Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ‘หลวงพ่อใหญ่’ วัดโยธานิมิต จ.จันทบุรี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 10:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

‘หลวงพ่อใหญ่’
วัดโยธานิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี


จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละยุคสมัย
ทั้งสมัยก่อนกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ดังปรากฏหลักฐานสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ให้เห็นอยู่จวบจนทุกวันนี้

หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ ๕๐๐ คน
ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยาและยึดเมืองจันทบุรี
ไว้เป็นเวลา ๕ เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรี้พล
จากนั้นจึงนำกำลังพลทั้งไทย-จีน จำนวน ๕,๐๐๐ คน
กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐

เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี
สามารถเห็นได้จากที่มีโบราณสถานและอนุสรณ์สถานหลายแห่ง
ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย
ต่อการปลูกผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ทุเรียน เงาะ มังคุด
และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้านอัญมณี
และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นภูเขา
ป่าไม้ น้ำตก ชายทะเล และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ

นอกจากนี้ จังหวัดจันทบุรี ยังมีสถานที่สำคัญที่เป็นศูนย์รวมใจ
แห่งศรัทธาของชาวเมือง คือ วัดโยธานิมิต

“วัดโยธานิมิต” ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี
สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอุโบสถเป็นแบบหลังคาชั้นเดียว
ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา เป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถ
ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากศิลปะแบบจีน

ภายในพระอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
สภาพปัจจุบัน วัดโยธานิมิต อยู่ในค่ายเนินวง
และอยู่ห่างจากแนวกำแพงประมาณ ๑๐๐ เมตร
เนื้อที่วัดประมาณ ๑ ไร่ โดยมีซากแนวกำแพงรอบวัดก่อด้วยศิลาแลง
สภาพปัจจุบันเหลือแต่แนวกำแพงเป็นบางส่วน

จากแนวกำแพงรอบวัด หลังพระอุโบสถมีเจดีย์สูงประมาณ ๒๐ เมตร
มีกำแพงรอบพระอุโบสถ ก่ออิฐถือเป็นปูนสองชั้น
ชั้นนอก กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๕๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร
ชั้นใน กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑ เมตร

กำแพงเมืองวัดโยธานิมิต ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ
ภายในกำแพงวัดมีพระอุโบสถหลังหนึ่งขนาดกว้าง ๕ ห้อง
มีเฉลียงรอบพระประธานในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสร้างพร้อมกันกับพระอุโบสถ
หลังพระอุโบสถออกไปมีเจดีย์กลมแบบกังกาอยู่องค์หนึ่ง
สูงประมาณ ๒๐ เมตร พร้อมกับศาลาการเปรียญอยู่หลังหนึ่ง และกุฏิสงฆ์

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓
ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
ระบุว่า
“...ในพุทธศักราช ๒๓๗๗ เมื่อเดือน ๑ โปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เนินวง
ด้วยบ้านราษฎรอยู่ลึกเข้าไปข้างหลักเมือง เป็นที่ป้องกันครอบครัวพลเมืองได้
แล้วจึงสร้างวัดขึ้นสำหรับเมืองวัด ๑ ชื่อวัดโยธานิมิต...”


เหตุที่สร้างวัดเนื่องจากในครั้งนั้น เมื่อญวณขอเดินทางผ่านประเทศไทย
เพื่อจะไปตีเมืองเขมร รัฐบาลไทยส่ง หลวงประดิษฐ์ บุญนาค
นำทัพมาปักหลักที่เมืองจันทบุรี ตรงบริเวณค่ายเนินวงค์ เพื่อขัตตาทัพ

แต่ทหารไทยไม่ได้รบกับต่างชาติ หลวงประดิษฐ์ บุญนาค จึงนำทหารสร้างวัดโยธานิมิต
โดยสร้างพระอุโบสถด้วยชันอ้อยผสมดินศิลาแลง ต่อด้วยฝาผนังเป็นไม้
หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีเสมาทรงเหลี่ยมตั้งทับหลุมลูกนิมิต

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๑ คณะกรรมการวัดโยธานิมิต
ได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนพระอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม
ด้วยการสร้างทับตามรอยเขตขอบเสมาเดิม

ปัจจุบัน วัดโยธานิมิตมี พระครูพินิจธรรมประภาส (พระอาจารย์ต้อม)
เป็นเจ้าอาวาส
วัดโยธานิมิตเป็นหนึ่งใน ๙ วัดของจังหวัดจันทบุรี
ที่กำหนดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ต้อนรับนักท่องเที่ยวมาจากต่างจังหวัด
ที่มาเยือน ทางเข้าวัดอยู่ริมถนนท่าแฉลบ ห่างจากเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี
ประมาณ ๔ กิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้พิพิทธภัณฑ์แห่งชาติพาณิชยนาวี

“พระมงคลเทพนิมิต” หรือ “หลวงพ่อใหญ่”
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโยธานิมิต

ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองของค่ายเนินวงค์ (ค่ายทหารเมืองเก่า)
ต.บางกะจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ
ขนาดหน้าตัก ๔ เมตร หล่อด้วยดินศิลาแลงผสมงบน้ำอ้อย


ประชาชนนิยมเข้าสักการะหลวงพ่อใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า
มีเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด จึงมีชาวบ้านและบุคคลทั่วไป
เดินทางมากราบไหว้จำนวนมากในแต่ละวัน

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เกิดเหตุประหลาดไฟฟ้าลัดวงจร
เพลิงลุกไหม้หลวงพ่อใหญ่ เผาไหม้ที่ผ้าอังสะ ที่สวมใส่ในองค์หลวงพ่อใหญ่
ชาวบ้านช่วยกันดับไฟ พอเพลิงสงบ พบว่า
อังสะที่สวมใส่องค์หลวงพ่อใหญ่ไม่มีร่องรอยไฟไหม้เลย

มีลูกศิษย์ได้นำอังสะติดตัวไปหลายคน และประสบความโชคดี ค้าขายดี
บ้างก็มีโชค ตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไป และแคล้วคลาดภัยอุบัติเหตุ

หากมีโอกาสไปเยือนเมืองจันทบุรี ขอเชิญไปกราบไหว้
พระมงคลเทพนิมิต หรือหลวงพ่อใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคลอันดีเทอญ

สาธุ


หนังสือไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ อยากไปครับ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง