Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคกันเถิด อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชวนกันอนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ให้ยืนยงคงอยู่คู่อริยมรรคที่มีองค์แปด....สืบไป

ในยุคนี้ จะได้ยินการกล่าวเช่นนี้กันบ่อยขึ้น
เวลาภาวนาให้ระวังน่ะ...โดย

“ระวังน่ะ จะเป็นสมถะเข้า.....
.ระวังน่ะ เดี๋ยวจิตสงบ จะติดสุขจากสมาธิเข้า.....และ จะเสียเวลาในการเจริญวิปัสสนา....
.ระวังน่ะ จะกลายเป็นฤาษี.... ”


ดังนั้นบางท่านจึงกล่าวว่า ควรเลือกเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยต้องระวังไม่ให้มีส่วนของ สมถะเข้ามาเจือปน!!!

ประเด็นคำกล่าวเหล่านี้ ดูจะเป็นที่กล่าวถึงกันมากขึ้นในสังคมชาวพุทธไทย
ซึ่ง ถ้าคงเป็นเช่นนี้ต่อไป
“สัมมาสมาธิ” ที่เป็นอริยมรรคข้อสุดท้าย ที่เป็นจุดประชุมรวมแห่งอริยมรรคทั้งหลาย(มรรคสมังคี) ....ก็คงจะถูกตีค่าเท่ากับ “ฌานฤาษี” ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย ควรหลีกเลี่ยง
และ ต่อไปคงไม่มีชาวพุทธไทยรุ่นใหม่ใส่ใจจะเรียนรู้ และ ปฏิบัติในอริยมรรคข้อนี้

การที่ชาวพุทธบางท่าน “ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา” ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน “แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น” กลับ เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเสียอีก..... เพราะนั่น หมายถึง ไตรสิกขาข้อสมาธิจะต้องถูกตัดออกข้อหนึ่ง หรือ อริยมรรคที่มีองค์แปดคือ"สัมมาสมาธิ"จะต้องถูกทอนออกจากอริยมรรค ให้เหลืออริยมรรคที่มีองค์เจ็ด.

จึง อยากเชิญชวนชาวพุทธมาทบทวน เรื่อง “สัมมาสมาธิ” กันครับ
เพราะ เราคงไม่สามารถอนุรักษ์ สิ่งที่เราไม่รู้จักอย่างดีได้....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“สัมมาสมาธิ” คือ อย่างไร?


สัมมาสมาธิ ที่อยู่ในพระสูตรโดยตรง มีกล่าวถึงคุณสมบัติไว้สำคัญ2ประการ คือ

1. เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ(หรือ เทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔

จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา
สมาธิ ฯ


2.สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นสมาธิที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)

เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ



ฌานฤาษี (เช่น การเพ่งกสิณ)ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับรูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ได้ก็จริง..... แต่ขาด คุณสมบัติข้อ2 ตามมหาจัตตารีสกสูตร. จึงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค และ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเห็นธรรม..... เว้นเสียแต่ จะนำฌานนั้นมาเจริญวิปัสสนาดังที่มีพระสูตรแสดงกล่าวเอาไว้

สัมมาสมาธิ เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ
ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิ ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.

เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิ เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองพิจารณาความเข้าใจ ในเรื่องนี้กันทีล่ะประเด็นน่ะครับ

โดยขอให้ พิจารณาตามแนวทางในพระสูตรโดยตรง.... ในจุดเหล่านี้ พระสูตรแสดงไว้ชัดเจนอยู่แล้ว จึงควรเลือกศึกษาจากพระสูตรโดยตรงเป็นอันดับแรกก่อน

แม้นแต่การศึกษาตาม บุคคลที่ชื่อว่าเป็น"อาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฎก" ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากพระสูตรดั้งเดิมได้ ถ้าหากอาจารย์ท่านนั้นได้ชื่อว่า”ทรงพระไตรปิฎก”แต่กลับไปใช้การอ้างอิงจากคัมภีร์รุ่นหลัง(เช่น ในแนวทางที่พม่าถือตาม)เข้า.....ด้วยว่า คัมภีร์รุ่นหลัง ในหลายจุด ไม่ไปในทิศทางเดียวกันกับพระสูตร


ประเด็น
การภาวนา ระวังจะเป็นสมถะเข้า


# ในระดับพระสูตร ท่านพระอานนท์ท่านได้สรุปประมวล แนวทางการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา ไว้ดังนี้


ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒


จาก http://www.84000.org/true/220.html


ถ้าพิจารณา จาก ที่ ท่านพระอานนท์กล่าวนี้
จะแยก แนวทาง การเจริญกรรมฐาน(ภาวนา) เป็น 3แบบ คือ

1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

ข้อ1. .เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า.... คือ ใช้ปัญญานำหน้าสมาธิ. แนวทางนี้ ปัญญาเด่น

ข้อ2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า..... คือ ใช้ สมาธินำหน้าปัญญา. แนวทางนี้ สมาธิเด่น

ข้อ3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป..... คือ เจริญทั้งสมาธิ และ ปัญญา ในระดับพอๆกัน ไม่มีสิ่งใดเด่นกว่าสิ่งใด

สังเกต จาก ที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้.... ทั้ง 3แนวนี้
ไม่มีแนวทางไหน ที่ปราศจากสมถะ100%เลย
เพราะ ทั้ง3แนวทางนี้ ต่างล้วนแต่ ต้องมีส่วนของ สมถะด้วยกันทั้งสิ้น อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปบ้างเท่านั้น


ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลัง(และทางพม่าถือตาม)จัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา คือ แบ่งเป็น
1.สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งในความหมายที่ผู้ศึกษาแนวทางนี้กล่าวถึง คือ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย


ลองเปรียบเทียบที่คัมภีร์ชั้นหลังแบ่ง กับ ในระดับพระสูตรที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้น่ะครับ

1.สมถะยานิกะ ก็คือ ตรงกับที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในแนวทางที่2(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า )นั่นเอง.

และ พระอานนท์ท่านได้กล่าวถึง การใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา โดยตรง .ในลักษณะ ได้เจริญสมถะล้วนๆเต็มรูปแบบมาก่อน และ นำองค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา. แบบนี้ จะตรงกับที่ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า เป็นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

ลองอ่านน่ะครับ
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=23985


รูปฌาน ๔

ขอเสนอ ให้ความสำคัญตรงที่กล่าวว่า

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌาน(....ทุยฌาน.... ตติยฌาน... จตุถฌาน)นี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
.

เป็น คำบรรยาย ถึงการใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง ในระดับพระสูตร ที่มีรายละเอียดชัดเจนมาก จุดหนึ่ง

และ ผลที่กล่าวไว้ในที่นี้ คือ หากไม่สิ้นอาสวะ(เป็นพระอรหันต์) ก็จะบรรลุอนาคามีผล

แต่วิธีในแนวทางนี้ คงไม่เหมาะกับฆราวาสทั่วไปที่ไม่ได้ปลีกตัวไปภาวนาในสถานที่อันเหมาะสม.วิธีการนี้ ก็คือ วิธีการที่พระสาวกที่ท่านได้เคยบำเพ็ญสมถะ100%(เช่น กสิณ)มาก่อน ใช้ต่อยอดเจริญวิปัสสนา






2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งถ้าเป็นในความหมายของการที่ต้องปราศจากส่วนของสมถะ(ซึ่งให้ผลเป็นสมาธิ)100%แล้ว ก็ไม่น่าจะตรงกัย วิธีที่1(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า )ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้. เพราะท่านพระอานนท์ก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า เจริญวิปัสสนา"มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"..... คือ ก็ยังคงต้องมีส่วนของสมถะ(ซึ่งมีผลคือสมาธิ)มาประกอบอยู่ดี



อนึ่ง ในไตรสิกขา มี ศีล สมาธิ ปัญญา..... ถ้าสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสมาธิไว้ในไตรสิกขา ทำไม

และ ในอริยมรรคที่มีองค์แปด มี"สัมมาสมาธิ"เป็นองค์แห่งมรรคในข้อสุดท้าย เป็นที่ประชุมรวมลงแห่งองค์แห่งอริยมรรคอีกทั้งเจ็ด. ถ้า สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสัมมาสมาธิไว้ในองค์แห่งอริยมรรค ทำไม.....


การเจริญภาวนา จึงมิใช่ว่า จะต้องระมัดระวังว่าจะมีส่วนแห่งสมถะ(ซึ่งมีผลคือ สมาธิ)..... ประเด็นที่แท้จริง จะอยู่ตรงที่ว่า สมาธิที่บังเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็น”สัมมาสมาธิ” คือ สมาธิที่นำไปสู่ปัญญา ตามหลักไตรสิกขา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็น การติดสุขจากสมาธิ เป็นเหตุให้ไม่เดินมรรคสู่ขั้นปัญญา

# ตรงจุดนี้ มีส่วนถูกในบางส่วน..... เพราะ สุขในสมาธิ อาจจะมีส่วนให้ติดตันอยู่แค่นั้นได้จริง..
แต่ พระพุทธองค์ ท่านไม่ได้ตรัสให้กลัวสุขจากสมาธิ.


สุขจากสมาธิ ไม่ใช่ของน่ากลัว ดังที่มีบางท่านเข้าใจผิดกันน่ะครับ
พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเองว่า อย่ากลัวสุขจากสมาธิ

จาก http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=13&lstart=3253&lend=3507


[๑๘๓] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุข
เกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้. ….”



ที่พระองค์ทรงตรัสเตือน ต่อจากพระพุทธวจนะบาทนี้
คือ ไม่ให้ติดตันยินดีหรืออาลัยอยู่เพียงสุขจากสมาธิ เพราะมีวิมุตติสุขที่เหนือกว่านั้นขึ้นไปอีกต่างหาก

ไม่ใช่ตรัสห้ามไม่ให้ฝึกสมาธิ อย่างที่มีบางท่านเข้าใจผิดกันครับ

การฝึกสมาธิ ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์น่ะครับ
อย่าประเมินค่าของสมาธิต่ำกว่าความเป็นจริง

โดยเฉพาะในภาวะที่ เราคิดวน และสมองประสาท เริ่มล้าจากการคิดวน ....สมองและระบบประสาทจะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ...สติจะเบลอร์

จิตลหุตา จิตปัสสัทธิ ที่เป็นอานิสงส์ของสมาธิจิต เอื้อให้สติทำงานได้คล่องตัวขึ้น

มีการทดลองของมหาวิทยาลัยเพนซินวาเนีย โดยให้ชาวอเมริกันที่ไม่เคยศึกษาพุทธศาสนามาก่อน ทดลองฝึกอานาปนสติช่วงยาวๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอช่วงหนึ่ง โดยพบว่า อาสาสมัครมีความจำ การเรียนรู้ และความคิดแบบเป็นระบบ ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

อยากเสนอให้ เพื่อนสมาชิก ถ้าพอมีเวลาว่าง....ลองฝึกอานาปนสติกันดูเหมือนกัน

และ
ก่อนที่จะกลัว การติดสุขจากสมาธิ ควรทำให้สมาธิบังเกิดเสียก่อน....
อย่าเพิ่งกลัวสิ่งที่ยังไม่เกิด จนเป็นเหตุให้ละเลยการฝึกสมาธิ.... และไม่ได้รับประโยชน์จากที่ควรจะได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็น การฝึกสมาธิอาจทำให้กลายเป็นฤาษี


# ความเห็นนี้ก็มีบางส่วนที่ถูกอยู่เหมือนกัน.... เพราะถ้าติดตันอยู่เพียง สุขจากสมาธิ ก็จะคล้ายๆกับพวกฤาษี ที่ติดตันอยู่ในรูปภพ หรือ อรูปภพ

อนึ่ง ที่ฌานของฤาษี ให้เพียงความสุข และ ความสามารถทางจิตบางประการ แต่ ไม่เอื้อต่อการเห็นธรรม นั้น.... เป็นเพราะ สมาธินั้นไม่ใช่”สัมมาสมาธิ” ด้วยว่า ไม่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการ เช่น ที่สัมมาสมาธิ มี....

ถ้าเราเข้าใจตรงจุดนี้ไว้ตั้งแต่ต้น เราก็สามารถจะระมัดระวังในจุดนี้ได้

และ ก็คงไม่เป็นเหตุผลอันสมควรที่ชาวพุทธในไทยปัจจุบันจะเลิกการฝึกสมาธิกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็น ไม่จำเป็นต้องได้ฌานในขั้นตอนตั้งแต่ต้นของการเดินมรรค ก็สามารถเตริญวิปัสสนาไปได้เลย

# ความเห็นนี้ ถูกต้องครับ.....

ในการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา 3แนวทาง ที่ท่านพระอานนท์ท่านสรุปไว้นั้น มีเพียง แนวทางที่2(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า)เท่านั้น ที่ต้องได้ฌาน และ ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา

ส่วนที่เหลือ อีก2วิธีนั้น ไม่จำเป็นต้องได้ฌานก่อน สามารถเจริญวิปัสสสนาได้โดยตรงเลย

อนึ่ง ถึงแม้น สัมมาสมาธิ จะมีกำลังแห่งสมาธิ อยู่ในระดับ(หรือเทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ก็จริง..... แต่ ผู้ที่ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ ไม่จำเป็นต้องได้ฌานมาก่อน (ผู้ที่ได้ฌานก่อน แล้วค่อยมาเจริญวิปัสสสนาจะเป็น แนวทางที่2ครับ). ผู้ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ สามารถเจริญวิปัสสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องไปกังวล เรื่องฌานแต่อย่างใด
ส่วน เมื่อบังเกิดมรรคสมังคีเมื่อใด .....สัมมาสมาธิ จะต้องบังเกิดมีขึ้นเช่นกัน(มีสมถะเป็นเบื้องหน้า)


# ใน แนวทางที่1 เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

ก็มีพระสาวกจำนวนมากมายในครั้งพุทธกาล ที่มาในแนวนี้ เช่น ท่านที่ไม่เคยออกบวชบำเพ็ญฌาน หรือ เจริญสติปัฏฐานมาก่อนเลย แต่ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระศาสดา ส่งจิตตามพระธรรมเทศนา และบรรลุอรหัตผลไปเลย ณ ที่นั้น. แต่ ผมเองมองว่า ท่านเหล่านั้น เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม ที่มีพื้นฐานของจิตที่สงบในระดับหนึ่งอยู่แล้ว.... เรียกว่า ไม่จำเป็นต้องมาฝึกสมาธิเลยเสียด้วยซ้ำ .... อาจจะเป็นเพราะ ท่านเหล่านั้นมีบารมีแต่หนหลังอยู่แล้ว หรือ เป็นเพราะ สิ่งแวดล้อมบ้านเมืองในสมัยนั้น ไม่ได้สับสนวุ่นวายเหมือนในสมัยนี้. แต่ในยุคสมัยนี้ สังคมเป็นเช่นนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีบุคคลที่มีจิตสงบอยู่แล้วโดยพื้นฐาน เช่น ท่านเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน.....

แต่ ผมก็เห็นด้วยทุกประการน่ะครับ ถ้าใครจะกล่าวว่า "สามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องได้ฌานเสียก่อน".เพราะ มีหลักฐานปรากฏจริงๆ ให้เห็นในครั้งพุทธกาล


อนึ่ง แนวทางนี้ ในตอนขั้นดำเนินมรรค ก็ยังคงต้องมีสมาธิระดับหนึ่ง(ที่ยังไม่ถึงขั้น สัมมาสมาธิ)อยู่ดี เช่นที่ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไว้ใน หนังสือพุทธธรรม

"....วิธีการที่มุ่งเฉพาะด้านปัญญา คือการปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้บ้าง
แล้วในเรื่องสัมมาสติ เป็นวิธีปฏิบัติที่สติมีบทบาทสำ คัญ คือ ใช้สมาธิแต่
เพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำ เป็นสำ หรับการปฏิบัติ หรือใช้สมาธิเป็นเพียงตัวช่วย
แต่ใช้สติเป็นหลักสำคัญ สำหรับยึดจับหรือมัดสิ่งที่ต้องการกำ หนดไว้ ให้
ปัญญาตรวจพิจารณา นี้คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนา
แท้จริงนั้น ในการปฏิบัติวิธีที่ ๑ นี้ สมถะก็มีอยู่ คือการใช้สมาธิขั้น
ต้นๆ เท่าที่จำเป็น...."


ท่านผู้รู้ ท่านจัดสมาธิที่จำเป็นต้องใช้ในขั้นการดำเนินมรรคตรงนี้ว่า เป็น สมาธิระดับ ขณิกสมาธิ หรือ อุปจาระสมาธิ เท่านั้น .ดังนั้น “การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า”นี้ ในขั้นการเดินมรรค ก็ยังคงต้องมีส่วนของสมถะในระดับหนึ่งปะปนอยู่ดี



# ในแนวทางที่3 คือ การเจริญ สมถะ และ วิปัสสสนา ควบคู่กันไป

ก็คือ กรรมฐานส่วนใหญ่ใน มหาสติปัฏฐาน นั่นเอง

แต่ แนวทางในมหาสติปัฏฐาน เช่น กายคตาสติ นี้ ก็ยังคงถูกมองจากบางท่านว่า เป็นเพียงอุบายแห่งสมถะอย่างเดียวอีกตามเคย และ กล่าวเหมือนว่าไม่ควรเสียเวลามาฝึกเจริญกัน....

ในขณะที่ท่านพระอานนท์ผู้เป็นพระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรกลับเลือกกรรมฐานนี้เป็นกรรมฐานในคืนที่ท่านมุ่งอรหัตตผลในเวลาที่จำกัด

ในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้

[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ


ท่านพระอานนท์ ตอนที่ตั้งใจเจริญกายคตาสตินั้น ท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันมานานแล้ว(ท่านบรรลุโสดาบัน ตั้งแต่ ฟังธรรมจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวอุปสมบทใหม่ๆ).

ในคืนก่อนวันปฐมสังคายนาที่ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ท่านเจริญกรรมฐานส่วนใหญ่ด้วยกายคตาสติ.... คือ ท่าน เร่งภาวนาเพื่อให้บรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น เพื่อที่จะได้ทันเข้าร่วมปฐมสังคายนา.

กรรมฐานที่พระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรที่สุดเลือกในการมุ่งอรหัตตผล ย่อมน่าสนใจมากครับ... และ ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่ อุบายแห่งสมถกรรมฐานอย่างเดียว โดยไม่มีส่วนของวิปัสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจ.....

ท่านพระอานนท์ ที่เป็นผู้ฟังและทรงจำพระพุทธพจน์มามากที่สุด คงไม่เลือกกรรมฐานที่เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียว มาใช้ภาวนาให้เสียเวลา ในคืนที่สำคัญขนาดนั้นแน่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าจิตไม่มีกำลัง สมาธิ จะมองไม่เห็นวิปัสสนา แต่จะกลายเป็นวิปัสสนึก

ทำสมาธิแล้วขาดปัญญา ก็ทำสมาธิไม่สำเร็จ

ต้องควบคู่กัน ทั้ง สองอย่าง

เห็นด้วย กับกระทู้นี้ครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2008, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท สาธุ


เกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา

จาก

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย

เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง



สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 5:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณตรงประเด็น อย่าทำตนเป็นอรรถกถา ตีความพระไตรปิฏกเองเลยครับ

ความเห็นของคุณจะเป็นอันตราย ต่อการปฏิบัติวิปัสสนา ก็ได้

ฟังภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านบรรยาย ดีกว่าครับ

สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0

-------------------------------------------------------

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=11408&st=0&hl=วิปัสสนา

-----------------------------------------------------------------

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ
หลักของวิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความจริงและสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น
หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิดและความสงสัย ถูกละไปหมดเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือหลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร ?

สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติเพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลมโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้
เมื่อไม่รู้ว่า รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌานคือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก วิจาร ปิติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนิชำนาญในวสี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้
อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ
แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 5:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย

เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง




คุณตรงประเด็นครับ เลิกอ้าง อาจาริยวาทะ ประเภท นั่งสมาธิไปเอง เถิด แล้วจะรู้เอง

ผู้ที่นั่งสมาธิแล้ว สามารถรู้วิธีเจริญวิปัสสนาเอง ก็มีแต่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้นครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 5:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา
จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0





หมายเหตุ ตามคำอธิบายของท่าน ก็พอจะจับใจความได้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ คือ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาไปจนกระทั่งถึงอุทยัพพยญาณ หรือตีรณปริญญา ถ้าเกิดอุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น หากไปมนสิการถึงอุปกิเลสดังว่านั้น ก็จะทำให้เกิดความสนใจพอใจในแสงสว่างเป็นต้น จิตก็จะฟุ้งซ่านตกจากวิปัสสนาวิถีไป ไม่อาจที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ได้โดยชัดเจนนั่นเอง เพราะวัตถุประสงค์ของการเจริญวิปัสสนานั้น ก็จำเป็นจะต้องปลูกโยนิโสมนสิการ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่เฉพาะลักษณะของนามรูปเท่านั้นนั่นเองฯ

ตามที่ได้อธิบาย พร้อมทั้งยกเอาหลักฐานมาเป็นเครื่องยืนยันทั้งหมดนี้ จะเห็นได้แล้วว่าเป็นเรื่องที่น่าระมัดระวัง ในการเผยแผ่ธรรมะชั้นสูงเป็นกรณีพิเศษทีเดียว ถ้าไม่จำเป็นแล้วขออย่าได้ผลีผลามใช้ความเห็นของตนแสดงออกเป็นอันขาด เพราะถ้านักปราชญ์ที่เขาคงแก่เรียนไปรู้เข้า มิใช่จะเสียหายเฉพาะตัวเองเท่านั้น ยังเสียไปถึงคนที่หลงเดินตามปฏิปทาที่ตัวสอนอีกมากมายด้วย จึงขอสะกิดใจไว้เพียงเท่านี้ฯ


------------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ ควรอ้างคำอธิบายจาก อรรถกถา และ ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก จะดีกว่า การอ้าง อัตตโนมติ ที่อธิบยายไปตามความรู้สึก

ส่วนเรื่องว่าท่านน่าจะเป็นพระอรหันต์ เพราะกระดูกเป็นพระธาตุ คำสอนของท่านน่าจะถูกหมด

แบบที่เคยยกย่อง ท่านพุทธทาส ไม่ควรจะนำมาเผยแพร่ ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
นิรินธน์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2008
ตอบ: 12

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 12:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว
วิปัสสนาอยู่ปลายทอ่นทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองข้างจะขึ้นด้วย
หลวงพ่อชา สุภทฺโท
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 1:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิรินธน์ พิมพ์ว่า:
ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว
วิปัสสนาอยู่ปลายทอ่นทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองข้างจะขึ้นด้วย
หลวงพ่อชา สุภทฺโท



สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 1:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มี เพื่อนทางธรรม ท่านหนึ่ง

ยกประเด็นนี้มาสนทนาครับ...ลองพิจารณาดูน่ะครับ


อ้างอิงจาก:
"....ฤาษีทั้งหลาย ผู้ที่เจริญ รูปฌาน ก็ดี อรูปฌานก็ดี ต่างก็ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิทั้งสิ้น
เพียงแต่ว่า ท่านขาดองค์ประกอบของจิต คือ สัมมาทิฏฐิ....."



.............................................................

ตรงนี้ อยากเสนอให้อ่าน ใน มหาจัตตารีสกสูตร

".....พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ


[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน....."


พระสูตรนี้ ตรัสแสดง สัมมาสมาธิ.....รวมทั้งแสดงเหตุ และ องค์ประกอบแห่งสัมมาสมาธิ
โดยระบุว่า สัมมาสมาธิ มีอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม(ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗)

ใน อริยมรรคเจ็ดอย่างที่ห้อมล้อมสัมมาสมาธินั้น มีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน

ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสแสดงสัมมาทิฏฐิอย่างละเอียดในตอนต่อมา
โดยแสดงว่า สัมมาทิฏฐิ มี 2ระดับ คือ สาสวสัมมาสทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ

สาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นความเห็นชอบในเรื่อง ของ กรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า "....เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ...."

ส่วน สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรคโดยตรงนั้น คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "....สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค...."



มาสู่ ประเด็นที่ว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลที่บำเพ็ญได้ฌาน จัดว่ามี สัมมาสมาธิไหม?

ถ้า พิจารณาจาก มหาจัตตารีสกสูตร
ผมเห็นว่า ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลอาจจะมีสัมมาทิฏฐิเพียงระดับสาสวะสัมมาทิฏฐิ..... แต่ ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิในระดับอนาสวะสัมมาทิฏฐิครับ ....
เพราะ อนาสวะสัมมาทิฏฐินี้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มาประกาศให้ชาวโลกรู้ตาม .....ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์จะมาตรัสรู้ ยังไม่มีใครในสามโลกกล่าวสอนในเรื่องอนาสวะสัมมาทิฏฐิมาก่อนเลย.....

ดังนั้น ฤาษีในสมัยก่อนพุทธกาลจึงถือว่า มีสัมมาทิฏฐิที่ไม่บริบูรณ์ และ ไม่จัดว่ามีสัมมาสมาธิ ถึงแม้นจะได้ฌานต่างๆก็ตาม


จึงเสนอมาดังนี้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีเพื่อนทางธรรม อีกท่านหนึ่ง เสนอความเห็นมาดังนี้ครับ

อ้างอิงจาก:
จากพระสูตร

ปริพาชกสูตร

ดูกรปริพาชกทั้งหลาย
บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็น
ประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด
บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรม
คือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑


ในพระสูตรนี้ ตรัสว่า สัมมาสมาธิ"เป็นของเก่า".... ดังนั้น ฌานของฤาษีชีไพรสมัยก่อนพระพุทธเจ้าประกาศธรรม ก็ล้วนแต่ต้องจัดเป็นเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน?




ตามความเข้าใจของผม
คำว่า "เป็นของเก่า" นั้น ตามหลังคำว่า"เป็นประเพณีของพระอริยะ"
ซึ่ง หมายถึงว่า พระอริยะยุคไหนๆ ท่านก็ทำกันพากันประพฤติอย่างนี้ คือเป็นธรรมเนียมที่พระอริยะท่านทำกันมาอย่างนี้ตลอด เช่น พระอริยะในยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในช่วงที่แผ่นดินว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ท่านก็ล้วนแต่กระทำเช่นนี้. คือ สัมมาสมาธิ เป็นประเพณีที่บรรดาพระอริยะในยุคก่อนๆ ท่านก็ล้วนแต่ถือปฏิบัติกันมานานแล้ว

ไม่น่าจะใช่ว่า ฤาษีชีไพรสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ไม่ใช่พระอริยะ(ไม่นับรวมพระปัจเจกๆน่ะครับ)ต่าง ก็มีสัมมาสมาธิกันอยู่แล้ว....แต่อย่างใด


อนึ่ง จาก มหาจัตตารีสกสูตร เริ่มจาก สัมมาทิฏฐิ ไปจนถึง สัมมาสมาธิ
โดยอริยมรรคองค์ก่อนหน้า เป็นเหตุให้อริยมรรคองค์ต่อไป"พอเหมาะ"
และ บังเกิดผล คือ สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติขึ้น ดังนี้

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ




และ จากหนังสือ พุทธธรรม ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านให้ความเห็น คำว่า "สัมมาสมาธิ"ไว้ดังนี้ครับ

".....เป็นจุดบรรจบ หรือ เป็นสนามรวมของภาคปฏิบัติ..."

ก็คือ ก่อนที่จะเข้าสู่เขตโลกุตระนั้น สัมมาสมาธิเป็นจุดบรรจบของอริยมรรคเจ็ดข้อต้น(ซึ่งสืบทอดต่อกันมาตามลำดับ ดังในมหาจัตตารีสกสูตร)

ซึ่ง แม้นแต่ มหาฤาษี เช่น ท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ
เพราะถ้าท่านมีสัมมาสมาธิ ท่านคงไม่ต้องไปอยู่ในอรูปภพ นานแสนนาน เช่นนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มี ความเห็นที่น่าสนใจ จากเพื่อนทางธรรมอีกท่านหนึ่งครับ


อ้างอิงจาก:
"ท่านจะนอนตายอยู่ในสมาธิอยู่นั้นเหรอ สุขในสมาธิเปรียบเหมือนเนื้อติดฟัน ติดในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน มันสุขมากหรืออย่างไรเนิ้อติดฟัน สมาธิทั้งแท่งคือสมุทัยทั้งแท่ง มันไม่ใช่สมาธิตาย นอนตายอยู่กับสมาธิอย่างนี้หรอก สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธิแบบนอนตายอยู่อย่างนี้นะเหรอจะเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้า" (โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)


คำถาม

ถ้าว่าสมาธิคือสมุทัย สัมมาสมาธิจะให้เดินทางไหนครับ




ผมเห็นว่า หลวงปู่มั่น ท่านกำลังกล่าวถึง "โทษจากการติดสุขในสมาธิ แล้ว ไม่เดินมรรคด้านปัญญาต่อ"......

ซึ่ง การเจริญสมาธิในลักษณะที่ติดตันอยู่แค่สุขจากสมาธิ นี้ก็คือ มิจฉาสมาธิ นั่นเอง

ต่างกับ สัมมาสมาธิ ที่ใช้ประโยชน์จาก "จิตอันอ่อนควร แก่การงาน" มาเดินมรรคด้านปัญญาต่อไป


เป็นความเห็น ส่วนตัวน่ะครับ
ถูก-ผิด ประการใด โปรดไตร่ตรองด้วยความรอบครอบกันเองครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
จากหนังสือ พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง)

หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย



# ผมเห็นว่า สมาธิ ที่ให้ผลเพียงควาทสงบเยือกเย็น แต่ ไม่นำไปสู่การรู้ธรรมหรือเกิดปัญญานั้น
นี่ คือ มิจฉาสมาธิ ต่างหากครับ
เป็นคนล่ะอย่างกับ สัมมาสมาธิ ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แน่นอนครับ
จึงไม่สมควรที่จะไปยกเอามิจฉาสมาธิมาเป็นประเด็น แล้ว เหมาสรุปว่า สมาธิ เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงทุกประการ



อ้างอิงจาก:
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมาธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ


# นี่ ก็เช่นกันครับ....ท่านกำลังกล่าวถึง มิจฉาสมาธิ ครับ

ลอง เปรียบเทียบ กับ ความเห็นของคณาจารย์ท่านอื่นดูครับ
จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า 365 คุณ กรัชกาย นำมาลงไว้ใน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16427

ท่านเจ้าคุณกล่าวดังนี้ครับ

ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง
แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก
ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118
กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี
องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83) วินย.ฎีกา.2/271 และวิสุทธิ. ฎีกา.1/254 ขยายความหมายของ
ข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ. อ. 159, วิสุทฺธิ. 1/190
และ นิท. อ. 1/164 ให้ เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิด ขึ้นได้ โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต

ส่วนที่ว่า ไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร นั้น

พึงเข้าใจว่า ที่ไม่มีวิตกและวิจาร ก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่อย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ (วิตก แปลว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์)
ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (วิจาร แปลว่า เคล้าอารมณ์) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามี วิตกวิจาร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 10:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มิจฉาสมาธิ คือ อย่างไร?

จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=334

8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration)


ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลไว้ว่า
มิจฉาสมาธินั้น นอกจากจะนับในส่วนที่เป็นอกุศล คือ "ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท"แล้ว
มิจฉาสมาธิ ยังนับในส่วนของ "เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น"

ดังนั้น สมาธิ ที่ให้ผลเพียงความสงบเยือกเย็น แต่ ไม่นำไปสู่การรู้ธรรมหรือเกิดปัญญานั้น คือ มิจฉาสมาธิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 2:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีบทความ จากท่านผู้รู้ เรื่องที่ว่า การบรรลุอริยผล จะต้องประกอบทั้งสมถะ และ วิปัสสสนา มาลงเพิ่มครับ




จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."



ปล.... คำว่า "วิปัสสนายานิก" ที่ท่านเจ้าคุณกล่าวนี้ ไม่ใช่ความหมายเดียวกับ วิปัสสสนา100%(สมถะ0%) อย่าง ที่บางท่านเข้าใจกันน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 9:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือ เรื่องฌาน ในสังคมชาวพุทธขณะนี้
มีความเห็น แตกต่างกันสุดขั้ว เป็นสองกลุ่ม คือ

1.ANTIฌานทุกกรณี

กับ

2.RESPECTฌานทุกกรณี



#กลุ่ม ANTIฌานทุกกรณี.... กลุ่มนี้ จะเข้าใจความหมายของคำว่า ฌาน ในพระสูตรต่างๆ เป็น"อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ" กับฌานฤาษี. เมื่อเขามีความรู้สึกที่เป็นลบต่อฌานฤาษี เขาก็เลยพากัน ปฏิเสธฌานในส่วนที่เป็นสัมมาสมาธิของพระอริยะไปด้วย.
จึงมักจะได้ยินคำกล่าวเหล่านี้กันหนาหูขึ้น
“ระวังน่ะ จะเป็นสมถะเข้า.....
.ระวังน่ะ เดี๋ยวจิตสงบ จะติดสุขจากสมาธิเข้า.....และ จะเสียเวลาในการเจริญวิปัสสนา....
.ระวังน่ะ จะกลายเป็นฤาษี.... ”

กลุ่มนี้ เลยพากันต่อต้านสมถะไปเลย เรียกว่า เวลาภาวนาต้องให้เป็นวิปัสสนาล้วนๆ ห้ามไม่ให้มีส่วนของสมถะมาเจือปน


#กลุ่ม RESPECTฌานทุกกรณี....กลุ่มนี้ จะยกย่องฌานฤาษีว่าเป็น "อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ"กับ สัมมาสมาธิของพระอริยะ .และ ก็จะเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก


สองกลุ่มนี้ ทะเลาะกันแน่นอนครับ




ผมเห็นเช่นใด ในประเด็นนี้?

ผมไม่ใช่ทั้งสองกลุ่ม คือ ผมไม่ANTIฌานทุกกรณี และ ไม่RESPECTฌานทุกกรณี

แต่...ส่วนตัวผม RESPECTสัมมาสมาธิของพระอริยะ ทุกกรณี ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง