Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กรุงเทพมหานคร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2007, 12:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระศรีอริยเมตไตรยหรือหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
................................................................



ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอินทรวิหาร
เลขที่ 114 ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
ถ.วิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ 02-628-5550-2, 02-282-0461,
02-282-3094, โทรสาร 02-282-8429


พระราชรัตนาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร น.ธ.เอก ป.ธ.3)
เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร และเจ้าคณะเขตพระนคร


ทางศูนย์ฯ มีการจัดหลักสูตรอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกอบรมจิตใจและปฏิบัติสมาธิ
เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวปฏิบัติของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย
ณ อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดอินทรวิหาร
สมัครล่วงหน้า ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้หรือติดต่อขอจัดเฉพาะกลุ่ม

Image

การเตรียมตัวและกติการะเบียบปฏิบัติสำหรับผู้เข้าอบรม

1. เตรียมมอบ/วาง ภาระต่างๆ ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่พูดคุยกัน

2. ตั้งใจเข้าปฏิบัติให้ครบตามกำหนดเวลาของแต่ละหลักสูตร ถ้าไม่ครบไม่ควรสมัคร

3. มีสุขภาพสมบูรณ์ สุขภาพจิตปกติ ไม่มีอาการทางจิตประสาท
หากมีโรคประจำตัว ให้เตรียมยา และแจ้งให้ทราบด้วย

4. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวทั้งชุด ไม่มีลวดลาย ไม่บาง ไม่ควรใส่เสื้อไม่มีแขน
ถ้าใส่กางเกง ควรเป็นกางเกงขายาวถึงตาตุ่ม ไม่ซักเสื้อผ้าทุกชนิด

5. เตรียมผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม เครื่องใช้ส่วนตัวที่จำเป็น

6. รักษาศีล 5 ที่เรียกว่าอาชีวัฏฐะมะกะศีล เป็นศีลสำหรับผู้ครองเรือน รับประทานอาหาร 3 มื้อ

7. เป็น “ผู้อยู่ง่ายกินง่าย” เกรงใจ และให้เกียรติผู้อื่น

8. ปฏิบัติตามคำแนะนำของวิทยากร

Image
ภายในพระอุโบสถ วัดอินทรวิหาร
................................................................



การสมัคร

1. ติดต่อขอรับใบสมัครที่ศูนย์วิปัสสนาฯ หรือ ทาง http://www.watindaraviharn.org

2. สมัครด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว (หน้าตรง) จำนวน 1 รูป,
พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายชัดเจน รับรองสำเนาถูกต้อง)
สอดซองติดแสตมป์ จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง แล้วส่งมาที่..

ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน 144 อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ”
วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง บางขุนพรหม พระนคร กรุงเทพฯ 10200

(ไม่รับสมัครทางแฟกซ์หรือจองทางโทรศัพท์ ไม่รับผู้ที่มาแทนกัน โดยไม่ได้สมัครก่อน)

3. เมื่อทางศูนย์ฯ ได้รับใบสมัคร พร้อมเอกสารครบถ้วนแล้ว ทางศูนย์ฯ จะมีใบตอบรับส่งกลับไปให้ท่าน
และให้ท่านยืนยัน การเข้าอบรมโดย แฟกซ์หรือไปรษณียบัตร (กรณียกเลิกกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย)

4. ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเข้าไปที่ http://www.watindaraviharn.org
หรือ โทร. 026-628-5550 -4, 089-926-9299

เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น. สามารถสู่วัดได้สองทางคือ
ทางถนนสามเสน (ทางคนเดิน) และทางถนนวิสุทธิกษัตริย์ (ทางรถเข้า)
รถเมล์ที่ผ่าน : สาย 3, 6, 19, 30, 32, 33, 43, 49, 64, 65, 53, ปอ.6

Image
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

Image
พระราชรัตนาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดอินทรวิหาร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1928

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19735

ไหว้หลวงพ่อโตรับวันมาฆะ ที่ “วัดอินทรวิหาร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19891

ประมวลภาพวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19915

ประวัติและปฏิปทาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6925
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13976

เว็บไซต์วัดอินทรวิหาร
http://www.watindharaviharn.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2007, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ศูนย์ 1 สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม 54
เลขที่ 58/8 หมู่ 7 เพชรเกษม 54
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 02-805-0790-4, โทรสาร 02-413-1706


นายอนุรุธ ว่องวานิช นายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย จดทะเบียนเป็นยุวพุทธิกสมาคมแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2493 ในเวลาต่อมาจึงมียุวพุทธิกสมาคมจังหวัดต่างๆ เกิดขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่ประจำ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรต่างๆ เช่น บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2509 เป็นองค์กรสาธารณกุศล ที่มีศูนย์วิปัสสนากรรมฐานเปิดให้ผู้ประชาชนทั่วไปเข้าอบรมปฏิบัติธรรมทุกเดือนตลอดปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นเวลาร่วม 20 ปี มีหลักสูตรอบรมวิปัสสนากรรมฐานและปฏิบัติธรรมหลากหลาย ทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 วัน, หลักสูตร 2 วัน, หลักสูตร 3 วัน, หลักสูตร 8 วัน, หลักสูตร 15 วัน จนถึงหลักสูตร 1 เดือน และหลักสูตร 3 เดือน เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการต่างๆ ตาม ที่เวลาของตนจะอำนวย โดยปฏิบัติตามแนวปฏิปทาของธรรมาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย

Image

ขั้นตอนการสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม
กับยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ


ขั้นตอน ๑ : ทำประวัติ รับ Ybat Card

ผู้สนใจจะสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม จะต้องทำทะเบียนประวัติกับสมาคมเพื่อรับบัตรประจำตัว YBAT Card ก่อน โดยดำเนินการดังนี้คือ เขียนจดหมายแจ้งความประสงค์ขอรับใบกรอกทะเบียนประวัติ และใบสมัคร พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการ/หลักสูตร (กรุณาระบุให้ชัดเจน) พร้อมแนบซองเปล่าจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งจดมายขอเอกสารไปยัง

ฝ่ายกิจกรรม ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
๕๘/๘ ซอยเพชรเกษม ๕๔ ถ.เพชรเกษม
แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐

หรือติดต่อขอรับเอกสารด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสมาคม
หรือดาวน์โหลดเอกสาร จากเว็บไซต์ http://www.ybat.org/

* ทำทะเบียนแล้วท่านจะได้รับ บัตร YBAT Card หรือท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมอยู่แล้ว จะได้รับ Ybat Member Card โปรดแสดงบัตรของท่านทุกครั้งที่ติดต่อยุวพุทธ เพื่อรับบริการที่รวดเร็ว ท่านไม่ต้องกรอกประวัติอีก ยกเว้นกรณีที่ท่านต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือที่ทำงาน

* ใบสมัครเข้ารับการอบรมสามารถถ่ายเอกสารเก็บไว้ใช้สมัครในครั้งต่อๆ ไปได้
จนกว่าสมาคมจะประกาศเปลี่ยนแบบฟอร์ม

Image

ขั้นตอน ๒ : ส่งใบสมัคร รับใบตอบรับเข้าอบรม

* ก่อนส่งใบสมัคร โปรดตรวจสอบว่าหลักสูตรที่ท่านสนใจ มีผู้รับสมัครเต็มหรือไม่ เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้ท่านอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด/ระเบียบการ ระเบียบฏิบัติและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรมแต่ละรุ่น หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุในแต่ละโครงการ และสามารถปฏิบัติตามระเบียบโครงการได้ ให้ทำดังนี้

กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน อาจจะเขียนด้วยลายมือ หรือใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ได้ ใบสมัคร ๑ ใบท่านระบุเลือกสมัครได้ ๒ หลักสูตร แต่จะได้สิทธิ์เข้าอบรมเพียงหลักสูตรเดียว กล่าวคือ สมาคมจะพิจารณาหลักสูตรแรกที่ท่านระบุ หากเต็มแล้ว สมาคมจะพิจารณาสิทธิ์ให้ท่านได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรลำดับที่ ๒ ส่งใบสมัคร และเอกสารอื่นๆ ที่โครงการระบุ พร้อมแนบสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งใบสมัครไปยังสมาคมโดยทางไปรษณีย์ หรือนำส่งด้วยตัวท่านเอง ที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ซอยเพชรเกษม ๕๔ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น สมาคมจะให้สิทธิ์ผู้ที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วน ได้เข้าอบรมก่อน

สมาคมสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับใบสมัครทางแฟกซ์
เนื่องจากเอกสารอาจสูญหายระหว่างการส่ง และเอกสารจากเครื่องแฟกซ์ไม่ชัดเจน

เมื่อสมาคมได้รับเอกสารการสมัครของท่าน สมาคมจะพิจารณาตามลำดับ หากสามารถรับท่านเข้าอบรมได้สมาคมจะส่งเอกสารใบตอบรับการสมัครถึงท่านทันที โดยทางไปรษณีย์ หากท่านไม่ได้รับการติดต่อจากสมาคมหลังจากส่งใบสมัครแล้วเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ กรุณาโทรสอบถาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม โทรศัพท์ ๐-๐๘๐๕-๐๗๙๐-๓ ต่อ ๒๐๒-๒๐๕

สมาคมขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้สมัครแต่ละท่าน เข้าอบรมโครงการต่างๆ
ได้ไม่เกิน ๓ รุ่น ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้อื่นได้เข้าอบรมด้วย

ขั้นตอน ๓ : ส่งยืนยันการเข้าอบรม

ผู้สมัครที่ได้รับใบตอบรับของแต่ละรุ่นแล้ว ต้องส่งใบยืนยันการเข้าอบรมกลับไปยังสมาคมก่อถึงวันเข้าอบรมประมาณ ๒ สัปดาห์ (ระบุในใบตอบรับแล้วอย่างชัดเจน) เพื่อเป็นการยืนยันความประสงค์ของท่านในการเข้าอบรมรุ่นนั้นๆ หากพ้นกำหนดระยะเวลาการยืนยัน แล้วท่านไม่ทำการยืนยัน สมาคมจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ อนึ่ง ท่านไม่สามารถจะส่งผู้อื่นเข้าอบรมแทนได้ เนื่องจากแต่ละรุ่นสมาคมได้รับสมัครผู้เข้าอบรมสำรองไว้แล้ว

Image

ขั้นตอน ๔ : ลงทะเบียนเข้าอบรม

ในวันเปิดการอบรม ให้ท่านเดินทางไปรายงานตัวตามสถานที่ ที่จัดการอบรม (ศูนย์ ๑ บางแค หรือศูนย์ ๒ ปทุมธานี) พร้อมกระเป๋าสัมภาระของท่าน เอกสารที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่คือ

(๑) ใบตอบรับส่วนที่ ๑
(๒) บัตรประจำตัวประชาชน
(๓) บัตร Ybat Card หรือ บัตร Ybat Member Card

ท่านที่ไม่นำเอกสารไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับความสะดวก หรืออาจเสียสิทธิ์ในการเข้าอบรม หากไม่นำบัตร YbatCard หรือ บัตร Ybat Member Card ไปด้วย จะต้องเสียค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ๒๐ บาท และท่านจะเสียเวลาบ้างในระหว่างรอทำบัตร

เมื่อท่านลงทะเบียนล้ว ท่านจะได้รับป้ายชื่อ ซึ่งระบุชื่อของท่านและหมายเลขห้องพัก ให้ท่านนำสัมภาระไปเก็บในห้องพัก เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดปฏิบัติธรรมและรอสัญญาณเรียกเข้าห้องปฏิบัติธรรมเพื่อปฐมนิเทศต่อไป

Image
คุณแม่สิริ กรินชัย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติธรรมครบวงจร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9231

เว็บไซต์ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
http://www.ybat.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2007, 4:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร)
................................................................



ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส
ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร
ถ.พระราม 6 อุรุพงษ์ซอย 15 แขวงรองเมือง
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330


พระเทพวรคุณ (หลวงพ่อประสาท) เจ้าอาวาส

พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและพระวิปัสสนาจารย์


กุฏิปัทมราช โทรศัพท์ 02-216-8176, 02-215-1890,
081-831-5352 โทรสาร 02-214-3775


พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาส

ขอเชิญอบรมสมาธิภาวนา ทำบุญใส่บาตร และฟังธรรมพระกัมมัฏฐาน ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร จัดเป็นประจำทุกเดือน ตลอดทั้งปี

การเดินทาง

สามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วนั่งรถเมล์ตรงป้ายหน้าสนามกีฬาที่ผ่าน ยศเส หัวลำโพง เช่น สาย 15, 47 เป็นต้น มาลงที่ป้ายรถเมล์อาคารศรีจุลทรัพย์ (สำนักงาน กกต.) ตรงข้ามวัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) เป็นป้ายที่ 4 นับจากสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วเดินข้ามสะพานลอย เลี้ยวซ้ายเดินผ่านหน้าวัดชำนิหัตถการ เข้าซอยวัดบรมนิวาส ที่อยู่บริเวณเชิงสะพานยศเส ทางซอยนี้เป็นซอยเดินรถทางเดียว ออกได้อย่างเดียว รถเข้าไม่ได้ ส่วนขากลับก็เดินออกจากซอยนี้เช่นกัน แต่มารอรถเมล์ตรงฝั่งวัดสามง่าม เดินเข้าออก

หากเดินทางมาจากตลาดโบ้เบ้-มหานาค ก็นั่งรถเมล์สาย 53 มาลงตลาดโบ้เบ้สะพาน 3 แล้วเดิน
เข้าวัดทางซอยสะพาน 3 สุดซอย เดินข้ามทางรถไฟ ก็คือวัดบรมนิวาส นั่นเอง

หากเดินทางโดยเรือคลองแสนแสบ ก็ขึ้นที่ท่าเรือตลาดโบ้เบ้ แล้วเดินเข้าทางซอยสะพาน 3 เช่นกัน

หากเดินทางโดย TAXI หรือรถตุ๊กๆ มา หลายๆ คันมักไม่คุ้นชื่อวัดบรมนิวาส แล้วอาจจะพาไปวัดบวรนิเวศได้ ก็ขอให้บอกไปพระราม 6 ซ.15 ตรงอุรุพงศ์ตัดใหม่ ใกล้ๆ วัดพระยายัง กับ ส.โบตั๊น

Image
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908

แผนที่วัดบรมนิวาส
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3447

เว็บไซต์วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
http://www.watboromniwas.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2007, 3:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประมวลภาพ “ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท” วัดบรมนิวาส
ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร ถ.พระราม 6 ซอย 15
แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


Image

Image

Image

Image

Image

Image
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2007, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดอัมพวัน (ศูนย์ปฏิบัติธรรม ชั้น 2)
เลขที่ 1186 ถ.นครไชยศรี ซ.วัดอัมพวัน
แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 02-241-0721, 02-669-1842, 084-933-4009


ขอเชิญเข้าอบรมหลักสูตร
“ออกกำลังจิต เพิ่มวัคซีนใจ ให้เกิดปัญญาและสันติสุข”
(MODERN VIPASSANA)

โดยมีวิปัสสนาจารย์คือ อาจารย์นุชพร วิปัสสนานนท์


ในยุคสังคมที่เร่งรีบนิยมวัตถุ เมื่อเกิดปัญหาขาดที่พึ่งทางใจ ขาดความยับยั้ง การแก้ปัญหากลับสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นและตนเอง สังคมที่หวังความร่ำรวยจากเยาวชน (วัยรุ่น) ชักจูงมอมเมา ล่อลวง สร้างความหนักใจให้กับบุคคลหลายฝ่าย ล้วนลงความเห็นมีเพียงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

เป็นหลักสูตรที่สร้างพลังและภูมิต้านทางใจ ให้มีสติ เกิดปัญญา แก้ไขปัญหาได้ รักษาโรคใจ เช่น หวาดกลัว เครียด โรคสารพัดติด ก่อเกิดความสุขสงบเย็น นำเสนอหลักพระธรรมที่ล้ำสมัย ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ได้ผลจริง เปิดโอกาสให้รับรู้ และปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น

สำหรับเยาวชน ผู้เริ่มสนใจ ผู้มีภาระกิจมาก ผู้สนใจเป็นวิทยากรวิปัสสนาฯ

กำหนดการอบรม

เวลา 5 นาที . . . . กล่าวบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล
เวลา 15 นาที . . . ธรรมบรรยาย
เวลา 30 นาที . . . กำหนดสติเคลื่อนมือ/เท้า นั่งสมาธิ
เวลา 10 นาที . . . แก้ไขอารมณ์กรรมฐาน

วันแรก : ธรรมบรรยาย

ครั้งแรก . . . ออกกำลังจิต จิตเปรียบเหมือน COMPUTER กิเลสเปรียบเหมือน VIRUS
ครั้งที่ 2 . . . . วิธีทำลายกิเลส มีกิเลสเหมือนมีระเบิดติดตามตัว
ครั้งที่ 3 . . . . การสร้างความสุขแบบไม่มีสารพิษ มีทั้งแบบให้ทำ และไม่ต้องทำ

หมายเหตุ - ใช้เป็นพื้นฐาน ในการเข้าปฏิบัติธรรมฯ วันที่สอง

วันที่สอง : ธรรมบรรยาย

ครั้งแรก . . . ธรรมะที่บอกว่า จิตเหมือน COMPUTER ความล้ำสมัยของพุทธศาสนา
ครั้งที่ 2 . . . . ระวัง! แก๊งกิเลส นามสกุล-อกุศล มีมาก ไม่ใช่มีแค่ โลภะ โทสะ โมหะ
ครั้งที่ 3 . . . . ลงทุนปฏิบัติธรรมน้อย ให้ผลตอบแทนสูง ไม่จำกัดสถานที่และเวลา

หมายเหตุ - ผู้เข้าปฏิบัติฯ ในวันที่สองนี้ ต้องเข้าปฏิบัติธรรมฯ วันแรกก่อน

ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ชั้น 2 วัดอัมพวัน เขตดุสิต กรุงเทพฯ
(รับจำนวนจำกัด, ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ)

หากมีคณะบุคคล ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป สนใจการปฏิบัติธรรม
ยินดีจัดส่งธรรมะให้ถึงสถานที่ที่ท่านสะดวก


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=killsad

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image
แผนที่วัดอัมพวัน
................................................................



ประวัติวิทยากร
ชื่อ : นุชพร วิปัสสนานนท์ เกิด : ปี 2499
ที่อยู่ : 1148/44 ถ.นครไชยศรี ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : 02-241-0721 PCT 02-8731472 กด 5
การศึกษา : ปริญญาตรี ม.ธรรมศาสตร์ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี (การเงิน) ปี 2519-2523

การศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา : เมื่อเรียนชั้นประถมศึกษา บิดาสอนทำสมาธิภาวนา “พุทโธ” ตั้งแต่ปี 2537 เข้าอบรมพัฒนาจิต (วิปัสสนากรรมฐาน) 8 วัน 7 คืน ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย 12 ครั้ง และเข้าปฏิบัติแบบเข้มหลายครั้ง, ปี 2538 สนใจศึกษาพระอภิธรรมจากหนังสือมูลนิธิอาจารย์แนบ มหานีรานนท์, ตั้งแต่ปี 2542-2547 เป็นผู้ช่วยและวิทยากรให้การอบรมพัฒนาจิตฯ แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป 8 วัน 7 คืน และ 5 วัน 4 คืน จำนวน 49 ครั้ง และในปี 2548 จัดทำหลักสูตร “ออกกำลังจิต เพิ่มวัคซีนใจ ให้เกิดปัญญาและสันติสุข” สำหรับเยาวชน ผู้เริ่มสนใจ ผู้มีภาระกิจมาก ผู้สนใจเป็นวิทยากรวิปัสสนาฯ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2007, 9:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

โรงเรียนแห่งชีวิต
ซ.สุขุมวิท 67 (ประมาณ 200 เมตรจากปากซอย)
อยู่ใกล้กับโครงการบ้านแสนสิริ
แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 02-634-7461-3, 02-391-2409


อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ผู้ก่อตั้ง

โรงเรียนแห่งชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนให้เยาวชนมีแนวทางในการดำเนินชีวิต มองโลกอย่างถูกต้อง เข้าใจปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับวัย การพัฒนาวิธีคิด เพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกันทางปัญญา มีให้เลือกทางเดินชีวิตที่ผิดพลาดแม้ยามต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เสมือนทางแยกชีวิต ก็จะสามารถประคองตนเองให้ผ่านอุปสรรค์ไปได้ด้วยการยึดมั่นในหลักธรรม เพื่อนำตนเองไปสู่ความรุ่งเรื่องแล้วผาสุข

อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล เคยเป็นนักธุรกิจและนักออกแบบเครื่องประดับเพชรที่มีชื่อเสียง แต่ทิ้งเส้นทางเดินที่เต็มไปด้วยความสวยงาม ด้วยความอิ่มตัวและเบื่อหน่ายกับความไม่สงบในโลกธุรกิจ มาสู่เส้นทางแห่งธรรม ด้วยการอุทิศตนเป็นครูสอนธรรมะ ด้วยเห็นความสุขสงบอย่างแท้จริงในโลกของธรรม “การให้ธรรมะเป็นธรรมทาน” คือ สิ่งที่อาจารย์อัจฉราวดีปรารถนา ประสบการณ์จากชีวิตและการปฏิบัติวิปัสสนามามากกว่า 4,000 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 10 ปีกว่า (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544) ทำให้อาจารย์อัจฉราวดีสอนธรรมในแบบที่ไม่มีใครสอน เพราะสอนจากประสบการณ์ที่กลั่นมาจากชีวิตจริง ไม่ใช่หลักการจากตัวหนังสือ ทำให้เข้าถึงหัวใจของนักเรียนมากกว่า 4,000 คนนับแต่เปิดสอนมา 5 ปี ทำให้พวกเขาได้พบกับความสุข และคุณค่าในตัวเอง ทั้งได้ตระหนักว่าในวันข้างหน้าเขาจะวางเป้าหมายชีวิตตัวเองอย่างไร

Image
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล (ภาพในครั้งอดีต)


เทียน รายละเอียดของโรงเรียนแห่งชีวิต เทียน
ศิษย์ใหม่ ใน 1 คอร์ส เรียน 3 ครั้งๆ ละ 3 ชั่วโมง
แบ่งเป็น 2 ช่วงวัย คือ อายุ 8-13 ปี และ 14-20 ปี
เข้าเรียนฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ


คอร์สปกติ
เรียนครบ 3 ครั้ง ยกเว้นบางกรณี
รับอายุ 8-13 ปี และ 14-20 ปี


สัปดาห์แรก เน้นความเข้าใจในสัจธรรมชีวิต ความสำคัญของการใช้ชีวิตในโลกแห่งการปรุงแต่ง ศีล 5 ในระดับที่ลึกซึ้ง สอนวิธีคิด หลักการควบคุมจิตใจ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว การกตัญญูต่อบิดามารดา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ผู้มีพระคุณ และสอนนั่งสมาธิแบบอานาปานสติ

สัปดาห์ที่สอง เน้นหลักชีวิตศาสตร์ การรู้จักตัวเอง การวางเป้าหมายชีวิต การตอบสนองต่อ กระแสยั่วยุทางสังคม การคบเพื่อนฝึก จิตใจให้เป็นคนเข้มแข็งอดทนต่ออุปสรรค ฝีกการคิดบวก เห็นคุณค่าของการมีชีวิต อยู่เพื่อแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย การนั่งสมาธิแบบอานาปานสติ

สัปดาห์ที่สาม หลักกรรมการแก้ไขวิบากกรรม การทำบุญให้ถูกวิธี หลักการสร้างบุญบารมี การตั้งจิตอธิษฐาน การแผ่เมตตา การขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร เสริมสร้างทุนชีวิตให้มีพลังกุศลเป็นแรงส่งให้ชีวิตรุ่งเรือง

คอร์สพิเศษ 1 วัน
รับอายุ 10-18 ปี เรียน 9.00-15.30 น.


คอร์ส 1 วัน เนื้อหาการสอนเหมือนคอร์สปกติ แต่กิจกรรมสำคัญ เช่น การปลูกต้นไม้ การฝึกจิตผ่านการเขียนกำแพง และการขออโหสิกรรมจะไม่มีอยู่ในนี้ เรียนร่วมกัน 10-18 ปี

ธรรมะแคมป์ จ.สระบุรี
4 วัน 3 คืน รับอายุ 11-15 ปี
เริ่ม 11.00 น. เสร็จสิ้นเวลา 11.00 น.


ธรรมะแคมป์ จ.สระบุรี สอนหลักธรรมแบบเดียวกับคอร์สปรกติ เน้นฝึกการมีสติ สมาธิ ฝึกวิธีคิด ความอดทนอดกลั้น การเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น และการได้อยู่กับธรรมชาติ เด็กที่สมัครธรรมะแคมป์ต้องดูแลตัวเองได้ ผู้ปกครองต้องมารับเด็กด้วยตนเอง โรงเรียนไม่ประสงค์ให้คิดว่า การส่งเด็กมาอยู่ที่ธรรมะแคมป์ เป็นกิจกรรมขั้นเวลายามว่างของเด็ก การมาบำเพ็ญธรรมถือเป็นบทเรียนชีวิตที่มีคุณค่าของเด็ก ที่ผู้ปกครองพึ่งให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

ธรรมะสำหรับผู้ใหญ่
รับอายุ 17 ปีขึ้นไป 9.00-12.00 น.


ธรรมะสำหรับผู้ใหญ่ อบรมหลักธรรมสำคัญที่เป็นแรงส่ง ให้ชีวิตประสบความสำเร็จรุ่งเรืองอย่างถาวร หลักกรรม การแก้ไขวิบากกรรม หลักการนั่งสมาธิแบบอานาปานสติ รับอายุ 17 ปีขึ้นไป

ธรรมะวันอาทิตย์สิ้นเดือน

ธรรมะวันอาทิตย์สิ้นเดือน เป็นการมาเพื่อฟังธรรม นั่งสมาธิ และสวดมนต์ เป็นการปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัยเพื่อให้จิตผ่องใส และสร้างกุศลให้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง สำหรับศิษย์เก่าทุกรุ่นทุกวัยมาได้ทั้งครอบครัวตามอัธยาศัย ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ยกเว้นเดือนมกราคม, มีนาคม, กรกฏาคม และสิงหาคม

ศิษย์เก่า สำหรับผู้ที่เคยรับการอบรมแล้ว ขอเชิญศิษย์เก่าทุกรุ่นมาพักจิตใจ ด้วยการทำจิตใจให้สงบ ฟังธรรม นั่งสมาธิ แผ่เมตตา และศึกษาหลักธรรมที่สูงขึ้น เพื่อสร้างกุศลอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ครบทั้ง 3 ชั่วโมง

การเดินทาง : รถประจำทางสายที่ผ่าน : 38, 2, 25, ปอ. 511

Image

Image

Image

Image

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่โรงเรียนแห่งชีวิต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1399

โรงเรียนแห่งชีวิต...บ่มเพาะต้นกล้าแห่งสติให้กับเยาวชน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=35923

“อัจฉราวดี วงศ์สกล”
อำลาแล้ว St.Topez ชีวิตนี้พบเพชรแท้ในทางธรรม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=35924

เว็บไซต์โรงเรียนแห่งชีวิต
http://www.schooloflifethailand.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2007, 5:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“โครงการตวันธรรม”
ณ ห้องสุรวงศ์วิวัฒน์ ชั้น 10 อาคารศรีสุริยวงศ์
โรงแรมตวันนา เลขที่ 80 ถ.สุรวงศ์
แขวงสุริวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์ 02-236-0361, โทรสาร 02-236-3738


คุณกลินท์ สุรวงศ์ บุนนาค ผู้ก่อตั้งโครงการตวันธรรม

“โครงการตวันธรรม” โดยความร่วมมือระหว่างโรงแรมตวันนา, องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และสำนักงานเขตบางรัก ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายธรรม และเจริญสมาธิภาวนา จากพระวิทยากร ตลอดทั้งปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กิจกรรมของ “โครงการตวันธรรม” ที่โรงแรมตวันนา มีรูปแบบเช่นเดียวกับ “โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่น” ของซีพี.

จัดขึ้นในทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลาระหว่าง 17.30-20.30 น. ณ ห้องสุรวงศ์วิวัฒน์ ชั้น 10 อาคารศรีสุริยวงศ์ โรงแรมตวันนา แขวงสุริวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ

โดยจะเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลาหกโมงเย็น พร้อมจัดเตรียมอาหารว่างไว้ให้ญาติธรรมทั้งหลายรับประทานรองท้องก่อนที่จะทำกิจกรรมต่อไปโดยจะดำเนินไปจนถึงเวลาสองทุ่ม เมื่อถึงเวลาอันควรก็มีการสวดทำวัตรเย็นร่วมกัน พร้อมฟังบรรยายธรรมจากพระวิทยากรซึ่งทางองค์กรเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้ช่วยจัดหา และแนะนำพระวิทยากรมาเทศนาในทุกครั้ง จบกิจกรรมด้วยการแผ่เมตตา และเจริญสมาธิร่วมกัน โดยก่อนแยกย้ายกลับบ้านยังเตรียมอาหารไว้ให้รับประทานร่วมกันด้วย เพื่อที่ญาติธรรมทั้งหลายจะได้อิ่มใจ อิ่มท้องในคราวเดียวกัน

“โครงการตวันธรรม” เน้นกลุ่มเป้าหมายให้ผู้ที่ตั้งใจมาฟังการบรรยายธรรมหลังเลิกงาน ซึ่งปัจจุบันนี้มีสมาชิกเข้าร่วมฟังธรรมครั้งละมากกว่า 200 คน นอกจากนี้โครงการตวันธรรมยังมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน โดยทุกๆ 3 เดือนจะออกไปทำบุญนอกสถานที่ซึ่งเน้นเป็นการทำทานกับผู้ด้อยโอกาสในสังคมในหลากหลายมูลนิธิ

Image

ตวันธรรม...โอเอซิสธรรมะกลางกรุง

ในภาวะตึงเครียดในสังคมคนเมืองกรุง...อันเต็มไปด้วยสถานที่บำรุงบำเรอความสำราญทางอารมณ์ในแบบโลกียสุข ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่หลงลืมความสุขซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างเรียบง่ายภายในจิตใจของเราเอง

ทว่าเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย ยังมีความสงบแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืน เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสเล็กๆ ที่ให้ผู้คนได้ผ่อนคลายจิตใจ ก่อนมุ่งหน้าเดินทางไปในเส้นทางชีวิตอันยาวไกล


Image
[กลินท์ สุรวงศ์ บุนนาค]


กลินท์ สุรวงศ์ บุนนาค กรรมการบริษัท ตวันนา โฮเต็ล จำกัด เริ่มต้นเล่าที่มาที่ไปของ “โครงการตวันธรรม” ซึ่งเกิดจากการนำชื่อโรงแรม “ตวันนา” รวมกับ “ธรรมะ” ซึ่งมีความหมายว่า “ธรรมะที่ส่องสว่างดังดวงตะวัน” ผู้บริหารใฝ่ธรรมะเล่าว่า หลังจากที่มีโอกาสได้บวชเรียนที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษของต้นตระกูลบุนนาค) โดยมุ่งหวังทดแทนพระคุณของคุณย่า(ศาสตราจารย์กิตติคุณ พ.ญ.คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค) ผู้ล่วงลับ

ถึงแม้จะมีโอกาสครองผ้าเหลืองในระยะเวลาไม่นานนัก แต่ก็ได้ตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงในตนเองอย่างเด่นชัดที่สุด จากอุปนิสัยบางอย่าง เดิมที่เคยเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็วจนบางครั้งไม่ทันพิจารณา หรือไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ กลับกลายเป็นคนที่มีสมาธิ เยือกเย็น สุขุม และรอบคอบมากขึ้นในการตัดสินใจทำสิ่งใดๆ ก็ตาม

เช่นนั้นเมื่อได้พบข้อดีจากการได้ปฏิบัติธรรมะแล้ว จึงอยากแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ให้กับคนรอบข้าง จึงได้เกิดแนวความคิดให้มีโครงการตวันธรรม โดยจะจัดขึ้นในทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน ณ อาคารศรีสุริยวงศ์ โรงแรมตวันนา ซึ่งเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลาหกโมงเย็น พร้อมจัดเตรียมอาหารว่างไว้ให้ญาติธรรมทั้งหลายรับประทานรองท้องก่อนที่จะทำกิจกรรมต่อไปโดยจะดำเนินไปจนถึงเวลาสองทุ่ม

Image

เมื่อถึงเวลาอันควรก็มีการสวดทำวัตรเย็นร่วมกัน พร้อมฟังบรรยายธรรมจากพระวิทยากรซึ่งทางองค์กรเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้ช่วยจัดหา และแนะนำพระวิทยากรมาเทศนาในทุกครั้ง จบกิจกรรมด้วยการแผ่เมตตา และเจริญสมาธิร่วมกัน โดยก่อนแยกย้ายกลับบ้านยังเตรียมอาหารไว้ให้รับประทานร่วมกันด้วย เพื่อที่ญาติธรรมทั้งหลายจะได้อิ่มใจ อิ่มท้องในคราวเดียวกัน

“เหมือนกับว่าได้นำสถานที่ปฏิบัติธรรมมาไว้ใจกลางเมือง เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับคนเมืองที่มีความสนใจแต่อาจไม่มีเวลามากนัก ที่สำคัญยังได้ฟังธรรมะจากพระอาจารย์หลากหลายท่านที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนมาจากหลายวัด ส่วนสถานที่ก็ความสะดวกสบาย ซึ่งน่าจะเป็นอีกทางเลือกของคนที่สนใจธรรมะในเมืองกรุง

อย่างน้อยยังถือเป็นการทำให้หลายคนได้มีโอกาสศึกษาธรรมะ และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านธรรมะอย่างสะดวกกาย สบายใจ นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ อีกด้วย เพียงแค่มีความตั้งใจที่อยากมา และกลับบ้านไปด้วยจิตใจที่เบิกบาน” เจ้าของโรงแรมตวันนากล่าวถึงรายละเอียด

นอกจากนี้โครงการตวันธรรมยังมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน โดยทุกๆ 3 เดือนจะออกไปทำบุญนอกสถานที่ซึ่งเน้นเป็นการทำทานกับผู้ด้อยโอกาสในสังคมในหลากหลายมูลนิธิ เช่น เมื่อกลางเดือนเมษายนได้ไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ที่บ้านเด็กอ่อนพญาไท ส่วนเมื่อเดือนพฤษภาคมไปที่สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมอง และปัญญา (บ้านราชาวดี)


Image
[บรรยายกาศผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม]


ถามไถ่ถึงความรู้สึกที่ได้รับจากการจัดโครงการตวันธรรม ในรูปแบบช่วยเหลือคนด้อยโอกาส เขาบอกว่า “รู้สึกถึงความการเอื้ออาทร และทำให้รู้จักการแบ่งปันให้กับคนอื่นที่ด้อยโอกาสในสังคม อยากเห็นสังคมที่เราต้องอยู่ดีขึ้น เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน และเข้าใจจิตใจกันและกันมากขึ้น ซึ่งตรงตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี มีเมตตา และรู้จักเป็นผู้ให้”

และเนื่องในวันวิสาขบูชานี้ เขายังฝากข้อคิดถึงการปฏิบัติตัวเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีว่า นอกจากแสดงตนว่านับถือศาสนาพุทธแล้ว พวกเราชาวพุทธยังมีหน้าที่ช่วยกันทำนุบำรุง และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งโอกาสที่จะทำบุญ ทำความดีมีตลอดในหลากหลายรูปแบบ เพียงมีความตั้งใจดี คิดดี ทำดี ส่วนเรื่องการทำบุญจะมากน้อยอย่างไรไม่ใช่ประเด็นสำคัญไปกว่าจิตใจที่ดีงาม

Image


- ผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2550 11:23 น.
- หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก 25 ตุลาคม 2549
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 10:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
................................................................



วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ)
เลขที่ 300 ถ.รัชมงคลประสาธน์
แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ สำนักงานประชาสัมพันธ์ 02-467-0811,
02-457-9042 โทรสาร (Fax.) 02-869-0482
โทรศัพท์ หอเจริญวิปัสสนา 02-457-4001
โทรสาร (Fax.) 02-869-0272


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ รูปปัจจุบัน

พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาส


วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) เป็นวัดปฏิบัติสายพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)

วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทำการบูรณะวัดปากน้ำครั้งใหญ่เกือบทั้งอาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง และขาดเจ้าอาวาสประจำวัด ทางเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงได้ส่ง พระสมุห์สด จนฺทสโร (หรือที่เรียกกันว่าหลวงพ่อสด) จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงพ่อสด จนฺทสโร มีชื่อเสียงมากในเรื่องการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเป็นผู้ดูแลเรื่องการศึกษา การอบรมปฏิบัติธรรม จนกลายเป็นที่เคารพนับถือของสาธุชนทั่วไป กระทั่งหลวงพ่อสดได้มรณภาพลง จึงได้นำร่างของท่านมาบรรจุในโลงตั้งไว้ที่วัดปากน้ำ และทำหุ่นขี้ผึ้งขนาดองค์จริงให้ประชาชนได้สักการบูชา

เนื่องจากหลวงพ่อสด จนฺทสโร เป็นผู้ปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นแรกๆ โดยทำจากเนื้อดินเผา พระเครื่อง พระผง ในการทำพระผงจะนำดินที่เป็นมงคลจากสถานที่ต่างๆ หลายๆ ที่เอามารวมกัน แล้วทำพิธีกรรมประกอบขึ้นมา จึงมีเรื่องเล่ากันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งนั้น ท่านจะเลือกผู้ที่มาเป็นเจ้าของด้วยตัวเอง ถ้าผู้นั้นมีบุญพอหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งก็จะไปปรากฏหรือทำให้ผู้นั้นพบเจอ แต่ถ้าผู้ที่ได้เป็นเจ้าของหมดบุญหรือทำผิดศีลผิดธรรม หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งจะเดินทางกลับมาหาหลวงพ่อสดท่านเอง เรื่องนี้จะจริงหรือเท็จอย่างไรไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่าไม่ลบหลู่เป็นดีที่สุด

Image
ประชาชนมาไหว้พระปิดทองหลวงพ่อสดองค์จำลองกันเป็นจำนวนมาก

Image
รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อสดขนาดเท่าองค์จริง
และด้านหลังเป็นโลงบรรจุร่างของหลวงพ่อสด



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

มุทิตาอายุวัฒนมงคล 82 ปี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13629

ประมวลภาพ “สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=26854

เว็บไซต์วัดปากน้ำภาษีเจริญ
http://www.watpaknam.net/
http://www.watpaknam.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 10:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในวัดพุทธบูชา
................................................................



วัดพุทธบูชา
เลขที่ 181 หมู่ 3 ถ.พุทธบูชา ซอย 30
ริมคลองบางมด แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ 02-426-3667, 02-874-8108


พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เจ้าอาวาส

วัดพุทธบูชา เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอเชิญสาธุชนทุกท่านอบรมภาวนาและทำบุญตักบาตร
พระกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น) ทุกวันเสาร์แรกของเดือน
เวลา 07.00-10.30 น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดพุทธบูชา


วัดพุทธบูชา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 กำหนดเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มี พระพุทธวิริยากร (เพิ่ม กตปุญโญ) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชารูปแรก พระประธานประจำอุโบสถของวัดพุทธบูชา คือ พระพุทธชินราชจำลอง มีขนาดเท่าองค์จริง มีหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว (2.875 เมตร) หล่อด้วย ทองสัมฤทธิ์ น้ำหนักประมาณ 3 ตัน มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก ปัจจุบัน พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา รูปที่ 5 (ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน)

วัดพุทธบูชา เป็นที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) สาขาที่ 2 แห่งวัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิที่เปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ที่มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน

การเดินทาง

- ขึ้นทางด่วนไปทางดาวคะนอง เมื่อถึงสะพานแขวนให้ชิดซ้ายลงถนนสุขสวัสดิ์ วิ่งไป 100 เมตร ถึงจุดกลับรถหน้าวัดสน จากนั้นวิ่งไปประมาณ 300 เมตร ถึงทางเข้าถนนประชาอุทิศ วิ่งไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพุทธบูชา

- ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ ถึงทางเข้าถนนประชาอุทิศ ประมาณ 9 กิโลเมตร

รถเมล์ที่ผ่าน สาย 75 ปอ. 75 ต้นทางหัวลำโพง ผ่านวัดมหาพฤฒาราม บางรัก ถนนตก สะพานกรุงเทพ ดาวคะนอง บางปะแก้ว บางปะกอก ราษฎร์บูรณะ เข้าถนนประชาอุทิศ ผ่านเทคโนบางมด สวนธนบุรีรมย์ ปลายทางวัดพุทธบูชา

- ถ้านั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเรือราษฎร์บูรณะ (ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาราษฎร์บูรณะ) ขึ้นรถซูบารุจากหน้าห้างบิ๊กซี ไปสุดสายหน้าวัดพุทธบูชาได้โดยตรง ขอให้สังเกตหน้ารถจะเขียนปลายทางไว้ว่าวัดพุทธบูชา ก็ให้ขึ้นได้เลย ราคา 5 บาท

Image
พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพุทธบูชา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2231

ประวัติและปฏิปทาพระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20990

เว็บไซต์วัดพุทธบูชา
http://www.watphut.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2007, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอุโบสถ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
................................................................



วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
เลขที่ 999 ซ.พระราม 9 กาญจนาภิเษก 19
ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ 02-318-5925-7, โทรสาร 02-319-1123


พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาส
พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) หรือปิยโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม 9 ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม 9 และมีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม 9 เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม 9 ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่างๆ โดยยึดหลักความพอดีและพอเพียงเป็นพื้นฐาน

วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดธรรมยุติกนิกาย ที่เน้นการปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งการเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา การวิปัสสนาธุระ จิตตภาวนา การประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธและประเพณีไทย กิจกรรมปลูกรากแก้วศาสนทายาทของแผ่นดิน และกิจกรรมปลูกมโนธรรมสำนึกแทนคุณ เป็นต้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและอบรมจริยธรรมของวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 ประการ คือ เพื่อเป็นแบบอย่างการก่อสร้างวัดขนาดเล็กเพื่อเป็นที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา, เพื่อเป็นที่อบรมศีลธรรมจริยธรรม, เพื่อการพัฒนา และเพื่อเป็นตัวอย่างของการปลูกฝังความใกล้ชิดระหว่างวัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ ให้มีลักษณะเกื้อหนุนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ

1. จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน โดยให้ภิกษุสามเณรผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียน โรงเรียนวัดพระราม 9 กาญจนภิกเษก ในชั่วโมงเรียนวิชาพระพุทธศาสนาและจัดบรรยายพิเศษนอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันเป็นฐานของการขัดเกลาจิตใจสำหรับเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติในอนาคต

2. จัดฝึกอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เป็นการฝึกธรรมจิตด้วยสมาธิวิธีและพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิในการเรียน มีสำนึกในทางศีลธรรม มีมารยาทที่ ดีงาม รู้จักทั้งประโยชน์แก่ส่วนรวมตามควรแก่สถานภาพ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี “ห้องสมุดธรรมะ” และ “ห้องโสตทัศนศึกษา” สำหรับฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

สำหรับโครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาทนั้น เป็นการสร้างบุคลากรทางสงฆ์ให้เพิ่มพูนขึ้นอย่างมีประสิทธภาพ เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยืนยาวตลอดไป ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ต่อมาพุทธมามกะกลุ่มหนึ่ง ได้ตระหนักถึงภัยอันจะเกิดขึ้นจากการขาดแคลนศาสนทายาท จึงเข้ามาร่วมผลักดันโครงการกองทุนปลูกรากแก้วฯ จนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 4 ปี ที่ได้เริ่มรณรงค์เชิญชวนพี่น้องชาวไทยผู้มีศรัทธา ได้ร่วมใจกันอุปถัมภ์ทุนการศึกษาต่อเนื่องให้แก่เยาวชนได้เข้ามาบวชเรียน

อนึ่ง ภัยของสิ่งเสพติดทั้งหลายกำลังคุกคามเยาวชน กองทุนปลูกรากแก้วฯ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้บิดามารดาของเยาวชนรุ่นใหม่ เห็นความสำคัญของการให้เยาวชนเข้ามาบวชเรียนทางพุทธศาสนา เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันอบายมุขทั้งปวง ซึ่งปรากฏผลสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีผู้เข้ามาขอบวชในโครงการฯ และขอรับทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก


Image
“พระพุทธกาญจนธรรมสถิต” พระประธานในพระอุโบสถ
................................................................



ประวัติเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ประทานอนุญาตให้มาดำรงตำแหน่งนี้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ครองสมณเพศมาได้ 46 พรรษา (เมื่อปี พ.ศ. 2551) ศึกษาพระปริยัติธรรมจนจบเปรียญธรรม 5 ประโยค ท่านเป็นชาวจังหวัดนครปฐมโดยกำเนิด ได้บรรพชาตั้งแต่เป็นสามเณร

ปี พ.ศ. 2497 ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางปกครองเป็นเลขานุการเจ้าคณะภาคธรรมยุต 4-5-6-7 และต่อมาได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ปี พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพญาณวิศิษฏ์

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายธรรมยุต ในราชทินนามที่ พระธรรมบัณฑิต

เว็บไซต์วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
http://www.rama9temple.com/
http://www.piyasophon.org/

Image
พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาส

Image
พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1980

วัดประจำรัชกาลที่ ๙ : วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ฯลฯ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19317

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13499

เรียนรู้วิถีพอเพียงที่พระราม 9
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13500

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 24 ส.ค. 2007, 1:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล
................................................................



วัดป่าเชิงเลน
(สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 02-865-5645-6


พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล เจ้าอาวาส

วัดป่าเชิงเลน ธรรมสถาน-สัปปายสถาน “วัดป่า” กลางกรุง
เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

เว็บไซต์วัดป่าเชิงเลน
http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เย็นกาย สงบใจ ใน “วัดป่าเชิงเลน”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19668

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

วัดป่าเชิงเลน ตั้งอยู่สุดซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 สามารถเข้าวัดได้จากซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 (ซอยวัดเพลงวิปัสสนา) ปากซอยจะมีห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ตลอดทางจะมีป้ายชี้ทางเข้าวัดตลอดทาง หากมาโดยรถประจำทาง รถประจำทางที่ผ่านปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 หลายสาย เช่น 56, 57, 68, 108 และ ปอ. 10 แล้วนั่งมอร์เตอร์ไซร์จากปากซอยไปถึงที่สิ้นสุดทางรถซึ่งจะเป็นสวนริมน้ำร่มรื่น ประมาณ 30 บาท หรือนั่งรถสองแถวสาย “ล่าง” 3 บาท ซึ่งทั้งสองทางจะต้องเดินเท้าผ่านสวนไปอีกประมาณ 800 เมตร ก็จะถึงเขตวัดป่าเชิงเลน

Image
แผนที่วัดป่าเชิงเลน
................................................................
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2007, 12:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หอระฆัง ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
................................................................



วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
เลขที่ 250 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์ 084-1488-700


พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตเจ้าอาวาส


วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หนทางดับทุกข์ ฟรี ทุกวันอาทิตย์ โดย ดร.พระมหาธีรพันธ์ วชิรญาโณ (ป.ธ.๔ พธ.บ., Ph.D.) รก.ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Image

ความสำคัญของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ผู้เริ่มปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นครั้งแรกนั้นจะพบกับความสับสนว่า อะไรคือวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ ทำไมต้องใช้คำว่าภาวนาที่ลงท้ายด้วยคำว่า “หนอ” ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องพบกับความไม่หยุดนิ่งของจิตและความยากลำบากในการปฏิบัติอีกว่า จะทำอย่างไรจึงจะขจัดความลำบากเหล่านี้ได้ ความลำบากเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วง ๒-๓ วันแรกเท่านั้น ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเรายังไม่คุ้นเคยกับการที่จะต้องทำอะไรด้วยความเชื่องช้า

อย่างไรก็ตามความเชื่องช้าดังกล่าวนั้นได้เป็นวิธีการที่จะทำให้จิตสงบ เพราะฉะนั้น อุบายที่จะทำให้จิตสงบจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การสวดมนต์แล้วตั้งจิตอธิษฐาน หรือไม่ก็เป็นการสูดลมหายใจเข้าสู่ปอดให้แรงและลึกสัก ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนกว่าจิตของเราจะมีสภาพอ่อนโยนพร้อมกับสติตามรู้ขณะท้องพอง ขณะท้องยุบ ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่กับอาการพองยุบอยู่นั้นจะทำให้ลืมความไม่สบายต่างๆ จิตจะอยู่กับอาการพองยุบ โดยธรรมชาติและไม่ต้องฝืนหรือบังคับพร้อมๆ กับภาวนา “ พองหนอ ” ขณะท้องพอง “ ยุบหนอ ” ขณะท้องยุบไม่ต้องสร้างจินตนาการใดๆ จิตที่เป็นสมาธิในขณะนั้นจะนำไปสู่การกำจัดกิเลสที่อยู่ภายในใจ นั้นหมายความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงกำลังจะได้ก่อตัวขึ้นแล้ว

เมื่อใดที่กิเลส เป็นต้นว่า ความโกรธ ความเกลียด ความหลง ความกลัว ได้โอกาสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิตเราจะมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเครียด เมื่อใดที่เราปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมดังความปรารถนาเราก็จะมีความทุกข์ ความเครียดจะเกิดขึ้นติดตามมา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจนบางครั้งทำให้เรามีความสับสนหาทางออกไม่ได้ นอกจากนี้เรายังไม่ชอบที่จะเก็บความทุกข์และความเครียดไว้ในใจ แต่มักจะสะท้อนเอาความทุกข์และความเครียดเหล่านั้นไปยังบุคคลที่อยู่รอบข้าง การกระทำเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการกระทำที่ถูกต้องเลย

การเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เพื่อที่จะเรียนวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะทำให้เรามีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และกลมกลืนไปกับสภาวะภายในตัวของเราเอง เพื่อที่จะเรียนรู้ถึงการสร้างความสงบสุขและความเป็นอยู่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบุคคลอื่น ตลอดจนการที่เราจะดำเนินชีวิตให้มีความสุขในแต่ละวันได้อย่างไร นี้เป็นการพัฒนาตัวเราเองให้ขึ้นไปสู่ความสงบสุขซึ่งเกิดจากการที่จิตของเรามีความใสสะอาดเป็นจิตที่มีแต่ความรักอันบริสุทธิ์ที่ขยายผลไปยังความมีเมตตา ความมีกรุณา ความพลอยยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ในการเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นศิลปะนั้น เราต้องค้นหาสาเหตุแห่งความทุกข์ซึ่งฝังรากลึกอยู่ภายในตัวเราซึ่งเราจะต้องค้นหาสาเหตุอันนั้นให้ได้ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน จะช่วยให้เราค้นหาความจริงในตัวเราได้ ตลอดจนจะช่วยให้เราได้ตรวจสอบโครงสร้างของร่างกายและจิตใจที่มีแต่ความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นสาเหตุของความเครียดและความทุกข์

การได้รู้ได้เข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก

การที่เราได้รู้จักตัวเองจากการมองที่เรามองเพียงผิวเผินในภายนอกไปจนถึงความเป็นจริงที่มีอยู่ภายใน กระทั่งความเป็นจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของร่างกาย ซึ่งเรียกว่า “รูป” ความเป็นจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของจิตใจ ซึ่งเรียกว่า “นาม” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้รวมเรียกว่า “ปรมัตถธรรม” (สภาวะแห่งความเป็นจริงสูงสุดที่เกิดขึ้นมีขึ้นเองตามธรรมชาติของมันโดยปราศจากการกำหนดใดๆ จากตัวเรา)

ฉะนั้น การค้นหาความจริงหรือสัจธรรมที่อยู่ภายในตัวเรานั้นจะต้องเริ่มด้วยการสังเกตดูความเคลื่อนไหวของร่างกาย ดูเวทนา ดูความคิด และดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติสำหรับทุกคนและทุกคนต้องประสบโดยไม่มีข้อยกเว้น การเฝ้าคอยสังเกตดูธรรมทั้ง ๔ อย่างดังกล่าวมาแล้วนี้ จะเป็นเครื่องเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่เรามีอยู่อย่างผิวเผินไปสู่สิ่งที่เราไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย นอกเสียจากว่าเราจะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้นจึงจะรู้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย ขณะที่เราใช้สติจดจ่อกับอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั้น เราจะได้พบกับธรรมชาติของจิตที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยส่วนใหญ่จิตของเราจะท่องเที่ยวไปกับเรื่องที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่ค่อยที่จะหยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ตามความเป็นจริงนั้นจิตจะต้องอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ใช่ปล่อยจิตไปตามกับเรื่องที่เป็นอดีตและอนาคต เพราะเรื่องที่ เป็นอดีตได้ผ่านไปแล้ว ส่วนเรื่องที่เป็นอนาคตก็ยังมาไม่ถึง

เนื่องจากจิตของผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ไม่เคยฝึกให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน จิตจึงวิ่งไปโน่นไปนี่ และโดยเหตุที่จิตของผู้ปฏิบัติใหม่ยังมีความคุ้นเคยอยู่กับอารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต จิตจึงหลีกอารมณ์ปัจจุบันไปสู่อดีตและอนาคตอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไม่สงบ ในชีวิตประจำวัน คนเราส่วนมากมักจะมีความสับสน มีความโลภ ความโกรธ ความหลงด้วยกันทุกคนจะแตกต่างกันแต่เพียงว่ามีมากหรือน้อยเท่านั้น ในกรณีที่จิตคิดอยู่กับเรื่องพอใจ เราจะมีความรู้สึกพอใจนั้นหมายถึงความโลภได้ก่อตัวขึ้นในจิต ยึดติดเป็นอุปาทานไปแล้ว ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่พอใจ จิตจะปรุงแต่งไปในทางที่ไม่ชอบ นั้นหมายถึงความโกรธได้ก่อตัวขึ้นภายในจิตใจเราเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าจิตของเราจะเกี่ยวข้องกับความชอบและความไม่ชอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้คือตัวกิเลสที่ทำให้เรามีความทุกข์ เป้าหมายของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ สงบ และรอดพ้นจากความทุกข์ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยให้เราสามารถขจัดกิเลสที่อยู่ภายในจิตใจของเราได้

แม้เพียงครั้งแรกของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการพยายามกำหนดความเคลื่อนไหวของร่างกาย กำหนดเวทนา กำหนดความคิด และกำหนดสภาวธรรมที่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา การใช้ความพยายามกำหนดอารมณ์กรรมฐานทั้ง ๔ อย่างต่อเนื่องนั้น จะสามารถชำระจิตของเราให้บริสุทธิ์และสงบได้ ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้นเราไม่ควรที่จะกังวลว่า จิตของเราสงบนิ่งเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่เคยสงบนิ่งเป็นเวลานานๆ อย่างไรก็ตาม ความสงบของจิตแม้จะมีเพียงระยะเวลาสั้นๆ นั้นก็มีความหมายและก็มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่จิตได้หยุดอยู่กับความเป็นจริงของปัจจุบันอารมณ์ จิตจะหยุดการปรุงแต่งและเป็นอิสระจากกิเลส กล่าวคือ โลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นจิตจะเป็นอิสระปราศจากเครื่องร้อยรัดใดๆ โดยสิ้นเชิง

ขณะนั้นเอง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความสับสนฟุ้งซ่าน ความสงสัย ความวิตกกังวลต่อความยากลำบากที่จะปฏิบัติต่อไปจะค่อยๆ ลดน้อยลง ข้อสำคัญที่สุดก็คือ เราต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการกำหนดอารมณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เองได้เป็นสัญญาณบอกให้เราทราบว่า การปฏิบัติของเราดำเนินไปในทางที่ถูกต้องแล้ว ความรู้สึกลำบาก ความไม่สะดวก ความสับสน ความกังวลต่างๆ จะค่อยๆ หมดไป ความสงบสุขแห่งใจจะปรากฏขึ้น ความสงบสุขเช่นนี้ ไม่มีใครสามารถจะให้แก่เราได้นอกจากตัวเราเอง

Image

ด้านการศึกษาภายในวัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ๓ แผนก คือ แผนกบาลี นักธรรม และพระอภิธรรม ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมพฺรหฺมรํสี ปัจจุบันแผนกบาลี เปิดสอนในชั้นบาลีไวยากรณ์ประโยค แผนกนักธรรม เปิดสอนตั้งแต่ชั้นนวกภูมิ และแผนกพระอภิธรรม เปิดสอนตั้งแต่ชั้นจูฬตรี อภิธรรมมหาบัณฑิต

Image

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร


จุดเริ่มต้นของการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยจนเป็นหลักสูตรที่ยอมรับ และมีผู้ให้ความสนใจศึกษาทั่วประเทศ ปัจจุบันมีอภิธรรมบัณฑิตสำเร็จการศึกษา จำนวน ๔๑ รุ่น ไปเผยแผ่พระสัทธรรมที่ลึกซึ้ง อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ที่เข้าใจความเป็นไปในจิตใจของมนุษย์อย่างยิ่ง

หลักสูตรในการเรียนแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ
๑. ชั้นนักศึกษา ๙ ชั้น จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต
๒. ชั้นอาจารย์ ๖ ชั้น จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมมหาบัณฑิต

อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ได้เปิดการเรียนการสอนทุกวัน เว้นวันพระและวันนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๓.๐๐ น.-๑๖.๐๐ น. ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันอภิธรรมมหาวิทยาลัยได้เปิดโครงการศึกษา พระอภิธรรม ๙ ปริเฉท หลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาศึกษา เพียง ๓ เดือน เฉพาะเสาร์อาทิตย์ เมื่อจบการศึกษาแล้วได้รับ วุฒิบัตรรับรอง ซึ่งเป็นก้าวแรกของผู้สนใจพระอภิธรรมเบื้องต้น และเปิดโครงการก้าวสู่พระไตรปิฎก ที่ใช้เวลาเรียนเฉพาะ วันเสาร์ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.

เรียนเชิญ (เรียนฟรี) ผู้ที่สนใจใฝ่รู้ที่จะศึกษาพระอภิธรรม เพื่อความเข้าใจเรื่องความคิด จิตใจ ชีวิตตนเอง เพื่อพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าอย่างถูกต้อง ติดต่อ : สำนักงานอภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตาราม คณะ ๗ ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๑๑-๔๕๔๖, ๐-๖๐๓๘-๒๙๓๓

เรียนพระอภิธรรมฟรี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13068

Image
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

Image
พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) เจ้าอาวาส


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6925
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13976

ชมหอไตร ไหว้หลวงพ่อโต กราบพระยิ้ม ที่ “วัดระฆัง”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19678

เว็บไซต์วัดระฆังโฆสิตาราม
http://www.watrakang.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2007, 11:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สถาบันศึกษาพระไตรปิฎกธม̣มาภิสมโย
เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธัมมะนานาชาติ

โครงการธัมมะศึกษาและปฏิบัติ โดยเบนซ์ทองหล่อ
เลขที่ 540/5 ถ.สุขุมวิท 55 ปากซอยทองหล่อ 18
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร. 02-714-8888 โทรสาร 02-714-9131


นางเจษฎ์สุภา โพธิพิมพานนท์ ประธานโครงการฯ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อการเผยแผ่ธัมมะจากพระไตรปิฎกแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศในระบบต่างๆ
2. เพื่อการเผยแผ่พระไตรปิฎก โดยจัดให้มีการบรรยายธัมมะในสถานที่ต่างๆ
3. เพื่อการจัดให้มีการปฏิบัติธัมมะ (วิปัสสนากรรมฐาน) ตามหลักพระไตรปิฎก
4. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

ความหมายของอภิธัมมวิมุตติ

อภิธัมม์

อภิธัมม์ คือ ธัมม์ทั้งหลายที่มีความเจริญ อันเป็นเหตุแห่งความเจริญ
ธัมม์ทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา อันเป็นเหตุแห่งการรู้แจ้งในปรมัตถ-สัจจะ
ธัมม์ทั้งหลายที่ควรบูชาด้วยการกำหนดรู้โดยสภาวะแห่งธัมม์เหล่านั้น
ธัมม์ทั้งหลายที่ทรงกำหนดไว้โดยสภาวะมีผัสสะ เวทนา เป็นต้น
ธัมม์ทั้งหลายอันยิ่งที่ลึกซึ้งโดยนัยต่างๆ แห่งพระธัมมเทศนา

วิมุตติ

วิปัสสนา คือ ปัญญาเห็นแจ้ง ละสักกายทิฏฐิที่ยึดมั่นในตัวตน ด้วยการกำหนดรู้สภาวะแห่งนามรูป รู้ความมีเหตุปัจจัยของนามรูป ข้ามพ้นความสงสัยในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้ ละความยึดถือว่า เรา ของเรา ด้วยการรู้กลาป คือ กลุ่มของรูปนามด้วยกลาปสัมมสนะ ละความสำคัญหมายในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่าเป็นทาง เห็นความเป็นภัย เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธัมม์ทั้งหลาย มีจิตปรารถนาความหลุดพ้นจากความเกี่ยวพันในสังขารธัมม์ ละความยึดมั่นถือมั่นแล้ววางเฉย สลัดสังขารธัมม์ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นในสังขารนิมิต แล่นไปสู่สันติบท คือ การประหาณกิเลส เป็นผู้มีความสงบจากกิเลสและสังขาร เป็นเหตุให้พ้นทุกข์ในสังสารวัฏได้

Image
นายวสันต์ โพธิพิมพานนท์


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เบนซ์ทองหล่อทุ่มเงินล้าน เปิดอบรมวิปัสสนากรรมฐานฟรี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2764

เว็บไซต์โครงการธัมมะศึกษาและปฏิบัติ
http://www.abhidhammavimutti.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 4:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
เลขที่ 14 ซ.พัฒนาการ 20 แยก 6
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250


โครงการปฏิบัติธรรมหลักสูตรพิเศษ
โดยพระอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร และคณะ


รับผู้ปฏิบัติประมาณ 30 ท่าน สมาทานศีล 8 เวลา 7 วัน 6 คืน


คณะเจ้าภาพบ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเสมือนโอสถอันทรงสรรพคุณวิเศษที่สามารถลดอวิชชาและกิเลส อันเป็นเหตุแท้จริงของความทุกข์ได้ ผู้ทดลองปฏิบัติเมื่อได้พบด้วยตัวเองว่าได้ทั้งปัญญาและความสุข เปรียบดังเทียนส่องแสงสว่างทางเดินให้ตนเอง จึงได้เผื่อแผ่แสงสว่างแห่งการปฏิบัติให้กว้างออกไปถึงบุคคลอื่นด้วย

Image

ด้วยเหตุนี้ คุณกฤตภาส บุนนาค คณะเจ้าภาพและผู้ประสานงาน จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการปฏิบัติธรรมหลักสูตรพิเศษ” โดยนิมนต์ พระอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร (วัดมหาธาตุฯ คณะ 3 กรุงเทพฯ) และคณะ มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์และพระอาจารย์ดำเนินการสอนวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน 4 (พอง-ยุบ) เพื่อเป็นการฝึกฝนประสบการณ์กรรมฐานให้แก่ตนเอง เป็นเวลา 7 วัน 6 คืน ที่บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง ทั้งนี้ก็เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย

การสอนของท่านอาจารย์ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการนั่งปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน การปฏิบัติจะใช้ห้องปฏิบัติธรรมรวม แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิ และกำหนดอิริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรักษาเวลาในการเดินการนั่งแต่ละบัลลังก์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีวิทยากรควบคุม

คุณกฤตภาส บุนนาค
บริษัท แอดวานซ์ รีเสิร์ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
เลขที่ 14/1 ซ.พัฒนาการ 20 แยก 6
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

สอบถามรายละเอียดติดต่อ
คุณมนัสนันท์
โทรศัพท์ 02-318-6219 ต่อ 105 หรือ 08-5158-6336
โทรสาร/แฟ็กซ์ 02-318-6220


Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6071

เว็บไซต์บ้านปฏิบัติธรรมสวนหลวง
http://bansl.multiply.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระเทพปัญญามุนี (หลวงพ่อทองดี ฐิตายุโก)
................................................................



วัดอาวุธวิกสิตาราม (วัดบางพลัดนอก)
เลขที่ 137 ถ.จรัญสนิทวงศ์ ซอย 72
แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 02-424-3176, โทรสาร 02-879-1432


พระเทพปัญญามุนี (หลวงพ่อทองดี ฐิตายุโก) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

วัดอาวุธวิกสิตาราม (วัดบางพลัดนอก) แห่งนี้ เป็นวัดที่ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม” อุบาสิกาผู้มีพลังจิตมหัศจรรย์ ผู้สามารถบรรลุธรรมอันวิเศษสำเร็จ “จตุตถฌาณ 4” และ “อภิญญา 6” อันเป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งชีวิต ได้พำนักบำเพ็ญศีลและปฏิบัติธรรม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

ในปัจจุบันมีรูปปั้นของคุณแม่บุญเรือน อยู่บนศาลาคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ในบริเวณวัดอาวุธวิกสิตาราม หรือวัดบางพลัดนอก ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 72 แขวงและเขตบางพลัด กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ยังมีผู้คนไปสักการบูชากราบไหว้ขอพรจากรูปปั้นของท่าน อยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ เวลาหลังเที่ยง จะมีสานุศิษย์และผู้ศรัทธาของคุณแม่ต่างพร้อมใจไปชุมนุมกัน เพื่อสวดมนต์ต่อหน้ารูปปั้นของท่านที่ศาลาดังกล่าว โดยปฏิบัติติดต่อกันทุกวันอาทิตย์ เป็นเวลาอันยาวนาน ตั้งแต่คุณแม่บุญเรือนถึงแก่กรรม ซึ่งนับได้ประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว

หลังจากการสวดมนต์ นั่งสมาธิแล้ว สานุศิษย์และผู้ศรัทธาจะขอรับเอาสิ่งของต่างๆ ที่นำมาสักการบูชา เช่น ผลไม้ น้ำตาลทราย เกลือ พริกไทย สาคู และปูนสีแดง ที่ใช้ทาใบพลูสำหรับรับประทาน โดยอธิษฐานขอให้สิ่งของต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นยาแก้โรคต่างๆ ซึ่งก็แปลกที่หลายคนหายขาดโรคภัยที่เป็นอยู่อย่างน่ามหัศจรรย์

นอกจากนี้บางคนยังเอาไพลทุกชนิดไปถวายต่อหน้ารูปปั้นของคุณแม่บุญเรือน แล้วจุดธูปเทียนกราบไหว้บูชาท่าน อธิษฐานจิตขอให้ท่านดลบันดาลให้ไพลเป็นยารักษาโรค แล้วนำไพลนั้นมาทารักษาโรค ก็หายได้เช่นกัน

Image
รูปปั้นคุณแม่บุญเรือน ณ วัดอาวุธวิกสิตาราม
................................................................



คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้ที่มีพลังจิตสูง มีชื่อเสียงโด่งดังจากการใช้พลังจิตในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนทั่วไป รวมทั้งการนวดจับเส้น การใช้พลังจิตของคุณแม่บุญเรือนนั้น ท่านเรียกว่าเป็นการ “อธิษฐานจิต” คือ ท่านจะเข้าสมาธิให้จิตนิ่งเสียก่อน จากนั้นท่านจะอธิษฐานจิตขอให้เป็นไปตามที่ท่านปรารถนา แม้ว่าท่านจะจากไปนานแล้ว แต่คุณงามความดีและชื่อเสียงในทางธรรมที่ท่านเพียรสร้างไว้ขณะยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมีผู้กล่าวถึงอยู่ตลอดไป

พระเทพปัญญามุนี (หลวงพ่อทองดี ฐิตายุโก) เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม (พระอารามหลวง) กล่าวว่า “ตั้งแต่คุณแม่บุญเรือนเสียชีวิตลง มีลูกศิษย์และคนที่มีจิตศรัทธาเพิ่มจำนวนมากขึ้น มากราบไหว้และสวดมนต์ต่อหน้ารูปหล่อของท่านเป็นประจำทุกวัน เหมือนกับตอนที่คุณแม่บุญเรือนยังมีชีวิตอยู่ โดยที่วันอาทิตย์จะมีมากกว่าทุกวัน เพราะเป็นวันที่ร่วมกันสวดมนต์”

เจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ ยังกล่าวอีกว่า “ในวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายนทุกปี เหล่าลูกศิษย์ของคุณแม่บุญเรือนจะมาสวดมนต์และทำบุญประจำปี เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันวายชนม์ของท่าน คุณแม่บุญเรือนมีความปราถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้วัดอาวุธฯ เป็นวัดที่มีคนรู้จักคนทั่วไป จึงได้อธิษฐานจิตขอพรให้สมดั่งปรารถนา และมีส่วนช่วยในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอาวุธฯ ให้สวยงามและมีชื่อเสียงอย่างในทุกวันนี้”

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2552 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระราชปริยัติวิมล (ทองดี ฐิตายุโก) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายธรรมยุต ในราชทินนามที่ พระเทพปัญญามุนี

Image
คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดอาวุธวิกสิตาราม (วัดบางพลัดนอก)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2032

ประมวลภาพวัดอาวุธวิกสิตาราม (วัดบางพลัดนอก)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=869

ประวัติและปฏิปทาคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20386

ประมวลภาพ “พระเทพปัญญามุนี (หลวงพ่อทองดี ฐิตายุโก)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=26853

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม)
หมู่ 11 สี่แยกวังหิน ซ.เสนานิคม
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-570-8193


พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) อดีตเจ้าอาวาส

วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิภาวนา มีความสัปปายะ สงบเงียบ สงบเย็น ร่มรื่นมาก โดยมี หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ศิษย์โดยตรงองค์สุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นอดีตพระวิปัสสนาจารย์และอดีตเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระกรรมฐานที่มีชื่อเสียง ใช้เวลาศึกษากรรมฐานและออกธุดงค์เป็นเวลาร่วมถึง 26 ปี

เมื่อเข้าไปภายในวัดจะรู้สึกได้ทันทีถึงความสงบเงียบ ร่มเย็นด้วยลานต้นไม้ด้านหน้าวัดที่ให้ร่มเงา มองไปเบื้องหน้าจะพบพระอุโบสถอันสวยงาม ด้านข้างเป็นที่ประดิษฐานของพระแม่ธรณีและหลวงพ่อดำ นอกจากนี้ยังมีของดีคือขอนไม้พญางิ้วดำ ซึ่งเป็นไม้มงคลศักดิ์สิทธิ์มีอายุหลายพันปี ผู้คนให้ความเลื่อมใสศรัทธามากอีกด้วย

Image
พระอุโบสถของวัดสิริกมลาวาส ดูร่มรื่นและสงบเงียบ

Image
หลวงพ่อดำ ภายในวัดสิริกมลาวาส


ท่านใดที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมที่วัดก็ได้ทุกวัน หรือจะไปขออยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเดือนก็ได้

ตารางเวลาปฏิบัติ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30 - 20.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 20.00 น.

กิจกรรมหลักมีดังนี้
- สวดมนต์ภาวนา
- เรียนทฤษฎีจิตภาวนา
- เดินจงกรม
- นั่งสมาธิภาวนา
- ถามตอบปัญหาธรรมะโดยหลวงปู่หลอด

Image
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4626

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

Image
งานฉลอง 92 ปีหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2007, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมหาชวลิต สีลเตโช
................................................................



วัดราชสิงขร (สำนักปฏิบัติธรรมวัดราชสิงขร)
เลขที่ 2114 ถ.เจริญกรุง 74 แขวงวัดพระยาไกร
เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10123
โทร. 086-100-2195,
089-780-4077, 087-689-8924


พระมหาชวลิต สีลเตโช เจ้าอาวาส

วัดราชสิงขร เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๒๑ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมทำวัตรเช้า-เย็น ไหว้พระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ประวัติวัดราชสิงขร

วัดราชสิงขรเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปลายรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) อันเป็นช่วงปลายแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ที่นับว่าบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับผู้สร้างในเบื้องต้น จึงน่าเชื่อว่าเป็นการร่วมกลุ่มกันของชาวบ้านที่มีศรัทธาปรารถนาใคร่สร้างวัด เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพราะว่านับแต่เสียกรุงให้แก่พม่าข้าศึก ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว ต่อจากนั้นจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานคร เป็นราชธานีใหม่ เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อยอย่างแท้จริง จึงไม่น่ามีความพร้อมพอที่ผู้คนจะพากันคิดเรื่องการสร้างวัด

Image

อุโบสถหลังเก่าของวัดซึ่งต่อมาถูกยกเป็นวิหาร มีขนาดเล็กพอจุภิกษุได้ประมาณ ๒๐ รูป ตามพระวินัย มีหลังคาชั้นเดียว ด้านหน้าเป็นเพิงยื่นออก มีเสาค้ำ และหน้าต่างทำเป็นช่องลูกกรงแทนบานหน้าต่าง อั้นเป็นอิทธิพลของลักษณะหน้าต่างที่นิยมกันในสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบเรียบง่าย ตามที่เรียกกันแบบชาวบ้าน ตั้งอยู่หน้าศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ขณะกำลังปรับพื้นที่ได้พบลูกนิมิตซึ่งทำจากหินธรรมชาติ ขนาดเท่าศรีษะมนุษย์ จำนวน ๘ ลูก ใน ๘ ทิศ จึงเป็นหลักฐานทำให้ทราบว่าเป็นอุโบสถ ปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงพระประธาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา พระพักตร์แบบอู่ทอง ปางมารวิชัย เดิมเรียกกันมาว่า หลวงพ่อขาวบ้าง พระอู่ทองบ้าง เก็บรักษาอยู่ในบริเวณวิหารคดที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อล้อมกั้นเขตบริเวณพระอุโบสถ วิหาร และสถูปเจดีย์ที่บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ออกเป็นเขตพุทธาวาส ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ในสมัยที่สร้างวัด บริเวณแถบนี้ล้วนเป็นเรือกสวนนาไร่เป็นชาวเมืองของเมืองธนบุรีซึ่งผู้คนสามารถเดินทางเข้าเมืองได้โดยสะดวกทางแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะการสัญจรติดต่อธุระค้าขายในสมัยนั้นล้วนแต่อาศัยเส้นทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งเมืองธนบุรีปรากฏแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และจัดเป็นเมืองหน้าต่างทางทะเล ที่มีความสำคัญมาช้านาน เมืองธนบุรีจึงมีความเจริญพอสมควร อันเป็นมูลเหตุให้พระยาตากสิน ซี่งเดิมรับราชการอยู่ในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้าย คือ พระยาวชิรปราการ เมื่อท่านทำการปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าตากสิน จึงทรงสถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีใหม่ ชื่อกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร์ แต่เนื่องจากระยะเวลาหนึ่งพระองค์ทรงครองราชย์นั้นสั้นเพียง ๑๕ ปี อีกทั้งยังต้องมีการรบทำสงครามกันเนื่องๆ ทั้งภายในและภายนอก ในช่วงระยะนี้บ้านเมืองจึงเริ่มรวมตัวกันเข้าได้เป็นปึกแผ่นเท่านั้น และยังอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นตัว

Image

ต่อเมื่อภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเดิมเป็นสหายรับราชการร่วมกับพระเจ้าตากสิน ในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ และเป็นนายทหารคู่พระทัยในรัชสมัยพระเจ้าตากสิน ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ และทรงย้ายที่ตั้งเมืองหลวงใหม่มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ณ บริเวณที่เรียกว่าบางกอก ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี โดยทรงตั้งพระทัยที่สร้างบ้านเมืองขั้นใหม่ให้เจริญเหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง อันหมายถึงครั้งรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั่นเอง ซึ่งเรียกกันมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ว่า ครั้งบ้านเมืองดี

ในระยะนี้ทรงเน้นการสร้างบ้านแปลงเมืองเป็นสำคัญ ทรงปฏิสังขรณ์และทรงสร้างวัดวาอารามอีกมากมายกว่า ๓๐ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชบูรณะ วัดสระเกศ วัดคอกควาย เป็นต้น ทรงให้เสด็จพระอนุชาธิราช คือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จขึ้นไปรวบรวมนำพระพุทธรูปทั้งหลาย ที่ยังคงหลงเหลือจากศึกสงคราม ทางหัวเมืองเหนือและอยุธยาลงมารวมกันไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ และจ่ายแจกไปตามวัดต่างๆ อีกจำนวนมาก ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่นิยมการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ มีเพียงการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเก่าที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดได้ด้วยพระราชอำนาจ ตลอดจนพระราชทรัพย์ของกษัตริย์และพระราชวงศ์เท่านั้น

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดราชสิงขร
http://www.watrachsingkorn.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2008, 6:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน “บ้านพาณิชย์กุล”
เลขที่ 44/128 ซ.กำนันแม้น 36 ถ.กำนันแม้น
แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 081-915-5326, 081-736-6483


คุณไพโรจน์-คุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ผู้ก่อตั้ง

สถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน “บ้านพาณิชย์กุล” ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2548 โดยคุณไพบูลย์ และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แบบสติปัฏฐาน 4 ได้รับการออกแบบตั้งแต่ต้นให้เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการปฏิบัติของโยคี ซึ่งเปิดรับสมัครทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยปฏิบัติ เพื่อสืบสานการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นทางสายเอกของพระพุทธศาสนาในการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

Image

หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน ณ บ้านพาณิชย์กุล

หลักสูตร 7 วัน (อ.พระคำสิริ)

ผู้สอน :
อ.พระคำสิริ ภูมิปญฺโญ และคณะวิทยากร, อ.พระครูศรีปทุมรักษ์

ลักษณะการปฏิบัติ :
หลักสูตร 7 วันของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้นำปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ และมีเวลาว่างมากพอ โยคีจะได้เรียนรู้วิธีการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การกำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ และได้สอบอารมณ์โดยคณะวิทยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 5 รับประทานอาหาร 3 มื้อ ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 11.00-12.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 12.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติที่มีเวลามากพอ เพราะไม่ต้องควบคุมตนเองมาก จะมีคณะวิทยากรคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และการปฏิบัติไปพร้อมๆ กันจะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติ อีกทั้งระยะเวลา 7 วันจะได้ผลดีมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้น

Image

หลักสูตร 7 วัน (อ.พระมหาทองมั่น)

พระวิปัสสนาจารย์ :
อ.พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต, อ.พระณรงค์ กนฺตสีโล

ลักษณะการปฏิบัติ :
พระวิปัสสนาจารย์จะสอนวิธีการปฏิบัติในตอนแรกเท่านั้น หลังจากนั้นโยคีต่างคนต่างปฏิบัติเอง บริหารเวลาเอง ควบคุมตนเอง โยคีจะได้สอบอารมณ์โดยพระวิปัสสนาจารย์ทั้ง 2 ท่าน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และท่านจะได้ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติเป็นรายบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 8 โดยรับประทานอาหาร 2 มื้อเท่านั้น (ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือต้องรับประทานยา) ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 8.00-9.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 12.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติมากกว่า แต่ถ้าไม่เคยปฏิบัติ แล้วต้องการสมัครจะต้องมั่นใจว่าจะตั้งใจปฏิบัติ และสามารถควบคุมตนเองให้รักษาวินัยในการปฏิบัติได้

Image

หลักสูตร 3 วัน (อ.มยุรี)

วิทยากร :
อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล และคณะวิทยากร

ลักษณะการปฏิบัติ :
ดัดแแปลงมาจากหลักสูตร 7 วันของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้นำปฏิบัติ เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ และมีเวลาว่างไม่มากพอ โยคีจะได้เรียนรู้วิธีการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ และการกำหนดอิริยาบถย่อยต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อๆ ไป

ข้อมูลเพิ่มเติม :
ระหว่างปฏิบัติ โยคีถือศีล 5 รับประทานอาหาร 3 มื้อ ลงทะเบียนและเข้าปฏิบัติช่วง 15.00-16.00 น. ของวันแรก กลับบ้านประมาณ 15.00 น. ของวันสุดท้าย

คำแนะนำ :
หลักสูตรนี้มีพิธี “พระในบ้าน” ซึ่งจะทำให้โยคีซาบซึ้งถึงพระคุณของแม่ (และพ่อ) จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับโยคีที่เป็นแม่-ลูก มาเข้าปฏิบัติด้วยกัน (แต่ลูกต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป)

Image

ความเป็นมาสถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล

เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณไพบูลย์ และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ซึ่งมีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คุณไพบูลย์สนใจศึกษาธรรมะและค้นคว้าศึกษาหลักธรรมคำสอน ส่วนคุณจรรย์ภรณ์ไหว้พระ สวดมนต์ และนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน เมื่อมีโอกาสทั้งคู่และกลุ่มเพื่อนๆ มักจะไปร่วมสร้างวัดตามต่างจังหวัดเสมอๆ อยู่มาวันหนึ่งเมื่อคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์ เพื่อนสนิทในกลุ่มร่วมทำบุญ ได้ชวนคุณไพบูลย์ให้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 7 วัน ณ บ้านพรพรหม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านคุณชยพล เตชะชัยพรพจน์

ในขณะเดียวกันคุณจรรย์ภรณ์ก็ได้เข้าปฏิบัติฯ 7 วัน ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ (เพชรเกษม 54 กรุงเทพฯ) ทั้งคู่รู้สึกถึงผลจากการปฏิบัติว่า ทำให้ชีวิตมีความสุขสบายใจมากขึ้น ความทุกข์ใจเบาบางลง ประกอบกับในตอนนั้นโรงงานที่ตั้งอยู่ข้างบ้านก็เก่ามากแล้ว จึงย้ายโรงงานไปที่แห่งใหม่ เมื่อที่เดิมว่างอยู่จึงปรึกษากันว่า “น่าจะสร้างเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน” เพื่อชักชวนให้คนที่รู้จักได้มาปฏิบัติฯ

การก่อสร้าง : ในการดำเนินการก่อสร้างนั้นจะต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย (ว่ากันว่าเมื่อจะสร้างบุญใหญ่มักจะมีมารมาผจญ) แต่ทั้งคู่ก็ช่วยกันแก้ปัญหาและผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ โดยมีพระอาจารย์คำสิริ ภูมิปญฺโญ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์ ซึ่งปฏิบัติธรรมมานาน คอยช่วยให้คำปรึกษาชี้แนะ รวมถึงช่วยออกแบบสถานที่ให้เหมาะสมและเกื้อกูลแก่การปฏิบัติฯ พระอาจารย์คำสิริได้เมตตาตั้งชื่อเพื่อเป็นสิริมงคลแก่สถานที่นี้ว่า “บ้านพาณิชย์กุล” โดยคุณไพบูลย์และคุณจรรย์ภรณ์ พาณิชย์กุล ได้ยกสถานที่นี้ให้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน

Image

ร่วมกันสร้างบุญ : เมื่อคุณวิสุทธิ์ เตชะชัยพรพจน์, คุณสิริชัย-คุณวริณภร พุ่มเข็ม, คุณวิภาพร วัชระศิริไพโรจน์ และเพื่อนๆ ในกลุ่มทำบุญ ทราบข่าวการก่อตั้งบ้านพาณิชย์กุล ก็อนุโมนาสาธุ และมีความประสงค์จะร่วมบุญด้วย โดยช่วยกันจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ยังขาด เช่น โต๊ะอาหาร เก้าอี้ ตู้เย็น เครื่องกรองน้ำ ชุดเครื่องขยายเสียง ชั้นวางโทรทัศน์เพื่อบรรยายธรรม ฯลฯ ทำให้บ้านพาณิชย์กุลเสร็จสมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน

อุ่นเครื่อง : เมื่อสถานที่พร้อม คุณจิตสุภา ลิมปาภินันท์ เพื่อนคุณจรรย์ภรณ์ ได้แนะนำให้คุณจรรย์ภรณ์รู้จักกับพระมหาโสภณ มณีปฺญญาพร เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดราชโอรส และได้นิมนต์ท่านมาสอนวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น เดือนละ 1 วัน ท่านได้สอนให้รู้จักวิธีการเดินจงกรม นั่งสมาธิ วิธีการกำหนดอิริยาบถย่อย แต่ก็ยังไม่ได้เปิดคอร์สให้โยคีได้ปฏิบัติต่อเนื่องหลายๆ วัน เรียกว่าเป็นการสอนให้รู้วิธีปฏิบัติเท่านั้น

เปิดหลักสูตรครั้งแรก : ได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์คำสิริ ภูมิปฺญโญ และพระอาจารย์มหาแสน สุทฺธิเมธี (ปัจจุบันคือ พระครูศรีปทุมรักษ์) เจ้าอาวาสวัดหนองบัว จ.เชียงใหม่ มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ได้มาเปิดหลักสูตรให้เป็นครั้งแรก โดยมี อ.ใหญ่ และ อ.น้อย มาเป็นวิทยากร ทั้งนี้ โดยมีคุณสิริชัย-คุณวริณภร พุ่มเข็ม และคณะ ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 7 วัน ซึ่งได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ มาเข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา

Image

หลักสูตรเพิ่มเติม : เนื่องจากสภาวะสังคมในปัจจุบัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ต้องทำงานประจำ และหาเวลาว่างติดต่อกัน 7 วันได้น้อยมาก คุณจรรย์ภรณ์ จึงได้ปรึกษากับ อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล ซึ่งเป็นวิทยากรของคุณแม่สิริ กรินชัย โดยคุณจรรย์ภรณ์ได้รู้จักกับ อ.มยุรี ตอนไปปฏิบัติธรรมที่ยุวพุทธฯ 2 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี อ.มยุรี ก็ได้แนะนำว่าสามารถสอนหลักสูตร 3 วันได้ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ โดยได้ดัดแปลงมาจากหลักสูตร 7 วัน ของยุวพุทธิกสมาคมฯ บ้านพาณิชย์กุลจึงได้ทดลองจัดโดยมีวิทยากร 3 ท่าน คือ อ.มยุรี ลิขิตสุนทรกุล, อ.ละเอียด พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อ.โชติกา ซึ่งได้รับความสนใจจากเพื่อนๆ มาเข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทางบ้านพาณิชย์กุลจึงได้เพิ่มหลักสูตร 3 วัน ของ อ.มยุรี เข้าไปด้วย สำหรับผู้ไม่เคยปฏิบัติ และได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา

ต่อมาคุณจรรย์ภรณ์มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการพระวิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต (วัดภัททันตะอาสภาราม ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี) ในระหว่างที่ท่านมาสอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่ยุวพุทธฯ ศูนย์ 2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อท่านได้ทราบว่าบ้านพาณิชย์กุลมีจัดวิปัสสนากรรมฐานก็ได้อนุโมทนา คุณจรรย์ภรณ์จึงขอความเมตตาจากท่าน นิมนต์ท่านให้ช่วยมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่บ้านพาณิชย์กุล ซึ่งท่านก็ได้เมตตารับนิมนต์ ต่อมาหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน 3 วันจึงได้ถูกจัดขึ้นโดยเน้นผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว โดยมีพระอาจารย์มหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต และพระอาจารย์ณรงค์ กนฺตสีโล (วัดมะขามเรียง ต.ไผ่ขวาง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี) ได้เมตตามาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และมี ดร.ศักดิ์สมิทธิ์ มธุการสทิสก์ มาเป็นวิทยากร และได้จัดต่อเนื่องเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2549 จึงเริ่มจัดหลักสูตร 5 วัน ซึ่งจะทำให้เป็นผลดีต่อผู้ไม่เคยปฏิบัติฯ และปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตร 7 วันตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 จนถึงปัจจุบัน

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3343

เว็บไซต์สถานปฏิบัติธรรมบ้านพาณิชย์กุล
http://www.banphanichkul.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2009, 7:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม
เลขที่ 1/4-7 ถนนบรมราชชนนี ที่ 119
กม. 16 ก่อนถึงพุทธมณฑลสถาน 4 กม. ซ้ายมือ
แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170


โทรศัพท์ 02-441-1917, 02-441-1604, 02-441-1535
มือถือ 086-003-5478, 087-100-3968


เชิญร่วมฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา
ในรายการ พบพระพบธรรม ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น.
ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา


ท่านที่ร่วมฟังธรรมเทศนาจักได้รับหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน
จากสถาบันบันลือธรรม ทุกสัปดาห์ทุกท่าน

สอบถามองค์แสดงธรรมได้ที่ โทร. 02-441-1917

Image

ปณิธานของธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม

สำนักพิมพ์ธรรมสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2530 มีปณิธานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามเจตนารมณ์ของ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี (นายบรรลือ สุขธรรม ป.ธ. 8) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ก่อสร้างธรรมสภา อันเป็นธรรมสภาแห่งแรกของประเทศไทย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7 ทรงปิดทองลูกนิมิตเอก ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492

สืบเนื่องตามกาลเวลา ในยุคก่อนปีพุทธศักราช 2530 หนังสือธรรมะที่ได้จัดพิมพ์จำหน่ายในท้องตลาด โดยทั่วไปส่วนมากมีเนื้อหาสาระและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก แต่ไม่มีผู้คนสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะรูปเล่มส่วนใหญ่ไม่มีความสวยงาม ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะดึงดูดประชาชนให้สนใจหนังสือธรรมะ ทำให้ในอดีตหนังสือธรรมะไม่ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้ตั้งปณิธานว่า ภายใน 10 ปีจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการเผยแพร่หนังสือธรรมะ ให้มีรูปแบบสวยงาม น่าจับต้อง เป็นที่สนใจของประชาชน และจะทำให้หนังสือธรรมะขึ้นชั้นโชว์ตามร้านหนังสือชั้นนำ ติดอันดับ Best Seller เหมือนหนังสือชนิดอื่นทั่วๆ ไปที่วางจำหน่ายอยู่ จึงได้พัฒนารูปแบบปกและรูปเล่มให้มีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 เป็นต้นไป จะทำให้ประชาชนเปลี่ยนวัฒนธรรมการอ่านมาสนใจหนังสือธรรมะเพิ่มมากขึ้น ธรรมสภามีความภูมิใจที่ได้นำเสนอและพัฒนาการอ่านหนังสือธรรมะของประชาชน ดังที่ท่านจะเห็นได้ในปัจจุบัน

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 ที่ผ่านมา ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานให้หนังสือธรรมะเป็นหนังสือที่มีคุณภาพดีและราคาถูก จะพัฒนาหนังสือและสื่อธรรมะให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หนังสือธรรมะ ทั้งสวย ทั้งดี มีคุณภาพ และราคาไม่แพง

ในปีพุทธศักราช 2550 เป็นต้นไป เป้าหมายของสำนักพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม คือการเผยแผ่ธรรมะที่ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุข และสิ่งเสพติดทั้งหลาย เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามและการนำมาซึ่งความสุขของมนุษยชาติ

ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานไว้ว่า ในปีพุทธศักราช 2560 ประชาชนชาวไทยจักมีอิสระ ปราศจากความงมงาย ปราศจากสิ่งเหลวไหล และจะส่งเสริมให้อบายมุขหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ขอให้ลดลงๆ เรื่อยๆ รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนมีศีล มีธรรม มีวัฒนธรรมของชาวพุทธ และมีความปีติในการปฏิบัติธรรม เพื่อความสุขของชีวิตและเพื่อความสุขของสังคมโดยทั่วกัน

ด้วยความสุจริตหวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข

..........

สถาบันบันลือธรรม

สถาบันบันลือธรรม เป็นองค์กรเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอด และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่มั่นคง อันเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ องค์ประธานสถาบันบันลือธรรม และท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี ป.ธ. 8 ประโยค (นายบรรลือ สุขธรรม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้กำเนิดธรรมสภา

กิจกรรมของสถาบันบันลือธรรม

1. โครงการพบพระ พบธรรม มีพระเถระผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา แสดงธรรม ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น. สอบถามองค์บรรยายธรรมที่ โทรศัพท์ 08-6003-5478

2. โครงการศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก, โครงการสำหรับเด็กและเยาวชน จัดที่ธรรมสถานสวนมุทิตาธรรมาราม ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม

3. โครงการอยู่กันด้วยความรัก จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และช่วยเหลือชุมชนในถิ่นทุรกันดาร

4. ธรรมสถานสวนมุทิตาธรรมาราม ถ.พุทธมณฑลสาย ก ติดกับพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม อบรมการเรียนรู้ชีวิตตามธรรมใน 1 วัน ทุกวันพุธต้นเดือน เวลา 08.00-16.00 น. ติดต่อร่วมกิจกรรมที่ โทรศัพท์ 08-6003-5478

5. กองทุนคลังธรรมทาน บริจาคหนังสือเป็นสาธารณกุศล เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน โดยแจ้งความจำนงเป็นจดหมายขอรับบริจาคได้ที่ธรรมสภา

6. หอสมุดธรรมสมาธิ ห้องสมุดธรรมะและนั่งสมาธิภาวนา พร้อมกับฟังธรรมะในสวนใต้ร่มเงาไม้ตามธรรมชาติ สถานที่รื่นรมย์ติดกับพุทธมณฑล เปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. สอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 0-2482-1196

การพิมพ์หนังสือธรรมเป็นอนุสรณ์นอกจากเป็นการจัดทำสิ่งซึ่งมีประโยชน์ที่คงอยู่ยืนนานแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญธรรมทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมอีกด้วย ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ชื่อว่าได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ธรรม อันจะอำนวยประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน

ท่านที่ประสงค์จัดพิมพ์หนังสือธรรมะที่ดีมีคุณภาพ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกในทุกโอกาสของงานประเพณี อันเป็นการใช้จ่ายเงินอย่างมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โปรดติดต่อที่...

ธรรมสภา ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา
1/4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0-2441-1588, 0-2434-4267
โทรสาร 0-2441-1464 http://www.thammasapa.com

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์ธรรมสภา
http://www.thammasapa.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2009, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดปทีปพลีผล
ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 02-897-2496, 084-011-3102,
085-228-5639, 086-027-2682


พระอาจารย์ประพันธ์ พนฺธุธมฺโม เจ้าอาวาส

พระอาจารย์ชูเกียรติ สิริยโส อาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน


(1) ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม-บวชเนกขัมมจาริณี
จัดทุกต้นเดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
เหมาะสำหรับบุคลทั่วไปหรือเริ่มต้นที่จะปฏิบัติธรรม

Image

(2) ขอเชิญอบรมวิปัสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน

โครงการวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาจิต ให้เกิดปัญญาและความสุข
ดำเนินการสอนโดย ท่านพระอาจารย์ประพันธ์ พนฺธุธมฺโม เจ้าอาวาส
และพระอาจารย์ชูเกียรติ สิริยโส อาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน

กำหนดการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ของทุกๆ ต้นเดือน

การเดินทาง : มีรถตู้จากบิ๊กซีพระราม 2, รถสองแถว ผ่านหน้าวัด

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดปทีปพลีผล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1967

เว็บไซต์วัดปทีปพลีผล
http://watthaiblog.blogspot.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง