Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ทัพหลวง
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2008
ตอบ: 161

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


เรื่องของสมาธินี่ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เป็นสิ่งที่เราสามารถบำเพ็ญให้เกิดมีขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสมาธิย่อมมีเสื่อมมีเจริญ

เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธินั้นคือ ความประมาท ไม่ฝึกฝนให้ต่อเนื่องกัน หรือบางทีเราอาจจะ ทำผิดศีลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สมาธิก็ย่อมเสื่อมได้ เพราะเรื่องของสมาธิเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกียวิสัย มีเสื่อมแล้วก็มีเจริญ

เช่นอย่างผู้ที่บำเพ็ญสมาธิ ได้สำเร็จฌานสมาบัติเหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าประมาทขาดการสำรวม ไปเกิดความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ในขณะนั้นก็สามารถทำให้ฌานเสื่อมได้เหมือนกัน เช่นอย่างสามเณรที่ได้ฌานสมาบัติแล้ว เธอไปไหนมาไหนเธอก็เหาะไป ครูบาอาจารย์ก็เตือนว่า เณรอย่าประมาท เณรอย่าประมาท อันนี้ได้แก่เณรลูกศิษย์พระมหากัสสปะ เวลาท่านจะไปไหนท่านเข้าสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ แล้วท่านก็อธิษฐานจิตเหาะไป อาจารย์ก็เตือนว่า อย่าประมาทนะเณร

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านไปธุระท่านก็เหาะไป พอเหาะไปได้สักครึ่งทาง พอดีสมาธิมันถอนออกมา ได้ยินเสียงสตรีร้องเพลงไปเกิดความกำหนัดยินดีในเสียงของสตรี กำหนดจิตเข้าฌานไม่ทัน ก็ตกลงมาจากกลางอากาศมาถึงดิน แต่ก็ไม่เป็นอันตรายเพราะว่ากำลังของฌานนั้นอุ้มเอาไว้ ที่นี้ในเมื่อมันเสื่อมอย่างนั้นแล้ว มันก็สามารถบำเพ็ญให้เกิดให้มีขึ้นมาได้

ผู้ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วเสื่อมเพราะการทำผิด ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในสมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ แล้วก็มาสู่แดนมนุษย์เป็นครั้งคราว อยู่มาภายหลังเผลอไปทำผิดกับพระราชินีของพระเจ้าแผ่นดินนครหนึ่ง สมาธิก็เสื่อม ฌานก็เสื่อม ภายหลังพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงทราบ ท่านก็ไม่ทรงเอาเรื่อง ท่านยกโทษให้ อโหสิกรรมให้ เมื่อได้รับการอภัยโทษแล้ว ท่านก็หนีมาบำเพ็ญสมาธิภาวนาอีก ก็สามารถได้สมาธิเข้าฌานสมาบัติเหาะไปอยู่ป่าหิมพานต์ได้

เพราะฉะนั้น สมาธิจะเสื่อมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ

หนึ่ง ความประมาท ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน คือไม่เป็น ภาวิตา อบรมมากๆ พหุลีกตา ทำให้มากๆ ให้คล่องตัว ให้ชำนิชำนาญ ก็เป็นทางเสื่อม เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญสมาธินี่จะต้อง ภาวิตา การอบรมให้มากๆ พหุลีกตา การทำให้คล่อง ให้ชำนิชำนาญ แม้ผู้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ภูมิจิต ซึ่งเรียกว่าสมาธินี้ ก็อ่อนกำลังลงได้ แต่ไม่ถึงขนาดที่เสื่อมสลายโดยไม่มีอะไรเหลือ ถ้าหากท่านผู้ที่เข้าฌานเข้าสมาธิได้คล่องตัว แต่ท่านไม่ฝึกฝนอบรม ท่านปล่อยตามบุญตามกรรม พลังของสมาธิ หรือความชำนาญในการเข้าฌานให้คล่องแคล่วว่องไวนั้นมันก็เสื่อมลงเหมือนกัน

บางท่านอาจจะสงสัยว่าพระอรหันต์มีเสื่อมอยู่หรือ เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นเรื่องโลกๆ ไม่ใช่เรื่องโลกุตระ แต่มันก็เป็นอุปกรณ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยหนุนส่งดวงจิตให้ดำเนินไปสู่ที่สุดคือพระนิพพาน อันนี้มันเป็นพลังที่เราจะสร้างขึ้นเท่านั้น

ในเมื่อเราสร้างพลังพร้อมแล้ว บรรลุถึงพระนิพพานหมดกิเลสแล้ว สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่มีความหมาย สิ่งที่พระอรหันต์ไม่เสื่อมก็คือความหมดกิเลส กิเลสที่ท่านทำให้บริสุทธิ์สะอาด จิตที่เคยมีกิเลส ท่านชำระให้บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสแม้ธุลีก็ไม่มีเหลืออยู่ในจิตของท่าน ความหมดกิเลสนั้นไม่รู้จักเสื่อม

เพราะฉะนั้น การตรัสรู้กับความเป็นพระอรหันต์มันคนละอย่าง เช่นอย่างพระพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ ตรัสรู้เป็นโลกวิทูก็ดี ตรัสรู้จุตูปปาตญาณการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายก็ดี ตรัสรู้กิเลสอันเป็นเหตุเป็นพิษเป็นภัยที่ยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในวัฏสงสารก็ดี อันนี้มันเป็นแต่เพียงอารมณ์จิต เป็นฐานสร้างจิตให้มีพลังงานเพื่อที่จะได้ขจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตให้หมดไป แต่ในเมื่อกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมันก็ไม่มีความหมายสำหรับผู้ที่สำเร็จแล้ว นอกจากท่านจะเอาเป็นเครื่องมือเพื่ออบรมสั่งสอนคนอื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ไปสู่มรรคผลนิพพานตามแนวทางของท่านเท่านั้นเอง แต่ความหมดกิเลสนั้นพระอรหันต์คือผู้ขจัดกิเลส ผู้ฆ่ากิเลส กิเลสน้อยใหญ่ที่มีอยู่ในจิตในใจตัดขาดไปด้วยพลังของพระอรหัตมรรค เมื่อพระอรหัตมรรคตัดกิเลสให้ขาดสะบั้นไปแล้ว กิเลสนั้นก็ไม่ย้อนกลับมาทำให้ท่านเสื่อมอีก คือไม่กลับมาทำให้ท่านเป็นผู้มีกิเลสอีกนั้นเอง

http://www.geocities.com/thaniyo/phraputto0445_1.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญในธรรม พระคุณเจ้า สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง