Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคกันเถิด อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ ผ้ร่วมสนทนาทุกท่านน่ะครับ สาธุ

ขอน้อมรับฟังทุกความเห็นไว้พิจารณาครับ

ความเห็นในหลักการใหญ่ คือ จะตัดสมาธิออกจากไตรสิกขาไม่ได้ และ จะตัดสัมมาสมาธิ ออกจากอริยมรรคไม่ได้.... ก็ถือว่าน่าจะตรงกัน

แต่ ในรายละเอียดปลีกย่อย ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะเห็นตรงกันบ้าง เห็นไม่ตรงกันบ้าง.... ไม่ควรจะซีเรียสเกินไป.
วันนี้เห็นไม่ตรงกัน วันหน้าอาจเห็นตรงกัน....วันนี้เห็นตรงกัน วันหน้าอาจเห็นไม่ตรงกัน

อ.ประเวศ วสี ท่านจะกล่าวบ่อยๆว่า สังคมไทยตอนนี้มีปัญหาเรื่อง การฟัง... คือ เราชอบที่จะพูดให้ผู้อื่นฟัง แต่เรามักจะไม่ชอบฟังที่ผู้อื่นพูด

บ่อยครั้ง ที่"การฟังอย่างลึก"กลับมีประโยชน์กว่า การพูด


ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ที่ทุกท่านเสียสละเวลาให้กระทู้นี้

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 7:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีประเด็น เพิ่มเติมมานำเสนอ


ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด

สรุป เข้าสู่ ไตรสิกขา ได้ดังนี้

1.อธิศีลสิกขา(ศีล) ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

2.อธิจิตตสิกขา(สมาธิ) ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

3.อธิปัญญาสิกขา(ปัญญา) ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ



สังเกตุ... สัมมาสติ ก็คือ หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ก็เป็นองค์มรรคที่ถูกจัดไว้ในหมวดสมาธิ (เช่นเดียว กันกับ สัมมาสมาธิ)

และจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ตรัสว่า

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ




การมีสัมมาสติ(เจริญสติปัฏฐาน) จึงนำไปสู่ สัมมาสมาธิที่พอเหมาะ

แล้ว จะไปจัดให่ สติปัฏฐานเป็นวิปัสสสนาล้วนๆ(100%)ตามอาจารย์รุ่นหลัง ได้อย่างไรกันครับ...ลองพิจารณาดู

วิปัสสนาล้วนๆ(100%) ไม่อยู่ในหลักอริยมรรคเสียด้วยซ้ำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 7:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาต สรุปประมวล การเจริญ สมถะ-วิปัสสสนา เป็นดังนี้


1.เจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของสมถะมาเจือปน

2.เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า

3.เจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

4.การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า


5.เจริญสมถะล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของวิปัสสนามาเจือปน


ข้อ1 เจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยไม่มีส่วนของสมถะมาเจือปน...ก็คือ ประเด็นที่เป็นปัญหาของกระทู้นี้

ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ก็คือ แนวทางที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในพระสูตร ซึ่งต่างล้วนก็ต้องมีส่วนประกอบทั้ง สมถะ และ วิปัสสสนา ทั้งสิ้น...ต่างกันแต่ว่า แนวทางไหนจะใช้สมถะ หรือ วิปัสสสนานำหน้า หรือ เป็นจุดเด่น

ข้อ5 ก็คือ ฌานฤาษี ที่ไม่นำไปสู่การเดินมรรคด้านปัญญา นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็นองค์ของมรรคแปดข้อสุดท้ายนั้น เมื่อเจริญได้สมบูรณ์ จักหนุนเนื่องให้บังเกิดมรรคสมังคี.... และ บังเกิดผลเป็น สัมมาญาณะ(ตรัสรู้ชอบ) และ สัมมาวิมุติ(หลุดพ้นชอบ)
ดังนั้น การที่แยกขาด สมาธิ ออกจาก วิปัสสนา.... จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะเสมือนแยกเชือกที่เกิดจากด้ายแปดเส้นที่ควั่นไว้เป็นเกลียวออกจากกัน เชือกนั้นย่อมไม่แข็งแรงสมบูรณ์

สัมมาทิฏฐิในส่วนอนาสวะที่เป็นองค์แวดล้อมสัมมาสมาธิของพระอริยะนั้น ก็เป็นปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อยู่ในตัวแล้ว. และ สัมมาญาณะ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสัมมาสมาธิของพระอริยะเองนั้น ก็เป็นส่วนของปัญญา อีกเช่นกัน

เรื่อง ของการภาวนาตามแนวทางมรรคมีองค์แปด จึงต้องมองแบบองค์รวม HOLLISTIC หรือ มรรคสมังคี
จึงต้องไม่มองแบบแยกส่วน


อานาปนสติ เป็นมงกุฏแห่งกรรมฐาน
เพราะเหตุว่า สมบูรณ์พร้อมในตัว ทั้ง สติ สมาธิ ปัญญา

ด้วยเหตุนี้
จึง ขอเชิญชวนเพื่อนๆสมาชิก มาเจริญ อานาปนสติให้ยิ่งๆขึ้นไปเถิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นำ พระพุทธวจนะมาฝากครับ เรื่อง ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน

พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


แสดงถึงความสัมพันธ์ ของฌาน และ ปัญญา เป็นเครื่องส่งเสิมให้ใกล้พระนิพพาน

ฌาน ในอรรถนี้ ย่อมหมายเอา สัมมาสมาธิของพระอริยะ แน่นอน...คงไม่น่าจะใช่ฌานฤาษี ทั่วๆไป

คำว่า ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา สื่อถึง สัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน) ต้องมีปัญญาในอริยมรรค(ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ)เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบ

คำว่า ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน สื่อถึง ปัญญาที่เป็นอริยผล(สัมมาญาฌะ) ย่อมสืบเนื่องไปจากสัมมาสมาธิของพระอริยะ(ฌาน)นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีพระสูตรที่ตรัสถึง " สมถะ และ วิปัสสนนา คู่เคียงกันไป" มาเสนอเพิ่มครับ


[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 9:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน?

คือ สมถะและ วิปัสสนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค




พระสูตรนี้ ตรัสถึง การเจริญ สมถะ และ วิปัสสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง...

พึงสังเกตุ... ไม่ใช่เฉพาะวิปัสสนาเท่านั้น ที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง... แต่ สมถะ พระพุทธองค์ท่านก็ตรัสให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เช่นกัน

ปัญญาอันยิ่งที่ใช้เจริญสมถะ ในที่นี้ คือ ส่วนที่เป็นอธิปัญญาสิกขาในอริยมรรคที่มีองค์แปด(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) ซึ่งเป็น เหตุ เป็นองค์ประกอบ ของสัมมาสมาธิ(สมถะ)นั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 11:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอร่วมสนทนาด้วย
ไม่มีสมาธิ ย่อมไม่มีฌาน ไม่มีฌาน ย่อมไม่มีสมาธิ สมาธิสามารถกลายป็นฌานได้ ฌานสามารถกลายเป็นสมาธิได้ เคยได้ยินไหม พลิกนิดเดียว ตัวแปรที่ทำให้เป็นเช่นนี้ได้ก็คือ สติ นั่นเอง
กุศลแต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน รู้นั้นย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา อย่างกรณีที่คุณยกมา
...................................................................................
การที่ชาวพุทธบางท่าน “ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา” ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน “แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น”
.................................................................................
เหตุที่เขาแยกไม่ได้ เพราะอาจจะขาดการศึกษาในเรื่องภาษาสมมุติบัญญัติในการใช้เรียกสื่อสารกัน เช่นสมาธิ เป็นสมถะ การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเรียก วิปัสสนา ถ้าเราไปมองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหา ถ้าเราไม่มองว่าเป็นปัญหา มันก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะมันเป็นเพียงความคิดของแต่ละคน
...................................................................................
จากข้อความตรงนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌาน(....ทุยฌาน.... ตติยฌาน... จตุถฌาน)นี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
.................................................................................

รู้ไหมทำไมถึงกล่าวว่าการเจริญก้าวขึ้นสู่ฌานต่างๆ จึงตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและเจริญวิปัสสนา
สมาธิเป็นสมถะ เมื่อเกิดปีติ สุข เราก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความชอบหรือชังหรือไปให้ค่าความหมายใดๆทั้งสิ้น มันคือวิปัสสนา เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ จากฌาน 1 ย่อมเจริญขึ้นสู่ ฌาน 2 3 4 ดังจากข้อความตรงนี้

[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เห็นคำว่า สติ ที่สอดแทรกไว้ไหม

การตีความนี่สำคัญมากๆ รู้แค่ไหนย่อมตีความได้แค่นั้น ( อันนี้เราไม่มีการมาเพ่งโทษกัน เพียงแต่กล่าวตามความเป็นจริง ) เหมือนเรื่อง วิปัสสนา 100 % ที่คุณกล่าวถึง
...................................................................................
จากข้อความตรงนี้ที่คุณนำมา

ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลัง(และทางพม่าถือตาม)จัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา คือ แบ่งเป็น
1.สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย

ตรงนี้แหละ ที่จะถามว่า คุณไปนำมาจากที่ไหน วันนี้ดึกแล้ว ต้องขอตัว พรุ่งนี้จะนำข้อความที่คุณกล่าวถึง 2 หัวข้อนี้มาให้อ่าน และจะชี้แต่ละจุดให้เห็นว่า คุณอาจจะอ่านแต่อาจจะขาดรายละเอียดในการตีความ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 6:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:


[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เห็นคำว่า สติ ที่สอดแทรกไว้ไหม




ขอบคุณครับ

เห็นคำว่า สติ ที่สอดแทรกอยู่เช่นกันครับ

และไม่สงสัยเลยว่า สัมมาสมาธิ จะมีสติบริสุทธิ์...หาใช่ สมาธิหัวตอ ที่ปราศจากสติ แต่อย่างใด
เพราะ ดังที่ทราบกันดีอยู่ว่า "เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะ"(จาก มหาจัตตารีสกสูตร)
ถ้าเป็น สัมมาสมาธิ จะต้องมีสัมมาสติควบคู่กันมาด้วยเสมอ...หาใช่เพียงการเข้าไปสงบเฉยๆ ดังที่บางท่านเข้าใจกัน

และ เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับที่ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไว้ในหนังสือพุทธธรรมหน้า 365

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด
มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83)

ๆลๆ


ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไรนั้น

พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์

(วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)

ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก
จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี วิตกวิจาร



ตรงนี้ คือ คำอธิบายว่า ทำไม สัมมาสมาธิ ในระดับทุติยฌานเป็นต้นไป(ที่ปราศจากวิตก วิจาร) สามารถใช้เป็นบาทของการเจริญวิปัสสนาต่อไปได้.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 6:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:
ขอร่วมสนทนาด้วย

ไม่มีสมาธิ ย่อมไม่มีฌาน ไม่มีฌาน ย่อมไม่มีสมาธิ สมาธิสามารถกลายป็นฌานได้ ฌานสามารถกลายเป็นสมาธิได้ เคยได้ยินไหม พลิกนิดเดียว ตัวแปรที่ทำให้เป็นเช่นนี้ได้ก็คือ สติ นั่นเอง




บัญญัติศัพท์ที่ใช้ อาจไม่ตรงกันครับ
ลองพิจารณาดูน่ะครับ

คำว่า สมาธิ นั้น ถ้าแยกตามกำลังแห่งสมาธิ(ตามคัมภีร์รุ่นหลัง) เป็น

1.ขณิกสมาธิ
2.อุปจารสมาธิ
3.อัปปานาสมาธิ



และ คำว่า สมาธิ ถ้าแยกตาม เหตุ และ องค์ประกอบ เป็น

1.มิจฉาสมาธิ ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น (จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์)

2.สัมมาสมาธิ ก็ ถือตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ คือ
2.1เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ(หรือ เทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔
จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351
2.2 สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นสมาธิที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)



ประเด็น
มีฌานที่ไม่เป็นสัมมาสมาธิไหม?


ความเห็น
ฌานที่ไม่เป็นสัมมาสมาธินั้น ก็คือ ฌานที่ไม่พาไปสู่ขั้นการเดินมรรคด้านปัญญา เช่น ฌานฤาษี ที้เข้าไปสงบเฉยๆ โดยไม่ออกพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะปราศจากสัมมาสติ

ประเด็น
สัมมาสมาธิ จากระดับพระสูตรแล้ว ต้องเป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับแน่วแน่(ฌาน)ไหม?...
สมาธิในระดับขณิกสมาธิ และ อุปาจารสมาธิ นับเป็นสัมมาสมาธิไหม?


ความเห็น
จากระดับพระสูตรนั้น ทรงระบุสัมมาสมาธิว่ามีกำลังแห่งสมาธิเท่ากับ รูปฌาน1 ถึง รุปฌาน4 (บางพระสูตรก็นับรวม ฌาน5)แน่นอนครับ.... ไม่นับรวมสมาธิในระดับขณิกสมาธิ และ อุปาจารสมาธิ ไว้ครับ

แต่ ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธ วิธีการเจริญกำหนดวิปัสสสนาโดยไม่ได้ฌานก่อน(เช่น แนวทางที่1 และ 2 ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้) น่ะครับ... ใน การปฏิบัติเช่นนี้ ในขั้นตอนการเดินมรรค สามารถใช้กำลังสมาธิเพียงระดับขณิกะ หรือ ขณิกะต่อกับอุปจาระสมาธิก็เพียงพอ(จาก หนังสือพุทธธรรม) ส่วนตอนที่บังเกิดเป็น มรรคสมังคี สมาธิจะพัฒนาเข้าสู่ระดับแน่วแน่เป็นสัมมาสมาธิ(ที่มีกำลังแห่งสมาธิระดับฌาน)ในภายหลังเอง ตรงกับพระพุทธวจนะในพระสูตรครับ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 08 ก.ค.2008, 7:08 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 6:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:


...................................................................................
การที่ชาวพุทธบางท่าน “ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา” ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน “แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น”
.................................................................................
เหตุที่เขาแยกไม่ได้ เพราะอาจจะขาดการศึกษาในเรื่องภาษาสมมุติบัญญัติในการใช้เรียกสื่อสารกัน เช่นสมาธิ เป็นสมถะ การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเรียก วิปัสสนา ถ้าเราไปมองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหา ถ้าเราไม่มองว่าเป็นปัญหา มันก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะมันเป็นเพียงความคิดของแต่ละคน




ผมเห็นว่า เป็นปัญหาครับ

เพราะ บางท่านที่เชื่อ ในเรื่อง สุทธวิปัสสสนายานิก(วิปัสสสนาล้วน100%)เช่นนี้ ถึงขนาดกล่าวว่า ก่อนที่แนวทางนี้ จะเข้ามาในไทย ในอดีตพระในประเทศไทยพากันแต่เจริญและสอนกันแต่เพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียว ไม่มีส่วนของวิปัสสสนากรรมฐานเลย.

และ อีกสารพัดปัญหาที่ตามมาจากความเห็นเช่นนี้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 7:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุกับจิตอันเป็นกุศลที่พยายามอนุรักษ์สัมมาสมาธิ สาธุ
แค่แวะมาอ่านตอนเช้าค่ะ คงจะคุยอะไรยาวๆไม่ได้
.................................................................................
แต่ขอแจมตรงข้อความนี้ก่อนนิดนึง จากข้อความที่คุณนำมาสนทนา

คำว่า สมาธิ นั้น ถ้าแยกตามกำลังแห่งสมาธิ(ตามคัมภีร์รุ่นหลัง) เป็น

1.ขณิกสมาธิ
2.อุปจารสมาธิ
3.อัปปานาสมา
.................................................................................

มันไม่ได้มีแค่ตรงนี้ค่ะ อุปจารฌาน ( สมาธิที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง อุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ )เคยได้ยินไหมคะ คือเมื่อทำสมาธิแล้วเข้าสู่อัปปนา ถ้าสติมากพอถอยออกมาจากอัปปนาได้ สมาธิตัวนี้จะตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารสมาธิ และไม่ไปติดนิ่ง ( อัปปนา หรือที่เราเรียกตามสมมุติบัญญัติว่าฌาน ) การเข้าสู่ฌานแล้วมันจะดับไปหมดค่ะ ไปพิจรณาอะไรไม่ได้หรอก จนกว่าสมาธิจะคลายและถอยออกมาจากฌานเอง
................................................................................
ไว้มาสนทนากันใหม่ค่ะ มีหลายอย่างที่จะแจงรายละเอียดที่มันขาดหาย
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:


วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย

ตรงนี้แหละ ที่จะถามว่า คุณไปนำมาจากที่ไหน




เรื่อง วิปัสสสนายานิก100% หรือ บางคัมภีร์ ใช้คำว่า "สุทธวิปัสสนายานิก"(สุทธะ มาจาก บริสุทธิ์ สื่อถึงวิปัสสนาล้วนๆ100%) นั้น
คุณลองอ่าน ความเห็นของอาจารย์ท่านหนึ่ง ดังนี้เอาเองน่ะครับ


".....ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ เพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง...."



ตรงนี้ ผมมองว่า ถ้าถึงขนาดกำหนด"ห้ามไม่ให้ทำจิตให้สงบ" คือ ในการเดินมรรคต้องปราศจากส่วนของสมถะเลย คงไม่ตรงกับที่ท่านพระอานนท์กล่าวว่า "เจริญวิปัสสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"ครับ
เพราะ ที่ท่านพระอานนท์กล่าว คำว่า "มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"นั้น ก็คือ สิ่งที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านอธิบายไว้ดังนี้ต่างหากครับ

จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


ปล.... คำว่า "วิปัสสนายานิก" ที่ท่านเจ้าคุณกล่าวนี้ ไม่ใช่ความหมายเดียวกับ วิปัสสสนา100%(สมถะ0%) อย่าง ที่บางท่านเข้าใจกันน่ะครับ.ท่านกล่าวชัดเจนครับ ว่าในขั้นการเดินมรรคนั้น ก็มีการใช้สมถะในระดับขณิกะ หรือ ขณิกะต่ออุปจาระสมาธิ.... ส่วน เมื่อ บรรลุมรรคผล สัมมาสมาธิ(ที่เป็นระดับฌาน) ก็จะบังเกิดขึ้นเช่นกันครับ

สัมมาสมาธิ ที่เป็นสามธิที่มีกำลังระดับฌานนั้น จึงต้องบังเกิดขึ้นกับทุกท่านถ้าเดินมรรคถูกทาง ไม่ว่า จะในแนวทางไหนๆ ใน3แนวทาง(ตามที่ท่านพระอานนท์กล่าว)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลอง พิจารณาคำสอนของอาจารย์ท่านนี้ ให้ดีๆน่ะครับ

มีทั้งส่วนที่ถูก และ ส่วนที่ผิด


".....ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ เพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง...."



ที่ท่านกล่าวว่า
"เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน"
ตรงจุดนี้ มีส่วนถูกครับ เพราะสมาธิที่ไม่มีปัญญาในอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบ แล้ว...สมาธินั้น ก็คือ มิจฉาสมาธิ นั้นเอง

แต่ ที่ผมกล่าวว่าท่านกล่าวผิดนั้น
อยู่ตรงที่ ท่านไม่แยก มิจฉาสมาธิ ออกจาก สัมมาสมาธิ เสียก่อน....
แล้วท่านก็เหมารวมทั้ง มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ไว้ด้วยกัน....นำไปสู่บทสรุปที่ว่า สมาธิล้วนอันตรายทุกประเภท...

คล้ายๆกับกรณี
แทนที่เราจะกล่าวว่า "พึงระวังยาพิษเพราะมีโทษ แต่ควรรู้จักใช้ประโยชน์จากยารักษาโรคที่ดี"
เรากลับไปกล่าวว่า "ยาทุกชนิดอันตราย และ ควรงดบริโภคทั้งสิ้น"โดยไม่แยกระหว่าง ยาพิษ กับ ยารักษาโรคที่ดี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 8:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดียามเย็น เข้ามาอ่านข้อความต่อแล้วรู้สึกว่าเหนื่อยจัง เพราะมันเกิดคิดถึงคำพูดของครูบาฯที่ท่านเพิ่งกล่าวไปหมาดๆว่า ปริยัติ เขามีไว้รู้แล้วนำมาคุยกัน ที่พูดว่าเหนื่อยจังไม่ใช่อะไรหรอก เพราะตัวเองค่อนข้างจะมีพื้นฐานด้านปริยัติน้อย ฉะนั้นจึงต้องพยายามนำในเรื่องของการปฏิบัติมานำเสนอในแบบของปริยัติ มาสื่อสารให้ตรงกันมันเป็นเรื่องทีเหนื่อยพอสมควร แต่ก็ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ได้แสดงข้อคิดเห็น โดยไม่มาเพ่งโทษต่อกัน โดยไม่มายกตนข่มท่านว่ารู้มากกว่าผู้อื่น จริงๆแล้วไม่มีใครรู้มากกว่าใครหรอก เพียงแต่อาจจะรู้แตกต่างกันไป เนื่องจากการได้ศึกษา การได้ปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติ จึงทำให้รู้นั้นแตกต่างกันไป การที่มาสนทนากันแล้วให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครเสียมีแต่ได้ ผู้ที่เข้ามาอ่านก็พลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย

มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน จะไล่ไปทีละหัวข้อนะ
...............................................................................
ข้อความ ที่คุณตรงประเด็นนำมา

“ระวังน่ะ จะเป็นสมถะเข้า.....
.ระวังน่ะ เดี๋ยวจิตสงบ จะติดสุขจากสมาธิเข้า.....และ จะเสียเวลาในการเจริญวิปัสสนา....
.ระวังน่ะ จะกลายเป็นฤาษี.... ”
..............................................................................
จากข้อความตรงนี้คาดว่า ( แบบว่าคาดเดาเอาเอง เพราะไม่ได้อยู่ในขณะที่เขาสนทนากัน ) เป็นความหวังดีของครูบาฯท่านมากกว่า ท่านเคยผ่านสภาวะตรงนี้มา เลยนำมาแนะนำต่อ แต่การบันทึกอาจจะตกหล่นไปคือ สมถะยังไงๆก็ต้องคู่วิปัสสนา เพียงแต่อาจจะทำวิปัสสนาก่อนแล้วเกิดสมถะ หรือทำสมถะและทำวิปัสสนาควบคู่ หรือทำสมถะแล้วจึงค่อยทำวิปัสสนาตาม ดังจากข้อความที่คุณนำมาโพส

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

สมถะและวิปัสสนาจะแยกออกจากกันเด็ดขาดไม่ได้ เพราะการที่จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาได้นั้นต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ( สมถะ ) เป็นบาท เมื่อพละ ๕ พร้อมก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นเอง
....................................................................................
ข้อความ ที่คุณตรงประเด็นนำมา

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา
สมาธิ ฯ
...............................................................................
จากข้อความตรงนี้ เป็นเรื่องอารมณ์ขององค์ฌาน ที่กล่าวว่าเป็นอารมณ์เพราะฌานเป็นอารมณ์บัญญัติหาใช่สภาวะไม่ ส่วนสภาวะเป็นตัวเดียวกับปรมัติถ์ ( อันนี้ก็ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่ใช่เพราะฟังจากครูบาฯมาอีกที ข้อความอาจจะไม่สมบูรณ์ 100 % ถ้ามีการผิดพลาดประการใด ขอรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียว)
วิตก วิจาร จะละได้ ถ้าสมาธิแนบแน่นพอ
ปีติ สุข จะละได้ ถ้ามีสติมากพอ
เริ่มตั้งแต่ปฐมฌาน เมื่อเข้าสู่อัปปนา มันจะดิ่งขาดความรู้ตัว ทุกอย่างดับหมด เราต้องอาศัยอารมณ์บัญญัติเข้าช่วยเพื่อให้จิตมีที่เกาะจะได้มีความรู้ตัว ( สติ สัมปชัญญะ ) เกิดขึ้น อาจจะใช้รู้หนอๆๆๆๆๆ คือสักแต่ว่ารู้ ไม่ต้องไปรู้ว่ารู้อะไร เมื่อทำบ่อยๆเข้า จิตจะบันทึกไว้ตลอด จะเกิดการรู้ตัวขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยตัวบัญญัติให้จิตเกาะ มันจะถอยออกมาจากฌานเอง โดยที่ยังคงสมาธิอยู่ แต่เป็นสมาธิระหว่างอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ สมาธิตรงนี้จะตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจาร สมาธิอุปจารส่วนมากจะเกิดนิมิต คนส่วนมากเลยติดนิมิต แต่ตรงอุปจารฌานจะไม่มีนิมิต จาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4 หากขาดความต่อเนื่อง จาก 4 อาจจะตกลงมาที่ 3 2 1 ได้ แต่จะไม่ต่ำไปกว่านี้ แต่ถ้า 1 ยังไม่พ้น 2 จะไป 3 4 ไม่ได้ บางคนเข้าใจผิดไปว่า จาก 1 แล้วไปสู่ 2 3 4 ในเวลาเดียวกัน หรือในขณะเดียวกัน อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ยกเว้นคนที่มีกุศลเก่าติดตัวมา สัญญาเก่าเลยแรง เมื่อมาปฏิบัติเลยเข้าสู่ฌาน 4 ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าน 1 2 3
ผู้ที่ผ่านเข้าออกฌาน 4 ได้ดูง่าย คือคนที่นั่งสมาธิแล้วเข้าสู่สมาธิได้ทันที
อย่างที่กล่าวไว้ครั้งแรก ทำสมาธิให้เป็นฌาน ทำฌานให้เป็นสมาธิ พลิกนิดเดียว ตัวแปรคือ สติ นั่นเอง
....................................................................................
ข้อความ ที่คุณตรงประเด็นนำมา

ประเด็น
การภาวนา ระวังจะเป็นสมถะเข้า
................................................................................
จากตรงนี้ เพียงจะบอกว่า ตราบใดที่ยังมีการภาวนา ยังอาศัยอารมณ์บัญญัติอยู่ ก็เป็นสมถะ ต่อให้ระวังอย่างไรก็เป็นสมถะ
.................................................................................
ข้อความ ที่คุณตรงประเด็นนำมา

ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลัง(และทางพม่าถือตาม)จัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา คือ แบ่งเป็น
1.สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย
.................................................................................
ตรงนี้ ขอถามว่า เขาเขียนว่าเป้นการเจริญวิปัสสนา 100 % เลยหรือ หรือว่าตรงนี้คุณนำมาอธิบายความเอง ถามก่อน ไว้ค่อยสนทนากันต่อ ตอบตรงนี้ก่อน แล้วจะนำข้อความที่คิดว่าจากข้อความข้างบนที่คุณนำมาโพสนั้น มันขาดหายไป มันไม่ใช่นะเท่าที่อ่านมา และก็ปฏิบัติแนวนี้อยู่ จึงคิดว่าข้อความเขาอาจจะถ่ายทอดมายังไม่ละเอียดมากกว่า
.............................................................................
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:


ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลัง(และทางพม่าถือตาม)จัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา คือ แบ่งเป็น
1.สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย
.................................................................................
ตรงนี้ ขอถามว่า เขาเขียนว่าเป้นการเจริญวิปัสสนา 100 % เลยหรือ หรือว่าตรงนี้คุณนำมาอธิบายความเอง ถามก่อน ไว้ค่อยสนทนากันต่อ ตอบตรงนี้ก่อน แล้วจะนำข้อความที่คิดว่าจากข้อความข้างบนที่คุณนำมาโพสนั้น มันขาดหายไป มันไม่ใช่นะเท่าที่อ่านมา และก็ปฏิบัติแนวนี้อยู่ จึงคิดว่าข้อความเขาอาจจะถ่ายทอดมายังไม่ละเอียดมากกว่า
.............................................................................
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ สาธุ





ท่านอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ครับ

อ้างอิงจาก:
แนวที่ ๒ เรียกว่า "วิปัสสนายานิกะ" คือ เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วนๆ ทีเดียว





แนวคิดนี้ ท่านผู้รู้หลายท่าน เช่น เจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์
ท่าน อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ๆลๆ ท่านไม่เห็นด้วยครับ

และ ท่าน อ. เสฐียรพงษ์ ท่าน แสดงความเห็นค้านไว้ดังนี้

".....แล้วมีในหลักวิชาที่เขาบอกว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้ผ่านทางสมถะก็เป็นพระอรหันต์ได้ หรือจะผ่านทางสมถะก่อน จนกระทั่งได้กสิณได้ฌาน แล้วใช้ฌานนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ก็เป็นพระอรหันต์ได้

ในทฤษฎีกล่าวไว้เช่นนั้น
แต่ในหลักปฏิบัตินั้นไม่มีการตรัสรู้ใดๆ ไม่มีการบรรลุใดๆ ที่ไม่ได้ผ่านสมถะ ต้องมีพลังสมาธิพอสมควร อย่างน้อยก็ได้ขณิกสมาธิ มีสมาธิพอสมควรแล้วถึงจะนำเข้าไปสู่วิปัสสนา ก็สามารถบรรลุได้ เรียกว่าบรรลุโดยวิปัสสนาล้วนๆ โดยซึ่งความหมายจริงๆ มันก็ไม่ล้วน เพราะมีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง

ในหลักวิชาพูดว่ามี สุกขวิปัสสก พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมโดยผ่านวิปัสสนาเท่านั้น แต่ความจริงไม่เท่านั้น เพราะว่าก่อนจะถึงวิปัสสนาก็ต้องผ่านสมถะก่อนอยู่แล้ว...."



ปล... คำว่า "ในหลักวิชา" ที่ ท่าน อ.เสฐียรพงษ์ ท่านกล่าวไว้นั้น หมายถึง หลักวิชาจากคัมภีร์ของอาจารย์รุ่นหลัง ไม่ใช่ระดับพระสูตรน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จริงๆแล้ว เมื่อวานได้มาโพสข้อความสนทนากับคุณตรงประเด็นไว้ เรื่อง" สุกขวิปัสสก พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมโดยผ่านวิปัสสนาเท่านั้น " ซึ่งการตอบเรื่องนี้ได้นำข้อมูลมาจากหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา และเรื่องสมถกัมมัฏฐาน นำมาจากหนังสือจัตตาโร สติปัฏฐานา ทั้งสองเล่มรจนาโดย หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ เป็นที่น่าเสียดายที่ข้อความทั้งหมดถูกระงับไป เท่าที่อ่านทบทวนแล้วไม่เห็นว่าจะมีข้อความตรงไหนไปละเมิดครูบาฯท่านใด แต่ข้อความนั้นทางเว็บอาจจะเห็นว่าไม่สมควรนำมาโพส
.....................................................................
จากข้อความที่คุณตรงประเด็นนำมาโพส

ในหลักวิชาพูดว่ามี สุกขวิปัสสก พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมโดยผ่านวิปัสสนาเท่านั้น แต่ความจริงไม่เท่านั้น เพราะว่าก่อนจะถึงวิปัสสนาก็ต้องผ่านสมถะก่อนอยู่แล้ว...."
................................................................................
คงจะไม่นำข้อความมาโพสใหม่แล้ว ( คำตอบ ) เพราะคิดว่าครั้งที่ผ่านมาเขายังระงับไป ครั้งนี้ถ้านำมาโพสอีกก็คงต้องถูกระงับอีก
จริงๆแล้วแนวทางเรื่องการปฏิบัติ ไม่น่าจะแบ่งแยกกันไม่ว่าจะเป็นของพม่าหรือไทย เพราะท่านทั้งหลายที่นำแนวทางการปฏิบัติมาถ่ายทอดก็ล้วนแต่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติแล้วได้ผลของแต่ละท่าน
ถามนะคุณตรงประเด็น เท่าที่อ่านข้อความของคุณมา คุณค่อนข้างจะศึกษาด้านปริยัติมากกว่าดิฉัน เพียงจะถามว่า ตกลง สมาธิที่เรียกว่าเป็นสมถะนั้นเป็นสมาธิแบบไหน แบบได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน หรือขึ้นชื่อว่าเป็นสมาธิ ต้องเรียกว่าสมถะทั้งหมด
เพราะที่หลวงพ่อภัททันตะ ท่านบันทึกไว้ สมถะคือสมาธิที่ได้ฌาน เพราะฉะนั้นการที่ตำราพม่านำมากล่าวเรื่องสุขวิปัสสก เขาก็ย่อมจะตีความเช่นนั้น เพราะสุขวิปัสสก มีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง ( คือไม่ได้ฌาน ) เพราะฉะนั้นเขาย่อมไม่ได้นำมากล่าวผิด
ภาษาสมมติบัญญัติที่ใช้ในการสื่อ ทางพม่าเขาก็เจาะจงไว้แล้วว่า สมถะของเขาคือสมาธิระดับฌาน วิปัสสนาของเขาก็คือ ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ไปแทรกแซง ไม่ไปชอบ ไม่ไปชัง หรือไปให้ค่าความหมายในสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือแนวทางของเขาเท่าที่ได้อ่านมา
ไม่ว่าจะของไทยหรือพม่า ดิฉันมองว่าทั้งหมดก็คือการปฏิบัติ ล้วนเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ครูบาฯแต่ละครูบาฯท่านนำมาถ่ายทอดอีกทีสุดแต่จริตของใครจะทำแบบไหน หรือจะไม่ทำตามแนวทางของท่าน ท่านก็ไม่ได้มาบังคับอะไร
เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 9:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในการเจริญวิปัสสนายานิกะ ห้ามไม่ให้ทำจิตสงบ


อาจารย์สอนวิปัสสนาท่านหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ดังนี้ครับ


อ้างอิงจาก:
ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบเพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง



เช่นเดิม ครับสมาธิ ที่ท่านวิทยากรกำลังกล่าวถึงว่า เป็นสมาธิซึ่ง"เป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ"นี้ เรียกว่า มิจฉาสมาธิ
ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ครับ

คือ ท่านไม่แยกระหว่าง มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ออกจากกันเสียก่อน... แต่ท่านกล่าวแบบรวมๆ

ถ้าเป็นสัมมาสมาธิจริงๆ ก็จะต้องมีปัญญาในขั้นอริยมรรค คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ เป็นเหตุ เป็นองค์ประกอบนำมาอยู่แล้ว(ดังแสดงใน มหาจัตตารีกสูตร).... สัมมาสมาธิ จึงจะพาไปสู่ ปัญญาในขั้นอริยผล(สัมมาญาณะ)

ปัญญาในอริยผล(สัมมาญาณะ) จะไม่มีทางเกิดได้ถ้าไม่มีสัมมาสมาธินำหน้า
(จาก พุทธพจน์ เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ)

ปัญหา ตรงนี้ก็คือ ถ้าห้ามไม่ให้จิตสงบเพราะกังวลว่า จิตที่สงบโดยยังไม่มีปัญญาในอริยผล(สัมมาญาณะ)เกิดขึ้น จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ.... ซึ่ง ตรงนี้ต้องไม่ลืมว่า ถ้าสัมมาสมาธิยังไม่เกิด ปัญญาเห็นชอบในขั้นอริยผล(สัมมาญาณะ)จะไปเกิดก่อนได้อย่างไร?....ลองเรียงลำดับดูดีๆครับ


จาก มหาจัตตารีสกสูตร

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้





ส่วนเรื่อง การติดสุขจากสมาธินั้น มันก็เป็นปัญหาจริงๆ...ตรงนี้ ผมเห็นด้วยในส่วนหนึ่งครับ

แต่ การ"กลัวการติดสุขจากสมาธิ"จนเกินเหตุ ก็เป็นปัญหาอีกขั้วหนึ่งน่ะครับ... ถ้าถึงขนาด ต้องห้ามไม่ให้จิตสงบ มันก็เป็นปัญหาแน่ๆล่ะครับ

สุขจากสมาธิ ไม่ใช่ของน่ากลัว ดังที่มีบางท่านเข้าใจผิดกันน่ะครับ

พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเองว่า อย่ากลัวสุขจากสมาธิ


[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุข
เกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.




ที่พระองค์ทรงเตือน คือ ไม่ให้ติดตันยินดีหรืออาลัยอยู่เพียงสุขจากสมาธิ เพราะมีวิมุตติสุขที่เหนือกว่านั้นขึ้นไปอีกต่างหาก....ท่านไม่ได้สอนให้กลัวสุขจากสมาธิน่ะครับ

สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธินั้น ไม่ใช่ของน่ากลัวกันถึงขนาดนั้นหรอกครับ
ถ้ากลัวกันถึงขั้นต้องห้ามไม่ให้จิตสงบ มันก็เป็นปัญหาแน่ๆ

ลองพิจารณาดูน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 11:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ถามไว้ ยังไม่เห็นตอบเลย ตรงคำถามนี้

ถามนะคุณตรงประเด็น เท่าที่อ่านข้อความของคุณมา คุณค่อนข้างจะศึกษาด้านปริยัติมากกว่าดิฉัน เพียงจะถามว่า ตกลง สมาธิที่เรียกว่าเป็นสมถะนั้นเป็นสมาธิแบบไหน แบบได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน หรือขึ้นชื่อว่าเป็นสมาธิ ต้องเรียกว่าสมถะทั้งหมด

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ สาธุ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 4:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ walaipornครับ



ตอบตามที่เข้าใจน่ะครับ


อ้างอิงจาก:
ตกลง สมาธิที่เรียกว่าเป็นสมถะนั้นเป็นสมาธิแบบไหน แบบได้ฌานหรือไม่ได้ฌาน


"สมาธิ เป็น ผลของสมถะ"
ไม่ใช่ว่า "สมถะเป็นสมาธิแบบได้ฌาน หรือ ไม่ได้ฌาน"ครับ

ส่วน "สมาธิชนิดไหนที่นับว่าเป็นสมาธิระดับฌาน" นั้น พระสูตรที่ผมลงไว้ในความเห็นด้านต้นกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว ลองย้อนขึ้นไปอ่านดูอีกทีครับ


อ้างอิงจาก:
หรือขึ้นชื่อว่าเป็นสมาธิ ต้องเรียกว่าสมถะทั้งหมด


"สมาธิ เป็นผลของสมถะ"
ไม่ใช่ว่า "สมาธิต้องเรียกว่าสมถะทั้งหมด หรือไม่"ครับ

ส่วน สมาธิขั้นต้นๆที่ใช้ในการ"เจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"นั้น ก็เรียกว่าสมาธิเช่นกัน แต่ยังไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิ(ต้องย้อนไปอ่าน คำจำกัดความของ สัมมาสมาธิ ในพระสูตรข้างต้น)



อนึ่ง คำว่า "สมถะ"ในระดับพระสูตรที่ผมยกมาข้างต้นนั้น
ลองพิจารณาดีๆอีกทีครับ

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน?
คือ สมถะ และ วิปัสสนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


ก็ระบุชัดว่า สมถะที่เป็นพุทธพจน์นี้เป็นธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเช่นกัน หาได้ปราศจากปัญญาตามที่อาจารย์รุ่นหลังเข้าใจกันแต่อย่างใด

ดังนั้น ทั้งสมาธิ และ ปัญญา ที่เป็นองค์แห่งอริยมรรคจึงอิงอาศัยกัน อย่างไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง