Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2008, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม

อ้างอิงจาก:
ปัญหามีอยู่ว่า เราจะอาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น




ความเห็น


คำถามนี้ ต้องแยกให้ดีว่า เรากำลังกล่าวถึงจุดไหน ระหว่าง

1.ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรค

2.ในจุดที่จะเข้าเขตอริยผล

ที่ผมเสนอตรงนี้ เพราะถ้าไม่แยกแยะสองข้อนี้ออกจากกันก่อน.... จะสับสนมาก เวลาสนทนา


.................................



1.ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรค

เนื่องด้วย มีวิธีปฏิบัติ ทั้ง
เจิญวิปัสสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า....
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า....
เจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป....

ซึ่ง ในแนวทางเหล่านี้ มีเพียงเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าวิธีเดียวเท่านั้น ที่ต้องใช้ฌานเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาโดยตรง....วิธีอื่นๆ นอกนั้น สามารถเดินมรรคไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องได้ฌานมาก่อน.
ดังนั้น จากพระสูตร จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สมาธิระดับแน่วแน่(ฌาน)ในขั้นการเดินมรรคตั้งแต่เริ่มต้น....สามารถใช้สมาธิระดับขณิกะ หรือ อุปจารสมาธิ ก็ได้
(ตรงจุดนี้มีรายละเอียด อยู่ในหนังสือพุทธธรรมด้วย)



2.ในจุดที่เข้าเขตอริยผล

ประเด็นสำคัญ ในข้อ2นี้ อยู่ตรงที่ว่า

สมาธิ ในการภาวนาแบบ"เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"นั้น .... สมาธิได้รับการพัฒนาตามปัญญาไปด้วยไหม?

ลองเปรียบเทียบ ตรงจุดนี้ระหว่าง

2.1จาก หนังสือพุทธธรรม


หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1)

เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


คำว่า วิปัสสนายานิก ที่ท่านเจ้าคุณกล่าวนี้ หมายถึง ใช้สมาธิร่วมในการเริ่มเดินมรรค ระดับขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะต่อกับอุปจารสมาธิ....
แต่ เมื่อภาวนาก้าวหน้าไป-ปัญญาพัฒนาไปเรื่อยๆ สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย และ เมื่อจะบรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะกลายเป็นสมาธิระดับแน่วแน่(ฌาน)อันมีสัมมาสตินำหน้า ที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"นั่นเอง

ซึ่ง นี่คือ สมาธิในการภาวนาแบบ"เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"นั้น สมาธิเองก็ได้รับการพัฒนาตามปัญญาไปด้วย...หาใช่ หยุดอยู่กับที่ แต่อย่างใด.

จึงสอดคล้องกับ คำว่า"มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"



เปรียบเทียบกับ



2.2จาก แนวทางปัญญาวิมุติ แบบของXXX


เพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ท่านเคยเสนอข้อมูลมาให้ผมดังนี้


อ้างอิงจาก:
นำมาจากหนังสือXX

รจนาโดยหลวงพ่อดร.XXX ข้อความมีดังนี้ค่ะ

***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***



ซึ่ง นี่คือ สมาธิในการภาวนาแบบ"เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"แบบแนวทางXXXนั้น สมาธิไม่ได้รับการพัฒนาตามปัญญาไปด้วยเลย....

ถ้า ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรคใช้ขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ... ในตอนที่บรรลุมรรคผลก็ยังคงเป็นขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ อยู่ตามเดิม นั่นเอง

ปัญหาที่สำคัญที่จะตามมา คือ ถ้าสมาธิไม่ได้รับการพัฒนาตามปัญญาจริงๆแล้ว.....กล่าวคือ ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรคใช้ขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ และ ในตอนที่บรรลุมรรคผล สมาธิก็ยังคงยังเป็นขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ อยู่....
แล้ว "สัมมาสมาธิ" ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่(ฌาน)ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด ดังเช่นแสดงในพระสูตร ไม่มีในพระอรหันต์ปัญญาวิมุติแบบของXXX หรอกหรือ???
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2008, 11:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแสดงความคิดเห็นครับ

แค่ขณิกสมาธิ ก็เจริญปัญญาได้แล้วครับ

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 5:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ผู้ที่ได้บรรลุอริยมรรค-ผล(นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ(???) มีคุณสมบัติของจิตที่มีองค์แห่งฌาน


วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ

แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน

จากคุณ : ตรงประเด็น





ขออ้างที่มาที่คุณตรงประเด็นกล่าวถึง หน่อยนะครับ ก่อนที่จะฟังการตีความเอาเองของคุณตรงประเด็น ประดุจอรรถกถา

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7


อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน

พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว

อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฏฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกฺขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา
แปลว่า ดูก่อนสารีบุตร ในภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ องค์เป็นเตวิชชบุคคล ๖๐ องค์ เป็น ฉฬภิญญาบุคคล ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตตบุคคล ที่เหลือเป็นปัญญาวิมุตตบุคคล

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สำเร็จมรรคผล เพราะเห็นอนิจจลักษณ์ และอนัตตลักษณ์มีมากกว่าผู้เห็นทุกขลักษณ์ เพราะว่าผู้ที่เห็นทุกขลักษณ์นี้เป็นผู้มีปุพพาธิการ ยิ่งด้วยสมาธิ
เตวิชชบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มีวิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ
ฉฬาภิญญาบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มี อภิญญา ๖ หรือเรียกว่า วิชชา ๖ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพยโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ
อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล หรือเรียกว่า เจโตวิมุตตบุคคล
ปัญญาวิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก
-----------------------------------------------------------

สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0
----------------------------------------------
สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=11408&st=0&hl=
--------------------------------------------------------------------
สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ? (๒)
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7
---------------------------------------------------
ทางสายเอก
http://www.geocities.com/toursong1/thang/00.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 5:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คือ คำว่า สมาธิ(ซึ่งเป็นผลจากสมถะ) ...และ คำว่า สมถะ(ที่มีผลเป็นสมาธิ) ที่เราท่านกำลังกล่าวกันนั้น ตรงกับที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ไหม


สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=0

จากคุณ : ตรงประเด็น




คุณตรงประเด็นครับ คำว่า สมาธิ และ สมถะ มีความหมายนัยยะเดียวกัน

แต่ผลของ สมาธิ หรือ สมถะ ขั้นสูง คือ ฌาน อภิญญา (โลกียอภิญญา และ โลกุตตรอภิญญา)

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมาธิ

ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
(ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)

อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน
(ข้อ ๒ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิญญา ญาณ วิชา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

------------------------------------------
จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ ของพระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) เกี่ยวกับคู่มือวิปัสสนาเบื้องต้น ซึ่งผมเห็นว่าพระครูศรีโชติญาณ เป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญทั้งด้าน คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

--------------------------------------------------------------------------
http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/010620.htm

ก่อนอื่นผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนา จำเป็นจะต้องรู้หลักของการปฏิบัติสักเล็กน้อยก่อน เพราะถ้าไม่รู้หลักของการปฏิบัติ ก็จะปฏิบัติกันไม่ถูก อันนี้แหละที่เราเรียกว่ากันว่า " ปริยัติ" สำหรับในที่นี้จำเป็นจะขอแนะนำว่า การปฏิบัติวิปัสสนา ในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ แบบ คือ
แบบที่ ๑ เรียกว่า " สมถยานิกะ " คือ ทำฌานให้เกิดขึ้นเสียก่อน จนมีวสี ๕ อย่างคล่องแคล่วแล้วจึงถอนจิตออกจากฌาน แล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไปได้โดยยกเอาองค์ฌานที่ปรากฏชัดที่สุดมาพิจารณา โดยความเป็นพระไตรลักษณ์
แบบที่ ๒ เรียกว่า " วิปัสสนายานิกะ " วิธีหลังนี้ทำวิปัสสนาล้วน ๆ เลย โดยที่ไม่มีสมถะที่เป็นฌานเข้ามาเจือปนเลย ที่พูดนี้อาจมีผู้สงสัยว่า ถ้าไม่สมถะให้เกิดสมาธิเสียก่อนแล้ว จะไปทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ขอตอบว่าการทำตามวิธีที่ ๒ นี้ มิใช่จะปฏิเสธสมาธิแต่ผู้ที่สงสัย ต้องไม่ลืมว่าวิปัสสนานั้น อาศัยเกิดบนฐานของขณิกสมาธิที่มีอยู่(สมาธิที่เป็นขณะ ๆ ) ไม่ใช่สมาธิที่เป็นอุปจาระหรืออัปปนาอย่างที่บางคน หรือบางสำนักมีความเข้าใจกัน เพราะผู้ที่จะเจริญวิปัสสนาจำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาไปพร้อมกัน ๆ กันทีเดียว มิใช่จะเจริญเพียงสิกขาใด สิกขาหนึ่งโดยเฉพาะก็หาไม่ หมายความว่า ขณะกำหนดอารมณ์ ศีล สมาธิ และปัญญา จะต้องร่วมทำกิจในอารมณ์เดียวกันนั่นเอง
----------------------------------------------------

ผมเกรงว่าคุณประเด็น จะเข้าใจผิดตีความว่า ขณิกสมาธิ ไม่สามารถอาศัยเป็นฐานของการปฏิบัติวิปัสสนาได้ ต้องอาศัยระดับ อัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ เท่านั้น จึงจะใช้เป็นบาทของวิปัสสนาได้

หากตีความเช่นนั้น จะทำให้การอธิบายพระพุทธพจน์ผิดเพี้ยนไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 5:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขอแสดงความคิดเห็นครับ

แค่ขณิกสมาธิ ก็เจริญปัญญาได้แล้วครับ

RARM



สาธุครับ คุณ RARM

แต่ตอนนี้คุณตรงประเด็น กำลังหลงประเด็นแล้วครับ ยกพระพุทธพจน์ อรรถกถา และหนังสือ พุทธธรรม ตีความเองประดุจ อรรถกถา ฏีกา

มองข้ามความสำคัญของ สติ สัมปชัญญะ ที่เกิดร่วมกับ ขณิกสมาธิ

ปฏิเสธแนวทาง การปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิกะ

มีทิฏฐิที่เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ? (๒)
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7
---------------------------------------------------


เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 6:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

---

ทำไม่ต้องพูดให้มากความ ก็แค่เจริญสมาธิ หรือการฝึกสติ นี้เอง เป็นกำลัง เอามา เพื่อเจริญปัญญาต่อ

พูดมากก็ฟุ้งมาก พาล งง กันเปล่าๆ


เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สวัสดีครับ คุณเฉลิมศักดิ์ สาธุ ไม่ได้คุยกันหลายวันคิดถึง

ครับ อายหน้าแดง

กรัชกายขอสนทนาด้วยนะครับ

มีคำถามเลยแล้ว ที่ว่า



เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด
ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา


ก่อนก็ลืมถามไป

เป็นความเห็นของใครครับ ของ อ.แนบ หรือ อ. บุญมี หรือ...

เห็นคุณยกขึ้นยกลง ยกขึ้นอ้างอิงบ่อยๆ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 8:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า "วิปัสสนายานิก" ไม่มีในระดับพระสูตร

(อยากให้ค้นดูด้วนตนเองทุกท่านครับ)




คำกล่าวว่า"วิปัสสนายานิก" เป็นคำกล่าวของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล....
ซึ่งถ้าหาก มีความหมายว่า "ไม่จำเป็นต้องได้ฌานมาก่อน ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้เลย" ก็พอจะยอมรับได้

แต่ถ้า คำกล่าวว่า"วิปัสสนายานิก"มีความหมานเลยเถิด กลายเป็นว่า "เป็นการเจริญวิปัสสนาโดยไม่มีสัมมาสมาธิปรากฏเลย ไม่ว่าจะบรรลุมรรคผลแล้วก็ตาม".... ก็คงต้องให้ย้อนกลับไปดูคำจำกัดความของสัมมาสมาธิในระดับพระสูตรกันดีๆ ว่า

คำว่า สัมมาสมาธินั้นเป็นสมาธิระดับไหน

ระหว่าง
1.ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เอกัคคตาจิต อันเป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ หรือ ฌาน) หรือ
2.จิตสงบจวนจะแน่วแน่(อุปจารสมาธิ) หรือ
3.จิตสงบชั่วขณะ(ขณิกะสมาธิ)


สัมมาสมาธิ ที่อยู่ในพระสูตรโดยตรง มีกล่าวถึงคุณสมบัติไว้สำคัญ2ประการ คือ

1. เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ(หรือ เทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔

จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา
สมาธิ ฯ


2.สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็น ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เอกัคคตาจิต) และ มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)

เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ




นำ พระพุทธวจนะมาฝากครับ เรื่อง ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน

พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


แสดงถึงความสัมพันธ์ ของฌาน และ ปัญญา เป็นเครื่องส่งเสิมให้ใกล้พระนิพพาน

ฌาน ในอรรถนี้ ย่อมหมายเอา "สัมมาสมาธิ" แน่นอน



และมี พระสูตร ที่ตรัสถึง คำว่า"ฌาน"อีกหลายแห่ง เช่น


[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน " ไม่ทำฌานให้เหินห่าง "ประกอบด้วย " วิปัสสนา " พอกพูนสุญญาคาร

ๆลๆ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



คำว่า ฌาน ในอรรถนี้ ก็สื่อถึง"สัมมาสมาธิ" เช่นกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2008, 8:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณตรงประเด็น โพสว่า ....

อ้างอิงจาก:
นำมาจากหนังสือXX

รจนาโดยหลวงพ่อดร.XXX ข้อความมีดังนี้ค่ะ

***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***
..................................................................

ทำไมนำมาแค่สั้นๆล่ะคะ ข้อความที่ขยายใจความก็มีอยู่ คุณอย่าจับประเด็นมาแบบนี้สิคะ มันไม่ถูกต้อง จากข้อความที่คุณไม่ได้นำมาโพส

walai ...
ไม่มีสมาธิ ย่อมไม่มีฌาน ไม่มีฌาน ย่อมไม่มีสมาธิ สมาธิสามารถกลายป็นฌานได้ ฌานสามารถกลายเป็นสมาธิได้ เคยได้ยินไหม พลิกนิดเดียว ตัวแปรที่ทำให้เป็นเช่นนี้ได้ก็คือ สติ นั่นเอง
กุศลแต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน รู้นั้นย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา อย่างกรณีที่คุณยกมา
...................................................................................
ตรงประด็น ...
การที่ชาวพุทธบางท่าน “ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา” ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน “แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น”
.................................................................................
w....
เหตุที่เขาแยกไม่ได้ เพราะอาจจะขาดการศึกษาในเรื่องภาษาสมมุติบัญญัติในการใช้เรียกสื่อสารกัน เช่นสมาธิ เป็นสมถะ การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเรียก วิปัสสนา ถ้าเราไปมองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหา ถ้าเราไม่มองว่าเป็นปัญหา มันก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะมันเป็นเพียงความคิดของแต่ละคน
...................................................................................
ต ....
จากข้อความตรงนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌาน(....ทุยฌาน.... ตติยฌาน... จตุถฌาน)นี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
.................................................................................
w ...
รู้ไหมทำไมถึงกล่าวว่าการเจริญก้าวขึ้นสู่ฌานต่างๆ จึงตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและเจริญวิปัสสนา
สมาธิเป็นสมถะ เมื่อเกิดปีติ สุข เราก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความชอบหรือชังหรือไปให้ค่าความหมายใดๆทั้งสิ้น มันคือวิปัสสนา เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ จากฌาน 1 ย่อมเจริญขึ้นสู่ ฌาน 2 3 4 ดังจากข้อความตรงนี้

[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เห็นคำว่า สติ ที่สอดแทรกไว้ไหม

การตีความนี่สำคัญมากๆ รู้แค่ไหนย่อมตีความได้แค่นั้น ( อันนี้เราไม่มีการมาเพ่งโทษกัน เพียงแต่กล่าวตามความเป็นจริง ) เหมือนเรื่อง วิปัสสนา 100 % ที่คุณกล่าวถึง
...................................................................................


--------------------------------------------------------------------------------
walaiporn พิมพ์ว่า:
ขอร่วมสนทนาด้วย

ไม่มีสมาธิ ย่อมไม่มีฌาน ไม่มีฌาน ย่อมไม่มีสมาธิ สมาธิสามารถกลายป็นฌานได้ ฌานสามารถกลายเป็นสมาธิได้ เคยได้ยินไหม พลิกนิดเดียว ตัวแปรที่ทำให้เป็นเช่นนี้ได้ก็คือ สติ นั่นเอง





บัญญัติศัพท์ที่ใช้ อาจไม่ตรงกันครับ
ลองพิจารณาดูน่ะครับ

คำว่า สมาธิ นั้น ถ้าแยกตามกำลังแห่งสมาธิ(ตามคัมภีร์รุ่นหลัง) เป็น

1.ขณิกสมาธิ
2.อุปจารสมาธิ
3.อัปปานาสมาธิ
..........................................................................
w...
มันไม่ได้มีแค่ตรงนี้ค่ะ อุปจารฌาน ( สมาธิที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง อุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ )เคยได้ยินไหมคะ คือเมื่อทำสมาธิแล้วเข้าสู่อัปปนา ถ้าสติมากพอถอยออกมาจากอัปปนาได้ สมาธิตัวนี้จะตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารสมาธิ และไม่ไปติดนิ่ง ( อัปปนา หรือที่เราเรียกตามสมมุติบัญญัติว่าฌาน ) การเข้าสู่ฌานแล้วมันจะดับไปหมดค่ะ ไปพิจรณาอะไรไม่ได้หรอก จนกว่าสมาธิจะคลายและถอยออกมาจากฌานเอง
....................................................................
w....
สวัสดียามเย็น เข้ามาอ่านข้อความต่อแล้วรู้สึกว่าเหนื่อยจัง เพราะมันเกิดคิดถึงคำพูดของครูบาฯที่ท่านเพิ่งกล่าวไปหมาดๆว่า ปริยัติ เขามีไว้รู้แล้วนำมาคุยกัน ที่พูดว่าเหนื่อยจังไม่ใช่อะไรหรอก เพราะตัวเองค่อนข้างจะมีพื้นฐานด้านปริยัติน้อย ฉะนั้นจึงต้องพยายามนำในเรื่องของการปฏิบัติมานำเสนอในแบบของปริยัติ มาสื่อสารให้ตรงกันมันเป็นเรื่องทีเหนื่อยพอสมควร แต่ก็ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ได้แสดงข้อคิดเห็น โดยไม่มาเพ่งโทษต่อกัน โดยไม่มายกตนข่มท่านว่ารู้มากกว่าผู้อื่น จริงๆแล้วไม่มีใครรู้มากกว่าใครหรอก เพียงแต่อาจจะรู้แตกต่างกันไป เนื่องจากการได้ศึกษา การได้ปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติ จึงทำให้รู้นั้นแตกต่างกันไป การที่มาสนทนากันแล้วให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครเสียมีแต่ได้ ผู้ที่เข้ามาอ่านก็พลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย
............................................................................
มันยาวเสียเหลือเกิน ขี้เกียจก๊อปปปปป ... เอาท่อนจบมาเลยนะ ขออภัยด้วย ใครต้องการอ่านรายละเอียดทั้งหมดก็เข้าไปที่กระทู้ อนุรักษ์สัมมาสมาธิ ละกัน
............................
จริงๆแล้วแนวทางเรื่องการปฏิบัติ ไม่น่าจะแบ่งแยกกันไม่ว่าจะเป็นของพม่าหรือไทย เพราะท่านทั้งหลายที่นำแนวทางการปฏิบัติมาถ่ายทอดก็ล้วนแต่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติแล้วได้ผลของแต่ละท่าน
ถามนะคุณตรงประเด็น เท่าที่อ่านข้อความของคุณมา คุณค่อนข้างจะศึกษาด้านปริยัติมากกว่าดิฉัน เพียงจะถามว่า ตกลง สมาธิที่เรียกว่าเป็นสมถะนั้นเป็นสมาธิแบบไหน แบบได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน หรือขึ้นชื่อว่าเป็นสมาธิ ต้องเรียกว่าสมถะทั้งหมด
เพราะที่หลวงพ่อภัททันตะ ท่านบันทึกไว้ สมถะคือสมาธิที่ได้ฌาน เพราะฉะนั้นการที่ตำราพม่านำมากล่าวเรื่องสุขวิปัสสก เขาก็ย่อมจะตีความเช่นนั้น เพราะสุขวิปัสสก มีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง ( คือไม่ได้ฌาน ) เพราะฉะนั้นเขาย่อมไม่ได้นำมากล่าวผิด
ภาษาสมมติบัญญัติที่ใช้ในการสื่อ ทางพม่าเขาก็เจาะจงไว้แล้วว่า สมถะของเขาคือสมาธิระดับฌาน วิปัสสนาของเขาก็คือ ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ไปแทรกแซง ไม่ไปชอบ ไม่ไปชัง หรือไปให้ค่าความหมายในสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือแนวทางของเขาเท่าที่ได้อ่านมา
ไม่ว่าจะของไทยหรือพม่า ดิฉันมองว่าทั้งหมดก็คือการปฏิบัติ ล้วนเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ครูบาฯแต่ละครูบาฯท่านนำมาถ่ายทอดอีกทีสุดแต่จริตของใครจะทำแบบไหน หรือจะไม่ทำตามแนวทางของท่าน ท่านก็ไม่ได้มาบังคับอะไร
เพียงจะบอกว่า " ธรรม " ทำง่ายกว่าพูดเยอะเลย ทำแบบไม่ต้องไปรู้อะไรมากมาย เพียงแต่รู้ตามความเป็นจริงที่เกิด เดี๋ยวสักวันก็พบของจริงที่แจ้งออกมาจากจิตเอง ตัวเรานี่แหละพระไตรปิฎก ไม่ต้องไปหานอกตัว
แต่อย่างว่าแหละ ใครทำได้แบบไหนก็คิดว่าถูกแล้ว ใช่แล้ว ก็พยายามที่จะแนะนำแบบที่ตนเองสำเร็จต่อผู้อื่น ถ้าไม่มีครูบาฯทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนคนนำทางให้เราอีกทีหนึ่ง กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความเคารพนับถือต่อครูบาฯทุกๆท่าน ไม่ใช่มาจับประเด็นต่างๆแล้วนำมาพูดกัน บางทีคนที่ลอกข้อความหรือคนที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ครูบาฯท่านกล่าวอยู่นั้น อาจจะเก็บรายละเอียดมาไม่หมด เหมือนดังข้อความที่คุณนำมากล่าว
..............................................................
ข้อความที่คุณตรงประเด็นนำมา
2.สถานการณ์ในขณะนั้น ไม่เอื้อต่อการเจริญสมถะ เช่น นายขมังธนูที่ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาบันต่อหน้าพระพักตร์เลย หรือ ท่านสันตติมหาอำมาตย์ที่บรรลุอรหัตตผลต่อหน้าพระพักตร์เช่นกัน
............................................................
ไม่ใช่สถานะการณ์ไม่อำนวย แต่เป็นเพราะกุศลที่เขาสร้างสั่งสมมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ มันได้เต็มที่แล้ว เปรียบเสมือนผลไม้ที่สุกเต็มที่แล้ว ยังไงมันก็ต้องล่วงมันจะสุกคาต้นอยู่แบบนั้นไม่ได้
และจากข้อความตรงนี้ที่คุณนำมาโพส
--------------------------------------------------------------------------------
ตรง ....
คำถาม

ในการภาวนาพึงระวังสมถะ เพราะหากจิตสงบเป็นสมาธิจะไม่สามารถเจริญวิปัสสนา(รู้ตามจริง)ได้ ?


ความเห็น

นี่เป็นความเชื่อของอาจารย์รุ่นหลัง

แต่ ถ้าเป็นจากระดับพระบาลีพุทธพจน์ดั้งเดิมแล้ว แม้นแต่จิตที่สงบก็สามารถเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาได้
.........................................................................
ตรงนี้ครูบาฯท่านชี้มาก็ถูกต้อง แต่คนที่นำคำพูดของท่านมาถ่ายทอด อาจจะขาดตกบกพร่องไปข้อความเลยไม่สมบูรณ์
ขออนุญาติขยายความ " ในการภาวนาพึงระวังสมถะ เพราะหากจิตสงบเป็นสมาธิจะไม่สามารถเจริญวิปัสสนา(รู้ตามจริง)ได้ ? " เพราะเหตุใดรู้ไหม เพราะเมื่อเกิดสมาธิแต่สติผู้นั้นยังไม่มากพอ จะไม่สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ หากมีสติเสมอสมาธิหรือมากกว่าสมาธิ เวลาเกิดสมาธิย่อมรู้ว่าเกิดสมาธิ การเจริญวิปัสสนาก็เพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เกิดเวทนาก็ให้รู้ว่าเกิดเวทนา เกิดโอภาสก็ให้รู้ว่าเกิดโอภาส เกิดนิมิตก็ให้รู้ว่าเกิดนิมิต เกิดปีติก็ให้รู้ว่าเกิดปีติ เกิดสุขก็ให้รู้ว่าเกิดสุข เข้าสู่ฌานก็ให้รู้ว่าเข้าสู่ฌาน ทุกอย่างมันไม่เที่ยง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดได้ทุกขณะย่อมขึ้นชื่อว่าได้เจริญวิปัสสนา
..................................................................
จากข้อความตรงนี้
วันนั้น ไม่ใช่เฉพาะความเห็นของคุณคนเดียวน่ะครับ ที่หายไป...ความเห็นคนอื่นที่โพสในช่วงเวลานั้น ก็หายเหมือนกัน

วันนั้น พอจะทราบมาว่า ทางเว็บเขาปรับปรุงserverครับ
ที่คุณกล่าวจึงอาจเป็นอย่างที่คุณเข้าใจ หรือ ไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจก็ได้
..........................................................................
ค่ะ ขอบคุณที่บอก ไม่ได้คิดติติงเว็บหรือติดใจเพ่งโทษแต่อย่างใด วันนั้นพิมพ์ยาวมากๆ ทั้งเรื่องพระอรหันต์ จากหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา และ สมถกัมมัฏฐาน จากหนังสือจัตตาโรสติปัฏฐานา หลวงพ่อภัททันตะ ท่านได้รจนาไว้ทั้งสองเล่ม เท่าที่ได้อ่านมา ข้อความในหนังสือก็ไม่ได้บันทึกรายละเอียดมาก อย่างที่บอก บางทีคนที่คัดลอกข้อความอาจจะคัดตกหล่นไปหรือว่าบางทีอาจจะเห็นว่าไม่สำคัญเลยไม่ลงรายละเอียดลงไปลึก ( คาดเดาเอาเองค่ะ ขออโหสิกรรมต่อครูบาฯ ถ้าข้อความที่พาดพิงถึงครูบาฯอาจจะไปละเมิดโดยไม่ได้เจตนา )
ก็ได้สรุปไว้สั้นๆว่าแนวทางสมถกัมมัฏฐานของพม่าคืออะไร เพราะที่หลวงพ่อภัททันตะ ท่านบันทึกไว้ สมถะคือสมาธิที่ได้ฌาน เพราะฉะนั้นการที่ตำราพม่านำมากล่าวเรื่องสุขวิปัสสก เขาก็ย่อมจะตีความเช่นนั้น เพราะสุขวิปัสสก มีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง ( คือไม่ได้ฌาน ) เพราะฉะนั้นเขาย่อมไม่ได้นำมากล่าวผิด
ภาษาสมมติบัญญัติที่ใช้ในการสื่อ ทางพม่าเขาก็เจาะจงไว้แล้วว่า สมถะของเขาคือสมาธิระดับฌาน วิปัสสนาของเขาก็คือ ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ไปแทรกแซง ไม่ไปชอบ ไม่ไปชัง หรือไปให้ค่าความหมายในสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือแนวทางของเขาเท่าที่ได้อ่านมา
ไม่ว่าจะของไทยหรือพม่า ดิฉันมองว่าทั้งหมดก็คือการปฏิบัติ ล้วนเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ครูบาฯแต่ละครูบาฯท่านนำมาถ่ายทอดอีกทีสุดแต่จริตของใครจะทำแบบไหน หรือจะไม่ทำตามแนวทางของท่าน ท่านก็ไม่ได้มาบังคับอะไร
..............................................
คุณตรงประเด็นโพสว่า
ผมจึงไม่เห็นด้วยว่า ผู้เข้าเขตของอริยผล(วิปัสสนาญาณน่าจะตรงกับ คำว่า"สัมมาญาณะ"ในพระสูตร) ไม่ผ่านสมาธิระดับฌาน...เพราะ สัมมาสมาธิจากพระสูตรระบุชัดว่า มีกำลังแห่งสมาธิระดับแน่วแน่(ฌาน)
..........................................................................
ไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรค่ะ ส่วนข้อความต่อไปนี้ที่นำมาให้อ่าน นำมาจากหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดยหลวงพ่อดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถร ข้อความมีดังนี้ค่ะ
ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย ฉะนั้น ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก คือผู้ที่แห้งแล้งจากฌาน ไม่สามารถแสดงฤทธิ์อิทธิฤทธิ์ต่างๆได้
พระอรหันต์ทั้งหลายมีประเภทต่างๆดังนี้ ( ขออภัยที่ไม่ได้นำข้อความเรื่องพระอรหันต์มาให้อ่านทั้งหมด แต่ในหนังสือมีบันทึกไว้ ) ก็โดยอำนาจแห่งปุพพาธิการที่ท่านได้สร้างสมอบรมมาแต่อดีตชาติต่างกัน กล่าวคือบางท่านเมื่อชาติก่อนๆนั้น เมื่อท่านได้ประกอบกุศลกรรมใดๆย่อมได้ตั้งจิตปรารถนาเอาไว้ โดยอำนาจแห่งปุพพาธิการนี้ท่านจึงได้สำเร็จฌานลาภีพระอรหันต์ หรือได้สำเร็จเป็นปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ดังกล่าวมาแล้ว ส่วนท่านที่ไม่มีฌานหรือไม่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ก็เพราะไม่มีปุพพาธิการดังกล่าว ฉะนั้น คุณพิเศษคือฌานและปฏิสัมภิทาญาณจึงไม่บังเกิดแด่ท่าน
นำมาให้อ่าน อ่านแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรค่ะ ส่วนดิฉันเองไม่ขอแสดงความคิดเห็น คือสักแต่ว่าอ่าน ออกความคิดเห็นไม่ได้เพราะยังไปไม่ถึงจุดนั้น การที่นำมาคาดเดาเอาเองมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 5:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ? (๒)
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7
---------------------------------------------------


เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน

นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา



อ้างอิงจาก:
ก่อนก็ลืมถามไป

เป็นความเห็นของใครครับ ของ อ.แนบ หรือ อ. บุญมี หรือ...

เห็นคุณยกขึ้นยกลง ยกขึ้นอ้างอิงบ่อยๆ


จากคุณกรัชกาย



เป็นความเห็นของ พระมหาประกอบ ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์แนบ และอาจารย์บุญมี ครับ

ปัจจุบันท่าน ดูแลสำนักวิปัสสนาขามสะแกสง ที่โคราช และตั้งสำนักเรียนพระอภิธรรม ที่นั้น

เคยไปกราบท่าน และได้รับความเมตตาจากท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 5:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณตรงประเด็น โพสว่า ....

อ้างอิงจาก:
นำมาจากหนังสือXX

รจนาโดยหลวงพ่อดร.XXX ข้อความมีดังนี้ค่ะ

***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***
..................................................................

ทำไมนำมาแค่สั้นๆล่ะคะ ข้อความที่ขยายใจความก็มีอยู่ คุณอย่าจับประเด็นมาแบบนี้สิคะ มันไม่ถูกต้อง จากข้อความที่คุณไม่ได้นำมาโพส
จากคุณ walaiporn


คุณวลัยภรณ์ครับ เตือนอย่างไรคุณตรงประเด็น เขาก็ไม่ฟังหรอกครับ

เขาเชื่อ อาจาริยวาทหรือ อัตตโนมติของอาจารย์เขาอย่างเดียว

ตอนนี้เขากำลังชี้ประเด็นว่า การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา ต้องตั้งบนฐาน อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ให้ได้ฌานก่อน เท่านั้น

การปฏบัติแบบ อิริยาบถบรรพะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ หรือ การปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิกะ นั้น คุณตรงประเด็นไม่ยอมรับครับ


อ้างอิงจาก:
สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้

http://larndham.net/index.php?showtopic=32368&st=0

จากคุณ : ตรงประเด็น


ผู้ที่ได้บรรลุอริยมรรค-ผล(นับตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป) ด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ(???) มีคุณสมบัติของจิตที่มีองค์แห่งฌาน


วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ

แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน

จากคุณ : ตรงประเด็น




ขออ้างที่มาที่คุณตรงประเด็นกล่าวถึง หน่อยนะครับ ก่อนที่จะฟังการตีความเอาเองของคุณตรงประเด็น ประดุจอรรถกถา

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7


อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน

พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว

อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฏฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกฺขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา
แปลว่า ดูก่อนสารีบุตร ในภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ องค์เป็นเตวิชชบุคคล ๖๐ องค์ เป็น ฉฬภิญญาบุคคล ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตตบุคคล ที่เหลือเป็นปัญญาวิมุตตบุคคล

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สำเร็จมรรคผล เพราะเห็นอนิจจลักษณ์ และอนัตตลักษณ์มีมากกว่าผู้เห็นทุกขลักษณ์ เพราะว่าผู้ที่เห็นทุกขลักษณ์นี้เป็นผู้มีปุพพาธิการ ยิ่งด้วยสมาธิ
เตวิชชบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มีวิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ
ฉฬาภิญญาบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มี อภิญญา ๖ หรือเรียกว่า วิชชา ๖ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพยโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ
อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล หรือเรียกว่า เจโตวิมุตตบุคคล
ปัญญาวิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก

-----------------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ หากไม่เชื่อถือใน อรรถกถา ก็ไม่ต้องไปอ้างหลักธรรมที่ท่านอธิบายไว้นะครับ


หรือจะอ้างก็อ้างที่มาให้ครบ (ควรละอายใจบ้าง)

อนึ่งในแนวทางปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ นี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในอรรถกถา

ที่คุณตั้งประเด็นว่า ไม่มีในพระสูตร เพื่อต้องการชี้ประเด็นว่า ไม่ควรเชื่อถือ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 6:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สุกขวิปัสสกบุคคล ที่จริงแล้วต้องมีฌานอยู่ในขณะพิจารณา

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 7:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออภัยต่อทุกท่านและคุณเฉลิมศักดิ์ 1 ถ้าอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่า ดิฉันกำลังเตือนคุณตรงประเด็น ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ดิฉันไม่เคยคิดว่าจะเตือนใคร การที่เราคิดว่าเราเตือนเขา แสดงว่า เราคิดว่า เรารู้มากกว่าเขา สิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเขาทำผิด จริงๆแล้วคุณตรงประเด็นอาจจะไม่ได้มองตรงข้อปลีกย่อยที่ดิฉันได้ท้วงติงมาว่าการนำข้อความมาควรจะนำมาทั้งหมด ไม่ใช่นำมาแค่เล็กๆน้อย ความหมายหรือการตีความเวลาที่คนเข้ามาอ่าน ข้อความนั้นจะเพี้ยนไป ลองอ่านตรงนี้ดูค่ะ
..............................................................
อ้างอิงจาก:
เพราะเท่าที่อ่านๆมา เป็นเพียงคุณไปยกข้อความของครูบาฯแต่ละท่านมากล่าว อย่าลืมขออโหสิกรรมต่อท่านด้วย แม้จะไม่ได้เจตนาล่วงเกินครูบาฯทั้งหลายก็ตาม กรรมแม้จะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม กรรม( การกระทำ )ย่อมส่งผล ( วิบาก )ต่อการปฏิบัติ


ขอบคุณครับ
ที่เตือนสติ

ถ้ามีสิ่งใดที่ผมได้ล่วงเกิน ครูบาอาจารย์ท่านใด ก็ตาม ผมก็ขอกราบอโหสิกรรม ท่านเหล่านั้น มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
............................................................................
จากข้อความที่นำมา เห็นไหมคะว่าคุณตรงประเด็นไม่ใช่คนที่แข็งกร้าวจนไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ขออภัยคุณเฉลิมศักดิ์ด้วยค่ะที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความที่คุณเฉลิมศักดิ์โพสมา " คุณวลัยภรณ์ครับ เตือนอย่างไรคุณตรงประเด็น เขาก็ไม่ฟังหรอกครับ

เขาเชื่อ อาจาริยวาทหรือ อัตตโนมติของอาจารย์เขาอย่างเดียว
............................................................
ขอย้ำค่ะ ดิฉันไม่เคยมีความคิดว่าจะใช้คำว่า " เตือน " กับใครทั้งสิ้น เพียงแต่อาจจะท้วงติงในบางกรณีที่เห็นว่าไม่สมควรทำในความคิดของดิฉัน ส่วนเขาหรือบุคคลที่ดิฉันได้ท้วงติงไปเขาจะทำตามหรือไม่ อันนั้นมันก็เรื่องของเขา ส่วนการที่คุณตรงประเด็นอาจจะยึดมั่นถือมั่นในคำสอนของครูบาฯเขา ซึ่งเขาก็ไม่ผิด ทุกคนก็ไม่ผิด เพราะครูบาฯของใครก็ย่อมยึดมั่นถือมั่นในครูบาฯของตนเอง เหมือนกับบางคนที่คิดว่าตัวเองรู้เหนือครูบาฯ รู้เหนือกว่าคนอีกหลายๆคน บางทีก็ไปยกกระทู้เรื่องการตอบปัญหาในการปฏิบัติของเว็บอื่นมาวิจารณ์กันว่าอันนี้ถูก อันนี้ไม่ถูก คุณเอาอะไรมาวัดว่าสิ่งที่คุณคิดว่าถูกหรือผิดต้องเป็นตามที่คุณคิดกัน จริงๆแล้วที่ว่าถูกหรือไม่ถูกมันก็เป็นเพียงความคิดของแต่ละคน ความจริงที่เป็นความจริงที่หลายๆคนอาจจะลืมตรงไปนี้ไปว่า ต่างคนก็ต่างรู้ ใครปฏิบัติแบบไหนแล้วได้ผล ( ในความคิดของเขา ) เขาย่อมแนะนำอย่างนั้น บางคนก็ชอบตั้งตนเป็นอาจารย์ พยายามใช้คำพูดอรัมภบทให้ยืดยาวให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ( แต่อันนี้ไม่ว่ากันแค่พูดให้ฟัง เพราะเห็นมาเยอะ ) ส่วนคนไหนที่ฟังแล้วเชื่อถือกันหรือไม่เชื่อถือกัน ดิฉันมองเพียงแค่ว่าทุกอย่างที่มีผลเช่นนี้ ย่อมมีเหตุมาก่อน ไม่สร้างเหตุจะมีผลให้เกิดขึ้นได้อย่างไร กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน รู้นั้นย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันจะแตกต่างก้ต่อเมื่อเกิดความยึดมั่นถือมั่นในรู้นั้นๆ ติดอยู่ที่ " คิด " เท่านั้นเอง วิบากกรรมของแต่ละคนด้วย เหมือนกระทู้บางกระทู้ที่ดิฉันอาจจะไม่เห็นด้วยในข้อความที่เขานำมาโพส ดิฉันมองว่าเป็นสัญญาหรือนิมิต ที่บางคนยึดมั่นถือมั่นในสัญญาหรือในนิมิตนั้น เมื่อสนทนาแล้วมันทำให้เคืองขุ่นใจกัน ดิฉันจะเป็นฝ่ายหยุดเอง เพราะรู้ว่าถ้าดิฉันพูดต่อดิฉันกำลังจะสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นแล้ว ส่วนใครจะสร้างหรือไม่สร้างอันนั้นมันก็เรื่องของเขา ไปคิดแทนหรือไปบอกให้เขาหยุดไม่ได้
อย่าลืมนะ แต่ละคนต่างก็ยึดรูปแบบที่ตนเองได้ศึกษาได้ปฏิบัติมา มันไม่มีอะไรถูกหรือผิดหรอก มันเป็นเพียงความคิดของแต่ละคนที่แสดงมุมมองออกมาเท่านั้นเอง ขอย้ำ กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน ฉะนั้นการที่รู้แตกต่างกันไปเป็นเรื่องธรรมดา และขึ้นอยู่กับวิบากกรรมของแต่ละคนด้วยค่ะ
ขออโหสิกรรมต่อคุณตรงประเด็นด้วยค่ะที่ข้อความที่ดิฉันโพสไปแล้ว ทำให้คุณเฉลิมศักดิ์และทุกท่านที่ได้อ่านข้อความอล้วเข้าใจข้อความผิดๆไป
ขออโหสิกรรมต่อคุณเฉลิมศักดิ์ด้วยค่ะ ที่ข้อความที่ดิฉันโพสไป ทำให้คุณเฉลิมศักดิ์และทุกท่านที่ได้เข้าใจคุณตรงประเด็นแบบผิดๆ
เหรียญยังมีสองด้าน คนทุกคนย่อมมีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี เรามามองส่วนดีกันดีกว่า อย่ามาเพ่งโทษต่อกันเลย ต่างคนต่างแลกมุมมองกัน แลกข้อมูลที่ตัวเองได้เรียนหรือได้รู้มา ยังจะเกิดประโยชน์มากกว่าค่ะ

ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ สาธุค่ะ สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 7:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเพิ่มเติมว่า เรื่องใดที่เป็นเรื่องที่คาดเดาเอาเอง อย่านำมาสนทนากันเลยค่ะ มีแต่จะสร้างกรรมใหม่ให้เกิดเปล่าๆ เป้นกุศลกรรมน่ะดี แต่ถ้าเป็นอกุศลกรรมล่ะก็ .....

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ กิจใดที่ทำแล้ว ทำให้จิตห่างออกจากสมาธิ กิจนั้นไม่ควรทำ
สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
สุกขวิปัสสกบุคคล ที่จริงแล้วต้องมีฌานอยู่ในขณะพิจารณา

เศร้า



ถ้าเป็นในขณะพิจารณาเริ่มเดินมรรค ....ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิระดับฌานครับ.สมารถใช้สมาธิระดับขณิกะ หรือ ขณิกะต่อกับอุปจารสมาธิ เท่านั้นก็เพียงพอ



แต่
ถ้าเป็นจุดที่จะเข้าสู่เขตอริยมรรคผล.... ยังมีความเห็นไม่ตรงกันครับ ระหว่าง พระสูตรที่แสดงสัมมาสมาธิ(รวมทั้งที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์อธิบาย) กับ แนวทางปัญญาวิมุติของทางท่านพระ ดร.xxx



ผมจึงเสนอว่าต้องแยกให้ชัดเจนว่า เรากำลังจะกล่าวตรงจุดไหน



คุณRARMลองย้อนกลับไปอ่าน คห ต้นกระทู้ให้ละเอียดอีกทีครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ค.2008, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ผมเอามาเนี่ยมันเป็นวิธีปฏิบัติ

ผมเคยคุยกับพ่อ พ่อบอกว่าลองดู เวลาพิจารณา ในขณะพิจารณานั้น ก็สามารถอยู่ในฌานระดับหนึ่งได้

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 8:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
RARM พิมพ์ว่า:
สุกขวิปัสสกบุคคล ที่จริงแล้วต้องมีฌานอยู่ในขณะพิจารณา


ในการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนายานิกะ เช่น หมวดอิริยาบถบรรพะ

การปฏิบัติขณะนั้น ก็ชื่อว่าได้ทำฌานอยู่ แต่เป็น ลักขณูปนิชฌาน

ซึ่งตรงนี้ คุณตรง(หลง)ประเด็น อาจจะไม่ยอมรับ

และขณิกะสมาธิที่ใช้ในการเจริญสติปัฏฐาน ตามความเข้าใจของคุณตรง(หลง)ประเด็น คืออะไร ?


จาก อรรถกถา
http://larndham.net/index.php?showtopic=21414&per=1&st=21&#entry263926

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง

คำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึงรูป รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ในนัยแห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงว่า

ฌานนฺติ ทุวิธํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ = คำว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง
ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌานยนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา = ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าในอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = แต่ว่าวิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน
ตตฺถ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = ในญาณทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น
วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโค ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = มัคคญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชญาณ เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณ สำเร็จลง
ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = ส่วนผลญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอถามเจ้าของกระทู้ หน่อยนะครับ

ขณิกะสมาธิ คืออะไร ?

และขณิกะสมาธิที่ใช้ในการเจริญสติปัฏฐาน ตามความเข้าใจของคุณตรงประเด็น
มีวิธีปฏบัติอย่างไร ใน มหาสติปัฏฐาน หมวดไหน ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 8:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขออภัยต่อทุกท่านและคุณเฉลิมศักดิ์ 1 ถ้าอ่านข้อความแล้วเข้าใจว่า ดิฉันกำลังเตือนคุณตรงประเด็น ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ดิฉันไม่เคยคิดว่าจะเตือนใคร การที่เราคิดว่าเราเตือนเขา แสดงว่า เราคิดว่า เรารู้มากกว่าเขา สิ่งที่เขาทำอยู่นั้นเขาทำผิด จริงๆแล้วคุณตรงประเด็นอาจจะไม่ได้มองตรงข้อปลีกย่อยที่ดิฉันได้ท้วงติงมาว่าการนำข้อความมาควรจะนำมาทั้งหมด ไม่ใช่นำมาแค่เล็กๆน้อย ความหมายหรือการตีความเวลาที่คนเข้ามาอ่าน ข้อความนั้นจะเพี้ยนไป ลองอ่านตรงนี้ดูค่ะ
..............................................................
อ้างอิงจาก:
เพราะเท่าที่อ่านๆมา เป็นเพียงคุณไปยกข้อความของครูบาฯแต่ละท่านมากล่าว อย่าลืมขออโหสิกรรมต่อท่านด้วย แม้จะไม่ได้เจตนาล่วงเกินครูบาฯทั้งหลายก็ตาม กรรมแม้จะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม กรรม( การกระทำ )ย่อมส่งผล ( วิบาก )ต่อการปฏิบัติ


ขอบคุณครับ
ที่เตือนสติ

ถ้ามีสิ่งใดที่ผมได้ล่วงเกิน ครูบาอาจารย์ท่านใด ก็ตาม ผมก็ขอกราบอโหสิกรรม ท่านเหล่านั้น มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
............................................................................


อ้างอิงจาก:
นำมาให้อ่าน อ่านแล้วจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรค่ะ ส่วนดิฉันเองไม่ขอแสดงความคิดเห็น คือสักแต่ว่าอ่าน ออกความคิดเห็นไม่ได้เพราะยังไปไม่ถึงจุดนั้น การที่นำมาคาดเดาเอาเองมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ


ไม่เป็นไรครับ คุณวลัยภรณ์

คือเท่าที่ผมเคยสนทนากับคุณหมอตรงประเด็น ที่ลานธรรมเสวนา ผมเคยยกอรรถกถา ฏีกา ขึ้นอ้าง แต่คุณตรงประเด็น ไม่เชื่อถือครับ บางครั้ง ก็แนบรูป หัวเราะ ยิ้มเห็นฟัน วิจารณ์ อรรถกถาด้วย

หากอรรถกถา ท่านเป็นพระอรหันต์จริง อธิบายพระพุทธพจน์ได้ถูกต้อง

ซึ่งถูกต้องกว่า หลวงพ่อที่คุณตรงประเด็นนับถือและถือมั่นว่า เป็นพระอรหันต์ เช่น หลวงปู่พุทธทาส หลวงปู่บุดดา เป็นต้น

วิบากกรรมคงมีผลมหาศาลครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=31314&st=36

ประเด็นจากอรรถกถา ที่เคยเป็นปัญหาพูดคุยกัน

1.พระอรหันต์ต้องไม่หัวเราะ
2.พระศาสนามีอายุ5000ปี
3.จิตมีที่ตั้งอยู่ในหัวใจเนื้อ
4.มีบัณเฑาะก์บางชนิดสามารถบวชได้ และบางชนิดมีจิตใจแปรเปลี่ยนตามอิทธิพลการโคจรของดวงจันทร์

ๆๆลๆ

...............................................


ส่วน ประเด็นปัญหาที่อยู่ในคัมภีร์ระดับหลังอรรกถามาอีก รวมทั้ง อัตโนมติของอาจารย์ยุคหลัง ความเห็นผู้เชี่ยวชาญปริยัติ ที่คุยกัน เท่าที่จำได้ มีดังนี้

1.ประเด็น ปัจฉิมพุทธพจน์ในส่วนนำ(บุพโยค)ของมิลินทปัญหา ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ตรัสพยากรณ์ระบุถึงชื่อของพระนาคเสน. แต่ ปัจฉิมพุทธพจน์ ในมหาปรินิพพานสูตรไม่ได้เป็นเช่นนั้น.
ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า อาจเกิดจากอาจารย์ผู้รจนาเรียบเรียงมิลินทปัญหา เจตนาดีเพื่อจะให้ผู้คนในยุคนั้นศรัทธาในมิลินทปัญหามากๆ จึงโยงมิลินทปัญหาไปยังระดับพุทธพจน์.... เพื่อให้ มิลินทปัญหา เป็นที่น่าเชื่อถือ

2.ประเด็น รูปปรมาณู....
(ค้นไม่พบคำว่า "ปรมาณู"ในพระไตรปิฎก)
จากคัมภีร์รุ่นหลัง กล่าวถึง รูปรมาณูกันมากมาย ถึงขนาดบอกมิติเอาไว้ ด้วยการกำหนดมาตรวัดพิศดาร...ซึ่งผมได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดของคัมภีร์ในจุดที่สำคัญนั้นแล้ว

3.ประเด็น รูปปรมาณู.....จากอาจารย์ยุคหลัง
ที่ระบุว่า กลละรูปเป็นรูปปรมาณู กล้องจุลทรรศน์ส่องไม่เห็น

ๆลๆ

จากคุณ : ตรงประเด็น



ต่อไปคงต้องเพิ่มประเด็น วิปัสสนายานิกะ สมถะยานิกะ , ฌาน ฯลฯ ที่ อรรถกถา อธิบายไว้ผิดประเด็น

อนาคตอาจจะกล่าวโทษ อรรถกถา ว่าเป็นพราหมณ์แฝงตัวเข้ามาทำลายศาสนา ตามมติของท่านพุทธทาส
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ค.2008, 11:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ เฉลิมศักดิ์ มีสัมมาทิฎฐิ มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากๆ

อนุโมทนาด้วย ที่ท่านแถลงมานั้นชอบแล้ว
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง