้งหน้า รู้ ไปอย่างเดียว
และเมื่อเห็นความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ผู้ปฏิบัติก็จะปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะปฏิบัติไปด้วยความไม่เบื่อ

ผมพากเพียรบอกกับพวกเรามานาน ซ้ำแล้วซ้ำอีก
จนบางคนรู้สึกขำ แล้วเอาไปพูดล้อเลียนเล่นกันก็มี
คือบอกว่า สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย เบื่อก็ให้รู้ว่าเบื่อ
แต่ไม่ว่าจะพูดบ่อยเพียงใด ก็หาคนที่เข้าใจ และปฏิบัติตามได้ยากเต็มที
เพราะรู้สึกว่าเป็นธรรมที่ตื้นเหลือเกิน
ดังนั้น คนที่ผ่านด่านคู่นี้ได้ จึงมีไม่มากนัก
เมื่อคุณพัลวันผ่านด่านความสงสัยได้อีกคนหนึ่ง จึงเป็นเรื่องน่าอนุโมทนา

ความสงสัย ความเบื่อ ความรัก ความโลภ
ความโกรธ ความหลง ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่
ความสุข ความทุกข์ ความสงบ ตลอดจนกุศลธรรมทั้งปวง
ล้วนแต่เป็นกิริยาอาการหรือความปรุงแต่งของจิตทั้งสิ้น
ถ้าเป็นความปรุงแต่งฝ่ายอกุศล ก็ล้วนเป็นความเศร้าหมองของจิต
ถ้าเป็นความปรุงแต่งฝ่ายกุศล ก็เป็นความแจ่มใส เบาสบายของจิต
แต่ทั้งหมดก็ล้วนไม่ใช่จิต ถ้าเข้าใจจุดนี้และจิตฉลาด
ไม่ถูกความปรุงแต่งครอบงำ จิตก็จะเป็นอิสระ หมดภาระวุ่นวายต่างๆ

แต่การจะรู้ความสงสัย (หรือความปรุงแต่งอื่นๆ) ต้องรู้ให้ถูกด้วย
คือรู้เข้าไปที่ "ความรู้สึกสงสัย" อันเป็นสิ่งที่นักอภิธรรมเรียกว่าปรมัตถธรรม
ไม่ใช่ไปรู้ "เรื่องที่สงสัย" อันเป็นบัญญัติ
เช่นเมื่อฟังคำสอนเรื่องการดูจิตแล้ว เกิดสงสัยว่า
"เอ แล้วเราจะดูจิตอย่างไรดี?" อันนี้เป็นเรื่องที่สงสัย เป็นของสมมุติบัญญัติ
เราไม่ต้องไปเฝ้าดูความคิดหรือประโยคที่ว่านี้
แต่ให้ระลึกรู้ตรงเข้าไปที่ "ความรู้สึกสงสัย"
ตัวความรู้สึกสงสัยนี้แหละเป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่แสดงไตรลักษณ์ได้
เมื่อรู้เข้าไปที่ความรู้สึกนี้แล้ว จะเห็นระดับความเข้มของความรู้สึกสงสัย
ว่าไม่คงที่ แล้วก็เห็นมันดับไป อันนี้คือการเห็นไตรลักษณ์

ถ้ารู้ปรมัตถธรรมของความสงสัยเป็นแล้ว
ก็ไม่ยากที่จะรู้ปรมัตถธรรมของความรู้สึกอื่นๆ ได้ไม่ยาก

ดังนั้น อย่ามองข้ามการรู้ความสงสัยเลยครับ
นี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องพูดกันเล่นสนุกๆ แต่อย่างใด

โดยคุณปราโมทย์ วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2543 14:03:28

ความเห็นที่ 13 โดยคุณปราโมทย์ วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2543 17:26:30
ตึกอธิบายแจกแจงธรรมได้ดีครับ
เพราะอาศัยผัสสะจึงเกิดสัญญาเวทนา
เพราะสัญญาเวทนาจึงมีสังขารหรือความคิดปรุงแต่ง
เพราะความคิดจึงกระตุ้นให้เกิดกุศล อกุศลขึ้นมาอีกทีหนึ่ง

แต่สำหรับความคิดนั้น ไม่ใช่ผู้บริกรรม ผู้บริกรรมคือจิต
เพราะจิตคือผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง
แต่ความคิด เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหากจากจิต คือเป็นสังขารขันธ์
ทำนองเดียวกับความสุขความทุกข์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งจากจิต คือเวทนาขันธ์
และทำนองเดียวกับความจำได้หมายรู้ คือสัญญาขันธ์
คล้ายๆ กับแสงสว่างและความร้อนเกิดจากดวงอาทิตย์
แต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์

รวมความแล้ว จิตนั้นเองปรุงเอง แล้วก็ติดอยู่ในสิ่งที่ตัวเองปรุงขึ้นมา
ท่านจึงว่ามันปรุงเพราะความไม่รู้ว่าจะนำความทุกข์มาสู่ตัวมันเอง

ธรรมะเหล่านี้แสดงตัวอยู่ตลอดมา
ถ้าใครมีตาที่จะมองธรรม ก็ย่อมเห็นธรรมครับ
เวลานี้ตาของพวกเราก็มีอยู่แล้ว
รอแต่เวลาจะลืมตาตื่นขึ้นเท่านั้นเอง
อันความจริงนั้น เราต้องรู้เอา
ถ้าคิดเอาก็ย่อมได้แต่ความคิดเท่านั้น

มารีบปลุกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานกันเถิดครับ

โดยคุณปราโมทย์ วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2543 17:26:30

ความเห็นที่ 23 โดยคุณปราโมทย์ วันอาทิตย์ ที่ 3 ธันวาคม 2543 15:35:53
ฐานของสติคือ กาย เวทนา จิต ธรรม ครับ
การจะรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ต้องรู้อย่างเป็นวิหารธรรม
คือใช้เป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่ที่สบายของจิต ไม่ใช่คุกขังจิตด้วยการเพ่งจ้องบังคับจิต

ความจริงแล้ว ถ้าจะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ คุณพัลวันอาจจะใช้คำง่ายๆ ว่า
นับแต่นี้ไป จะขอเอาธรรมเป็นที่พึ่ง เพื่อให้รอดจากทุกข์ในโลก
ซึ่งธรรมในที่นี้ ยังไม่ใช่สิ่งที่ประดิษฐานลงในจิตของคุณพัลวัน
จึงต้องอาศัยธรรมที่ยังต้องปฏิบัติ ฝึกฝน อบรม ตนเอง เป็นที่พึ่งต่อสู้ในทะเลทุกข์นี้
คือแทนที่จะเวียนว่ายไปอย่างไร้จุดหมาย
ก็ขอเอาการปฏิบัติธรรม(เจริญสติปัฏฐาน)นี้แหละ เป็นที่พึ่งที่อาศัยต่อไป

โดยคุณปราโมทย์ วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2543 15:35:53

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 4 ธันวาคม 2543 09:19:50
ถ้าจะกล่าวว่า การปฏิบัติธรรมมีเพียงผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้
หรือมีเพียงจิต กับอารมณ์
หรือมีเพียงจิต กับอาการของจิต
หรือมีเพียงจิต กับสิ่งที่ปรุงแต่งจิต
ก็ย่อมไม่มีเรื่องที่จะต้องพูดอะไรกันมากเลยครับ


แต่ที่ธรรมะมีอะไรๆ ให้พูดกันตั้งมากมาย
ก็เพื่อเป็นอุบายตะล่อม หรือแหวกสิ่งแปลกปลอมเข้าหาจิตเท่านั้นเอง
เมื่อรู้เข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว
สิ่งอื่นๆ ก็หมดเรื่องที่จะต้องพูดกันอีกต่อไป


ธรรมะที่ถึงจิตถึงใจ เป็นธรรมะใหม่เอี่ยม สดชื่นเบิกบาน
แต่พอบัญญัติออกมาก็จืดๆ เก่าๆ เป็นธรรมดาอย่างนี้แหละครับ
เพราะสมมุติบัญญัติเป็นแค่เงาๆ พอให้เทียบเคียงเข้าถึงธรรมเท่านั้น


สำหรับที่เขียนเรื่องความสงสัยก็ดีแล้วครับ
เพราะเรื่องนี้ พวกเรายังติดกันอย่างไม่รู้ตัวเป็นจำนวนมาก


โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 4 ธันวาคม 2543 09:19:50


ความเห็นที่ 29 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 4 ธันวาคม 2543 11:36:01
ธรรมะที่แท้จริงที่จะพาข้ามภพข้ามชาติมีนิดเดียวครับ
คือเข้ามารู้ หยุด อยู่ที่จิต แล้วจิตมันพลิกออกไปเอง
แต่เพราะความไม่รู้ เราจึงวนเวียนอยู่ภายนอก หรือมีจิตส่งออกนอก
ไม่สามารถปฏิบัติเพื่อให้จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งได้


ธรรมะเป็นเรื่องธรรมดาๆ เท่านี้เอง
ที่ผิดธรรมดาก็เพราะไปหลงความปรุงแต่ง
ผมได้อ่านหยดน้ำบนใบบัวที่พวกเราพิมพ์ไว้
ก็พบว่าในขั้นแตกหักของหลวงตา
ก็คือจุดที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งนี้เอง
ไม่มีการกระทำใดๆ นอกจาก รู้ แม้แต่นิดหนึ่ง
ท่านเขียนไว้อย่างนี้ครับ


"จิตและสติปัญญาเป็นราวกับว่าต่างวางตัวเป็นอุเปกขามัธยัสถ์
ไม่กระเพื่อมตัวทำหน้าที่ใด ๆ ในขณะนั้นจิตเป็นกลางๆ
ไม่จดจ่อกับอะไร ไม่เผลอส่งใจไปไหน ปัญญาก็ไม่ทำงาน
สติก็รู้อยู่ธรรมดาของตนไม่จดจ่อกับสิ่งใด


ขณะจิต สติ ปัญญา ทั้งสามเป็นอุเบกขามัธยัสถ์นั้นแล
เป็นขณะที่โลกธาตุภายในจิต อันมีอวิชชาเป็นผู้เรืองอำนาจ
ได้กระเทือนและขาดสะบั้นบรรลัยลงจากบัลลังก์
คือใจ กลายเป็น วิสุทธิจิต ขึ้นมาแทนที่"


นี่เป็นขั้นการปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติธรรมดาอย่างถึงที่สุดครับ


โดยคุณ ปราโมทย์ วัน จันทร์ ที่ 4 ธันวาคม 2543 11:36:01



http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/197/39
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 10:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะเป็นเรื่องธรรมดาๆ เท่านี้เอง
ที่ผิดธรรมดาก็เพราะไปหลงความปรุงแต่ง

โมทนาสาธุค่ะ ท่านทัพหลวง สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 4:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุคับ

นี่หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชนี่นา
ใช่ปะคับ
ไม่ผิดแน่นอน

เอกลักษณ์ท่านเลยล่ะ ที่พูดเรื่องยากๆให้เข้าใจง่ายๆ และไม่ผิดเพี้ยน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะคุณทัพหลวง สาธุ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง