Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อธรรมที่ผู้ศึกษาไถ่ถามและเห็นต่างกันบ่อยๆ มีหลายข้อเช่นเรื่อง

ฌาน ออกจากฌานแล้วจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ฯลฯ

สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร

สมถะกับสมาธิเหมือนกันหรือไม่

คำถามเป็นต้นเหล่านี้

หนังสือพุทธธรรมโดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

(ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มีคำเฉลย

ซึ่งท่านได้รวบรวมข้อธรรมเหล่านั้นจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์

อรรถกถาเป็นต้นไว้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เช่นหน้า 933 ท่านกล่าวไว้ว่า


-พุทธธรรมฉบับนี้ ถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นสำคัญ จึงเต็ม
ไปด้วยข้อความที่แปลจากคัมภีร์ภาษาบาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา และคัมภีร์อื่นๆ

ส่วนพระบาลีคือความในพระไตรปิฎกนั้น แม้ว่าจะแปลตรงจาก
ฉบับเดิมที่เป็นภาษาบาลี เพราะเป็นหลักฐานขั้นต้น แต่ก็ได้
อาศัยพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเป็นที่ปรึกษา

ส่วนคัมภีร์ภาษาบาลีรุ่นหลังต่อๆ มา ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
มีจำนวนน้อย อันใดพออาศัยได้ ก็ได้ใช้ปรึกษาบ้างประกอบ
บ้างไปตามควร

คัมภีร์ใด ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในประเทศไทย หรืออุปกรณ์การ
ศึกษาค้นคว้าอย่างใดๆ ยังไม่ได้จัดทำในประเทศไทย ก็ได้
อาศัยงานที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษบ้าง พม่าบ้าง เป็นส่วนเสริม
จึงขอจารึกคุณความเกื้อกูลที่ได้รับจากแหล่งเหล่านั้นไว้ ณ ที่นี้ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-หนังสือนี้เต็มไปด้วยหลักฐานที่มา หรืออ้างอิงจากคัมภีร์มาก
มาย จนหลายท่านอาจเห็นว่าเกินจำเป็น

การที่ทำเช่นนี้ มิใช่เป็นการยึดมั่นติดคัมภีร์ หรือเกาะตำรา
แน่น โดยถือว่าเมื่อเป็นคัมภีร์แล้วต้องถูกต้องตายตัว

เป็นการแน่นอนว่า ในคัมภีร์ที่ล่วงเวลามาแสนนาน โดยเฉพาะ
คัมภีร์รุ่นหลังๆ ย่อมจะมีส่วนที่คลาดเคลื่อนบันทึกผิด เติม
พลาด ปนอยู่ด้วยบางส่วน แต่กระนั้นคัมภีร์ทั้งหลายก็เป็นหลัก
ฐานสำคัญมาก และความสำคัญนั้นก็ลดหลั่นกันเป็นระดับๆ
ตามฐานะและยุคสมัยของคัมภีร์เหล่านั้น

ฯลฯ

ความประสงค์อีกอย่างหนึ่ง ในการแสดงหลักฐานที่มาไว้มาก
หรือถือเอาคัมภีร์ที่อ้างอิงเป็นหลักเป็นแกนเป็นเนื้อตัวของหนังสือ
นี้ ก็เพื่อทำให้หนังสือนี้เป็นอิสระจากผู้เขียน และให้ผู้เขียนเอง
เป็นอิสระจากหนังสือด้วยเท่าที่จะเป็นไปได้

ด้วยว่าผู้เขียนจัดทำหนังสือนี้อย่างเป็นนักศึกษาผู้หนึ่ง ทำหน้าที่
เป็นผู้ไปสืบค้นรวบรวมเอาเนื้อหาทั้งหลายของพุทธธรรมมาส่งวาง
ให้แก่ผู้อ่าน

ถ้าสิ่งที่นำมาส่งวางให้นั้น เป็นของแท้จริงหยิบมาถูกต้อง ผู้นำ
ส่งก็หมดความรับผิดชอบ จะหายตัวไปไหนก็ได้
ผู้ได้รับไม่ต้องนึกถึง ไม่ต้องมองที่ผู้นำส่งอีกต่อไป
คงยุ่งอยู่กับของที่เขานำมาส่งเท่านั้นว่าจะเอาไปใช้เอาไปทำอะไร
อย่างไรต่อไป

แต่ถ้าของส่วนใด ยังไม่ใช่ตัวของแท้ที่ถูกต้อง ผู้นำส่งก็ยัง
เปลื้องตัวไม่หมด ยังไม่พ้นความรับผิดชอบ
โดยนัยนี้ การทำให้งานและตัวเป็นอิสระจากกันได้ จึงเป็น
เครื่องวัดความสำเร็จของหนังสือนี้
เท่าที่ทำมาถึงคราวนี้ คงจะยังหวังไม่ได้ว่าจะทำตัวให้เป็นอิสระ
ได้สิ้นเชิง แต่ก็พึงประกาศให้ทราบความมุ่งหวังไว้

ถ้าผู้เขียนนำเอาตัวพุทธธรรมมาแสดงแก่ผู้อ่านได้สำเร็จ
ก็เหมือนกับได้พาผู้อ่านเข้าไปเฝ้าพระบรม ศาสดาเองแล้ว

ผู้อ่านก็ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้เขียนอีกต่อไป พึงตั้งใจสดับและ
พิจารณาพุทธธรรมที่แสดงโดยตรงออกมาจากพระโอษฐ์
ของพระบรม ศาสดานั้นอย่างเดียว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(พึงทราบความหมายถ้อยคำก่อน)

คำว่า “บาลี” หรือ “พระบาลี” กับคำว่า “ภาษาบาลี”

บาลี หรือพระบาลี หมายถึง ข้อความจากพระไตรปิฎก
ซึ่งแยกต่างจากคัมภีร์รุ่นหลังมีอรรถกถา เป็นต้น

ส่วนภาษาบาลี หมายถึงภาษาที่ใช้จารึกรักษาพระบาลีนั้น
มักเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษามคธ

ทั้งพระไตรปิฎก และคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อรรถกถา เป็นต้นนั้น
มีจารึกไว้เป็นภาษาบาลี คือ อรรถกถาเป็นต้นก็ใช้ภาษาบาลีด้วย

แต่คำว่า บาลี หรือพระบาลี หมายถึงพระไตรปิฎกเท่านั้น
ไม่ใช่อรรถกถา ฎีกา หรือ คัมภีร์อื่นๆ

คำว่า บาลี และพระบาลี มีใช้ในหนังสือนี้มากกมายหลาย
แห่ง
ผู้ศึกษาพึงเข้าใจตามนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(เข้าประเด็นที่เห็นต่างดังกล่าวข้างต้น หากผู้อ่านมีพื้นปริยัติอยู่
บ้างคงเข้าใจไม่ยากนัก
ให้สังเกตที่....ออกจากฌานแล้วเจริญวิปัสสนา
และเมื่อพิจารณาโดยละเอียด อาจเห็นความต่างระหว่างวิปัสสนา
กับวิปัสสนึก...)

หนังสือพุทธธรรมหน้า 365 เริ่ม....

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?


-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก
และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข
และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า
ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย
ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น


อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83)

วินย.ฎีกา.2/271 และวิสุทธิ. ฎีกา.1/254 ขยายความหมายของ
ข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ. อ. 159, วิสุทฺธิ. 1/190
และ นิท. อ. 1/164 ให้เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิด
ขึ้นได้ โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร

นั้น


พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น

มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์

(วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)

ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า

เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี

วิตกวิจาร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2008, 9:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิ. 3/206)
แสดงวิธีเจริญวิปัสสนาว่า “บุคคลที่เป็นสมถยานิก ออกจาก
ฌานใดฌานหนึ่งในบรรดารูปฌานและอรูปฌานทั้งหลาย
เว้นแต่เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว พึงกำหนดพิจารณาองค์
ฌานทั้งหลายมีวิตก เป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับ
องค์ฌานนั้น โดยลักษณะและรสเป็นอาทิ”

คำอธิบายที่ว่า “ออกจากฌานแล้ว...แล้วพึงกำหนด” นั้น
มองแง่หนึ่ง ถือว่าเป็นเพียงแสดงตัวอย่างวิธีปฏิบัติแบบหนึ่ง
เพราะในฎีกาที่อธิบายความตอนนี้เอง (วิสุทฺธิ. ฎีกา 3/398)
ได้ไขความไว้ว่า “คำว่า สมถยานิก เป็นชื่อของผู้ดำรงใน
ฌาน หรือในอุปจาระแห่งฌาน บำเพ็ญอยู่ซึ่งวิปัสสนา”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ว่า การบำเพ็ญวิปัสสนา จะอยู่ในฌานหรือ

ออกจากฌานก่อนแล้วจึงทำก็ได้

หรือว่าอยู่ในฌานทำไม่ได้ จะต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะทำ

ได้นี้ ดูเหมือนว่า อรรถกถาฎีกาทั้งหลายยังขัดแย้งกันอยู่

บ้าง

หลักฐานที่กล่าวถึงการบำเพ็ญวิปัสสนาในฌาน

นอกจาก องฺ.อ. 3/352 และวิสุทฺธิ. ฎีกา 3 /398 แล้ว

ได้พบอีกเพียงแห่งเดียว คือ ที.อ.2/143 ซึ่งกล่าวถึงพระอรหันต์

ปัญญาวิมุตว่า “พระปัญญาวิมุตมี 5 อย่าง คือ

พระสุกขวิปัสสกะ 1 และท่านผู้ดำรงอยู่ในฌาน 4 ฌานใดฌาน

หนึ่งมีปฐมฌานเป็นต้น บรรลุอรหัตตผล (อีก 4) “
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

หลักฐานนอกจากนี้ ล้วนแสดงการปฏิบัติแบบออกจากฌานก่อน

เป็นพื้น เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรยายวิธีบำเพ็ญวิปัสสนาโดยตรง

จะมีข้อความทำนองเดียวกันว่า

“เข้าฌาน ออกแล้ว กำหนดองค์ฌาน และธรรมที่

ประกอบร่วมกับฌานนั้น...”

หรือ “เข้าฌาน ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณา

สังขาร...”

หรือ “ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาสมาบัติธรรม...”

หรือ “ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌานธรรม...” เป็นต้น

(วินย. อ. 1/525,529; ที.อ. 2/ 482; ม.อ.1/343; สํ.อ. 3/382;
องฺ.อ.2/13; สุตฺต.อ.2/511; นิทฺ. อ. 2/247,338;
วิสุทฺธิ. 2 /79; 3/312 ฯลฯ )

หลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มติทั่วไปของอรรถกถา ถือ

ว่าถ้าเข้าฌานแล้วจะต้องออกจากฌานก่อน จึงจะบำเพ็ญ

วิปัสสนาได้

ข้อที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ จะยุติอย่างไร ไม่ปรากฏคำชี้แจงโดยตรง

ในอรรถกถา หรือฎีกา และยากที่จะเค้นคำอธิบายมาได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

แต่ก็พอหาข้อประนอมได้ โดยเก็บเหตุผลจากที่ต่างๆ มาเชื่อมต่อ

กัน ดังต่อไปนี้


คำบรรยายวิธีบำเพ็ญวิปัสสนา โดยออกจากฌานแล้วพิจารณา

สังขารนั้น

ได้แบบมาจากคัมภีร์ชั้นรอง ในพระไตรปิฎกนั่นเอง

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ในคัมภีร์ ขุ.สุ.25/438/548 มีข้อความ

สั้นๆ

ตอนหนึ่งว่า “บุคคลรู้จักกรรมที่ปรุงแต่งให้เกิด

อากิญจัญญายตนะ ว่ามีนันทิเป็นสังโยชน์ ครั้นรู้จักอย่างนี้

แล้ว แต่นั้นย่อมเห็นแจ้ง (= บำเพ็ญวิปัสสนา)

ในอากิญจัญญายตนะนั้น”


ข้อความตอนท้ายที่ว่า “แต่นั้น ย่อมเห็นแจ้ง

ในอากิญจัญญายตนะนั้น”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

คัมภีร์จูฬนิทเทส ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรองในพระไตรปิฎก

(ขุ.จู.30/487/233)

อธิบายขยายความออกไปว่า “หมายความว่า บุคคลนั้นเข้า

อากิญจัญญายตนะแล้ว ออกจากอากิญจัญญายตนะนั้นแล้ว

เห็นแจ้ง (= ทำวิปัสสนา) ธรรม คือ จิตและเจตสิก

ทั้งหลาย ซึ่งเกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์...”

(ในอรรคถกถาของคัมภีร์ทั้งสองนี้ คือ สุตฺต.อ.2/523;

นิทฺ.อ.2/298 ก็มีคำอธิบายทำนองเดียวกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

คำอธิบายเรื่องนี้ ในคัมภีร์ชั้นรองก็ดี ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา

ฎีกาก็ดี ล้วนจัดได้ว่าเป็นแนวอภิธรรมทั้งสิ้น

ธรรมดาว่า คัมภีร์สายอภิธรรมนั้น ย่อมพยายามวิเคราะห์

ธรรมทั้งหลายออกไปอย่างละเอียด

เมื่ออธิบายเรื่องจิต ก็วิเคราะห์ออกไปเป็นขณะๆ แสดงให้

เห็นการทำงานของจิต

โดยสัมพันธ์กับธรรมอย่างอื่น เช่น การเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เป็น

ต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ในกรณีที่จะอาศัยฌานเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนานี้ ขณะอยู่ในฌาน

สมาบัติแท้ๆ ยังทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะอารมณ์ของฌานนั้น

อย่างหนึ่ง

ส่วนอารมณ์ของวิปัสสนาเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ขณะอยู่ในฌาน จิตแนบอยู่กับอารมณ์ของฌาน

การพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกับจิตที่เข้าสมาบัติ เป็นสิ่งที่

ไม่อาจทำได้ (องฺ.อ.2/447)

ดังนั้น จึงต้องออกจากอารมณ์ (ของฌาน) เสียก่อน

(วินย.อ.1/269)


เพื่อจะได้เปลี่ยนอารมณ์ใหม่ ซึ่งก็หมายความว่า ต้องออก

จากฌานนั่นเอง

การออกจากฌานนั้นก็ไม่มีอะไรมาก เพียงให้กระแสจิตซึ่งแนบอยู่

กับอารมณ์ของฌานนั้นขาดตอนลงเสียด้วยการตกภวังค์

การที่จิตตกภวังค์ นั่นเอง คือ การออกจากฌาน


(ม.อ.2/40; องฺ.อ.3/170,374 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.ค.2008, 4:01 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันนี้จะใช่ ลักขณูปณิชฌาณหรือไม่

พอจะทราบความหมายโดยละเอียดหรือไม่ครับ

ผมทราบแค่สั้น ๆ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เมื่อออกจากฌานแล้ว ในกรณีนี้ จิตก็ขึ้นสู่วิถีอีกในทันที

และด้วยอิทธิพลของฌานสืบเนื่องมา จิตก็แน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ

ต่อไปอีก

(มิใช่หมายความว่า เมื่อออกจากฌานสมาบัติแล้ว จะกลับ

มาสู่สภาพวุ่นวาย หรือหวั่นไหวตามปกติ อย่างที่อาจจะเข้าใจ

กันไป)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


บุคคลนั้น ดำรงอยู่ในอัปปนา หรือใช้จิตที่เป็นอัปปนาสมาธินั่น

เอง (วิสุทฺธิ. 1/239; 2/195) เจริญวิปัสสนา โดยกำหนด

พิจารณาองค์ฌานทั้งหลาย-

(หรือจะพูดให้กว้าง เพื่อคลุมถึงธรรมอย่างอื่นที่มีอยู่ในฌานทั้ง

หมดก็ว่า พิจารณาฌานธรรม ฌานสัมปยุตตธรรม

สมาปัตติธรรม สมาปัตติสัมปยุตตธรรม จิตและเจตสิกที่เกิด

ในฌาน หรือพิจารณาสังขารทั้งหลาย ก็ได้ทั้งสิ้น)

ในฌาน หรือ สมาบัติที่ตนเพิ่งออกมานั้น จนเห็น

ไตรลักษณ์ (เรียกว่า กำหนดองค์ฌาน ฯลฯ

เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

สมาธิที่มั่นคงขึ้น ด้วยการได้ฌานสมาบัติแล้วนี้ จะช่วยให้

การบำเพ็ญวิปัสสนาสะดวก คล่อง สำเร็จผลง่ายมาก

ขึ้น ยิ่งได้อภิญญาด้วยแล้วยิ่งดี (วิสุทฺธิ 2/197)

ข้อนี้นับว่า เป็นส่วนดีหรือเป็นคุณค่าพิเศษของการเจริญสมถะก่อน

แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

การเจริญวิปัสสนาด้วยการเข้าฌานสมาบัติก่อน เมื่อออกจาก

ฌานสมาบัติแล้วจึงใช้จิตที่เป็นสมาธิแข็งกล้าสืบทอดมาจากกำลัง

ฌานนั้น กำหนดพิจารณาสังขารอย่างที่กล่าวมานี้

อรรถกถาบัญญัติศัพท์ขึ้นมา เรียกว่า เจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็น

บาท หรือทำฌานให้เป็นบาทของวิปัสสนา (หรือทำ

สมาบัติให้เป็นบาทของวิปัสสนา)

และฌานสมาบัตินั้น ก็เรียกว่า ฌานที่เป็นบาทของ

วิปัสสนา หรือ สมาบัติที่เป็นบาทของวิปัสสนา (วิปัสสนา

ปาทกฌาน วิปัสสนาปาทกสมาบัติ ปาทกัชฌาน..

ที. อ.2/537; ม.อ. 3/665 ฯลฯ )

เรียกตามขั้นของฌานสมาบัติที่เป็นบาทนั้นว่า ทำปฐมฌานให้เป็น

บาท ทำทุติยฌานให้เป็นบาท ฯลฯ

ทำอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นบาท เป็นต้น

หรือว่า วิปัสสนามีปฐมฌานเป็นบาท วิปัสสนามีทุติยฌาน

เป็นบาท วิปัสสนามีอรูปสมาบัติเป็นบาท ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง