Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธชินสีห์และพระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ดอกไม้ ดอกไม้ ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระพุทธชินสีห์และพระโต
พระประธานในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19305

ภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ
พระสุวรรณเขต (พระโต) และพระพุทธชินสีห์

พระพุทธรูปองค์ข้างหลังชื่อ “พระสุวรรณเขต” หรือ “พระโต”
หรือ “หลวงพ่อเพชร” (พระประธานในพระอุโบสถสมัยแรก)
เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อโลหะขนาดใหญ่
ขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว
พุทธลักษณะเป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ผสมผสานกับศิลปะขอม
หันพระพักตร์ออกมาทางด้านหน้าของพระอุโบสถ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ผู้สร้างวัดบวรนิเวศวิหาร
ได้ทรงอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี
เพื่อมาเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
โดยรื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่
สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี ลักษณะแบบขอม พระศกเดิมโต
พระยาชำนิหัตถการ นายช่างของสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ
เลาะพระศกเดิมออกเสีย แล้วทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง
ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง
มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง เป็นพระปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก

ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ของพระสุวรรณเขตหรือพระโต
เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้ เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร

ส่วนพระพุทธรูปองค์ข้างหน้าชื่อ “พระพุทธชินสีห์”
(พระประธานในพระอุโบสถสมัยหลัง)
ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต
ลักษณะของพระพุทธชินสีห์ต่างจากพระพุทธรูปอื่นแบบเก่าในบางอย่าง
เช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว นิ้วพระบาททั้ง ๔ นิ้ว ยาวเสมอกัน
ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ แสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น
พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลังได้ถือเป็นแบบสืบมาจนทุกวันนี้
แต่ก่อนนั้นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้
ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกัน เหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

แต่เดิมพระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พระพุทธรูปสำริดขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว
เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยผสมเชียงแสน
และเป็นที่กราบสักการะของพระมหากษัตริย์และสาธุชนมาเกือบ ๗๐๐ ปี
ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

Image

Image

Image

Image
พระโต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า)
สององค์พระประธานต่างความงามต่างสมัยในพระอุโบสถ



ประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์ ตำนานกล่าวว่า
เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช
แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้
แล้วสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก

จากนั้นได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง
อีกทั้ง ได้ทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ ณ พระวิหารทิศเหนือ
และประดิษฐานพระศรีศาสดา ณ พระวิหารทิศใต้
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา (พระศาสดา)
จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเดียวกันตลอดมาถึง ๙๐๐ กว่าปี

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของ
สมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช อีกหลายพระองค์ด้วย

“พระพุทธชินสีห์” จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาช้านาน


พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือ
เคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า

“..เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก
เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี
ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำ
ได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า
เพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา..”


‘พระพุทธชินสีห์’ แต่เดิมประดิษฐานไว้ในมุขหลังของ
พระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นจตุรมุข
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยยังทรงผนวช
และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ออกสถิตหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ดังทุกวันนี้

พระพุทธชินสีห์ประทับบนแท่นหล่อสำริด สถิตสถาพรมั่นคง
ภายใต้ฉัตรตาล ๙ ชั้น ดูร่มเย็นเป็นสุข พระอุณาโลมฝังเพชร
มีเครื่องราชสักการะ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ถวายเป็นพุทธบูชา
เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ชาติไทย
เสด็จพระราชดำเนินมาถวายเครื่องราชสักการะสืบมายาวนาน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือเลื่อมใสพระพุทธชินสีห์มาก
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ได้โปรดให้ทำกาไหล่พระรัศมีองค์พระด้วยทองคำ
ฝังพระเนตรฝังเพชรใหม่ และตัดพระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ
ปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน

เบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์มีโต๊ะหมู่บูชาตั้งอยู่บนฐานชุกชีที่รับฐานพระ
ถัดลงมาเป็นม้าหมู่บูชา ๓ ที่ เป็นผลงานการออกแบบของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สถาปนิกเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระรูปหล่อ ๓ องค์ ซึ่งประดิษฐานเรียงกันบนฐานชุกชี ประกอบไปด้วย
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐
และ พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓
ซึ่งทุกพระองค์ทรงเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พระสุวรรณเขต (พระโต) และพระพุทธชินสีห์
เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง
และเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

Image

Image
พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร


เทียน คัดลอกเนื้อหาบางตอนมาจาก...
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ : วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง