Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บทอัญเชิญเทวดา ใช้สวดตอนไหนคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้า ทรงทราบความคิดของท่านโสณะ และได้เสด็จมาสนทนาด้วย

พระพุทธเจ้า: โสณะ เธอเกิดความคิด (ดังกล่าว...) มิใช่หรือ ?

โสณะ: ถูกแล้ว พระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้า: เธอคิดเห็นอย่างไร ? ครั้งก่อน เมื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอเป็นผู้ชำนาญในการดีดพิณมิใช่หรือ ?

“ถูกแล้ว พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้า: เธอคิดเห็นอย่างไร ? คราวใด สายพิณของเธอตึงเกินไป คราวนั้น พิณของเธอ มีเสียงเพราะหรือเหมาะที่
จะใช้การ กระนั้นหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้า: เธอคิดเห็นอย่างไร ? คราวใด สายพิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้น พิณของเธอ มีเสียงเพราะ หรือเหมาะที่จะใช้การ กระนั้นหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้า: แต่คราวใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในระดับพอดี คราวนั้น พิณของเธอ
มีเสียงไพเพราะ หรือเหมาะที่จะใช้การ ใช่ไหม ?

“ถูกแล้ว พระเจ้าข้า”


พระพุทธเจ้า: ฉันนั้นเหมือนกัน โสณะ ความเพียรที่ระดมมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งใจกำหนดความเพียรให้เสมอพอเหมาะ จงเข้าใจความเสมอพอดีกัน
แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย และจงถือในความเสมอพอดีกันนั้น”

(วินย.5/2/5 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวสัมมาวายามะเองแท้ๆ ที่เป็นองค์มรรค เป็นคุณธรรมอยู่ภายในจิตใจของบุคคลก็จริง
แต่กระนั้นก็ตาม สัมมาวายามะจะทำหน้าที่ของมันได้ และจะเจริญงอกงามขึ้นได้ ย่อมต้องอาศัยความสัมพันธ์กับโลกภายนอก กล่าวคือ การวางท่าที ตอบสนอง และจักการกับอารมณ์ต่างๆ ที่รับรู้เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย บ้าง การแผ่ขยายความเพียรนั้นจากภายในจิตใจออกไปเป็นการกระทำ การประพฤติ การดำเนินชีวิต และการประกอบกิจการต่างๆ บ้าง สภาพแวดล้อมภาวนอกที่เอื้อ หรือไม่เอื้อมีอิทธิพลต่อการประกอบความเพียรและความเจริญงอกงามของคุณธรรมภายใน ทั้งในทางเกื้อกูลและในทางขัดขวางบั่นรอนบ้าง เฉพาะอย่างยิ่ง

ความเพียรพยายามในการประพฤติปฏิบัติธรรม ชนิดที่ขยายออกเป็นการกระทำภายนอกและซึ่งกระทำกันอย่างเป็นงานเป็นการที่เรียกว่า ปธาน นั้น ต้องเกี่ยวข้องและอิงอาศัยปัจจัยแวดล้อมภายนอกเป็นอันมาก ทั้งปัจจัยแวดล้อมทางร่างกาย ทางธรรมชาติ และทางสังคม ณ จุดหรือขั้นตอนนี้แหละที่พุทธธรรม กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของปัจจัยแวดล้อมภายนอกเหล่านั้น ต่อการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงาม และการเข้าถึงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่แสดงความเห็นดังกล่าวแล้วนั้น ขอนำเอา
พุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้ มาประกอบการพิจารณาสักเล็กน้อย

“ภิกษุทั้งหลาย คุณสมบัติของผู้บำเพ็ญเพียร มี 5 อย่างเหล่านี้ ห้าอย่างคืออะไร ? (กล่าวคือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อตถาคตโพธิว่า แม้เพราะเหตุผลดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นอรหันต์ เป็นสัมมาสัมพุทธะ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม

2. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟเผาผลาญที่สำหรับย่อยอาหารอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นนักไม่ร้อนนัก พอปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร

3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นผู้เปิดเผยตัวตามเป็นจริง ทั้งในพระศาสดา ทั้งในเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญู

4. เป็นผู้ระดมความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีความเข้มแข็ง บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย

5. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอย่างอริยะ ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความดับสลาย ชำแรกกิเลสได้ อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ”


(ที.ปา.11/411/295; ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง