Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอถามเรื่องที่สงสัยค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
PR
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบมากค่ะว่า มีความเป็นไปได้ไหมคะที่คน 2 คนมีลิขิตหรือกรรมระหว่างกันว่าจะต้องเกิดมาเพื่อเป็นคู่แข่งขันของกันและกันทุกชาติภพไป

คู่แข่งในความหมายของดิฉันไม่ได้หมายความว่าเป็นศัตรูที่จองเวรล้างผลาญกันจนตายกันไปข้างหนึ่ง หรืออยู่ร่วมโลกกันไม่ได้นะคะ แต่เป็นในความหมายที่ว่า คนทั้งคู่นี้ต่างคนก็มีปัจจัยในแต่ละด้านที่ทัดเทียมกัน เหนือ/ด้อยกว่ากันไม่เท่าไหร่ แต่ละคนต่างก็ยอมรับในความสามารถของฝ่ายตรงข้าม เพียงแต่จะมีความรู้สึกในใจว่าไม่ยอมแพ้ให้แก่กันและกัน และเป็น sense ที่ต่างคนต่างก็รู้แก่ใจดีว่าฝ่ายตรงข้ามก็คิดกับตัวเองไม่แตกต่างจากความคิดของตัวเองเลย

คู่แข่งแบบที่ดิฉันถามนี้ แต่ละฝ่ายก็จะคอยติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม และถ้าได้ยินข่าวความสำเร็จของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ก็จะกดดันตัวเองให้มีความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นและประสบความสำเร็จให้ได้ (อย่างน้อยที่สุดก็ต้องทัดเทียมกับคู่แข่งของตัวเอง ไม่ให้น้อยหน้ากว่ากัน) และถ้าจะดีที่สุดคือต้องชนะให้ได้ แต่ไม่มีการทำร้ายฝ่ายตรงข้ามค่ะ

ถ้ามีเรื่องแบบนี้ รบกวนท่านผู้รู้ยกตัวอย่างเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ อยากทราบมากว่าเป็นอย่างไร และเรื่องการแข่งขันแบบนี้มีจุดยุติอย่างไร

ขอบคุณค่ะ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 6:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรม เป็นเรื่องซับซ้อน หลายครั้งยากที่จะเข้าใจและยอมรับได้ แต่อย่างไรก็ตาม
กรรมเป็นสิ่งที่ยุติธรรมและสมเหตุสมผลที่สุด ในวัฏฏสงสารอันยาวนาน ขอบอก

เรื่องที่คุณ PR สงสัย ในการเกิดมาเพื่อเป็นคู่แข่งขันของกันและกันทุกชาติภพไปนั้น
เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เกิดขึ้นได้อ่ะค่ะ สู้ สู้ สาธุ

การเอาตัวของเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หากเป็นไปเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เจริญขึ้น
(โดยไม่มีจิตริษยา) เป็นสิ่งที่ไม่เสียหายอะไร การแข่งขันเป็นเรื่องปกติของปุถุชน
แต่ต้องแข่งขันกันด้วยสติปัญญา แข่งขันกันด้วยความสามารถ อยู่ในเกมส์


เรื่องการแข่งขันแบบนี้มีจุดยุติได้
ต้องยุติที่ ใจ ของเราเอง ต้องยุติที่ ความคิด ของเราเอง

ขอให้คิดเรื่องแบบนี้ทำนองนี้ให้น้อยลง แล้วหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตตภาวนา
ตาม หลักไตรสิกขา ให้มาก ให้บ่อย ให้ต่อเนื่อง ให้เป็นอุปนิสัยนะค่ะ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 4:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณใบโพธิ์ว่าไว้ดีแล้วคับ

ผมอยากจะเสริมตามความเห็นของผมอีกนิดนึง


ผมอยากจะขอแนะนำให้ จขกท. ใช้หลักอริยสัจ มาประยุกต์ในการแก้ไขปัญหา
ถ้าผมตกหล่น ผิดพลาดตรงไหน ท่านอื่นๆ ช่วยด้วยนะคับ


1.ทุกข์ ..... อะไรคือทุกข์ปัจจุบันของท่าน
............................ ไม่สบายใจ
2. สมุทัย .. อะไรคือเหตุแห่งทุกข์อันนั้น ...
.......................ความสงสัยว่าจะเป็นคู่แค้นตำนานรักดอกเหมยข้ามชาติภพ

3. นิโรธ คือ สภาวะแห่งการดับทุกข์
ทำยังไงถึงจะไปถึงที่นั่น ทำไงจะถึงสภาะที่เราดับทุกข์

ลองคิดดูว่า ... ถ้าเราดับเหตุของทุกข์ ... ทุกข์ก็ดับไปด้วย
เหมือนหนึ่ง ทำลายเชื้อเพลิงที่เป็นเหตุแห่งไฟ ... ไม่นานไฟก็ดับ

แล้วดับด้วยวิธีไหนล่ะ ทางดับทุกข์(มรรค)คือยังไง
ก็ด้วยการหมั่นถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา (อ่านในภาคละเอียดในมรรค 8)

ศีลเป็นพื้นฐาน ช่วยบังคับ ขัดเกลา ควบคุม กาย วาจา ใจ ให้พร้อมที่จะเพาะปลูกธรรมะในใจ
ถ้ายังหงุเดหงิด ปรวนเปร หรือกำลังบ้าอยู่ ... ฟุ้งซ่าน ..ใครพูดอะไรก้สวนกลับทันที
สภาวะแบบนี้ ... พระพุทธเจ้ามาเอง ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเราไม่รับ
การทำศีลให้ดีๆ มีกำลังมาก มันก็ให้ input ของเรามีคุณภาพ สำรวม
หูตาจมูกปากกาย ของเรา มีคุณภาพ ... หยุดทำให้สิ่งที่ไร้สาระ เลิกวอกแวก
ใครมีนิสัยชอบสวน ชอบต่อปากต่อคำ ก็เบาลง ผ่อนลง
ใครมีนิสัยวอกแวก คิดอย่างอื่นไปด้วย ก็ผ่อนลง เบาลง
ศีลช่วยปรับปรุง input channel ของเรามีช่องให้ของดีไหลเข้ามาได้

ความสงบลงด้วยกำลังของศีลนั่นเอง นำมาซึ่งสภาวะที่สมาธิจะเกิดได้
สมาธิทำให้จิตใจมั่นคง ไม่วอกแวก คิดอะไรก็จะสำเร็จ เพราะมั่นคงในสิ่งที่จะคิด จะทำ
มี mind mapping ที่ดี ไม่หลงทาง

เมื่อมีสมาธิพร้อม ก็นำไปสู่ปัญญาในการมองเรื่องราวต่างๆ
ให้เห็นถึงสภาวะธรรมที่แท้ของมัน

ในกรณีของเรา ดังนี้
เราก็ได้แจ้งแก่ใจแล้วว่า การคิดแบบนั้นเป็นเรื่องไร้สาระของชีวิต
ต่อให้ไปหาแม่ชี ฤาษี จนได้ทราบความตลอดรอดฝั่งแล้ว แค้นกันมากี่ภาค ตบกันมากี่ที
ถามว่า ทราบแล้ว ต่อให้รู้...แล้วท่านหยุดเขาได้หรือไม่ ... ท่านยังทุกข์ต่อหรือไม่..
.
ถ้ายังคงทุกข์อยู่ ก็แปลว่า .. รู้ไปก็ยังทุกข์อยู่ (ไฟยังไหม้กองฟืนอยู่)
... ความรู้อันนั้นจึง... ไม่เป็นทางดับทุกข์ .. (ไม่ใช่วิธีดับไฟ)
.... ไปไม่ถูกทางที่เขาไว้ดับเหตุของทุกข์ (ไม่เจอวิธีดับเชื้อไฟ)
เมื่อเหตุแห่งทุกขืยังไม่ดับ ... ทุกขืจึงยังอยู่ (เชื้อไฟไม่ดับ ไฟจึงไม่ดับ)

ถ้าท่านรู้แล้วว่าชาตินั้นๆ ทำอะไรไว้กะเขา ...
แล้วท่านจะสามารถนั่ง time machine ไปแก้ไขอดีตได้หรือไม่ ...

แล้วถ้าท่านมี time machine จริง...
มั่นใจได้อย่างไรว่าจะแก้ไขได้แน่ๆ ... ท่านเปลี่ยนอดีตได้จริงหรือ

แล้วเมื่อไปยืนอยู่ตรงนั้น...แน่ใจตัวเองไหมว่าจะอยากแก้อดีต

ถ้าชาตินั้นๆ เรากลัรับบทเป้นคนดี เป็นนางเอกถูกกระทำ...
ท่านจะยอมเป้นนางเอกที่ถูกกระทำ หรือจะเป็นนางเอกที่สวนกลับ?
เมื่อกรรมไม่ระงับ ส่งให้เกิดกรรมอีกใหม่ขึ้นอีก
คนนี้ action อีกฝ่ายก็ re-action กลับมา
ตบกันไป ตบกันมา ตบข้ามภพ ตบข้ามชาติ
ตบจนสิ้นพระพุทธเจ้าไปอีกสักล้านองค์ ก็ไม่รู้จะเลิกตบหรือยัง

ถ้าท่านมี time machine แล้วย้อนไปถึงตรงนั้น ที่ท่านจะแก้ไขอะไรๆได้
ถ้าท่านรับบทคนร้าย.. ท่านจะยอมละมือ วางมือหรือ... ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่าจะเอาชนะความโกรธในเวลานั้นได้ ...
เอาแค่ตอนนี้ ทำไมท่านยังรักโลภโกรธหลงกับคู่แค้นข้ามภพของท่านอยู่ !$@#$!@#$....

จะเห็นว่า .. ต่อให้ท่านไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งคิดเรื่องพวกนี้อีก 10 ปี
มันก็ไม่แก้ปัญหา .. เพราะเราไม่ห่วงรักษาบาดแผลที่ตัวเอง ...
ห่วงแต่เรื่องภายนอกอันหาสาระไม่ได้

ยิ่งเรื่องการมีอยู่ของภพชาติแล้ว เป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม ที่สามารถจะรู้ได้
คุณ ผม เรา ท่าน ไม่สามารถจะรู้แจ้งเรื่องนี้ได้ มันสำหรับคนที่มีญานขั้นสูงๆ
แต่ท่านเหล่านั้น รู้แล้วก็เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ...
แต่เราที่ไม่รู้ ไม่สามารถจะรู้ได้ .. กลับยินดีก็เอา ยินร้ายก็เอา ยินตุ ยินตะ ยินสารพัดจะยิน

ผมอยากจะลองยกตัวอย่างให้ลองขบคิดดูนิดนึงนะครับ

ถ้าเราไปถามหนอนที่อยู่ในกองอาจม ว่าโลกนี้กลมหรือแบน มันคงจะสงสัยเหมือนที่เราถาม
แต่ก็สุดปัญญาของมันที่จะรับรู้ว่าโลกคืออะไร

ถ้าเราไปถามสัตว์ที่มีปัญญามากขึ้นอีก เช่นถามเสือสิงห์กระทิงแรด ว่าโลกนี้กลมหรือแบน
อาจจะตอบเราว่า ก็ดินแดนมันอยู่ (habitats)ของมันนั่นแหละคือโลก
มันก็ยังคงไม่รู้จักอีก ว่าอะไรคือโลก และสุดปัญญาของมันในชาตินี้ที่จะรู้ได้

สัตว์เอเชีย คงว่ายน้ำข้ามมหาสุมุทรแอตแลนติกไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่รู้จักอเมริกาอย่างแน่นอนที่สุด
คำว่าโลกของสัวต์ในอเมริกา กับคำว่าโลกของสัตว์เอเชีย จึงไม่เหมือนกัน
แล้วสัตว์จะรู้ได้อย่างไรว่าโลกทั้งโลก โลกที่แท้นี้... มันสุดแค่ไหน

พอมาถึงคน มีปัญญาที่สุดในสรรพสัตว์ เราถามคน คนในยุคหนึ่งที่เครื่องมือในการแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างดาวเทียม หรือกล้องโทรทัศน์ ยังไม่มี ... ก็ไม่มีใครรู้แน่แก่ใจว่า โลกกลม หรือ แบน

ต่อมาเรามีเครื่องมือพวกนั้น ..... สามารถจะรู้ว่าโลกกลม ... แถมยังค้นพบอะไรต่อมิอะไรมากมาย
สุดท้ายก็เอาห่วงมาใส่คออีก ด้วยการตั้งคำถามว่า จักรวาลมีขอบเขตแค่ไหน มัจักรวาลอื่นหรือไม่
มนุษย์ต่างดาวมีจริงไหม !@#$!@#!

นั่นเพราะเรามีความสามารถในการรับรู้ที่จำกัด ในหลายเรื่อง
แต่เรามีตันหาอยากรู้ไม่สิ้นสุด ไม่พอเพียง ไม่สายกลางในการอยากรู้
เป็นหนอนในกองอาจม แต่อยากรู้ว่าโลกนี้มีขอบเขตแค่ไหน
รู้หนึ่งก็ถามเอาสิบ รู้สิบก็ถามเอาร้อย
เมื่อจนปัญญาจะคิด ก็สงสัย จมอยู่อย่างนั้น ติดบ่วงทุกข์อยู่อย่างนั้น
สลัดความอยากคิดไม่ได้
สลัดตันหาอยากคิดไม่ได้

เรื่องกรรมนี้ หรือผลของกรรม นี้ ถ้าใครครุ่นคิดอยู่ไม่ตก
พระพุทธเจ้าบอกว่า จะมีส่วนแห่งความบ้า ดังทรงแสดงไว้เรื่อง อจินไตย 4
ข้อที่ 3 ที่ว่า กัมมวิบาก ผลจากกรรม ไม่ควรสงสัย
คิดมากก็บ้า
ลองค้นคำว่าอจินไตย 4 แล้วอ่านดูนะคับ

การครุ่นคิด เรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องอันไม่แก้ปัญหาของเวลานั้นๆ
เปรียบเสมือนคนโดนลูกดอกที่ใกล้ตาย
มัวแต่ครุ่นคิด สงสัยว่า ยิงมาจากทางไหน มียาพิษหรือไม่ ธนุทำด้วยอะไร ฯลฯ

ทั้งๆที่ความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ ต้องถอนมันออก แล้วรักษารักษาบาดแผลเพื่อเอาชีวิตรอด
กลับไม่สนใจจะรีบเยียวยาชีวิตเอาไว้ ไปสนใจเรื่องที่หาคำตอบไปก็ไร้ประโยชน์
ต้องให้คนเจ็บตายก่อน ถึงจะรู้ว่าไปสนใจผิดเรื่อง

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว
ทุกข์... ฉันไม่สบายใจ
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์..... ครุ่นคิด อยากรู้เรื่องคู่แค้นข้ามภพ
มรรค ... รู้ไป สงสัยไป ก็เท่านั้น... มันหาข้อยุติไม่ได้ หาความแน่นอนไม่ได้
ที่สำคัญคือ ต่อให้รู้ได้อย่างที่อยากรู้... เหตุข์แห่งทุกข์ก้ยังคงอยู่
เมื่อเหตุข์แห่งทุกข์ยังอยู่ .. ทุกข์จึงยังคงอยู่

เมื่อรู้ว่าความอยากรู้อันนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ (คือรู้ว่าฟืนเป็นเหตุ เป็นเชื้อของไฟ)
เมื่อดับความอยากนี้ได้แล้ว เหตุแห่งทุกข์จึงดับ (ถ้าดับฟืน เชื้อไฟก็หมด)
เมื่อไร้ซึ่งเหตุ เหมือนดังกองไฟสิ้นเชื้อ (เมื่อเชื้อไฟหมด ไฟก็ดับ)
ไร้เหตุแห่งทุกข์ ... ทุกข์จึงดับ

มาถึงตอนนี้ เรามาถึงสิ่งที่เรียกว่า นิโรธ ...
หรือสภาวะแห่งการดับทุกข์ ...

เพราะเราใช้มรรค นิโรธจึงเกิด
เพราะใช้ทาง 8 ประการนี้แหละ ... นิโรธจึงเกิด
เพราะมรรค 8 ประการคือศีล สมาธิ ปัญญานี้แหละ ... นิโรธจึงเกิด
เพราะมรรค 8 ประการคือศีล สมาธิ ปัญญานี้แหละ ...
.... จึงนำมาซึ่งสภาวะแห่งการดับทุกข์ เพราะรู้เท่าทันทุกข์
จึงสามารถสลัด กระเทาะ สกัด ตันหาความอยากรู้เรื่องนี้ออกไปได้ อย่างสิ้นซาก
ไม่เหลือเชื้อเพลิงแห่งทุกข์อีก

ความพ้นทุกข์ในเรื่องคู่แค้นข้ามภพข้ามชาตินี้ จึงดับลงอย่างสิ้นเชิง
ด้วยวิธีนี้
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
PR
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 2:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณใบโพธิ์และคุณคามินธรรมมากค่ะ ยิ้ม

สำหรับข้อความของคุณโบโพธิ์นั้น เราชอบมากและขอบอกว่าเป็นเรื่องที่เรายึดถือปฏิบัติอยู่แล้วว่า เราแข่งขันกับคู่แข่งของเราด้วยสติปัญญา ด้วยความสามารถ อยู่ในเกมส์ และทำเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เจริญขึ้นค่ะ เพียงแต่ยังทำได้ไม่หมด เพราะยึดตัวคู่แข่งเป็นบรรทัดฐานว่าอย่างน้อยที่สุดเราต้องเท่าเทียมกับเขา

แต่รับรองได้ว่าไม่ใช่จิตริษยาค่ะ เพราะริษยาคือการทำร้าย/ล้างผลาญ แต่เราไม่ได้และไม่เคยทำอะไรแบบนี้เลย เราทั้งคู่ต่างเล่นกันในเกมส์มาตลอดค่ะ เป็นประมาณว่า พอรู้ว่าเค้าพัฒนาตัวเองได้ถึงขั้นที่เหนือกว่าเราแล้ว ก็จะกดดันให้ตัวเองพัฒนาตัวให้ทัดเทียมกับเขาให้ได้ คือ ไม่ให้เขาดูถูกเราได้เด็ดขาดว่าด้อยกว่าเค้า แลบลิ้น

เรามองเรื่องนี้ในทางธรรมแล้ว ได้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งว่า นี่เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง เป็นกิเลสที่เกิดจากจิตที่ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ปล่อยวาง ยึดติดกับคนๆ นี้ตลอดว่ามีเป้าหมายกับคนๆ นี้อย่างไรค่ะ ยอมรับว่าตัดความยึดมั่นที่จะเอาชนะคู่แข่งเป็นเรื่องยากเรื่องหนึ่ง แต่คงไม่ยากเกินกว่าการเอาชนะใจด้านมืดของตนเอง (ไม่รู้จะทำได้ไหมนะคะ แต่จะต้องพยายามทำให้ได้ เพราะผลดีจะตกแก่ตัวเราเอง)

ขอบคุณค่ะ ยิ้มแก้มปริ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มิตรตัวน้อย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 พ.ค. 2008
ตอบ: 48

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 3:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านเรียกแข่งดีครับ พี่น้องหรือฝาแฝดยังเป็นเลยครับ

O สารัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๒ ท่านแปลว่า “แข่งดี”

ความหมายของคำว่า “แข่งดี” เป็นคนละอย่างกับ “ตีเสมอ” เมื่อพูดถึงตีเสมอ จะได้ความรู้สึกถึงความไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หยาบคาย ส่วนแข่งดี เป็นเพียงความทะเยอทะยานที่อาจประกอบด้วยขาดอุปกิเลส ข้อริษยาด้วยได้ ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคาย ขาดสัมมาคารวะ เช่นตีเสมอ

แต่ถึงเช่นนั้น ความแข่งดีก็เกิดจากความคิดปรุงแต่งที่ไม่ดี ให้ความร้อนแก่ตนเองก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของใจ ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของกายและวาจา เมื่อต้องการแข่งดีกับผู้ใดก็จะต้องพูดต้องทำ เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งหมาย อันจะเป็นการพูดการทำที่ไม่เลือกความควรไม่ควร หรือความถูกความผิด เพราะมีความต้องการแข่งดีเท่านั้น เป็นเหตุผลักดัน ไม่มีเหตุผลอื่น อาจเอาชนะความรู้สึกแข่งดีได้

เมื่อความรู้สึกแข่งดีเกิดขึ้นกับผู้ใด ความรู้ถูกรู้ผิดของผู้นั้น ย่อมดับไป ปัญญาก็มิไม่พอจะพิจารณา เป็นความมืดไปหมด ความแข่งดีจะไม่เกิด ถ้าไม่มีความคิดปรุงแต่งขึ้นมาว่า ทำไมเขาจะต้องสำคัญกว่าเรา ใหญ่กว่าเรา ดังกว่าเรา เราะต้องสำคัญกว่า ใหญ่กว่า ดังกว่าเขา

เราจะต้องสำคัญกว่า ใหญ่กว่า ดังกว่าให้ได้ และความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ จะประกอบพร้อมด้วยความขุ่นเคืองขัดใจ หมายมั่นจะต้องกดอีกฝ่ายหนึ่งให้ต่ำลงกว่าตนให้จงได้ นี่คือความแข่งดี ที่ไม่ใช่ความดี

ก่อนถึงเวลาที่จะสมดังมั่นหมาย ซึ่งอาจไม่ถึงเวลานั้นเลยก็ได้ ความคิดปรุงแต่งเพื่อแข่งดีจะไม่หยุดยั้ง จะยังให้ร้อนระอุ ให้มืดมัวด้วยควันไฟของความมุ่งมั่นแข่งดี เป็นอีกหนึ่งของเครื่องพรางความประภัสสรแห่งจิตที่เป็นสมบัติล้ำค่าของทุกคน

อันผู้ที่จะเกิดความคิดปรุงแต่เพื่อแข่งดีนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีความมั่นใจในตนเองว่ามีความดีอยู่แล้ว เช่นคนดีทั้งหลาย ทำนองเดียวกับคนมีปมด้อย นี่มิได้หมายความว่าให้ยินดี พอใจ จะดีอยู่เท่าที่เป็นตลอดไป

ความดีเป็นสิ่งควรเพิ่มพูนไม่หยุดยั้ง แต่การเพิ่มพูนความดี ยิ่งวันยิ่งทวีความเยือกเย็นเป็นสุขสว่างไสวในจิตใจ การแข่งดียิ่งวันยิ่งทวีความร้อนเร่า มืดมิด

ผู้ใดคิดว่า ตนเองกำลังทำความดี แต่มีจิตใจเร่าร้อน หาความสงบสุขยาก ก็พึงเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า ตนมิได้กำลังทำความดี อาจเป็นเพียงกำลังคิดแข่งดีเท่านั้น

อันความคิดแข่งดีนั้น มีมากมายหลายระดับ ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับไม่แตกต่างจากตนมากนัก ความเร่าร้อนจากความคิดนั้นก็จะไม่มากมาย ไม่ผลักดันให้พูดให้ทำอย่างรุนแรง เลวร้ายมากมาย

แต่ถ้าคิดแข่งดีกับผู้มีระดับ แตกต่างจากตนมากเพียงไร ความเร่าร้อนก็จะรุนแรงมากมายเพียงนั้น ผลักดันให้พูดชั่ว ทำชั่ว วางแผนชั่ว เพื่อดำเนินไปสู่ความสำเร็จของตน อันผลที่ได้จากการแข่งดีนั้น แม้เจ้าตัวผู้คิดแข่งดีจะถือว่าเป็นผลดี แต่ความจริงมิใช่

ความคิดแข่งดี เน้นความคิดที่ไม่ดี ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลสที่จะปิดกั้นความประภัสสรแห่งจิต และจิตที่ปรากฏความประภัสสรนั้น เป็นสิ่งหาค่ามิได้อย่างแท้จริง จิตที่ปรากฏความประภัสสรเต็มที่ให้เจ้าของเห็นประจักษ์แก่ตัว ย่อมเป็นความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง

เมื่อใดเกิดความคิดปรุงแต่งขึ้นมาว่า เขาต้องดีกว่าเราไม่ได้ เมื่อนั้นให้รู้ว่านั่นคือ กำลังคิดแข่งดี ซึ่งไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นความผิด ความไม่ชอบ พึงพยายามหยุดความคิดนั้นเสียให้ได้ ถ้าปรารถนาจะได้มีโอกาสเห็นจิตที่ประภัสสรของตนคือ มีโอกาสได้พ้นทุกอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง

copy จากท่าน I am หนังสือแสงส่องใจครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14179
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

PR พิมพ์ว่า:
อยากทราบมากค่ะว่า มีความเป็นไปได้ไหมคะที่คน 2 คนมีลิขิตหรือกรรมระหว่างกันว่าจะต้องเกิดมาเพื่อเป็นคู่แข่งขันของกันและกันทุกชาติภพไป

ตอบ...
อาจเป็นไปได้ แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายสิ่งหลายประการ ขอรับ

ถาม..........
คู่แข่งในความหมายของดิฉันไม่ได้หมายความว่าเป็นศัตรูที่จองเวรล้างผลาญกันจนตายกันไปข้างหนึ่ง หรืออยู่ร่วมโลกกันไม่ได้นะคะ แต่เป็นในความหมายที่ว่า คนทั้งคู่นี้ต่างคนก็มีปัจจัยในแต่ละด้านที่ทัดเทียมกัน เหนือ/ด้อยกว่ากันไม่เท่าไหร่ แต่ละคนต่างก็ยอมรับในความสามารถของฝ่ายตรงข้าม เพียงแต่จะมีความรู้สึกในใจว่าไม่ยอมแพ้ให้แก่กันและกัน และเป็น sense ที่ต่างคนต่างก็รู้แก่ใจดีว่าฝ่ายตรงข้ามก็คิดกับตัวเองไม่แตกต่างจากความคิดของตัวเองเลย

ตอบ......
ถ้าเป็นคู่แข่งอย่างคุณว่า คงไม่ใช่เพราะกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อนดอกขอรับ แต่เป็นความคิด อันเกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาที่ได้เล่าเรียนมา ทำให้เกิดความหลง ทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ไม่อยากให้ใครมาเก่งกว่าตน
ชาตินี้แหละขอรับ

ถาม....

คู่แข่งแบบที่ดิฉันถามนี้ แต่ละฝ่ายก็จะคอยติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม และถ้าได้ยินข่าวความสำเร็จของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ก็จะกดดันตัวเองให้มีความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นและประสบความสำเร็จให้ได้ (อย่างน้อยที่สุดก็ต้องทัดเทียมกับคู่แข่งของตัวเอง ไม่ให้น้อยหน้ากว่ากัน) และถ้าจะดีที่สุดคือต้องชนะให้ได้ แต่ไม่มีการทำร้ายฝ่ายตรงข้ามค่ะ

ถ้ามีเรื่องแบบนี้ รบกวนท่านผู้รู้ยกตัวอย่างเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ อยากทราบมากว่าเป็นอย่างไร และเรื่องการแข่งขันแบบนี้มีจุดยุติอย่างไร

ขอบคุณค่ะ สาธุ


ตอบ....
ถ้าจะให้กล่าวกันตามภาษาทั่วๆไป แล้วละก้อ คู่แข่งแบบที่คุณกล่าวมา เขาเรียกว่า ต่างคน ต่างมีสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า "อิจฉา ริษยา" ต่อกันและกัน
มันอยู่ที่ความคิด มันอยู่ที่ความเข้าใจ หากมีหลักธรรมประจำใจอยู่ เหตุการณ์แบบนั้นคงไม่เกิดขึ้น ถ้าเป็นการทำงาน ในสำนักงานเดียวกัน มันก็แค่ต่างคนต่างทำงานไปตามหน้าที่
แต่ถ้าเป็นประเภทค้าขาย ละก้อ ไม่แน่ อาจมีการแข่งขันแบบคุณกล่าวมาเกิดขึ้นได้ นั่นมันก็เป็นกลไกของการทำมาค้าขาย เรื่องธรรมดา แต่ในทางที่เป็นจริง เขาทั้งสอง หรืออาจหลายคน ควรได้ร่วมมือกัน น่าจะเกิดผลดี ที่ดีกว่ามานั่งแข่งขันกัน ซึ่ง หากจะแข่งขันกัน ก็น่าจะแข่งขันในด้านคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของสิ้นค้า คุณภาพของคน คุณภาพของการดำเนินการ คุณภาพของงาน ฯลฯ
ไม่รู้ว่าตอบได้ตามที่คุณต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ถูก ก็คงจะมีผู้รู้เข้ามาให้คำแนะนำอีกขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เพียงทราย
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2007
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หยุดคิด ก็น่าจะหยุดได้นะ

จะสงสัยไปทำไม

ในเมื่อเราก็เกิดตายมานับแสนนับล้านชาติ

ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกนี้ล้วนเคยเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อนทั้งสิ้น

--------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แวะมา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ก.ย. 2008
ตอบ: 42
ที่อยู่ (จังหวัด): BKK.

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 10:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปว่ารู้สึกสุข หรือทุกขที่ได้แข่งอีโก้กันนะค่ะ แล้วอยากจะแข่งแบบนี้ไปทุกๆชาติไหมคะ บางทีคนเราก็ยึดติดเรื่องเวรกรรมในอดีตเสียทุกเรื่องไป
ถ้าเมื่อคืนลืมอ่านหนังสือสอบ วันรุ่งขื้นสอบตก เป็นกรรมในชาติที่แล้วไหม
เข้าใจว่าประเด็นที่ถามเป็นการแข่งขันกันเชิงธุรกิจมากว่า ถ้างั้นก็คงไม่มีอะไรมากนอกจากรักษาผลประโยชน์ของบริษัทตน ไม่เกี่ยวกับชาติภพ ถ้าไม่งั้นคุณกับเขาก็ต้องเกิดมาทำธุรกิจกันทุกชาติไป ไม่คิดอยากเป็นนายกบ้างหรือคะ
 

_________________
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง