Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 3 วันแรกของการฝีกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-เมื่อเราหมั่นกำหนดแก้สภาวะดังกล่าวมีทุกข์เป็นต้น

รู้จักปรับอินทรีย์ด้วยการเดินจงกรมด้วย


สุดท้าย มันยอมตาย แม้จิตจะร่ำร้องครวญว่าจะตายแล้ว

แต่สติปัญญาก็รู้เองว่า “จะตายแล้วหนอ” เป็นต้น

มันรู้ทันทุกข์ทันความคิดโดยอัตโนมัติ กำหนดโดยอัตโนมัติ

ทุกข์แต่ไม่เลิก ฯลฯ

เมื่อเป็นดังนั้นในท้ายที่สุด ก็จะเห็นทุกข์ที่ว่าทุกข์เกือบตาย

เจ็บปวดจนเหงื่อตกเหงื่อย้อย ก็ดับลงต่อหน้าต่อตาในขณะจิตนั้น

เมื่อทุกข์ดับ เหลียวมองตรงที่เคยเป็นทุกข์เคยปวดเมื่อกี้

เห็นที่มันปวดอยู่เมื่อกี้ ที่ว่าเกือบตาย จะตาย

หากจะเปรียบแล้ว มดหรือยุงกัดเจ็บกว่าอีก


แนวทางที่สาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แต่ว่าตรงก้นข้างขวาเนี่ย พอหายไปแป๊บ มันกลับมาอีกละ แล้วแบบยิ่งกำหนดยิ่งปวดๆๆ หนักขึ้นไปอีกจนทนไหวเลยค่ะ
ไม่สามารถทนได้จริงๆ

พอหายไปแป๊บ มันกลับมาอีกละ แล้วแบบยิ่งกำหนดยิ่งปวดๆๆ
หนักขึ้นไปอีกจนทนไหวเลยค่ะ



พอหายไปแป๊บ มันกลับมาอีกละ แล้วแบบยิ่งกำหนดยิ่งปวดๆๆ
หนักขึ้นไปอีกจนทนไหวเลยค่ะ



ตอบปัญหานี้อีกที

คุณอ่านคห. 15-17 ลิงค์ด้านล่างให้เข้าใจ พิจารณาข้อเขียนดีดี แล้วจะ

เข้าใจสภาวะทุกข์

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=40

ส่วนวิธีปฏิบัติ ก็อย่างที่บอก ตอนไหนทุกข์เกิดแรงนัก ลืมตากำหนด

บ้างก็ได้

พอลืมตาแล้วสังเกตดูทุกข์จะซาๆ เมื่อทุกข์บรรเทาก็หลับตา

กำหนดนามรูปอีก ฯลฯ

เล่นกับมันอยู่อย่างนี้แหละ จนกว่า สติสมาธิปัญญาจะกล้าแข็ง

แล้วจะเห็นทางพ้นจากทุกข์นั้นแน่นอน


แต่ตอนนี้ไม่ไหวจริงๆ จะตายให้ได้ว่างั้น ก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ครับ

แต่ให้กำหนดตรงความคิดนั้นก่อน แล้วค่อยๆขยับกาย สังเกตดูมัน


แต่ไม่พึงใช้วิธีหนีปัญหา หรือ หนีทุกข์ด้วยวิธีอื่นนอกจาก

การกำหนดรู้ทุกข์ครับ - (ฝากข้อคิดนี้ไว้ด้วย)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ค.2008, 6:58 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สังขารธรรมทั้งหลาย มีทุกข์เป็นต้นเหล่านั้น ไม่มีอะไรแน่นอนครับ

เกิดได้ดับได้ เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป

ตรงนี้ดับ แต่ไปเกิดตรงอื่น นั่นก็แสดงให้เห็นความไม่แน่นอนของมัน

อยู่ในตัวแล้ว

แต่ระยะนี้เรายังไม่เห็นหน้าตาของทุกข์มันดับชัดๆสักที

ก็จึงดูประหนึ่งว่า ทุกข์มันใหญ่โตมโหฬารสะนักหนา สู้ สู้

ซึ่งความจริงแท้ มดง่ามกัดเจ็บกว่าครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 6:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สรุปประเด็นทั้งหมดว่าเป็นอย่างนั้นเอง เมื่อปฏิบัติต่อทุกข์ถูกหลักดังกล่าว

แล้วจะรู้เห็นเอง ตอนนี้คุณก็รู้เห็นพอสมควร แต่ยังขาดความเชื่อมั่น

ให้เห็นลึกอีกสักนิดแล้วจะสิ้นสงสัยครับ

หมั่นสังเกตอาการทางกายทางความคิดครับ


สภาวะทุกอย่างเกิดจากอุปาทาน


ตอนนี้พึงกำหนดอารมณ์ที่กระทบบ่อยๆ ตามรู้ดูทันความคิดทุกๆ

ขณะ ได้ยิ่งดี (แต่ไม่ต้องเร่งนะครับ)


ในที่สุดจะรู้เห็นความจริงของกายและใจ หรือเห็นชีวิตตามที่มันเป็น


นั่นแปลว่า วิชชาเกิดแล้ว เมื่อวิชชาเกิดอุปาทานก็คลาย

จิตก็หายยึดติดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่กระทบ หลุดพ้นจากทุกข์เป็นอิสระ

มากน้อยตามสมควรแก่การปฏิบัติครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=40


(นำตัวอย่างสาระสภาวะทุกข์ ลิงค์ดังกล่าวให้พิจารณา ดังนี้) =>


ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น

(= สภาวะทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ ความรู้สึกของมนุษย์

มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น

ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย

หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน

(= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน แต่โยคีไม่สังเกตรู้)

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น

(= โยคีเคลื่อนไหว)

ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกข์ลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 4:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ ทั้งคุณ RARM และคุณ กรัชกาย ซึ่งตอบยาวมาก ๆ เลย บางอย่างยอมรับอ่านแล้วไม่เข้าใจ (ไม่ได้หมายถึงคุณอธิบายไม่ดีนะคะ เพียงแต่บางประโยคเราต้องอ่านซ้ำ 2-3 รอบแล้วเอามาคิดถึงจะนึกออกน่ะค่ะ) อาจเพราะว่าเราไม่ค่อยรู้อะไรมากนัก ฉะนั้นแล้วหลายอย่างจึงยากสำหรับเรา

เดินจงกรมไม่ถนัดเลยค่ะ ทำไม่เป็นค่ะ คือว่าจะเดินตรงไหนดี บ้านเราก็เนื้อที่ไม่กว้างนัก เดินกลับไปกลับมาตรงไหนก็ได้ ได้หรือเปล่าคะ แล้วควรนั่งสมาธิก่อนหรือจงกรมก่อนคะ แต่ว่าตอนนี้เราอยากนั่งสมาธิก่อน กำหนดให้ได้ก่อน ทำไมมันยากจังเลยคะ..เราทำมาหลายวันแล้วรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ขอเล่าก่อนนะคะ

เมื่อวานนี้เรานั่งลองจับเวลาดูค่ะ ราวๆ 35 นาที คือเรานั่งจนเราปวดจนทนไม่ไหวเราถึงเลิกค่ะ รวมเวลาแล้วคือ 35 นาที สังเกตุว่าจะปวดตอนท้าย ๆไม่รู้ตอนไหนอาจจะราว ๆ เกือบสามสิบนาทีมั๊งคะ เพราะว่ามันปวดมากกกจนเราทนไม่ไหวถึงเลิกน่ะค่ะ...ตอนแรกกะว่าจะนั่งแค่ 10 - 20 นาทีเท่านั้น

วันนี้เป็นวันที่แปลกที่สุดในทุกวันที่ผ่านมา ไม่ได้แปลกแบบเห็นอะไรนะคะ แต่แปลกที่........ทำไมตอนเราพยายามจะให้ผ่านเวทนาตรงนั้น เรารู้ว่ามันทรมานมาก เราพยายามแต่ก็ทำไม่ได้สักที คือว่าก่อนที่เราจะเลิกสมาธิ เรามีความรู้สึกหายใจแผ่วเบาเหมือนมันจะขาด จริงๆ นะคะ เหนื่อยมาก วันนี้รู้สึกนั่งแล้วเหนื่อย เหนื่อยจริงๆ บอกไม่ถูก เหมือนจะขาดใจ หรือว่าเรากำหนดไม่ถูก หายใจไม่ถูกคะ ทำไมถึงเป็นแบบนี้..ขนาดออกจากสมาธิแล้วเรายังเหนื่อยอยู่เลย เกือบ 30 นาทีนะคะถึงจะหาย ทั้ง ๆที่ไม่เคยเป็นและก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เหนื่อยอะไรมา ตอนนั่งแรก ๆ ยังดีดีอยู่เลย พอตอนที่จะให้ผ่านตรงนั้นแหล่ะค่ะ เกิดอาการนี้...เหมือนจะได้นะคะ เหมือนจะไม่รู้สึกปวดแต่แล้วก็มาอีกแล้ว อย่างที่บอกไป เราทนไม่ไหวจริง ๆค่ะ...มันเหมือนเราจะขาดใจ...วันนี้ก็ฟุ้งซ่าน จิตแว๊บไปแว๊บมาอีกละ เราก็พยายามดึงมันกลับมาที่เดิมนะคะ แต่เด๋วเอาอีกละ...จนเราเหนื่อยจังเลยค่ะ...พอเรานั่งแล้วเหนื่อยเหมือนหายใจไม่ทันวันนี้...เรารู้สึกท้อจัง แต่จะไม่ถอยนะคะ ...จะพยายามนั่งต่อไป...แล้วจะนั่งไปเรื่อย ๆ ลองดูว่า....พอหลายวันเข้ามันเปลี่ยนไปยังไง....แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกค่ะ

คุณกรัชกายเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญหรือเปล่าคะ พอดีว่าเท่าที่อ่านดูนั้นคล้ายๆ แนวทางของหลวงพ่อ คือว่าคุณแม่ไปปฏิบัติธรรมมาที่วัดอัมพวัน แล้วท่านก็มาสอนมาบอกเราต่อ แต่เรากำหนดยุบหนอพองหนอไม่ได้ อย่างที่เคยบอกไปนะคะ

วันนี้เรากะแม่สับสนกันนิดหน่อยค่ะ ไม่รู้ว่าใครถูกใครผิดคือเราดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์ท่านสอนนะคะ เห็นว่าวิธีกำหนด ยุบหนอ พองหนอเนี่ย ถ้าเราหายใจเข้า ท้องมันต้องพองถูกไหมคะ ฉะนั้นถ้าเรากำหนดที่ท้อง เราจะขึ้นยุบหนอก่อนได้อย่างไร เพราะว่าท้องมันพอง(งงไหมคะ) คือคุณแม่บอกให้ดูที่ภายในไม่ใช่ภายนอก แต่เรายัง งง อยู่ดี เพราะว่า..ในคลิปที่สอนการนั่งกรรมฐานนั้น หายใจเข้าลูกศรชี้เข้า แต่ตรงท้องลูกศรชี้ออกนะคะ แล้วตกลงเวลากำหนดยุบหนอพองหนอ กำหนดที่ท้องเข้าออกจริงหรือว่ากำหนดที่ภายในคะ งงอย่างแรงค่ะ เราคิดว่าแม่เราเข้าใจผิดนะคะ..เพราะเค้าบอกว่าหายใจเข้า ท้องต้องเข้า แต่ว่าไม่ใช่ที่ภายนอกให้เหมือนเราดูตัวเองว่าท้องมันยุบเข้ายังไง...เขียนอย่างนี้คุณ งง ไหมคะ..ยังไงรบกวนตอบข้อ ยุบหนอ พองหนอหน่อยนะคะ คือสงสัยอ่ะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ปล. สงสัยมากไปหน่อยอย่าว่ากันค่ะ ถือว่าบอกให้คนไม่รู้ละกันนะคะ แบบว่าเป็นคนขี้สงสัยน่ะค่ะ.. อายหน้าแดง
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 5:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก็ดูตามความเป็นจริง

ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างดูซิ คือตัดกังวลน่ะครับ

ไม่เอาอะไรเลย เหลือแต่ลมอย่างเดียว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอโทษครับ ตอบคำถามคุณยาวจริงๆ ด้วย

แต่เพิ่งฉุกใจได้คิดว่าไม่ควรพูดนอกเหนือจากที่ผู้ปฏิบัติถาม

ขอโอกาสแก้ตัวใหม่ครับ

ต่อไปกรัชกายจะตอบให้อยู่ในประเด็นที่คุณต้องการรู้และถามครับ

คุณจะได้ไม่งงอีก

ตัวอย่างสาระธรรมที่ลึกเกินไป คห. ที่กรัชกายโพสต์ไว้ ที่เหนือคำถาม

คุณนั่น แม้จะเป็นจริงแต่ผู้อ่านไม่เข้าใจ ณ ตอนนี้ ก็คงต้องรอ

ให้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือ ค่อยๆแนะนำจะดีกว่า

ขอบคุณที่ทำให้ฉุกใจได้คิดครับ


สงสัยตรงไหนถามไถ่เถอะครับ ยินดีและเต็มใจตอบ ถามเอาให้แน่

ใจ เพื่อปรับทัศนะให้ถูกทางให้สัมมาทิฏฐิเป็นพื้นฐานก่อนได้

อ้าว...เริ่มพูดมากอีกแล้ว ไม่เอาล่ะตอบคำถามดีฝ่า
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

เดินจงกรมไม่ถนัดเลยค่ะ ทำไม่เป็นค่ะ คือว่าจะเดินตรงไหนดี บ้านเราก็เนื้อที่ไม่กว้างนัก
เดินกลับไปกลับมาตรงไหนก็ได้ ได้หรือเปล่าคะ แล้วควรนั่งสมาธิก่อนหรือจงกรมก่อนคะ

แต่ว่าตอนนี้เราอยากนั่งสมาธิก่อน กำหนดให้ได้ก่อน ทำไมมันยากจังเลยคะ..เราทำมาหลายวันแล้วรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง


เดินก่อนหรือนั่งก่อน ไม่มีกฎกติกาตายตัวครับ แต่หลักๆสลับกัน

นั่งเดินด้วยเวลาที่ใกล้เคียวกัน แต่ก็ไม่ตายตัวอีก ปรับได้ตามความ

เหมาะสม

จะเดินก่อนหรือนั่งก่อนก็ได้

ที่สำคัญให้สังเกตตนเอง หากรู้สึกซึมๆ ร่างกายหนัก อืดอาด ไม่

กระฉับกระเฉง

ก็เดินก่อน เดิน (ระยะต่ำๆ) มากกว่านั่งนิดหนึ่ง เพื่อปรับร่างกาย

และจิตใจให้โล่งเบา คล่องตัว-

อย่างนี้เรียกว่าปรับอินทรีย์

คิดเหมือนๆผู้ปฏิบัติทั่วๆไปเด๊ะเลย โดยเฉพาะผู้ใช้พุทโธ คือ ไม่ค่อย

ชอบเดินจงกรม ชอบนั่งมากกว่า

กรัชกายก็เคยคิดเคยเป็นมาก่อน รีบเดิน เดินเพื่อให้ครบเวลาแล้วจะไป

นั่ง

แต่เมื่อฝึกทำบ่อยๆ สังเกตเห็นว่า การเดินจงกรมก็ไม่ต่างจากการ

นั่ง คือ เราใช้อิริยาบถเดินฝึกจิตฝึกสติ ชั่วโมงไหนเดินได้ดีควบ

คุมสติให้อยู่กับการก้าวไป แล้วลงนั่งก็จะกำหนดอารมณ์ได้ดี

ไม่ค่อยฟุ้ง

แต่ชั่วโมงไหน เดินไม่ค่อยดี หมายความว่าคุมจิตให้อยู่กับการเดิน

ไม่ค่อยได้ นั่งก็จะฟุ้ง มันมันเนื่องกันครับ


เมื่อจับทางได้อย่างนี้ จะเดินหรือนั่ง...จะดูที่เหตุปัจจัยในขณะนั้น

มากกว่า ปรับเอาเองได้ครับ

จะเดินตรงไหนที่ไหนไม่มีปัญหาครับ เดินในบ้าน นอกบ้าน เดินจากบ้าน

ไปขึ้นรถ ฯลฯ กำหนดรู้ดูทันอาการนั้น จงกรมสำเร็จแล้วครับ

จงกรม ก็คือเดิน เดินตามปกติอย่างที่เรา-เขาเดิน เดินกันนั่น

ที่ต่างกันหน่อยก็ คือ ใช้สติตามดูรู้ทันอาการก้าวไปแต่ละก้าวๆ

เท่านั้น ช้าเร็วไม่มีปัญหา สติตามให้ทันก็เป็นอันใช้ได้


ทำไมมันยากจังเลยคะ


ครับไม่ค่อยง่ายเท่าไหร่ แต่คิดว่าคุณทำได้ เบื้องต้นขอให้เรียนรู้

ทั้งธรรมขาวธรรมดำ หรือ คือ ทั้งสุขและทุกข์ ฝึกจิตใจให้รับรู้สู้หน้า

ยอมรับความจริง ไม่เลี่ยงหนี เท่านี้ก็อยู่ใกล้นิพพานแล้วครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ค.2008, 5:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลิงค์จงกรมฝึกเฉพาะ คห. 18 พอก่อน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=20

อย่าเกร็งครับ ไม่มีอะไรหรอก เราเดินได้ตั้งแต่เด็กแล้วครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แต่ว่าตอนนี้เราอยากนั่งสมาธิก่อน กำหนดให้ได้ก่อน ทำไมมันยากจังเลยคะ..เราทำมาหลายวันแล้วรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ขอเล่าก่อนนะคะ

เมื่อวานลองจับเวลาดูค่ะ ราวๆ 35 นาที คือ เรานั่งจนเราปวดจนทนไม่ไหวเราถึงเลิกค่ะ รวมเวลาแล้วคือ 35 นาที สังเกตว่าจะปวดตอนท้าย ๆไม่รู้ตอนไหนอาจจะราว ๆ เกือบสามสิบนาทีมั๊งคะ เพราะว่ามันปวดมากกกจนเราทนไม่ไหวถึงเลิกน่ะค่ะ...ตอนแรกกะว่าจะนั่งแค่ 10 - 20 นาทีเท่านั้น



คุณกตัญญุตาครับ ท่านว่า (มีหลักฐานแต่ยังไม่นำมาเด๋วยาวอีก)

การปฏิบัติกรรมฐานควรปรับอินทรีย์ให้สมดุลกัน เช่น สมาธิกับความ

เพียร (วิริยะ) เป็นต้น

เพื่อไม่เยิ่นเย้อ ยาวความ ประเด็นนี้สรุปว่า ที่คุณนั่งกำหนดอารมณ์

เพียงอย่างเดียวโดยไม่เดินจงกรมบ้างเลยนั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ให้สมาธิเกิด

มากเกินความเพียร (วิริยะ) แล้วทำให้ทุกข์เวทนาเด่นชัดหรือแรงเกิน

ไป


เมื่อคุณพอประมาณเวลาได้อย่างนั้นแล้ว กรัชกายว่า คุณควรเริ่มที่ 30

นาทีพอก่อน

แล้วก็ค่อยๆฝึกจงกรมอย่างที่บอกด้วย แล้วค่อยนั่ง


ถามหน่อยครับ ว่าตอนเนี่ย คุณคิดจะนั่งให้ถึงเท่าไหร่นาที
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

วันนี้เป็นวันที่แปลกที่สุดในทุกวันที่ผ่านมา ไม่ได้แปลกแบบเห็นอะไรนะคะ แต่แปลกที่........ทำไมตอนเราพยายามจะให้ผ่านเวทนาตรงนั้น เรารู้ว่ามันทรมานมาก เราพยายามแต่ก็ทำไม่ได้สักที คือว่า ก่อนที่เราจะเลิกสมาธิ เรามีความรู้สึกหายใจแผ่วเบาเหมือนมันจะขาด จริงๆ นะคะ เหนื่อยมาก วันนี้รู้สึกนั่งแล้วเหนื่อย เหนื่อยจริงๆ บอกไม่ถูก เหมือนจะขาดใจ หรือว่าเรากำหนดไม่ถูก หายใจไม่ถูกคะ ทำไมถึงเป็นแบบนี้...ขนาดออกจากสมาธิแล้วเรายังเหนื่อยอยู่เลย เกือบ 30 นาทีนะคะถึงจะหาย ทั้ง ๆที่ไม่เคยเป็นและก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เหนื่อยอะไรมา

ตอนนั่งแรก ๆ ยังดีดีอยู่เลย พอตอนที่จะให้ผ่านตรงนั้นแหล่ะค่ะ เกิดอาการนี้...เหมือนจะได้
นะคะ เหมือนจะไม่รู้สึกปวด แต่แล้วก็มาอีกแล้ว อย่างที่บอกไป เราทนไม่ไหวจริง ๆค่ะ...มันเหมือนเราจะขาดใจ...วันนี้ก็ฟุ้งซ่าน จิตแว๊บไปแว๊บมาอีกละ เราก็พยายามดึงมันกลับมาที่เดิมนะคะ แต่เด๋วเอาอีกละ...จนเราเหนื่อยจังเลยค่ะ...พอเรานั่งแล้วเหนื่อยเหมือนหายใจไม่ทันวันนี้...เรารู้สึกท้อจัง แต่จะไม่ถอยนะคะ ...จะพยายามนั่งต่อไป...แล้วจะนั่งไปเรื่อย ๆ ลองดูว่า....พอหลายวันเข้ามันเปลี่ยนไปยังไง....แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกค่ะ



สภาวะมันเปลี่ยนตลอดแหละครับคุณกตัญญุตา ดูความเปลี่ยนแปลง

ของมันมันครับ หน้าที่เราคือ ตามดูรู้ทันตามที่มันเป็น เป็นอย่างไรก็รู้

อย่างนั้น เรียนรู้มันไปเรื่อยๆ สังเกตความเปลี่ยนของมัน


คุณลองลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่วันแรกที่คุณทำกรรมฐานและได้ประสบกับ

อะไรบ้าง ทั้งทางกายทางใจ (ความรู้สึก) พิจารณาดูครับ

มีอะไรคงที่บ้าง แม้แต่ทุกข์เองก็ไม่แน่

แต่เพราะธรรมชาติของทุกข์บีบคั้นชีวิตจิตใจ จึงไม่เป็นที่ต้องการของเรา

หรือของใครๆ

แต่ใครจะต้องการหรือไม่ มันเป็นอย่างนั้น แต่ที่มีปัญหาเพราะฝืนความ

รู้สึกเรา จึงเท่ากับว่า

ตอนนี้เราเข้าไปขืนฝืนกระแสธรรมชาติ เพื่อจะให้เป็นตามความต้อง

การของเรา

เราจึงรู้สึกเหนื่อยหน่ายวุ่นใจเป็นต้นดังที่ประสบอยู่ขณะนั้นๆ

คุณพิจารณาข้อเขียนจากหนังสือพุทธธรรมครับ


ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติ

ธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นวายไป

ฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่

เพราะขัดความปรารถนาถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง ฯลฯ



หากคุณกำหนดรู้ธรรมะ ทั้งดีไม่ดี เป็นที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจเรา

เรียนรู้ดูมันตามเป็นจริง เราจะไม่วุ่นใจในเบื้องต้น และการที่เราเรียนรู้

ตามที่มันเป็นนั่นแหละจะเกิดปัญญามองเห็นทางออกของปัญหา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ค.2008, 4:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

คุณกรัชกายเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญหรือเปล่าคะ พอดีว่าเท่าที่อ่านดูนั้นคล้ายๆ แนวทางของหลวงพ่อ คือว่าคุณแม่ไปปฏิบัติธรรมมาที่วัดอัมพวัน แล้วท่านก็มาสอนมาบอกเราต่อ



ไม่ใช่ครับ

อาจารย์ไปสวรรค์แล้ว สาธุ

ท่านไม่มีชื่อเสียงหรอกครับ คุณกตัญญุตาไม่รู้จักหรอกครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

วันนี้เรากะแม่สับสนกันนิดหน่อยค่ะ ไม่รู้ว่าใครถูกใครผิดคือเราดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์ท่านสอนนะคะ เห็นว่าวิธีกำหนด ยุบหนอ พองหนอเนี่ย

ถ้าเราหายใจเข้า ท้องมันต้องพองถูกไหมคะ ฉะนั้นถ้าเรากำหนดที่ท้อง เราจะขึ้นยุบหนอก่อนได้อย่างไร

เพราะว่าท้องมันพอง (งงไหมคะ) คือคุณแม่บอกให้ดูที่ภายในไม่ใช่ภายนอก แต่เรายัง งง อยู่ดี เพราะว่า..ในคลิปที่สอนการนั่งกรรมฐานนั้น หายใจเข้าลูกศรชี้เข้า แต่ตรงท้องลูกศรชี้ออกนะคะ แล้วตกลงเวลากำหนดยุบหนอพองหนอ กำหนดที่ท้องเข้าออกจริงหรือว่ากำหนดที่ภายในคะ งงอย่างแรงค่ะ
เราคิดว่าแม่เราเข้าใจผิดนะคะ..เพราะเค้าบอกว่าหายใจเข้า ท้องต้องเข้า แต่ว่าไม่ใช่ที่ภายนอก
ให้เหมือนเราดูตัวเองว่า ท้องมันยุบเข้ายังไง...เขียนอย่างนี้คุณ งง ไหมคะ..
ยังไงรบกวนตอบข้อ ยุบหนอ พองหนอหน่อยนะคะ คือสงสัยอ่ะค่ะ



ประเด็นนี้คุณเข้าใจถูกครับ

สูดลมเข้าท้องก็พอง ระบายลมออกท้องก็ยุบ

ธรรมดาเป็นอย่างนี้

เราใช้อาการพองและยุบนั่นแหละเป็นกรรมฐาน

แต่มิใช่ดูลึก ลึกถึงตับไตไส้ปอด ไม่ใช่นะครับ ทำความรู้สึก

อาการพองและยุบ

ลมเข้าท้องพอง “พองหนอ” หายใจออกท้องยุบ “ยุบหนอ”

เริ่มพองก่อนครับ สูดลมเข้าก่อน "พองหนอ"

(เมื่อคุณถนัดดูลมที่ปลายจมูกก็ใช้ได้ แล้วดูนามอื่นอาการอื่นๆไปด้วย)

ว่างๆ ชวนคุณแม่มานั่งหายใจเข้า-หายใจออกกันดูสิครับ อายหน้าแดง

พิสูจน์กันจะจะให้เห็นดำเห็นแดงไปเลยว่า หายใจเข้าท้องพอง หรือ

ท้องยุบกันแน่ เจ๋ง


หากไม่ชัดไปร้านปะยางเลย ดูดิเติมลมยาง ลมเข้ายางพองหรือแฟบ

(ยุบ) ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณ rarm และคุณ กรัชกายอีกครั้งค่า

เข้าใจกระจ่างแล้วค่ะ ตามดู ตามรู้มันไป...คือจริง ๆก็ตามดูมันนั่นแหล่ะนะค่ะ แต่ไอ้ตอนทนไม่ไหวเนี่ย มันไปปักอยู่ตรงความรู้สึกนั้น เช่นหายใจไม่ออก ก็จะคิดว่าเราไม่ไหวแล้ว หายใจไม่ออกแล้วประมาณนั้น คือมันกำหนดที่ลมต่อไม่ได้แล้วอ่ะค่ะ..ยากจริง ๆนะคะ

ที่คุณกรัชกายถามเราอยากนั่งให้ได้ 1 ชม. หรือมากสุด 45 นาที แต่ก็ได้ไม่ถึงค่ะ ได้มากสุดอยู่ที่แค่ประมาณครึ่งชม.เท่านั้น...แต่แปลกใจเหมือนกันนะคะ ว่าเรานั่งไม่ถูกหรือนั่งเอียงขวาหรือเปล่า ทำไมเจ็บปวดอยู่แต่ขาขวา ก้นขวา แต่ขาซ้ายก้นซ้ายสบายไม่มีปัญหาเลยค่ะ......

ละเราจะพยายามต่อไปค่ะ....และจะลองเดินจงกรมดูด้วย ไม่รู้จะทำได้แค่ไหนแต่จะพยายามค่ะ..ขอบคุณนะคะสำหรับคำตอบ สาธุ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 7:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แต่ไอ้ตอนทนไม่ไหวเนี่ย มันไปปักอยู่ตรงความรู้สึกนั้น เช่น หายใจไม่ออก ก็จะคิดว่าเราไม่ไหวแล้ว หายใจไม่ออกแล้วประมาณนั้น คือ มันกำหนดที่ลมต่อไม่ได้แล้วอ่ะค่ะ..ยากจริง ๆนะคะ

ที่คุณกรัชกายถามเราอยากนั่งให้ได้ 1 ชม. หรือมากสุด 45 นาที แต่ก็ได้ไม่ถึงค่ะ ได้มากสุดอยู่ที่แค่ประมาณครึ่งชม.เท่านั้น...

แต่แปลกใจเหมือนกันนะคะ ว่าเรานั่งไม่ถูก หรือ นั่งเอียงขวา หรือ เปล่า ทำไมเจ็บปวดอยู่แต่ขาขวา ก้นขวา แต่ขาซ้ายก้นซ้ายสบายไม่มีปัญหาเลยค่ะ......



เรื่องเวลาค่อยๆปรับเถอะครับเริ่มที่ 30 นาทีก่อน แล้วจึงค่อยๆไต่ขึ้น

ไป เมื่อกายอยู่ตัวแล้ว

อ้างอิงจาก:

แต่แปลกใจเหมือนกันนะคะ ว่าเรานั่งไม่ถูก หรือ นั่งเอียงขวา หรือ เปล่า
ทำไมเจ็บปวดอยู่แต่ขาขวา ก้นขวา
แต่ขาซ้ายก้นซ้ายสบายไม่มีปัญหาเลยค่ะ



เมื่อคุณแปลกใจหรือ สงสัยประการใด ก็นั่งสลับขาบ้างได้ เอาขาซ้ายทับ

ขาขวา มือซ้ายทับมือขวาบ้าง ไม่มีปัญหาครับ

เรื่องเหล่านี้กรัชกายทดลองมาทั้งนั้น ดีสะอีกเส้นเอ็นจะได้ตึงหย่อน

เท่าๆ กัน บริหารร่างกายด้วย

อ้างอิงจาก:

แต่ไอ้ตอนทนไม่ไหวเนี่ย มันไปปักอยู่ตรงความรู้สึกนั้น เช่น หายใจไม่ออก ก็จะคิดว่าเราไม่ไหวแล้ว หายใจไม่ออกแล้วประมาณนั้น คือ มันกำหนดที่ลมต่อไม่ได้แล้วอ่ะค่ะ..ยากจริง ๆนะคะ



กำหนดความคิดด้วยไหมครับ เช่น ไม่ไหวแล้วๆๆ (ไม่ไหวหนอๆๆ)

หายใจไม่ออกๆ ๆ (หายใจไม่ออกหนอๆๆ)

เมื่อเรากำหนดจิตตามความจริงในขณะนั้นๆ จิตจะไม่ยึดไม่ปรุงแต่งเรื่อง

ราวต่ออีก กำหนดแล้วปล่อย ไปกำหนดรู้อารมณ์อื่นๆ ต่อ


เมื่อรู้ลมเข้า-ออกไม่ได้ กำหนดที่อื่นก่อนได้ครับ เช่นรูปนั่งเป็นต้น

ไม่ต้องกลัวผิดครับ มรรค แปลว่า อุบาย วิธี หรือ หนทาง

พลิกแผลงวิธีได้ เพื่อให้เหมาะแก่เราในขณะนั้นๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 2:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะคุณ Rarm คุณ กรัชกราย เรามีเรื่องมาเล่า..ค่ะ

เมื่อวานนี้เราไม่ได้ทำสมาธิหนึ่งวันเพราะพาลูกนอนแล้วหลับไปกับลูกตื่นขึ้นมาอีกทีเราก็ไม่ไหวแล้ว คือปวดหัวแล้วเหมือนมันง่วงมากจนทนไม่ไหว(เคยเป็นแบบนี้นะคะแต่ไม่บ่อย เป็นบางครั้งค่ะ) แต่เราก็พยายามสวดมนต์แต่สวดไปหลับไป เรารู้สึกว่าร่างกายไม่ไหวแล้วจริงๆ เราก็เลยไม่ได้สวดต่อแล้วก็ไม่ได้นั่งสมาธิด้วยค่ะ(เสียดายจังเลย รู้สึกผิดนะคะ เพราะว่ามันขาดไปหนึ่งวัน) คืนนั้นเรียกได้ว่าปกติต้องออนไลน์ก็ไม่ได้ออนค่ะ

มาวันนี้ เมื่อตะกี้นี้เองเวลา 20.56 นาที ก่อนนั่งสมาธิเราเดินจงกรมแบบที่คุณบอก เรารู้สึกชอบนะคะ เหมือนไม่รู้สึกว่าเบื่อเลย เราคิดว่าเราน่าจะทำได้เมื่อมีเวลาว่างและสงบ(ปราศจากลูกกวน) แต่พอดีลองทำวันแรก เราก็กำหนดเวลาดู เดินไปเดินมา ปรากฎว่าเหมือนนานแต่ไม่นานนะคะ แค่ 9 นาทีเอง จากนั้นเราก็เริ่มนั่งสมาธิค่ะ วันนี้เราใช้วิธีกำหนดแบบ ยุบหนอ พองหนอค่ะ ที่เราเลือกใช้วิธีนี้เพราะว่าเรากระจ่างตั้งแต่ที่คุณบอกวิธีเราและเราได้ดูคลิปวีดีโอหลวงพ่ออีกทีหนึ่ง(คือให้กำหนดที่พุง ยุบ พอง ไม่ใช่ที่ลมหายใจ) เราคิดว่าคราวนั้นที่มันตีกันเพราะเราสับสนหายใจเข้าออก คือไปกำหนดที่ลมหายใจด้วย พุงด้วย(มันเลยทำไม่ได้และคิดว่ายากในตอนนั้นเพราะเราเข้าใจไม่ถูกเอง) และเราก็ได้ไปอ่านหนังสือของหลวงพ่อบางองค์ที่สอนเกี่ยวกับการกำหนดยุบหนอ พองหนอ เราคิดว่าเราเข้าใจแล้วและคิดว่าน่าจะทำได้ วันนี้เราเลยลองดูค่ะ(ทำแบบจริงจังเลย) เป็นวันแรกที่เรากำหนด ยุบหนอ พองหนอได้ ไม่เหมือนกับวันที่สามที่เราเคยทำเลยค่ะ ....แล้วเราตั้งใจว่าเราจะนั่งไปเรื่อย ๆจนกว่าจะทนปวดไม่ไหว เพราะคิดว่ามันต้องปวดมากๆ จนเราทนไม่ไหวเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาแน่ๆ ที่เวลา 30 กว่านาที (อย่างที่เคยเล่านะคะ) แต่ปรากฎว่าการนั่งครั้งนี้ โดยการกำหนด ยุบหนอ พองหนอที่พุง กลับทำให้ร่างกายเราสบายกว่าทุกครั้ง เราไม่รู้ว่าเพราะอะไรนะคะ แต่รู้สึกได้ว่านั่งสบายไม่ปวดเมื่อย จนมาถึงช่วงหนึ่งเกิดเวทนา (ความปวดเมื่อนั้นมาอีกแล้ว แต่ไม่หนักมาก แต่ก็ปวดอยู่สักพัก) เราก็ทำแบบคุณกรัชกายบอกและที่หลวงพ่อบอกว่าให้กำหนดปวดหนอๆๆๆไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายไป แล้วค่อยมากำหนดยุบหนอ พองหนอต่อ ปรากฎว่าความปวดนั้นหายไปเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ... ตื่นเต้น แล้วต่อจากนั้นเรารู้สึกเย็นที่ร่างกาย บอกไม่ถูก มันไม่เย็นมากนะคะ แต่มันรู้สึกเย็นขึ้นมา ตรงขา ขึ้นมา เหมือนมันไม่รู้สึกแล้ว ส่วนลมหายใจวันนี้ไม่มีปัญหาเหมือนทุกวันที่ผ่านมา เราหายใจสบายที่สุด ไม่รู้สึกอึดอัดหรือหายใจไม่ออกเหมือนอย่างวันก่อนเลย กลับรู้สึกสบายอย่างบอกไม่ถูก เราก็นั่งกำหนดมาเรื่อยๆ สักพักก็แผ่เมตตาค่ะ แล้วหลังจากนั้นเราก็ออกจากสมาธิ มาดูนาฬิกา เชื่อไหมคะว่าพอความปวดหายไปแล้วทำให้เราได้กำหนดต่อไปนั้น(เนื่องจากไม่ทรมานกับการปวดแล้ว) ทำให้เรานั่งสมาธิวันนี้นานที่สุดคือ 50 นาที จากเวลา 20.06-20.56 ค่ะ...รู้สึกดีใจบอกไม่ถูก รู้สึกว่า....วันนี้เราได้รู้แล้วเหมือนอย่างที่คนอื่นบอกจริง ๆว่า ให้กำหนดไปเรื่อยๆ แล้วมันจะหายไป แล้วก็หายไปจริง ๆ..รู้สึกมีความสุข รู้สึกดีจังเลยค่ะ แลบลิ้น ..(ไม่รู้ตื่นเต้นไปไหม แต่ไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อนเลย) ปรบมือ เลยอยากเล่าค่ะ..

จริง ๆจะนั่งต่อไปก็ได้ แต่เราคิดว่าควรจะพอก่อน เพราะเราก็รู้สึกว่าวันนี้นั่งนานแต่ไม่รู้กี่นาที จนมาดูเวลา...ถ้าพรุ่งนี้เรานั่งแล้วไม่ปวดได้อีก เราก็คงจะนั่งราวๆ เวลาเท่านี้ทุกวัน(ถ้าหากทำได้) และก็จะเดินจงกรมก่อนอยางที่คุณกรัชกายแนะนำแต่ว่า..คงจะเดินให้นานขึ้นกว่าเดิมสักนิด...ไม่รู้ว่าเพราะเหตุผลนี้ด้วยหรือเปล่าคะทำให้การนั่งสมาธิในวันนี้เป็นอย่างที่เล่ามา

ตอนที่ความปวดเราหายไปนั้น ที่รู้สึกว่ามันเย็นๆ ขึ้นมา เรารู้สึกตอนที่หลับตาด้วยว่า สีมันออกขาวๆ นวล ๆ นะคะ ไม่รู้จิตคิดปรุงแต่งไปเองหรือเปล่า ปกติเวลาหลับตาใหม่ ๆ สีมันจะเป็นเหมือนแดง ๆ ดำ ๆ ไม่ใช่แบบนี้อ่ะค่ะ

ขอถามอีกสักข้อนะคะว่า.....ถ้าหากเวลาที่จิตเราเผลอแว๊บไปคิดอะไรเนี่ย แล้วเราดันไม่รู้ตอนนั้นในขณะนั้นแบบว่ามันเร็วมากจะกำหนดคิดหนอๆๆก็ไม่ทันแล้ว คือมันมารู้ตัวอีกทีตอนที่ว่ามันคิดผ่านไปแล้วอ่ะค่ะ ทำไงดีค่ะ..คือมันเร็วมาก แว๊บเดียวเองค่ะ ไม่นานแต่ว่าเราไม่ทันมันอ่ะค่ะ มีวิธีแนะนำไหมคะ...

ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าเลยละกันนะคะ.. สาธุ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 2:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้อ อีกนิดๆๆๆๆนะคะ ลืมเล่าค่ะว่าตอนท้ายๆ ก่อนจะออกสมาธิ ตอนที่ไม่ปวดแล้ว รู้สึกสบายแล้ว การหายใจของเราเป็นจังหวะดี แต่ทำไมเหมือนตัวเรากระเพื่อมขึ้นลงคะ คือรู้ตัวนะคะ แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น สงสัย และก็ที่แปลกกว่านั้นก็คือ นั่งนานกว่าทุกวัน แต่เท้าเป็นตระคริวแค่นิดเดียวเอง ไม่ต้องถึงกับนวดก็หายไปเอง แต่วันก่อนๆ ที่นั่งแค่สามสิบนาที นวดเป็น 5-10 นาทีเลยค่ะ กว่าตะคริวจะหาย แปลกจัง สงสัย
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 5:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอถามอีกสักข้อนะคะว่า.....ถ้าหากเวลาที่จิตเราเผลอแว๊บไปคิดอะไรเนี่ย แล้วเราดันไม่รู้ตอนนั้นในขณะนั้นแบบว่ามันเร็วมากจะกำหนดคิดหนอๆๆก็ไม่ทันแล้ว คือมันมารู้ตัวอีกทีตอนที่ว่ามันคิดผ่านไปแล้วอ่ะค่ะ ทำไงดีค่ะ..คือมันเร็วมาก แว๊บเดียวเองค่ะ ไม่นานแต่ว่าเราไม่ทันมันอ่ะค่ะ มีวิธีแนะนำไหมคะ...

ขอตอบตรงนี้และกันนะครับ เพราะส่วนอื่นนั้นฝึกมาถูกทางแล้ว

อาการเผลอเป็นปกติของจิตครับ การมีสติ ตามรู้ทีหลังก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย เพราะจะตามรู้ อย่างนี้ไปก่อนจนจิตมีกำลังมากแล้ว การรู้ตัวจะเร็วขึ้น หรือเรียกว่า สติ มีเร็วขึ้นนั่นเอง

---------

อ้อ อีกนิดๆๆๆๆนะคะ ลืมเล่าค่ะว่าตอนท้ายๆ ก่อนจะออกสมาธิ ตอนที่ไม่ปวดแล้ว รู้สึกสบายแล้ว การหายใจของเราเป็นจังหวะดี แต่ทำไมเหมือนตัวเรากระเพื่อมขึ้นลงคะ

อันนี้ อาการกายเบา คล้ายว่า ร่างกายพริ้วไหวใช่ไหมครับ

หรือคล้ายกับเป็นระลอกคลื่น

ถ้าใช่ ก็แค่ กายเบา มีปีติ อ่อน ๆๆ เท่านั้นเอง ดูเฉยๆๆ

อันสุดท้ายอาการชา ก็เริ่มเข้าที่แล้ว ให้รักษาความเพียรต่อนะครับ

การทำต่อเนื่องจะได้ผลดีที่สุดครับ เศร้า

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 1:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะคุณ rarm ตั้งใจจะปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆค่ะ นอกจากมีเหตุจริง ๆที่ไม่สามารถทำได้..และพยายามจะไม่ขี้เกียจด้วย..เพราะเคยเป็นนะคะบางครั้งแบบว่าสวดมนต์ทุกวัน แล้วมีบางวันแบบขี้เกียจจังหรือไม่ไหวแล้ว(คือปวดหัว ไม่สบาย) ก็จะไม่ได้สวดไป ซึ่งจะทำให้รู้สึกผิดทุกครั้งเลยนะคะ แต่คิดว่าพระท่านคงจะเข้าใจบ้างน่ะค่ะ หนูก็ปุถุชนคนหนึ่ง อายหน้าแดง

ขอถามนิดนะคะ ปีติ ในที่นี้ คืออะไรคะ ความยินดี ความสุขหรือว่า ดีใจ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง