Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 3 วันแรกของการฝีกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 4:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ 4 คือ

1. อคมนียวัตถุ ได้แก่ สตรี หรือ บุรุษที่ไม่ควรละเมิด

2.จิตคิดจะเสพ

3. มีความพยายามในการเสพ

4. ยังมรรค คือ อวัยวะสืบพันธุ์ให้ถึงกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 4:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลข้อ 4 มุสาวาท มีองค์ 4 คือ

1.เรื่องไม่จริง

2. จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น

4. ผู้อื่นเข้าใจความที่พูดนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 4:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลข้อ 5 สุราเมรัย ฯ มีองค์ 4 คือ

1. สิ่งนั้นเป็นของเมา

2. จิตใคร่จะดื่ม

3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่ใคร่จะดื่มนั้น

4. กลืนให้ล่วงลำคอลงไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะคุณกรัชกาย..แสดงว่าจิตนี่ก็สำคัญมากที่เดียว เมื่อจิตคิดแม้จะยังไม่ได้ลงมือกระทำก็ถือว่าผิดแล้วใช่ไหมคะ ถ้างั้นเราก็ผิดอีกข้อแล้วล่ะค่ะ อายหน้าแดง

เล่าสู่กันฟัง

บางทีโมโหก็คิดอยากจะ หืม....เช่น อยากตีลูก เวลาเค้าดื้อ พูดหลายครั้งไม่ฟังยังทำ ถ้าบางทีควบคุมได้ ยั้งได้ก็ไม่ได้ตี แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ยั้งไม่ได้ก็ตี....และหลายครั้งนะคะที่มือไวกว่าใจคิด เศร้า แบบว่าจะไม่ตี ๆ ป๊าบบไปแล้ว แต่ก็แปลกนะคะ ที่หลายครั้งเราดุหรือตีลูก(เมื่อก่อนนะคะ) จะแบบว่ามีอารมณ์โกรธส่วนมาก แต่พักหลังๆ นี่ เวลาดุหรือตีลูก บ้างทีมันไม่มีอารมณ์ในความรู้สึกนั้น คือไม่ได้โกรธอ่ะ แต่มือมันตีไปแล้ว...อย่างนี้เรียกว่าอะไรคะ...
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาระของศีลอยู่เจตนา ได้แก่ การไม่คิดล่วงละเมิด คำว่าละเมิดแง่

หนึ่ง คือ ละเมิดระเบียบ ละเมิดกฎเกณฑ์ บทบัญญัติ ละเมิดวินัย

ที่วางกันไว้

อีกแง่หนึ่งละเมิดผู้อื่น หมายถึง เจตนาที่จะเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง

ศีล จึงหมายถึงการไม่เจตนาละเมิดระเบียบวินัย หรือการไม่เจตนา

ล่วงเกินเบียดเบียนผู้อื่น

ถ้ามองแต่อาการ หรือ การกระทำ ศีล ก็คือความไม่ละเมิดและการ

ไม่เบียดเบียน

มองอีกด้านหนึ่ง ศีลอยู่ที่ความสำรวมระวัง กล่าวคือการสำรวม

ระวังคอยปิดกั้นหลีกเว้นไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นนั่นเอง เป็นศีล

และ ถ้ามองให้ลึกที่สุด สภาพจิตของผู้ไม่คิดจะละเมิด

ไม่คิดจะเบียดเบียนใครนั่นแหละคือ ตัว ศีล ***


***ศีล ได้แก่ เจตนา ได้แก่ เจตสิก ได้แก่สังวร ได้แก่

อวีติกกมะ (ขุ.ปฏิ.31/89/64; อธิบายในวิสุทธิมรรค. 1/8)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แสดงว่าจิตนี่ก็สำคัญมากที่เดียว เมื่อจิตคิดแม้จะยังไม่ได้ลงมือกระทำ

ก็ถือว่าผิดแล้วใช่ไหมคะ ถ้างั้นเราก็ผิดอีกข้อแล้วล่ะค่ะ



ออนตรงกันพอดี โพสต์เสร็จแว็บมาเลย เจ๋ง


เมื่อจิตคิดแม้จะยังไม่ได้ลงมือกระทำก็ถือว่าผิดแล้วใช่ไหมคะ


ไม่ถึงขนาดนั้น แค่คิดศีลยังไม่ขาด

ต้องครบองค์ประกอบแต่ละข้อๆ เช่น ข้อ 1 มีองค์ประกอบ

5 อย่าง

1. สัตว์มีชีวิต 2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต 3. มีจิตคิดจะฆ่า

4. มีความพยายามฆ่า 5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น



มาครบองค์ 5 1-5 สุดท้ายสัตว์ตาย อย่างนี้ขาด

หากสัตว์ยังไม่ตาย สมมุติเพียงบาดเจ็บ ศีลยังไม่ขาด

แต่ความเศร้าหมองใจอาจมีได้ นี่พูดถึงสัตว์นะครับ

แต่ถ้าเป็นมนุษย์เขาแจ้งความ ถูกจับอาจถูกตั้งข้อหาพยายามฆ่าได้

ที่เหลือพึงพิจารณาทำนองนี้ครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 6:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้อ เข้าใจแล้วค่ะ สาธุ

เราเข้าใจผิดไปว่าใน 1-5 ข้อ ผิดอันใดอันหนึ่งถือว่าขาด แสดงว่าคิดแต่ยังไม่ได้ทำก็ยังไม่ขาด

สรุปว่าต้องทั้ง 1-5 เริ่มตั้งแต่รู้ จนกระทำจบ นั่นคือ ขาด ..โอเคเข้าใจแล้วค่ะ พอดีเห็นเน้นตัวสีแดงไว้...ตรงคำว่าจิตทุกข้อเลยเข้าใจว่าถ้าจิตแค่คิดก็บาป...ถ้าเป็นเช่นนั้นต่อไปจะคิดอะไรได้บ้างล่ะคะเนี่ย อิอิ ขำ

คุณกรัชกายทำงานไหมคะวันนี้ เห็นถามปุ๊บตอบปั๊บ คิดว่าคงจะออนอยู่...

ปล. ไม่ทราบว่าเราถามตอบกันในนี้ยืดยาวไปไหมคะ ตั้งหน้าเจ็ดไปละ จริง ๆแล้วก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเราล้วนๆ เลย ไม่รู้ว่าจะเป็นการดีไหมที่จะถามพูดคุยต่อไปเรื่อยๆ หรือว่าคุยทางอีเมล์แทนดีค่ะ ถ้าคิดว่าไม่เป็นการรบกวนหรือสะดวกก็ขอด้วยละกันค่ะ เผื่อจะได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับคุณกรัชกายค่ะ... สาธุ ขอบคุณล่วงหน้าเลยค่ะ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

แสดงว่าจิตนี่ก็สำคัญมากที่เดียว

เล่าสู่กันฟัง

บางทีโมโหก็คิดอยากจะ หืม....เช่น อยากตีลูก เวลาเค้าดื้อ พูดหลายครั้งไม่ฟังยังทำ ถ้าบางทีควบคุมได้ ยั้งได้ก็ไม่ได้ตี แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ยั้งไม่ได้ก็ตี....และหลายครั้งนะคะที่มือไวกว่าใจคิด แบบว่าจะไม่ตี ๆ ป๊าบบไปแล้ว แต่ก็แปลกนะคะ ที่หลายครั้งเรา
ดุหรือตีลูก (เมื่อก่อนนะคะ) จะแบบว่ามีอารมณ์โกรธส่วนมาก

แต่พักหลังๆ นี่ เวลาดุหรือตีลูก บ้างทีมันไม่มีอารมณ์ในความรู้สึกนั้น คือไม่ได้โกรธอ่ะ แต่มือมันตีไปแล้ว...อย่างนี้เรียกว่าอะไรคะ.



คุณกล่าวว่า ....แสดงว่าจิตนี่ก็สำคัญมากที่เดียว

จิตสำคัญที่สุดครับ กายเป็นเพียงอุปกรณ์ หรือ

เครื่องมือให้จิตทำงานสำเร็จ หรือผู้รับใช้จิต

เมื่อใจเป็นนายกายเป็นบ่าว กิจกรรมที่แสดงออกทางกาย ทางวาจา

ลึกๆคือพฤติกรรมของจิต เกิดจากจิตภายในก่อน เมื่อสติเป็นต้นคุมไม่

อยู่จึงล้นออกมาภายนอก คิดวิบเดียว เพราะไม่เคยฝึกกรรมฐานมาก่อน

สติจึงไม่มาปัญญาไม่เกิด เผี๊ยะ นี่เฉพาะลูกเรา เป็นธรรมดา ยิ้ม

อ้างอิงจาก:

(เมื่อก่อนนะคะ) จะแบบว่ามีอารมณ์โกรธส่วนมาก

แต่พักหลังๆ นี่ เวลาดุหรือตีลูก บ้างทีมันไม่มีอารมณ์ในความรู้สึกนั้น คือ ไม่ได้โกรธอ่ะ แต่มือมันตีไปแล้ว...อย่างนี้เรียกว่าอะไรคะ.


ประเด็นนี้มีคำตอบอยู่ในตัว

เพราะเมื่อก่อนคุณไม่เคยฝึกกรรมฐาน

แต่ปัจจุบัน คุณเริ่มฝึกหัดเจริญสติปัฏฐานบ้างแล้ว กุศลธรรมเป็นต้น

ว่า สติปัญญาก็ออกปฏิบัติหน้าที่ จึงมีอาการและความรู้สึก

อย่างประเด็นหลัง

กรัชกายจึงกล่าวไว้ข้างต้นนั้นว่า การปฏิบัติกรรมฐานอย่างถูก

ทางถูกวิธีนั่นแหละครับ คือ การชำระชะล้าง ทุกข์ได้ถึงตัวสภาวะ



ตรงกับพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็น มรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์

ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่ง

ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”


อธิบายโยงเพื่อตอบข้อสงสัยของคุณที่ว่า

อ้างอิงจาก:


อ่านแล้วมีคำถามอีกแล้วค่ะ

จากที่คุณเขียนว่า การปฏิบัติกรรมฐานอย่างถูกทางถูกวิธีนั่นแหละครับ คือ การชำระชะล้าง ทุกข์ได้ถึงตัวสภาวะ

เอ่อ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงคะว่าเราปฏิบัติถูกไหม ยกตัวอย่างเราอยู่
ต่างแดน ไม่มีคนมาสอนจริง ๆจัง ๆ..ได้แต่ฝึกหัดเอง ดูคลิปวีดีโอบ้าง อ่านหนังสือเอาบ้าง หรือจากถามกับหลายๆ คนแล้วมาปฏิบัติเองบ้าง อย่างนี้ล่ะคะ?

กตัญญุตา: 30 กรกฎาคม 2008, 3:18 am



ตอบ สั้นๆอีกครั้ง สังเกตจากการดำรงชีวิตประจำในแต่ละวันๆ

อย่างที่คุณสังเกตพฤติกรรมตนเอง ว่าเป็นไปในทางบวก

ว่าเมื่อปฏิบัติแล้วๆ รู้สึกตัวเร็วขึ้น ตามทันกาย วาจา ใจ บ่อยขึ้นๆ

จิตใจหนักแน่นขึ้น ทุกข์โทมนัสซาลงๆ ฯลฯ

อย่างนี้ถือว่าปฏิบัติถูกทางแล้ว

ฝึกต่อไป ในในทุกอิริยาบถ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ เป็น

ต้น

ผลจากการปฏิบัติผู้อื่นคนอื่น มิล่วงรู้ได้เลย เราเองรู้ตนเอง ได้รับผล

จากการปฏิบัติเอง ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายทำงานไหมคะวันนี้ เห็นถามปุ๊บตอบปั๊บ คิดว่าคงจะออนอยู่...

ปล. ไม่ทราบว่าเราถามตอบกันในนี้ยืดยาวไปไหมคะ ตั้งหน้าเจ็ดไปละ จริง ๆแล้วก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเราล้วนๆ เลย ไม่รู้ว่าจะเป็นการดีไหม
ที่จะถามพูดคุยต่อไปเรื่อยๆ หรือว่าคุยทางอีเมล์แทนดีค่ะ ถ้าคิดว่าไม่เป็นการรบกวน หรือ สะดวกก็ขอด้วยละกันค่ะ เผื่อจะได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับคุณกรัชกายค่ะ... ขอบคุณล่วงหน้าเลยค่ะ

กตัญญุตา 30 กรกฎาคม 2008, 6:17 pm


ออนตรงกันครับ

เมื่อคุณหมดประเด็นคำถาม ณ ตอนนี้แล้ว หยุดถาม-ตอบตรงนี้แค่นี้ก็

ได้

หากมีปัญหาจากการปฏิบัติอีก ไถ่ถามทางเมลเอา แล้วจะส่งให้

ทางกล่องข้อความนะครับ

แต่เรื่องศีลกระทู้นี้กรัชกายจะลงต่ออีกสักหน่อย เพราะยังไม่จบประเด็น

ดีครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ศึกษาเรื่องศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และที่

สำคัญยิ่งคือ วัตถุประสงค์ของศีล ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน

และส่วนรวมสูงสุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะชื่อว่ามีความเข้าใจ

ถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาด และได้ผลจริง

เป็นเหตุเป็นผลของข้อธรรมที่สูงยิ่งกว่าตน

เขียนให้ดู ศีล => เพื่อสมาธิ สมาธิ=> เพื่อปัญญา ปัญญา=>

เพื่อวิมุตติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีล พื้นฐาน

ศีล พื้นฐาน คือ ศีลที่เป็นหลักกลาง ซึ่งเป็นความหมายของ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ที่เป็นองค์ของมรรค

ได้แก่ การพูด การกระทำ การประกอบอาชีวะ อย่างไรก็ตาม

ที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งปราศจากความทุจริต หรือความคิดเบียด

เบียน กินความคลุมถึงสุจริตที่เป็นคู่กันด้วย แสดงได้ดังนี้

1. สัมมาวาจา เจรจาชอบ

ฯลฯ

2. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ

ฯลฯ

3. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ ละมิจฉาชีพ เลี้ยงชีวิตด้วย

สัมมาชีพ รวมถึง ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพที่สุจริต

เช่น ทำงานไม่ให้คั่งค้างอากูล (ไม่หมักหมม ไม่ผัดเพี้ยน ไม่จับจด

ไม่ยุ่งเหยิงสับสน) เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ค.2008, 8:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ

ได้รู้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว....ขอบคุณค่ะ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 8:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กตัญญุตา พิมพ์ว่า:
สาธุ

ได้รู้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว....ขอบคุณค่ะ



คิดว่าหลับไปแล้วนะเนี้ย ขยันอ่านจริงนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับคนทั่วไป ท่านย่อมผ่อนเบา เอาสาระของศีลพื้นฐานนี้

มาแสดงเป็นข้อกำหนดอย่างต่ำที่สุดในทางความประพฤติของมนุษย์

เท่าที่จำเป็นพอที่จะให้สังคมมนุษย์อยู่กันโดยปกติสุข

และแต่ละคนมีชีวิตที่ไม่เป็นโทษภัย เรียกข้อกำหนดนี้ว่า

สิกขาบท (= ข้อฝึกความประพฤติ) 5 หรือ ที่มานิยมเรียกกันเป็น

สามัญว่า ศีล 5 - (บางครั้งเรียก นิจศีล ตามอรรถกถา) ได้แก่


1. เว้นจากปาณาติบาต คือ ไม่ทำลายชีวิต

จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียด

เบียนผู้อื่นทางด้านชีวิตร่างกาย


2. เว้นจากอทินนาทาน คือ ไม่เอาสิ่งของที่เข้ามิได้ให้ หรือ

ไม่ลักขโมย

จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียด

เบียนผู้อื่นทางด้านทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์


3. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือ ไม่ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียน

ผู้อื่นทางด้านคู่ครอง บุคคลที่รักหวงแหน ไม่ผิดประเพณีทางเพศ

ไม่นอกใจคู่ครองของตน


4. เว้นจากมุสาวาท คือ ไม่พูดเท็จ

จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียน

ผู้อื่นด้วยวาจาเท็จโกหกหลอกลวงตัดรอนประโยชน์หรือแกล้งทำลาย


5. เว้นจากของเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ไม่เสพของมึนเมา

จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนินชีวิตที่ปราศจากความประมาท

พลั้งพลาดมัวเมาเนื่องจากการใช้สิ่งเสพติดที่ทำให้เสียสติสัมปชัญญะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความหมายและขอบเขตของศีล 5 และศีลจำพวกเดียวกันนั้น

ที่จำกันมามักว่าตามที่อธิบายสืบๆกันมาในชั้นหลัง

ในที่นี้ จึงขอนำพุทธพจน์มาเสนอให้พิจารณา



“คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบ

ตัว...

1. อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์

ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข

เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะปลงชีวิตคนอื่นผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข

เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่นเหมือนกัน

สิ่งใด ตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ

ไม่พอใจเหมือนกัน

สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่

ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้ ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต

ด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย

ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจาร

ของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ถ้าใคร จะถือเอาสิ่งของที่มิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อ

ที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อ

ที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ก็ถ้าใคร จะประพฤติผิดในภรรยาของเรา ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ

ที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะประพฤติผิดในภรรยาของคนอื่น ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ

ที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ก็ถ้าใคร จะทำลายประโยชน์ของเรา ด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอ

ใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะทำลายประโยชน์ของคนอื่น ด้วยการกล่าวเท็จก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ

ที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 พ.ค.2009, 6:54 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ถ้าใครจะยุยงเราให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่

ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเราจะยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อ

ที่ชื่นชอบ ที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

6. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจ

แก่เรา

ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจ

แก่คนอื่น เหมือนกัน...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง