Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระนครศรีอยุธยา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 26 มี.ค.2005, 12:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://ayutthaya.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดมเหยงคณ์
สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ 035-881-601-2, 081-853-5669
โทรศัพท์และโทรสาร 035-881-603


พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี) เจ้าอาวาส

วัดมเหยงคณ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 4 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติกรรมฐาน

ปัจจุบันเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
เป็นสถานที่ที่เคยรุ่งเรืองสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงแม้เดี๋ยวนี้เป็นวัดร้าง สภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ ปรักหักพังไปมาก แต่พอมีเค้าพอเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬาร และระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี การรู้จักบ้านเมืองของตนเอง เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานแห่งความรู้สึกในเรื่องชาติ การที่เราจะรักอะไรได้ลึกซึ้งและยาวนาน เราต้องรู้จักสิ่งที่เรารักเสียก่อนว่ามีอะไรบ้างที่ควรแก่การรักและหวงแหน อันเป็นจุดนำไปสู่ความศรัทธาเลื่อมใสที่จะอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป

สำนักปฏิบัติกรรมฐานวัดมเหยงคณ์ มีแนวทางว่า นอกเหนือจากจะสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นที่สงบร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ยังให้ความร่วมมือกับทางราชการอนุรักษ์โบราณสถาน, โบราณวัตถุอันล้ำค่าในวัดมเหยงคณ์ไว้ ให้เป็นที่ชื่นชมแก่ประชาชนโดยทั่วไปที่ได้มาพบเห็นอีกด้วย รวมทั้งการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา ความสำคัญของวัดให้เป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลาย

Image
พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประมวลภาพการปฏิบัติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดมเหยงคณ์ ปี 2551
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15952

ประมวลภาพการปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมมภาวนา ณ วัดมเหยงคณ์ ปี 2548
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1529

ประมวลภาพการปฏิบัติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดมเหยงคณ์ ปี 2549
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4719

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18672

ประวัติและปฏิปทาพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44652

รวมคำสอน “พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44192

เสียงธรรมบรรยายพระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/surasakmain.php

รายการวิทยุธรรมะ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5879

Website วัดมเหยงคณ์ >>>
http://www.mahaeyong.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำนักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนพเก้า (วัดแก้วมณี)
เลขที่ 59/1 หมู่ 5 ต.ลาดบัวหลวง
อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13230
โทรศัพท์ 081-292-0176, 081-578-2040
โทรสาร 035-378-002
Email Address :
buddha989@hotmail.com


พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ ประธานสงฆ์

มีการจัดบวชปฏิบัติธรรม ถือบวชเนกขัมมะ-บวชชีพรหมณ์ ในวันสำคัญๆ
ทางพระพุทธศาสนา-ของชาติ และในโอกาสอันควร อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

แนวปฏิบัติ : การเจริญอานาปานสติกรรมฐาน

• ตารางเวลาปฏิบัติธรรมประจำวัน •

03.30 น. สัญญาณระฆังปลุกให้ตื่น ทำกิจส่วนตัว
04.00 น. พร้อมกันที่ศาลา ทำวัตรเช้า และปฏิบัติธรรมร่วมกัน
05.00 น. เลิกประชุม ไปทำกิจต่างๆ ที่ควรจัดควรทำช่วยกัน
06 00 น. เดินผ่อนคลายอิริยาบถ เจริญสติ ภิกษุสงฆ์ออกรับบิณฑบาต
08.30 น. พร้อมกันรับอาหารที่โรงทาน
12.30 น. สัญญาณระฆัง ปฏิบัติธรรมภาคบ่าย
13.00-15.00 น. พร้อมกันที่ศาลาหรือร่มไม้ ปฏิบัติธรรมร่วมกัน
15.00 น. ทำกิจวัตรต่างๆ ร่วมกัน เสร็จแล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย
17.30 น. สัญญาณระฆัง ให้เตรียมตัว
18.00 น. พร้อมกันปฏิบัติธรรมที่ศาลาหรือร่มไม้
19.00 น. ทำวัตรเย็น ปฏิบัติธรรม และฟังบรรยายธรรม
21.00 น. เลิกประชุม พักผ่อนตามอัธยาศัย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าที่ประชุมแล้ว “ควรปิดวาจา ปิดโทรศัพท์”

• การเดินทาง •

จากกรุงเทพฯ สู่ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (สายใหม่) หลัก ก.ม. 42
ชิดขวากลับรถ แล้วชิดซ้าย สังเกตป้ายทางเข้าลาดบัวหลวง
ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา

Image
พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนพเก้า (วัดแก้วมณี)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18618

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์สุโข กตปุญโญ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=39001

เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์สุโข กตปุญโญ
http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/sukho.php

เว็บไซต์สำนักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนพเก้า (วัดแก้วมณี)
http://www.watkeawmanee.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงพ่อโสภณ โอภาโส
............................................................................



วัดบึงลัฏฐิวัน
[วัดสาขาที่ 20 ของวัดหนองป่าพง]
บ้านท่าช้าง ต.ท่าหลวง
อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา 18270
โทรศัพท์/โทรสาร 035-341-839
อีเมล์ :
watbunginfo@wat-latthiwan.org

พระครูโอภาสวุฒิกร (หลวงพ่อโสภณ โอภาโส) เจ้าอาวาส

วัดบึงลัฏฐิวัน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 8 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม โดยเป็นวัดปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดสาขาที่ 20 ของวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ธรรมสถานแหล่งสงบร่มเย็นของผู้ปฏิบัติธรรม

Image

Image

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดบึงลัฏฐิวัน จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3345

เว็บไซต์วัดบึงลัฏฐิวัน
http://www.watbung-latthiwan.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
อุโบสถวัดบางนมโค
............................................................................



วัดบางนมโค
หมู่ 2 ต.บางนมโค อ.สนา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13110


พระครูสุวัจจริยาภรณ์ (พระมหาประยงค์ สุวโจ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท) อดีตเจ้าอาวาส


วัดบางนมโค ตั้งอยู่ริมน้ำบนฝั่งขวาของแควน้ำน้อย ซึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณหมู่ 2 ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเสนา ประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด ไม่พบหลักฐานยืนยัน แต่เจ้าพนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้มาสำรวจที่ดิน พบว่า วัดบางนมโคเป็นวัดโบราณสถาน แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากร สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เพราะเป็นวัดที่เก่าแก่มากวัดหนึ่งก่อนที่จะมีการปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติม ดังที่เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

Image

เดิมวัดแห่งนี้ชื่อ วัดนมโค ด้วยเพราะย่านวัดบางนมโคชาวบ้านมีการเลี้ยงวัวควายกันมากกว่าที่อื่น เมื่อครั้งกองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2310 นั้น พม่าได้มาตั้งค่ายกองกำลังที่สีกุก อำเภอบางบาล ซึ่งห่างจากวัดบางนมโค ประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ พม่าได้ทำการกวาดต้อนผู้คน วัวควายในทุ่งแถบนี้ไปเป็นเชลย เป็นพาหนะ และเป็นอาหาร สำหรับเป็นเสบียงสนับสนุนกองทัพ เอาโคของประชาชนไปอยู่ในในที่กองกำลัง จนกระทั่งโคของประชาชนในแถบนี้เหลือน้อยลงจนเกือบหมด ประชาชนจึงได้เรียกชุมชนแถบวัดนี้ว่า “ล้างนมโค” ต่อมาประชาชนมีความคิดว่าควรจะเปลี่ยนชื่อจาก “ล้างนมโค” เป็น “บางนมโค” เนื่องจากชุมชนนี้มีวัวมากกว่าสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ในทุ่งนี้ชาวบ้านจึงพูดติดปากว่า “บางนมโค” ทางวัดจึงได้ชื่อมาจากเหตุดังกล่าวว่า “วัดบางนมโค” ตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากสืบมา

วัดบางนมโค มีอาณาเขตเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 24 ไร่ 21 วา 3 งาน ทิศตะวันออกจดที่ดินเลขที่ 163 ทางสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันตกจดที่มีการครอบครองแม่น้ำปลายนา ทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 134 มีการครอบครองแม่น้ำเก่าปลายนา ทิศใต้จดที่ดินเลขที่ 162, 163, 165 ทางสาธารณะประโยชน์ ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2458 ในสมัยที่ท่านสมภารเย็น (พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์) เป็นเจ้าอาวาส ท่านพร้อมด้วยคณะพระสงฆ์ ตลอดจนชาวบ้านญาติโยมมากมาย ได้พร้อมใจกันทำการปรับปรุงก่อสร้างถาวรวัตถุที่กำลังทรุดโทรมให้คืนสภาพเหมือนเดิม และได้วางแผนผังในการก่อสร้างหอสวดมนต์ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ วิหาร (ต่อมาชำรุดมากจะซ่อมก็คงไม่คุ้ม ทางวัดจึงรื้อ) และถนนรอบบริเวณวัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมาก ยังเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งบรรดาท่านพุทธมามกชนได้มีส่วนบริจาคทรัพย์ร่วมกันในการปฏิสังขรณ์อีกเป็นอันมาก

Image

ลำดับเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสวัดบางนมโค จะมีกี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
เริ่มจะมีการบันทึกเป็นหลักฐานแน่ชัดก็ตั้งแต่
(1) เจ้าอธิการคล้าย
(2) พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2478
(3) พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท)
รับตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478
มีโอกาสได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง 2 ปี
ก็มรณภาพลงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
(4) พระอธิการเล็ก เกสโร
(5) พระอธิการเจิม เกสโร
(6) พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
(7) พระอาจารย์อำไพ อุปเสโน
(8) พระครูสังฆรักษ์อุไร
(9) พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาโร)
ได้รับการอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503
(10) พระครูสุวัจจริยาภรณ์ (พระมหาประยงค์ สุวโจ)

หลังจากพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท) ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งสิริอายุรวมได้ 63 ปี คณะศิษยานุศิษย์ และชาวบ้านญาติโยมวัดบางนมโค ได้พร้อมใจกันจัดถวายคารวะบูชาอย่างสมเกียรติ และได้จัดงานทำบุญเป็นประจำทุกๆ ปี อย่างพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้เพื่อให้คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกทิศานุทิศ ได้มาถวายความเคารพบูชา เพื่อเป็นการแสดงออกถึงซึ่งความกตัญญญูกตเวทีต่อปรมาจารย์ในวันมรณภาพหลวงพ่อปาน โดยพร้อมเพรียงกัน

Image

งานประจำปีปิดทองหลวงพ่อปาน (งานไหว้พระ) : สืบสานมาตั้งแต่เมื่อหลวงพ่อปานยังมีชีวิตอยู่ คืองานไหว้พระพุทธโสนันทะ ซึ่งเป็นพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ งานจะจัดวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นประจำปีทุกปี สมัยโบราณถือว่าวันไหว้พระประจำปีของวัดบางนมโคนี้เป็นวันสำคัญมาก คือเป็นวันปิดทองไหว้พระ ชาวบ้านหมู่บ้านตำบลใกล้ไกลจะมาเที่ยวและปิดทองกันมากมายโดยมาทางน้ำ สมัยก่อนไม่มีถนน มีแต่แม่น้ำลำคลองที่ใช้ในการเดินทางไปไหนมาไหน น้ำเต็มตลิ่ง เมื่อถึงงานปิดทองไหว้พระทุกปี ผู้คนสองฝั่งคลองจะเต็มไปด้วยเรือพาย เรือแจว เรือมาด เรือม้า เรือสัมปั้นเป็นจำนวนมาก ระหว่างแจวเรือ พายเรือ ก็จะร้องเพลงเรือกันไปด้วยอย่างสนุกสนานทั้งสองริมฝั่งคลอง เพราะเป็นช่วงว่างจากการทำนา ชาวบ้านที่อยู่ไกลจะมาก่อนวันงานต้องมาพักค้างคืนที่วัด ทางวัดจะจัดโรงทานและเตรียมที่พักคือศาลาวัดไว้เพื่อให้ญาติโยมที่อยู่ไกลๆ ได้กินและพักอาศัย ชาวบ้านที่เดินทางมาไกลๆ คือชาวบ้านจังหวัดสุพรรณบุรีจะมาลำน้ำคลองเจ้าเจ็ด พวกจังหวัดอ่างทองจะมาลำน้ำทางผักไห่ จะพายเรือมาตามลำน้ำและร้องเพลงเรือกันมาอย่างสนุกสนาน

ครั้นต่อมาหลวงพ่อปานได้มรณภาพลง ชาวบ้านญาติโยมได้จำลองรูปปั้นหลวงพ่อปาน, หลวงพ่อแช่มซึ่งเป็นอาจารย์หลวงพ่อปาน หลวงปู่คล้ายเจ้าอาวาสองค์แรกวัดบางนมโค เหมือนองค์จริง ซึ่งรูปปั้นของอดีตเจ้าอาวาสทั้ง 3 องค์นี้ ได้ประดิษฐานไว้ในมณฑปหน้าอุโบสถ เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย งานไหว้พระ ชาวบ้านก็จะมาสักการบูชาหลวงพ่อปาน ชาวบ้านจะจัดงานสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ประกอบกับบารมีหลวงพ่อปานได้มีเมตตารักษาคนไข้แบบโบราณ และมีวัตถุมงคลเป็นพระเครื่องรูปแบบ 6 พิมพ์, ยันต์เกราะเพชร, ลูกอม, ตะกรุด ฯลฯ ผู้คนที่นำไปสักการบูชาเลื่อมใสศรัทธาทำให้บารมีท่านเลื่องลือแพร่หลายไปกว้างขวาง สาธุชนผู้คนที่มาในงานปิดงานหลวงพ่อปานมีจำนวนหลายพันคน จะเดินทางไปไหนก็มีแต่ผู้คนเบียดเสียดกันมากมาย และเป็นที่น่าชื่นชมมากที่ปัจจุบันนี้มีคนรุ่นใหม่อายุประมาณ 8-30 ปี เข้ามาปิดทองสักการะหลวงพ่อปานกันเป็นจำนวนมาก

Image
พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดบางนมโค
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3341

ประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท
http://www.buddhabhumi.info/history/pupan_index.htm
http://putthawutt.tripod.com/html/phorpan02.html

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระเจดีย์ชัยมงคล
อนุสรณ์แห่งชัยชนะในการยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
............................................................................



วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าพญาไท-วัดป่าแก้ว)
เลขที่ 40/3 หมู่ 3 ต.คลองสวนพลู
อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ 035-242-640, 035-242-921
โทรสาร 035-242-640 ต่อ 20


พระครูพิสุทธิ์บุญสาร (แก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน) เจ้าอาวาส

วัดใหญ่ชัยมงคล ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 3 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธชัยมงคล, พระเจดีย์ชัยมงคล และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น บุคคลสำคัญของวัด มี หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม พระสุปฏิปันโนศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สหธรรมิกของหลวงพ่อชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกวัดใหญ่ชัยมงคล และ พระครูภาวนารังสี (หลวงปู่เปลื้อง วิสฏโฐ) ผู้สานต่อการบูรณะจนวัดใหญ่ชัยมงคล ได้ยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาจนถึงทุกวันนี้

Image
หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม ผู้ริเริ่มบุกเบิกวัดใหญ่ชัยมงคล

Image
พระครูภาวนารังสี (หลวงปู่เปลื้อง วิสฏโฐ)
ผู้สานต่อการบูรณะและยกฐานะวัดใหญ่ชัยมงคล


Image
พระครูพิสุทธิ์บุญสาร (แก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน) เจ้าอาวาส
............................................................................



ระเบียบการขออุปสมบท

ติดต่อพระอุปัชฌาย์ ขออุปสมบทล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ สัปดาห์

หลักฐานในการขออุปสมบท
(ต้องส่งก่อนวันอุปสมบทอย่างน้อย ๕ วัน)
๑. สำเนาบัตรประชาชน ๑ ชุด
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๑ ชุด
๓. หนังสือรับรองจากอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ตนอยู่ ๑ ชุด
๔. ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล (ตรวจก่อนอุปสมบทไม่เกิน ๑ สัปดาห์) ๑ ชุด

Image

คุณสมบัติผู้อุปสมบท
๑. เป็นชาย อายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้รับการอนุญาตจากมารดาบิดา
๒. เป็นสุภาพชนมีความประพฤติดี ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุรา ยาเสพติด ไม่เป็นคนจรจัด
๓. อ่านและเขียนหนังสือภาษาไทยได้
๔. ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๕. ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
๖. ปราศจากบรรพชาโทษ มีร่างกายสมบูรณ์อาจบำเพ็ญสมณกิจได้
ไม่เป็นคนชรา ไร้ความสามารถ หรือทุพพลภาพพิกลพิการ
๗. มีสมณบริขารครบถ้วนถูกต้องตามพระธรรมวินัย
๘. สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบท (แบบ “เอสาหังฯ”) ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องไม่วิบัติ

ลักษณะต้องห้ามของผู้อุปสมบท
๑. เป็นผู้ทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒. เป็นผู้หลบหนีราชการ
๓. เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
๔. เป็นผู้เคยถูกตัดสินจำคุก ฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕. เป็นผู้ถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดตามพระวินัย
๖. เป็นผู้มีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่น วัณโรคระยะอันตราย ติดเชื้อ HIV
๗. เป็นผู้พิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

Image

ระเบียบการขอบวชชีและชีพราหมณ์

๑. การบวชเป็นแม่ชี (ปลงผม) ต้องติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าแม่ชีเท่านั้น (อายุเกิน ๖๐ ไม่รับบวช)
๒. การบวชชีพราหมณ์ (ไม่ปลงผม) ต้องติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย ๓ วัน
ถ้าช่วงเทศกาล ต้องติดต่อล่วงหน้า ๑๕ วัน
๓. โปรดติดต่อ แม่ชีสมควร (แม่ชีจิ๋ว) หรือคุณจันทนา (คุณต้อย)
โทรศัพท์ ๐-๓๕๒๔-๒๖๔๐, ๐-๓๕๒๔-๒๙๒๑ หรือ e-mail : watyai@windowslive.com
๔. การเตรียมตัวบวช
๔.๑ ท่องคำขอบวช และศีล ๘ ให้คล่อง
๔.๒ ชุดแม่ชีต้องเตรียมมาเอง
๔.๓ ของใช้ส่วนตัว ที่นอน หมอน เสื่อ ต้องนำมาเอง
๕. วันบวช นำสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน มาลงทะเบียน
และเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ถวายพระพิธี ๕ ชุด

Image

ชุดบวชชี
๑. เสื้อขาวแขนยาวต่อไหล่
๒. ผ้าถุงขาว
๓. เสื้อชั้นในแขนเดียว (เสื้อชั้นในแม่ชี)
๔. เข็มขัดหนัง หรือพลาสติก
๕. เข็มกลัดขนาดกลาง สำหรับติดผ้าสไบ
๖. กางเกงสลีฟ หรือ กระโปรงชั้นใน

ข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ
๑. ห้ามออกนอกวัด
๒. ห้ามเดินหรือยืนดื่มเครื่องดื่ม หรือเคี้ยวของขบเคี้ยว
๓. ห้ามคุยเสียงดัง เดินให้สำรวม
๔. ห้ามพกโทรศัพท์ขณะทำวัตรสวดมนต์ หรือปฏิบัติพระกรรมฐาน
๕. การฟังเทศน์ ควรนั่งประนมมือด้วยอาการสำรวม

Image
การปฏิบัติธรรม ณ วัดใหญ่ชัยมงคล


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14590

เว็บไซต์วัดใหญ่ชัยมงคล
http://www.watyaichaimongkol.net/

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10637

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วัดตาลเอน
หมู่ 1 ต.ตานเอน อ.บางปะหัน
จ.พระนครศรีอยุธยา 13220
โทรศัพท์และโทรสาร 035-254041


พระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉันโท เจ้าอาวาส

วัดตาลเอน เป็นธรรมสถานสำหรับการฝึกอบรมปฏิบัติธรรม เปิดรับสาธุชนผู้สนใจเข้าร่วมปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกเดือน โดยจะมีการอบรมและฝึกปฏิบัติเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยมีท่านพระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉันโท เป็นผู้นำพาในฝึกอบรมปฏิบัติธรรม วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดตัวอย่างในการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมโดยใช้หลักของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ไม่สนับสนุนในเรื่องวัตถุนิยมที่เรียกว่าพุทธพาณิชย์

พระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉันโท ถือว่าเป็นพระรุ่นใหม่ที่น่าสนับสนุน กิจกรรมการปฏิบัติธรรมที่จัดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งผู้ปฏิบัติก็จะต้องมาอยู่กินนอนภายในวัดเป็นเวลา 7 วัน เป็นการปฏิบัติเข้มเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับผลอย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองและผู้อื่น

แนวทางการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมของวัดตาลเอน ได้นำแบบอย่างมาจาก พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) วัดอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งพระครูสมุห์จิรยุทธ์ เดิมท่านเป็นพระวิทยากรฝ่ายวิปัสสนาให้กับหลวงพ่อจรัญมาก่อน การที่ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดตาลเอน ก็เพื่อสืบทอดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของหลวงพ่อจรัญ ที่ถือว่าเป็นพระปฏิปทา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนนิกชน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เคยมาฝึกเจริญสติภาวนา

Image

Image

ส่วนหนึ่งของสาธุชนผู้ที่มาทำบุญปฏิบัติธรรม ณ วัดตาลเอน เกิดด้วยการชักชวนจากญาติธรรมที่เคารพศรัทธาในองค์หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม และเคยฝึกอบรมที่วัดอัมพวันมาก่อน เมื่อทราบว่า พระครูสมุห์จิรยุทธ์ ศิษย์ของหลวงพ่อจรัญ ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดตาลเอน เห็นว่าการเดินทางไม่ไกลเกินไปนัก จึงได้มากราบนมัสการ และซื้อสิ่งของมาถวายเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติธรรม

วัดตาลเอน เป็นวัดขนาดเล็กๆ ตั้งอยู่ในท้องที่ชนบทของอำเภอบางปะหัน ถนนที่ตัดแยกเข้าวัดจะผ่านท้องทุ่ง ด้านหลังวัดเป็นลำคลองสายเล็กๆ ชาวบ้านสมัยก่อนที่สัญจรโดยทางเรือ เมื่อพายเรือมาที่วัดก็เห็นต้นตาลเอียงอยู่ริมตลิ่ง จนกลายเป็นสัญญลักษณ์ จึงเรียกติดปากกันว่า วัดตาลเอน

ติดต่อวัดตาลเอน
พระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉันโท
วัดตาลเอน ต.ตานเอน อ.บางปะหัน
จ.พระนครศรีอยุธยา 13220
โทรศัพท์ 035-254041
โทรสาร 035-254041

Image

การเดินทางมาวัดตาลเอน
1. นั่งรถ บขส. มาลงแยก อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
แล้วต่อด้วยมอเตอร์ไซด์รับจ้างไปวัดตาลเอน 60 บาท
2. นั่งรถจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปลงตลาดบางปะหัน แล้วต่อด้วยมอเตอร์ไซด์รับจ้าง

รถยนต์ส่วนบุคคล
ขับรถไปตามถนนสายเอเชียที่มุ่งหน้าไป จ.อ่างทอง/สิงห์บุรี/นครสวรรค์ (วัดอยู่ระหว่างพระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง) ขับเลยทางแยกเข้า จ.พระนครศรีอยุธยา ไปอีกราว 20 กม. จะเห็นป้ายใหญ่ทางแยกไปบางปะอิน/บางไทร/บางปะหัน ให้ชลอความเร็วและเข้าทางแยกทางคู่ขนานซ้ายมือ เลยไปนิดจะเห็นป้ายแยกออกซ้ายไปบางปะอิน/บางไทร ส่วนบางปะหันให้ตรงไป เพื่อขึ้นทางข้ามแล้ววนข้ามถนนสายเอเชีย เข้าสู่ อ.บางปะหัน ลงจากสะพานเจอสี่แยก ให้เลี้ยวซ้ายยาวไปตลอดอีกราว 5-6 กม. (ผ่านท้องนา) จะเห็นป้ายวัดตาลเอนแยกออกขวา ขับต่อไปอีกราว 2 กม. ก็จะถึงวัด

ตารางปฏิบัติธรรมประจำปี 2551
รุ่นที่ 1 วันที่ 20 เมษายน - 27 เมษายน
รุ่นที่ 2 วันที่ 18 พฤษภาคม - 25 พฤษภาคม
รุ่นที่ 3 วันที่ 15 มิถุนายน - 22 มิถุนายน
รุ่นที่ 4 วันที่ 13 กรกฏาคม - 20 กรกฏาคม
รุ่นที่ 5 วันที่ 17 สิงหาคม - 24 สิงหาคม
รุ่นที่ 6 วันที่ 21 กันยายน - 28 กันยายน
รุ่นที่ 7 วันที่ 12 ตุลาคม - 19 ตุลาคม
รุ่นที่ 8 วันที่ 10 พฤศจิกายน - 16 พฤศจิกายน
รุ่นที่ 9 วันที่ 7 ธันวาคม - 14 ธันวาคม

Image
อุโบสถวัดตาลเอน
............................................................................



โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เจ้าหน้าที่ชมรมพุทธศาสตร์-ทางสายเอก
คุณวิภาวรรณ (นก) โทร. 081-513-5221
คุณแสงจันทร์ (ต้อม) โทร. 081-745-9948
คุณกนกวรรณ (ข้าวเม่า) โทร. 081-044-1250
คุณมาณพ (ณพ) โทร. 086-353-6267
คุณวัชระพล (ตั้ม) โทร. 086-655-5215
คุณเลิศเกียรติ์ (หน่อย) โทร. 086-617-8438

ขอขอบคุณรูปภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก :
http://www.photoontour9.com/

Image
พระครูสมุห์จิรยุทธ์ อธิฉันโท


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดตาลเอน จ.พระนครศรีอยุธยา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1744

เว็บไซต์วัดตาลเอน
http://www.wattanen.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สำนักปฏิบัติธรรมมหาราช วัดหน้าวัว
หมู่ 4 ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช
จ.พระนครศรีอยุธยา 13150
โทรศัพท์ 081-570-8234,
081-850-3911, 035-386-308


พระครูใบฎีกาดำรงค์ กัลยาณจิตโต เจ้าอาวาส

ประวัติวัดหน้าวัว

วัดหน้าวัว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณที่ตั้งของวัดนี้ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มีปรากฏชื่อว่า ทุ่งมหาราช หรือทะเลมหาราช ซึ่งเป็นสถานที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเคยยกกองทัพเข้าสู้รบกับพม่า จนได้รับชัยชนะเหนือศัตรูหลายครั้ง เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนั้นพระองค์ได้เสด็จมาตามลำน้ำลพบุรี เพื่อไปสร้างเมืองลพบุรี ได้ทรงสร้างปราสาทจตุรมุข ไว้เป็นที่ประทับแรม พร้อมด้วยเรือนพักรับรองคณะทูตานุทูตชาวต่างประเทศและข้าราชบริพารที่ตามเสด็จอยู่ในที่บริเวณเหนือวัดนี้ และได้ทรงสร้างวัดนี้ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ตามที่มีปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางมาประเทศสยามของฝรั่งเศสได้บันทึกเอาไว้

ภายหลังสิ้นแผ่นดินของพระองค์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ถูกทอดทิ้งและชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา วัดหน้าวัวจึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเป็นวัดร้างมาตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2536 คณะชาวบ้านญาติโยม และทายก-ทายิกา ได้นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษา และได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ และเสนาสนะขึ้นมาใหม่ให้เจริญขึ้น

ทางวัดหน้าวัวมีโครงการอบรมและเผยแผ่ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ให้กับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปปางต่างๆ เพื่อนำไปประดิษฐานตามวัดวาอารามต่างๆ ที่ยังขาดพระประธานในอุโบสถหรือศาลาการเปรียญ สิ่งสำคัญที่อยู่คู่กับวัดหน้าวัวก็คือ อุโบสถหลังเก่า ซึ่งหลังคาใกล้พังทลายลงมาหมดแล้ว และมีพระประธานประจำอุโบสถ คือ หลวงพ่อทรงธรม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า หลวงพ่อยิ้ม

ปัจจุบันวัดหน้าวัวมีท่านพระครูใบฎีกาดำรงค์ กัลยาณจิตโต เป็นเจ้าอาวาส โดยมีเนื้อที่วัด 23 ไร่ การเดินทางมาวัดได้สะดวกทางรถยนต์ ตามเส้นทางสายเอเชีย แล้วเลี้ยวเข้าตามเส้นทางที่จะไป จ.ลพบุรี และ อ.ท่าเรือ ประมาณ 4 กิโลเมตร จะเห็นร้านอาหารครัวทองแดงอยู่ทางด้านซ้าย และจะเห็นถนนตัดกับเส้นทางเส้นนี้ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเส้นที่อยู่ข้างร้านอาหารครัวทองแดง เข้าไปประมาณ 100 เมตรก็จะถึงวัดหน้าวัว
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วัดสีกุก
หมู่ 2 บ้านสีกุก ต.น้ำเต้า
อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 13250


พระครูชินธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาส

วัดสีกุก ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 7 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดประดู่ทรงธรรม
หมู่ 4 บ้านบาตร ต.ไผ่ลิง
อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 13000


วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 9:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
เลขที่ 1 หมู่ 4 บ้านตะพังโคลน ต.ลาดบัวหลวง
อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13230
โทรศัพท์ 081-190-5757,
035-379-977, 035-379-944


หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าอาวาส

วัดสุทธาวาส วิปัสสนา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งที่ 13 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดได้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2465 มีเนื้อที่ 43 ไร่ 24 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมเกือบทุกปี โดยมีหลวงพ่อคล้าย เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดตะพังโคลน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

แนวการปฏิบัติ : สอนปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยทางวัดมีโครงการจัดสอนกรรมฐานปฏิบัติธรรมแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

สำหรับปูชนียวัตถุสำคัญของวัด ได้แก่ “พระบรมสารีริกธาตุ” (ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 9 พระองค์) ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานให้กับวัดเมื่อวันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทางวัดได้เจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศล ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.09 น.

Image
หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18617

เว็บไซต์วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
http://www.watsutthawat.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง