Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ต่างประเทศ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2007, 6:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ประเทศรัสเซีย


พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ เจ้าอาวาส

วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย เป็นต้นแบบของวัดนิกายเถรวาทแห่งแรกในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยยึดหลักการและแนวทางการสอนตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

Image
พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ
.................................................................................................



พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ
๑๕ ปี แห่งการปักธงธรรมจักรในรัสเซีย


จากสถิติของทางรัฐบาลรัสเซียที่สำรวจเมื่อปี ๒๕๔๗ พบว่า มีประชาชนชาวรัสเซียประมาณ ๖ แสนคนที่นับถือศาสนาพุทธ และมีชาวรัสเซียมากกว่า ๒๐ ล้านคนจากประชากรทั้งหมด ๑๔๔ ล้านคน สนใจและศึกษาพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง และนักธุรกิจผู้เคยเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจกับประเทศไทยหรือประเทศใกล้เคียง

พระพุทธศาสนาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่นหรือนักศึกษา อีกทั้งกีฬาศิลปะการป้องกันตัวของชาวเอเชียก็ยังเป็นแรงดึงดูดให้วัยรุ่น และนักธุรกิจจำนวนมากหันมาสนใจพระพุทธศาสนา ทั้งการฝึกกังฟู คาราเต้ ยูโด เทควันโด และมวยไทย ซึ่งการฝึกฝนกีฬาดังกล่าวต้องอาศัยการเข้าใจในปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ทั้งนิกายเซน และนิกายเถรวาท การฝึกสมาธิก่อนการฝึกซ้อมกีฬาดังกล่าวทำให้ผู้ฝึกซ้อมซึมซับปรัชญา และคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี

พระรศ.ดร.ชาตรี เหมพนฺโธ อายุ ๓๗ ปี พรรษา ๑๖ เจ้าอาวาสวัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย เล่าว่า เป็นคนจังหวัดพัทลุง ก่อนบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชเณรมาแล้ว ๙ ปี แล้วได้จำพรรษาที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จึงได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม พอดีเรียนจบคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คิดว่าจะทำงานเพื่อสานต่อของครูบาอาจารย์อย่างไร เพราะถ้ามีความรู้แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ความรู้ที่มีก็จะสูญเปล่า ตรงนี้จึงคิดไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้เป็นการเปิดโอกาสเป็นช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ต่อมาในปี ๒๕๓๙ สามารถสอบชิงทุนของสถานทูตออสเตรเลีย อังกฤษ รัสเซียได้ ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ประเทศรัสเซีย เนื่องจากมองเห็นว่า ชาวรัสเซียได้รับความเดือดร้อนจากการอยู่ภายใต้การปกครองศาสนาที่เขาเชื่อกันมาดั้งเดิม ประกอบกับระบบการเมืองทำให้คนได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากที่รัฐบาลรัสเซียได้ให้ทุนเรียนต่อปริญญาโท-เอก ในคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ความตั้งใจในการเดินทางไปรัสเซียครั้งแรก เพื่อให้ชาวรัสเซียรู้ว่าการมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเรามาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มาเพื่อที่จะมาเปลี่ยนศาสนาของคนรัสเซียแต่อย่างใด ซึ่งหน้าที่ต้องทำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามที่ตั้งใจไว้ คือ การเป็นพระอาจารย์สอนพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก (St. Petersburg State University) สัปดาห์ละ ๔ ครั้ง ของคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและคณะปรัชญา รวมทั้งไปสอนพระพุทธศาสนาในวัดสายวชัรยานหรือสายทิเบต ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์จะสอนพระพุทธศาสนา มีการเทศนา และนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมที่วัดอภิธรรมเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กพุทธวิหาร

แม้ในประเทศรัสเซีย ทั้งในส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชียและยุโรป ทุกเมืองจะมีศูนย์ศึกษาและปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ก็ยังไม่มีศูนย์เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมแบบนิกายเถรวาทแม้แต่แห่งเดียว ดังนั้น การเปิดวัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศรัสเซียและประเทศใกล้เคียง ทั้งในยุโรปตะวันออกและสแกนดิเนเวีย

Image

วัดอภิธรรมพุทธวิหารเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จึงเป็นต้นแบบของวัดนิกายเถรวาทแห่งแรกในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย โดยยึดหลักการและแนวทางการสอนตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

ปัจจุบันชาวรัสเซียจำนวนมากได้หันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ทั้งที่ชาวรัสเซียสมัยก่อนไม่เคยรู้จักพุทธศาสนานิกายเถรวาท สาเหตุที่ชาวรัสเซียหันมาสนใจพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ถูกต้องว่า การศึกษาพระพุทธศาสนาควรศึกษาจากแหล่งต้นกำเนิดจริงๆ คือ จากพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้ง ชาวรัสเซียยังสนใจการสอนพระพุทธศาสนาของท่านพุทธทาสภิกขุ และสายของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท

ดังนั้นเมื่อชาวรัสเซียทราบความจริงดังกล่าว จึงมีการแปลและพิมพ์ตำราทางพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นจำนวนมาก ทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกเป็นภาษารัสเซีย ส่วนพระอภิธรรมปิฎกยังไม่มีผู้สามารถสั่งสอนแนะนำพวกเขาได้ จากนี้ทางวัดมีโครงการที่จะแปลพระไตรปิฎกจำนวน ๔๕ เล่ม เป็นภาษารัสเซีย คาดว่าจะทำการแปลให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐ ปี ส่วนโครงการที่คิดว่าจะทำได้ในเร็ววันนี้คือการขยายวัดไปตามเมืองต่างๆ ตั้งใจเอาไว้ว่าขอให้มีวัดสายเถรวาทเมืองละ ๑ วัด เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศรัสเซีย

“วันนี้อาตมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลรัสเซียให้ทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะได้เป็น ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ทำงานเพื่อสังคมทางด้านการพัฒนาจิตใจชาวรัสเซีย แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรัสเซียให้การชื่นชม ทำให้การทำงานด้านศาสนามีความง่ายขึ้น เพราะก่อนหน้านี้คนรัสเซียไม่ค่อยยอมรับคนเอเชียเท่าไรนัก มาวันนี้อาตมาก็ภูมิใจว่า ชีวิตทั้งชีวิตได้มอบให้พระพุทธศาสนา เลือดทุกหยด แรงเหงื่อทุกหยดอาตมาก็มอบให้พระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นพุทธบูชา” พระรศ.ดร.ชาตรี กล่าวทิ้งท้าย


หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 1 สิงหาคม 2550 21:25 น.
เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง, ภาพ ศุภชัย เพชรเทวี


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ศาสนาพุทธบูม !! ในรัสเซีย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15161

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 22 ส.ค. 2007, 12:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงตาโสบิน โสปาโกโพธิ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หลวงตาโสบิน พระธรรมทูตผู้บุกเบิกวัดไทยในอเมริกา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13573


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2007, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดพุทธรังษี สแตนมอร์
88 ถ.สแตนมอร์ สแตนมอร์ นครซิดนีย์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2048


Wat Buddharngsee Stanmore,
88 Stanmore Road, Stanmore,
N.S.W. 2048 Australia
Tel : (61) 02-95572039


พระครูวัชรคุณาภรณ์ เจ้าอาวาส

วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ นครซิดนีย์ ตั้งอยู่ที่ ถ.สแตนมอร์ ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวัดพระพุทธศาสนาเถรวาทแห่งแรกในทวีปออสเตรเลีย เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2518

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 ได้สร้างวัดสาขาขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่แอนนันเดล ตั้งอยู่ไม่ไกลกันนักคือ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

วัดพุทธรังษี แอนนันเดล
(วัดสาขาของวัดพุทธรังษี สแตนมอร์)
49 ถ.ทราฟัลการ์ แอนนันเดล นครซิดนีย์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2038


Wat Buddharangsee
49 Trafalgar Street, Annandale, Sydney,
N.S.W. 2038 Australia
Tel/Fax : (61) 02-95572879


พระครูปลัดอภิชัย อภิปุญฺโญ เจ้าอาวาส

Image
Image

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2548 ได้สร้างวัดไทยอีกแห่งหนึ่งชื่อ วัดสังฆรัตนาราม ณ เมืองโกลด์โคสท์ รัฐควีนส์แลนด์


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

วัดสังฆรัตนาราม
(วัดสาขาของวัดพุทธรังษี สแตนมอร์)
137 ถ.โบเดสเซิ่ท-นาแรง เมืองโกลด์โคสท์
รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย 4211


Wat Sangharatanaram (Gold Coast)
137 Beaudesert-Nerang Road,
Nerang QLD 4211 Australia
Tel/Fax : (61) 07-55020464


พระละม้าย อภิสโม ประธานสงฆ์

เมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา อุบาสก-อุบาสิกาและชุมชนชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองโกลด์โคสท์และเมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากนครซิดนีย์ อาทิ เช่น พระเทพญาณกวี, พระวิบูลสีลาภรณ์ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสีลาภรณ์) และพระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระปรีชาญาณวิเทศ) เพื่อการประกอบศาสนพิธีเป็นครั้งคราว ต่อมาได้ดำริต้องการนิมนต์พระสงฆ์ให้อยู่จำพรรษา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ

ต่อเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ.2548 จึงได้ทำบุญเป็นการเปิดวัด โดยได้เช่าบ้านและนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 3 รูป เพื่ออยู่จำพรรษา โดยมีพระละม้าย อภิสโม เป็นประธานสงฆ์ อยู่ต่อมาประมาณ 2 เดือนคณะสงฆ์และฆราวาส จึงประชุมปรึกษาว่าควรแสวงหาซื้อบ้านหลังใหม่ดีกว่าที่จะต้องจ่ายค่าเช่าเเป็นรายเดือน เพื่อตั้งเป็นวัดต่อไป จึงได้ซื้อบ้านและที่ดิน 4,195 ตารางเมตร (ประมาณ 2.5 ไร่ ) เป็นจำนวนเงิน 550,000 เหรียญออสเตรเลีย (ประมาณ 16,500,000 บาท) โดยมีพระครูปลัดอภิชัย อภิปุญโญ เป็นผู้เซ็นสัญญา, พระละม้าย อภิสโม และพระมหาวิรัตน์ สุเมธิโก ร่วมเป็นสักขีพยาน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ของวัดเรียบร้อยแล้ว แต่ยังต้องผ่อนชำระกับธนาคาร เป็นรายสัปดาห์ๆ ละ 800 เหรียญ เป็นระยะเวลา 30 ปี

Image

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 พระสงฆ์จึงได้ย้ายเข้าอยู่ในวัดสังฆนาราม ในพื้นที่มีต้นไม้รื่นรมย์อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนไทยมากนัก จึงเป็นสถานที่เหมาะสม โดยทางวัดได้รับการสนับสนุนจากชุมชนชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดสังฆรัตนารามได้กลายเป็นศูนย์รวมใจชาวไทย มีพี่น้องประชาชนได้มาทำบุญเยี่ยมเยือนวัด ถือศีล ปฏิบัติธรรม ในทุกกาลทั้งในกาลเข้าพรรษาและนอกพรรษา

ในอนาคตวัดจะตั้งเป็นองค์กรพุทธสมาคมหรือชุมชนชาวพุทธ เพื่อเป็นการประกาศพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีไทย และเพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมงานพระธรรมทูตไทย ณ ประเทศออสเตรเลีย พร้อมทั้งเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

Image
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2007, 7:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วัดพุทธรังษี ลูเมียห์
39 ถ.จังชั่น ลูเมียห์ แคมป์เบลทาวน์
รัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย 2560


Wat Pah Buddharangsee
39 Junction Road, Leumeah,
N.S.W. 2560 Australia
Tel. (61) 02-46257930
Fax (61) 02-4628 05410


พระราชสีลาภรณ์ เจ้าอาวาส


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา
80 ถ.อาร์ชิบอลด์ เขตลีนแฮม
กรุงแคนเบอร์รา รัฐ เอ ซี ที ประเทศออสเตรเลีย 2602


Wat Dhammadharo
80 Archibaid st., Lyneham,
Canberra ACT 2602 Australia
Tel/Fax : (61) 02-62498594


พระปรีชาญาณวิเทศ เจ้าอาวาส

วัดธัมมธโร ตั้งอยู่ในเมืองหลวงกรุงแคนเบอร์รา ซึ่งมีสถานเอกอัครราชทูตไทยตั้งอยู่ด้วย พุทธศาสนิกชนชาวไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เห็นเป็นโอกาสมงคลที่จะร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แด่องค์พระมหากษัตริย์ไทย จึงพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเขตพุทธาวาส ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมีพระปรีชาญาณวิเทศ เจ้าอาวาส เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยการสนับสนุนจากวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 11:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2008, 11:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
(บน) โชติกา ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตา
(ล่าง) ผู้ปฏิบัติธรรมกำลังเดินจงกรม

......................................................................



วิหารสังฆเมตตา
เมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam)
ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)


โชติกา ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตาและครูสอนการนั่งวิปัสสนา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ศิษยานุศิษย์วิปัสสนา วิหารสังฆเมตตา พุทธศาสนาในเนเธอร์แลนด์
โดย โสภาพร ควร์ซ จากหนังสือพิมพ์มติชน หน้า 20

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11197


เวลาตีห้าสิบห้านาที สัญญาณการเริ่มวิปัสสนาของเช้าวันใหม่เสียงระฆังกังวานใสก็ดังขึ้นท่ามกลางความเงียบสงัด ครึ่งชั่วโมงผ่านไป ภาพผู้ปฏิบัติสมาธิแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบายๆ ก้าวเดินจงกรมด้วยอาการสำรวม เงียบสงบ สลับกับการเจริญวิปัสสนาก็เริ่มปรากฏให้เห็น และเป็นภาพคุ้นตาในหมู่คนไทยเป็นอย่างดี

แต่เมื่อภาพเหล่าผู้ปฏิบัติสมาธิตรงหน้า มิใช่คนไทย แต่กลับเป็นชาวตะวันตก กว่าสามสิบชีวิตที่ทำสมาธิอย่างตั้งใจ ขะมักเขม้น ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีการพูดคุยกันเลยนั้น ย่อมสร้างความแปลกใจให้กับผู้พบเห็นชาวไทยมิใช่น้อย

“โชติกา” วัย 76 ปี ผู้อำนวยการวิหารสังฆเมตตา ในเมืองอัมสเตอร์ดัม และครูสอนการนั่งวิปัสสนามาเกือบ 20 ปี เล่าให้ฟังว่า การสอนสมาธิที่วิหารนี้เป็นแบบพุทธศาสนาเถรวาทแบบวัดมหาธาตุ โดยเธอเองได้รับการสอนมาจาก ท่านเมตตาวิหารี จากวัดมหาธาตุ ซึ่งได้มาประจำอยู่ที่วัดในเนเธอร์แลนด์กว่า 20 ปีก่อนที่จะมรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2550

เธอเล่าว่า ปัจจุบันชาวดัชต์ให้ความสนใจกับพุทธศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งสมาธิเป็นอย่างมาก เพราะตอบสนองกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป

“ทุกวันนี้วิถีชีวิตของคนที่นี่เร็วขึ้นมาก ทุกคนมีอะไรให้ทำมากมายและรีบเร่งในแต่ละวัน ผู้คนจึงต้องการสมดุลให้ชีวิต” เธอยกตัวอย่างบทบาทของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราอย่างแยกไม่ออก

“การมีคอมพิวเตอร์ มันไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของเรายุ่งน้อยลงเลย เพราะว่าเมื่อเราติดต่อกันได้ตลอดเวลา ก็หมายความว่าเราพูดคุยโต้ตอบกันบ่อยขึ้น มีสิ่งที่ต้องทำมากขึ้น จนยุ่งตลอดเวลาเหมือนเดิม”

ดังนั้น การได้มีโอกาสให้เวลากับตัวเอง อยู่กับตัวเองอย่างเงียบๆ จึงเป็นสิ่งที่คนหลายๆ คนถวิลหา ขณะนี้มีสถานฝึกสมาธิหลายแห่งทั่วประเทศ ไม่เฉพาะแต่การทำสมาธิแบบเถรวาท แต่ยังมี “แบบเซน” “มหายาน” และอื่นๆ มีนิตยสาร ชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการนั่งสมาธิมากมาย “บางทีเรายังพูดกันว่า นี่เป็นเหมือนแฟชั่น เป็นเรื่องฮิตของคนสมัยนี้เลยนะ”

และความนิยมของชั้นเรียนสมาธิที่วิหารสังฆเมตตา ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันข้อสันนิษฐานของโชติกาได้ดี

จากชั้นเรียนวิปัสสนาตอนเย็นอาทิตย์ละครั้ง ปัจจุบันนี้ทางวิหารมีชั้นเรียนสามวันต่อสัปดาห์ บางอาทิตย์ก็มีการสอนนั่งสมาธิเต็มวัน รวมทั้งมีคอร์สปฏิบัติสมาธิแบบเข้มข้นในระยะเวลาที่ยาวกว่านั้น เช่น 7 วัน 10 วัน 3 สัปดาห์ หรือตลอดทั้งปี โดยมักจัดกันที่ อินเตอร์เนชั่นแนล ธีโอโซฟิคัล เซ็นเตอร์ (International Theosophical Center) ในเมืองนาร์เด็น (Naarden) ซึ่งห่างออกมาจากอัมสเตอร์ดัม เพียงแค่หนึ่งชั่วโมง สะดวกในการเดินทางสำหรับทั้งผู้จัด และผู้เข้าร่วมปฏิบัติสมาธิ

Image

“คอร์สปฏิบัติสมาธิเหล่านี้มักจะเต็มเสมอ เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจต้องโทร. มาจองล่วงหน้า ส่วนมากจะเป็นผู้หญิง แต่ผู้ชายก็มีไม่น้อย แม้ว่าอายุของผู้ปฏิบัติจะค่อนข้างมาก แต่พบว่าอายุของผู้เข้าร่วมน้อยลงเรื่อยๆ เด็กๆ เหล่านี้เริ่มเห็นประโยชน์ของสมาธิ ว่ามันช่วยในชีวิตได้จริง โดยเฉพาะเรื่องการเรียน แต่บางคนก็ต้องการค้นหาความหมายของชีวิต บางคนก็ต้องการมาพักผ่อน และหาความสงบสุข”

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่โชติกาเล่าให้ฟัง คือว่าหลายๆ คนที่มาร่วมปฏิบัติสมาธิไม่รู้ว่าการนั่งสมาธิเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตัวโชติกาเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เธอบอกว่า เธอได้รู้จักพุทธศาสนาและการทำสมาธิ จากคำแนะนำของเพื่อนตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เธอบอกว่าเธอไปนั่งมาแล้วดีมาก “ตอนนั้นฉันยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการนั่งสมาธินี้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ” เสียงโชติกากล่าวขึ้น แต่เมื่อเธอมีโอกาสเดินทางมาที่วิหารสังฆเมตตา และมีโอกาสพูดคุยกับ ท่านเมตตาวิหารี ผู้สอนการทำสมาธิ

“ท่านถามว่าเคยนั่งสมาธิมาก่อนไหม ฉันตอบว่าเคย แต่เป็นแบบคริสต์ ท่านตอบกลับมาว่าจะเป็นแบบไหนก็ไม่สำคัญ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชาวพุทธแล้วถึงจะฝึกสมาธิได้ คำตอบของท่านทำให้ฉันรู้สึกดีมากๆ”

โชติกาเล่าว่า มีคำสอนหลายอย่างจากเมตตาวิหารีที่เธอประทับใจ เช่น สิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกกับภิกษุสงฆ์เวลาที่ออกไปเทศนาธรรมว่า หน้าที่ของภิกษุไม่ใช่ไปโน้มน้าวจิตใจให้เขามาเป็นชาวพุทธ แต่เป็นการทำให้ผู้คนเหล่านั้นมีความสุข

หลังจากนั้นโชติกาไปปฏิบัติสมาธิทุกอาทิตย์ และเข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนาระยะยาวครั้งแรกในปลายปีเดียวกันนั้น จากนั้นเธอปฏิบัติสมาธิมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2535 ท่านเมตตาวิหารี ก็ขอให้เธอรับช่วงต่อดูแลวิหาร เนื่องจากท่านต้องย้ายไปประจำที่วัดอื่น โชติกาดูแลศูนย์มาโดยตลอดระยะเวลา 16 ปี และชั้นเรียนสมาธิก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

เธอเล่าว่า หลักของการปฏิบัติสมาธิแบบเข้มข้นระยะยาว คือเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติสมาธิหลุดออกจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน มาอยู่ในที่ที่สามารถสำรวจดูพฤติกรรมของตัวเอง

“ความเงียบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวิปัสสนาของที่นี่ ในแต่ละวันทุกคนจะมีโอกาสได้พูดเป็นเวลาสิบนาที ในช่วงที่ฉันสอบถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือปัญหาในการทำสมาธิ และอาจจะมีโอกาสได้พูดอีกครั้งในช่วงหัวค่ำซึ่งเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับธรรมะ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง”

โชติกาบอกว่า ปัญหาของผู้เข้าปฏิบัติสมาธิที่เจอบ่อยๆ คือ ง่วงนอน หรือหงุดหงิดจากการนั่งสมาธิ หรือการที่ความคิดเข้ามาในสมองอยู่เรื่อยๆ รวมทั้งความปวดเมื่อย แล้วนำไปสู่คำถามที่ว่า เอ..นี่คือ หนทางที่ถูกต้องหรือเปล่า?

คำแนะนำก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนต้องเดินจงกรมมากขึ้น บางคนต้องพยายามมากขึ้น บางคนต้องบอกให้เชื่อมั่น บางคนต้องปล่อยวาง ความมุ่งมั่น ความปรารถนาต่างๆ ของตัวเอง

การปฏิบัติสมาธิของวิหารสังฆเมตตาครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะมี ภิกษุณีธัมมนันทา (อดีต ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม มาบรรยายเกี่ยวกับพุทธศาสนา หัวข้อบรรยายนั้นประกอบด้วยพระพุทธประวัติ, ธรรมมะของพระพุทธเจ้า, การก่อกำเนิดสงฆ์ในพุทธศาสนา เพื่อปูพื้นฐานให้ชาวดัตช์บางคนที่ไม่มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ ได้เข้าใจถึงแก่นสำคัญในพระพุทธศาสนา และในวันสุดท้ายพูดถึงบทบาทของผู้หญิงและภิกษุณีในศาสนาพุทธ

โชติกาบอกว่า ที่อยากให้ภิกษุณีธัมมนันทา พูดถึงเรื่องผู้หญิงและภิกษุณีในพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เพราะว่าเมื่อได้ศึกษาพุทธศาสนาไประดับหนึ่งแล้วพบว่าไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพระเถรีเท่าไรนัก รวมทั้งมีคำถามต่างๆ มากมาย เช่น จริงหรือไม่ที่ว่าเมื่อมีภิกษุณีแล้วพุทธศาสนาจะมีอายุสั้นเหลือเพียงแค่ 500 ปี?[/size]

Image
ภิกษุณีธัมมนันทา แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี
......................................................................



วันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมมีพิธีมอบศีลห้า ให้กับชาวดัตช์ที่ถวายตัวเป็นพุทธมามกะ โดยมีญาติพี่น้องมาร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดี

แน่นอนว่าเมื่อสนใจพระพุทธศาสนาขนาดนี้ โชติกาเคยเดินทางมาเมืองไทยหลายครั้งแล้วและมีหลายอย่างของคนไทยที่เธอประทับใจ เช่น การเดินบิณฑบาตของพระ มีญาติโยมมารอตักบาตร แต่ที่สำคัญที่เธอได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตของคนไทย คือการให้ทาน หรือความใจกว้างของคนไทยที่พร้อมจะให้เสมอ

โชติกาบอกว่า เธอไม่ค่อยคิดเกี่ยวกับอนาคตมากนัก เพราะถูกสอนให้อยู่กับปัจจุบัน แต่พอจะนึกภาพออกว่าศาสนาพุทธในวันข้างหน้าจะมีความสำคัญและยิ่งใหญ่มากขึ้น

“ฉันว่าถ้ามีคนนับถือพุทธศาสนามากขึ้นในเนเธอร์แลนด์ มันจะดีกับประเทศนี้มาก เพราะจะทำให้ผู้คนตระหนักถึงการกระทำของตนเองมากขึ้น มีความรักและเมตตาแก่ผู้อื่นมากขึ้น มีพฤติกรรมที่ดี และดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องมากขึ้น”

ในความเห็นของโชติกาเธอบอกว่า โดยมากคนไทยไปวัดมักจะไปหาพระหรือพบพระมากกว่า ผิดกับชาวดัตช์ที่ไปวัดเพื่อเรียนรู้และปฏิบัติธรรมและนั่งสมาธิ

ผู้เข้าร่วมการนั่งวิปัสสนา

@ มาครีท วัน ไรเซ่น
อายุ 37 ปี นักร้องโอเปร่า และนักแสดงละครเวที


“ฉันรู้จักการนั่งวิปัสสนาจากสามี เขาไปเข้าคอร์สก่อน และฉันก็ตามไป หลังจากนั้นฉันก็เริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิแบบวิปัสสนา และศาสนาพุทธ เมื่อได้รู้จักทั้งสองสิ่งนี้แล้ว ฉันเป็นทุกข์น้อยลง ไม่จมอยู่กับความรู้สึกมากเหมือนเมื่อก่อน เพราะฉันเริ่มมีสติและสังเกตได้ว่าความรู้สึกที่เรามีทุกอย่างนั้นไม่เที่ยง และก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ฉัน” ซึ่งกำลังเป็นทุกข์หรือเจ็บปวดด้วย ชีวิตเป็นกระบวนการหนึ่งที่ไม่มีความเป็นส่วนตัวว่าเป็นของใคร ฉันจึงปลงได้ ต่อสู้น้อยลง และดำเนินชีวิตไปตามกระแส มากกว่าที่จะพยายามควบคุมมัน การนั่งวิปัสสนา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเหตุเป็นผลสำหรับฉัน และแม้ว่ามันจะเป็นหนทางที่ยากลำบาก ฉันก็ไม่เคยคลางแคลงใจเลย”

@ เชลลี่ แอนเดอร์สัน
อายุ 56 ปี เจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงหากำไร


“ตอนฉันอายุ 8-9 ขวบ เคยอ่านหนังสือนิยายเล่มหนึ่งที่ห้องสมุดของโรงเรียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความตายไว้ว่า “เป็นเหมือนหยดน้ำหยดหนึ่ง ซึ่งกลับคืนสู่กระแสธาร” ฉันจำคำเปรียบเทียบนี้ได้ไม่ลืม ตอนนั้นรู้สึกว่าถ้ามีอะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเกี่ยวกับความตายได้อย่างนี้ มันก็เป็นสิ่งที่ดีมาก ฉันจึงสนใจพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ตอนอายุสามสิบกว่าๆ และอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพุทธมากมาย รวมทั้งเดินทางไปที่ หมู่บ้านพลัมของท่านติช นัช ฮันห์ เกือบทุกปี ในครั้งนี้ ฉันได้รู้ว่าผู้หญิงก็มีส่วนร่วมและมีบทบาทตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีศาสนาพุทธ และรู้สึกดีที่มีบุคคลตัวอย่างให้เราปฏิบัติตาม”

@ ครีน่า วัน เบลเซ่น
วัย 60 ปี อาจารย์สอนหนังสือ


“ฉันนั่งสมาธิมากว่า 10 ปีแล้ว โดยที่ตอนแรกไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา เหตุมาจากฉันรู้สึกเหนื่อยกับงานประจำที่ทำมาก เมื่อได้มาวิปัสสนาแบบเงียบๆ ฉันรู้สึกชอบมาก มันสงบ สบาย ฉันโตมาในครอบครัวที่เคร่งในคริสต์ศาสนามาก และรู้สึกมาตั้งแต่เด็กว่ามันไม่เท่าเทียมสำหรับผู้หญิง แต่การจะไม่มีศาสนาเลยก็ไม่ดี เพราะคนเราควรต้องมีที่พึ่งทางใจ การได้มานั่งสมาธิและรู้จักพุทธศาสนา นอกจากจะทำให้ฉันไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังทำให้ฉันกลับมามองศาสนาคริสต์ในแง่มุมที่ดีขึ้นอีกด้วย”

@ มาเรีย ฮัช
อายุ 76 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ UNDP


“ฉันรู้จักพุทธศาสนามากว่า 40 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เคยไปประจำการในพม่า และได้รู้จักกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้มาพำนักที่วัดแห่งหนึ่งตอนเหนือของประเทศไทย แม้เมื่อกลับมาเนเธอร์แลนด์แล้วฉันก็ยังไปปฏิบัติสมาธิที่ประเทศไทยทุกปี เป็นระยะเวลา 1 หรือ 2 เดือน ก่อนที่ฉันจะรู้จักการนั่งสมาธิ ฉันเป็นคนที่ขี้กลัว วิตกจริตมาก แต่หลังจากนั่งสมาธิแล้วฉันก็สงบมากขึ้น ปัจจุบันฉันนั่งสมาธิทุกวัน พระพุทธเจ้าท่านบอกวิธีการหลุดพ้นทุกข์ให้เราได้ แต่ว่าเราจะต้องเป็นคนเดินไปบนเส้นทางนั้นเอง”

@ มิค่า โมลแมน
วัย 55 เป็นอาจารย์


“ฉันรู้จักพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ที่อินเดีย แม้จะไม่ใช่พุทธศาสนาแบบเถรวาท แต่ฉันก็สนใจ เพราะมันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันหลายอย่าง แต่ฉันไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง จนกระทั่งกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ ฉันเริ่มฝึกวิปัสสนาอย่างจริงจังเมื่อสองปีที่แล้ว และรู้สึกว่านี่คือสิ่งที่ฉันค้นหามาตลอด และมันก็อยู่ใกล้ตัวมาตลอดเวลานี่เอง ฉันชอบการที่ได้อยู่กับความเงียบ และมีเวลาได้สำรวจดูการกระทำต่างๆ ของตัวเอง ในชีวิตประจำวันของทุกคน เรามีเวลาน้อยนิดเหลือเกินที่จะย้อนมามองดูตัวเอง ฉันรู้สึกมั่นใจมากที่ได้เป็นชาวพุทธ และจะเดินไปตามเส้นทางนี้ต่อไป”
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง