Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ “หลวงพ่อโต”
วัดพนัญเชิง วรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


“วัดพนัญเชิง วรวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก และแม่น้ำป่าสัก
ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาก่อนรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง

ตามหนังสือพงศาวดารเหนือได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
กษัตริย์ไทยก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้สร้างวัดและหลวงพ่อโต
เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมเหสี พระนางสร้อยดอกหมาก
ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก

ส่วนที่มาของคำว่า พนัญเชิง นั้น ตามตำนานมูลศาสนา กล่าวว่า
เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า พะแนงเชิง ซึ่งแปลว่า การนั่งพับเพียบ
ซึ่งเป็นอาการที่พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
และพระนางสร้อยดอกหมากใช้ในวาระสุดท้ายของเรื่อง


นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ศัพท์ที่ใกล้เคียงพบว่า
คำว่า พะแนงเชิง ทางภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง อาการนั่งแบบขัดสมาธิ

พระประธานในพระวิหาร มีชื่อเรียกกันว่า “พระโต” หรือ “หลวงพ่อโต”
หรือ “หลวงพ่อพนัญเชิง” ชาวจีนเรียกว่า “ซำปอกง”
โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”

เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
มีพัดยศขนาดใหญ่ตั้งอยู่เบื้องหน้า องค์พระปั้นด้วยปูนลงรักปิดทอง
มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๒๐ เมตร สูงประมาณ ๑๙.๒๐ เมตร


ในหนังสือพงศาวดารเหนือดังกล่าว ระบุว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง เป็นผู้สร้างไว้
และทรงพระราชทานนามว่า วัดพระเจ้าพระนางเชิง
เข้าใจว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นพร้อมกับวัด และสร้างไว้กลางแจ้ง


ในจดหมายเหตุของแคมเฟอร์เขียนครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า
หลวงพ่อโต พระพุทธรูปองค์นี้เป็นของมอญ
ในหนังสือภูมิสถานอยุธยาว่าเป็นของพระเจ้าสามโปเตียน
ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ซำปอกง แปลว่า รัตนตรัย


พระพุทธรูปองค์นี้ คนไทยเรียกทั่วไปว่า หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อพนัญเชิง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงซ่อมครั้งหนึ่ง
และต่อมาพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาคงจะซ่อมแซมกันต่อมาอีกหลายพระองค์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ รัชกาลที่ ๑
ได้ทรงปฏิสังขรณ์และได้รับการบูรณะต่อมาหลายพระองค์
โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะใหม่ทั้งองค์ เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๙๗
แล้วพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”

Image

ปี พ.ศ.๒๔๔๔ เกิดเพลิงไหม้ผ้าห่มหลวงพ่อพนัญเชิง
ทำให้องค์พระพุทธรูปชำรุดร้าวแตกรานหลายแห่ง
จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมกลับคืนดังเดิม
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปิดทองแล้วมีสมโภช

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
องค์พระส่วนพระหนุ (คาง) พังทลายลงมาจนถึงพระปรางค์ทั้งสองข้าง
ได้ซ่อมแซมจนเสร็จเรียบร้อยภายในเวลา ๑ ปี
ครั้งนั้นได้เปลี่ยนพระอุณาโลมจากทองแดงเป็นทองคำด้วย

ในรัชกาลปัจจุบันมีการปฏิสังขรณ์ ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์
๒ ครั้งแล้ว คือ ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ กับ ปี พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๖

ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ นั้น
พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ถือเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง
ที่ชาวกรุงเก่าให้ความเคารพนับถือมาช้านานหลายร้อยปี

เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตนั้นต่างร่ำลือไกล
โดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เมืองกรุงเก่าได้เกิดโรคอหิวาตกโรคขึ้น
ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนวัดไม่มีที่จะเผาศพ
ชาวบ้านจึงได้ไปขอให้หลวงพ่อโตช่วยเมตตารักษาโรคภัย
พร้อมกับนำน้ำมนต์กับขี้ธูปบนพื้นพระวิหารไปทาตัว ไปอาบไปกินเพื่อป้องกันโรค
ปรากฏว่าหายจากโรคจริงๆ ซึ่งจากความเชื่อและเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมานี้
ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อโตโด่งดังไปทั่วทุกสารทิศ

ด้วยความนับถือหลวงพ่อโต ชาวไทยและชาวจีนมักจะมากราบไหว้
โดยเชื่อว่าจะทำให้ชะตาชีวิตดีขึ้น การงาน การค้าขายเจริญก้าวหน้า
พุทธศาสนิกชนส่วนมากจะนำผ้ามาห่มองค์พระ
ทั้งมักนิยมนำผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ อาหารคาวหวานมาสักการะ ฯลฯ

งานประจำปีใหญ่ๆ ๔ งาน ก็เป็นงานที่เนื่องด้วยประเพณีจีน ๒ งาน
คือ งานสงกรานต์ วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นงานใหญ่
มีการนมัสการและเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระติดต่อกันถึง ๕ วัน

งานสรงน้ำและห่มผ้าถวาย วันแรม ๘ ค่ำ เดือนเมษายน
มีการสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าห่มผืนใหม่ ส่วนผืนเก่าที่ใช้มาตลอด ๑ ปี
จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา

งานทิ้งกระจาดหรืองานงิ้ว เดือน ๙
จะมีงิ้วและมหรสพอื่นๆ เล่นประชันกันอย่างครึกโครม
จะมีผู้คนนับหมื่นหลั่งไหลกันมานมัสการ
นับเป็นงานทิ้งกระจาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทีเดียว

งานตรุษจีนเป็นงานใหญ่อีกงานหนึ่ง
จะมีการเปิดประตูพระวิหารหลวงไว้ทั้งวันทั้งคืนตลอด ๕ วันที่จัดงาน

คาถาบูชาพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง มีดังนี้
“ตั้งนะโม ๓ จบ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ,
ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ,
ตะติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ”


วัดแห่งนี้มีผู้เดินทางมาสักการะตลอดทั้งปี
ทางกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และโบราณสถานแห่งชาติ

ปัจจุบันมี พระราชรัตนวราภรณ์ (นพปฎล (แวว) กตสาโร)
เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พัฒนาวัดเพื่อให้เป็นศูนย์รวมทางการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณร
รวมทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้มาชมและกราบไหว้องค์พระพุทธรูป
มากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Image
“พิธีห่มผ้าหลวงพ่อโต” ปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว เนื่องจากหลวงพ่อโต
(ซำปอกง : พระพุทธรูปเชื้อสายจีนในวัดไทย) เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่มาก
ดังนั้น การทำพิธีห่มผ้าต้องใช้คนขึ้นไปยืนบนองค์พระพุทธรูป
ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะสม อีกทั้งยังทำให้สีขององค์พระพุทธรูปเสียหายได้
กระทั่งเป็นเหตุทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบูรณะซ่อมแซม
สาธุ ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณ Lookchin



เทียน หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19280

ดอกไม้ “หลวงพ่อโต” หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก, ซำปอกง
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38571
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง