Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ‘หลวงพ่อวัดไร่ขิง’ วัดไร่ขิง จ.นครปฐม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 8:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด

‘หลวงพ่อวัดไร่ขิง’
วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม


“หลวงพ่อวัดไร่ขิง” เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง
(วัดมงคลจินดาราม) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ๕ ชั้น มีผ้าทิพย์ปูทอดลงมา ผินพระพักตร์สู่ทิศเหนือ
องค์พระงดงาม เป็นการผสมผสานงานพุทธศิลป์ ๓ สมัย
คือ เชียงแสน อู่ทอง และสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานใครสร้างขึ้นเมื่อไหร่

จากหนังสือประวัติของวัด ระบุว่าเรื่องราวของหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งไปเกี่ยวข้องกับ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมราชานุวัต
ตั้งแต่ครั้งเป็นวัดศาลาปูนวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

Image

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) นั้น พื้นเพของท่านเป็นชาวนครชัยศรี
เล่ากันเป็นสองนัยว่า ท่านเป็นผู้สร้างวัดไร่ขิง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๔
แล้วอาราธนาพระพุทธรูปจากพระนครศรีอยุธยามาเป็นพระประธาน
กับอีกความหนึ่งว่า วัดไร่ขิงเดิมมีพระประธานอยู่แล้วแต่องค์เล็ก
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) จึงบอกให้ไปนำพระพุทธรูปจากวัดของท่าน
ซึ่งผู้คนจากวัดไร่ขิงก็พากันขึ้นไปรับ เชิญลงแพไม้ไผ่ล่องลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
เข้าแม่น้ำท่าจีนจนถึงวัด ก่อนอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ในปีนั้นพอดี

เล่ากันว่า ขณะที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ปะรำพิธี
เกิดความมหัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป
ความร้อนระอุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน
ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ บันดาลให้ฝนโปรยลงมา
ทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี พากันอธิษฐานจิต
“ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข
ดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป
ดุจสายฝนที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร”


Image

จึงถือเป็นวันสำคัญ จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปี
หลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาถึงทุกวันนี้

เรื่องราวความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง
ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับน้ำอยู่ตามสมควร
ในประวัติพระพุทธรูปหลายสำนวนก็นับท่านรวมอยู่ใน
พระพุทธรูปห้าองค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาจากทางเหนือ
ประกอบด้วย หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา,
หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
บางแห่งก็เพิ่มหลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
และหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ
และขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ต่างๆ กันด้วย

หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเสียงเล่าลือกันจากปากต่อปากของประชาชนทั่วไป
จากเหนือสู่ใต้ว่าหลวงพ่อมีอิทธิฤทธิ์และอภินิหารต่างๆ มากมายเป็นอเนกประการ
แต่ละคนที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง
มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ปรากฏแก่ตนเองเกือบทุกคน

Image

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสไร่ขิง ได้นำอภินิหาร
และอิทธิฤทธิ์บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ
มาบันทึกไว้ในหนังสือประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง อาทิ

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด
ทั้งที่ในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร
ในการป้องกันสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา

- น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่างๆ ได้สมใจปรารถนา

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาย เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น

Image

หลวงพ่อวัดไร่ขิง ประดิษฐานเป็นที่เคารพกราบไหว้อยู่ ณ วัดไร่ขิง
มาเป็นเวลานานเป็นที่รู้จักเรียกขานในนามหลวงพ่อวัดไร่ขิง
คนในท้องถิ่นต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์
และมักกราบไหว้บนบานเมื่อมีทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ

สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อวัดไร่ขิง ตั้งนะโม ๓ จบ
“กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา มะเหสักขายะ เทวะตายะ
อะธิปาถิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามพุทธะปะฏิมากะรัง
ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ”


ชาวบ้านเชื่อศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง
ว่าสามารถปัดเป่าทุกข์โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงได้อย่างอัศจรรย์
ทั้งยังอำนวยโชคลาภให้แก่ผู้ที่เดินทางมาสักการะ

โดยเฉพาะในงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕
มีมหรสพ ๙ วัน ๙ คืน พุทธศาสนิกชนแห่นมัสการสักการะ
และบนบานศาลกล่าวด้วย “ว่าวจุฬา”
เชื่อว่าหลวงพ่อชอบเป็นพิเศษ รองลงมา คือ ประทัดและละครรำ

สาธุ


หนังสือไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง