Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เหตุ-ปัจจัย กับ สภาวะ อันเดียวกันหรือคนละอัน ช่วยตอบที อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 7:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อะไรเป็นเหตุปัจจัยของรูปขันธ์

อะไรเป็นสภาวะของรูปขันธ์

ช่วยทีครับ

ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
อะไรเป็นเหตุปัจจัยของรูปขันธ์

อะไรเป็นสภาวะของรูปขันธ์

ช่วยทีครับ

ยิ้ม


กระผมพิจารณาได้ว่า อวิชา ครับเป็นเหตุของรูปขันธ์
ส่วนสภาวะของรูปขันธ์นั้นเป็น ไตรลักษณ์ ครับ
ผิดถูกยังไงชี้แนะด้วยนะครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
กระผมพิจารณาได้ว่า อวิชา ครับเป็นเหตุของรูปขันธ์


ผมรอฟังคำตอบด้วยคนครับ....


อยากรู้จริงๆว่าอวิชา......ทำให้เกิดรูปขันธ์อย่างไร สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[quote="ฌาณ"]

อยากรู้จริงๆว่าอวิชา......ทำให้เกิดรูปขันธ์อย่างไร


ก็เพราะมีอวิชาอยู่ครับ จึงยังเห็นว่าเป็นรูปขันธ์ หากเปิดอวิชาออกแล้วรูปขันธ์ที่เห็นนั้นก็เป็นเพียงวัตถุ ( ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ - อากาศ - ช่องว่าง )หรือท่านจะลองพิจารณาจากปฏิจสมุปบาทก็ได้ครับ อวิชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป(สมมุติ) ฯ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
thammathai
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): สังขตธาตุ

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 9:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อะไรเป็นเหตุปัจจัยของรูปขันธ์
อะไรเป็นสภาวะของรูปขันธ์


ขอกล่าวโดยสังเขปดังนี้ครับ

เดิมเราคือจิต....รอบๆเราก็คือจิต

เดิมนั้นบริสุทธิ์ ผ่องใส

มีคุณสมบัติรู้ คิดและจำ

จิตที่เป็นธรรมชาติเดิมนี้ เป็นอวิชชา

จึงหลงคิด(เพราะจิตมีคุณสมบัติของการคิด) ว่าถ้ามีอะไรมากกว่าจิต
จะเป็นอย่างไร.....

ความจริงจิตเดิมนั้นไม่มีรูปร่าง ตัวตน ไม่เป็นสิ่งมีชีวิตใดๆทั้งสิ้น

แต่เป็นภาวะที่ รู้ จำ คิด

เหมือนกับพลังงานที่เล็กละเอียดที่สุดยิ่งกว่าพลังงานใดๆ...

เมื่อจิตหลงคิดไปว่าถ้ามีอะไรมากกว่าจิตจะเป็นอย่างไร...

จึงได้เพ่งพลัง(อภิชฌา) สร้างสิ่งที่มากไปกว่าจิตขึ้น...

สิ่งนั้นเรียกว่า..... สังขาร(เพราะมาจากความคิด)

จึงกล่าวว่า อวิชชาทำให้เกิดสังขาร

สังขารเริ่มแรกนั้นบางเบามาก....ลักษณะเหมือนจิต
(เพราะจิตไม่เคยเห็นสิ่งใดมากก่อน จึงเพ่งพลังสร้างสิ่งที่เหมือนจิต)

เมื่อถูกเพ่งพลังสร้างมา(action) ย่อมมีการเสื่อมสลาย(reaction)

จึงเพ่งพลังสร้าง....พัฒนาสังขารมาเรื่อยๆ ให้คงอยู่นานๆ ไม่เสื่อมสลาย

แต่ก็หนีไม่พ้น....การเสื่อมสลายอยู่ดี

จิตอวิชชาจึงคิดว่า.....เราควรไปสถิตย์อยู่ในสังขาร...

เพื่อสังขารจะได้ยั่งยืน.....

จึงเรียกจิตที่เข้าไปสถิตย์ในสังขาร....ว่าวิญญาณ

กล่าวได้ว่า.... สังขารทำให้เกิดวิญญาณ

เรียกจิต + สังขาร ที่อยู่รวมกันเสียใหม่ว่า นาม + รูป

สังขารจึงเป็นเหตุที่มาของ.....นาม - รูป
สังขารจึงเป็นเหตุที่มาของ....นามขันธ์ - รูปขันธ์ ด้วยประการดังกล่าวมา


สาธุ เจริญในธรรมครับ
 

_________________
เราคือใจที่บริสุทธิ์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 7:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำมาให้อ่านค่ะ ตรงนี้เขาอธิบายความหมายของคำต่างๆได้ชัดเจนดีค่ะ

ปฏิจจสมุปบาท
1. อวิชชา หมายถึง กิเลสที่ครอบงำจิต ทำให้ไม่รู้แจ้งอริยสัจ อวิชชาเป็นเหตุปัจจัยให้มีสังขาร อวิชชาดับไปสังขารย่อมดับ
2. สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งเจตนาในการประกอบกรรมของจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ ในที่นี้หมายถึงอภิสังขาร 3 คือ
2.1 ปุญยาภิสังขาร ( อภิสังขารฝ่ายบุญ ) ทำให้เวียนว่ายตายเกิดไปตามบุญ เป็นมนุษย์เป้นเทวดาในกามภพ เป็นรูปพรหมในรูปภพ
2.2 อปุญญาภิสังขาร ( อภิสังขารฝ่ายบาป ) ทำให้เวียนว่ายตายเกิดไปตามบาป เป็นสัตว์ในอบายได้แก่ เดรัจฉาน อสุรกาย เปตร สัตว์นรก
2.3 อาเนญชาภิสังขาร ( อภิสังขารฝ่ายอรูปฌาน ) ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปภพ สังขารเป้นปัจจัยให้มีวิญญาณ สังขารดับไปวิญญาณย่อมดับ
3. วิญญาณ หมายถึง จิตที่เข้าครองนามรูป วิญญาณเป็นปัจจัยให้มีนามรูป วิญญาณดับไปนามรูปย่อมดับ
4. นามรูป หมายถึงขันธ์ 5 นามรูปเป็นปัจจัยให้มีสฬายตนะ ( อายตนะภายใน 6 ) นามรูปดับไปสาฬยตนะย่อมดับ
5. สฬายตนะ หมายถึง เครื่องสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้มีผัสสะ ( การสัมผัส ) กับอายตนะภายนอก 6 ซึ่งได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพะ ธรรมารมณ์ สฬายตนะดับไปผัสสะย่อมดับ
6.ผัสสะ หมายถึง การสัมผัส การกระทบระหว่างอายตนะภายในกับภายนอก ผัสสะเป็นปัจจัยให้มีเวทนา ผัสสะดับไปเวทนาย่อมดับ
7.เวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เวทนาเป็นปัจจัยให้มีตัณหา เวทนาดับไปตัณหาย่อมดับ
8.ตัณหา หมายถึง ความต้องการทะยานอยาก ตัณหาเป็นปัจจัยให้มีอุปทาน ตัณหาดับไปอุปทานย่อมดับ
9.อุปทาน หมายถึง การยึดถือภายใต้อำนาจของกิเลส กิเลสที่ว่านี้คือ ฉันทะกับราคะ ยึดถือในกามก็เป็นเราในกามภพ ยึดถือในรูปก็เป็นเราในรูปภพ ยึดถือในอรูปก็เป็นเราในอรูปภพ อุปทานเป็นปัจจัยให้มีภพ อุปทานดับไปภพย่อมดับ
10.ภพ หมายถึง โลกอันเป็นที่เกิด ที่อยู่ ที่ตายของสัตว์โลกทั้งหลาย ภพจำแนกเป็น 2 ภพ คือ
10.1 ภรรมถพ ภพที่เจตนาปรุงแต่งกรรมให้เป็นปุญญาภิสังขาร อนุปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
10.2 อุปัตติภพ ภพที่อุบัติ ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้มีชาติ ภพดับไปชาติย่อมดับ
11.ชาติ หมายถึง การปรากฏแห่งขันธ์ 5 นอกครรภ์ ชาติเป็นปัจจัยให้มีชรา มรณะฯลฯ ชาติดับไปชรา มรณะฯลฯ ย่อมดับ
ปฏิจจสมุปบาทมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ดังต่อไปนี้
1.อิทัปปัจจยตา ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย
2.ธรรมนิยาม ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา
3.ปัจจยาการ อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน
4.อริยญายธรรม ความถูกต้องชอบธรรม,สิ่งที่สมเหตุผล

จากหนังสือ การปฏิบัติโลกุตรธรรม โดย พันเอก ( พิเศษ ) ประดิษฐ์ เผ่าวิพัฒน์
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำมาให้อ่านเหมือนกันค่ะ เรื่อง ขันธ์ 5

โดยทั่วไปขันธ์ 5 เรียกเรียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
บางตำราเรียก รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร เพราะเห็นว่าในกองนามทั้ง 4 นั้น กองวิญญาณรับรู้อารมณ์ภายนอก แล้วติดต่อกองเวทนา กองเวทนาติดต่อกองสัญญา กองสัญญาติดต่อกองสังขาร กองสังขารติดต่อจิตให้จิตสั่งการ
1.รูป หมายถึงร่างกายคน สัตว์ อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
2.วิญญาณ หมายถึง การรับรู้อารมณ์ภายนอก 6 ที่เรียกว่า อายตนะภายนอก 6 คือ รูปะ ( รูป ) สัททะ ( เสียง ) คันธะ ( กลิ่น ) รสะ ( รส ) โผฏฐัพพะ ( กายสัมผัส ) ธรรมารมณ์ ( สิ่งที่ใจนึกคิด )
3.เวทนาหมายถึง ความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ในเมื่อได้รู้อารมณ์ภายนอก คือได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัสทางกาย ได้รู้ทางใจ
4.สัญญา หมายถึง ความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ภายนอก
5.สังขาร หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งจิต ( คือความคิด ) ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
ขันธ์ 5 ( นามรูป ) เป็นปัจจัยจึงมีอายตนะภายใน 6 ( คือ เครื่องติดต่อ เครื่องสัมผัส เครื่องรู้อายตนะภายนอก 6 )
อายตนะภายใน 6 ได้แก่ จักขุ ตา ) โสตะ ( หู ) ฆานะ ( จมูก ) ชิวหา ( ลิ้น ) กาย ( กาย ) มโน ( ใจ )

อายตนะภายในสัมผัสอายตนะภายนอกเป็นคู่กันดังนี้
ตาสัมผัสรูป
หูสัมผัสเสียง
จมูกสัมผัสกลิ่น
ลิ้นสัมผัสรส
กายสัมผัสโผฏฐัพพะ
ใจสัมผัสธรรมารมณ์

เมื่ออายตนะภายในสัมผัสกับอายตนะภายนอก วิญญาณในขันธ์ซึ่งได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณก็รับรู้อายตนะภายนอก ด้วยการรู้สึกทางประสาททั้ง 5
และทางใจ เวทนาในขันธ์ 5 ก็เกิดความรู้สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
สัญญาในขันธ์ 5 ก็จำได้หมายรู้
สังขารในขันธ์ 5 ก็ปรุงแต่งเจตนาในการกระทำของจิต เป็นอันกองนามทั้ง 4 กองติดต่อขึ้นไปยังจิต จิตก็สั่งการลงมา

จากหนังสือ การปฏิบัติ โลกุตตรธรรม โดย พันเอก ( พิเศษ ) ประดิษฐ์ เผ่าวิพัฒน์
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง